โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ICD-10

ดัชนี ICD-10

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535.

47 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มอาการมือแปลกปลอมกลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่การกุเหตุความจำเสื่อมการหลั่งน้ำอสุจิการทารุณเด็กทางเพศการแข็งตัวขององคชาตภาวะขยายความรู้สึกจากกายอะมิกดะลาอาการอาการใคร่ไม่รู้อิ่มทฤษฎีความผูกพันคราวซึมเศร้าความผิดปกติทางบุคลิกภาพความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจโรควิตกกังวลโรควิตกกังวลไปทั่วโรคถ้ำมองโรคดิสโซสิเอทีฟโรคซึมเศร้าโรคซนสมาธิสั้นโรคใคร่เด็กเวชระเบียนเตตราโครมาซีเนื้องอกICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารICD-10 บทที่ 12: โรคของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันICD-10 บทที่ 14: โรคของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซมICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอกICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรคICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตายICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพICD-10 บทที่ 22: รหัสเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกICD-10 บทที่ 3: โรคของเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติบางอย่างของกลไกภูมิคุ้มกันICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึมICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาทICD-10 บทที่ 7: โรคของตาและอวัยวะเคียงลูกตาICD-10 บทที่ 8: โรคของหูและปุ่มกระดูกกกหูICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ใหม่!!: ICD-10และบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการมือแปลกปลอม

กลุ่มอาการมือแปลกปลอม (alien hand syndrome, Dr Strangelove syndrome) หรือ กลุ่มอาการมือต่างดาว เป็นความผิดปกติทางประสาทที่มือของคนไข้เหมือนกับมีใจเป็นของตน เป็นกลุ่มอาการที่มีการรายงานมากที่สุดในกรณีที่คนไข้ได้รับการตัด corpus callosumcorpus callosum หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า colossal commissure เป็นกลุ่มใยประสาทที่กว้างและแบนใต้เปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (มีรก) ประเภท eutheria อยู่ที่ ร่อง longitudinal fissure (ที่แบ่งสมองออกเป็น 2 ข้าง) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวาเข้าด้วยกัน และอำนวยให้เขตในสมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ เป็นส่วน white matter (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่ใหญ่ที่สุดในสมองมีแอกซอนส่งเชื่อมซีกสมองถึง 200-250 ล้านแอกซอน ออก ซึ่งบางครั้งใช้เป็นวิธีบรรเทาอาการเกี่ยวกับโรคลมชัก (epilepsy) ชนิดรุนแรง แต่ก็เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นด้วยในกรณีอื่น ๆ เช่นการผ่าตัดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ เนื้องอก หลอดเลือดโป่งพอง และโรคสมองเสื่อมบางชนิดเช่นโรคอัลไซเมอร์ และ Creutzfeldt-Jakob diseaseBellows, A. (2009).

ใหม่!!: ICD-10และกลุ่มอาการมือแปลกปลอม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่

กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่ (Phantom eye syndrome, ตัวย่อ PES) รวมความเจ็บปวดที่ตาและการเกิดประสาทหลอนทางตา หลังจากที่เอาตาข้างใดข้างหนึ่งออกโดยการควักลูกตา (enucleation) หรือการควักเนื้อในลูกตา (evisceration).

ใหม่!!: ICD-10และกลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่ · ดูเพิ่มเติม »

การกุเหตุความจำเสื่อม

ในจิตวิทยาหรือจิตเวชศาสตร์ การกุเหตุความจำเสื่อม"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (confabulation มากจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า "การเล่าเรื่อง") เป็นความปั่นป่วนของความจำที่ปรากฏโดยคำพูดหรือการกระทำที่ไม่ตรงกับประวัติ ภูมิหลัง หรือสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง การกุเหตุความจำเสื่อมต่างจากการโกหกเพราะไม่มีเจตนาที่จะหลอกลวง และบุคคลนั้นไม่รู้ว่า ข้อมูลของตนนั้นไม่ตรงกับความจริงMoscovitch M. 1995.

ใหม่!!: ICD-10และการกุเหตุความจำเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

การหลั่งน้ำอสุจิ

ต่อเนื่อง การหลั่งน้ำอสุจิ (http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Ejaculation_educational_ani_short.gif วิดีโอวนซ้ำ) การหลั่งน้ำอสุจิ (ejaculation) คือการหลั่งน้ำอสุจิออกจากองคชาต มักเกิดพร้อมกับการถึงจุดสุดยอดทางเพศ ถือเป็นด่านสุดท้ายและเป็นเป้าหมายทางธรรมชาติของการเร้าอารมณ์ทางเพศการเร้าอารมณ์ทางเพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ และเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้เกิดปฏิสนธิ (คือการตั้งครรภ์) การหลั่งอาจเกิดขึ้นได้เพราะโรคในต่อมลูกหมาก แม้จะเป็นกรณีที่หายาก และบางครั้งอาจเกิดขึ้นเองในขณะหลับ (เป็นการหลั่งในช่วงกลางคืน หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก) มีภาวะหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิ (เช่นอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว) หรือที่ทำให้เกิดมีความเจ็บปวดไม่รู้สึกสบายเมื่อมีการหลั่งน้ำอ.

ใหม่!!: ICD-10และการหลั่งน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

การทารุณเด็กทางเพศ

การทารุณเด็กทางเพศ (Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า "อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด" ทารุณกรรมต่อเด็กส่งผลทางจิตใจ ให้เกิดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจแบบซับซ้อน (complex post-traumatic stress disorder) ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมอีกในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งการบาดเจ็บทางกาย และเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด ทารุณกรรมโดยสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมประเวณีกับญาติสนิท จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงยิ่งกว่าต่อเด็ก ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกรณีที่ทำโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น "เพื่อน"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง(โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก ในกฎหมายบางประเทศ คำว่า child sexual abuse (การทารุณเด็กทางเพศ) ใช้เป็นคำคลุมทั้งการละเมิดกฎหมายอาญาและแพ่ง ที่ผู้ใหญ่ทำกิจทางเพศร่วมกับผู้เยาว์ หรือฉวยประโยชน์จากผู้เยาว์เพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยืนยันว่า "เด็กไม่สามารถยินยอมมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้ใหญ่" และประณามการทำเช่นนั้นของผู้ใหญ่ คือ "ผู้ใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก กำลังละเมิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ที่ไม่มีทางพิจารณาได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือที่ยอมรับได้ในสังคม".

ใหม่!!: ICD-10และการทารุณเด็กทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การแข็งตัวขององคชาต

การแข็งตัวขององคชาต (erection, ศัพย์การแพทย์: penile erection, penile tumescence) เป็นปรากฏการณ์ทางสรีรภาพของอวัยวะเพศชายในสัตว์หลายสปีชีส์ ที่องคชาตแข็งตัวขึ้น คั่งไปด้วยเลือด และขยายใหญ่ขึ้น เป็นผลของปฏิกิริยาอันสลับซับซ้อนของจิตใจ ระบบประสาท ระบบหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่อ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ทางเพศ แต่จริง ๆ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ รูปร่าง มุมตั้ง และทิศทางขององคชาตที่แข็งตัวมีความแตกต่างกันอย่างมากแม้ในหมู่มนุษย์ โดยสรีรภาพแล้ว กระบวนการแข็งตัวขององคชาตเริ่มจากระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (ส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ) ที่เป็นเหตุให้ระดับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (เป็นสารขยายหลอดเลือด) สูงขึ้นในหลอดเลือด trabecular และในกล้ามเนื้อเรียบขององคชาต หลอดเลือดนั้นก็จะขยายใหญ่ขึ้นทำให้เนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำที่เรียกว่า corpora cavernosa (ดูรูป) (และ corpus spongiosum แม้ว่าจะน้อยกว่า) เต็มไปด้วยเลือด และในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อ ischiocavernosus และ bulbospongiosus เข้าไปกดหลอดเลือดดำของเนื้อเยื่อ จำกัดการไหลออกของเลือด (จากเนื้อเยื่อ) และการไหลเวียนของโลหิตที่ไหลเข้าไป (ในเนื้อเยื่อ) การแข็งตัวจะลดลงเมื่อการทำงานในระบบประสาทพาราซิมพาเทติกลดระดับลงไปเป็นปกติ เพราะว่าเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ การแข็งตัวอาจเกิดขึ้นจากสิ่งเร้าหลายอย่างรวมทั้งการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulationการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ) และอารมณ์ทางเพศ ดังนั้น จึงไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจโดยสิ้นเชิง การแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับหรือเมื่อตื่นนอนมีศัพท์ทางแพทย์ภาษาอังกฤษว่า nocturnal penile tumescence และความปราศจากการแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับสามารถใช้ในการแยกแยะเหตุที่เป็นไปทางกายภาพหรือทางจิตใจของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย (ICD-10 N48.4) หรืออวัยวะเพศไม่ตอบสนอง (เหตุทางใจ ICD-10 F52.2) องคชาตที่ไม่แข็งตัวเต็มที่มีศัพท์การแพทย์ภาษาอังกฤษว่า partial tumescence.

ใหม่!!: ICD-10และการแข็งตัวขององคชาต · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะขยายความรู้สึกจากกาย

วะขยายความรู้สึกจากกาย (Somatosensory amplification, ตัวย่อ SA) เป็นแนวโน้มที่จะรับรู้ความรู้สึกปกติจากกาย (somatic) และจากอวัยวะภายใน (visceral) ว่ารุนแรง ก่อกวน หรือมีอันตราย เป็นอาการสามัญในโรคคิดว่าตนป่วย (hypochondriasis ICD-10 F45.2), เป็นอาการที่พบบ่อย ๆ ในโรคไฟโบรไมอัลเจีย โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลบางประเภท กลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ และ alexithymia วิธีสามัญในการวัดภาวะนี้ทางคลินิกเรียกว่า Somatosensory Amplification Scale (แปลว่า ระดับการขยายความรู้สึกทางกาย, ตัวย่อ SSAS) ยังไม่ชัดเจนว่า บุคคลที่มีภาวะนี้มีความไวต่อความรู้สึกทางกายภาพจริง ๆ งานวิจัยงานหนึ่งพบผลตรงกันข้ามคือพบระดับ SA ที่ต่ำกว่า ของคนไข้คิดว่าตนป่วยผู้แจ้งว่ามีการสำนึกรู้ถึงการเต้นของหัวใจของตนอยู่ตลอดเวลา งานวิจัยขั้นเบื้องต้นโดยใช้วิธี encephalography ดูเหมือนจะชี้ว่า SA เกิดขึ้นจากระบบการแปลผลที่ใช้เวลานาน (คือไม่ใช่เป็นการแปลผลระดับต้น ๆ) มากกว่าที่จะเป็นความแตกต่างกันทางกายภาพที่มีผลต่อความไวความรู้สึก ยังไม่รู้ว่า SA เป็นเหตุของโรคที่กล่าวถึง หรือเกิดขึ้นเพราะโรคเหล่านั้น รู้เพียงแต่ว่า เป็น comorbidity งานวิจัยขนาดเล็กชิ้นหนึ่งพบว่า ในคนไข้ภาวะซึมเศร้า SA อาจเป็นส่วนของอาการซึมเศร้านั้น (คือ การบำบัดภาวะซึมเศร้าลดระดับ SA).

ใหม่!!: ICD-10และภาวะขยายความรู้สึกจากกาย · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกดะลา

มองมนุษย์แบ่งหน้าหลัง อะมิกดะลามีสีแดงเข้ม อะมิกดะลา (พหูพจน์: amygdalae ออกเสียงว่า เอกพจน์: amygdala หรือ corpus amygdaloideum มาจาก ἀμυγδαλή, amygdalē, แปลว่า อัลมอนด์, ทอนซิล แสดงไว้ในตำรากายวิภาคของเกรย์ ว่า nucleus amygdalæ) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสรูปอัลมอนด์ ฝังลึกอยู่ในสมองกลีบขมับส่วนกลาง (medial temporal lobe) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ซับซ้อนรวมทั้งมนุษย์ด้วย อะมิกดะลามีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการในระบบความจำ กับในการตอบสนองโดยความรู้สึก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก.

ใหม่!!: ICD-10และอะมิกดะลา · ดูเพิ่มเติม »

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ใหม่!!: ICD-10และอาการ · ดูเพิ่มเติม »

อาการใคร่ไม่รู้อิ่ม

อาการใคร่ไม่รู้อิ่ม (hypersexuality) คือ การมีแรงขับทางเพศหรือกิจกรรมทางเพศเพิ่มขึ้นบ่อยหรือเฉียบพลันสุดโต่ง แม้อาการใคร่ไม่รู้อิ่มเกิดได้จากภาวะทางการแพทย์หรือยารักษาโรคบางอย่าง แต่สำหรับผู้ป่วยส่วนมากไม่ทราบสาเหตุ ปัญหาสุขภาพจิตอย่างความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการใคร่ไม่รู้อิ่มได้ และแอลกอฮอล์และยาบางชนิดยังสามารถมีผลต่อการยับยั้งทางสังคมและเพศในบางคน มีการใช้แบบจำลองทฤษฎีจำนวนหนึ่งเพื่ออธิบายหรือรักษาอาการใคร่ไม่รู้อิ่ม แบบจำลองที่ใช้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสื่อซึ่งเป็นที่นิยม คือ การเข้าสู่การติดทางเพศ แต่นักเพศวิทยายังไม่บรรลุการเห็นพ้องต้องกัน คำอธิบายทางเลือกสำหรับภาวะดังกล่าวมีแบบจำลองพฤติกรรมตามแรงกดดัน (compulsive) และหุนหัน (impulsive) บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ (ICD-10) ขององค์การอนามัยโลก รวม "ความต้องการทางเพศมากผิดปกติ" (รหัส F52.7) ซึ่งแบ่งเป็นอาการใคร่ไม่รู้อิ่มของชาย (satyriasis) และอาการใคร่ไม่รู้อิ่มของหญิง (nymphomania) และ "การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองมากเกินไป" (รหัส F98.8) กำลังมีการพิจารณาเพื่อรวมข้อเสนอให้รวมการวินิจฉัยที่เรียก ความผิดปกติอาการใคร่ไม่รู้อิ่ม โดยอธิบายอาการง่าย ๆ โดยไม่ส่อความทฤษฎีใดโดยเฉพาะ ในภาคผนวกของ DSM แต่ไม่อยู่ในรายการหลักของการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ สมาคมจิตเวชอเมริกา (APA) ปฏิเสธข้อเสนอเพิ่มการติดทางเพศเข้ารายการความผิดปกติทางจิตเวช คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ผู้ประพันธ์บางคนตั้งคำถามว่า การอภิปรายอาการใคร่ไม่รู้อิ่มสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยแย้งว่าการตีตราแรงขับทางเพศ "สุดโต่ง" เป็นเพียงการประทับมลทินแก่บุคคลซึ่งไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของวัฒนธรรมหรือกลุ่มระดับเดียวกัน.

ใหม่!!: ICD-10และอาการใคร่ไม่รู้อิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีความผูกพัน

ำหรับทั้งทารกและเด็กหัดเดิน "เป้าหมาย" ของระบบความผูกพันโดยพฤติกรรมก็เพื่ออยู่ใกล้ ๆ กับคนที่ผูกพัน ปกติเป็นพ่อแม่ ทฤษฎีความผูกพัน (Attachment theory) หรือ ทฤษฎีความผูกพันทางอารมณ์ เป็นแบบจำลองทางจิตวิทยาเพื่อกำหนดพลศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ทั้งในระยะยาวระยะสั้น แต่ว่า "ทฤษฎีความผูกพันไม่ได้ตั้งเป็นทฤษฎีทั่วไปของความสัมพันธ์ (แต่) ใช้กล่าวถึงด้าน ๆ หนึ่งเพียงเท่านั้น" คือ การตอบสนองของมนุษย์ภายในสัมพันธภาพเมื่อเจ็บ ถูกพรากจากคนรัก หรือว่ารู้สึกอันตราย โดยพื้นฐานแล้ว ทารกอาจผูกพันกับคนเลี้ยงคนไหนก็ได้ แต่ว่า คุณลักษณะของความสัมพันธ์กับ/ของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ในทารก ความผูกพันโดยเป็นส่วนของระบบแรงจูงใจและพฤติกรรมจะสั่งการให้เด็กเข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับคนดูแลที่คุ้นเคยเมื่อตกใจ โดยคาดหวังว่าจะได้การคุ้มครองและการปลอบใจ บิดาของทฤษฎีผู้เป็นนักจิตวิทยาทรงอิทธิพลชาวอังกฤษจอห์น โบลบี้ เชื่อว่า ความโน้มเอียงของทารกวานร (รวมทั้งมนุษย์) ที่จะผูกพันกับคนเลี้ยงที่คุ้นเคย เป็นผลของความกดดันทางวิวัฒนาการ เพราะว่าพฤติกรรมผูกพันอำนวยให้รอดชีวิตเมื่อเผชิญกับอันตรายเช่นการถูกล่าหรือต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อม หลักสำคัญที่สุดของทฤษฎีก็คือว่า ทารกจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนเลี้ยงหลักอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคมและทางอารมณ์ได้อย่างสำเร็จ โดยเฉพาะการเรียนรู้เพื่อควบคุมอารมณ์ตนเองอย่างมีประสิทธิผล พ่อหรือคนอื่น ๆ มีโอกาสกลายเป็นผู้ผูกพันหลักถ้าให้การดูแลเด็กและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่สมควรโดยมากที่สุด เมื่อมีคนดูแลที่ไวความรู้สึกและตอบสนองต่อเด็ก ทารกจะอาศัยคนดูแลเป็น "เสาหลัก" เมื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม ควรจะเข้าใจว่า "แม้คนดูแลที่ไวความรู้สึกจะรู้ใจถูกก็ประมาณแค่ 50% เพราะการสื่อสารอาจจะไม่ลงรอยกัน ไม่สมกัน บางครั้งพ่อแม่ก็อาจรู้สึกเหนื่อยหรือสนใจเรื่องอื่นอยู่ มีโทรศัพท์ที่ต้องรับหรืออาหารเช้าที่จะต้องทำ กล่าวอีกอย่างก็คือ ปฏิสัมพันธ์ที่เข้ากันอย่างดีอาจเสียไปได้อย่างบ่อยครั้ง แต่ลักษณะของคนดูแลที่ไวความรู้สึกคนแท้ก็คือ ความเสียหายนั้นจะได้การบริหารหรือซ่อมแซม" ความผูกพันระหว่างทารกกับผู้ดูแลเกิดขึ้นแม้เมื่อคนดูแลไม่ไวความรู้สึกและไม่ตอบสนองต่อเด็ก ซึ่งทำให้มีผลตามมาหลายอย่าง คือ ทารกจะไม่สามารถออกจากความสัมพันธ์กับคนดูแลที่ไว้ใจไม่ได้หรือไม่ไวความรู้สึก ทารกจะต้องบริหารเองเท่าที่ทำได้ภายในความสัมพันธ์เช่นนี้ โดยอาศัยเกณฑ์วิธีสถานการณ์แปลก (Strange situation) งานวิจัยของนักจิตวิทยาพัฒนาการชาวอังกฤษ ดร.

ใหม่!!: ICD-10และทฤษฎีความผูกพัน · ดูเพิ่มเติม »

คราวซึมเศร้า

ราวซึมเศร้า หรือ คราวแสดงอาการซึมเศร้า หรือ ภาวะซึมเศร้า (major depressive episode) เป็นช่วงเวลาที่มีอาการของโรคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) โดยหลักก็คือมีอารมณ์เศร้าเป็นเวลา 2 อาทิตย์หรือมากกว่านั้น และการสูญเสียความสนใจหรือความสุขในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยอาการอื่น ๆ เช่น ความรู้สึกว่าไร้ความหมาย ไม่มีหวัง วิตกกังวล ตนไม่มีค่า ความรู้สึกผิดและ/หรือความฉุนเฉียวง่าย ความเปลี่ยนแปลงต่อความอยากอาหาร ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจำรายละเอียดหรือตัดสินใจได้ และความคิดเกี่ยวกับหรือความพยายามที่จะฆ่าตัวตาย อาการนอนไม่หลับหรือการนอนมากเกินไป (hypersomnia) ความเจ็บปวด หรือปัญหาย่อยอาหารที่แก้ไม่ได้ ก็อาจจะมีด้วย นี้เป็นคำอธิบายดังที่ใช้ในเกณฑ์วินิจฉัยทางจิตเวช ดังที่พบในคู่มือ DSM-5 และ ICD-10 ความซึมเศร้าก่อทั้งปัญหาทางอารมณ์และปัญหาทางเศรษฐกิจ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ค่าเสียหายที่สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าเทียบได้กับที่เกิดจากโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และปัญหาเกี่ยวกับเจ็บหลัง และเสียหายมากกว่าโรคความดันโลหิตสูง ตามงานวิจัยหนึ่ง คราวซึมเศร้ามีสหสัมพันธ์โดยตรงกับความว่างงาน การรักษารวมทั้งการออกกำลังกาย จิตบำบัด และยาแก้ซึมเศร้า แม้ว่าในกรณีที่รุนแรง การเข้าโรงพยาบาลอาจจำเป็น มีทฤษฎีมากมายว่าความซึมเศร้าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทฤษฎีหนึ่งก็คือว่า สารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุล ก่อความรู้สึกว่าตนไม่มีค่าและสิ้นหวัง การสร้างภาพในสมองด้วย MRI แสดงว่า สมองของผู้ซึมเศร้าต่างจากของคนที่ไม่มีอาการ การมีประวัติของโรคในครอบครัวเพิ่มความเสี่ยง.

ใหม่!!: ICD-10และคราวซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

วามผิดปกติทางบุคลิกภาพ (personality disorders, ตัวย่อ PD) เป็นหมวดหมู่ของความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบพฤติกรรม รูปแบบทางประชาน และรูปแบบประสบการณ์ทางใจที่ปรับตัวอย่างไม่เหมาะสม (maladaptive) ที่ยั่งยืน โดยปรากฏในสถานการณ์ต่าง ๆ หลายอย่าง และออกนอกลู่นอกทางอย่างสำคัญจากที่ยอมรับได้ในสังคมและวัฒนธรรมของบุคคลนั้น รูปแบบเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นตั้งแต่เบื้องต้นของชีวิต ยืดหยุ่นไม่ได้ และสัมพันธ์กับความทุกข์กับความพิการในระดับสำคัญ แต่ว่านิยามที่จำเพาะอาจจะต่างกันได้แล้วแต่ที่มา เกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่จัดพิมพ์โดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association ตัวย่อ APA) และในหัวข้อ "ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม (mental and behavioral disorders)" ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ตัวย่อ ICD) ที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก DSM-5 รุ่นที่พิมพ์ในปี 2556 กำหนดความผิดปกติทางบุคลิกภาพเช่นเดียวกับความผิดปกติทางจิต (mental disorders) อื่น ๆ แทนที่จะอยู่ใน "axis" ที่ต่างกันตามที่เคยทำมาก่อน ๆ บุคลิกภาพตามนิยามของจิตวิทยา เป็นเซตของลักษณะทางพฤติกรรมและทางจิตที่คงทน ที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนต่างกัน ดังนั้น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพจึงกำหนดโดยประสบการณ์ (ทางใจ) และพฤติกรรม ที่ต่างจากมาตรฐานและความคาดหวังของสังคม คนผิดปกติเช่นนี้ อาจประสบความยากลำบากทางประชาน (cognition) ความไวอารมณ์ (emotiveness) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal functioning) และการควบคุมความหุนหันพลันแล่น (impulse control) โดยทั่วไปแล้ว คนไข้จิตเวชร้อยละ 40-60 จะได้รับวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติเช่นนี้ จึงเป็นกลุ่มโรคที่วินิจฉัยบ่อยครั้งที่สุดในบรรดาโรคจิตเวช ความผิดปกติทางบุคลิกภาพกำหนดโดยรูปแบบพฤติกรรมที่คงทน บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความขัดข้องในชีวิตส่วนตัว ชีวิตทางสังคม หรือทางอาชีพ นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติเช่นนี้ยืดหยุ่นไม่ได้ และแพร่กระจายไปในสถานการณ์มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะมาจากเหตุที่ว่า พฤติกรรมเช่นนี้เข้ากับทัศนคติเกี่ยวกับตน (ego-syntonic) ของบุคคลนั้นได้ ดังนั้น บุคคลนั้นจึงพิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่เป็นพฤติกรรมที่อาจมีผลเป็นทักษะจัดการปัญหาและความเครียด (coping skill) ที่ปรับตัวได้อย่างไม่เหมาะสม และนำไปสู่ปัญหาส่วนตัวที่สร้างความวิตกกังวล ความทุกข์ และความเศร้าซึมอย่างรุนแรง รูปแบบพฤติกรรมเช่นนี้จะกำหนดได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและต้นวัยผู้ใหญ่ และในบางกรณีที่พิเศษ ในช่วงวัยเด็ก มีประเด็นปัญหาหลายอย่างในการจัดหมวดหมู่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ คือมีนิยามต่าง ๆ หลายแบบ และเพราะว่าทฤษฎีและการวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดปกติจะต้องเกิดภายในความคาดหวังปกติของสังคม นักวิชาการบางท่านจึงคัดค้านความสมเหตุสมผลของทฤษฎีและการวินิจฉัย เพราะว่าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอาศัยมูลฐานบางอย่างที่เป็นอัตวิสัย (subjective) คือพวกเขาอ้างว่า ทฤษฎีและการวินิจฉัยมีมูลฐานอยู่ที่พิจารณาญาณทางสังคม หรือทางสังคม-การเมืองและทางเศรษฐกิจ (ดังนั้น จึงอาจจะไม่ใช่ปัญหาทางการแพทย์).

ใหม่!!: ICD-10และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ

วามเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ (mental breakdown หรือ nervous breakdown) เป็นศัพท์ที่มิใช่ศัพท์ทางการแพทย์ อธิบายความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและในระยะเวลาจำกัด โดยมากแล้วแสดงออกมาด้วยความหดหู่หรือกระวนกระวายRapport LJ, Todd RM, Lumley MA, Fisicaro SA.

ใหม่!!: ICD-10และความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: ICD-10และโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวลไปทั่ว

รควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized anxiety disorder ตัวย่อ GAD) หรือโรควิตกกังวลทั่วไปเป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความกังวลที่เกินควร ควบคุมไม่ได้ และบ่อยครั้งไม่สมเหตุผล เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมักจะขวางชีวิตประจำวัน เพราะคนไข้มักคิดว่าจะมีเหตุการณ์ร้าย หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สุขภาพ การเงิน ความตาย ปัญหาครอบครัว ปัญหากับเพื่อน ปัญหากับคนอื่น หรือปัญหาการงาน คนไข้มักจะมีอาการทางกายต่าง ๆ รวมทั้ง ความล้า อยู่ไม่สุข ปวดหัว คลื่นไส้ มือเท้าชา กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ กลืนไม่ลง มีกรดในกระเพาะมาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจไม่ออก ไม่มีสมาธิ สั่น กล้ามเนื้อกระตุก หงุดหงิด กายใจไม่สงบ นอนไม่หลับ หน้าหรือตัวร้อน (hot flashes) เป็นผื่น และไม่สามารถควบคุมความกังวลได้International Classification of Diseases ICD-10.

ใหม่!!: ICD-10และโรควิตกกังวลไปทั่ว · ดูเพิ่มเติม »

โรคถ้ำมอง

ทพเมอร์คิวรีกับ Herse ลอบดู Aglaulus แอบถายโรคถ้ำมอง (Voyeurism) หรือ ความชอบแอบดู หรือ การแอบดู เป็นความสนใจหรือข้อประพฤติทางเพศที่จะแอบดูคนอื่นทำการในที่ลับ เช่นถอดเสื้อผ้า มีกิจกรรมทางเพศ หรือการอื่น ๆ ที่ปกติพิจารณาว่าเป็นเรื่องควรทำเป็นการส่วนตัว คนแอบดูปกติจะไม่ทำอะไรโดยตรงกับบุคคลที่เป็นเป้า ผู้บ่อยครั้งจะไม่รู้ว่ากำลังถูกแอบดู จุดสำคัญของการแอบดูก็คือการเห็น แต่อาจจะรวมการแอบถ่ายรูปหรือวิดีโอ คำภาษาอังกฤษมาจากคำฝรั่งเศสว่า voyeur ซึ่งหมายความว่า "บุคคลที่ดู" คนแอบดูชายมักจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Peeping Tom" ซึ่งเป็นคำมาจากตำนานของ Lady Godiva ซึ่งเป็นหญิงที่ขี่ม้าเปลือยกายไปในเวลากลางคืน เพื่อขอการปลดเปลื้องหนี้ภาษีจากสามีของเธอสำหรับคนเช่าที่ดินของเขา โดยมีชายคนหนึ่งมองเห็น แต่ว่า จริง ๆ แล้ว คำนี้มักจะใช้กับชายที่แอบดูคนอื่น และโดยทั่วไปไม่ใช่ในที่สาธารณะเหมือนอย่างในตำนาน.

ใหม่!!: ICD-10และโรคถ้ำมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคดิสโซสิเอทีฟ

รคดิสโซสิเอทีฟ (Dissociative Disorders) เป็นภาวะที่ความทรงจำ สติสัมปชัญญะ ความรู้ตัว เอกลักษณ์ และ/หรือการรับรู้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยเสียไปหรือถูกรบกวน สมมติฐานบอกว่าอาการนี้เป็นผลจากการประสานงานกันของการทำงานดังกล่าวสูญเสียตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไป จากเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 (DSM IV) มีโรคในกลุ่มนี้ได้แก.

ใหม่!!: ICD-10และโรคดิสโซสิเอทีฟ · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: ICD-10และโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคซนสมาธิสั้น

มาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่ แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์ DSM-IV และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์ ICD-10 Cited source of Cowen (2012): อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่ และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติ การจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน โรคสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970 มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษ.

ใหม่!!: ICD-10และโรคซนสมาธิสั้น · ดูเพิ่มเติม »

โรคใคร่เด็ก

รคใคร่เด็ก หรือ ความใคร่เด็ก (Pedophilia, paedophilia) เป็นความผิดปกติทางจิตที่ผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นตอนปลายมีความต้องการทางเพศเป็นหลักหรืออย่างจำกัดเฉพาะ ต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพัน.

ใหม่!!: ICD-10และโรคใคร่เด็ก · ดูเพิ่มเติม »

เวชระเบียน

วชระเบียน เวชระเบียน (medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลบ่งชี้เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการชันสูตรบาดแผลหรือพลิกศพ ผลการบันทึกค่าทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นใด จากอุปกรณ์ เครื่องมือในสถานบริการสาธารณสุขหรือเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปทำการรักษาที่อื่น การรับผู้ป่วยรักษาต่อ การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ เอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเอกสารอื่นใดที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือสถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าเป็นเอกสารทางเวชระเบียน หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การให้รหัสโรค การจัดทำรายงานทางการแพทย์ การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record -EMR) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบันแสงเทียน อยู.

ใหม่!!: ICD-10และเวชระเบียน · ดูเพิ่มเติม »

เตตราโครมาซี

ีที่เซลล์รูปกรวยของนกรับได้ (ในตัวอย่างนี้ เป็นของวงศ์นกกระติ๊ด) ซึ่งขยายการเห็นสีของนกไปในช่วงความถี่แสงอัลตราไวโอเลตFigure data, uncorrected absorbance curve fits, from Hart NS, Partridge JC, Bennett ATD and Cuthill IC (2000) Visual pigments, cone oil droplets and ocular media in four species of estrildid finch. Journal of Comparative Physiology A186 (7-8): 681-694. ภาวะ Tetrachromacy เป็นภาวะที่มีทางประสาทต่างหาก 4 ทางในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับสี หรือมีเซลล์รูปกรวย 4 ประเภทในตา สัตว์ที่มีภาวะ Tetrachromacy เรียกว่า tetrachromat ในสัตว์ประเภท tetrachromat การเห็นสีต่าง ๆ จะมี 4-มิติ ซึ่งหมายความว่า เพื่อที่จะเทียบสีที่สัตว์เห็น จะต้องใช้การผสมรวมกันของแม่สีอย่างน้อย 4 สี นกหลายประเภทเป็น tetrachromat และแม้แต่สปีชีส์ต่าง ๆ ของปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และแมลง ก็เป็น tetrachromat ด้ว.

ใหม่!!: ICD-10และเตตราโครมาซี · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: ICD-10และเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหาร

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 12: โรคของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 12: โรคของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 14: โรคของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 14: โรคของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยจโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตาย

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตาย · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 22: รหัสเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 22: รหัสเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 3: โรคของเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติบางอย่างของกลไกภูมิคุ้มกัน

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 3: โรคของเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติบางอย่างของกลไกภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 7: โรคของตาและอวัยวะเคียงลูกตา

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 7: โรคของตาและอวัยวะเคียงลูกตา · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 8: โรคของหูและปุ่มกระดูกกกหู

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 8: โรคของหูและปุ่มกระดูกกกหู · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ICD-10และICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายการอาการในรหัส ICD-10

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »