โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ดัชนี คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris; M.E.P) เป็นคณะชีวิตแพร่ธรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ไม่ใช่คณะนักบวชคาทอลิก) สมาชิกประกอบด้วยบาทหลวงประจำมุขมณฑลและฆราวาสที่อุทิศตนทำงานเป็นมิชชันนารีในต่างประเทศ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสก่อตั้งราว..

39 ความสัมพันธ์: บาทหลวงพันธกิจการประกาศข่าวดีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนภาษาละตินมิชชันนารีมุขมณฑลมุขนายกศาสนาคริสต์สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสันตะสำนักสำนักมิสซังสงครามฝิ่นครั้งที่สองหลุยส์ ลาโนอัคราธิการอาณานิคมทวีปเอเชียคริสตจักรคริสต์ศตวรรษที่ 17คริสต์ศตวรรษที่ 19คณะนักบวชคาทอลิกคณะเยสุอิตฆราวาสตะวันออกไกลตังเกี๋ยประเทศฝรั่งเศสประเทศสเปนประเทศจีนประเทศโปรตุเกสปารีสปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตโรมโรมันคาทอลิกโคชินไชนาเขตมิสซังกรุงเทพฯเขตผู้แทนพระสันตะปาปาเซมินารี

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พันธกิจ

ันธกิจ (บ้างก็ใช้ว่า ภารกิจ) หมายถึงคำแถลงความมุ่งประสงค์ของบริษัทหรือองค์การ พันธกิจควรชี้นำการกระทำขององค์การ ขยายความเป้าหมายโดยรวมทั้งหมด จัดเตรียมหนทางและชี้นำการตัดสินใจ พันธกิจเป็นการจัดเตรียม "ข่ายงานหรือบริบทภายในแผนกลยุทธ์ของบริษัทที่ได้กำหนดไว้" พันธกิจมักเป็นประโยคสั้น ๆ ประมาณหนึ่งถึงสองบรรทัด ถ้ามีพันธกิจหลายอย่างก็อาจแบ่งเป็นหลายข้อได้.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและพันธกิจ · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศข่าวดี

การประกาศข่าวดี (ศัพท์คาทอลิก) หรือ การประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelism) คือการเผยแพร่พระวรสารหรือประกาศข่าวดีตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าผู้มารับสภาพมนุษย์และถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เพื่อไถ่มนุษย์ผู้เชื่อจากบาป หลังจากนั้น 3 วัน ก็ทรงคืนพระชนม์แล้วเสด็จขึ้นสวรรค์ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าผู้เชื่อข่าวดีนี้จะถูกไถ่จากบาปทันทีและได้ขึ้นสวรรค์หลังจากเสียชีวิต จนถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายก็จะได้รับบำเหน็จจากพระเจ้า การประกาศข่าวดีถือเป็นพันธกิจสำคัญที่พระเยซูฝากไว้แก่สาวกของพระองค์ก่อนจะเสด็จขึ้นสวรรค์ ดังปรากฏในพระวรสารนักบุญมัทธิวว่า "ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" ผู้อุทิศตนทำงานประกาศข่าวดีเรียกว่า ผู้ประกาศข่าวดี (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelist).

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและการประกาศข่าวดี · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในภาพคริสตชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ การข่มเหงคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Persecution of Christians) หมายถึงการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกถูกเบียดเบียนทั้งจากชาวยิวและจักรวรรดิโรมันซึ่งปกครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ในขณะนั้น การเบียดเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 จนมาสิ้นสุดตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิลิซิเนียสทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นการรับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน จนต่อมาศาสนาคริสต์จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ มิชชันนารีและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ก็มักตกเป็นเป้าของการเบียดเบียน เป็นที่มาให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ระหว่างนิกายในศาสนาคริสต์เองก็ยังเบียดเบียนกันเพราะกล่าวหาคริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่นว่าเป็นพวกนอกรีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสต์ศาสนิกชนยังคงถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิมและกลุ่มรัฐที่เป็นอเทวนิยม เช่น สหภาพโซเวียต ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) กลุ่มโอเพนดอรส์ประเมินว่ามีคริสต์ศาสนิกชนราวหนึ่งร้อยล้านคนถูกเบียดเบียน โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ จากการศึกษาของสันตะสำนักพบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะศาสนาเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มิชชันนารี

มิชชันนารีคาทอลิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกำลังอำลาญาติพี่น้อง ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ยังดินแดนตะวันออกไกล มิชชันนารี (missionary) คือ สมาชิกองค์การทางศาสนา ที่ถูกส่งไปยังต่างแดนเพื่อทำการประกาศข่าวดีและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร ในงานด้านการศึกษา การรู้หนังสือ ความยุติธรรมทางสังคม สาธารณสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจThomas Hale 'On Being a Missionary' 2003, William Carey Library Pub, ISBN 0-87808-255-7 คำว่า "มิชชัน" มาจากภาษาละติน missionem ซึ่งแปลว่า การส่งออกไป มิชชันนารีมักทำงานรวมกันเป็นองค์กรเรียกว่า มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ มิสซัง (โรมันคาทอลิก) และเรียกสำนักงานของมิชชันนารีว่า ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก).

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและมิชชันนารี · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1644 ถึง ค.ศ. 1655 ประสูติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1574 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1655 รวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2117 อินโนเซนต์ที่ 10 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 9 (อังกฤษ: Clement IX) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1667 ถึง ค.ศ. 1669 ประสูติเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1600 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1669 รวมพระชนมายุได้ 69 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2143 คลีเมนต์ที่ 9 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นตอสคานา.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

มเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (พ.ศ. 2174/2175 - 2231; ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอ.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและสันตะสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

สำนักมิสซัง

มิสซังคาทอลิกเชียงใหม่ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก) หรือ ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) (mission) คือสำนักงานของมิชชันนารี.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและสำนักมิสซัง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝิ่นครั้งที่สอง

งครามฝิ่นครั้งที่สอง (ตี้เอ้อร์ยาเพี่ยนจ้านเจิง; Second Opium War) เป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ กับ ราชวงศ์ชิง ฝิ่นเป็นยาเสพติดที่ชาวจีนติดกันอย่างมากและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ลาโน

หลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศสสมาชิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในอาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้ดำรงตำแหน่งประมุขมิสซังสยามเป็นองค์แรก.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและหลุยส์ ลาโน · ดูเพิ่มเติม »

อัคราธิการ

อัคราธิการ (superior general; general) บางคณะเรียกว่ามหาธิการ เป็นตำแหน่งอธิการสูงสุดในคณะนักบวชคาทอลิกแต่ละคณะ หากเป็นประมุขคณะนักบวชหญิงจะเรียกว่าอัคราธิการิณีหรือมหาธิการิณีตามแต่ละคณะจะบัญญัติศัพท์ ในกฎหมายศาสนจักรจึงใช้คำว่าอธิการสูงสุด (supreme moderator) เพื่อหมายถึงอัคราธิการ อัคราธิการิณี มหาธิการ และมหาธิการิณี โดยรวมทั้งหมดซึ่งถืออำนาจปกครองเหนือแขวง บ้านพัก และสมาชิกทั้งหมดในคณะนักบวชที่ตนปกครอง ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอัคราธิการจะต้องมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมายศาสนจักรและบทบัญญัติของธรรมนูญประจำคณะนักบวช รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับธรรมนูญประจำคณะเช่นกัน.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและอัคราธิการ · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคม

ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 17

ริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึง ค.ศ. 1700.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและคริสต์ศตวรรษที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

คณะเยสุอิต

ณะเยสุอิต.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและคณะเยสุอิต · ดูเพิ่มเติม »

ฆราวาส

ราวาส (อ่านว่า คะราวาด) นัยแรกแปลว่า การอยู่ครองเรือน, การอยู่ในเรือน, การเป็นอยู่แบบชาวบ้าน เช่น "ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง...." ฆราวาส นัยที่สองแปลว่า ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน ได้แก่ชาวบ้านทั่วไปที่มิใช่นักบวช เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า คฤหัสถ์ เช่น "ฆราวาสธรรมเป็นธรรมสำหรับผู้ครองเรือนจะพึงประพฤติปฏิบัติ" "เมื่อเรายังเป็นฆราวาสอยู่ ได้ตกแต่งร่างกายนุ่งห่มเสื้อผ้าอันงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน....." ฆราวาส มักพูดหรืออ่านเพี้ยนไปว่า ฆราวาส (คาระวาด).

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกไกล

ตะวันออกไกล ตะวันออกไกล (Far East) ในความหมายที่จำกัดหมายถึงพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยประเทศทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย ไต้หวัน และไซบีเรีย แต่ในความหมายที่กว้างขึ้นมักหมายรวมถึงอาเซียนและบางส่วนของเอเชียใต้ ในทางประวัติศาสตร์ ชาติมหาอำนาจในยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกดินแดนแถบนี้และกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกว่าตะวันออกไกลเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอาณาจักรของตนไปทางทิศตะวันออก.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและตะวันออกไกล · ดูเพิ่มเติม »

ตังเกี๋ย

อาณานิคมตังเกี๋ย (Bắc Kỳ บั๊กกี่; Tonkin, Tongkin, Tonquin หรือ Tongking) เป็นส่วนที่อยู่ทางเหนือสุดของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและมณฑลยูนนานของจีนทางเหนือ ทางตะวันตกติดต่อกับลาว และทางตะวันออกติดต่อกับอ่าวตังเกี๋ย ตังเกี๋ยตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมแม่น้ำแดงอันอุดมสมบูรณ์ และนับเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและตังเกี๋ย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต

ปีแยร์ มารี ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต (Pierre Lambert de la Motte) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังโคชินไชนา และมุขนายกเกียรตินามแห่งเบรุต ผู้ร่วมก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส และก่อตั้งคณะรักกางเขน.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โคชินไชนา

อาณานิคมโคชินไชนา หรือ อาณานิคมโคชินจีน (Cochinchina; Nam Kỳ, Kampuchea Krom) เป็นบริเวณที่อยู่ทางใต้ของเวียดนามซึ่งมีเมืองสำคัญคือไซ่ง่อนหรือไพรนครในภาษาเขมร ดินแดนนี้เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต..

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและโคชินไชนา · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

เขตผู้แทนพระสันตะปาปา

ฟร็องซัว ปาลูว์ (François Pallu) มุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซังตังเกี๋ย เขตผู้แทนพระสันตะปาปา (Apostolic vicariate) หรือมิสซัง เป็นเขตอำนาจทางอาณาเขตของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในประเทศหรือแว่นแคว้นที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสถานะเป็น "มุขมณฑล" ตามปกติแล้วทุกคริสตจักรท้องถิ่นจะต้องปกครองตนเองภายใต้การนำของผู้ปกครองคือมุขนายก แต่กรณีที่คริสตจักรเพิ่งตั้งใหม่ หรือยังมีจำนวนคริสตชนน้อย ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง พระสันตะปาปาจะทรงถือสิทธิ์ปกครองคริสตจักรนั้น แล้วส่งผู้แทนหรือวิคาร์ (vicar) ไปทำหน้าที่ปกครองแทน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผู้ปกครองนั้นว่าผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicar) (เพราะพระสันตะปาปาทรงสืบตำแหน่งมาจากอัครทูต (apostle)) บางตำราก็เรียกว่าประมุขมิสซัง หรือผู้แทนสันตะสำนักประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า, กรุงเทพฯ: แผนกคำสอน เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2543, หน้า 97-8 และเรียกเขตปกครองนั้นว่าเขตผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicariate) นอกจากนี้ยังนิยมเรียกในชื่ออื่นอีก เช่น มิสซัง (mission) เทียบมุขมณฑล หรือเขตปกครองโดยผู้แทนสันตะสำนักด้วย บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาโดยปกติจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นมุขนายกเกียรตินาม (titular bishop) ด้วยเพื่อเป็นเกียรติในการทำงานและมีศักดิ์ศรีอย่างมุขนายกเขตมิสซังอื่น.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและเขตผู้แทนพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

เซมินารี

ซมินารี.

ใหม่!!: คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและเซมินารี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »