โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โคเอนไซม์คิว10

ดัชนี โคเอนไซม์คิว10

อนไซม์คิว10 (Coenzyme Q10) หรือยูบิควิโนน (ubiquinone) ยูบิเดคาริโนน (ubidecarenone) โคเอ็นไซม์คิว บางครั้งย่อเป็นโคคิวเท็น (CoQ10) โคคิว หรือคิวเท็น คือ 1-4 เบนโซควิโนน โดยคิวหมายถึงหมู่เคมีควิโนน และ 10 หมายถึง จำนวนหน่วยย่อยเคมีไอโซพรีนิลในหาง โคเอนไซม์คิว10 เป็นสารคล้ายวิตามิน ละลายในไขมัน พบในไมโทคอนเดรียเป็นหลักของเซลล์ยูคาริโอตส่วนใหญ่ มันเป็นองค์ประกอบของลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน และมีส่วนในการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน ซึ่งสร้างพลังงานในรูปเอทีพี พลังงาน 95% ของร่างกายมนุษย์ผลิตด้วยวิธีนี้ ฉะนั้น อวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงสุด เช่น หัวใจ ตับและไต จึงมีความเข้มข้นของโคเอนไซม์คิว10 สูงสุด โคคิวเท็นมีสามสถานะรีด็อกซ์ คือ ออกซิไดซ์สมบูรณ์ (ยูบิควิโนน) กึ่งควิโนน (ยูบิเซมิควิโนน) และรีดิวซ์สมบูรณ์ (ยูบิควินอล) ขีดความสามารถของโมเลกุลนี้ในการมีอยู่ในรูปออกซิไดซ์สมบูรณ์และรีดิวซ์สมบูรณ์ทำให้มันทำหน้าที่ในลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามลำดั.

6 ความสัมพันธ์: ATPการหายใจระดับเซลล์ยูแคริโอตลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอนสารต้านอนุมูลอิสระไมโทคอนเดรีย

ATP

ATP อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โคเอนไซม์คิว10และATP · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจระดับเซลล์

การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) เป็นชุดปฏิกิริยาและกระบวนการทางเมแทบอลิซึมที่เกิดในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อเปลี่ยนแปลงพลังงานชีวเคมีจากสารอาหารเป็นอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) และปล่อยผลิตภัณฑ์ของเสียออกมา ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหายใจมีปฏิกิริยาแคแทบอลิซึมที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยารีดอกซ์ (หมายถึง มีทั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน) การหายใจเป็นหนึ่งในวิธีการหลักที่เซลล์จะได้รับพลังงานที่มีประโยชน์เพื่อเป็นเชื้อเพลิงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ สารอาหารซึ่งเซลล์สัตว์และพืชมักใช้ในการหายใจ มีน้ำตาล กรดอะมิโนและกรดไขมัน ตลอดจนตัวออกซิไดซ์ทั่วไป (ตัวรับอิเล็กตรอน) ในโมเลกุลออกซิเจน (O2) แบคทีเรียและอาร์เคียยังเป็นลิโธโทรฟ (lithotroph) คือ อาจหายใจได้โดยใช้โมเลกุลอนินทรีย์หลากชนิดเป็นตัวให้และรับอิเล็กตรอน เช่น กำมะถัน ไอออนโลหะ มีเทนและไฮโดรเจน สิ่งมีชีวิตซึ่งใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในการหายใจเรียกว่า สิ่งมีชีวิตต้องการออกซิเจน (aerobic) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย เรียกว่า สิ่งมีชีวิตไม่ต้องการออกซิเจน (anaerobic) พลังงานซึ่งปลดปล่อยออกมาในการหายใจใช้ในการสังเคราะห์เอทีพีเพื่อเก็บพลังงานนี้ พลังงานที่เก็บในเอทีพีจากนั้นสามารถใช้เพื่อขับเคลื่อนขบวนการซึ่งอาศัยพลังงาน ได้แก่ ชีวสังเคราะห์ การเคลื่อนที่หรือการส่งโมเลกุลข้ามเยื่อหุ้มเซลล.

ใหม่!!: โคเอนไซม์คิว10และการหายใจระดับเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: โคเอนไซม์คิว10และยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน

ลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอนในไมโทคอนเดรียเป็นจุดที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชันในยูคาริโอต NADH และซักซิเนตที่มีการผลิตในวัฏจักรเครปส์ถูกออกซิไดซ์เป็นพลังงานให้แก่เอทีพีซินเทส (ATP synthase) ลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน (electron transport chain, ย่อ: ETC) เป็นคู่ของการขนส่งอิเล็กตรอนระหว่างตัวให้อิเล็กตรอน (เช่น NADH) กับตัวรับอิเล็กตรอน (เช่น O2) ด้วยการขนส่งโปรตอน (H+) ข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ ความแตกต่างทางศักย์ไฟฟ้าเคมีของโปรตอนอันเกิดจากการขนส่งโปรตอนข้ามเยื่อนี้ ใช้ในการผลิตพลังงานเคมีในรูปของอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) ลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอนเป็นกลไกของเซลล์ที่ใช้เพื่อดึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง และจากปฏิกิริยารีดอกซ์ อาทิ ออกซิเดชันของน้ำตาล (การหายใจระดับเซลล์) ในคลอโรพลาสต์ แสงกระตุ้นการเปลี่ยนน้ำไปเป็นออกซิเจน และ NADP+ ไปเป็น NADPH ด้วยการขนส่งโปรตอนข้ามเยื่อหุ้มคลอโรพลาสต์ ในไมโทคอนเดรีย การเปลี่ยนออกซิเจนไปเป็นน้ำ, NADP ไปเป็น NAD+ และซักซิเนตไปเป็นฟูมาเรตจำเป็นต่อการสร้างความแตกต่างของโปรตอน ลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอนเป็นจุดสำคัญที่มีอิเล็กตรอนลัดไปยังออกซิเจน เกิดเป็นซูเปอร์ออกไซด์และอาจส่งผลให้มีภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) เพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: โคเอนไซม์คิว10และลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

สารต้านอนุมูลอิสระ

redox-active sulfur atom that provides antioxidant activity, while the red, blue, white, and dark grey spheres represent oxygen, nitrogen, hydrogen, and carbon atoms, respectively. สารต้านอนุมูลอิสระ คือโมเลกุลของสารที่สามารถจับกับตัวรับและสามารถยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของโมเลกุลสารอื่นๆได้ ปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวเนื่องกับการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนจากสารหนึ่งไปยังตัวออกซิไดซ์ ปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถให้ผลิตภัณฑ์เป็นสารอนุมูลอิสระ (free radical) ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่และทำลายเซลล์ของร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระจะเข้ายุติปฏิกิริยาลูกโซ่เหล่านี้ด้วยการเข้าจับกับสารอนุมูลอิสระและยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยถูกออกซิไดซ์ ดังนั้นสารต้านอนุมูลอิสระจึงถือเป็นตัวรีดิวซ์ อาทิ ไธออล กรดแอสคอร์บิก และโพลีฟีนอล แม้ว่าปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต หากแต่ก็ยังเกิดโทษเช่นกัน ดังนั้นพืชและสัตว์จึงรักษาสมดุลด้วยระบบอันซับซ้อนของปฏิริยาโดยสารต้านอนุมูลอิสระดังเช่น กลูตาไธโอน วิตามินซี และวิตามินอี เช่นเดียวกับเอนไซม์อย่างตัวเร่งปฏิกิรยาและเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ รวมถึงเพอรอกซิเดสต่างๆ ระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำหรือเอนไซม์ที่ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันที่มากเกินไป จะยังผลให้เกิดภาวะออกซิเดชันที่มากเกินไป (oxidative stress) นำมาซึ่งการทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่เซลล์ได้ ในภาวะที่ออกซิเดชันมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคในมนุษย์หลายโรค การใช้สารต้านอนุมูลอิสระในทางเภสัชวิทยาได้รับการศึกษาอย่างละเอียดในการรักษาภาวะโรคหลอดเลือดในสมองและโรค neurodegenerative disease อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าออกซิเดชันที่มากเกินไปนั้นเป็นสาเหตุการเกิดโรคหรือไม่ สารต้านอนุมูลอิสระถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ด้วยคาดหวังในการรักษาสุขภาพและป้องกันโรคอย่างโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมไปถึงโรคกลัวความสูง แม้การศึกษาในช่วงแรกให้การสนับสนุนถึงการเติมสารต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้สุขภาพดีนั้น ภายหลังการศึกษาในระยะคลินิกพบว่าสารที่เติมลงไปไม่ได้ช่วยหรือก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่ผู้บริโภค ซ้ำยังผลมาซึ่งอันตรายจากการรับประทานที่มากเกินไป นอกจากนี้ยังมีการใช้สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติในเภสัชภัณฑ์ และส่วนประกอบอื่นๆในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเช่นสารกันบูดในอาหารและเครื่องสำอาง และช่วยลดการสึกกร่อนของยางและแก๊สโซลีนอีกด้ว.

ใหม่!!: โคเอนไซม์คิว10และสารต้านอนุมูลอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทคอนเดรีย

รงสร้างของไมโทคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียน หรือมักเรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion, พหูพจน์: mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี้ (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNAhttp://www.mitochondrial.net/ มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป ในเซลล์มนุษย์ DNA ภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้นมหัศจรรย์ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: โคเอนไซม์คิว10และไมโทคอนเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Coenzyme Q10

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »