โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558

ดัชนี ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558

ูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก..

37 ความสัมพันธ์: บริเวณความกดอากาศต่ำพายุหมุนนอกเขตร้อนพายุหมุนเขตร้อนการกัดเซาะชายฝั่งการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนมหาสมุทรแอตแลนติกมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันยุโรปตะวันตกรัฐนอร์ทแคโรไลนารัฐเซาท์แคโรไลนาฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2558–2559ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2558ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2558–2559ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–2559ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2556ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2559ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2560ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2558สหราชอาณาจักรหมู่เกาะเติกส์และเคคอสอะโซร์สองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกอเมริกากลางคาบสมุทรไอบีเรียคิงส์ตันประเทศบาฮามาสประเทศกาบูเวร์ดีประเทศคิวบาประเทศไอร์แลนด์ประเทศเฮติปวยร์โตรีโกแอฟริกาตะวันตกเบอร์มิวดาเกาะฮิสปันโยลาเกาะนิวฟันด์แลนด์เลสเซอร์แอนทิลลีส

บริเวณความกดอากาศต่ำ

การหมุนทวนเข็มนาฬิกาของบริเวณความกดอากาศต่ำในซีกโลกเหนือ บริเวณเหนือประเทศไอซ์แลนด์ การหมุนตามเข็มนาฬิกาของบริเวณความกดอากาศต่ำในซีกโลกใต้(ในภาพเป็นบริเวณทางใต้ของประเทศออสเตรเลีย) บริเวณจุดศูนย์กลางมักจะเป็นบริเวณที่มีค่าความกดอากาศต่ำสุด บริเวณความกดอากาศต่ำ หรือ หย่อมความกดอากาศต่ำ (Low-pressure area) คือ บริเวณที่มีค่าความกดอากาศต่ำจากการเปรียบเทียบกับบริเวณรอบโดยรอบ การเกิดความกดอากาศต่ำ เกิดจากการที่มวลของอากาศได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ มวลอากาศจะยกตัวสูงขึ้นทำให้ความกดอากาศบริเวณนั้นมีค่าลดลง เมื่อมวลอากาศที่ลอยตัวขึ้นเนี่องจากความร้อนเย็นตัวลงด้านบนทำให้เกิดเป็นเมฆขึ้น โดยทั่วไปท้องฟ้าบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำจะมีเมฆปกคลุม ผลคือทำให้อุณหภูมิของพื้นที่นั้นลดลงจากการสะท้อนแสงและคลื่นที่มาจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ในยุโรปการเรียกชื่อบริเวณความกดอากาศต่ำจะใช้ชื่อเรียกว่า "ดีเปรสชั่น" (depression).

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และบริเวณความกดอากาศต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

พายุหมุนนอกเขตร้อน

พายุหมุนนอกเขตร้อนลูกหนึ่งเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือในเดือนมกราคม 2560 โดยมีลักษณะคล้ายตาและแนวปะทะอากาศเย็นยาวไปถึงเขตร้อน พายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical cyclone) บางทีเรียก พายุหมุนละติจูดปานกลาง (mid-latitude cyclone) หรือ พายุหมุนคลื่น (wave cyclone) เป็นบริเวณความกดอากาศต่ำซึ่งขับเคลื่อนลมฟ้าอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกร่วมกับแอนไทไซโคลนในเขตละติจูดสูง พายุหมุนนอกเขตร้อนสามารถทำให้เกิดท้องฟ้ามีเมฆมากและมีฝนตกปรอย ๆ ไปจนถึงพายุเกลหนัก พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหิมะและทอร์เนโด พายุหมุนเหล่านี้นิยามเป็นระบบลมฟ้าอากาศความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ที่เกิดในละติจูดปานกลางของโลก พายุหมุนนอกเขตร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและจุดน้ำค้างอย่างรวดเร็วตามแนวปะทะอากาศ ซึ่งอยู่ประมาณใจกลางของพายุหมุน นับว่าตรงข้ามกับพายุหมุนเขตร้อน.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และพายุหมุนนอกเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การกัดเซาะชายฝั่ง

กระแสน้ำขึ้นลง การกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion) เกิดจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมีความลาดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้คลื่นลม และกระแสน้ำสามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และการกัดเซาะชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน

หมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนจะได้รับการตั้งชื่อโดยศูนย์เตือนภัยต่าง ๆ เพื่อความสะดวกระหว่างนักพยากรณ์อากาศกับประชาชนทั่วไปในการคาดการณ์, ผู้สังเกตการณ์, และการเตือนภัย เนื่องจากระบบของพายุนั้น สามารถมีอายุนานกว่าสัปดาห์หรือมากกว่านั้น และในเวลาเดียวกัน ก็อาจมีพายุเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งลูกภายในแอ่งเดียวกัน การตั้งชื่อพายุจึงเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการสับสนเกี่ยวกับพายุแต่ละลูก การใช้ชื่อที่ระบุเฉพาะตัวของพายุหมุนเขตร้อนแต่ละลูกต้องย้อนกลับไปหลายปี พร้อมกับระบบการตั้งชื่อตามชื่อสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ก่อนจะมีการเริ่มต้นการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการมีใช้กับพายุที่ก่อตัวในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกเหนือ, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันออก, กลาง, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันตก, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคออสเตรเลีย และพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดีย โดยชื่อต่าง ๆ จะได้รับการกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยเมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนมีความเร็วลมเฉลี่ยในหนึ่ง, สาม หรือ สิบนาที มากกว่า 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับแอ่งนั้น.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน

มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (Saffir–Simpson Hurricane Scale, SSHS หรือ Saffir–Simpson Hurricane Wind Scale, SSHWS) คือมาตราการวัดระดับลมพายุที่มีระดับความเร็วมากกว่าดีเพรสชั่นและพายุโซนร้อน โดยแยกเป็นระดับความรุนแรงตามความเร็วลมของพายุเฮอร์ริเคนได้ 5 ระดั.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันตก

แผนที่ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่ติดกับทะเลเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทำให้ดินแดนยุโรปตะวันตกนี้ไม่ห่างจากทะเลมากนัก เป็นผลทำให้มีความชื้นในอากาศสูงและอุณหภูมิหน้าหนาวไม่เย็นจัดเหมือนยุโรปที่อยู่ในภาคพื้นทวีปยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตกมีพื้นที่ประมาณ 36,933,412 ตารางกิโลเมตร ภาษาในภูมิภาคนี้มีมากมายเช่น กลุ่มภาษาโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ฯลฯ กลุ่มภาษาเยอรมานิค เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษ ภาษาสวีเดน ฯลฯ และ ภาษากรีก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และโรมันคาทอลิก ความแตกต่างของประเทศในยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกคือระบอบการปกครองและการเมืองช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่มักจะกล่าวถึงว่าเป็นประเทศในยุโรปตะวันตก.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนอร์ทแคโรไลนา

รัฐนอร์ทแคโรไลนา เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และรัฐนอร์ทแคโรไลนา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเซาท์แคโรไลนา

ซาท์แคโรไลนา (South Carolina) เป็นรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ชื่อของรัฐตั้งตั้งตามชื่อของ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ของอังกฤษ โดยคำว่า กาโรลุส (Carolus) เป็นภาษาละตินของคำว่า ชาลส์ (Charles) ประชากรในรัฐมี 4,198,068 (ข้อมูล พ.ศ. 2547) เมืองหลวงของรัฐ ชื่อ โคลัมเบีย และเมืองสำคัญอื่นคือ ชาร์ลสตัน.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และรัฐเซาท์แคโรไลนา · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

ูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2558–2559

ูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลี..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2558–2559 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2558

ูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดี..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2558–2559

ูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2558–2559 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–2559

ูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–2559 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2556

ูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2559

ูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2560

ูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2558

ูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส (Turks and Caicos Islands) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วยหมู่เกาะย่อยในเขตร้อน 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะเคคอสและหมู่เกาะเติกส์ อาณานิคมนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน และมีชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทต่างชาติ หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 970 กม.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และหมู่เกาะเติกส์และเคคอส · ดูเพิ่มเติม »

อะโซร์ส

อะโซร์ส (Azores) หรือ อาโซรึช (Açores) เป็นกลุ่มเกาะตั้งอยู่ตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ อยู่ทางตะวันตกของกรุงลิสบอนราว 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์) และอยู่ทางตะวันออกของชายฝั่งอเมริกาเหนือราว 3,900 กิโลเมตร (2,400 ไมล์) ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ เกาะใหญ่ 9 เกาะ และเกาะเล็ก ๆ อีกหลายเกาะ เกาะนี้เป็น 1 ใน 2 ของเขตการปกครองตนเองของโปรตุเกส มีอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญคือ การเกษตร กสิกรรม (ผลิตผลจากเนยและชีส) การประมง และการท่องเที่ยว เกาะที่ใหญ่ที่สุดชื่อเกาะเซามีแกล เมืองสำคัญได้แก่ เมืองปงตาแดลกาดาบนเกาะเซามีแกล เมืองออร์ตาบนเกาะไฟยัล และเมืองอังกราดูเอรูอิฌมูบนเกาะตืร์ไซรา จุดสูงสุดชื่อปีกูอัลตู บนเกาะปีกู สูง 2,351 เมตร.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และอะโซร์ส · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

ตราสัญลักษณ์ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization; ย่อ WMO) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดราย จัดตั้งขึ้นเป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อ..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกากลาง

แผนที่อเมริกากลาง อเมริกากลาง (Central America) เป็นภูมิภาคย่อยที่หมายถึงกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งตามความหมายส่วนใหญ่แล้วจะนับจาก ทางใต้ของ อ่าวเม็กซิโก ไปถึงพรมแดนระหว่างปานามากับโคลัมเบีย (หรือประเทศต่าง ๆ ระหว่างเม็กซิโกกับโคลัมเบีย) ได้แก.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และอเมริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และคาบสมุทรไอบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

คิงส์ตัน

งส์ตัน หรือ คิงสตัน (Kingston) อาจหมายถึง; เมือง.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และคิงส์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบาฮามาส

ประเทศบาฮามาส (The Bahamas) หรือชื่อทางการว่า เครือรัฐบาฮามาส (Commonwealth of the Bahamas) เป็นประเทศตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกของรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อยู่ทางตอนเหนือของประเทศคิวบาและทะเลแคริบเบียน ชื่อของประเทศมาจากคำนภาษาสเปนว่า "บาคามาร์" (baja mar) มีความหมายว่า "ทะเลน้ำตื้น" เศรษฐกิจของประเทศมากกว่าร้อยละ 60 ของจีดีพี มาจากธุรกิจการท่องเที่ยว ส่วนที่เหลือมาจากอุตสาหกรรมการเกษตร.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และประเทศบาฮามาส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกาบูเวร์ดี

กาบูเวร์ดี (Cabo Verde) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐกาบูเวร์ดี (República de Cabo Verde) เป็นประเทศเกาะที่ตั้งอยู่บนกลุ่มเกาะภูเขาไฟประมาณ 10 เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนกลาง ห่างจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันตก 570 กิโลเมตร (350 ไมล์) ทุกเกาะมีเนื้อที่รวมกันประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร (1,500 ตารางไมล์) เกาะสามเกาะในจำนวนนี้ (ได้แก่ เกาะซัล, เกาะโบอาวิชตา และเกาะไมยู) มีลักษณะค่อนข้างราบ แห้ง และเต็มไปด้วยทราย ส่วนเกาะอื่น ๆ โดยทั่วไปจะมีภูมิประเทศที่ขรุขระและมีพืชพรรณขึ้นอยู่มากกว่า ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามานั้น บนหมู่เกาะกาบูเวร์ดีไม่มีผู้คนอาศัยอยู่จนกระทั่งนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้ค้นพบและเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก หมู่เกาะแห่งนี้จึงทวีความมั่งคั่งขึ้นเรื่อย ๆ และดึงดูดให้บรรดาโจรสลัดเข้ามาปล้นสะดมอยู่หลายครั้ง หนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ ฟรานซิส เดรก โจรสลัดหลวงของราชินีอังกฤษซึ่งเข้าปล้นเมืองรีไบรากรังดือ (เมืองหลักของหมู่เกาะในขณะนั้น) ถึงสองครั้งในคริสต์ทศวรรษ 1580 นอกจากนี้เรือหลวงบีเกิล (ที่มีชาลส์ ดาร์วิน เดินทางไปด้วย) ก็เข้ามาจอดแวะที่กาบูเวร์ดีในปี ค.ศ. 1832 เช่นกัน การลดลงของการค้าทาสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีน้อยและการลงทุนอย่างยั่งยืนที่ไม่เพียงพอจากชาวโปรตุเกส ชาวหมู่เกาะจึงเริ่มรู้สึกไม่พอใจเจ้าอาณานิคมที่ยังคงปฏิเสธที่จะให้คนในท้องถิ่นมีอำนาจปกครองตนเองมากขึ้น อามิลการ์ กาบรัล นักเขียน นักคิด และนักชาตินิยมได้เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชของกาบูเวร์ดี (และกินี-บิสเซา) จากโปรตุเกส แต่ก็ถูกลอบสังหารในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1973 ลูอิช กาบรัล และอาริชตีดึช ปือไรรา จึงก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำขบวนการและดำเนินการแทนจนกระทั่งหมู่เกาะแห่งนี้ได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1975 ประชากรส่วนใหญ่ของกาบูเวร์ดีเป็นชาวครีโอลเลือดผสมระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวแอฟริกา กรุงไปรอาเมืองหลวงเป็นที่อาศัยของประชากรจำนวนเกือบหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 5 แสนคน จากสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2013 พบว่า เกือบร้อยละ 35 ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท และอัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ประมาณร้อยละ 85 (จำแนกเป็นร้อยละ 91 ของประชากรชายอายุ 15 ปีขึ้นไป และร้อยละ 83 ของประชากรหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป) ในทางการเมือง กาบูเวร์ดีเป็นประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยที่เสถียรมากประเทศหนึ่ง การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของกาบูเวร์ดี (แม้ว่าจะขาดแคลนทรัพยากร) ก็เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ โดยประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ มักจะให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอยู่เสมอ อนึ่ง กาบูเวร์ดีได้รับการจัดให้เป็นประเทศกำลังพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา ห้วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำระหว่างทศวรรษหลัง ๆ ของการเป็นอาณานิคมจนถึงช่วงปีแรก ๆ ที่ได้รับเอกราชทำให้ชาวกาบูเวร์ดีจำนวนมากอพยพไปยังทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา ทุกวันนี้ประชากรที่อพยพออกไปอยู่นอกประเทศรวมทั้งลูกหลานมีจำนวนมากกว่าประชากรที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศเสียอีก ในอดีต รายได้ที่ผู้ย้ายถิ่นออกส่งกลับมาให้ครอบครัวและญาติพี่น้องในกาบูเวร์ดีนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ลูกหลานรุ่นหลัง ๆ มักไม่ค่อยส่งเงินกลับมาเท่าไรนัก และในปัจจุบัน เศรษฐกิจของกาบูเวร์ดีก็พึ่งพาภาคบริการเป็นหลักโดยเน้นการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น ซึ่งมีข้อได้เปรียบจากภูมิอากาศที่อบอุ่นตลอดทั้งปี ภูมิทัศน์ที่หลากหลาย ความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านดนตรี ชื่อประเทศกาบูเวร์ดีมีที่มาจากชื่อกัป-แวร์ คาบสมุทรเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลบนชายฝั่งของประเทศเซเนกัลในปัจจุบัน ในครั้งแรกแหลมนี้ได้รับการตั้งชื่อเป็นภาษาโปรตุเกสว่า "กาบูเวร์ดี" (cabo แปลว่า แหลม และ verde แปลว่า สีเขียว) เมื่อนักสำรวจชาวโปรตุเกสสังเกตเห็นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1444 ซึ่งเป็นเวลาไม่กี่ปีก่อนที่พวกเขาจะมาพบหมู่เกาะแห่งนี้ แต่เดิมหมู่เกาะและประเทศนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสว่า "เคปเวิร์ด" (Cape Verde) และ "กัป-แวร์" (Cap-Vert) ตามลำดับ จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และประเทศกาบูเวร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคิวบา

วบา (อังกฤษและCuba) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐคิวบา (Republic of Cuba; República de Cuba) ประกอบด้วยเกาะคิวบา (เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแอนทิลลิสใหญ่) เกาะคูเบนตุด (Isla de la Juventud) และเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียง ตั้งอยู่ในภูมิภาคแคริบเบียนเหนือ ที่จุดบรรจบของทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และมหาสมุทรแอตแลนติก คิวบาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก และหมู่เกาะบาฮามาส ทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอสและประเทศเฮติ ทางทิศตะวันออกของเม็กซิโก และทางทิศเหนือของหมู่เกาะเคย์แมนและเกาะจาเมกา สาธารณรัฐคิวบาเป็นเพียงประเทศเดียวในบริเวณภูมิภาคนี้ที่ยังคงมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อยู.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และประเทศคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเฮติ

ติ (Haiti; Haïti; ครีโอลเฮติ: Ajiti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเฮติ (Republic of Haiti; République d'Haïti; ครีโอลเฮติ: Repiblik Ayiti) เป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศแคริบเบียน ซึ่งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะฮิสปันโยลาในทะเลแคริบเบียน โดยมีเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียงด้วย คือ ลากอนาฟว์, ลาตอร์ตูว์, เลแกมิต, อีลาวัช, ลากร็องด์แก และนาวัส (ซึ่งมีข้อพิพาทกับสหรัฐอเมริกา) โดยประเทศเฮติมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐโดมินิกัน มีพื้นที่ 27,750 ตารางกิโลเมตร (10,714 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงคือปอร์โตแปรงซ์ อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งนี้ประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2347 ใช้ชื่อประเทศว่าเฮติ ซึ่งมาจากชื่อเกาะในคำอาราวักเก่าว่า อายีตี (Ayiti) โดยถือว่าเป็นประเทศเอกราชแห่งที่ 2 ในทวีปอเมริกา (รองจากสหรัฐอเมริกา) และเป็นสาธารณรัฐเอกราชของคนผิวดำแห่งแรกของโลกอีกด้วย แต่ทั้ง ๆ ที่เก่าแก่และมีอายุยาวนาน เฮติกลับเป็นชาติที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตก.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และประเทศเฮติ · ดูเพิ่มเติม »

ปวยร์โตรีโก

ปวยร์โตรีโก (Puerto Rico) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐปวยร์โตรีโก (Estado Libre Asociado de Puerto Rico) เป็นเครือรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสาธารณรัฐโดมินิกันในภูมิภาคแคริบเบียนตะวันออกเฉียงเหนือ ปวยร์โตรีโกเป็นดินแดนที่เล็กที่สุดของเกรตเตอร์แอนทิลลีส มีพื้นที่รวมเกาะปวยร์โตรีโก เกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งกลุ่มเกาะ ได้แก่ โมนา เบียเกซ และกูเลบรา การเดินทางเข้าปวยร์โตรีโกนั้นต้องใช้วีซาของสหรัฐอเมริกา เพราะปวยร์โตรีโกถือเป็นดินแดน (territory) ของสหรัฐอเมริกา แม้จะไม่ถือว่าเป็นรัฐ (state) ก็ตาม.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และปวยร์โตรีโก · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันตก

นแดนแอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันตก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 15 ประเทศคือ.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และแอฟริกาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์มิวดา

อร์มิวดา เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาห่างจากรัฐนอร์ทแคโรไลนาไปทางตะวันออก 580 ไมล์ เบอร์มิวดาเป็นดินแดนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีชาวอังกฤษมาตั้งรกรากก่อนการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรถึงสองศตวรรษ โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609).

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะฮิสปันโยลา

กาะฮิสปันโยลา ฮิสปันโยลา (Hispaniola) หรือ ลาเอสปาโญลา (La Española) เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในทะเลแคริบเบียนรองจากเกาะคิวบา มีความยาวประมาณ 640 กิโลเมตร ความกว้าง 250 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 76,500 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูง ทิศตะวันตกอยู่ใกล้ประเทศจาเมกาและประเทศคิวบา ทิศตะวันออกอยู่ใกล้กับเปอร์โตริโก บนเกาะฮิสปันโยลาประกอบด้วย 2 ประเทศ คือ ประเทศเฮติทางซีกตะวันตก และสาธารณรัฐโดมินิกันทางซีกตะวันออก มียอดเขาสูงที่สุดบนเกาะชื่อว่า ปีโกดัวร์เต (Pico Duarte) สูงถึง 3,087 เมตร อยู่ในสาธารณรัฐโดมินิกัน บนเกาะมีประชากรรวมกันประมาณ 17,000,000 เป็นประชากรในเฮติประมาณ 8,500,000 คน ประชากรในสาธารณรัฐโดมินิกันประมาณ 8,800,000 โดยทั่วไปบนเกาะมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน มีเนื้อที่ป่าประมาณร้อยละ 50 ของเกาะ ชาวยุโรปคนแรกที่รู้จักเกาะฮิสปันโยลา คือคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1492.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และเกาะฮิสปันโยลา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนิวฟันด์แลนด์

กาะนิวฟันด์แลนด์ (Newfoundland Island) เป็นเกาะขนาดใหญ่ของประเทศแคนาดา อยู่นอกชายฝั่งทางทิศตะวันออกของอเมริกาเหนือ ในมหาสมุทรแอตแลนติก รวมกับแลบราดอร์บนผืนแผ่นดินใหญ่เป็นรัฐหนึ่งของแคนาดา เดิมใช้ชื่อรัฐว่ารัฐนิวฟันด์แลนด์ จนกระทั่ง..

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และเกาะนิวฟันด์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เลสเซอร์แอนทิลลีส

เลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) เป็นหมู่เกาะที่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเวสต์อินดีส ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ เรียงรายเป็นวงโค้งจากดินแดนเปอร์โตริโกไปทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลา รวมทั้งหมู่เกาะเวอร์จิน หมู่เกาะลีเวิร์ด หมู่เกาะวินด์เวิร์ด และเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ส่วนใหญ่ของประเทศบาร์เบโดสและประเทศตรินิแดดและโตเบโก หมวดหมู่:เกาะในทะเลแคริบเบียน mr:अँटिल्स#लेसर अँटिल्स.

ใหม่!!: ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558และเลสเซอร์แอนทิลลีส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »