เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด

ดัชนี ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

สารบัญ

  1. 70 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มอาการสำลักขี้เทากลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิดการจับลิ่มของเลือดการคลอดการตั้งครรภ์การติดเชื้อการติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิดการแท้งการเจริญผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอดก้อนเลือดใต้หนังศีรษะเหตุคลอดภาวะหัวใจวายภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดยารกระบบหายใจระบบประสาทกลางระบบประสาทนอกส่วนกลางระบบไหลเวียนลำไส้อักเสบชนิดเนื้อตายสมองสมองขาดเลือดเฉพาะที่สายสะดือสายสะดือย้อยหัวใจเต้นผิดจังหวะอัมพาตอาการอาการแสดงอายุครรภ์อาหารองค์การอนามัยโลกผิวหนังผิวหนังอักเสบถุงน้ำคร่ำอักเสบทารกบวมน้ำทารกตายคลอดทางเดินอาหารของมนุษย์ทุพโภชนาการข่ายประสาทแขนความดันโลหิตสูงความดันเลือดในปอดสูงยังคงอยู่ในทารกแรกเกิดคาร์โบไฮเดรตต่อมไร้ท่อปรสิตแบคทีเรียแฝดแมกนีเซียมแคลเซียมโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ... ขยายดัชนี (20 มากกว่า) »

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มอาการสำลักขี้เทา

กลุ่มอาการสำลักขี้เทา คือภาวะซึ่งมีขี้เทาเข้าไปอยู่ในปอดของทารกแรกเกิด ซึ่งอาจเกิดก่อนคลอดหรือขณะคลอดก็ได้ ขี้เทาเป็นอุจจาระที่ทารกขับถ่ายออกมาเป็นครั้งแรกของชีวิต ย่อยมาจากสิ่งต่างๆ ที่ทารกกลืนเข้าไปขณะอยู่ในครรภ์ ปกติขี้เทาจะค้างอยู่ในลำไส้ของทารกจนกระทั่งคลอดออกมา แต่บางครั้งอาจถูกขับออกมาอยู่ในน้ำคร่ำก่อนคลอดหรือถูกขับออกมาขณะคลอดได้ โดยเฉพาะเมื่อทารกตกอยู่ในภาวะเครียด (fetal distress) หากทารกสูดสำลักขี้เทาเหล่านี้เข้าไปอาจทำให้มีปัญหาทางการหายใจได้ หมวดหมู่:โรคที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและกลุ่มอาการสำลักขี้เทา

กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด

กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด (infant respiratory distress syndrome (IRDS), neonatal respiratory distress syndrome, surfactant deficiency disorder (SDD), hyaline membrane disease (HMD)) เป็นกลุ่มอาการอย่างหนึ่งที่เกิดกับทารกคลอดก่อนกำหนด เกิดจากการที่โครงสร้างปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และยังไม่ทันสร้างสารสร้างแรงตึงผิว (surfactant) ขึ้นในถุงลม นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายของทารกไม่สามารถสร้างสารเหล่านี้ได้เช่นกัน ทารกแรกเกิด 1% จะป่วยด้วยภาวะนี้ และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีอายุครรภ์มากขึ้นจะพบเป็นภาวะนี้น้อยลง โดยทารกที่คลอดที่อายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์ พบมีภาวะนี้ประมาณ 50% และทารกที่คลอดที่อายุครรภ์ 30-31 สัปดาห์ พบประมาณ 25% และยังพบบ่อยกว่าในทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวาน และในทารกแฝดคนที่คลอดตามมาทีหลัง หมวดหมู่:โรคระบบหายใจ หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต หมวดหมู่:ความผิดปกติของระบบหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือดที่พบเฉพาะในระยะปริกำเนิด หมวดหมู่:วิทยาทารกแรกเกิด.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด

การจับลิ่มของเลือด

The classical blood coagulation pathway การแข็งตัวของเลือด (coagulation) คือกระบวนการซึ่งทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มเลือด เป็นกลไกสำคัญของการห้ามเลือด ทำให้เกล็ดเลือดจับกับไฟบรินกลายเป็นลิ่มเลือด อุดรอยรั่วของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่ไหลออกจากหลอดเลือด หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระบวนการนี้อาจทำให้เลือดไม่แข็งตัวอย่างที่ควรจะเป็น เกิดเลือดออกง่าย หรือเลือดแข็งตัวง่ายกว่าที่ควรจะเป็น เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด กระบวนการการแข็งตัวของเลือดเป็นกระบวนการที่มีการคงอยู่ในระบบพันธุกรรมสูงมาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีกลไกการแข็งตัวของเลือดที่ได้รับการพัฒนาสูง กระบวนการนี้ประกอบขึ้นจากสองส่วนคือส่วนของเซลล์ (เกล็ดเลือด) และส่วนของโปรตีน (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ระบบการแข็งตัวของเลือดในมนุษย์ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างมาก จึงเป็นที่เข้าใจมากที่สุด กลไกการแข็งตัวของเลือดเริ่มต้นขึ้นแทบจะทันทีที่เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด เกิดการเว้าแหว่งของผนังหลอดเลือด เมื่อเลือดได้สัมผัสกับโปรตีนที่อยู่นอกหลอดเลือด เช่น tissue factor ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและไฟบริโนเจนซึ่งเป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง เกล็ดเลือดจะมาจับที่จุดบาดเจ็บทันที เป็นกระบวนการห้ามเลือดขั้นปฐมภูมิ จากนั้นกระบวนการห้ามเลือดขั้นทุติยภูมิก็จะเริ่มขึ้นพร้อมๆ กัน โปรตีนต่างๆ ในเลือดที่รวมเรียกว่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะมีการกระตุ้นปฏิกิริยาอย่างเป็นลำดับและซับซ้อน จนสุดท้ายแล้วทำให้เกิดเส้นใยไฟบรินขึ้น ซึ่งจะเสริมความแข็งแรงของก้อนเกล็ดเลือดที่จับกันอยู.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและการจับลิ่มของเลือด

การคลอด

็กแรกเกิด การคลอด เป็นการให้กำเนิดของสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมหลังจากการตั้งครรภ์ ซึ่งเปลี่ยนภาวะจากตัวอ่อนในครรภ์ออกมาเผชิญสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งการคลอดโดยธรรมชาติทารกหรือตัวอ่อนจะออกทางช่องคลอด หรือกรณีที่คลอดธรรมชาติไม่ได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดหน้าท้องเพื่อเอาเด็กออกม.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและการคลอด

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและการตั้งครรภ์

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและการติดเชื้อ

การติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด

การติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis) คือภาวะที่ทารกแรกเกิดมีการติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ ไตและกรวยไตอักเสบ หรือกระเพาะและลำไส้อักเสบ) แหล่งข้อมูลเก่าบางแหล่งอาจเรียกภาวะนี้ว่า sepsis neonatorum การนำภาวะผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือดหรือการหายใจล้มเหลวมาร่วมเป็นเกณฑ์การวินิจฉัยมักไม่มีประโยชน์ทางคลินิกเนื่องจากทารกแรกเกิดมักแสดงอาการเหล่านี้ก็ต่อเมื่อการติดเชื้อนั้นดำเนินไปจนรุนแรงถึงขั้นใกล้เสียชีวิตและยากต่อการรักษา การติดเชื้อในทารกแรกเกิดแบ่งออกเป็นระยะต้น (early) และระยะหลัง (late) โดยการติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิดระยะต้นหมายถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดในทารกแรกเกิดอายุไม่เกิน 7 วัน (แหล่งข้อมูลบางแหล่งกำหนดว่าไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังเกิด) ส่วนการติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิดระยะหลังหมายถึงการที่ทารกมีการติดเชื้อในกระแสเลือดที่อายุมากกว่า 7 วัน (หรือ 72 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล) การติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลที่พบบ่อยที่สุด รวมทั้งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในชุมชนที่พบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกด้วย โดยทั่วไปแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียวได้อย่างแม่นยำว่าทารกอายุไม่เกิน 90 วัน ที่มีไข้ (อุณหภูมิกายมากกว่า 38 องศาเซลเซียส) นั้นมีการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือไม่ เว้นแต่กรณีตรวจพบหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันอย่างชัดเจนเท่านั้น จึงมีคำแนะนำให้ดำเนินการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียดกับทารกอายุไม่เกิน 30 วัน ที่มีไข้ การตรวจเหล่านี้ได้แก่ การตรวจนับและแยกชนิดเม็ดเลือด การเพาะเชื้อจากเลือด การตรวจปัสสาวะ การเพาะเชื้อจากปัสสาวะ การตรวจน้ำไขสันหลัง และการเพาะเชื้อจากน้ำไขสันหลัง รวมถึงการรับไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาล ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างน้อย 48 ชั่วโมง จนกว่าผลการเพาะเชื้อจะรายงานว่าไม่มีเชื้อขึ้น มีความพยายามที่จะสร้างเกณฑ์ช่วยในการวินิจฉัยว่าทารกที่มีไข้ที่มีอาการแบบใดจะสามารถให้สังเกตอาการที่บ้านได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องรับไว้รักษา เกณฑ์เหล่านี้เช่นเกณฑ์โรเชสเตอร์เป็นต้น หมวดหมู่:การติดเชื้อที่พบเฉพาะในระยะปริกำเนิด หมวดหมู่:วิทยาทารกแรกเกิด.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและการติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด

การแท้ง

การแท้ง (abortion) คือการยุติการตั้งครรภ์โดยการนำทารกในครรภ์หรือเอ็มบริโอออกจากมดลูกก่อนให้กำเนิด เมื่อเกิดโดยไม่เจตนามักเรียกว่า การแท้งเอง และเรียกว่า การทำแท้ง เมื่อทำโดยเจตนา เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม การทำแท้งในประเทศพัฒนาแล้วเป็นหนึ่งในกระบวนการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยที่สุด แพทย์แผนปัจจุบันทำแท้งด้วยยาหรือศัลยกรรม การใช้ยาไมฟีพริสโตน (mifepristone) ร่วมกับโพรสตาแกลนดินเป็นวิธีทำแท้งแบบใช้ยาที่ปลอดภัยและให้ประสิทธิผลดีระหว่างไตรมาสแรกกับไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ หลังการแท้งสามารถใช้การคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือ ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ได้ทันที การทำแท้งไม่เพิ่มโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคทั้งทางจิตและทางกายภาพเมื่อทำอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ในทางตรงข้าม การทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัย เช่น การทำแท้งโดยผู้ไม่มีทักษะ การทำแท้งด้วยอุปกรณ์ไม่ปลอดภัย หรือการทำแท้งในสถานที่ไม่สะอาด นำไปสู่การเสียชีวิตของคนกว่า 47,000 คน และทำให้คนกว่า 5 ล้านคนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนมีทางเลือกที่จะทำแท้งอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ในแต่ละปีมีการทำแท้งเกิดขึ้นประมาณ 56 ล้านครั้งทั่วโลก โดยมีประมาณ 45% ที่ทำอย่างไม่ปลอดภัย อัตราการทำแท้งแทบไม่เปลี่ยนแปลงระหว่าง..

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและการแท้ง

การเจริญผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด

การเจริญผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด (bronchopulmonary dysplasia, BPD) หรือแต่เดิมเคยถูกเรียกว่า chronic lung disease of infancy (โรคปอดเรื้อรังในทารก) เป็นโรคปอดเรื้อรังอย่างหนึ่ง ที่พบบ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและทุพพลภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของทารก โรคนี้มักพบในทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย และที่ได้รับการช่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจเพื่อรักษากลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด (respiratory distress syndrome, RDS) โรคนี้มีการกล่าวถึงครั้งแรกในเอกสารวิชาการเมื่อ..

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและการเจริญผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด

ก้อนเลือดใต้หนังศีรษะเหตุคลอด

ก้อนเลือดใต้หนังศีรษะเหตุคลอด หรือ ก้อนเลือดใต้หนังศีรษะทารกเหตุคลอด (cephalhematoma) เป็นภาวะที่มีเลือดออกระหว่างกะโหลกศีรษะและเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดที่เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดที่อยู่ในเยื่อหุ้มกระดูก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเลือดที่ออกในช่องใต้เยื่อหุ้มกระดูก จึงมีขอบเขตจำกัดอยู่ในกระดูกแต่ละชิ้น ไม่สามารถเกิดก้อนเลือดข้ามบริเวณไปถึงกระดูกอีกชิ้นหนึ่งได้.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและก้อนเลือดใต้หนังศีรษะเหตุคลอด

ภาวะหัวใจวาย

วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและภาวะหัวใจวาย

ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด

ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด (Transient tachypnea of the newborn; TTN, TTNB) เป็นความผิดปกติของระบบหายใจที่พบได้ในทารกหลังเกิดใหม่ๆ และเป็นสาเหตุของภาวะหายใจลำบากที่พบบ่อยที่สุดในทารกคลอดครบกำหนด ทารกจะมีอาการหายใจเร็วกว่าช่วงปกติ (ทารกหายใจปกติ 40-60 ครั้งต่อนาที) เชื่อว่าเป็นจากการมีสารน้ำค้างอยู่ในปอด ส่วนใหญ่พบในทารกอายุครรภ์มากกว่า 35 สัปดาห์ที่คลอดโดยไม่ผ่านช่วงของการเบ่งคลอด เช่น คลอดโดยการผ่าตัดคลอด ส่วนใหญ่หายได้เองในเวลา 24-48 ชั่วโมง การรักษาหลักคือการรักษาประคับประคอง อาจใช้ออกซิเจนเสริม หรือให้ยาปฏิชีวนะหากสงสัยภาวะอื่นที่อาจเป็นสาเหตุ การตรวจเอกซเรย์จะพบปอดขยายมากกว่าปกติ มีลายหลอดเลือดปอดเห็นชัด กะบังลมแบนราบลง และพบรอยของเหลวในร่องแนวนอนของปอดขวา หมวดหมู่:ความผิดปกติของระบบหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือดที่พบเฉพาะในระยะปริกำเนิด.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (neonatal jaundice) หรือภาวะบิลิรูบินในเลือดสูงในทารกแรกเกิด (neonatal hyperbilirubinemia) คือภาวะที่ผิวหนังและเนื้อเยื่ออื่นๆ ของทารกแรกเกิด มีสีเหลืองมากขึ้นกว่าปกติ โดยทั่วไปหากในเลือดมีความเข้มข้นของบิลิรูบินมากกว่า 85 μmol/l (5 mg/dL) ก็จะทำให้มีตัวเหลืองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนในผู้ใหญ่นั้นจะต้องมีสูงถึง 34 μmol/l (2 mg/dL) จึงจะเห็นว่าเหลือง หมวดหมู่:วิทยาตับ หมวดหมู่:เลือดออกและความผิดปกติของเลือดของทารกในครรภ์และแรกเกิด หมวดหมู่:วิทยาทารกแรกเกิด.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและยา

รก

ตำแหน่งของรกในครรภ์ รก คืออวัยวะพิเศษที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย ด้านหนึ่งของรกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก อีกด้านของรกจะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างกัน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:อวัยวะ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและรก

ระบบหายใจ

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและระบบหายใจ

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและระบบประสาทกลาง

ระบบประสาทนอกส่วนกลาง

ระบบประสาทรอบนอก (สีฟ้า) ระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system: PNS) เป็นระบบประสาทที่แตกแขนงออกมาจากระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย ประสาทสมอง (cranial nerve) ประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) ประสาทกาย (somatic nerve) และเซลล์แกงเกลียน (ganglion cell) โดยระบบประสาทรอบนอกนั้น สามารถแบ่งเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system).

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและระบบประสาทนอกส่วนกลาง

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและระบบไหลเวียน

ลำไส้อักเสบชนิดเนื้อตาย

ลำไส้อักเสบชนิดเนื้อตาย (necrotizing enterocolitis, NEC) เป็นโรคที่มักพบในทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งบางส่วนของลำไส้เกิดการตายเฉพาะส่วน โรคนี้เกิดหลังจากทารกนั้นคลอดออกมาแล้ว และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยเป็นอันดับสองของทารกคลอดก่อนกำหน.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและลำไส้อักเสบชนิดเนื้อตาย

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและสมอง

สมองขาดเลือดเฉพาะที่

มองขาดเลือดเฉพาะที่ (brain ischemia) หรือสมองใหญ่ขาดเลือดเฉพาะที่ (cerebral ischemia) หรือหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉพาะที่ (cerebrovascular ischemia) เป็นภาวะซึ่งมีเลือดไหลไปสมองไม่เพียงพอต่อความต้องการทางเมแทบอลิซึม ทำให้มีปริมาณออกซิเจนลดลงหรือภาวะสมองใหญ่มีออกซิเจนน้อย แล้วทำให้เนื้อเยื่อสมองตายหรือเนื้อสมองใหญ่ตายเหตุขาดเลือด / โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉพาะที่ เป็นชนิดย่อยของโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับอาการเลือดออกใต้อะแร็กนอยด์ (subarachnoid hemorrhage) และอาการเลือดออกในสมองใหญ่ การขาดเลือดเฉพาะที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อเมแทบอลิซึมของสมอง ลดอัตราเมแทบอลิซึมและวิกฤตพลังงาน มีการขาดเลือดเฉพาะที่สองชนิด คือ การขาดเลือดเฉพาะที่จุดรวม (focal ischemia) ซึ่งจำกัดอยู่บริเวณหนึ่งของสมอง กับการขาดเลือดเฉพาะที่ทั่วไป (global ischemia) ซึ่งครอบคลุมเนื้อเยื่อสมองบริเวณกว้าง อาการหลักเกี่ยวข้องกับการมองเห็น การขยับกายและการพูดบกพร่อง สาเหตุหลักของสมองขาดเลือดเฉพาะที่มีตั้งแต่ภาวะโลหิตจางเซลล์รูปเคียว (sickle cell anemia) ไปจนถึงความบกพร่องแต่กำเนิดของหัวใจ อาการของสมองขาดเลือดเฉพาะที่อาจมีหมดสติ ตาบอด มีปัญหาการประสานงาน และความอ่อนเปลี้ยในกาย ผลอื่นที่อาจเกิดจากสมองขาดเลือดเฉพาะที่ คือ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจหยุดเต้น และความเสียหายต่อสมองแบบผันกลับไม่ได้ การขัดขวางการไหลของเลือดไปสมองเกิน 10 วินาทีทำให้หมดสติ และการขัดขวางการไหลเกินสองสามนาทีโดยทั่วไปทำให้สมองเสียหายแบบผันกลับไม่ได้ ใน..

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและสมองขาดเลือดเฉพาะที่

สายสะดือ

สายสะดือของเด็กที่มีอายุ 3 นาที ซึ่งถูกหนีบไว้โดยเครื่องมือทางการแพทย์ สายสะดือ เป็นอวัยวะอย่างหนึ่งพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดที่มีรก ทำหน้าที่เป็นทางเชื่อมระหว่างตัวอ่อนในครรภ์กับรก ทางสรีรวิทยาและพันธุกรรมแล้วสายสะดือถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวอ่อน/ทารก ในสายสะดือของมนุษย์จะมีหลอดเลือดแดงสองเส้นและหลอดเลือดดำหนึ่งเส้น ฝังอยู่ในวุ้นวาร์ตัน หลอดเลือดดำสายสะดือทำหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารจากรกไปเลี้ยงตัวอ่อน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและสายสะดือ

สายสะดือย้อย

ือย้อย (Umbilical cord prolapse) เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์เกิดระหว่างการตั้งครรภ์หรือการเจ็บครรภ์ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์จนถึงชีวิตได้ เกิดขึ้นเมื่อสายสะดือยื่นมาต่ำกว่าหรือนำส่วนนำออกของทารก ภาวะนี้พบได้น้อย สถิติของอุบัติการณ์ของสายสะดือย้อยนั้นมีหลากหลาย แต่ในการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าอยู่ระหว่างร้อยละ 0.14 และ 0.62 ของการคลอดทั้งหมด สายสะดือย้อยมักเกิดร่วมกับการแตกของถุงน้ำคร่ำ หลังจากที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้วทารกจะเคลื่อนต่ำลงในอุ้งเชิงกรานและกดทับสายสะดือ ทำให้เลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงทารกลดลงหรือหายไป และทารกจะต้องคลอดโดยทันที แพทย์บางท่านอาจพยายามลดแรงกดต่อสายสะดือและให้คลอดทางช่องคลอดตามปกติ ซึ่งบ่อยครั้งที่ความพยายามลดแรงกดและให้คลอดทางช่องคลอดล้มเหลวและต้องผ่าท้องทำคลอดฉุกเฉินทันที เมื่อผู้ป่วยกำลังถูกเตรียมเพื่อผ่าท้องทำคลอดเนื่องจากภาวะนี้ ผู้ป่วยจะถูกจัดให้อยู่ในท่าศีรษะต่ำและใช้หมอนรองก้นให้สูง (ท่า Trendelenburg) หรือท่าเข่า-ศอก (knee-elbow position) และใช้มือดันเข้าไปในช่องคลอดและดันส่วนนำของทารกให้กลับเข้าไปในเชิงกรานเพื่อลดแรงกดต่อสายสะดือ หากการคลอดทารกล้มเหลว ทารกจะขาดอากาศและเลือดมาเลี้ยงและสมองทารกจะถูกทำลายหรือทารกอาจถึงแก่ชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิตของทารกในภาวะนี้อยู่ราวร้อยละ 11-17 ซึ่งเป็นสถิติที่เก็บในการคลอดในโรงพยาบาลและมีการส่งต่อผู้ป่วยรวดเร็วในประเทศพัฒนาแล้ว มีรายงานถึงการไม่มีผู้เสียชีวิตเลยในผู้ป่วย 24 รายที่ได้รับการช่วยเหลือโดยการใส่น้ำเกลือเข้าไป 500 มิลลิลิตรทางสายสวนปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะของมารดาเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะโป่งและดันส่วนนำของทารกให้ลอยสูงขึ้น และช่วยลดแรงกดต่อสายสะดือที่ย้อ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและสายสะดือย้อย

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและอัมพาต

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและอาการ

อาการแสดง

อาการแสดง (Medical sign) เป็นสิ่งบ่งชี้ที่สังเกตเห็นได้โดยปราศจากอคติ (objectivity) หรือลักษณะที่สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์ระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการแสดงอาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยตรวจไม่พบแต่ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่สำหรับแพทย์แล้วมันมีความหมายมาก และอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของอาการในผู้ป่วย ตัวอย่างเช่นในภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of the fingers; ซึ่งอาจเปนอาการแสดงของโรคปอดและโรคอื่นๆ อีกมากมาย) และ arcus senilis.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและอาการแสดง

อายุครรภ์

อายุครรภ์ หมายถึงอายุของเอมบริโอในครรภ์ มีนิยามแตกต่างกันไปในแต่ละสาขาว.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและอายุครรภ์

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและอาหาร

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและองค์การอนามัยโลก

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและผิวหนัง

ผิวหนังอักเสบ

(Dermatitis หรือ Eczema) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ระยะของโร.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและผิวหนังอักเสบ

ถุงน้ำคร่ำอักเสบ

เยื่อคอเรียนและแอมเนียนอักเสบ (chorioamnionitis) หรือถุงน้ำคร่ำอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มทารกหรือถุงน้ำคร่ำได้แก่เยื่อคอเรียน และแอมเนียน (ถุงน้ำคร่ำ) จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเจริญจากช่องคลอดขึ้นไปสู่มดลูก และมักพบร่วมกับการคลอดยาวนาน ความเสี่ยงของการเกิดถุงน้ำคร่ำอักเสบจะเพิ่มสูงขึ้นทุกครั้งที่มีการตรวจภายใน ทั้งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์และระยะคลอด หมวดหมู่:สูติศาสตร์ หมวดหมู่:การอักเสบ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและถุงน้ำคร่ำอักเสบ

ทารกบวมน้ำ

ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis) คือความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่ทำให้มีของเหลวคั่งหรือเกิดการบวมน้ำในอย่างน้อย 2 ตำแหน่งของร่างกายของทารก.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและทารกบวมน้ำ

ทารกตายคลอด

ทารกตายคลอดนั้นเสียชีวิตตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในมดลูก โดยหากเสียชีวิตก่อนจะถึงอายุครรภ์ที่ถือว่าสามารถเลี้ยงให้รอดได้จะเรียกว่าการแท้ง ในไทยถือเอาอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ หรือน้ำหนัก 600 กรัม เป็นเกณฑ์ตัดสิน แต่เกณฑ์นี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมแพทย์ในโรงพยาบาลนั้น ๆ หมวดหมู่:ภาวะเจริญพันธุ์ หมวดหมู่:ประชากรศาสตร์ หมวดหมู่:สูติศาสตร์ หมวดหมู่:มุมมองการแพทย์เกี่ยวกับความตาย.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและทารกตายคลอด

ทางเดินอาหารของมนุษย์

right ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract, GI tract, alimentary canal หรือ gut) ระบบทางเดินอาหาร อาจเรียกอีกอย่างว่าระบบย่อยอาหาร (digestive tract) ระบบอวัยวะนี้มีเฉพาะในสัตว์หลายเซลล์ (multicellular animals) ที่ต้องกินอาหารและย่อยอาหาร เพื่อรับสารอาหารและพลังงานและขับถ่ายของเสียออกไป.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและทางเดินอาหารของมนุษย์

ทุพโภชนาการ

ทุพโภชนาการ (malnutrition) เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน โดยอาจมีสารอาหารบางอย่างได้รับไม่เพียงพอ เกิน หรือผิดสัดส่วน ผลอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางโภชนาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าสารอาหารที่ได้รับนั้นขาดหรือเกิน องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงทุพโภชนาการว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณสุขของโลก การปรับปรุงสารอาหารถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นรูปแบบการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มาตรการฉุกเฉินมีทั้งการจัดสารอาหารรองที่ขาดโดยใช้ผงกระแจะ (sachet powder) เสริมอาหาร เช่น เนยถั่ว หรือผ่านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรง แบบจำลองการบรรเทาทุพภิกขภัยได้มีการใช้เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มช่วยเหลือ ที่เรียกร้องให้ส่งเงินหรือคูปองเงินสดแก่ผู้หิวโหยเพื่อจ่ายชาวนาท้องถิ่น แทนที่จะซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค ซึ่งมักกำหนดโดยกฎหมาย เพราะจะเสียเงินไปกับค่าขนส่ง มาตรการระยะยาวรวมถึงการลงทุนในเกษตรกรรมสมัยใหม่ในที่ซึ่งขาดแคลน เช่น ปุ๋ยและชลประทาน ซึ่งกำจัดความหิวโหยได้อย่างใหญ่หลวงในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกตำหนิหน่วยงานของรัฐที่จำกัดชาวนาอย่างรุนแรง และการขยายการใช้ปุ๋ยถูกขัดขวางโดยกลุ่มสิ่งแวดล้อมบางกลุ่ม.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและทุพโภชนาการ

ข่ายประสาทแขน

ประสาทเบรเคียล หรือ ข่ายประสาทแขน (Brachial plexus) เป็นการจัดเรียงตัวของเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลังท่อนที่ C5 ถึง T1 ผ่านมายังคอ รักแร้ และไปยังแขน.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและข่ายประสาทแขน

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและความดันโลหิตสูง

ความดันเลือดในปอดสูงยังคงอยู่ในทารกแรกเกิด

ภาวะความดันเลือดในปอดสูงยังคงอยู่ในทารกแรกเกิด (persistent pulmonary hypertension of the newborn) หรือภาวะทางไหลเวียนเลือดยังคงอยู่แบบทารกในครรภ์ (persistent fetal circulation) เป็นโรคของปอดและระบบไหลเวียนเลือดโรคหนึ่งซึ่งพบในทารกแรกเกิด มีลักษณะคือระบบไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจและปอดไม่เปลี่ยนจากการไหลเวียนแบบทารกในครรภ์มาเป็นแบบทารกแรกเกิดที่เกิดแล้วอย่างที่ควร ทำให้มีความดันเลือดในปอดสูง เกิดการไหลของเลือดผ่านทางเชื่อมจากระบบไหลเวียนด้านขวาไปซ้าย ทำให้เลือดดำซึ่งไม่มีออกซิเจนผ่านเข้ามายังระบบไหลเวียนส่วนร่างกาย ทำให้ทารกมีออกซิเจนในเลือดต่ำได้อย่างรุนแรง หมวดหมู่:ความผิดปกติของระบบหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือดที่พบเฉพาะในระยะปริกำเนิด หมวดหมู่:วิทยาทารกแรกเกิด.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและความดันเลือดในปอดสูงยังคงอยู่ในทารกแรกเกิด

คาร์โบไฮเดรต

ร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิมตัวไปด้วยน้ำ เนื่องจากสูตรเคมีอย่างง่ายก็คือ (C•H2O) n ซึ่ง n≥3 โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ (aldehyde) หรือคีโทน (ketone) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group, -OH) เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า สารประกอบโพลีไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (polyhydroxyaldehyde) หรือ โพลีไฮดรอกซีคีโทน (polyhydroxyketone) ซึ่งการที่มีหมู่ไฮดรอกซิลในโมเลกุลนั้น ทำให้เกิดการวางตัวกัน และยังสามารถทำปฏิกิริยาหรือสร้างพันธะกับสารอื่นๆได้ ดังนั้น คาร์โบไฮเดรตจึงมีความหลากหลายทั้งในด้านของโครงสร้างทางเคมี และบทบาททางชีวภาพอีกด้วย หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไร.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและคาร์โบไฮเดรต

ต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) คือ ต่อมที่มีการผลิตสารแล้วลำเลียงสารทางกระแสเลือ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและต่อมไร้ท่อ

ปรสิต

ปรสิต (parasite) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหาร และบางครั้งทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต เช่น การอาศัยอยู่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำในร่างกายมนุษย์ ตัวอย่าง พยาธิ เป็นต้น.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและปรสิต

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและแบคทีเรีย

แฝด

แฝด (twin) คือ ลูกสองคนหรือตัวที่เกิดในการตั้งครรภ์เดียวกัน แฝดสามารถเป็นได้ทั้งแฝดร่วมไข่ ("แฝดแท้" หรือ "แฝดเหมือน") หมายความว่า ลูกทั้งสองเจริญมาจากไซโกตเดียวแล้วจึงแยกและสร้างเป็นสองเอ็มบริโอ หรือแฝดต่างไข่ ("แฝดเทียม") หมายความว่า ทั้งสองเจริญมาจากไข่สองใบที่ถูกผสมด้วยเซลล์อสุจิสองตัวแยกกัน เช่น อิน จัน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและแฝด

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและแมกนีเซียม

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและแคลเซียม

โพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ

วะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax, pneumothoraces) เป็นภาวะซึ่งมีอากาศอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอดในช่องอก ระหว่างปอดกับผนังทรวงอก อาจเกิดขึ้นเองในผู้ป่วยที่ไม่มีโรคปอดเรื้อรังมาก่อน (แบบปฐมภูมิ) หรือในผู้ป่วยที่มีโรคปอดเรื้อรังมาก่อน (แบบทุติยภูมิ) นอกจากนี้บ่อยครั้งยังเกิดตามหลังการบาดเจ็บต่อทรวงอก การระเบิด หรือพบเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาทางการแพทย์ได้ อาการของโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศขึ้นอยู่กับขนาดของอากาศที่ปรากฏในโพรงเยื่อหุ้มปอดและความเร็วของการรั่วของอากาศ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก อาจวินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกายในกรณีเป็นมากๆ แต่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้การตรวจภาพถ่ายรังสีเช่นเอกซเรย์หรือซีทีในการวินิจฉัยกรณีเป็นไม่มาก บางครั้งภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศอาจทำให้เกิดร่างกายขาดออกซิเจน ความดันเลือดลดต่ำ และหัวใจหยุดได้หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะเช่นนี้เรียกว่าโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศชนิดเกิดแรงดัน (tension pneumothorax) ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศชนิดที่เป็นไม่มากนั้นส่วนใหญ่หายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจำเพาะ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีโรคปอดเรื้อรังมาก่อน ในกรณีที่โพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศอยู่มากหรือมีอาการมากอาจจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดเจาะดูดลมออก หรือใส่สายระบายทรวงอกเพื่อให้ลมได้ระบายออก บางครั้งอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อใส่สายระบายทรวงอกแล้วยังไม่หาย หรือผู้ป่วยรายนั้นๆ เกิดมีโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศอีกหลายครั้ง ในกรณีที่ผู้ป่วยรายใดมีโอกาสเกิดเป็นซ้ำได้มาก อาจจำเป็นต้องมีการรักษาเพิ่มเติม เช่น การทำการผนึกเยื่อหุ้มปอดเพื่อยึดเยื่อหุ้มตัวปอดกับเยื่อหุ้มปอดส่วนผนังอกเข้าด้วยกัน.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและโรค

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย (myasthenia gravis, MG) เป็นโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองโรคหนึ่ง ทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอ่อนล้าขึ้นๆ ลงๆ สาเหตุเกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดีต่ออะซีทิลโคลีนรีเซพเตอร์ที่รอยต่อกล้ามเนื้อกับประสาทยับยั้งการกระตุ้นของอะซีทิลโคลีนในฐานะสารสื่อประสาท โรคนี้รักษาทางยาด้วยยาในกลุ่มโคลีนเอสเทอเรสอินฮิบิเตอร์หรือยาในกลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน ในผู้ป่วยบางครั้งอาจรักษาด้วยการตัดเอาไทมัสออก อุบัติการณ์อยู่ที่ 3-30 รายต่อล้านและเริ่มพบมากขึ้นเนื่องจากเป็นที่รู้จักมากขึ้น โรคนี้ต้องแยกจากกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่กำเนิดชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้มีอาการคล้ายคลึงกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคของกล้ามเนื้อและรอยต่อกล้ามเนื้อกับประสาท หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย

โรคจากหมู่เลือดอาร์เอช

โรคจากหมู่เลือดอาร์เอช (Rh disease) หรือ ภาวะมีภูมิคุ้มกันต่ออาร์เอช แอนติเจน, หมู่เลือดอาร์เอชไม่เข้ากัน, โรคเม็ดเลือดแดงแตกจากหมู่เลือดอาร์เอช ฯลฯ เป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตกในทารกอย่างหนึ่ง อาจมีอาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง และมักพบในบุตรคนที่สองหรือถัดๆ ไป ของมารดาที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ และบิดามีหมู่เลือดอาร์เอชบวก ทำให้ทารกในครรภ์มีหมู่เลือดอาร์เอชบวก ระหว่างการคลอด มารดามีโอกาสได้รับเลือดของทารกเข้าไปในร่างกาย (จากที่แต่เดิมจะถูกกั้นไว้ด้วยเนื้อรก) ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จะทำให้มารดาสร้างภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนบวกของหมู่เลือดอาร์เอช หรือแอนติเจนดี เมื่อตั้งครรภ์บุตรคนถัดไปแล้วทารกในครรภ์มีหมู่เลือดอาร์เอชบวก แอนติบอดีของมารดาจะสามารถผ่านรกเข้าไปทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้ ทารกจะมีโลหิตจาง หากเป็นเล็กน้อยทารกจะสามารถมีชีวิตรอดได้ หลังคลอดจะมีโลหิตจางเล็กน้อยหรือปานกลาง และมีเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนเป็นสัดส่วนสูงกว่าปกติ ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรง ทารกอาจมีอาการซีดอย่างรุนแรง เกิดเป็นอีริโทบลาสโตซิส ฟีตาลิสได้ หากรุนแรงมากจะทำให้ทารกมีภาวะหัวใจวาย เกิดเป็นทารกบวมน้ำ และเสียชีวิตก่อนคลอดหรือขณะคลอดได้ โรคจากหมู่เลือดอาร์เอชสามารถป้องกันได้โดยการให้ยาอิมมูโนโกลบูลินต่อแอนติเจนอาร์เอชกับมารดา ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือทันทีหลังคลอด หมวดหมู่:เลือดออกและความผิดปกติของเลือดของทารกในครรภ์และแรกเกิด หมวดหมู่:โรคที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์ หมวดหมู่:เวชศาสตร์การบริการโลหิต.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและโรคจากหมู่เลือดอาร์เอช

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและโรคติดเชื้อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

รคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD, chronic obstructive lung disease, COLD, chronic obstructive airway disease, COAD) เป็นโรคปอดอุดกั้นที่มีลักษณะเฉพาะคือความบกพร่องอย่างเรื้อรังในการไหลผ่านของอากาศของระบบทางเดินหายใจ --> และมักจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป --> อาการที่พบบ่อยได้แก่ เหนื่อย ไอ และ มีเสมหะ ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรังส่วนใหญ่จะมี COPD ด้วย สาเหตุพบบ่อยที่สุดของ COPD คือการสูบบุหรี่ สาเหตุอื่นๆ ที่มีบทบาทบ้างแต่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ได้แก่ มลพิษทางอากาศ และ พันธุกรรม เป็นต้น สาเหตุของมลพิษทางอากาศที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกอย่างหนึ่งได้แก่ อากาศเสียจากการทำอาหารหรือควันไฟ การสัมผัสสิ่งระคายเคืองเหล่านี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นในเนื้อปอด ทำให้หลอดลมฝอยตีบลงและการแตกตัวของเนื้อเยื้อปอด เรียกว่า ถุงลมโป่งพอง อังกฤษ:emphysema การวินิจฉัยนั้นใช้พื้นฐานของความสามารถในการไหลผ่านของอากาศด้วยการตรวจวัดโดย การทดสอบการทำงานของปอด โดยมีความแตกต่างจากโรคหอบหืด คือ การลดลงของปริมาณอากาศที่ไหลผ่านด้วยการให้ยานั้นไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ COPD สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุของโรคที่ทราบ ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณการสูบบุหรี่และการปรับปรุงคุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอก การรักษา COPD ได้แก่: การเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีน การฟื้นฟูสภาพ และการพ่นสูดยาขยายหลอดลมบ่อยๆ และการใช้ยาสเตียรอยด์ บางคนอาจได้รับประโยชน์จากการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวหรือการปลูกถ่ายปอด ในกลุ่มผู้ที่มีการทรุดลงอย่างเฉียบพลันช่วงหนึ่ง การเพิ่มยาที่ใช้รักษาและการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจเป็นสิ่งจำเป็น ในทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วย COPD จำนวน 329 ล้านคนหรือเกือบ 5% ของจำนวนประชากร ในปี..

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โลหิตจาง

ลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง ปรับปรุงเมื่อ 6..

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและโลหิตจาง

โครงกระดูก

ระบบโครงกระดูก (skeletal system) คือระบบทางชีววิทยาที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ระบบโครงกระดูกภายนอก (exoskeleton) พบในสัตว์ประเภทแมลง หรือหอย เป็นโครงสร้างแข็งภายนอกปกป้องร่างกาย ระบบโครงกระดูกภายใน (endoskeleton) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่นกระดูกมนุษย์ หรือกระดูกในสัตว์ประเภทปลาที่เรียกว่า ก้าง และ ระบบโครงกระดูกของเหลว (hydrostatic skeleton) เป็นระบบโครงสร้างที่ใช้ของเหลว เช่น เลือด เป็นส่วนประกอบ พบตามสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมงกะพรุน หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ หมวดหมู่:อวัยวะ คโครงกระดูก.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและโครงกระดูก

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและไวรัส

ไตวาย

ตวาย (renal failure, kidney failure, renal insufficiency) เป็นภาวะซึ่งการทำงานของไตผิดปกติไปจนไม่สามารถกรองสารพิษและของเสียออกจากเลือดได้เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน (ไตเสียหายเฉียบพลัน) และเรื้อรัง (ไตวายเรื้อรัง) ซึ่งเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หลายสาเหตุ ไตที่วายจะมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสลดลง ตรวจเคมีในเลือดมักพบว่ามีระดับครีแอทินีนในซีรัม (serum creatinine) สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของไตได้แก่ความผิดปกติของปริมาณสารน้ำในร่างกาย กรดด่างไม่สมดุล ระดับโพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต ผิดปกติ เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้เลือดจาง กระดูกหักแล้วหายช้า ในบางสาเหตุอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนปนในปัสสาวะได้ การเป็นโรคไตเรื้อรังส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ได้อย่างมาก.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและไตวาย

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและเมแทบอลิซึม

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

ื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นภาวะซึ่งมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นเยื่อบางปกคลุมผนังช่องท้องด้านในและคลุมอวัยวะในช่องท้องเกือบทั้งหมดเอาไว้ อาจเกิดขึ้นเฉพาะที่หรือทั่วช่องท้องก็ได้ อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ (มักเกิดจากการฉีกหรือทะลุของอวัยวะกลวงในช่องท้อง เช่นที่พบในการบาดเจ็บของช่องท้อง หรือไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น) หรือเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อก็ได้.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

เยื่อตาอักเสบ

เยื่อตาอักเสบ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ตาแดง คือการอักเสบของเยื่อตา (เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของนัยน์ตาและอยู่ใต้เปลือกตา) สาเหตุอาจเกิดจากอาการแพ้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่นัยน์ตาซึ่งอาจสามารถหายไปได้เอง หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถเป็นโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ ลักษณะอาการคือมีเส้นเลือดฝอยปรากฏชัดเป็นส่วนมากในนัยน์ตา อาจมีการระคายเคืองและตาแฉะร่วมด้วย โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสมักเกิดในช่วง? -โรคตาแดงมักเกิดในช่วงฤดูฝน เชื้อไวรัสมักปนเปื้อนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง ในฤดูฝนจะพบผู้ติดเชื้อโรคตาแดงเป็นจำนวนมาก หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรค.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและเยื่อตาอักเสบ

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและเลือด

เลือดออก

เลือดออกหรือการตกเลือด (bleeding, hemorrhage, haemorrhage) คือภาวะที่มีการเสียเลือดจากระบบไหลเวียน อาจเป็นการตกเลือดภายในหรือภายนอก ออกจากช่องเปิดตามธรรมชาติเช่นช่องคลอด ปาก จมูก หู ทวารหนัก หรือออกจากแผลเปิดที่ผิวหนังก็ได้ หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและเลือดออก

เลือดออกในปอด

เลือดออกในปอด (pulmonary hemorrhage) คือการที่มีการตกเลือดอย่างเฉียบพลันจากปอด ทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลม หรือถุงลม หากปรากฎให้เห็นอาการได้มักเป็นในรายที่มีเลือดออกมากแล้ว อาการแรกเริ่มที่พบบ่อยคือการไอเป็นเลือด หากเป็นรุนแรงจะมีอาการขาดออกซิเจน ทำให้มีออกซิเจนในเลือดต่ำ และมีอาการเขียวคล้ำตามมา การรักษาควรต้องทำอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจประกอบด้วยการดูดเลือดออกจากหลอดลม การให้ออกซิเจน การช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก และการแก้ไขโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรืออื่นๆ ในบางรายอาจจำเป็นต้องให้เลือดด้วย หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต หมวดหมู่:โรคของปอด.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและเลือดออกในปอด

Escherichia coli

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของ ''E. coli'' กำลังขยาย 10,000 เท่า Escherichia coli ("เอสเชอริเชีย โคไล" หรือ ") หรือเรียกโดยย่อว่า E.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและEscherichia coli

Haemophilus influenzae

Haemophilus influenzae, หรือมีชื่อเดิมว่า Pfeiffer's bacillus หรือ Bacillus influenzae เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นท่อน ค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและHaemophilus influenzae

ICD-10

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและICD-10

Mycoplasma

Mycoplasma (มัยโคพลาสมา) เป็นจีนัสหนึ่งของแบคทีเรียซึ่งไม่มีผนังเซลล์ ยาปฏิชีวนะหลายๆ ชนิดที่ออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ เช่น เพนิซิลลิน หรือยาอื่นในกลุ่มเบต้าแลคเทม จึงไม่มีผลต่อแบคทีเรียกลุ่มนี้ หลายสปีชีส์เป็นเชื้อก่อโรคในมนุษย์ ที่สำคัญ เช่น Mycoplasma pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบชนิด atypical pneumonia และโรคระบบหายใจอื่นๆ และ Mycoplasma genitalium ซึ่งเชื่อว่าสัมพันธุ์กับโรคอักเสบของอุ้งเชิงกราน หมวดหมู่:สาเหตุของมะเร็งที่มาจากการติดเชื้อ.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและMycoplasma

Staphylococcus

Staphylococcus (มาจากσταφυλή, staphylē, "พวงองุ่น" และ κόκκος, kókkos, "แกรนูล") เป็นสกุลของแบคทีเรียแกรมบวก เมื่อมองใต้กล้องจุลทรรศน์มีรูปร่างกลม และจัดตัวเป็นรูปคล้ายพวงองุ่น สกุล Staphylococcus ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 40 สปีชีส์ มีอยู่ 9 สปีชีส์ที่แบ่งได้สองสับสปีชีส์ และอีก 1 สปีชีส์ที่มีสามสับสปีชีส์ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย พบที่ผิวหนังและสารเมือกของมนุษย์ และพบเป็นส่วนน้อยในดิน.

ดู ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดและStaphylococcus

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ICD-10 Chapter XVI: Certain conditions originating in the perinatal periodICD-10 บท PICD-10 บท P: เวชศาสตร์ฟื้นฟูและปริสูติการ

โรคโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายโรคจากหมู่เลือดอาร์เอชโรคติดเชื้อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโลหิตจางโครงกระดูกไวรัสไตวายเมแทบอลิซึมเยื่อบุช่องท้องอักเสบเยื่อตาอักเสบเลือดเลือดออกเลือดออกในปอดEscherichia coliHaemophilus influenzaeICD-10MycoplasmaStaphylococcus