โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากดทะเลหัวแข็ง

ดัชนี ปลากดทะเลหัวแข็ง

ปลากดทะเลหัวแข็ง (Hardhead catfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius (/อา-เรียส/) ลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ ได้แก่ มีฟันที่เพดานปากอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีจำนวนหนวดซึ่งมีอยู่ 3 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ ริมฝีปากล่าง 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ รูจมูกอยู่ใกล้กัน ปลาในสกุลนี้ แม้จะเป็นปลาทะเล แต่ก็มีหลายชนิดที่เข้ามาหากินและอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำจืดที่ห่างไกลทะเลมาก เช่น แม่น้ำสาละวิน ตัวผู้จะทำหน้าที่อมไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้ว จนกระทั่งฟักเป็นตัว การจำแนกชนิดกระทำได้จากการสังเกตจากรูปร่างและขนาดของหัว ตำแหน่งและรูปร่างของครีบบางครีบ และครีบท้องเปลี่ยนรูปเป็นอวัยวะพิเศษผิดไปจากเดิม พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงเอเชียอาคเน.

24 ความสัมพันธ์: ชายฝั่งพ.ศ. 2383การตั้งชื่อทวินามการปฏิสนธิวงศ์ปลากดทะเลสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาหนังจาการ์ตาตลาดประเทศอินโดนีเซียปลากดหัวแข็งปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำกร่อยปลาน้ำเค็มปีเตอร์ เบลเกอร์น้ำจืดแม่น้ำสาละวินแอฟริกาตะวันออกไข่เพศชายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชายฝั่ง

ฝั่งทางตะวันออกของบราซิล ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่างๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2383

ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและพ.ศ. 2383 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและการปฏิสนธิ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากดทะเล

วงศ์ปลากดทะเล หรือ วงศ์ปลาอุก (Sea catfishes, Crucifix catfishes, Fork-tailed catfishes) จัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลาหนัง ซึ่งเป็นปลาที่หากินตามพื้นน้ำ โดยมากจะไม่มีเกล็ด มีครีบแข็งที่ก้านครีบอก มีหนวด โดยมากเป็นปลากินซาก ทั้งซากพืช ซากสัตว์ พบทั้งน้ำจืด, น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ทั่วเขตอบอุ่นของโลก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ariidae (/อา-รี-อาย-ดี้/) สำหรับปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาที่อาศัยในบริเวณน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ และในทะเล ส่วนมากมีรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่มีส่วนหัวที่โตกว่าและแบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูงมีก้านแข็งคมเช่นเดียวกับครีบอก ครีบไขมันใหญ่ ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก มีหนวด 1-3 คู่รอบปาก บนเพดานมีฟันเป็นแถบแข็งรูปกลมรี โดยการแพร่พันธุ์ ตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก รอจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว โดยหลังจากการผสมพันธุ์ภายนอกแล้วตัวเมียจะใช้ครีบก้นที่มีขนาดใหญ่และหนากว่าตัวผู้อุ้มไข่ไว้แล้วให้ตัวผู้มารับไป ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-1 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อนของโลก พบในประเทศไทยประมาณ 20 ชนิด เช่น ปลาริวกิว หรือปลาลู่ทู (Arius thalassinus) และพบในน้ำจืดราว 10 ชนิด เช่น ปลากดหัวโต (Ketengus typus), ปลาอุก (Cephalocassis borneensis), ปลาอุกจุดดำ (Arius maculatus), ปลาอุกหัวกบ (Batrachocephalus mino) และ ปลากดหัวผาน (Hemiarius verrucosus) เป็นต้น จินตภาพของกะโหลกปลากดทะเล (ขวา) ที่มองเห็นเป็นรูปพระเยซูตรึงกางเขน (ซ้าย) โดยมากปลาในวงศ์นี้ จะถูกเรียกรวมกันว่า "อุก" เนื่องจากเมื่อถูกจับพ้นน้ำได้แล้วจะส่งเสียงร้องได้ โดยส่งเสียงว่า "อุก อุก" นอกจากนี้แล้ว ในมุมมองของชาวตะวันตก เมื่อมองกะโหลกของปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นกระดูกแข็ง ก่อให้เกิดเป็นจินตภาพเห็นภาพมีคนหรือพระเยซูตรึงกางเขนอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ว่า "Crucifix catfish".

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและวงศ์ปลากดทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

จาการ์ตา

การ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาวียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

ตลาด

ตลาดสดในสิงคโปร์ ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน คำว่า "ตลาด" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ยี่สาร" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ตามชาวเปอร์เซียเริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระเจ้าปราสาททอง.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดหัวแข็ง

ปลากดหัวแข็ง (Spotted catfish) เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius maculatus ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมทั่วไปคล้ายปลาอุก (Cephalocassis borneensis) ที่เป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ต่างกันตรงที่มีจุดสีดำอยู่ที่ครีบไขมัน มีความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงตอนล่าง รวมถึงทะเลสาบสงขลา หากินอยู่บริเวณพื้นน้ำ โดยกินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ เป็นอาหาร ปลากดหัวแข็ง มีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาอุกจุดดำ".

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและปลากดหัวแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและปลาน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (Salween River; သံလွင်မြစ်; 40px; กะเหรี่ยงสะกอ: โคโหล่โกล) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง จากไทยพีบีเอส มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า นู่เจียง (怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ" และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ปลากดทะเลหัวแข็งและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ariusสกุลอาเรียส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »