โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นินจาฮาโตริ

ดัชนี นินจาฮาโตริ

นินจาฮาโตริ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องและภาพโดยฟุจิโอะ ฟุจิโกะ (เอ.) เมื่อปี..

23 ความสัมพันธ์: บาสซูนชิงโงะ คะโตะริชินเอแอนิเมชันฟลูตฟุจิโกะ ฟุจิโอะพริกหยวกการ์ตูนญี่ปุ่นรัฐบาลเอโดะรีคอร์เดอร์ศิลปะการต่อสู้สุขนาฏกรรมสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3อะนิเมะอะนิเมะและมังงะเด็กทีวีอะซะฮิคอร์เปอร์เรชันคุโนะอิชิปิคโคโลนินจาแคลริเน็ตโชงากูกังโดราเอมอนเปียโนเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป

บาสซูน

thumb บาสซูน (bassoon) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าลมผ่านลิ้นเช่นเดียวกับโอโบ เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่ (double reed) รูปร่างของบาสซูน ค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากความใหญ่โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลิ่มให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอช่วยพยุงน้ำหนัก (sling) เพื่อให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นต่าง ๆ ได้สะดวก บาสซูนได้รับฉายาว่าเป็น "ตัวตลกของวงดุริยางค์" (The Clown of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด… คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลก ที่มีอากัปกิริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์ เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของกลุ่มเครื่องลมไม้ นอกนั้นยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างงดงามอีกด้วย หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา หมวดหมู่:เครื่องลมไม้.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและบาสซูน · ดูเพิ่มเติม »

ชิงโงะ คะโตะริ

งโง คาโทริ ชิงโง คาโทริ นักร้อง-นักแสดงชาวญี่ปุ่น เป็นสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดของวง SMAP ด้วยความที่เป็นคนร่าเริงจึงเข้ากับเพื่อนร่วมวงได้เป็นอย่างดี คาโทริ เป็นคนมีความสามารถหลากหลาย เป็นพิธีกรรายการหลายรายการ และสามารถสร้างคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นได้ เช่น ชินโงมาม่า คุณแม่ร่างยักษ์ ที่มาช่วยแม่บ้านผู้เหน็ดเหนื่อยทำอาหารเช้าให้กับสมาชิกในบ้าน รวมถึง เสริมสร้างการทานอาหารเช้าของเด็กๆ จนได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆๆของญี่ปุ่น รวมถึงมีซิงเกิลเพลง ในรูปแบบของชินโงมาม่า ถึง 2 ซิงเกิล และได้รับความนิยมอย่างมาก รายการ SmaSTATION!! ที่ส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นไม่กลัวที่จะใช้ภาษาอังกฤษ ก็ดำเนินรายการมายาวถึง ปีที่ 13 และได้รับความนิยมเช่นกัน.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและชิงโงะ คะโตะริ · ดูเพิ่มเติม »

ชินเอแอนิเมชัน

นเอแอนิเมชัน (Shin-Ei Animation Co., Ltd) เป็นสตูดิโอแอนิเมชันในประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1976 ผลงานที่มีชื่อเสียงของชินเอแอนิเมชัน ได้แก่ โดราเอมอน, เครยอนชินจัง เป็นต้น.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและชินเอแอนิเมชัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูต

ฟลุต ฟลูต (flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและฟลูต · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ

รชิ ฟุจิโมโตะ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ (ญี่ปุ่น: 藤子 不二雄, ฮิรางานะ: ふじこ ふじお, Fujiko Fujio) (1 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 23 กันยายน พ.ศ. 2539) เป็นนามปากกา ของคู่นักวาดการ์ตูนมีผลงานมากมาย โดยมีเรื่องที่โด่งดังคือ โดราเอมอน ของ.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและฟุจิโกะ ฟุจิโอะ · ดูเพิ่มเติม »

พริกหยวก

ริกหยวกสีแดง เหลืองและเขียว พริกหยวก, พริกหวาน หรือพริกยักษ์ (bell pepper, sweet pepper หรือ capsicum) เป็นกลุ่มพันธุ์ของสปีชีส์ Capsicum annuum พริกหยวกให้ผลสีต่าง ๆ กัน รวมถึงแดง เหลือง ส้มและเขียว บางครั้งพริกหยวกถูกจัดกลุ่มรวมกับพริกที่เผ็ดน้อย เรียกว่า "พริกหวาน" พริกเป็นพืชประจำถิ่นในเม็กซิโก อเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ตอนเหนือ ภายหลังเมล็ดพริกถูกนำไปยังสเปนใน..

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและพริกหยวก · ดูเพิ่มเติม »

การ์ตูนญี่ปุ่น

การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นคำที่ใช้เรียก หนังสือการ์ตูน หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะของการ์ตูนญี่ปุ่น ตัวละครในเนื้อเรื่องจะมีลักษณะเฉพาะตัว และเนื้อเรื่องที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากแล้ว ภาพของคนและสัตว์ที่ปรากฏในการ์ตูนญี่ปุ่นมักจะมีสัดส่วนผิดเพี้ยนไปจากความจริง เช่นมีทรวดทรงที่เล็ก-ใหญ่กว่าปกติ หรือดวงตาที่โตกว่าปกติ แตกต่างจากการ์ตูนฝั่งตะวันตกที่มักจะเขียนภาพคนและสัตว์ออกมาในลักษณะเหมือนจริง ในภาษาญี่ปุ่นและหลายประเทศที่รับเอาวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นเข้าไปจะเรียกหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นศัพท์เฉพาะว่า มังงะ และเรียกภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่นว่า อะนิเมะ (ตัดทอนมาจากคำว่า Animation ในภาษาอังกฤษ).

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและการ์ตูนญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รีคอร์เดอร์

ลุ่ยรีคอร์เดอร์ (รูปขลุ่ยอันที่ 2 จากล่าง เป็นการแยกส่วน 3 ชิ้นของรีคอร์เดอร์ รีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รีคอร์เดอร์สร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 14 ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ นิยมเล่นในสมัยยุคกลาง และมีความเจริญสูงสุดในยุคบาโรค เป็นเครื่องเป่าที่มีลักษณะการเป่าแบบด้านตรง มีรูปแบบการเกิดเสียงแบบเดียวกันกับนกหวีด คือ บริเวณปากเป่านั้นจะทำเป็นช่องลม (Wind Way) เพื่อที่จะพุ่งเข้าไปกระทบกับปากนกแก้ว ทำให้อากาศเกิดการสั่นสะเทือน เกิดเป็นคลื่นเสียงภายในท่อ เกิดเป็นระดับเสียงต่างๆ ท่อของรีคอร์เดอร์มีรูปทรงกรวย คือ จากส่วนปลายของปากเป่าลงมายังส่วนปลายท่อจะค่อยๆ สอบลง และแคบสุดบริเวณปลายของรีคอร์เดอร์ ในปัจจุบันรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับหัดเรียนดนตรีขั้นเบื้องต้น โดยเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษ.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและรีคอร์เดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะการต่อสู้

ลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (Martial arts) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่เน้นการเรียนและฝึกฝนด้านการต่อสู้และการป้องกันตัว ในปัจจุบันได้มีการศึกษากันอย่างแพร่หลาย ทั้งในเชิงด้านการกีฬา เพื่อฝึกฝนร่างกายให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง หรือแม้กระทั่งฝึกฝนจิตใจ ภาพยนตร์หลายหลายเรื่องได้มีการนำศิลปะป้องกันตัวไปใช้ เช่น องค์บาก ที่นำมวยไทยมาใช้เป็นโครงเรื่องหลัก หรือภาพยนตร์จากฮอลลีวูด โดยมีนักแสดงเช่น เฉินหลง บรูซ ลี เจ็ท ลี ศิลปะป้องกันตัวอาจเป็นกลุ่มได้ตามลักษณะการต่อสู้ เช่น.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและศิลปะการต่อสู้ · ดูเพิ่มเติม »

สุขนาฏกรรม

นาฏกรรม (comedy) หมายถึง วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร ที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็น เหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต โดยหมายความดั้งเดิมของคำว่า สุขนาฏกรรม ในภาษาอังกฤษ คือ Comedy (/คอ-เม-ดี/) มีความหมายถึง วรรณกรรมของชนชั้นระดับล่าง หรือระดับชาวบ้าน เป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาอย่างง่าย ๆ หรือ ภาษาพูดทั่วไป ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับโศกนาฏกรรม หรือ Tragedy ซึ่งหมายถึง วรรณกรรมหรือวรรณคดีของชนชั้นสูง ในปัจจุบัน ตลกนั้นคือเรื่อราวเพื่สร้างเสียงหัวเราะเป็นหลัก และอาจไม่ได้จบด้วยความสุขเสมอไป ในบางแง่มุม เรื่องราวตลกอาจไปกระทบถึงคนหรือกลุ่มคนได้.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและสุขนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

นีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ..ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งที่ 4 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการโดยบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวลา 10:00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่องสัญญาณที่ 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 32 โดยที่เริ่มแพร่ภาพคู่ขนาน (simulcast) กับโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องหมายเลข 33 ภาพคมชัดสูง ของบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ตามคำสั่งของศาลปกครอง ตั้งแต่เวลา 21:19 น. ของวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มีคำขวัญประจำสถานีฯ ว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 โดยมีประสาร มาลีนนท์ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แทนประวิทย์ มาลีนนท์ ที่ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาเรื่อง.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะและมังงะเด็ก

การ์ตูนสำหรับเด็กและเยาวชน หมายถึง การ์ตูนที่มีเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 3-17 ปี เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก การ์ตูนเหล่านี้จึงไม่มีความรุนแรง หรือความลามกอนาจารอยู่เลย โดยอาจสร้างขึ้นมาเพื่อการศึกษา เพื่อให้ความบันเทิง หรือเพื่อเป็นการโฆษณาของเล่นทางอ้อม และอาจแบ่งย่อยออกได้เป็นการ์ตูนสำหรับเด็กผู้ชาย และการ์ตูนสำหรับเด็กผู้หญิง การ์ตูนสำหรับเด็กผู้ชายในปัจจุบันส่วนมากมีตัวละครหลักเป็นเด็กอายุประมาณ 9-15 ปี และมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการผจญภัยหรือการแข่งขัน "กีฬา" ด้วยของเล่น เช่น รถแข่ง ลูกข่าง เป็นต้น หุ่นยนต์ยักษ์และสัตว์ประหลาดเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในการ์ตูนประเภทนี้ เนื้อเรื่องส่วนมากจะเป็นไปในทำนองว่า เด็กธรรมดากลุ่มหนึ่งได้รับหุ่นยนต์ สัตว์ประหลาดผู้ช่วย หรืออุปกรณ์วิเศษอย่างหนึ่งมา และต้องใช้สิ่งนั้นต่อสู้เพื่อพิทักษ์ความสงบสุขของโลกหรือดินแดนวิเศษอีกดินแดนหนึ่ง การ์ตูนสำหรับเด็กผู้หญิงส่วนใหญ่มักอยู่ในแนวสาวน้อยเวทมนตร์ กล่าวคือเด็กผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งซึ่งมักอยู่ ป.4-ม.3 ได้รับพลังวิเศษอย่างหนึ่งมาและต้องใช้พลังนั้นต่อสู้กับผู้ร้าย หรือไม่ก็ช่วยเหลือเพื่อนและคนที่อยู่รอบข้าง สาวน้อยเวทมนตร์ทุกคนมักจะมีคฑาหรือตลับวิเศษใช้สำหรับแปลงร่างและเสกคาภา และผู้ช่วยเป็นสัตว์ประหลาดผู้ได้ตัวเล็กน่ารัก หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่น.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและอะนิเมะและมังงะเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

ทีวีอะซะฮิคอร์เปอร์เรชัน

ทีวีอะซะฮิคอร์เปอร์เรชัน เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น เรียกอย่างย่อว่า เริ่มออกอากาศเมื่อ พ.ศ. 2500 ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น (ชื่อย่อ:NET) จนกระทั่ง พ.ศ. 2520 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ทีวีอะซะฮิ จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและทีวีอะซะฮิคอร์เปอร์เรชัน · ดูเพิ่มเติม »

คุโนะอิชิ

นะอิจิ คือ นินจาหญิง มีหน้าที่หลัก คือ หาข่าวสารและลอบสังหาร การฝึกฝนของคุโนะอิจิจะเน้นการใช้ยาพิษ การปลอมตัว ศิลปะการแสดง และการใช้เสน่ห์ให้เป็นประโยชน์ เพื่อล้วงความลับหรือจัดการกับเป้าหม.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและคุโนะอิชิ · ดูเพิ่มเติม »

ปิคโคโล

ปิคโคโล (Piccolo) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รูปร่างคล้ายฟลุทแต่ขนาดเล็กกว่า และมีเสียงสูงกว่า 1 ออคเทฟ มีขนาดเล็กกว่าฟลุท 4 เท่า จึงทำให้มีคุณภาพเสียงที่สดใสและแหลมมาก เสียงในระดับต่ำของปิคโคโลจะดังไม่ชัดเจน ปิคโคโลจึงเหมาะที่จะใช้ในการเล่นในระดับเสียงกลางและเสียงสูงมากกว่าในระดับเสียงต่ำ ปิคโคโลในวงออร์เคสตรา คือในศตวรรษที่ 18 ด้วยสุ้มเสียงที่แหลมสูงของปิคโคโลนี้เองทำให้เราสามารถ ที่จะได้ยินเสียงปิคโคโลได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าเครื่องดนตรีชิ้นอื่นจะบรรเลงอยู่ก็ตาม หมวดหมู่:เครื่องลมไม้ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและปิคโคโล · ดูเพิ่มเติม »

นินจา

การวาดแม่แบบนินจาจากชุดสเก็ตช์ ("โฮะกุไซ มังงะ")โดย คะสึชิกะ โฮะกุไซ ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นบนกระดาษตอนที่ 6 ค.ศ. 1817 คุนะอิ '''คุนะอิ'''มีไว้ขุดหลุมหรือขว้างใส่ศัตรูเหมือนดาวกร.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและนินจา · ดูเพิ่มเติม »

แคลริเน็ต

กซ้ายไปขวา คลาริเน็ต Ab Eb และ Bb คลาริเน็ต(Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเป่าลมไม้(woodwind instruments) ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า chalumeau แคลริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงแคลริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นแคลริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แป.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและแคลริเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

โชงากูกัง

ริษัทโชงากูกัง ตึกสำนักงานเก่าโชงากูกัง ตึกสำนักงานใหม่โชงากูกัง ชิโยดะ (โตเกียว) ประเทศญี่ปุ่น สำนักพิมพ์โชงากูกัง เป็นสำนักพิมพ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ตีพิมพ์ พจนานุกรม นิยาย หนังสือการ์ตูน และสื่อต่าง ๆ ผลิตแผ่น ลิขสิทธิ์อะนิเมะและลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ตั้งอยู่ที่ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 8 สิงหาคม..

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและโชงากูกัง · ดูเพิ่มเติม »

โดราเอมอน

ราเอมอน หรือ โดเรมอน (ドラえもん) (Doraemon) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือ โนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วย ของวิเศษ จากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ เดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดย สำนักพิมพ์โชงะกุกัง โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น อีกทั้งยังได้รับเลือกจาก นิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของ ทวีปเอเชีย จาก ประเทศญี่ปุ่น จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของ ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้บริษัท บันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิต หุ่นยนต์ โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My Doraemon" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552 ใน ประเทศไทย โดราเอมอนฉบับ หนังสือการ์ตูน มีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศครั้งแรก วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2525 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัท โรส วิดีโอ .

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและโดราเอมอน · ดูเพิ่มเติม »

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและเปียโน · ดูเพิ่มเติม »

เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป

ริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (Nation Multimedia Group Public Company Limited) เป็นบริษัทสื่อสารมวลชนครบวงจรขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยเริ่มออกหนังสือพิมพ์เดอะวอยซ์ออฟเดอะเนชั่นเป็นฉบับแรก และมีบุคคลสำคัญประกอบด้วยหม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร, สุทธิชัย หยุ่น, ธรรมนูญ มหาเปารยะ, เชวง จริยะพิสุทธิ์, ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์, และ ธนะชัย สันติชัยกูล.

ใหม่!!: นินจาฮาโตริและเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ninja Hattori-kunนินจาฮัตโตริ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »