โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มีป คีส

ดัชนี มีป คีส

แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (Hermine Santruschitz; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 – 11 มกราคม พ.ศ. 2553) หรือเป็นที่รู้จักทั่วใปในภาษาดัตช์ว่า มีป คีส (Miep Gies) คือหนึ่งในชาวดัตช์ผู้ช่วยเหลืออันเนอ ฟรังค์, ครอบครัวของเธอ และชาวยิวอีกสี่คนในการหลบซ่อนตัวจากนาซีเยอรมัน ซึ่งทั้งหมดซ่อนตัวอยู่ในส่วนต่อเติมอาคารที่ทำการของบริษัทค้าขายของออทโท ฟรังค์ บิดาของอันเนอ ฟรังค์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมีป คีส ถือสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด แต่ในปี..

30 ความสัมพันธ์: บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์พรรคนาซีภาษาดัตช์ภาษาเยอรมันมหาวิทยาลัยมิชิแกนยิวลอสแอนเจลิสไทมส์สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์สงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอัมสเตอร์ดัมอันเนอ ฟรังค์อุบัติเหตุฮอโลคอสต์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ดิอินดีเพ็นเดนต์ค่ายกักกันนาซีค่ายกักกันเอาชวิทซ์ประเทศเนเธอร์แลนด์นาซีเยอรมนีโรมันคาทอลิกโฮร์นไลเดินเวียนนาเดอะการ์เดียนเดอะไทมส์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรียเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์

ันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ (The Diary of a Young Girl) เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นจากสมุดบันทึกประจำวันของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลาเกือบสองปี เพื่อหลบหนีการล่าชาวยิวในเนเธอร์แลนด์ขณะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของอันเนอ ฟรังค์ ถูกจับตัวได้ในปี..

ใหม่!!: มีป คีสและบันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคนาซี

รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..

ใหม่!!: มีป คีสและพรรคนาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: มีป คีสและภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: มีป คีสและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมิชิแกน

รีเจนต์พลาซา ในมหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยมิชิแกน แอนน์อาร์เบอร์ (University of Michigan, Ann Arbor) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองแอนน์อาร์เบอร์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม..

ใหม่!!: มีป คีสและมหาวิทยาลัยมิชิแกน · ดูเพิ่มเติม »

ยิว

ว อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มีป คีสและยิว · ดูเพิ่มเติม »

ลอสแอนเจลิสไทมส์

ลอสแอนเจลิสไทมส์ (Los Angeles Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ตีพิมพ์ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: มีป คีสและลอสแอนเจลิสไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (31 มกราคม พ.ศ. 2481) หรือพระนามเต็มว่า เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ด (Beatrix Wilhelmina Armgard) หรือเดิมคือ สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (Beatrix der Nederlanden) อดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ ครองราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: มีป คีสและสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: มีป คีสและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: มีป คีสและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อัมสเตอร์ดัม

อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยเฉพาะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้อัมสเตอร์ดัมจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก.

ใหม่!!: มีป คีสและอัมสเตอร์ดัม · ดูเพิ่มเติม »

อันเนอ ฟรังค์

อันเนอลีส มารี "อันเนอ" ฟรังค์ (Annelies Marie "Anne" Frank; 12 มิถุนายน 2472 – ประมาณมีนาคม 2488) หรือแอนน์ แฟรงค์ เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของเธอได้ย้ายไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากพรรคนาซีเริ่มมีอำนาจ ต่อมาเมื่อกองทัพนาซีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับออกมาตรการควบคุมชาวยิวจำนวนมาก เธอและครอบครัวกับผู้อื่นอีก 4 คนจึงต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ในอาคารสำนักงานในกรุงอัมสเตอร์ดัมของออทโท ฟรังค์ ผู้เป็นบิดาในห้องลับบนหลังคาตั้งแต่ พ.ศ. 2485 จนถูกหักหลังและถูกนาซีจับเข้าค่ายกักกันในปี พ.ศ. 2487 อันเนอ ฟรังค์เสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในเวลาใกล้เคียงกับพี่สาวในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซินประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม พ.ศ. 2488 สมาชิกตระกูลฟรังค์มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว คือออทโทผู้เป็นพ่อ เขากลับมาอัมสเตอร์ดัมหลังสงครามสิ้นสุดและได้พบสมุดบันทึกของเธอที่เพื่อนเก็บรักษาไว้ให้ จึงพยายามนำออกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2490 ใช้ชื่อหนังสือว่า "Het Achterhuis" หลังจากนั้นมีการแปลจากต้นฉบับภาษาดัตช์ออกไปเป็นภาษาต่าง ๆ มากมาย ฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า "The Diary of a Young Girl" ส่วนฉบับแปลภาษาไทยใช้ชื่อว่า "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์" อันเนอ ฟรังค์ได้รับสมุดบันทึกเป็นของขวัญวันเกิดครบ 13 ขวบ เธอเริ่มเขียนบันทึกตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2485 และสิ้นสุดในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 บันทึกได้รับการแปลจากภาษาดัตช์ออกเป็นภาษาต่าง ๆ มากมายและกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก นอกจากภาพยนตร์แล้วยังมีการนำเรื่องราวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดโทรทัศน์ ละครเวที และแม้แต่อุปรากร งานบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ถือว่าเป็นการเขียนงานอย่างผู้ใหญ่เต็มตัวและเต็มไปด้วยความช่างคิด แสดงให้เห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงภายใต้อำนาจพวกนาซี เป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกจากนิตยสารไทมส์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษ.

ใหม่!!: มีป คีสและอันเนอ ฟรังค์ · ดูเพิ่มเติม »

อุบัติเหตุ

อุบัติเหตุแผงกั้นผู้ชมที่ขอบสนามกีฬาถล่ม อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าแต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ อุบัติเหตุเป็นผลเชิงลบของความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้แต่แรก โดยพิจารณาจากปัจจัยสาเหตุต่างๆ อันที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ในเรื่องของกำหนดการและการวางแผน อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์หรือผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการวางแผนรองรับมาก่อน หรือวางแผนไม่ครอบคลุม ซึ่งจะส่งผลต่อระบบและกำหนดการโดยรวมเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น ในอีกความหมายหนึ่ง อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์ทางกายภาพที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของมนุษย์อาทิ รถชน ตกตึก มีดบาด ไฟลวก ไฟช็อต โดนพิษ ฯลฯ หรือหมายถึงเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ทางกายภาพเช่น การลืมของ การลืมนัดหมาย ความเผอเรอ หรือการเปิดเผยความลับ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดก็ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้.

ใหม่!!: มีป คีสและอุบัติเหตุ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: มีป คีสและฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: มีป คีสและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์

นอร์ทฮอลแลนด์ (North Holland) หรือ โนร์ด-โฮลลันด์ (Noord-Holland) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดกับทะเลเหนือ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลักของจังหวัดคือเมืองฮาร์เลม เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือกรุงอัมสเตอร์ดัม.

ใหม่!!: มีป คีสและจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิอินดีเพ็นเดนต์

อินดีเพ็นเดนต์ (The Independent) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1986 โดยIndependent News & Media ฉบับวันราชการเรียกกันสั้นๆ ว่า “อินดี้” และฉบับวันอาทิตย์เรียกกันสั้นๆ ว่า “ซันดี้” “ดิอินดีเพ็นเดนต์” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับล่าที่สุดฉบับหนึ่งในสหราชอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: มีป คีสและดิอินดีเพ็นเดนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันนาซี

กองกำลังสหรัฐอเมริกา ณ ค่ายกักกันซึ่งได้รับการปลดปล่อย แสดงให้พลเรือนชาวเยอรมันเห็นพร้อมกับหลักฐาน: รถบรรทุกซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ นาซีเยอรมนีได้จัดตั้งค่ายกักกันขึ้นตลอดดินแดนยึดครองของตน ค่ายกักกันนาซีในช่วงแรก ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในเยอรมนีภายหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก ในปี..

ใหม่!!: มีป คีสและค่ายกักกันนาซี · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันเอาชวิทซ์

ทางเข้าค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หรือ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา (Auschwitz concentration camp หรือ Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีของนาซีเยอรมนีที่ทำการระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อของค่ายกักกันมาจากชื่อของเมือง "ออชเฟียนชิม" (Oświęcim) หลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: มีป คีสและค่ายกักกันเอาชวิทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: มีป คีสและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: มีป คีสและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: มีป คีสและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โฮร์น

ร์น (Hoorn) เป็นเมืองทางตะวันตกของประเทศเนเธอร์แลนด์ ในจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ ตั้งอยู่บนอ่าวเอเซลเมร์ ห่างจากเมืองอัมสเตอร์ดัมไปทางเหนือ 35 กิโลเมตร ได้รับยกสถานะเป็นเมืองเมื่อปี..

ใหม่!!: มีป คีสและโฮร์น · ดูเพิ่มเติม »

ไลเดิน

ลเดิน (Leiden) เป็นเมืองในจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ไลเดินรวมเป็นเขตเมืองเขตเดียวกับ Oegstgeest, Leiderdorp, Voorschoten, Valkenburg, Rijnsburg และ Katwijk ที่ทำให้มีประชากรทั้งหมด 254,000 คน.

ใหม่!!: มีป คีสและไลเดิน · ดูเพิ่มเติม »

เวียนนา

วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).

ใหม่!!: มีป คีสและเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: มีป คีสและเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะไทมส์

อห์น วอลเทอร์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการคนแรก เดอะไทมส์ (The Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1785 เดิมใช้ชื่อว่า The Daily Universal Register ก่อตั้งโดยจอห์น วอลเทอร์ ตีพิมพ์ฉบับแรกวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1785 และเปลี่ยนชื่อเป็น The Times ตั้งแต่ฉบับที่ 941 วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1788 ในปี..

ใหม่!!: มีป คีสและเดอะไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา

รื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา (Orde van Oranje-Nassau) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์เนเธอร์แลนด์ สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน..

ใหม่!!: มีป คีสและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย

รื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย (Ehrenzeichen für Verdienste um die Republik Österreich, Decoration of Honour for Services to the Republic of Austria หรือ Order of Merit of the Austrian Republic) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติของสาธารณรัฐออสเตรีย ถือเป็นเครื่องอิสริยภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดของประเท.

ใหม่!!: มีป คีสและเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

รื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์เยอรมนี สถาปนาเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2494 โดยประธานาธิบดีเยอรมนีมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ให้แก่ข้าราชการ ประชาชน ทหาร ชาวเยอรมนีและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: มีป คีสและเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เมียพ จีส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »