โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก

ดัชนี กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก

กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก (2,4-D) เป็นสารที่ถ้าใช้ในความเข้มข้นต่ำจะกระตุ้นการเจริญเติบโต ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูงจะเป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง เพราะมีฤทธิ์ของความเป็นออกซินสูงมาก โดยพืชใบเลี้ยงคู่ไวต่อการตอบสนองต่อ 2,4- D มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สารบริสุทธิ์อยู่ในรูปผลึกสีขาว ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ยกเว้นในรูปของเกลือโซเดียมจะละลายในน้ำได้ มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในระดับปานกลาง.

7 ความสัมพันธ์: กรดอินโดล-3-แอซีติกสารกำจัดวัชพืชออกซินฮอร์โมนพืชขี้ครอกขี้ไก่ย่านข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

กรดอินโดล-3-แอซีติก

กรดอินโดล-3-แอซีติก (Indole-3-acetic acid: IAA) เป็นฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซิน เป็นของแข็ง ไม่มีสี และเป็นออกซินธรรมชาติที่สำคัญมาก เป็นอนุพันธ์ของ indoleที่มีหมู่ carboxymethyl group (หรือกรดน้ำส้ม).

ใหม่!!: กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกและกรดอินโดล-3-แอซีติก · ดูเพิ่มเติม »

สารกำจัดวัชพืช

กำจัดวัชพืช, สารกำจัดวัชพืช, หรือ ยาฆ่าหญ้า เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าพืชที่ไม่ต้องการ ยากำจัดวัชพืชใช้ในการจัดการพื้นที่รกร้างหรือควบคุมวัชพืชในการเกษตร ยากำจัดวัชพืชมีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ยาฆ่าหญ้ามีทั้งชนิดเลือกทำลายและไม่เลือกทำลาย ชนิดเลือกทำลายมีฤทธิฆ่าพืชเฉพาะชนิด เช่น 2,4-D ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าทำลายเฉพาะพืชใบกว้าง โดยอาศัยส่วนประกอบทางเคมีที่เป็นฮอร์โมนพืชสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อถูกดูดซึมจะไปรบกวนเฉพาะกระบวนการเติบโตของพืชใบกว้าง ชนิดไม่เลือกทำลายมีฤทธิฆ่าพืชทุกชนิด เช่น ไกลโฟเสต และ พาราคว็อท.

ใหม่!!: กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกและสารกำจัดวัชพืช · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิน

ออกซิน (Auxin) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้มีการแบ่งเซลล์และยืดตัวของเซลล์ การขนส่งออกซินภายในพืชเป็นการขนส่งอย่างมีทิศทาง.

ใหม่!!: กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกและออกซิน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมนพืช

right ฮอร์โมนพืช หรืออาจเรียกว่า ไฟโตฮอร์โมน เป็นสารเคมีที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ฮอร์โมนพืชเป็นโมเลกุลที่ใช้ส่งสัญญาณและถูกผลิตขึ้นในต้นพืชเองและถูกพบในปริมาณความเข้มข้นที่ต่ำมาก ฮอร์โมนจะควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวกับเซลล์ในเซลล์เป้าหมายเฉพาะที่ ฮอร์โมนยังช่วยกำหนดรูปทรงของพืช, การงอกของเมล็ด, การออกดอก, เวลาการออกดอก, เพศของดอก, การแตกกิ่ง, การแตกใบ, การสลัดใบ, การเจริญเติบโต และการสุกของผลอีกด้วย พืชจะต่างกับสัตว์ตรงที่พืชไม่มีต่อมสำหรับหลั่งฮอร์โมน แต่เซลล์แต่ละเซลล์ของพืชจะมีความสามารถในการผลิตฮอร์โมนออกมาได้ ฮอร์โมนจะส่งผลกับกับลักษณะของพืชโดยทั่วไปเช่น การแตกกิ่ง, การอายุขัย, การสร้างใบ หรือแม้แต่การตายของพืชก็ตาม.

ใหม่!!: กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกและฮอร์โมนพืช · ดูเพิ่มเติม »

ขี้ครอก

ี้ครอก (Caesar weed, Hibiscus burr, Jute africain) ชื่ออื่นๆของขี้ครอก คือ ขมดง ชบาป่า บอเทอ ปะเทาะ ปอเส้ง ปูลุ เส้ง หญ้าผมยุ้ง หญ้าอียู หญ้าหัวยุ่ง นางนวล จัดอยู่ในวงศ์ Malvaceae ขี้ครอกเป็นพืชมีพิษ หนามมีขนทำให้ระคายเคือง ทุกส่วนของลำต้นถ้ารับประทานเป็นพิษต่อหัวใจทำให้หมดความรู้สึก ขี้ครอกเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร เปลือกเหนียว ลำต้นสีเขียวแกมเทา มีขนรูปดาวปกคลุมตลอดลำต้น ยอดอ่อน ใบและก้านใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเกาะติดของใบบนต้นเรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ปลายใบเว้าเป็น 3 พู ปลายแต่ละพูมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ มีหูใบ 1 คู่ รูปรี ดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ สีชมพูแกมม่วง กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบประดับ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูม่วง ก้านชูสีขาวนวลรวมกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้ ปลายเกสรแยกเป็น 10 ก้านสั้นๆ ส่วนปลายเป็นตุ่ม ผล ทรงกลมแป้นแบ่งเป็น 5 พู ผิวผลมีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด เมล็ด รูปไตสีน้ำตาล มีพูละ 1 เมล็.

ใหม่!!: กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกและขี้ครอก · ดูเพิ่มเติม »

ขี้ไก่ย่าน

ี้ไก่ย่าน เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง แสงส่องถึง และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินมาก สามารถปรับตัวได้แม้ว่าดินจะมีความอุดมสมบูรณ์น้อย เมล็ดสามารถกระจายได้ไกลโดยอาศัยลม ในการออกดอกหนึ่งครั้งสามารถผลิตเมล็ดได้จำนวนมากกว่า 20,000 - 40,000 เมล็ดโดยประมาณ.

ใหม่!!: กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกและขี้ไก่ย่าน · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

2,4-D2,4-Dichlorophenoxyacetic acid

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »