โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มและกระจุกดาราจักร

ดัชนี กลุ่มและกระจุกดาราจักร

กลุ่มและกระจุกดาราจักร เป็นวัตถุอวกาศขนาดใหญ่ที่รวมตัวกันด้วยแรงดึงดูดจากความโน้มถ่วงระหว่างดาราจักร นับเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของเอกภพ รูปแบบการเกิดโครงสร้างเช่นนี้ร่วมกับสสารมืดที่เย็นจัด เกิดจากโครงสร้างขนาดเล็กแตกสลายลงก่อนแล้วค่อยๆ รวมตัวกันจนกลายเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ คือกระจุกของดาราจักร ซึ่งเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่หนึ่งหมื่นล้านปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน กลุ่มและกระจุกดาราจักรอาจประกอบด้วยดาราจักรจำนวนเพียงสิบไปจนถึงหมื่นดาราจักร และตัวกระจุกเองอาจเกี่ยวโยงกับกลุ่มที่ใหญ่กว่า เรียกว่า กลุ่มกระจุกดาราจักร (supercluster) หมวดหมู่:กลุ่มดาราจักร หมวดหมู่:ดาราจักร หมวดหมู่:โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ.

15 ความสัมพันธ์: บิกแบงช่องว่างระหว่างดาราจักรกระจุกดาวลูกไก่กลุ่มกระจุกดาราจักรกลุ่มท้องถิ่นรายชื่อดาราจักรสสารมืดดาราศาสตร์ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบดาราจักรดาราจักรรีใยเอกภพเลนส์ความโน้มถ่วงเส้นเวลาของบิกแบง

บิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา บิกแบง (Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

ช่องว่างระหว่างดาราจักร

องว่างระหว่างดาราจักร (Intergalactic space) เป็นที่ว่างทางกายภาพที่อยู่ระหว่างดาราจักร โดยทั่วไปจะไม่มีฝุ่นใดๆ อยู่เลย มีสภาพเกือบจะเป็นสุญญากาศสมบูรณ์ บางทฤษฎีให้ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของเอกภพไว้ที่ประมาณ 1 ไฮโดรเจนอะตอมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ค่าความหนาแน่นของเอกภพมีค่าไม่เท่ากันเสมอไป มันอาจมีความหนาแน่นมากในดาราจักร (รวมทั้งโครงสร้างที่มีความหนาแน่นสูงมากภายในดาราจักร เช่น ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และหลุมดำ) ทำให้พื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ที่เหลือมีความหนาแน่นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอกภพอย่างมาก และมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 2.73 เคลวิน ในพื้นที่ระหว่างดาราจักร มีพลาสมาอย่างจางๆ อยู่ ซึ่งเชื่อว่ามันเป็นตัวโยงโครงสร้างเส้นใยของเอกภพเอาไว้ และมีค่าความหนาแน่นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอกภพ สสารนี้เรียกว่าเป็น มวลสารระหว่างดาราจักร (intergalactic medium (IGM)) ส่วนใหญ่เป็นประจุไฮโดรเจน เช่น พลาสมาแห่งหนึ่งประกอบด้วยประจุอิเล็กตรอนและโปรตอนเป็นจำนวนเท่าๆ กัน คาดว่ามวลสารระหว่างดาราจักรมีค่าความหนาแน่นประมาณ 10-100 เท่าของค่าเฉลี่ยของเอกภพ (คือประมาณ 10-100 ไฮโดรเจนอะตอมต่อลูกบาศก์เมตร) มันอาจมีค่าสูงถึง 1000 เท่าของค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของเอกภพก็ได้ในเขตที่มีกระจุกดาราจักรอยู่เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและช่องว่างระหว่างดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวลูกไก่

กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades) หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกตมาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและกระจุกดาวลูกไก่ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มกระจุกดาราจักร

กลุ่มกระจุกดาราจักร (Supercluster) คือโครงสร้างขนาดใหญ่ของกลุ่มและกระจุกดาราจักรจำนวนมาก เป็นหนึ่งในบรรดาโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล ลักษณะการมีอยู่ของกลุ่มกระจุกดาราจักรบ่งชี้ว่า ดาราจักรในเอกภพของเราไม่ได้กระจายตัวอย่างเป็นระเบียบ ดาราจักรส่วนมากจับกลุ่มอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มและกระจุก โดยกลุ่มของดาราจักรประกอบด้วยดาราจักรประมาณ 50 แห่ง ส่วนกระจุกประกอบด้วยดาราจักรหลายพันแห่ง กลุ่มและกระจุกเหล่านี้รวมกับดาราจักรเดี่ยวอีกจำนวนหนึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างที่ใหญ่กว่า เรียกว่า กลุ่มกระจุกดาราจักร ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าโลกของเราอยู่ในกลุ่มกระจุกดาราจักรขนาดใหญ่ ชื่อว่า "กลุ่มกระจุกดาราจักรลาเนียเคอา" (Laniakea Supercluster) โครงสร้างระดับกลุ่มกระจุกดาราจักรนั้นเชื่อว่าเป็นโครงสร้างย่อยของกำแพงหรือชีทขนาดยักษ์ บางครั้งอาจเรียกว่า "กลุ่มกระจุกดาราจักรอันซับซ้อน" ซึ่งอาจมีความกว้างถึง 1 พันล้านปีแสง หรือมากกว่า 5% ของขนาดของเอกภพที่สังเกตได้ ขณะที่ตัวกลุ่มกระจุกดาราจักรเองอาจมีขนาดราวไม่กี่ร้อยล้านปีแสง ความเร็วโดยทั่วไปของดาราจักรอยู่ที่ประมาณ 1000 กิโลเมตรต่อวินาที ตามกฎของฮับเบิลที่ระบุว่า ดาราจักรทั่วไปสามารถเคลื่อนที่ได้ 30 ล้านปีแสงที่ความเร็วฮับเบิล 1/H ซึ่งมีค่าโดยประมาณเท่ากับอายุของเอกภพ แม้นี่จะเป็นระยะทางอันมโหฬารเมื่อเทียบกับขนาดของมนุษย์ แต่ต้องถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของกลุ่มกระจุกดาราจักร ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างระดับที่ใหญ่กว่ากลุ่มกระจุกดาราจักร (ดูเพิ่มที่ ใยเอกภพ) ช่องว่างระหว่างกลุ่มกระจุกดาราจักรเป็นที่ว่างขนาดใหญ่ในอวกาศซึ่งไม่ค่อยมีดาราจักรอยู่ ปัจจุบันกลุ่มกระจุกดาราจักรเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่จำนวนโดยรวมของกลุ่มกระจุกดาราจักรทำให้คิดกันว่า มีความเป็นไปได้ของการกระจายตัวของโครงสร้างที่ใหญ่กว่านั้น เชื่อว่ามีกลุ่มกระจุกดาราจักรในเอกภพทั้งสิ้นประมาณเกือบ 10 ล้านแห่ง.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและกลุ่มกระจุกดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มท้องถิ่น

ราจักรแคระ Sextans A หนึ่งในดาราจักรสมาชิกของกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก ซึ่งปรากฏเป็นแถบดาวสีเหลืองในภาพ Sextans A คือภาพดาวสีน้ำเงินอ่อนที่เห็นได้ชัดเจน กลุ่มท้องถิ่น (Local Group) เป็นกลุ่มของดาราจักรซึ่งมีดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วยดาราจักรมากกว่า 35 แห่ง มีจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ระหว่างทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนโดรเมดา กลุ่มท้องถิ่นกินเนื้อที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ล้านปีแสง และมีรูปร่างเหมือนดัมเบลล์ ประมาณการว่ากลุ่มท้องถิ่นมีมวลรวมประมาณ (1.29 ± 0.14) เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และเป็นสมาชิกหนึ่งอยู่ใน กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (หรือเรียกว่าเป็น กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น) ด้วย สมาชิกที่มีมวลมากที่สุดสองแห่งในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก และ ดาราจักรแอนโดรเมดา ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานทั้งสองแห่งนี้มีดาราจักรบริวารโคจรอยู่โดยรอบเป็นระบบดาราจักร ดังนี้.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและกลุ่มท้องถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาราจักร

รายชื่อของดาราจักรที่น่าสนใ.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและรายชื่อดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

สสารมืด

รมืด (Dark Matter) สสารมืดคือสสารในจักรวาลที่เรามองไม่เห็นแต่รู้ว่ามีอยู่ เพราะอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของมันต่อสสารปกติในกาแล็กซี่ สสารมืดเป็นองค์ประกอบในอวกาศชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเพียงสมมุติฐานทางด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยา ว่ามันเป็นสสารซึ่งไม่สามารถส่องแสงหรือสะท้อนแสงได้เพียงพอที่ระบบตรวจจับการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะสามารถตรวจจับได้โดยตรง แต่การมีอยู่ของมันศึกษาได้จากการสำรวจทางอินฟราเรดจากผลกระทบของแรงโน้มถ่วงรวมที่มีต่อวัตถุท้องฟ้าที่เรามองเห็น จากการสังเกตการณ์โครงสร้างขนาดใหญ่ในอวกาศที่ใหญ่กว่าดาราจักรในปัจจุบัน ตลอดจนถึงทฤษฎีบิกแบง นับได้ว่าสสารมืดเป็นส่วนประกอบของมวลจำนวนมากในเอกภพในสังเกตการณ์ของเรา ปรากฏการณ์ที่ตรวจพบอันเกี่ยวข้องกับสสารมืด เช่น ความเร็วในการหมุนตัวของดาราจักร ความเร็วในการโคจรของดาราจักรในกระจุกดาราจักร รวมถึงการกระจายอุณหภูมิของแก๊สร้อนในดาราจักรและในคลัสเตอร์ของดาราจักร สสารมืดยังมีบทบาทอย่างมากในการก่อตัวและการพัฒนาการของดาราจักร ผลการศึกษาด้านต่างๆ ล้วนบ่งชี้ว่า ในกระจุกดาราจักรและเอกภพโดยรวม ยังคงมีสสารชนิดอื่นอีกนอกเหนือจากสิ่งที่ตอบสนองต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกสสารโดยรวมเหล่านั้นว่า "สสารมืด" สสารปกติจะถูกตรวจจับได้จากการแผ่พลังงานออกมา เนบิวลา กาแล็กซี ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ต้นไม้ หรือแม้กระทั่งจุลชีพเล็กๆ จะถูกตรวจจับได้จากรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่แผ่ออกมา ทว่าสสารมืดจะไม่แผ่พลังงานเพียงพอที่จะตรวจจับได้โดยตรง นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าในจักรวาลมีสสารมืดตั้งแต่ปี 1933 เมื่อ ฟริตซ์ ซวิคกี้ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ศึกษากระจุกกาแล็กซีโคมา โดยวัดมวลทั้งหมดของกระจุกกาแล็กซีนี้บนพื้นฐานการศึกษาการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีบริเวณขอบของกระจุกกาแล็กซี สสารมืด มีมวลมากกว่าที่มองเห็น จากการประมาณค่าพบว่าการแผ่รังสีทั้งหมดในจักรวาลพบว่า 4% เป็นของวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ 22% มาจากสสารมืด 74% มาจากพลังงานมืด แต่เป็นการยากมากที่จะทดสอบได้ว่าสสารมืดเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่าน่าจะมาจากการประกอบกันของส่วนเล็ก ๆ ของ baryons จนเกิดเป็นสสารมืดขึ้น ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ในการศึกษาด้านอนุภาคทางฟิสิกส์เนื่องจากมีมวลบางส่วนของระบบที่ศึกษาหายไป สสารมืด จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการศึกษาอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและสสารมืด · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์

ราศาสตร์รังสีเอกซ์ (X-ray astronomy) คือการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นของรังสีเอกซ์ที่แผ่ออกมาจากวัตถุท้องฟ้าต่างๆ รังสีเอกซ์นี้สามารถถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไปได้ ดังนั้นในการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นนี้จึงต้องทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในอวกาศ ในปัจจุบันมีโครงการการศึกษาดาราศาสตร์รังสีเอกซ์ในห้องวิจัยอวกาศและอุปกรณ์ตรวจจับรังสีเอกซ์ในดาวเทียมต่างๆ จำนวนมาก คาดการณ์ว่า รังสีเอกซ์จะเกิดจากแหล่งกำเนิดที่มีแก๊สร้อน อุณหภูมิระหว่าง 1-100 ล้านเคลวิน กล่าวโดยทั่วไปคือเกิดในวัตถุที่มีพลังงานในอะตอมและอิเล็กตรอนสูงมาก การค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในอวกาศครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 โดยบังเอิญ แหล่งกำเนิดนั้นคือ Scorpius X-1 ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์แห่งแรกที่พบในกลุ่มดาวแมงป่อง ใกล้กับบริเวณศูนย์กลางของทางช้างเผือก ผลจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ ริคคาร์โด จิอัคโคนิ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ

ราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ (Extragalactic astronomy) คือสาขาวิชาหนึ่งของการศึกษาดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับวัตถุอันอยู่พ้นไปจากดาราจักรทางช้างเผือกของเรา (หรืออาจกล่าวว่า เป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ทุกชนิดที่มิได้อยู่ในขอบเขตของดาราศาสตร์ดาราจักร) ผลจากการที่เครื่องมือวัดและตรวจจับต่างๆ มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในห้วงอวกาศอันไกลมากๆ ได้ และยังสามารถคำนวณระยะห่างได้ด้วย การศึกษาในศาสตร์นี้จึงอาจแบ่งได้เป็น ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบใกล้ (Near-Extragalactic Astronomy) และดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบไกล (Far-Extragalactic Astronomy) กลุ่มของดาราจักรนอกระบบใกล้คือการศึกษาดาราจักรต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใกล้พอจะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบอย่างละเอียดได้ (เช่น ซากซูเปอร์โนวา กลุ่มดาว) ส่วนดาราจักรนอกระบบไกลจะสามารถศึกษาได้แต่ปรากฏการณ์ที่สว่างมากๆ จนเป็นที่สังเกตเห็น หัวข้อการศึกษาบางส่วนได้แก.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรรี

ราจักรรีขนาดยักษ์ ESO 325-G004 ดาราจักรรี (Elliptical Galaxy) เป็นดาราจักรแบบหนึ่งในสามประเภทหลักของดาราจักรที่จัดแบ่งโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1936 ตามรูปร่างที่มองเห็น ในงานของเขาที่ชื่อว่า "The Realm of the Nebulae" (อาณาจักรของเนบิวลา) จึงถูกจัดประเภทอยู่ในลำดับของฮับเบิลด้วย ดาราจักรรีอาจมีรูปร่างตั้งแต่เกือบเป็นทรงกลม ไปจนถึงแบบเรียวรีมากๆ และอาจมีดาวฤกษ์ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยล้านดวง ไปจนถึงนับล้านล้านดวง ในระดับมหภาค ดาวฤกษ์หลายดวงจะจับกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นกระจุกดาวทรงกลม ดาราจักรรีส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ที่มีอายุมากและมีมวลน้อย มีสสารระหว่างดาวอยู่เบาบาง อัตราการเกิดดาวฤกษ์ใหม่ก็ต่ำมาก เชื่อว่าดาราจักรรีมีอยู่ประมาณ 10-15% ของดาราจักรทั้งหมดในเอกภพของเรา และมักพบอยู่ใกล้ใจกลางของกระจุกดาราจักร.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและดาราจักรรี · ดูเพิ่มเติม »

ใยเอกภพ

ำหรับการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ใยเอกภพ (filament) คือโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จักและปรากฏอยู่ในเอกภพ เป็นโครงสร้างแบบเส้นด้ายมีความยาวประมาณ 50 ถึง 80 ''h''-1 เมกะพาร์เซก ซึ่งเป็นขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ในเอกภพ ใยเอกภพประกอบด้วยดาราจักรหลายแห่งที่ดึงดูดกันอยู่ด้วยแรงโน้มถ่วง โดยมีดาราจักรจำนวนมากที่อยู่ใกล้กันเรียกว่า กระจุกดาราจักร ในปี..

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและใยเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

เลนส์ความโน้มถ่วง

ลนส์ความโน้มถ่วง (gravitational lens) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับแสงอันเดินทางมาจากแหล่งกำเนิดส่องสว่างไกลโพ้น (เช่น เควซาร์) แล้วเกิดการ "บิดโค้ง" เนื่องจากแรงดึงดูดของวัตถุมวลมาก (เช่น กระจุกดาราจักร) ที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับผู้สังเกต เป็นปรากฏการณ์ที่หนึ่งที่ไอน์สไตน์ทำนายเอาไว้จากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขา โอเรสต์ ควอลสัน (Orest Chwolson) เป็นผู้แรกที่นำเสนอบทความวิชาการว่าด้วยปรากฏการณ์นี้ (ในปี ค.ศ. 1924) แต่ชื่อของไอน์สไตน์มักเป็นที่รู้จักเกี่ยวเนื่องกับปรากฏการณ์นี้มากกว่า เพราะได้ตีพิมพ์บทความอันมีชื่อเสียงที่อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ในปี ค.ศ. 1936 ฟริตซ์ ชวิกกี้ (Fritz Zwicky) ทำนายไว้เมื่อปี..

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและเลนส์ความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของบิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา คำว่า เส้นเวลาของบิกแบง คือประวัติของการเกิดจักรวาลที่สอดคล้องกับทฤษฏีบิกแบง โดยใช้ตัวแปรทางเวลาของจักรวาลในพิกัดเคลื่อนที่ เมื่อพิจารณาตรรกะจากการขยายตัวของเอกภพโดยใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป หากเวลาย้อนหลังไปจะทำให้ความหนาแน่นและอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นอย่างไม่จำกัดขณะที่เวลาในอดีตจำกัดอยู่ค่าหนึ่ง ภาวะเอกฐานเช่นนี้เป็นไปไม่ได้เพราะขัดแย้งกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากกว่าเราสามารถประมาณภาวะเอกฐานได้ใกล้สักเพียงไหน (ซึ่งไม่มีทางประมาณไปได้มากเกินกว่ายุคของพลังค์) ภาวะเริ่มแรกที่มีความร้อนและความหนาแน่นสูงอย่างยิ่งนี้เองที่เรียกว่า "บิกแบง" และถือกันว่าเป็น "จุดกำเนิด" ของเอกภพของเราจากผลการตรวจวัดการขยายตัวของซูเปอร์โนวาประเภท Ia การตรวจวัดความแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในไมโครเวฟพื้นหลัง และการตรวจวัดลำดับวิวัฒนาการของดาราจักร เชื่อว่าเอกภพมีอายุประมาณ 13.73 ± 0.12 พันล้านปีG.

ใหม่!!: กลุ่มและกระจุกดาราจักรและเส้นเวลาของบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กระจุกดาราจักรกลุ่มและคลัสเตอร์ของดาราจักร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »