โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วานรสิบแปดมงกุฎ

ดัชนี วานรสิบแปดมงกุฎ

รูปบางส่วนของวานรสิบแปดมงกุฎ ในการแสดงโขนที่ลานคนเมืองเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน2549 วานรสิบแปดมงกุฏ เป็นวานร (ลิง) ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ วานรเหล่านี้เป็นเทวดาที่จุติลงมาเป็นวานร และมาเป็นทหารเอกในกองทัพของพระราม ผู้ซึ่งเป็นองค์พระนารายณ์อวตารลงมา และต้องไปอยู่ในป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี เพื่อรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดา คือท้าวทศรถ เมื่อพระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา ถูกทศกัณฐ์ กษัตริย์เมืองลงกา ลักพาตัวไป พระรามต้องนำกองทัพติดตามไปรับนางสีดาคืนมา โดยมีหนุมานผู้นำเอา สุครีพ ซึ่งเป็นน้าชายมาถวายตัวพร้อมไพร่พลเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูที่ยกกำลังพลเมืองชมพูให้เป็นทหารแห่งองค์พระราม วานรสิบแปดมงกุฏจึงเป็นกำลังพลในทัพขององค์พระราม ที่มาจากสองเมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู.

44 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพฤหัสบดีพระพิรุณพระพิฆเนศพระพุธพระรามพระราหูพระลักษมณ์พระศุกร์พระอังคารพระอินทร์พระจันทร์พระนารายณ์พระเกตุพระเสาร์กรมศิลปากรกุมภัณฑ์รามเกียรติ์ฤๅษีวรรณกรรมวรรณคดีวิทยาลัยนาฏศิลปศิลปินแห่งชาติสำนวนไทยสุครีพสีชมพูหนุมานอินทรชิตจาตุมหาราชิกาทศกัณฐ์ทิศตะวันออกทิศใต้ท้าวมหาชมพูท้าววิรุฬหกท้าววิรูปักษ์ท้าวทศรถท้าวเวสวัณขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)นาคนางสีดาโรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย)เสรี หวังในธรรมเทวดานพเคราะห์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระพฤหัสบดี

ระพฤหัสบดี (เทวนาครี: बृहस्पति พฤหสฺปดี) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีสีวรกายส้มแดง ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย (เทวาคุรุ) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤษี นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น ในมหาภารตะ พระพฤหัสบดีเป็นบุตรของพระอินทร์ เป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ เนื่องจากถูกพระจันทร์แยงชิงชายา คือ นางตาราไปครองเป็นชายาของตัวเอง แต่ท้ายสุดพระพฤหัสบดีก็ได้นางตารากลับไป ในโหราศาสตร์ไทย พระพฤหัสบดีถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๕ (เลขห้าไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีก็คือ ปางสมาธิ เมื่อเทียบกับความเชื่อของชาวกรีกและโรมันแล้ว พระพฤหัสบดี คือ ซุส หรือ จูปิเตอร.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

พระพิรุณ

ระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ (वरुण) เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณยอมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในพระเวทเรียก "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทม พรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระพิรุณ · ดูเพิ่มเติม »

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

พระพุธ

ระพุธ (เทวนาครี: बुध พุธ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพุธถูกสร้างขึ้นมาจากคชสาร (ช้าง) ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ แล้วเสกได้เป็นพระพุธ มีพระวรกายเขียว ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ฏะ ใหญ่ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ) พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพุธ หรือมีพระพุธสถิตร่วมกับลัคนา มักชอบพูดชอบเจรจา สุขุมรอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย ตามนิทานชาติเวร พระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ เนื่องจากในบางปกรณัมของฮินดูเล่าว่า พระพุธเป็นโอรสของพระจันทร์กับนางตารา ซึ่งเป็นชายาของพระพฤหัสบดี ที่พระจันทร์ชิงมาเป็นชายาของตน ในโหราศาสตร์ไทย พระพุธถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๔ (เลขสี่ไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคชสาร ๑๗ เชือก จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๗ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธก็คือ ปางอุ้มบาตร ทางโหราศาสตร์จัดเป็นเทวดาของผู้ที่เกิดในวันพุธกลางวัน ส่วนผู้ที่เกิดในวันพุธกลางคืนเทวดาจะเป็นพระราหู เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระพุธเทียบได้กับเฮอร์มีสของเทพปกรณัมกรีก และเมอร์คิวรี่ของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งเป็นเทพที่มีความว่องไว เป็นเทพแห่งการสื่อสาร.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระพุธ · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระราหู

ระราหู (राहु ราหู) เป็นอสูรและเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งตามคติของศาสนาฮินดูและศาสนาพุท.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระราหู · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมณ์

ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระลักษมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระศุกร์

ระศุกร์ (เทวนาครี: शुक्र ศุกฺร) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากคาวี (วัว) ๒๑ ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๒ (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพ พระศุกร์ เป็นบุตรของพระฤๅษีภฤคุ กับ นางชยาติ และเป็นสาวกเอกของพระศิวะ วิมานอยู่ทางศิวโลก ด้านทิศเหนือ พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๖ (เลขหกไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง ในมหาภารตะ พระศุกร์เป็นศัตรูกับท้าวยยาติ ลูกเขยของพระศุกร์ คือท้าวยยาตินั้น เห็นพระศุกร์ เป็นเพียงแค่ฤๅษีคนหนึ่ง จึงได้พูดจาสบประมาท ดูถูกพระศุกร์ และแล้ว ฤๅษีนารทมุนี ได้นำความไปฟ้องพระศุกร์ พระศุกร์โกรธมากจึงสาปท้าวยยาติให้กลายเป็นคนหลังค่อม และลูกหลานต้องฆ่ากันตายและต้องมีตระกูลหนึ่งต้องสูญพันธุ์ไม่มีผู้สืบสกุล จนทำให้เกิด มหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ๑๘ วัน ก็คือปาณฑพ และ เการพ และตระกูลที่สูญพันธุ์ไร้ผู้สืบสกุลก็คือสกุลเการพ ในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระศุกร์เทียบได้กับอะโฟร์ไดตีของเทพปกรณัมกรีก และวีนัสของเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอังคาร

ระอังคาร (เทวนาครี: मंगल มํคล หรือ मङ्गल มงฺคล) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระอังคารถูกสร้างขึ้นมาจากมหิงสา (ควาย) ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีชมพูหม่น แล้วเสกได้เป็นพระอังคาร มีสีวรกายชมพู ทรงมหิงสา (กระบือ) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค จะ (จ ฉ ช ฌ ญ) พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน แต่กล้าหาญ ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๓ (เลขสามไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสา ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือ ปางไสยาสน์ และภายหลังมี ปางลีลา เพิ่มอีกหนึ่งปาง เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอังคารเทียบได้กับแอรีสของเทพปกรณัมกรีก และมาร์สของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นเทพแห่งสงครามเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

พระอินทร์

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-5627.html | สถานบำบวงหลัก.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระจันทร์

ระจันทร์ (เทวนาครี: चंद्र จํทฺร หรือ चन्द्र จนฺทฺร หมายถึง "ส่องแสงสว่าง") เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งอันมีที่มาจากเทพปกรณัมฮินดูในอินเดีย ในคติไทย พระจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาจากเทวธิดา (นางฟ้า) ๑๕ องค์ บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล แล้วเสกได้เป็นพระจันทร์ มีสีวรกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก และแสดงถึงอักษรวรรค กะ (ก ข ค ฅ ฆ ง) พระจันทร์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางนุ่มนวลอ่อนโยน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันจันทร์ หรือมีพระจันทร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร (แต่อาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก) ตามนิทานชาติเวร พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี ในโหราศาสตร์ไทย พระจันทร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๒ (เลขสองไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากนางฟ้า ๑๕ องค์ จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ก็คือ ปางห้ามสมุทร เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระจันทร์เทียบได้กับอาร์เทมีสในเทพปกรณัมกรีก และไดอานาในเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนารายณ์

ระนารายณ์บรรมบนหลังพญาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และให้กำเนิดพระพรหม ดูบทความหลักที่ พระวิษณุ พระนารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; Narayana; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมากถือว่าเป็นองค์เดียวกันกับพระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนาม พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม ซึ่งเป็นพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อพระนารายณ์รำพึงถึงการสร้างโลก ก็ทรงคำนึงถึงการปกปักรักษา แต่พระปรพรหมนั้นเป็นอรูปกเทพ คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถที่จะสร้างโลกได้ จึงแบ่งภาคแยกร่างออกมาเป็น พระวิษณุ ซึ่งทรงประทานพระนามให้ และเมื่อพระวิษณุบรรทมหลับในเกษียรสมุทร ก็ทรงสุบินถึงการสร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งพระวิษณุเป็นเทพผู้สร้างโลก สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ และที่พระนาภีของพระองค์ก็บังเกิดมีดอกบัวหลวงผุดขึ้นมา และภายในดอกบัวนั้นก็มี พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติอยู่ภายใน ซึ่งพระวิษณุก็เป็นผู้ให้กำเนิดพระพรหมด้วย บางตำราก็กล่าวว่าเดิมมีพระนามว่า วิษณุ หรือ พิษณุ และได้เปลี่ยนเป็น นารายณ์ ในระยะหลัง โดยพระองค์มีสีพระวรกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก ในกฤตยุค ยุคแรกของโลก ยุคที่คุณธรรมความดีของมนุษย์มีเต็มเปี่ยม สีกายพระนารายณ์สีขาว ยุคที่สอง ไตรดายุค ธรรมะและคุณธรรมมนุษย์เหลือสามในสี่ สีกายพระนารายณ์เป็นสีแดง ยุคที่สาม ทวาปรยุค คุณธรรมมนุษย์เหลือครึ่งเดียว สีกายเป็นสีเหลือง ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สี่ กลียุค คุณธรรมของมนุษย์ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ สีกายพระนารายณ์ เปลี่ยนเป็นสีนิลแก่หรือสีดำ.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเกตุ

ระเกตุ (เทวนาครี: केतु เกตุ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเกตุถูกสร้างจากหางของพระราหู เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม พระนารายณ์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์น้ำอมฤต พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำในทิศท่ามกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนัก ในโหราศาสตร์ไทย พระเกตุถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๙ (เลขเก้าไทย) มีอัตราการจรในแต่ละราศีประมาณสองเดือน โคจรย้อนจักราศีเช่นเดียวกับราหู แต่ไม่ได้เล็งกับราหูตลอดเวลาเช่นทางสากลและอินเดีย โดยในส่วนของเกตุมีความสัมพันธ์กับจันทร์ จึงเป็นปัจจัยที่มีความหมายที่คล้ายกับจันทร์ส่วนหนึ่งคือความหวั่นไหว อ่อนไหวได้ง่าย แต่ว่าเป็นขั้นสูงของจันทร์ที่ละเอียดกว่า จึงแทนด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รับรู้ได้ด้วยใจ และเมื่อเกตุไปกุมกับดาวเคราะห์ใดๆ จะทำให้ดาวนั้นเพิ่มการตอบสนองจากการถูกกระทบมากขึ้น เช่นการเกิดอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์อันเกิดจากดาวที่จรมากระทบได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีสิ่งที่เกิดดุจดังเลข ๙ ที่มีลักษณ์ที่ดุจดังน้ำหรือเปลวไฟที่มีอาการสั่นไหวนั่นเอง พระเกตุเมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว เทียบได้กับโพไซดอนตามเทพปกรณัมกรีก และเนปจูนตามเทพปกรณัมโรมัน ส่วนเกตุทางสากลและอินเดียคือจุดตัดของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ตัดกับจันทร์โคจรรอบโลก คือช่วงที่เป็นจุดตัดที่มีทิศทางการโคจรจรของจันทร์จากที่อยู่ทิศใต้ของเส้นวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กำลังเดินขึ้นไปทางทิศเหนือของเส้นวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิต.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระเกตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระเสาร์

ระเสาร์ (เทวนาครี: शनि ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น) พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม แต่อดทน ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๗ (เลขเจ็ดไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ ๑๐ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือปางนาคปรก เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตก พระเสาร์อาจเทียบได้กับโครนอสตามเทพปกรณัมกรีก และแซทเทิร์นตามเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและพระเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กรมศิลปากร

กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาต.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและกรมศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

กุมภัณฑ์

กุมภัณฑ์ (Kumbhaṇḍa; Kumbhāṇḍa) คือ เทวดากลุ่มหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาพุทธ มีร่างสูงใหญ่ ท้องโต ตาโตแดงก่ำ เป็นบริวารของท้าววิรุฬหก กุมภัณฑ์มี 2 พวก คือ กุมภัณฑ์ชั้นสูงอาศัยในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาและบนโลก ทำหน้าที่รักษาสถานที่ต่าง ๆ หากมีผู้ล่วงล้ำเข้าไป ก็จะจับผู้นั้นกินเสีย กุมภัณฑ์กลุ่มนี้เรียกว่ารากษส ส่วนกุมภัณฑ์ชั้นต่ำคือยมบาล อาศัยในนรกภูมิ มีหน้าที่ลงโทษสัตว์นรกต่าง ๆ ตามกรรมที่สัตว์นั้นได้ทำไว้.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและกุมภัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษี

วนฤๅษีผู้เลื่องชื่อในเทพปกรณัมฮินดู ฤๅษี หรือ ฤษี (สันสกฤต: ṛṣi; เทวนาครี: ऋषि) ภาษาสันสกฤตอ่านว่า ฤษิ หมายความว่า ผู้แต่งพระเวท หรือผู้เห็น ฤๅษีเป็นนักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ ตามสถานที่สงัดต่างๆ ในป่าเขาหรือถ้ำ และเดิมมักเป็นหญิง ซึ่งเรียก "ฤษิก" (rishika) ตามความในคัมภีร์สารวานุกรมนี (Sarvanukramani) ในบรรดาผู้แต่งฤคเวทนั้น เป็นฤษีหญิงถึงยี่สิบคน ฤษี อาจหมายถึงมุนี (muni) ฤษี อีกความหมายหนึ่งคือ ฤษีเพศชาย ส่วน "ฤษิณี" หมายถึง ฤษีเพศหญิง ฤษีที่มีชื่อเสียงชื่อ ฤษี วยาส ผู้สร้างโศลกเรื่องมหากาพย์ภารตะ ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่มีจำนวนโศลกมากจำนวนประมาณถึง 1 แสนโศลก ตำนานเล่าว่า ฤๅษีเวทวฺยาส หรือ กฤษฺณ ไทฺวปายน เป็นปู่ของสองพี่น้องตระกูลเการพและปาณฑพ และเป็นเหลนใหญ่ของท้าวภรต คัมภีร์โบราณของฮินดูระบุไว้ว่า ท้าวภรต (ภะ-ระ-ตะ) ผู้นี้เป็นโอรสท้าวทุษยันต์ อันเกิดจากนางศกุนตล.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและฤๅษี · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและวรรณคดี · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยนาฏศิลป

วิทยาลัยนาฏศิลป (The College of Dramatic Arts) เป็นกลุ่มสถาบันการศึกษาในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดสอนเพื่อผลิตครูและบุคลากรสายอาชีพในด้านนาฏศิลป์และดนตรี.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและวิทยาลัยนาฏศิลป · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปินแห่งชาติ

ลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ. 2528) ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและศิลปินแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สำนวนไทย

สำนวนไทย คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและสำนวนไทย · ดูเพิ่มเติม »

สุครีพ

สุครีพ เป็นพญาวานรในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง เป็นลูกชายของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา เป็นทหารเอกของพระราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระรามให้เป็นผู้จัดการกองทัพ ออกรบสู้กับกองทัพของกรุงลงกาอยู่เสมอ ครั้งเสร็จศึกกรุงลงกา ได้รับแต่งตั้งเป็น พญาไวยวงศามหาสุรเดช ครองกรุงขีดขิน เมื่อตอนที่พระฤๅษีโคดมสามีของนางกาจอัจนา รู้ความจริงจากนางสวาหะว่าสุครีพไม่ใช่ลูกของตนแต่เป็นลูกชู้ จึงสาปให้กลายเป็นลิงพร้อมกับพาลีผู้เป็นพี่ชายซึ่งเป็นลูกชู้กับพระอินทร์ แล้วไล่ให้เข้าป่าไป ต่อมาจึงได้พบกับพระราม สุครีพมีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน ไฟล์:OPR050103Sukreep-DS.jpg ‎ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและสุครีพ · ดูเพิ่มเติม »

สีชมพู

ีชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีแดงและสีขาว ในบางครั้งจะถูกกล่าวถึงในลักษณะสีแดงอ่อน สีชมพูมักจะถูกใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กหญิง ซึ่งนิยมใช้ควบคู่กับ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ที่จะแสดงถึงเด็กชาย ในภาษาเหนือ เรียกสีชมพูว่า "จมออน" (จม-ออน).

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

หนุมาน

1.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและหนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

อินทรชิต

อินทรชิต (สันสกฤต: इन्‍द्र जीत, Indrajit อินฺทฺร ชีต) เดิมมีชื่อว่า รณพักตร์ เป็น บุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อ นางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก มีสีกายสีเขียว มีฤทธิ์เก่งกล้ามาก เมื่อโตขึ้นจึงทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อไปศึกษาวิชากับพระฤๅษีโคบุตรจนสำเร็จวิชามนต์มหากาลอัคคี จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญตบะ เมื่อบำเพ็ญจนเก่งกล้าแล้วจึงทำพิธีขออาวุธวิเศษต่อมหาเทพทั้ง 3 มหาเทพจึงประทานอาวุธวิเศษให้ คือ พระอิศวรประทานศรนาคบาศและพรสามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรพรหมาสตร์และพรไม่ให้ตายบนพื้นดินหากตายก็ให้ตายบนอากาศหากเศียรขาดตกลงพื้นก็ให้เกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักรวาลต้องนำพานแว่นฟ้าของพระพรหมเท่านั้นมารองรับเศียรจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษณุปานัม เมื่อได้รับพรและอาวุธวิเศษแล้วจึงเกิดความหึกเหิมบุกสวรรค์และท้าพระอินทร์รบ และชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์เมื่อทราบข่าวบุตรของตนมีชัยชนะก็ดีใจมากจึงเปลื่ยนชื่อใหม่เป็น อินทรชิต หมายถึง "ชนะพระอินทร์" แต่ด้วยไม่ตั้งตนอยู่ในธรรมและการประพฤติชั่วของตน ภายหลังถูกศรของพระลักษมณ์สิ้นใจต.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและอินทรชิต · ดูเพิ่มเติม »

จาตุมหาราชิกา

วาดจตุโลกบาลหรือจตุมหาราชทั้ง 4 ศิลปะพม่า (จากซ้าย) ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวกุเวร ตามคติจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ จาตุมหาราชิกา (Cātummahārājika, จาตุมฺมหาราชิก; Cāturmahārājikakāyika, จาตุรฺมหาราชิกกายิก) เป็นชื่อสวรรค์ชั้นแรกและเป็นชั้นล่างที่สุดในฉกามาพจร (สวรรค์ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช หรือ สี่ปวงผี ปกครองอยู่องค์ละทิศ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ (30 วันเป็น 1 เดือน 12 เดือนเป็น 1 ปี) โดย 1 วันและ 1 คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 50 ปีของโลกมนุษย์ คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ 9,000,000 ปีโลกมนุษย์ (บางแห่งกล่าวว่าเท่ากับ 90,000 ปีโลกมนุษย์).

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและจาตุมหาราชิกา · ดูเพิ่มเติม »

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและทศกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันออก (E) อยู่ทางขวา ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว ทิศตะวันออกเป็นทิศที่โลกหมุนไป ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและทิศตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศใต้

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศใต้ (S) อยู่ด้านล่าง ทิศใต้ หรือ ทิศทักษิณ เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ขวามือของทิศตะวันออก และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากทิศใต้จะกำหนดให้อยู่ด้านล่างของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร ต หรืออักษร S ทิศใต้จริงเป็นทิศทางที่แกนหมุนของโลกชี้ไป ตรงกับขั้วโลกใต้ซึ่งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและทิศใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวมหาชมพู

ท้าวมหาชมพู เป็นพญาวานรครองกรุงชมพูมีนางแก้วอุดรเป็นมเหสีมี นิลพัท เป็นหลานบุญธรรม เป็นพื่อนรักกับพาลี เจ้าเมืองขีดขิน มีฤทธิ์มากไม่ยอมไหว้ใครนอกจากพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม ภายหลังเมื่อรู้ว่าพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระรามจึงเข้าร่วมทัพด้ว.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและท้าวมหาชมพู · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววิรุฬหก

ท้าววิรุฬหก ท้าววิรุฬหก (Viruḷhaka; विरूढक) หนึ่งในสี่ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดในฉกามาพจรเป็นเทพเจ้าผู้ปกครองทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่ครุฑมีเทพกลุ่มกุมภัณฑ์เป็นบริวาร มีรูปร่างท้องป่องพุ่งใหญ่ ขาสั้น กำยำล่ำสัน ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑและนก ท้าววิรุฬหกปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิการ่วมกับ 1.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและท้าววิรุฬหก · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววิรูปักษ์

กว่างมู่เทียน (ท้าววิรูปักษ์) ศิลปะจีน, ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน วัดโทได ท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในสี่จาตุมหาราชผู้ปกครองทิศตะวันตก เป็นเทพเจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง ในเทวตำนานยุคต้นทรงดำรงตำแหน่งท้าวสักกะ นอกจากนี้ยังมีกล่าวถึงในขันธปริตร (โบราณเรียกพระปริตรกันงู) บทสวดเจ็ดตำนาน สวดเพื่อให้สวัสดิภาพจากพวกสัตว์มีพิษทั้งหลาย เพราะท้าวมหาราชพระองค์นี้ทรงมีพญานาคเป็นบริวาร.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและท้าววิรูปักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวทศรถ

ท้าวทศรถ เป็นพระราชโอรสของท้าวอัชบาล กับพระนางเทพอัปสร ครองกรุงอโยธยาต่อจากพระราชบิดา ท้าวทศรถได้กำหราบยักษ์หลายตน เช่น ปทูตทันต์ ในการศึกนั้นท้าวทศรถต่อสู้ด้วยศร จนปทูตทันต์กระเด็นไป ปทูตทันต์โมโหก็ขว้างกระบองแก้ว ทำให้เกิดเสียงดังกัมปนาท และบังเกิดเปลวไฟ ท้าวทศรถเห็นเพลิงจึงขว้างพระขรรค์ เกิดเป็นฝนตกลงมาดับไฟ ทำให้เพลารถหัก พระนางไกษเกษีเห็นดังนั้น จังนำแขนมาเทียมรถ ได้รับความเจ็บปวดอย่างมาก ปทูตทันต์โมโหโทโส กระโดดเข้ามาใหม่ ท้าวทศรถจึงขว้างพระขรรค์ไปใหม่ ด้วยอำนาจอันเรืองฤทธิ์ของพระขรรค์ ปทูตทันต์จึงกระเด็นตกยังพื้นพสุธาคอหักตายคาที และท้าวทศรถจึงได้ให้รางวัลแก่พระนางไกษเกษี ว่าในวันข้างหน้า หากนางขออะไร ก็จะให้ตามที่นางขอ ท้าวทศรถอยู่ในราชสมบัติได้หกหมื่นปี ก็มาคิดเรื่องโอรสทั้งสี่ที่จะแบ่งสมบัติให้ โดยพระพรตและพระสัตรุตจะได้ครองกรุงไกยเกษ ส่วนพระรามและพระลักษมณ์จะให้ครองเมืองอโยธยาแต่การนี้พระนางไกยเกษีมเหสีองค์รองขัดขวาง โดยยกเรื่องของรางวัลในอดีตมาเป็นข้อต่อรอง ให้พระรามไปอยู่ในป่าสิบสี่ปี และให้พระพรตขึ้นครองราชย์แทน ท้าวทศรถเสียใจมากจึงสวรรคตด้วยความตรอมพระทั.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและท้าวทศรถ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวเวสวัณ

ตัวเหวินเทียนหวัง (ท้าวเวสวัณ) ศิลปะจีน ตราประจำจังหวัดอุดรธานี แสดงรูปท้าวเวสวัณ ท้าวเวสวัณ ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดโทได ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสวัณ (वैश्रवण Vaiśravaṇa ไวศฺรวณ; वेस्सवण Vessavaṇa เวสฺสวณ) เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน" ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและท้าวเวสวัณ · ดูเพิ่มเติม »

ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)

นวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) ผู้สร้างหนัง ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ผู้ประพันธ์เพลงต่างๆ หลายเพลง ซึ่งรวมถึงเนื้อร้องเพลงชาติไทยฉบับแรกสุดในปี พ.ศ. 2475 และเป็นผู้แต่งหนังสือต่างๆ หลายเรื่อง เช่น หลักไทย ภูมิศาสตร์สุนทรภู่ เป็นต้น นับได้ว่าเป็นนักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

นาค

นาคสะดุ้ง ประติมากรรมตามบันไดทางขึ้นโบสถ์ของวัดไทย ตามความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นาค (नाग Nāga) เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่ ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษะ (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและนาค · ดูเพิ่มเติม »

นางสีดา

นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช. '''มติชน'''ปีที่ 40 ฉบับที่ 14318: วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 นางสีดา (Sita) เป็นตัวละครเอกจากเรื่องรามเกียรติ์ โดยเป็นบุตรสาวของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ และเป็นอัครมเหสีของพระราม แต่ในรามายณะของอินเดียหลายฉบับบอกว่านางสีดาเป็นธิดาของพระภูมิเทวีหรือพระแม่ธรณี.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและนางสีดา · ดูเพิ่มเติม »

โรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย)

รงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย) โรงละครแห่งชาติ (The National Theatre) เป็นโรงละครแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือ พระบวรราชวัง (เดิม) ข้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและโรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

เสรี หวังในธรรม

นายเสรี หวังในธรรม (3 มกราคม พ.ศ. 2480 — 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ประจำปี พ.ศ. 2531 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสังคีต กรมศิลปากร นายเสรี เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและเสรี หวังในธรรม · ดูเพิ่มเติม »

เทวดานพเคราะห์

ราะห์ (ภาษาสันสกฤต: ग्रह, gráha คระ-หะ ซึ่งหมายความว่า ฉกฉวย, จับ, คว้า, ยึด) คือสิ่งที่มีอำนาจในจักรวาลของพระภูมิเทวี (โลก) นพเคราะห์ (ภาษาสันสกฤต: नवग्रह, gráha นะ-พะ-คระ-หะ) หมายความว่า ๙ ภูมิ, ๙ ขอบเขต, ๙ โลก, ๙ ดาวเคราะห.

ใหม่!!: วานรสิบแปดมงกุฎและเทวดานพเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

18 มงกุฎ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »