โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แผลไหม้

ดัชนี แผลไหม้

แผลไหม้ (burn) เป็นการบาดเจ็บต่อผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออื่นอย่างหนึ่ง มีสาเหตุจากความร้อน ไฟฟ้า สารเคมี แรงเสียดทาน หรือการแผ่รังสี แผลไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนจากของเหลว ของแข็งร้อน หรือไฟ แผลไหม้ที่กระทบเพียงผิวหนังชั้นบนสุดเรียก แผลไหม้ระดับหนึ่ง แผลดูแดงไม่มีตุ่มพอง และตรงแบบปวดกินเวลาประมาณสามวัน เมื่อการบาดเจ็บลึกถึงผิวหนังข้างใต้ เรียก แผลไหม้ระดับสอง มักมีตุ่มพองและมักเจ็บมาก การหายใช้เวลานานถึงแปดสัปดาห์และอาจมีแผลเป็น ในแผลไหม้ระดับสาม การบาดเจ็บลามไปถึงผิวหนังทุกชั้น มักไม่เจ็บและบริเวณแผลไหม้จะแข็ง แผลมักไม่หายเอง และแผลไหม้ระดับสี่จะเป็นบาดแผลถึงที่เนื้อเยื่อลึกลงไป เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือกระดูก แผลไหม้มักมีสีดำและมักนำสู่การเสียส่วนที่ถูกไหม้นั้น การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของแผลไหม้ แผลไหม้พื้นผิวอาจรักษาด้วยยาระงับปวดอย่างง่าย ขณะที่แผลขนาดใหญ่อาจต้องการการรักษาที่ศูนย์รักษาแผลไหม้ ซึ่งใช้เวลานาน การใช้น้ำเย็นจากก๊อกอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดความรุนแรงของแผลได้ แต่แผลไหม้ที่เป็นวงกว้างอาจทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน แผลไหม้ระดับสองอาจต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ และการทำแผล วิธีการรักษาแผลพุพองยังไม่แน่ชัด แต่การปล่อยแผลให้เป็นอย่างเดิมนั้นอาจสมเหตุสมผล แผลไหม้ระดับสามมักต้องการการผ่าตัด เช่นการตัดแต่งผิวหนัง แผลไหม้ขนาดใหญ่ต้องรักษาด้วยการฉีดของเหลวเข้าเส้นเลือด เพราะการตอบสนองต่อการอักเสบอาจทำให้ของเหลวในหลอดเลือดฝอยไหลออกมา และเกิดการบวมน้ำได้ แผลไหม้ในกรณีร้ายแรงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ขณะที่แผลไหม้ขนาดใหญ่อาจอันตรายถึงชีวิต แต่การรักษาในสมัยใหม่นับตั้งแต..

13 ความสัมพันธ์: กระดูกกล้ามเนื้อการบาดเจ็บการติดเชื้อการแผ่รังสีภาวะตัวเย็นเกินยาระงับปวดสารเคมีหลอดเลือดฝอยผิวหนังความร้อนแรงเสียดทานไฟฟ้า

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: แผลไหม้และกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: แผลไหม้และกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บ (Injury) เป็นความเสียหายหรืออันตรายต่อหน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกาย อันมีสาเหตุจากแรงหรือปัจจัยภายนอกทั้งทางกายภาพหรือเคมี และทั้งโดยเจตนา (เช่นการฆ่าตัวตาย ฆาตกรรม) หรือไม่ได้เจตนา (เช่นอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บจากกีฬา).

ใหม่!!: แผลไหม้และการบาดเจ็บ · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: แผลไหม้และการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่รังสี

ในทางฟิสิกส์ การแผ่รังสี (อังกฤษ: radiation) หมายถึงกระบวนการที่อนุภาคพลังงานหรือคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหรืออวกาศ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ รังสีที่แตกตัวได้และรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุ อย่างไรก็ตาม คำว่า "รังสี" มักหมายถึงกัมมันตภาพรังสีเพียงอย่างเดียว (คือ รังสีที่มีพลังงานเพียงพอที่จะทำให้อะตอมเปลี่ยนเป็นไอออน) แต่ความเป็นจริงแล้วก็สามารถหมายถึงรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุด้วยเช่นกัน (เช่น คลื่นวิทยุหรือแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รูปแบบเรขาคณิตของการแผ่รังสีออกจากตัวกลาร่รร่คียยเมวังนำไปสู่ระบบของหน่วยวัดและหน่วยทางฟิสิกส์ที่สามารถใช้ได้กับรังสีทุกประเภท รังสีทั้งสองประเภทล้วนสามารถเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ) การแผ่รังสี สามารถนำไปใช้งานในงานทางด้านความร้อนต่าง ๆ เช่น แผ่นรองหัวเตาแก๊สอินฟาเรด การถ่ายเทความร้อนในอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อน การแผ่รังสี หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: แผลไหม้และการแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะตัวเย็นเกิน

วะตัวเย็นเกินหรืออุณหภูมิกายต่ำผิดปกติ (hypothermia) นิยามว่ามีอุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำกว่า 35.0 °C อาการขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ในภาวะตัวเย็นเกินอย่างอ่อน จะมีสั่นและสับสน ในภาวะตัวเย็นเกินปานกลาง การสั่นจะหยุดและมีความสับสนเพิ่มขึ้น ในภาวะตัวเย็นเกินรุนแรงอาจมีการเปลื้องปฏิทรรศน์ (paradoxical undressing) คือ บุคคลถอดเสื้อผ้าของตัว ตลอดจนมีความเสี่ยงหัวใจหยุดเต้นเพิ่มขึ้น ภาวะตัวเย็นเกินมีสองสาเหตุหลัก สาเหตุตรงต้นแบบเกิดจากการได้รับความเย็นสุดขีด อาจเกิดจากภาวะใด ๆ ซึ่งลดการผลิตความร้อนหรือเพิ่มการเสียความร้อน โดยทั่วไปมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ แต่ยังมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเบื่ออาหาร และสูงอายุ เป็นต้น ปกติร่างกายรักษาอุณหภูมิกายไว้ใกล้ระดับคงที่ 36.5–37.5 °C โดยอาศัยการปรับอุณหภูมิกาย หากอุณหภูมิกายต่ำลง จะมีความพยายามเพื่อเพิ่มอุณหภูมิกาย เช่น สั่น มีกิจกรรมใต้อำนาจจิตใจที่เพิ่มขึ้นและสวมเครื่องนุ่งห่มอบอุ่น อาจวินิจฉัยภาวะตัวเย็นเกินได้จากอาการของบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโดยการวัดอุณหภูมิกายของบุคคล การรักษาภาวะตัวเย็นเกินอย่างอ่อนมีเครื่องดื่มอุ่น เครื่องนุ่งห่มอุ่นและกิจกรรมทางกาย ในผู้ป่วยภาวะตัวเย็นเกินปานกลาง แนะนำให้ผ้าห่มความร้อนและสารน้ำเข้าหลอดเลือดดำอุ่น ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเย็นเกินปานกลางหรือรุนแรงควรเคลื่อนย้ายอย่างนุ่มนวล ในภาวะตัวเย็นเกินรุนแรง เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) หรือเครื่องปอด-หัวใจเทียมอาจมีประโยชน์ ในผู้ป่วยที่ไม่มีชีพจร การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) มีข้อบ่งชี้ร่วมกับมาตรการข้างต้น ตรงแบบให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยจนอุณหภูมิสูงกว่า 32 °C หากอาการ ณ จุดนี้ไม่ดีขึ้นหรือระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 12 มิลลิโมลต่อลิตรครั้งหนึ่งแล้ว อาจยุติการกู้ชีพ ภาวะตัวเย็นเกินเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,500 คนต่อปีในสหรัฐ พบมากกว่าในผู้สูงอายุและเพศชาย อุณหภูมิกายต่ำสุดครั้งหนึ่งของผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินโดยอุบัติเหตุแต่รอดชีวิตเท่าที่มีบันทึกคือ 13 °C ในเด็กหญิงวัย 7 ขวบที่ใกล้จมน้ำในประเทศสวีเดน มีการอธิบายการรอดชีวิตหลัง CPR เกินหกชั่วโมง ในผู้ที่ใช้ ECMO หรือเครื่องปอด-หัวใจเทียมมีการรอดชีวิตประมาณ 50% การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะตัวเย็นเกินมีบทบาทสำคัญในสงครามหลายครั้ง ภาวะตัวร้อนเกินหรือไข้สูงเป็นคำตรงข้ามของภาวะตัวเย็นเกิน คือ มีอุณหภูมิกายสูงขึ้นเนื่องจากการปรับอุณหภูมิกายล้มเหลว.

ใหม่!!: แผลไหม้และภาวะตัวเย็นเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ยาระงับปวด

ระงับปวด ยาบรรเทาปวด หรือ ยาแก้ปวด (analgesic หรือ painkiller) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวด มีผลหลายทางทั้งระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ประกอบด้ว.

ใหม่!!: แผลไหม้และยาระงับปวด · ดูเพิ่มเติม »

สารเคมี

รเคมี (chemical substance) เป็นสสารวัสดุ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือได้จากกระบวนการเคมี อาท.

ใหม่!!: แผลไหม้และสารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดฝอย

หลอดเลือดฝอย (capillary) คือ หลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากแตกแขนงจากหลอดเลือดใหญ่ไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มีผนังบาง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่าง ๆ ระหว่างเซลล์กับเลือ.

ใหม่!!: แผลไหม้และหลอดเลือดฝอย · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: แผลไหม้และผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อน

ในทางฟิสิกส์ ความร้อน (ใช้สัญลักษณ์ว่า Q) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่งไปยังสสารหรือระบบอื่นโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ในทางอุณหพลศาสตร์จะใช้ปริมาณ TdS ในการวัดปริมาณความร้อน ซึ่งมีความหมายถึง อุณหภูมิสัมบูรณ์ของวัตถุ (T) คูณกับอัตราการเพิ่มของเอนโทรปีในระบบเมื่อวัดที่พื้นผิวของวัตถุ ความร้อนสามารถไหลผ่านจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า หากต้องการให้ความร้อนถ่ายเทไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิเท่ากันหรือสูงกว่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้ปั๊มความร้อนเท่านั้น การสร้างแหล่งความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสามารถทำได้จากปฏิกิริยาเคมี (เช่นการเผาไหม้) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (เช่นฟิวชันในดวงอาทิตย์) การเคลื่อนที่ของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นเตาไฟฟ้า) หรือการเคลื่อนที่ทางกล (เช่นการเสียดสี) โดยที่อุณหภูมิเป็นหน่วยวัดปริมาณของพลังงานภายในหรือเอนทาลปี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่ออัตราการถ่ายเทความร้อนของวัตถุนั้นๆ ความร้อนสามารถถ่ายเทระหว่างวัตถุได้สามวิธีคือ การแผ่รังสี การนำความร้อน และการพาความร้อน นอกจากนี้มีกระบวนการถ่ายเทความร้อนอีกแบบหนึ่งคือ ความร้อนแฝง ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะ เช่น จากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากของเหลวเป็นก๊าซ เป็นต้น.

ใหม่!!: แผลไหม้และความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

แรงเสียดทาน

ือ แรงที่กระทำต่อวัตถุ คลิ๊กที่นี.

ใหม่!!: แผลไหม้และแรงเสียดทาน · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้า

ฟฟ้า (ήλεκτρον; electricity) เป็นชุดของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ มีที่มาจากภาษากรีกซึ่งในสมัยนั้นหมายถึงผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากการปรากฏตัวและการไหลของประจุไฟฟ้า เช่นฟ้าผ่า, ไฟฟ้าสถิต, การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ไฟฟ้ายังทำให้เกิดการผลิตและการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ พูดถึงไฟฟ้า ประจุจะผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะกระทำกับประจุอื่น ๆ ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายชนิดของฟิสิกซ์ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: แผลไหม้และไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Burnน้ำร้อนลวกแผลไฟไหม้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »