โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรดไฮโดรคลอริก

ดัชนี กรดไฮโดรคลอริก

รเจนคลอไรด์โอเวน กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 1800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl.

57 ความสัมพันธ์: ATC รหัส A09ATC รหัส B05บาราคอลบูโพรพิออนพลูโทเนียมกระเพาะอาหารกรดกรดกระเพาะอาหารกรดอนินทรีย์กรดฮิวมิกกรดคลอริกกรดซัลฟิวริกกรดแมนดีลิกกรดไฮโดรฟลูออริกกรดไฮโดรโบรมิกกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสันการย่อยอาหารการรับรู้รสการละลายภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์สตรอนเชียมซัลเฟตสติบไนท์หญ้าฝรั่นอะลูมิเนียมคาร์บอเนตอะซิโตนเพอร์ออกไซด์อะโบมาซัมคลอรีนคู่กรด-เบสซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยาปฏิกิริยาสะเทินปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกันแมงกานีส(II,III) ออกไซด์แอมโมเนียแอมโมเนียมคลอไรด์แคลเซียมคาร์บอเนตแคดเมียมคลอไรด์แซกคารีนโมโนโซเดียมกลูตาเมตโลหวิทยาการละลายโอลิวีนโดโลไมต์โซเดียมคาร์บอเนตโซเดียมซัลเฟตไอเอิร์น(III) คลอไรด์ไฮโดรทัลไซต์ไฮโดรเจนคลอไรด์ไฮโดรเจนโบรไมด์ไฮโดรเจนไอโอไดด์ไทเทเนียม...ไดคลอโรมีเทนไปรษณีย์ถล่มไนโตรเจนเบนซิลเพนิซิลลินเกลือ (เคมี)เคซีนเซอร์โคเนียม(IV) คลอไรด์ ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

ATC รหัส A09

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) A ทางเดินอาหารและกระบวนการสร้างและสลาย (Alimentary tract and metabolism).

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและATC รหัส A09 · ดูเพิ่มเติม »

ATC รหัส B05

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) B เลือดและอวัยวะที่ผลิตเลือด (Blood and blood forming organs).

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและATC รหัส B05 · ดูเพิ่มเติม »

บาราคอล

ราคอล เป็นสารที่สกัดได้จากสมุนไพรขี้เหล็ก โดยในปี พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 พบว่ายารักษาโรคขาดแคลนเป็นอย่างมาก ศาสตราจารย์ น.อวย เกตุสิงห์ จึงได้พยายามค้นหาสมุนไพรไทยที่ใช้เป็นยาแผนโบราณอย่างแพร่หลายมาศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และได้พบว่าใบและดอกของต้นขี้เหล็กทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้งโดยใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและบาราคอล · ดูเพิ่มเติม »

บูโพรพิออน

ูโพรพิออนรสำหรับรับประทานในรูปแบบยาออกฤทธิ์นาน ความแรง 300 มิลลิกรัม/เม็ด ชื่อการค้า Wellbutrin XL ซึ่งถูกผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 โดยแวเลียนต์ฟาร์มาซูติคอลส์ (Valeant Pharmaceuticals) บูโพรพิออน (Bupropion) เป็นยาที่มีข้อข่งใช้หลักสำหรับต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่ มีจำหน่ายในตลาดยาสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า Wellbutrin, Zyban และอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แพทย์มักสั่งจ่ายบูโพรพิออนเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นหลัก ในขณะที่ประเทศอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้น การใช้บูโพรพิออนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวถือเป็นการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ (off-label use) ถึงแม้ว่ายานี้จะมีผลในการต้านซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ยานี้เป็นยาเสริมในกรณีที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทางเลือกแรกอย่างยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินได้ไม่เต็มที่ ปัจจุบัน บูโพรพิออนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด โดยส่วนใหญ่แล้วต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์หรือซื้อได้โดยใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ในประเทศไทย เนื่องจากสถานะทางกฎหมายปัจจุบันของบูโพรพิออนนั้นจัดเป็นยาอันตราย ประชาชนจึงสามารถเข้าถึงได้จากร้านยาที่มีเภสัชกรปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ที่ใช้ยานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อติดตามประเมินผลและเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด บูโพรพิออนเป็นยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางด้วยการยับยั้งการเก็บกลับนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีน (NDRI) โดยจัดเป็นยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอะทิพิคอล ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นที่เป็นที่นิยมสั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งมักเป็นยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินแบบจำเพาะ อย่างไรก็ตาม การได้รับการรักษาด้วยบูโพรพิออนอาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดอาการชักหรือโรคลมชักเพิ่มมากขึ้นได้ โดยความผิดปกติข้างต้นถือว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของบูโพรพิออน และเป็นสาเหตุที่ทำให้ยานี้ถูกเพิกถอนออกจากตลาดยาไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็ได้รับการรับรองให้นำกลับมาใช้ใหม่ภายใต้ขนาดยาแนะนำในการรักษาที่ลดต่ำลงจากเดิม ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบบูโพรพิออนกับยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นๆแล้วพบว่า บูโพรพิออนไม่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว, ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, หรือการนอนไม่หลับ เหมือนที่เกิดขึ้นในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าอื่น เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่าบูโพรพิออนนั้นส่งผลต่อเป้าหมายทางชีวภาพหลากหลายตำแหน่งในร่างกาย แต่ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อเป็นยาต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่นั้นเป็นผลมาจากการที่ยานี้ออกฤทธิ์เป็นสารยับยั้งการเก็บกลับนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีนและปิดกั้นตัวรับนิโคทินิคในร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้อาการซึมเศร้าบรรเทาลง และเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด ตามลำดับ ทั้งนี้ บูโพรพิออนจัดเป็นสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มอะมิโนตีโตน ซึ่งมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอย่างคาทิโนน, แอมฟีพราโมน และฟีนีไทลามีน บูโพรพิออนถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนาริแมน เมห์ต้า (Nariman Mehta) เมื่อปี..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและบูโพรพิออน · ดูเพิ่มเติม »

พลูโทเนียม

ลูโทเนียม (Plutonium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 94 และสัญลักษณ์ คือ Pu เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี เป็นโลหะแอกทิไนด์สีขาวเงิน และจะมัวลงเมื่อสัมผัสอากาศซึ่งเกิดจากการรวมตัวกับออกซิเจน โดยปกติ พลูโทเนียมมี 6 ไอโซโทป และ 4 สถานะออกซิเดชัน สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับคาร์บอน ฮาโลเจน ไนโตรเจน และซิลิกอน เมื่อสัมผัสอากาศชื้นจะสร้างสารประกอบออกไซด์และไฮไดรด์มากกว่า 70 % ของปริมาตรซึ่งจะแตกออกเป็นผงแป้งที่สามารถติดไฟได้เอง พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ไอโซโทปที่สำคัญของพลูโทเนียม คือ พลูโทเนียม-239 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 24,100 ปี พลูโทเนียม-239 และ 241 เป็นวัสดุฟิสไซล์ ซึ่งหมายความว่านิวเคลียสของอะตอมสามารถแตกตัว โดยการชนของนิวตรอนความร้อนเคลื่อนที่ช้า ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงาน รังสีแกมมา และนิวตรอนจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ได้ นำไปสู่การประยุกต์สร้างอาวุธนิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ พลูโทเนียม-244 ซึ่งมีครึ่งชีวิตประมาณ 80 ล้านปี นานพอที่จะสามารถพบได้ในธรรมชาติ พลูโทเนียม-238 มีครึ่งชีวิต 88 ปี และปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา มันเป็นแหล่งความร้อนของเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี ซึ่งใช้ในการให้พลังงานในยานอวกาศ พลูโทเนียม-240 มีอัตราของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมด้วยตัวเองสูง เป็นการเพิ่มอัตรานิวตรอนพื้นฐานของตัวอย่างที่มีไอโซโทปนี้ประกอบอยู่ด้วย การมีอยู่ของ Pu-240 เป็นข้อจำกัดสมรรถภาพของพลูโทเนียมที่ใช้ในอาวุธหรือแหล่งพลังงานและเป็นตัวกำหนดเกรดของพลูโทเนียม: อาวุธ (19%) ธาตุลำดับที่ 94 สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและพลูโทเนียม · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กรด

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรด · ดูเพิ่มเติม »

กรดกระเพาะอาหาร

แผนภาพการควบคุมการหลั่งกรดกระเพาะ กรดกระเพาะ (Gastric acid) คือ สิ่งคัดหลั่งจากกระเพาะอาหาร โดยมีองค์ประกอบส่วนใหญ่ คือ กรดไฮโดรคลอริก นอกจากนี้ ยังพบโปแตสเซียมคลอไรด์และโซเดียมคลอไรด์อีกบ้างเล็กน้อย หมวดหมู่:กรด หมวดหมู่:ระบบทางเดินอาหาร หมวดหมู่:สารน้ำในร่างกาย.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กรดอนินทรีย์

กรดอนินทรีย์ (Mineral acid) หรือเรียกอีกอย่างว่า "กรดแร่" คือกรดที่เกิดจากแร่ธาตุ กรดประเภทนี้มักเป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง เช่น กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric Acid) หรือกรดเกลือ (กรดน้ำย่อย) กรดซัลฟิวริก (Sulfuric Acid) หรือกรดกำมะถัน (กรดในแบตเตอรีรถยนต์) และกรดไนตริก (Nitric Acid) หรือกรดดินประสิว เป็นต้น หมวดหมู่:กรด.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

กรดฮิวมิก

กรดฮิวมิค (Humic acid) เป็นส่วนประกอบหลักของสสารฮิวมิค (humic substances) ซึ่งสสารฮิวมิคเป็นสารประกอบหลักของดิน (ฮิวมัส), พีต, ถ่านหิน, แม่น้ำในที่ดอนหลายๆแห่ง, หนองน้ำ (dystrophic lakes), และน้ำมหาสมุทร กรดฮิวมิคเกิดขึ้นโดยกระบวนการย่อยสลายในทางชีวภาพของสารอินทรีย์ที่ตายลง กรดฮิวมิคไม่ใช่กรดเดี่ยวๆ แต่เป็นการผสมของกรดหลายๆชนิดที่อยู่ในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกและฟีนอล (phenol) โดยส่วนผสมนี้ (กรดฮิวมิค) จะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ dibasic acid หรือ บางครั้งก็คล้ายกับ tribasic acid กรดฮิวมิคสามารถจะจับตัวกับไอออนที่พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมมาเป็นสารประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination complex) ได้ กรดฮิวมิคและกรดฟูลวิค (fulvic acid) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการช่วยปรับปรุงดินสำหรับเกษตรกรรม และแม้ไม่แพร่หลายเท่ากับการใช้ในเกษตรกรรม กรดทั้งสองนี้ยังถูกใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับคนด้ว.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดฮิวมิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดคลอริก

กรดคลอริก (Chloric acid) มีสูตรเคมีว่า HClO3 เป็นกรดออกโซ (กรดที่ประกอบด้วยธาตุออกซิเจน) ของคลอรีน และถือว่าเป็นสารประกอบเกลือคลอเรตตัวแรกในลำดับที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ กรดคลอริกเป็นกรดแก่ มีค่าคงที่สมดุลของกรด (pKa) ประมาณ −1 และยังเป็นตัวรับอิเล็กตรอน (oxidant) อีกด้ว.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดคลอริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดซัลฟิวริก

กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid หรือ sulphuric acid) มีสูตรเคมีว่า H2SO 4 เป็นกรดแร่ (mineral acid) แก่ ละลายได้ในน้ำในทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดซัลฟิวริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดแมนดีลิก

กรดแมนดีลิก (Mandelic acid) เป็นกรดอะโรมาติกอัลฟาไฮดรอกซี มีสูตรโครงสร้างโมเลกุลเป็น C6H5CH (OH) CO2H มีส่วนของโมเลกุลที่เป็นไครัลอะตอม โดยสารผสมราซิมิค (racemic mixture) ของกรดแมนดีลิกมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรดพาราแมนดีลิก (paramandelic acid) ทั้งนี้ กรดแมนดีลิกบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว ละลายได้ดีในน้ำและตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีขั้ว กรดแมนดีลิกถือเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในการผลิตยาหลายชนิด กรดแมนดีลิกถูกค้นพบโดยเฟอร์ดินาน ลูดวิก วิงเคลอร์ เภสัชกรชาวเยอรมัน เมื่อปี 1831 จากการให้ความร้อนแก่สารสกัดที่ได้จากอัลมอนด์ขม นอกจากนี้ยังพบการเกิดกรดแมนดีลิกขึ้นได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึมของเอพิเนฟรีน และนอร์เอพิเนฟริน ในร่างกาย ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์กรดแมนดีลิกขึ้นได้หลากหลายช่องทางภายในห้องปฏิบัติการ โดยกรดแมนดีลิกนี้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อเป็นยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงการใช้เพื่อช่วยในการผลัดเซลล์ผิว.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดแมนดีลิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรฟลูออริก

กรดไฮโดรฟลูออริก เป็นสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ในน้ำ แม้ว่าจะมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างแรงและยากแก่การใช้งาน กรดนี้เป็นเพียงกรดอ่อนเท่านั้น กรดไฮโดรฟลูออริกใช้เป็นแหล่งของฟลูออรีนในการสังเคราะห์สารประกอบต่างๆ ทั้งยาและพอลิเมอร์ เช่น เทฟลอน คนทั่วไปรู้จักกรดไฮโดรฟลูออริกในฐานะกรดกัดแก้ว เพราะกรดชนิดนี้ทำปฏิกิริยากับซิลิกอนไดออกไซด์ได้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดไฮโดรฟลูออริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรโบรมิก

กรดไฮโดรบอมิก (hydrobromic acid) เป็นสารละลายของแก๊สไฮโดรเจนโบรไมด์ ลักษณะของแก๊สโบรมีนคือ มีสีแดงแกมน้ำตาล ทำลายเยื่อบุตาและระบบทางเดินหายใจ กรดไฮโดรบอมิกเป็นกรดที่สามารถกัดกร่อนรุนแรง มีค่า pH ประมาณ 1 ลักษณะของกรดไฮโดรโบมิก เป็นกรดที่อยู่ในจำพวก ไฮโดร (กรดที่มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ อโลหะและของเหลว) สมการเกิดกรดไฮโดรบอมิก คือ.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดไฮโดรโบรมิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสัน

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนแกสตรินที่เพิ่มขึ้น ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดไฮโดรคลอริกออกมามากเกินไป โรคนี้ถูกค้นพบและวินิจฉัยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 (1955) โดยซอลลิงเกอร์ (Zollinger RM) และเอลลิสัน (Ellison EH) ในบันทึกการแพทย์ "Primary peptic ulcerations of the jejunum associated with islet cell tumors of the pancreas." ("การเกิดแผลบริเวณเจจูนัมขั้นแรกร่วมกับการเกิดกลุ่มเนื้องอกขนาดเล็กบริเวณตับอ่อน") และชื่อของพวกเขาเองก็ถูกตั้งให้เป็นชื่อโรค (ในภาษาอังกฤษ) เพื่อเป็นเกียรติให้กับพวกเขาในเวลาต่อม.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสัน · ดูเพิ่มเติม »

การย่อยอาหาร

การย่อยอาหาร (digestion) เป็นการสลายโมเลกุลอาหารที่ไม่ละลายน้ำขนาดใหญ่เป็นโมเลกุลอาหารละลายน้ำขนาดเล็กเพื่อให้สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่น้ำเลือดได้ ในสิ่งมีชีวิตบางชนิด สสารขนาดเล็กกว่าเหล่านี้ถูกดูดซึมผ่านลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด การย่อยอาหารเป็นแคแทบอลิซึมรูปแบบหนึ่งซึ่งแบ่งวิธีการสลายอาหารออกได้เป็นสองวิธี คือ การย่อยอาหารเชิงกลและการย่อยอาหารเชิงเคมี คำว่า การย่อยอาหารเชิงกล หมายถึง การสลายเชิงกายภาพของชิ้นอาหารขนาดใหญ่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งทำให้เอ็นไซม์ย่อยอาหารเข้าถึงได้ต่อไป ในการย่อยอาหารเชิงเคมี เอ็นไซม์จะสลายอาหารเป็นโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ ในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ อาหารเข้าสู่ปากและการย่อยอาหารเชิงกลเริ่มต้นด้วยการเคี้ยว ซึ่งเป็นการย่อยอาหารเชิงกลรูปแบบหนึ่ง และการสัมผัสทำให้เปียกของน้ำลาย น้ำลายซึ่งเป็นของเหลวที่หลั่งจากต่อมน้ำลาย มีเอ็นไซม์อะไมเลสของน้ำลาย ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่เริ่มการย่อยแป้งในอาหาร น้ำลายยังมีเมือกที่หล่อลื่นอาหาร และไฮโดรเจนคาร์บอเนตซึ่งทำให้ภาวะ pH เหมาะสม (ด่าง) สำหรับการทำงานของอะไมเลส หลังการเคี้ยวและการย่อยแป้งดำเนินไป อาหารจะอยู่ในรูปของก้อนแขวนลอยขนาดเล็กทรงกลม เรียก โบลัส (bolus) จากนั้นจะเคลื่อนลงตามหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารด้วยการทำงานของการบีบรูด (peristalsis) น้ำย่อยกระเพาะอาหารในกระเพาะอาหารเริ่มการย่อยโปรตีน น้ำย่อยกระเพาะอาหารประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกและเพพซินเป็นหลัก เนื่องจากสารเคมีสองตัวนี้อาจสร้างความเสียหายต่อผนังกระเพาะอาหารได้ กระเพาะอาหารจึงมีการหลั่งเมือก ทำให้เกิดชั้นซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันฤทธิ์กัดกร่อนของสารเคมีทั้งสอง ขณะเดียวกับที่เกิดการย่อยโปรตีน เกิดการคลุกเคล้าเชิงกลโดยการบีบรูด ซึ่งเป็นระลอกการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนตามผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ก้อนอาหารคลุกเคล้ากับเอ็นไซม์ย่อยเพิ่ม หลังเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ของเหลวหนาที่เกิดขึ้นเรียก ไคม์ (chyme) เมื่อลิ้นหูรูดกระเพาะส่วนปลายเปิด ไคม์เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ซึ่งมีการคลุกเคล้ากับเอ็นไซม์ย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ และผ่านสู่ลำไส้เล็ก ซึ่งการย่อยอาหารเกิดขึ้นต่อ เมื่อไคม์ถูกย่อยอย่างสมบูรณ์แล้ว จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด การดูดซึมสารอาหาร 95% เกิดในลำไส้เล็ก น้ำและแร่ธาตุถูกดูดซึมกลับเข้าสู่เลือดในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมี pH เป็นกรดเล็กน้อยประมาณ 5.6 ~ 6.9 วิตามินบางตัว เช่น ไบโอตินและวิตามินเค ซึ่งผลิตจากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ก็ถูกดูดซึมเข้าสู่เลือดในลำไส้ใหญ่เช่นกัน ส่วนของเสียถูกำจัดออกจากไส้ตรงระหว่างการถ่ายอุจจาร.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและการย่อยอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การละลาย

ละลาย (Solubility) คือสมบัติหนึ่งของของแข็ง, ของเหลว หรือแก๊ส ในทางเคมีเรียกว่าสารละลายซึ่งสามารถละลายได้ในทั้งของแข็ง, ของเหลว และแก๊ส เพื่อที่จะทำให้ได้สารสถานะเดียวกับตัวทำละลาย การละลายของสสารโดยขั้นต้นแล้วจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายเฉกเช่นเดียวกับอุณหภูมิและความดัน เมื่อการละลายถึงจุดอิ่มตัวแล้ว การเติมตัวละลายลงในตัวทำละลายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกจะไม่มีผลใดๆ ต่อการละลาย กล่าวคือจะไม่ทำให้สารละลายเข้มข้นขึ้นหรือเจือจางลง โดยส่วนมากแล้วตัวทำละลายจะมีสถานะเป็นของเหลวทั้งในแบบสารบริสุทธิ์และสารประกอบ บางครั้งเกิดสารละลายในรูปของสารละลายของแข็ง แต่เกิดน้อยครั้งมากในกรณีที่เกิดในรูปของสารละลายแก.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและการละลาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

วะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (อังกฤษ:inorganic compound) คือสารประกอบที่มีในโลกที่ไม่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สตรอนเชียมซัลเฟต

ตรอนเชียมซัลเฟต (Strontium sulfate) เป็นเกลือซัลเฟตของสตรอนเชียม มันเป็นผงผลึกสีขาวและเกิดขึ้นในธรรมชาติเป็นแร่เซเลสไทน์ และเป็นคุณภาพที่ละลายน้ำได้ในน้ำที่มีขอบเขตของ1 ส่วนใน 8,800 มันเป็นที่ละลายน้ำได้ในเจือจางกรดไฮโดรคลอริก และกรดไนตริกและประเมินค่าละลายน้ำได้ในการแก้ไขปัญหาคลอไรด์ด่าง (เช่น โซเดียมคลอไรด์).

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและสตรอนเชียมซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

สติบไนท์

ติบไนท์ (Stibnite) หรือบางครั้งอาจเรียก แอนติโมไนท์ (Antimonite) เป็นแร่ในกลุ่มแร่ซัลไฟด์ มีระบบผลึกแบบออร์โธรอมบิก ลักษณะโดยทั่วไปของแร่ มีสีเทาตะกั่วปนน้ำเงิน ผงละเอียดสีเทาตะกั่ว มีความวาวแบบโลหะ ลักษณะผลึกที่พบมีทั้งลักษณะปลายเรียวแหลมคล้ายเข็มเกาะกลุ่มกัน และลักษณะใบมีดซ้อนทับกัน แสดงลักษณะรอยแตกเรียบ 2 แนว มีความถ่วงจำเพาะ เท่ากับ 4.5 และมีความแข็งตามโมห์ฮาร์ดเนสสเกล (Mohs hardness scale) เท่ากับ 2 แร่สติบไนท์มักเกิดร่วมกับ แร่ไพไรต์ แร่สฟาเลอไรต์ แร่กาลีนา แร่ซินนาบาร์ ส่วนใหญ่เกิดโดยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอล อัลเทอร์เรชั่น (Hydrothermal Alteration).

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและสติบไนท์ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น หรือ สรั่น บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและหญ้าฝรั่น · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียมคาร์บอเนต

อะลูมิเนียมคาร์บอเนต (Aluminium carbonate) เป็นคาร์บอเนตของอะลูมิเนียม ซึ่งอะลูมิเนียมคาร์บอเนตนี้ยังไม่สามารถยืนยันคุณสมบัติได้แน่ชัด ใช้เป็นยาลดกรด เมื่ออยู่ในกระเพาะจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและอะลูมิเนียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

อะซิโตนเพอร์ออกไซด์

อะซิโตนเพอร์ออกไซด์ อะซิโตนเพอร์ออกไซด์ (อังกฤษ:acetone peroxide) เป็นสารประกอบจากอะซิโตน และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ มีคุณสมบัติไวต่อความร้อนและความสั่นสะเทือน ซึ่งเมื่อได้รับความร้อนหรือความสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย จะทำให้พันธะระหว่างออกซิเจนที่เกาะตัวกันอย่างหลวมๆ แตกตัวออก และเกิดแรงอัดของแก๊สจำนวนมากออกมา ทำให้เกิดการระเบิด อะซิโตนเพอร์ออกไซด์ มีลักษณะเป็นผลึกคล้ายกับน้ำตาล ทำให้ตรวจจับยาก และสามารถผลิตด้วยสารตั้งต้นที่หาได้ง่าย ประกอบด้วยอะซิโตน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ และกรดไฮโดรคลอริก หรือกรดซัลฟิวริก จึงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ก่อการร้าย อะซิโตนเพอร์ออกไซด์ มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อได้แก.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและอะซิโตนเพอร์ออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

อะโบมาซัม

ระบบย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง – กระเพาะอะโบมาซัมอยู่ล่างสุด อะโบมาซัม หรือ กระเพาะแท้ (abomasum หรือ maw, rennet-bag, reed tripe) เป็นกระเพาะอาหารลำดับที่ 4 และเป็นกระเพาะอาหารที่แท้จริงของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งสัตว์เคี้ยวเอื้องเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะขนาดใหญ่มีความจุของกระเพาะมากเนื่องมาจากอาหารที่กินส่วนใหญ่เป็นพืช อาหารสัตว์หรืออาหารที่มีลักษณะหยาบ เช่น หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้เล็ก ๆ รำหยาบ ฟาง เมล็ดธัญพืชทั้งเปลือก เป็นต้น ทำให้กระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เรียงตามลำดับดังนี้ รูเมน (rumen) เรติคิวลัม (reticulum) โอมาซัม (omasum) และ อะโบมาซัม (abomasum) คำว่า "อะโบมาซัม" มาจากภาษาละตินใหม่ ถูกนำมาใช้ในภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี ค.ศ. 1706 โดยประกอบขึ้นจากคำว่า ab- + omasum มีความหมายว่า "ลำไส้ของวัว".

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและอะโบมาซัม · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

คู่กรด-เบส

ตามทฤษฎีของโยฮันน์ นิโคเลาส์ เบรินสเตดและทอมัส มาร์ติน ลาวรี หรือทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี (Brønsted-Lowry) ที่ระบุไว้ว่าคู่กรด-เบส (Conjugate acid-base pair) คือสารประกอบสองตัว โดยตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นกรดในปฏิกิริยาไปข้างหน้า กับสารที่ทำหน้าที่เป็นเบสในปฏิกิริยาย้อนกลับ หรือในทางกลับกัน โดยสารที่เป็นคู่กรด-เบสกันจะมีจำนวนโปรตอนต่างกันอยู่ 1 โปรตอน และสารที่เป็นคู่กรดจะมีโปรตอน (H+) มากกว่าสารที่เป็นคู.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและคู่กรด-เบส · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา

ซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา (Sporopollen fossil) คือซากของพืชขนาดจุลภาค เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐาน (fossil palynomorph หรือ fossil sporomorph) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาบรรพชีวินวิทยา(Palyontology) ที่เกี่ยวข้องกับซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตขนาดจุลภาค และส่วนประกอบขนาดจุลภาคของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ซากดึกดำบรรพ์ละอองเรณู ซากดึกดำบรรพ์สปอร์ ไดโนแฟลกเจลเลตซีสต์ อาคริทาร์ช ชิตินโนซวน และวัตถุขนาดจุลภาคของซากดึกดำบรรพ์สาหร่าย และซากดึกดำบรรพ์ฟังไจ ซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐาน จะมีโครงสร้างประกอบด้วยสารเซลลูโลสจำพวกสปอโรพอลเลนิน ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดแม้ว่าจะเป็นกรดเข้มข้นหรือที่อุณหภูมิน้ำเดือดก็ตาม ดังนั้นในการสกัดซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐานออกจากเนื้อหินจึงต้องอาศัยการละลายตัวอย่างหินด้วยกรดชนิดต่างๆ เช่น กรดเกลือ และกรดกัดแก้ว จะทำการกัดกร่อนแร่ประกอบหิน เช่น สารประกอบในหินปูน และ สารประกอบหินประเภทซิลิกา ให้ละลายออกไป ท้ายที่สุดก็จะเหลืออนุภาคสารอินทรีย์ที่อาจเป็นเศษสารอินทรีย์ทั่วไปและอินทรีย์วัตถุของซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐาน จากนั้นจะทำการแยกซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐานออกจากอินทรีย์วัตถุอื่นๆด้วยสารเคมีบางตัว เช่น ซิงค์โบไมด์ หรือ ซิงค์คลอไรด์ เป็นต้น การศึกษาซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐาน จะทำการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ทั้งกล้องจุลทรรศน์แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอนแบบส่องกราด เพื่อทำให้ทราบถึงขนาด รูปร่าง ผนังเซลล์ และลวดลายต่างๆบนพื้นผิว เป็นต้น รูปด้านขวามือเป็นภาพของเรณูสัณฐานละอองเรณูของกระจับโบราณ (สปอโรทราปออิดิทีส เมดิอุส หรือ Sporotrapoidites medius) จากชั้นหินอายุประมาณสมัยโอลิโกซีน-ไมโอซีน ของเหมืองนาฮ่อง ตำบลบ้านนาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ภาพด้านบนได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เป็นภาพด้านขั้วของเรณูสัณฐานซึ่งหากเรณูสัณฐานไม่ถูกกดทับทำให้แบน เรณูสัณฐานนี้จะมีรูปทรงกรม มีสันนูน 3 สันโยงมาบรรจบกันเห็นเป็นสามแฉกบนพื้นที่ขั้วนี้ โดยพื้นที่ขั้วด้านตรงข้ามก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนจากภาพที่ถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสงเนื่องจากเรณูสัณฐานมีคุณสมบัติโปร่งแสง การประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์ทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกัน จะช่วยให้การบรรยายรูปลักษณ์สัณฐานของเรณูสัณฐานได้ละเอียดถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น หมวดหมู่:ซากดึกดำบรรพ์.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาสะเทิน

ปฏิกิริยาการสะเทินระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก อินดิเคเตอร์คือ โบรโมไทมอลบลู ในทางเคมี ปฏิกิริยาสะเทิน (neutralization หรือ neutralisation) หรือ ปฏิกิริยาการสะเทิน หรือ ปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์ ก็เรียก เป็นปฏิกิริยาเคมี ซึ่งกรดและเบสทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นเกลือ บ่อยครั้งที่เกิดน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ด้วย แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรดและเบสอาร์เรเนียส จะให้น้ำด้วยเสมอ ดังสมการ เมื่อ Y และ X เป็นไอออนบวกและไอออนลบที่มีค่าประจุเป็น +1 และ -1 ตามลำดับ XY จะเป็นเกลือที่เกิดขึ้น ตัวอย่างปฏิกิริยารูปนี้ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีโซเดียมเป็น Y และคลอรีนเป็น X ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้น คือ น้ำและเกลือแกงสามัญ ปฏิกิริยาสะเทินสามารถพิจารณาได้เป็นสมการไอออนสุทธิ เช่น การแสดงนี้คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดี เพราะไฮโดรเจนไอออน (H+) แท้จริงแล้วมิได้เกิดขึ้นในสารละลายระหว่างปฏิกิริยาสะเทิน ที่จริงแล้ว ไฮโดรเนียมไออน (H3O+) ต่างหากที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลตามสมการด้านล่าง เมื่อพิจารณาไฮโดรเนียมไออน สมการไอออนสุทธิแท้จริงจะเป็น ในปฏิกิริยาไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (non-aqueous) มีความเป็นไปได้น้อยว่าจะเกิดน้ำขึ้น อย่างไรก็ดี กรดกับเบสจะมีการให้โปรตอนเสมอ (ตามทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-บาวรี) เนื่องจากมีนิยามกรดและเบสหลายอย่าง ปฏิกิริยาทั้งหลายจึงอาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาการสะเทินได้ ซึ่งทั้งหมดด้านล่างนี้อาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาสะเทินได้ตามนิยามแตกต่างกัน บ่อยครั้ง ปฏิกิริยาสะเทินเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก ตัวอย่างของการสะเทินแบบดูดความร้อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนต (โซดาทำขนม) กับกรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู) การสะเทินหมายถึงการทำให้เป็นกลาง ในทางเคมี "เป็นกลาง" หมายถึง pH เท่ากับ 7.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและปฏิกิริยาสะเทิน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน

ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน (double displacement reaction) หรือ แทนที่คู่ หรือ เมต้าทีสีส (metathesis) หรือปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนไอออน คือ การที่สารประกอบสองตัวแลกเปลี่ยนไอออนซึ่งกันและกันแล้วเกิดเป็นสารประกอบใหม่สองตัวขึ้นมาแทนที่ สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ กค + ขง → กง + ขค ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีจริงเป็นดังนี้ สารประกอบที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวบางตัวอาจตกตะกอน ก๊าซที่ไม่ละลายในสารละลายนั้นหรืออาจจะเกิดเป็นโมเลกุลของน้ำก็ได้ ปฏิกิริยาทำให้เป็นกลางอาจจะเป็นกรณีพิเศษสำหรับปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกันคือจำนวนของกรดจะต้องเท่ากับจำนวนของด่างแล้วเกิดเป็นเกลือและน้ำขึ้นดังตัวอย่างข้างล่างนี้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน · ดูเพิ่มเติม »

แมงกานีส(II,III) ออกไซด์

แมงกานีส(II,III) ออกไซด์ (Manganese(II,III) oxide) เป็นสารประกอบเคมีที่มีสูตรว่า Mn3O4 แมงกานีส มีออกซิเดชัน 2 ตัว คือ +2 และ +3 และบางครั้งสูตรเขียนเป็น MnO.Mn2O3 Mn3O4 พบในธรรมชาติ เช่นเดียวกับแร่ฮอสแมนไนต.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและแมงกานีส(II,III) ออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนีย

แอมโมเนีย เป็น สารประกอบเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน โดยมี สูตรเคมี ดังนี้ NH3.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและแอมโมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนียมคลอไรด์

ณสมบัติ ทั่วไป Sample of ammonium chlorideแอมโมเนียมคลอไรด์ กายภาพ เคมีความร้อน (Thermochemistry) ความปลอดภัย (Safety) SI units were used where possible.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและแอมโมเนียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมคาร์บอเนต

แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) เป็นสารประกอบมีสูตรเคมีคือ CaCO3 คาร์บอเนต ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์แล้วกลายเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต (ซึ่งมีสูตรเคมีคือ Ca (HCO3) 2) แคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายในน้ำได้เล็กน้อย ในธรรมชาติพบในรูปดังนี้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและแคลเซียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

แคดเมียมคลอไรด์

แคดเมียมคลอไรด์ (cadmium chloride) เป็นสารประกอบแคดเมียมและคลอรีน มีสูตรเคมีคือ CdCl2 มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีคุณสมบัติเป็นสารดูดความชื้น โครงสร้างของแคดเมียมคลอไรด์เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแบบสมมาตร คล้ายกับโครงสร้างของแคดเมียมไอโอไดด์ แคดเมียมคลอไรด์เป็นกรดแบบลิวอิสแบบอ่อนN.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและแคดเมียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

แซกคารีน

แซกคารีน (saccharin) หรือ ดีน้ำตาล หรือที่เรียกกันผิดว่า ขัณฑสกร มีชื่อทางเคมีว่า 2,3-dihydro-3-oxobenzisosulfonazole มีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะเป็นช่วงที่น้ำตาลขาดแคลน แซกคารีนถูกค้นพบโดยบังเอิญ โดยนายคอนสแตนติน ฟาห์ลเบอร์ก มีรสหวานจัด เคยใช้ปรุงแต่งรสหวานในอาหาร ปัจจุบันใช้น้อยลงเพราะเป็นสารก่อมะเร็ง.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและแซกคารีน · ดูเพิ่มเติม »

โมโนโซเดียมกลูตาเมต

มโนโซเดียมกลูตาเมต (monosodium glutamate) มักเรียกกันว่า ผงชูรส วัตถุเจือปนอาหารประเภทวัตถุปรุงแต่งรสอาหารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โมโนโซเดียมกลูตาเมตมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติในการเป็นสารเพิ่มรสชาติอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติโดยรวมดีขึ้น เนื่องจากเมื่อโมโนโซเดียมกลูตาเมตละลายน้ำ จะแตกตัวได้โซเดียมและกลูตาเมตอิสระที่มีสมบัติในการเพิ่มรสชาติอาหาร โดยช่วยเพิ่มรสชาติของรสชาติพื้นฐาน 4 รสที่เรารู้จักกันดีคือ รสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขม ให้เด่นชัดมากขึ้น ในการศึกษาทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับรสชาติพบว่าผงชูรสสามารถกระตุ้น Glutamate Receptor แล้วทำให้เกิดรสชาติเฉพาะตัวที่เรียกว่ารสอูมามิ (Umami) ซึ่งเป็นรสที่ 5 ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้และมีเอกลักษณ์แตกต่างจากรสชาติพื้นฐานทั้ง 4 โมโนโซเดียมกลูตาเมตเป็นสารประกอบประเภทกลูตาเมตซึ่งเป็นเกลือของ กรดกลูตามิก (Glutamic acid) อันเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนทั่วไป เช่น โปรตีนในเนื้อสัตว์ โปรตีนในนม และโปรตีนในพืช โดยกลูตาเมตจะจับอยู่กับกรดอะมิโนตัวอื่นๆ เกิดเป็นโครงสร้างของโปรตีน กลูตาเมตที่อยู่ในรูปของโปรตีนจะไม่มีกลิ่นรสและไม่มีคุณสมบัติทำให้เกิดรสอูมามิในอาหาร แต่เมื่อเกิดการย่อยสลายของโปรตีน เช่น เกิดกระบวนการหมัก การบ่ม การสุกงอมของผักและผลไม้ การทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้กลูตาเมตในโปรตีนเกิดการสลายแยกตัวออกมาเป็นกลูตาเมตอิสระ ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดรสอูมามิในอาหาร นอกจากนี้ ยังได้มีการค้นพบว่าสารที่เกิดจากการย่อยสลายไรโบนิวคลีโอไทด์ในนิวเคลียสของเซลล์สิ่งมีชีวิตซึ่งได้แก่ ไอโนซิเนต(Inosinate) และกัวไนเลต(Guanylate)ก็มีคุณสมบัติให้รสอูมามิเช่นเดียวกับกลูตาเมตอิสระ ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าไอโนซิเนตและกัวไนเลตมีคุณสมบัติในการเสริมรสอูมามิให้เด่นชัดมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับกลูตาเมต โดยผลการเสริมกันนี้มีลักษณะแบบ Synergistic Effect.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโมโนโซเดียมกลูตาเมต · ดูเพิ่มเติม »

โลหวิทยาการละลาย

ลหวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgy) เป็นวิชาเกี่ยวกับกระบวนการแยกสกัดและการผลิตโลหะ โดยการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมชะละลายสินแร่หรือสารประกอบที่ได้จากการประกอบโลหกรรมอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างจากโลหวิทยาความร้อนสูง (Pyrometallurgy) โลหวิทยาสารละลายแบ่งเป็น 2 กระบวนการที่แตกต่างกัน (1) ชะละลายโลหะหรือสารประกอบที่ต้องการจากสินแร่ลงในสารละลาย (2) ชะละลายมลทินออกจากสินแร่ ส่วนโลหะหรือสารประกอบที่ต้องการยังอยู่ในรูปของแข็งแล้วแยกออกจากสารละลายในภายหลัง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพแร่ให้สูงขึ้น เช่น การใช้กรดเกลือชะละลายแคลไซด์ จากหัวแร่ทังสเตนที่ได้จากการลอยแร่ การเลือกกระบวนการหนึ่งกระบวนการใดขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการละลายสิ่งที่ต้องการหรือสิ่งที่ไม่ต้องการออกมาโดยคำนึงถึงด้านค่าใช้จ่ายและกรรมวิธีเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วโลหวิทยาสารละลายใช้วิธีการแรกดำเนินการเป็นส่วนใหญ.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโลหวิทยาการละลาย · ดูเพิ่มเติม »

โอลิวีน

'''Descripyion:''''''Mineral:''' Forsterite: Mg2SiO4 Olivine: (Mg,Fe) 2SiO4 '''Location:''' Skardu, Nooristan, Pakistan. '''Scale:''' 2.5 x 2.7 cm. '''Description:''' olivine from San Carlos Indian Reservation, Arizona-3 '''Credit:''' R.Weller/Cochise College '''Crystal structure of olivine.''''''Description:''' The dominant slip system in olivine changes with temperature from the 110 plane in the 001 direction at low temperature to 010 plane in the 100 direction at high temperature. At intermediate temperature, there are a number of slip systems in the 001 direction. '''Description:''' การแบ่งแร่โอลิวีนตามองค์ประกอบทางเคมี '''Reference:''' C. Klein and C.S. Hurlbut, Jr., Manual of Mineralogy, copyright © 1985 John Wiley & Sons, Inc., reprinted with permission of John Wiley & Sons, Inc. โอลิวีน (Olivine) เป็นภาษาโบราณ หมายถึง สีเขียวมะกอก (Olive green) และยังหมายถึงว่า เป็น แร่ประกอบหิน แต่ในลักษณะที่เป็นรัตนชาติ เรียกว่า เพริดอต (Peridot) ส่วนคำว่า คริโซไลต์ (Chysolite) ก็หมายถึง โอลิวีน เช่นกัน แร่ในกลุ่มนี้ประกอบด้ว.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโอลิวีน · ดูเพิ่มเติม »

โดโลไมต์

ลไมต์ (dolomite) เป็นชื่อแร่ ตั้งชื่อให้ป็นเกียรติแก่นักเคมีชาวฝรั่งเศส Déodat Gratet de Dolomieu (พ.ศ. 2293-2344) รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม ผลึกของแร่มักจะพบในรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผิวหน้าผลึกมักจะโค้ง บางครั้งจะโค้งเป็นรูปคล้ายอานม้า ผลึกในแบบอื่นมีพบได้บ้างแต่น้อย ซึ่งอาจพบเป็นเม็ดหยาบๆ ไปจนกระทั่งเม็ดเล็กเกาะกันแน่น แข็ง 3.5-4..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโดโลไมต์ · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคาร์บอเนต

ซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช หรืออีกชื่อคือ โซดาซักผ้า สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี ในประเทศอื่น ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) ซึ่งค้นพบโดย เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ แอมโมเนีย และ แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ 1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ นิโคลาส เลอบลังก์ ในปี พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค (กรดเกลือ) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์ ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2423 - 2433 (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20 ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920).

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโซเดียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมซัลเฟต

ซเดียมซัลเฟต (Sodium sulfate) เป็นเกลือโซเดียมของกรดกำมะถัน เมื่อปราศจากน้ำจะเป็นผลึกสีขาว มีสูตร Na2SO4 เรียกว่าเกลือของ Glauber ของแข็งอีกรูปหนึ่งจะมีน้ำ 7 โมเลกุล ใช้ในทางอุตสาหกรรม เช่นในอุตสาหกรรมกระดาษ รูปที่พบในธรรมชาติจะมีน้ำ 10 โมเลกุล เกิดเป็นผลพลอยได้ในการผลิตกรดไฮโดรคลอริก โซเดียมซัลเฟตรูปที่มีโมเลกุลของน้ำ 10 โมเลกุลเรียกว่าดีเกลือไทย ได้มาจากการทำนาเกลือ ในตำรับยาโบราณใช้เป็นยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ใช้ผสมในน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็น ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าและพิมพ์ผ้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโซเดียมซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

ไอเอิร์น(III) คลอไรด์

อเอิร์น(III) คลอไรด์ (Iron(III) chloride) เรียกอีกอย่างว่า เฟอร์ริคคลอไรด์ (ferric chloride) เป็นขนาดโภคภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสารประกอบเคมีที่มีสูตร FeCl3 สีของผลึกไอเอิร์น(III) คลอไรด์ขึ้นอยู่กับมุมมอง โดยเกิดแสงสะท้อนผลึกจะปรากฏเป็นสีเขียวเข้ม แต่ด้วยแสงที่ส่งพวกเขาจะปรากฏเป็นสีม่วงแดง ปราศจากไอเอิร์น(III) คลอไรด์ที่เป็นเดไลควีสเกนต์ กลายเป็นไฮเดรท ไฮโดรเจนคลอไรด์ ละอองในอากาศชื้น มันไม่ค่อยเป็นที่สังเกตในรูปแบบตามธรรมชาต.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไอเอิร์น(III) คลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรทัลไซต์

รทัลไซต์ (Hydrotalcite) เป็นยาลดกรดชนิดหนึ่ง ไฮโดรทัลไซต์มีสารเคมี (Mg6Al2 (CO3) (OH) 16 · 4 (H2O); Talcid&reg) เมื่ออยู่ในกระเพาะจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไฮโดรทัลไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนคลอไรด์

Submit to get this template or go to:Template:Chembox.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไฮโดรเจนคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนโบรไมด์

รเจนโบรไมด์ (hydrogen bromide) มีสูตรเคมีว่า HBr เป็นสารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งโมเลกุลประกอบขึ้นจากธาตุสองตัว ได้แก่ ไฮโดรเจน และโบรมีน ไฮโดรเจนโบรไมด์มีสถานะเป็นแก๊สที่ภาวะมาตรฐาน และเมื่อนำไปผสมน้ำจะได้เป็นกรดไฮโดรโบรมิก ในทางกลับกันเราสามารถสกัดเอาไฮโดรเจนโบรไมด์ออกจากสารละลายดังกล่าวได้ โดยการเติมตัวดูดความชื้น (dehydration agent) เพื่อไล่น้ำออก แต่ไม่สามารถแยกได้โดยการกลั่น ถือได้ว่าไฮโดรเจนโบรไมด์และกรดไฮโดรโบมิกมีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่ใช่สารชนิดเดียวกัน ซึ่งในบางครั้งนักเคมีอาจใช้สูตร "HBr" แทนกรดไฮโดรโบมิก พร้อมทั้งเป็นที่เข้าใจกันในหมู่นักเคมีส่วนใหญ่ แต่อาจทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนระหว่างสารสองชนิดนี้ได้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไฮโดรเจนโบรไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนไอโอไดด์

รเจนไอโอไดด์ (HI) เป็นสารประกอบขนาดสองอะตอม สารละลายของ HI เรียกว่ากรดไอโอไฮโดรอิก (iohydroic acid) หรือ กรดไฮโดรไอโอดิก (hydroiodic acid) มีฤทธิ์เป็นกรดแก่ อย่างไรก็ตามไฮโดรเจนไอโอไดด์นั้นมีสถาะเป็นก๊าซที่สภาวะมาตรฐานแต่กรดไอโอไฮโดรอิกเป็นสารละลาย HI ใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์และอนินทรีย์โดยเป็นแหล่งของไอโอดีนและใช้ในการทำปฏิกิริยารีดักชัน.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไฮโดรเจนไอโอไดด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทเทเนียม

ทเทเนียม (Titanium) เป็นธาตุเคมี มีสัญลักษณ์เป็น Ti มีเลขอะตอมเท่ากับ 22 มีความหนาแน่นต่ำ แข็ง ทนการกัดกร่อน (น้ำทะเล, น้ำประสานทอง (aqua regia) และ คลอรีน) เป็นโลหะทรานซิชันสีเงิน ไทเทเนียมได้รับการค้นพบในคอร์นวอลล์ บริเตนใหญ่ โดย วิลเลียม เกรเกอร์ (William Gregor) ในปี..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไทเทเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ไดคลอโรมีเทน

ลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ (Dichloromethane หรือ Methylene chloride) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง มีสูตรเป็น CH2Cl2 เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลาย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเป็นสารประกอบคลอโรคาร์บอนที่มีอันตรายน้อยที่สุดชนิดหนึ่ง การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิต.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไดคลอโรมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ไปรษณีย์ถล่ม

thumb ไปรษณีย์ถล่ม (mail-bomb, mailbomb, mail bomb, parcel bomb, letter bomb หรือ post bomb) คือ วัตถุระเบิดที่ส่งผ่านไปรษณียภัณฑ์ด้วยจุดประสงค์เพื่อสร้างความเสียหายหรือสังหารผู้เปิดไปรษณียภัณฑ์นั้น ไปรษณีย์ระเบิดนี้ถูกใช้มากในการก่อการร้าย บางประเทศมีหน่วยงานคอยตรวจสอบและป้องกันไปรษณีย์ถล่มโดยเฉพาะ เช่น สหรัฐอเมริกามีหน่วยพินิจไปรษณียภัณฑ์แห่งสหรัฐอเมริกา (United States Postal Inspection Service หรือ USPIS) ทั้งนี้ ใช่ว่าไปรษณีย์ถล่มจะเพิ่งถูกใช้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศของเรานี้ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้วพบว่ามีการใช้มานานพอ ๆ กับที่มีบริการไปรษณีย์ทีเดียว.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไปรษณีย์ถล่ม · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เบนซิลเพนิซิลลิน

เบนซิลเพนิซิลลิน (benzylpenicillin) หรือเพนิซิลลิน จี (penicillin G) เป็นยาเพนิซิลลินชนิดมาตรฐาน โดยตัว G ย่อมาจาก Gold Standard หมายถึงมาตรฐานสูงสุดในการรักษา เพนิซิลลินจีเป็นยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำเนื่องจากไม่คงทนในกรดไฮโดรคลอริกซึ่งมีอยู่ในกระเพาะอาหาร หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก หมวดหมู่:เพนิซิลลิน.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและเบนซิลเพนิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ (เคมี)

ผลึกเกลือ เมื่อส่องขยาย (เฮไลต์/เกลือแกง) ในทางเคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยแคตไอออนและแอนไอออน ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสุทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl−) กับอินทรีย์ (CH3COO−) หรือไอออนอะตอมเดี่ยว (F−) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) ก็ได้ เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและเกลือ (เคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เคซีน

ซีน (Casein มาจากภาษาละตินว่า caseus ซึ่งแปลว่า ชีส) เป็นชื่อของกลุ่มฟอสโฟโปรตีน คือ αS1, αS2, β, κ โปรตีนเหล่านี้พบโดยทั่วไปในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นส่วนถึง 80% ของโปรตีนในนมวัว และประมาณ 20%-45% ของโปรตีนในนมมนุษย์ เคซีนใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของชีส สารเติมแต่งอาหาร และตัวยึดในไม้ขีดไฟ โดยเป็นอาหาร เคซีนประกอบด้วยกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และสารอนินทรีย์สองอย่างคือแคลเซียมและฟอสฟอรั.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและเคซีน · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์โคเนียม(IV) คลอไรด์

ซอร์โคเนียม(IV) คลอไรด์ (Zirconium(IV) chloride) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่ใช้งานบ่อยเป็นสารตั้งต้นในสารประกอบอื่น ๆ ของเซอร์โคเนียม เป็นสีขาวละลายของแข็งไฮโดรไลซ์อย่างรวดเร็วในอากาศชื้น.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและเซอร์โคเนียม(IV) คลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hydrochloric acidHydrogen chlorideกรดเกลือไฮโดรคลอริกแอซิด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »