โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เออร์วิง แลงมิวร์

ดัชนี เออร์วิง แลงมิวร์

ออร์วิง แลงมิวร์ (Irving Langmuir; 31 มกราคม ค.ศ. 1881 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1957) เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี..

33 ความสัมพันธ์: บรรยากาศศาสตร์บรุกลินชาวอเมริกันฟิลาเดลเฟียฟิสิกส์พ.ศ. 2424พ.ศ. 2500พลาสมา (สถานะของสสาร)กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการปล่อยเทอร์ไมออนการเชื่อมทิกมหาวิทยาลัยโคลัมเบียมหาวิทยาลัยเกิททิงเงินรัฐนิวยอร์กรัฐแมสซาชูเซตส์ราชสมาคมแห่งลอนดอนรางวัลโนเบลสาขาเคมีวิศวกรรมโลหการสหรัฐสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติสงครามโลกครั้งที่สองหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาอุตุนิยมวิทยาทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติทะเลซาร์แกสโซนักฟิสิกส์นักเคมีแก๊สมีตระกูลโซนาร์เจเนอรัลอิเล็กทริกเคมี16 สิงหาคม31 มกราคม

บรรยากาศศาสตร์

แผนภูมิผสมแสดงวัฏจักร/วิวัฒนาการขององค์ประกอบต่างๆ ของบรรยากาศโลก ผลกระทบระดับภูมิภาคของ ENSO คราวร้อน (El Niño). บรรยากาศศาสตร์ (Atmospheric sciences) เป็นคำศัพท์กลางๆ ใช้เรียกการศึกษาด้านบรรยากาศ ซึ่งได้แก่กระบวนการ ผลของระบบอื่นๆ ที่มีต่อบรรยากาศ และ ผลของบรรยากาศที่มีต่อระบบอื่นๆ อุตุนิยม ซึ่งรวมถึง "เคมีบรรยากาศ" และ "ฟิสิกส์บรรยากาศ" ที่หลักๆ เน้นไปที่การพยากรณ์อากาศ ภูมิอากาศวิทยา (Climatology) ได้แก่ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ทั้งระยะยาวและระยะสั้น) ที่จะบ่งชี้ภูมิอากาศเฉลี่ยและการเปลี่ยนไปตามเวลาที่เนื่องมาจากทั้งภูมิอากาศที่ผันแปรตามธรรมชาติ และภูมิอากาศที่ผันแปรตามกิจกรรมของมนุษย์ สาขาวิชาด้านบรรยากาศศาสตร์ได้ขยายตรอบคลุมถึงสาขาศาสตร์แห่งดาวเคราะห์และการศึกษาบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และบรรยากาศศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

บรุกลิน

รุกลิน (Brooklyn ตั้งชื่อตามเมืองในเนเธอร์แลนด์ว่า Breukelen) เป็นหนึ่งใน 5 เบอโรในนครนิวยอร์ก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของควีนส์ ทางปลายสุดของลองไอแลนด์ เป็นเมืองอิสระจนกระทั่งรวมกับนิวยอร์กในปี 1898 บรุกลินถือเป็นเบอโรที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของนิวยอร์กซิตี ด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัย 2.5 ล้านคน และหากแยกเป็นเมืองแล้ว ถือว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และบรุกลิน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอเมริกัน

วอเมริกัน หรือ ประชากรของสหรัฐอเมริกา (People of the United States หรือ U.S. Americans หรือ Americans หรือ American people) คือประชาชนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มชนจากหลายชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันบางคนไม่ถือว่าอเมริกันเป็น "ชาติพันธุ์" (ethnicity) และจะบ่งตนเองโดยเชื้อชาติ (nationality) และชาติพันธุ์ดั้งเดิม (ancestral origin) เช่นชาวฮังการีอเมริกันเป็นต้น นอกไปจากชาวอเมริกันอินเดียนแล้ว ชาวอเมริกันเกือบทั้งหมดหรือบรรพบุรุษก็เป็นผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงระยะเวลาห้าร้อยปีที่ผ่านมา การที่ชาวอเมริกันมาจากหลายชาติพันธุ์ทำให้เป็นชาติที่มีธรรมเนียม และคุณค่าที่แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และชาวอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟิลาเดลเฟีย

ฟิลาเดลเฟีย Philadephia หรือที่ เรียกกันว่า Philly หรือ The City of Brotherly Love เป็นเมืองหลวงแห่งแรก ของ America เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐเพนซิลเวเนีย และเป็นเมืองที่พลเมืองหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองที่มีพื้นที่เมืองจากประชากรเป็นอันดับ 5 Retrieved on March 12, 2011.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และฟิลาเดลเฟีย · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2424

ทธศักราช 2424 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1881.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และพ.ศ. 2424 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พลาสมา (สถานะของสสาร)

หลอดไฟพลาสมา แสดงปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนบางประการ รวมทั้งปรากฏการณ์ "ฟิลาเมนเตชั่น" (filamentation) พลาสมา ในทางฟิสิกส์และเคมี คือ แก๊สที่มีสภาพเป็นไอออน และมักจะถือเป็นสถานะหนึ่งของสสาร การมีสภาพเป็นไอออนดังกล่าวนี้ หมายความว่า จะมีอิเล็กตรอนอย่างน้อย 1 ตัว ถูกดึงออกจากโมเลกุล ประจุไฟฟ้าอิสระทำให้พลาสมามีสภาพการนำไฟฟ้าเกิดขึ้น สถานะที่ 4 ของสสารนี้ มีการเอ่ยถึงครั้งแรก โดยเซอร์ วิลเลียม ครูกส์ (Sir William Crookes) เมื่อ ค.ศ. 1879 และในปี ค.ศ. 1928 นั้น เออร์วิง แลงเมียร์ (Irving Langmuir) คิดคำว่าพลาสมา (plasma) ขึ้นมาแทนสถานะของสสารนี้เนื่องจากเขานึกถึงพลาสมาของเลือด พลาสมาจัดได้ว่าเป็นสถานะที่ 4 ของสสาร เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสถานะอื่นอย่างชัดเจน พลาสมาประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุทั้งประจุบวกและลบ ในสัดส่วนที่ทำให้ประจุสุทธิเป็นศูนย์ การอยู่รวมกันของอนุภาคเหล่านี้เป็นแบบประหนึ่งเป็นกลาง (quasineutral) ซึ่งหมายความว่าอิเล็กตรอนและไอออนในบริเวณนั้น โดยรวมแล้วมีจำนวนเท่า ๆ กัน และแสดงพฤติกรรมร่วม (collective behavior) พฤติกรรมร่วมนี้หมายถึง การเคลื่อนที่ของอนุภาคในพลาสมา ไม่เพียงแต่จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในบริเวณนั้นๆ เท่านั้น แต่เป็นผลโดยรวมจากพลาสมาส่วนใหญ่ มากกว่าจะเป็นผลมาจากการชนกันของอนุภาคที่อยู่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากอนุภาคในพลาสมาที่สถานะสมดุล จะมีการสั่นด้วยความถี่ที่สูงกว่าความถี่ในการชนกันของอนุภาค 2 ตัวที่อยู่ใกล้กัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมร่วมนี้เป็นพฤติกรรมที่กลุ่มพลาสมาแสดงออกมาร่วมกัน พลาสมาสามารถเกิดได้โดย การให้สนามไฟฟ้าปริมาณมากแก่ก๊าซที่เป็นกลาง เมื่อพลังงานส่งผ่านไปยังอิเล็กตรอนอิสระมากพอ จะทำให้อิเล็กตรอนอิสระชนกับอะตอม และทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากซึ่งจะทำให้ก๊าซแตกตัวและกลายเป็นพลาสมาในที่สุด พลาสมามีความแตกต่างจากสถานะของแข็ง สถานะของเหลว และสถานะก๊าซ โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ ในเรื่องดังต่อไปนี้คือ ความยาวคลื่นเดอบาย จำนวนอนุภาค และความถี่พลาสมา ซึ่งทำให้พลาสมามีความจำเพาะเจาะจงที่แตกต่างจากสถานะอื่นออกไป หมวดหมู่:ฟิสิกส์พลาสมา หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และพลาสมา (สถานะของสสาร) · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การปล่อยเทอร์ไมออน

การปล่อยเทอร์ไมออน (thermionic emission) เป็นการไหลของตัวพาประจุที่ชักนำด้วยความร้อนจากพื้นผิวหรือเหนือกำแพงพลังงานศักย์ (potential-energy barrier) ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากพลังงานความร้อนที่ให้แก่ตัวพาชนะฟังก์ชันงานของวัสดุ ตัวพาประจุเป็นได้ทั้งอิเล็กตรอนหรือไอออน ซึ่งในเอกสารข้อมูลสมัยก่อนบางทีเรียก "เทอร์ไมออน" หลังการปล่อย ประจุซึ่งมีขนาดเท่ากันและเครื่องหมายตรงข้ามกับประจุรวมจะถูกปล่อยทีแรกจะถูกทิ้งไว้ในบริเวณที่ปล่อย แต่หากอีมิเตอร์เชื่อมกับแบตเตอรี ประจุที่ถูกปล่อยไว้จะถูกประจุที่ปล่อยจากแบตเตอรีทำให้เป็นกลางเมื่อตัวพาประจุเคลื่อนออกจากอีมิเตอร์ และสุดท้ายอีมิเตอร์จะอยู่ในสถานะเดิมก่อนการปล่อย ตัวอย่างคลาสสิกของการปล่อยเทอร์ไมออน คือ การปล่อยอิเล็กตรอนจากแคโทดร้อนสู่สุญญากาศ (หรือเรียก การปล่อยอิเล็กตรอนความร้อนหรือปรากฏการณ์เอดิสัน) ในหลอดสุญญากาศ แคโทดร้อนอาจเป็นได้ทั้งฟิลาเมนต์โลหะ ฟิลาเมนต์โลหะเคลือบผิว หรือโครงสร้างต่างหากของโลหะหรือคาร์ไบด์หรือโบไรด์ของโลหะทรานซิชัน การปล่อยสุญญากาศจากโลหะมักมีความสำคัญเฉพาะเมื่อมีอุณหภูมิสูงกว่า 1,000 เคลวิน (730 °C) หมวดหมู่:ฟิสิกส์อะตอม หมวดหมู่:ไฟฟ้า หมวดหมู่:การแปลงพลังงาน หมวดหมู่:หลอดสุญญากาศ หมวดหมู่:โทมัส เอดิสัน.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และการปล่อยเทอร์ไมออน · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อมทิก

การเชื่อมทิก (Tungsten Inert Gas welding, TIG) หรืออีกชื่อหนึ่งคือการเชื่อมอาร์คทังสเตนแก๊สปกคลุม (Gas Tungsten Arc Welding, GTAW) เป็นกระบวนการเชื่อมแบบอาร์คชนิดหนึ่งที่ใช้ แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม บริเวณบ่อหล่อมจะมีแก๊สปกคลุมเพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทำปฏิกิริยากับอากาศรอบข้าง แก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอน หรือ ฮีเลี่ยม อย่างไรก็ตามแก๊สฮีเลี่ยมนั้นราคาแพงกว่าอาร์กอนมาก ในการเชื่อมมีทั้งแบบเติมลวดและไม่เติมลวดลงไปในบ่อหลอมthumb ในการเชื่อมมีกระแสไฟฟ้านี้เป็นตัวกระตุ้นให้แก๊สที่ปลายทังสเตนอิเล็กโทรดกลายเป็นไอออน และทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านระหว่างทังสเตนอิเล็กโทรดและบ่อหลอมเห็นเป็นลำพลาสมา การเชื่อมทิกนี้นิยมใช้กับชิ้นงานที่มีลักษณะบาง ทำจากสเตนเลสสตีล และโลหะกลุ่มที่ไม่ได้มีเหล็กเป็นองค์ประกอบหลักเช่น อะลูมิเนียมอัลลอย แมกนีเซียมอัลลอย ทองแดงอัลลอย นิกเกิลอัลลอย และไทเทเนียมอัลลอย เป็นต้น กระบวนการเชื่อมทิกมีข้อเด่นเหนือกระบวนการเชื่อมอื่นๆ เช่น shielded metal arc welding (SMAW) หรือ gas metal arc welding (GMAW) ในด้านการควบคุมคุณภาพและความแข็งแรงของแนวเชื่อม แต่ข้อด้อยคือ เป็นกระบวนการเชื่อมที่ต้องอาศัยทักษะของช่างเชื่อมสูง และไม่เหมาะกับแนวเชื่อมขนาดใหญ่ เนื่องจากกระบวนการเชื่อมทำได้ช้า ทีละน้อย องค์ประกอบต่างๆของการเชื่อมทิก.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และการเชื่อมทิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

Alma Mater มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University in the City of New York) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของนครนิวยอร์กและเก่าแก่ที่สุดอันดับที่ห้าของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่นิวยอร์กซิตี ในรัฐนิวยอร์กในส่วนของชุมชนมอร์นิงไซด์บริเวณส่วนเหนือของเกาะแมนแฮตตัน ก่อตั้งก่อนการประกาศอิสรภาพของประเทศในปี พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1754) ในชื่อของ วิทยาลัยคิงส์ (King's College) โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ ภายหลังสหรัฐอเมริกาปฏิวัติ โคลัมเบียได้รับการสนับสนุนในฐานะเอกลักษณ์ทางปรัชญาของรัฐตั้งแต่ปี 2327 - 2330 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ทั้งที่เป็นศิษย์เก่าและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 102 ท่าน ถือว่ามากที่สุดอันดับ 2 ของโลก ศิษย์เก่าที่เป็นประธานาธิบดีและนากยกรัฐมนตรีจากทั่วโลกจำนวน 29 ท่าน ศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก (Fortune Global 500) จำนวน 45 ท่าน และมีผู้ชนะรางวัลออสการ์ 28 ท่าน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้มอบรางวัลพูลิตเซอร์ แก่ผู้ได้รับเกียรติสูงสุดระดับชาติในวงการสิ่งพิมพ์ การบรรลุความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์เพลงในสาขาวารสารศาสตร์ เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ซึ่งวิทยาลัยวิชาการหนังสือพิมพ์ของโคลัมเบียนับได้ว่าโดดเด่นมากที่สุดของโลกในปัจจุบัน last.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน

มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (University of Göttingen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาวิทยาลัยเกออร์ก-เอากุสต์แห่งเกิททิงเงิน (Georg-August-Universität Göttingen) เป็นมหาวิทยาลัยในเมืองเกิททิงเงิน รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวยอร์ก

รัฐนิวยอร์ก (New York) เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐเทกซัส รัฐนิวยอร์กอาณาเขตติดต่อกับ รัฐเวอร์มอนต์ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเพนซิลเวเนีย และในทิศเหนือติดต่อกับประเทศแคนาดา กับรัฐควิเบกและรัฐออนแทรีโอ เมืองขนาดใหญ่ในรัฐนิวยอร์กได้แก่ นครนิวยอร์ก (ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ) บัฟฟาโล รอเชสเตอร์ ยังเกอรส์ และ ซีราคิวส์ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ ออลบานี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงได้แก่ น้ำตกไนแอการา และในเขตนครนิวยอร์ก.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และรัฐนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแมสซาชูเซตส์

รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) เป็นรัฐหนึ่งในเขตนิวอิงแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา มีมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยทัฟส์ ประกอบไปด้วย 50 เมืองขนาดใหญ่ และ 301 เมืองขนาดเล็กใน 14 เคาน์ตี เมืองขนาดใหญ่ในรัฐได้แก่ บอสตัน สปริงฟิลด์ วูสเตอร์ โลเวลล์ บล็อกตัน และเคมบร.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และรัฐแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชสมาคมแห่งลอนดอน

นที่ตั้งของราชสมาคมแห่งลอนดอน ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society หรือชื่อเต็มว่า The Royal Society of London for the Improvement of Natural Knowledge) เป็นสมาคมนักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และราชสมาคมแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาเคมี

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาเคมี (Nobelpriset i kemi, Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน..

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และรางวัลโนเบลสาขาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมโลหการ

วิศวกรรมโลหการ (metallurgical engineering) เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางโลหวิทยา (metallurgy หรือ metallurgical science) โดยเชื่อมโยงความหมายพื้นฐานจากใจความของโลหวิทยา ซึ่งหมายถึง การศึกษาความรู้ที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวข้องกับโลหะ ตั้งแต่กระบวนการศึกษาโลหะในสภาวะสินแร่ กระบวนการคัดแยกโลหะออกจากสินแร่ กระบวนการปรับปรุงคุณภาพโลหะโดยการทำให้บริสุทธิ์หรือการปรุงแต่งเพื่อความเหมาะสมตามคุณสมบัติที่ต้องการ การนำโลหะมาขึ้นรูปในลักษณะของโลหะรูปพรรณ (metal forming) ทรงยาว ทรงแบบ แท่ง ทรงยาวหน้าตัด เป็นต้น รวมทั้งการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์หรือวัตถุ เช่น การหล่อขึ้นรูป การทุบขึ้นรูป การรีดขึ้นรูป เป็นต้น ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพอื่น ๆ ต่อเนื่องจากการขึ้นรูป ได้แก่ การตัดแต่งรูปทรง (machining) การปรับปรุงด้วยกระบวนการทางความร้อน (heat treatment) การปรับปรุงพื้นผิว (surface treatment) และกระบวนการวิศวกรรมพื้นผิว (surface engineering) โลหการ หรือวิศวกรรมการโลหวิทยา จึงหมายถึง การนำโลหวิทยามาใช้ในกระบวนการทางวิศวกรรม เพื่อให้สามารถดำเนินการ ติดตาม และควบคุมให้เกิดผลได้ในเชิงวิศวกรรม โดยมุ่งเน้นความหมายทางวิศวกรรม ซึ่งก่อให้เกิดการประยุกต์และใช้ประโยชน์ได้ งานวิศวกรรมโลหการจึงเน้นไปในสายงานหรือกระบวนการเพื่อการผลิตชิ้นส่วนโลหะในอุตสาหกรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนประกอบในงานก่อสร้าง เหล็ก โครงสร้างอาคาร และเครื่องจักร เป็นต้น ผลิตภัณฑ์จากแร่และโลหะอยู่ล้อมรอบตัวเราในทุกที่และทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่สนามกีฬา ในรถและพาหนะ ตลอดจนที่โรงเรียนและที่ทำงาน โดยจะเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของ สิ่งก่อสร้าง เครื่องบิน รถไฟ เรือ จักรยาน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้าและเครื่องประดับ หรือแม้กระทั่ง อาหาร เครื่องดื่ม และยารักษาโรค เนื่องจากโลหะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ จึงทำให้อาชีพนี้คงความสำคัญไว้ได้ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเศรษฐศาสตร์และทางเทคนิคในยุคก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 จะขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีแร่และโลหะเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อพัฒนาให้เกิดวัสดุคุณภาพเยี่ยมและมีราคาถูกในช่วงทศวรรษที่เหลือหลังจากปี 2004 วิศวกรรมโลหการ (Metallurgical engineering) เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแปรรูปวัสดุเพื่อที่จะแยกสกัด ทำให้บริสุทธิ์ และนำโลหะกลับมาใช้ใหม่ กระบวนการดังกล่าวครอบคลุมถึงการพัฒนาและการใช้โลหะและโลหะผสมที่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่เฉพาะเจาะจง วิศวกรรมโลหการแบ่งย่อยออกเป็นสามสาขาหลัก คือ การแต่งแร่ (Mineral processing) โลหวิทยาแยกสกัด (Extractive metallurgy) และโลหวิทยากายภาพ (Physical metallurgy) การแต่งแร่ เกี่ยวข้องกับการแยกผลิตภัณฑ์ที่มีค่าหรือหัวแร่ ซึ่งในหลายกรณีจะประกอบด้วยโลหะ ออกจากแร่ที่ได้จากการทำเหมืองแร่ (Mining) โลหวิทยาแยกสกัด เป็นการใช้กระบวนการทางเคมีที่อุณหภูมิสูงหรือในรูปสารละลายเพื่อเปลี่ยนสภาพสินแร่และวัตถุดิบอื่น อาทิ เศษโลหะ ให้กลายสภาพจากสารประกอบอนินทรีย์ (Inorganic compounds) เป็นโลหะที่มีประโยชน์และวัสดุพลอยได้อื่นฯ โดยกระบวนการทางเคมีที่อุณหภูมิสูงเรียกว่าโลหวิทยาความร้อนสูง (Pyrometallurgy) และกระบวนการทางเคมีในรูปสารละลายเรียกว่าโลหวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgy) โลหวิทยากายภาพ เป็นการนำวิทยาการที่เกี่ยวกับโลหะมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์โลหะและโลหะผสมในกิจกรรมการผลิตให้ได้สินค้าและเครื่องจักรที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับสังคมบริโภคยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง โดยมีสาขาย่อยที่เน้นเฉพาะคุณสมบัติทางกลซึ่งเรียกว่าโลหวิทยาทางกล (Mechanical metallurgy).

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และวิศวกรรมโลหการ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ

รือยูเอสเอส คอนสทิทิวชัน สิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ (National Historic Landmark หรือ NHL) คือ สิ่งก่อสร้าง, สถานที่, โครงสร้าง, วัตถุ หรือแขวง ที่ได้รับการยอมรับโดยรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สิ่งที่รับการยกฐานะทุกชิ้นได้รับการลงทะเบียนในทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ (National Register of Historic Places) ปัจจุบันทะเบียนนี้มีรายชื่อทั้งหมดด้วยกันกว่า 80,000 ชื่อแต่ในจำนวนนั้น 2,430 สิ่งเท่านั้นที่ถือว่าเป็น “สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ”.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา

หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา หรือ หลอดความร้อน หรือ หลอดไส้ (incandescent light bulb, incandescent lamp หรือ incandescent light globe) ให้แสงสว่างโดยการให้ความร้อนแก่ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะกระทั่งมีอุณหภูมิสูงและเปล่งแสง หลอดแก้วที่เติมแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศป้องไม่ให้ไส้หลอดที่ร้อนสัมผัสอากาศ ในหลอดฮาโลเจน กระบวนการทางเคมีคืนให้โลหะเป็นไส้หลอด ซึ่งขยายอายุการใช้งาน หลอดไฟฟ้านี้ได้รับกระแสไฟฟ้าจากเทอร์มินอลต่อสายไฟ (feed-through terminal) หรือลวดที่ฝังในแก้ว หลอดไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในเต้ารับซึ่งสนับสนุนหลอดไฟฟ้าทางกลไกและเชื่อมกระแสไฟฟ้าเข้ากับเทอร์มินัลไฟฟ้าของหลอด หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาผลิตออกมาหลายขนาด กำลังส่องสว่าง และอัตราทนความต่างศักย์ ตั้งแต่ 1.5 โวลต์ถึงราว 300 โวลต์ หลอดประเภทนี้ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ควบคุมภายนอก มีค่าบำรุงรักษาต่ำ และทำงานได้ดีเท่ากันทั้งไฟฟ้ากระแสสลับหรือกระแสตรง ด้วยเหตุนี้ หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาจึงใช้กันอย่างกว้างขวางในครัวเรือนและไฟฟ้าใช้ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนไฟฟ้าแบบพกพา อย่างเช่น ไฟตั้งโต๊ะ ไฟหน้ารถยนต์ และไฟฉาย และไฟฟ้าสำหรับตกแต่งและโฆษณา บ้างใช้ประโยชน์จากใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นจากไส้หลอดของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา อาทิ เครื่องฟักไข่ กล่องฟักไข่สำหรับสัตว์ปีก ไฟความร้อนสำหรับสวนจำลองสภาพแวดล้อม (vivarium) ของสัตว์เลื้อยคลาน การให้ความร้อนอินฟราเรดในกระบวนการให้ความร้อนและอบแห้งในอุตสาหกรรม ความร้อนส่วนเกินนี้เพิ่มพลังงานที่ต้องใช้ในระบบปรับอากาศของอาคาร หลอดไฟฟ้าแบบอื่นค่อย ๆ แทนที่การใช้งานของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาหลายด้าน อาทิ หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ), หลอดฟลูออเรสเซนต์แคโทดเย็น, หลอดอัดก๊าซความดันสูง และไดโอดเปล่งแสง เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าเหล่านี้พัฒนาอัตราส่วนแสงที่มองเห็นได้ต่อการผลิตความร้อน เขตอำนาจบางแห่ง เช่น สหภาพยุโรป อยู่ในระหว่างกระบวนการเลิกใช้หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหันไปใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากกว.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

อุตุนิยมวิทยา

อุตุนิยมวิทยา (Meteorology) เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบรรยากาศของโลก โดยเน้นการพยากรณ์อากาศ และกระบวนการของสภาพอากาศ ปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับสภาพอากาศที่สังเกตได้ ซึ่งให้ความกระจ่างและอธิบายได้ด้วยศาสตร์แห่งอุตุนิยมวิทยา เหตุการณ์เหล่านี้เกิดจากความแปรผันที่มีอยู่ในบรรยากาศของโลก ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ไอน้ำ และองค์ประกอบต่างๆ และปฏิกิริยาของตัวแปรต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กัน ประเด็นหลักของการศึกษาและการสังเกตเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกนั้น อยู่ที่ชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (troposphere) อุตุนิยมวิทยา, climatology, ฟิสิกส์บรรยากาศ และเคมีบรรยากาศ ถือเป็นสาขาย่อยของบรรยากาศศาสตร์ (atmospheric sciences) สำหรับอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยารวมกันเป็นสาขาของศาสตร์ที่เรียกว่า อุทกอุตุนิยมวิทยา (hydrometeorology).

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และอุตุนิยมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ

แขวงโรงสีสเลเตอร์ในโรดไอแลนด์เป็นสถานที่แรกที่รับการลงทะเบียนในทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966http://www.nr.nps.gov/nrloc1.htm National Register Information System, National Register of Historic Places, ''National Park Service''. Retrieved April 11, 2007. ทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ (National Register of Historic Places หรือ National Register) เป็นรายชื่ออย่างเป็นทางการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาที่เป็น สิ่งก่อสร้าง, สถานที่, โครงสร้าง, วัตถุ หรือแขวงที่ได้รับการตัดสินว่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ เจ้าของสิ่งที่ได้รับการลงทะเบียนมีสิทธิที่จะได้รับการลดภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างถ้าสำนักงานภาษาส่วนท้องถิ่นอนุมัติ ตัวอย่างของสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการลงทะเบียนบางสิ่งก็ได้แก่เขื่อนฮูเวอร์ ในเนวาดา-แอริโซนา, คฤหาสน์โรบี โดยแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ในอิลลินอยส์, กรีนนิชวิลเลจและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ในนิวยอร์ซิตี้,, เกาะอัลคาทราซที่ซานฟรานซิสโกในแคลิฟอร์เนีย, หรือ เรือยูเอสเอส ยอร์คทาวน์ (CV-10).

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลซาร์แกสโซ

right ทะเลซาร์แกสโซ (Sargasso Sea) คือทะเลที่อยู่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อยู่ระหว่างเกาะเบอร์มิวดาและหมู่เกาะลีเวิร์ด มีเนื้อที่ประมาณ 5.2 ล้านตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นทะเลที่สงบนิ่ง คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสและลูกเรือเป็นพวกแรกที่เข้ามาพบทะเลแห่งนี้ ในปี..

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และทะเลซาร์แกสโซ · ดูเพิ่มเติม »

นักฟิสิกส์

นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้น.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และนักฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

นักเคมี

นักเคมีคนหนึ่งกำลังเตรียมเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อทดสอบ นักเคมี คือนักวิทยาศาสตร์ที่ฝึกฝนและศึกษาวิชาเคมี นักเคมีศึกษาองค์ประกอบและสมบัติของสสาร นักเคมีจะบรรยายคุณสมบัติที่พวกเขาศึกษาอย่างระมัดระวังในด้านปริมาณในระดับโมเลกุลและอะตอม นักเคมีจะวัดสัดส่วนของสสาร อัตราปฏิกิริยา และสมบัติอื่น ๆ ทางเคมี ในภาษาอังกฤษ คำว่า chemist สามารถหมายถึงเภสัชกรในเครือจักรภพอังกฤษด้วย นักเคมีใช้องค์ความรู้นี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และสมบัติของสสารที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน รวมถึงสร้างและสังเคราะห์สสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นปริมาณมาก ๆ และสร้างสสารจำลองและกระบวนการใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ นักเคมีอาจมีความรู้เฉพาะในระเบียบย่อยใด ๆ ของเคมีก็ได้ นักวัสดุศาสตร์และช่างโลหะ มีพื้นฐานความรู้และทักษะทางเคมีเหมือนกัน งานของนักเคมีมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของวิศวกรรมเคมี ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การสร้าง และการประเมินค่าของโรงงานเคมีขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพทางต้นทุนสูงสุด และทำงานในระดับเคมีอุตสาหกรรมในการพัฒนากระบวนการและวิธีการใหม่ ๆ สำหรับการผลิตสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณ.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และนักเคมี · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สมีตระกูล

แก๊สมีตระกูล (Noble gas) หมายถึง แก๊สที่ไม่ไวต่อการทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น ไม่เกิดสารประกอบคลอไรด์ ออกไซด์และซัลไฟล์ กลุ่มธาตุเคมีที่มีสมบัติเหมือนกัน: ที่ภาวะมาตรฐาน ธาตุในหมู่นี้จะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี เป็นแก๊สที่เฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยา แก๊สมีตระกูลหกตัวที่ปรากฏในธรรมชาติ ได้แก่ ฮีเลียม (He), นีออน (Ne), อาร์กอน (Ar), คริปทอน (Kr), ซีนอน (Xe) และเรดอน (Rn) ซึ่งเป็นกัมมันตรังสี ธาตุพวกนี้เป็นธาตุโมเลกุลเดี่ยว (monoatomic molecule) แก๊สมีตระกูลมีคุณสมบัติดังนี้.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และแก๊สมีตระกูล · ดูเพิ่มเติม »

โซนาร์

รื่องโซนาร์ (Sonar: Sound navigation and ranging) เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจหาวัตถุใต้น้ำ มีความสำคัญเช่นเดียวกับเรือผิวน้ำ ส่วนมากจะถูกใช้ในการหาตำแหน่งของระเบิด เรืออับปาง ฝูงปลา และทดสอบความลึกของท้องทะเล มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องเรดาร์ แต่โซนาร์จะใช้คลื่นเสียง และต้องใช้ในน้ำ แต่เรดาร์จะใช้ได้ในอากาศเท่านั้น หลักการทำงานของโซนาร.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และโซนาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจเนอรัลอิเล็กทริก

ริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric Company) หรือ จีอี เป็นกลุ่มบริษัทข้ามชาติ สัญชาติอเมริกันในสเกอเนคเทอดี รัฐนิวยอร์ก และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองแฟร์ฟีลด์ รัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทบริหารงาน 4 ส่วน อันได้แก่ จีอีเอเนอจี, จีอีเทคโนโลยีอินฟราสตรักเจอร์, จีอีแคปิตอล และจีอีโฮมแอนด์บีซิเนสโซลูชัน.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และเจเนอรัลอิเล็กทริก · ดูเพิ่มเติม »

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และเคมี · ดูเพิ่มเติม »

16 สิงหาคม

วันที่ 16 สิงหาคม เป็นวันที่ 228 ของปี (วันที่ 229 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 137 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และ16 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

31 มกราคม

วันที่ 31 มกราคม เป็นวันที่ 31 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 334 วันในปีนั้น (335 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: เออร์วิง แลงมิวร์และ31 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Irving Langmuirเออร์วิง แลงเมียวร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »