โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย

ดัชนี กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย

ในทางการแพทย์ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (systemic inflammatory response syndrome) หรือ SIRS เป็นภาวะการอักเสบของทั้งร่างกายโดยไม่ระบุสาเหตุของการติดเชื้อ นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพท.

22 ความสัมพันธ์: ช็อกช็อกเหตุพิษติดเชื้อกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะการบาดเจ็บการอักเสบการติดเชื้อภาวะพิษเหตุติดเชื้อภูมิคุ้มกันบกพร่องศัลยศาสตร์สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอดอัตราหัวใจเต้นองศาเซลเซียสความดันโลหิตต่ำตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอแพทยศาสตร์แอนาฟิแล็กซิสแผลไหม้โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเม็ดเลือดขาวเลือดออกเอดส์

ช็อก

วะช็อก (shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติKumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007).

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและช็อก · ดูเพิ่มเติม »

ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ

็อกเหตุพิษติดเชื้อ ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและช็อกเหตุพิษติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ

กลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ (multiple organ dysfunction syndrome, MODS) หรือเดิมชื่อภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายอวัยวะ (multiple organ failure, MOF) หรือภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ (multisystem organ failure) คือภาวะซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ในผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเฉียบพลันจนต้องได้รับการให้การรักษาทางการแพทย์เพื่อให้สามารถคงภาวะธำรงดุลเอาไว้ได้ คำว่า multiple organ failure และ multisystem organ failure ถูกแนะนำให้เลิกใช้เพราะคำเหล่านี้สื่อว่าต้องดูว่าที่วัดได้ทางสรีรวิทยา เพื่อประเมินว่าอวัยวะนั้นๆ ทำงานล้มเหลว by Irwin and Rippe.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บ (Injury) เป็นความเสียหายหรืออันตรายต่อหน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกาย อันมีสาเหตุจากแรงหรือปัจจัยภายนอกทั้งทางกายภาพหรือเคมี และทั้งโดยเจตนา (เช่นการฆ่าตัวตาย ฆาตกรรม) หรือไม่ได้เจตนา (เช่นอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บจากกีฬา).

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและการบาดเจ็บ · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

วะพิษเหตุติดเชื้อ ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency หรือ immune deficiency) ในทางการแพทย์ถือว่า เป็นภาวะที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อลดลงหรือขาดไป ซึ่งส่วนมากพบเป็นแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง (acquired หรือ secondary) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะนี้มาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ (primary immunodeficiency) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการต่อต้านอวัยวะปลูกถ่ายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินจนต่อต้านร่างกายตนเอง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อจากการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) เพิ่มนอกเหนือไปจากการติดเชื้อทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกคน.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและภูมิคุ้มกันบกพร่อง · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (pulmonary embolism, PE) คือภาวะซึ่งมีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงหลักของปอด หรือหลอดเลือดย่อยที่แตกออกมา โดยสารซึ่งหลุดมาจากตำแหน่งอื่นของร่างกายผ่านทางหลอดเลือด (สิ่งหลุดอุดหลอดเลือด) ส่วนใหญ่เกิดจากการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ลิ่มเลือดนี้หลุดออกมาและลอยมายังปอด เรียกว่าลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism, VTE) ส่วนน้อยอาจเกิดจากการมีอากาศ ไขมัน ผงแป้ง (ในผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ) หรือน้ำคร่ำ หลุดมาอุดหลอดเลือดปอด การที่เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังปอดหรือบางส่วนของปอดได้ ร่วมกับการมีความดันในหัวใจห้องล่างขวาสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของ PE คนบางคนมีความเสี่ยงของการเกิด PE สูงกว่าคนทั่วไป เช่น เป็นมะเร็ง หรือนอนติดเตียงนานๆ เป็นต้น หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคหัวใจเกี่ยวเนื่องกับปอดและโรคการไหลเวียนโลหิตของปอด.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด · ดูเพิ่มเติม »

อัตราหัวใจเต้น

หัวใจ อัตราหัวใจเต้น (Heart rate) หมายถึงความเร็วของการบีบตัวของหัวใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ โดยทั่วไปนิยมใช้หน่วย "ครั้งต่อนาที" อัตราหัวใจเต้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับสรีรวิทยาของร่างกาย เช่นความต้องการออกซิเจนและการขับคาร์บอนไดออกไซด์ของร่างกาย สิ่งที่มีผลกับอัตราหัวใจเต้นได้แก่กิจกรรมของร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับ ความเจ็บป่วย การย่อยอาหาร และยาบางชนิด ถ้าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอเรียกว่าภาวะหัวใจเสียจังหวะ (arrhythmia) ความผิดปกติของการเต้นหัวใจในบางครั้งอาจเป็นแสดงถึงการเป็นโรคแต่ก็ไม่เสมอไป.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและอัตราหัวใจเต้น · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตต่ำ

วามดันโลหิตต่ำ (hypotension) ในทางสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ คือ ภาวะที่มีความดันเลือดต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดงของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันเลือด คือ แรงที่เลือดผลักผนังหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือด มักถือว่าความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีความดันช่วงหัวใจบีบต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันช่วงหัวใจคลายต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การพิจารณาว่าความดันเลือดต่ำหรือไม่นั้นดูจากอาการแสดงที่สังเกตได้เป็นหลัก.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและความดันโลหิตต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันคือภาวะที่เกิดการอักเสบขึ้นกับตับอ่อน ทำให้มีอาการปวดท้องเฉียบพลันรุนแรง ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนหลังของช่องท้องส่วนกลาง ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยและฮอร์โมนบางชนิด รวมถึงอินซูลินด้วย ตับอ่อนอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วถุงน้ำดี หรือเกิดจากการกินแอลกอฮอล์ปริมาณปานกลางถึงมากเป็นระยะเวลานาน ตับอ่อนอักเสบส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถมีอาการกลับเป็นปกติได้ดีเมื่อได้รับการรักษา อย่างไรก็ดีผู้ป่วยบางส่วนจะมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการดูแลในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก สิ่งสำคัญในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบทุกรายคือหาสาเหตุที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบในครั้งนี้ และรักษาหากเป็นไปได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นซ้ำ.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ

ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอคือภาวะที่ต่อมหมวกไตส่วนนอกไม่สามารถผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ โดยเฉพาะคอร์ติซอล ออกมาได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทั้งนี้อาจนับรวมถึงการที่ต่อมหมวกไตส่วนในไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (มิเนอราโลคอร์ติคอยด์) ออกมาได้เพียงพอด้วย ซึ่งอัลโดสเตอโรนมีหน้าที่ควบคุมปริมาณเกลือแร่โซเดียม โพแทสเซียม และสารน้ำ ในร่างกาย อาการอยากกินเกลือหรืออาหารรสเค็มเนื่องจากเสียโซเดียมไปกับปัสสาวะ เป็นอาการที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง ภาวะต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพออาจมีสาเหตุจากโรคได้หลายโรค เช่น โรคแอ็ดดิสัน และภาวะต่อมหมวกไตเจริญมากเกินแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ความดันเลือดต่ำ น้ำหนักลด ไตวาย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง และอาจช็อกได้ โดยมักเรียกว่าภาวะวิกฤติต่อมหมวกไต (adrenal crisis) ซึ่งมักเกิดเมื่อร่างกายของผู้ป่วยต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอต้องเจอกับภาวะเครียด เช่น บาดเจ็บ รับการผ่าตัด ติดเชื้อรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้วภาวะนี้ยังอาจเกิดจากการที่ไฮโปทาลามัสหรือต่อมพิทูอิทารีไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของต่อมหมวกไตได้เพียงพอ ภาวะนี้เรียกว่าต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอแบบทุติยภูมิ (secondary adrenal insufficiency) ซึ่งอาจเกิดการที่ต่อมพิทูอิทารีสร้าง ACTH ได้ไม่เพียงพอ หรือไฮโปทาลามัสสร้าง CRH ได้ไม่เพียงพอ.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนาฟิแล็กซิส

แอนาฟิแล็กซิส หรือปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงเป็นภาวะ ภูมิแพ้ อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนใหญ่ทำให้มีอาการ เช่น ผื่นคัน ปากคอบวม และ ความดันเลือดต่ำ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ แมลงกัดต่อย อาหาร และยา ในระดับ พยาธิสรีรวิทยา นั้นแอนาฟิแล็กซิสนี้เกิดจากการที่เซลล์ เม็ดเลือดขาว บางชนิดปล่อยสารตัวกลางออกมาจากการกระตุ้นโดยภูมิคุ้มกัน หรือกระบวนการอื่นที่ไม่ใช่กระบวนการของภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัยทำได้โดยอาศัยอาการและอาการแสดงที่ปรากฏ การรักษาหลักคือการใช้ อีพิเนฟริน ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ประมาณเอาไว้ว่า 0.05-2% ของประชากรทั่วโลกจะเกิดแอนาฟิแล็กซิสขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิต และตัวเลขอุบัติการณ์นี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คำนี้มีที่มาจากภาษากรีก ἀνά ana, ต่อต้าน และ φύλαξις phylaxis,ป้องกัน.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

แผลไหม้

แผลไหม้ (burn) เป็นการบาดเจ็บต่อผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออื่นอย่างหนึ่ง มีสาเหตุจากความร้อน ไฟฟ้า สารเคมี แรงเสียดทาน หรือการแผ่รังสี แผลไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนจากของเหลว ของแข็งร้อน หรือไฟ แผลไหม้ที่กระทบเพียงผิวหนังชั้นบนสุดเรียก แผลไหม้ระดับหนึ่ง แผลดูแดงไม่มีตุ่มพอง และตรงแบบปวดกินเวลาประมาณสามวัน เมื่อการบาดเจ็บลึกถึงผิวหนังข้างใต้ เรียก แผลไหม้ระดับสอง มักมีตุ่มพองและมักเจ็บมาก การหายใช้เวลานานถึงแปดสัปดาห์และอาจมีแผลเป็น ในแผลไหม้ระดับสาม การบาดเจ็บลามไปถึงผิวหนังทุกชั้น มักไม่เจ็บและบริเวณแผลไหม้จะแข็ง แผลมักไม่หายเอง และแผลไหม้ระดับสี่จะเป็นบาดแผลถึงที่เนื้อเยื่อลึกลงไป เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือกระดูก แผลไหม้มักมีสีดำและมักนำสู่การเสียส่วนที่ถูกไหม้นั้น การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของแผลไหม้ แผลไหม้พื้นผิวอาจรักษาด้วยยาระงับปวดอย่างง่าย ขณะที่แผลขนาดใหญ่อาจต้องการการรักษาที่ศูนย์รักษาแผลไหม้ ซึ่งใช้เวลานาน การใช้น้ำเย็นจากก๊อกอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดความรุนแรงของแผลได้ แต่แผลไหม้ที่เป็นวงกว้างอาจทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน แผลไหม้ระดับสองอาจต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ และการทำแผล วิธีการรักษาแผลพุพองยังไม่แน่ชัด แต่การปล่อยแผลให้เป็นอย่างเดิมนั้นอาจสมเหตุสมผล แผลไหม้ระดับสามมักต้องการการผ่าตัด เช่นการตัดแต่งผิวหนัง แผลไหม้ขนาดใหญ่ต้องรักษาด้วยการฉีดของเหลวเข้าเส้นเลือด เพราะการตอบสนองต่อการอักเสบอาจทำให้ของเหลวในหลอดเลือดฝอยไหลออกมา และเกิดการบวมน้ำได้ แผลไหม้ในกรณีร้ายแรงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ขณะที่แผลไหม้ขนาดใหญ่อาจอันตรายถึงชีวิต แต่การรักษาในสมัยใหม่นับตั้งแต..

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและแผลไหม้ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เลือดออก

เลือดออกหรือการตกเลือด (bleeding, hemorrhage, haemorrhage) คือภาวะที่มีการเสียเลือดจากระบบไหลเวียน อาจเป็นการตกเลือดภายในหรือภายนอก ออกจากช่องเปิดตามธรรมชาติเช่นช่องคลอด ปาก จมูก หู ทวารหนัก หรือออกจากแผลเปิดที่ผิวหนังก็ได้ หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและเลือดออก · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายและเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SIRSSystemic inflammatory response syndrome

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »