โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอกซ์86-64

ดัชนี เอกซ์86-64

AMD64 ถูกสร้างมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับสถาปัตยกรรม IA64 ของบริษัทอินเทลและเอชพี ข้อแตกต่างที่สำคัญมีดังนี้.

9 ความสัมพันธ์: ฟรีบีเอสดีระบบปฏิบัติการวินโดวส์วิสตาวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008โอเพนบีเอสดีโซลาริสเรจิสเตอร์เน็ตบีเอสดีStreaming SIMD Extensions

ฟรีบีเอสดี

ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) คือซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต).

ใหม่!!: เอกซ์86-64และฟรีบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: เอกซ์86-64และระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์วิสตา

วินโดวส์วิสตา (Windows Vista) คือระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ที่พัฒนาต่อมาจากวินโดวส์เอกซ์พี และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ วินโดวส์วิสตา อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์ วินโดวส์วิสตาได้มีความสามารถใหม่หลายร้อยประการ ไม่ว่าจะเป็นระบบแสดงผลกราฟิกใหม่ โปรแกรมใหม่ ความสามารถค้นหาที่ดีกว่าเดิม รวมถึงระบบองค์ประกอบภายในอย่างในส่วนเน็ตเวิร์ก ระบบเสียง การพิมพ์ และการแสดงผลที่ได้ถูกออกแบบและเขียนขึ้นมาใหม่ และยังได้รวมดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 ซึ่งช่วยผู้พัฒนาระบบสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ดี วินโดวส์วิสตา ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับบรรดาผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่หลังจากออกเวอร์ชันทางการแล้ว ก็มีผู้ใช้ส่วนใหญ่แสดงความไม่พอใจและกลับไปใช้ วินโดวส์เอกซ์พี เนื่องจาก วินโดวส์วิสตา ยังไม่ค่อยตอบสนองต่อผู้ใช้ทางบ้านเท่าที่ควร กล่าวคือ วินโดวส์วิสตา ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร หลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ได้หยุดการสนับสนุนในระยะ mainstream support บนวินโดวส์วิสตา ในวันที่ 10 เมษายน 2555 และในระยะ Extended support ในวันที่ 11 เมษายน 2560.

ใหม่!!: เอกซ์86-64และวินโดวส์วิสตา · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 (Windows Server 2008) เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์รุ่นต่อไปจากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 เดิมทีมีรหัสในการพัฒนาว่า Windows Server "Longhorn" วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ที่นำคุณสมบัติหลายอย่างมาจากวินโดวส์วิสตา ความสัมพันธ์ลักษณะเดียวกับวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 และวินโดวส์เอกซ์พี ปัจจุบันวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ออกรุ่นทดสอบมาแล้ว 3 รุ่น ได้แก่ เบต้า 1 (27 กรกฎาคม ค.ศ. 2005) เบต้า 2 (23 พฤษภาคม ค.ศ. 2006) และเบต้า 3 (25 เมษายน ค.ศ. 2007) รุ่นสุดท้ายมีกำหนดออกในครึ่งหลังของปี 2007.

ใหม่!!: เอกซ์86-64และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนบีเอสดี

อเพนบีเอสดี (OpenBSD) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) ที่สืบทอดมาจาก BSD แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี.

ใหม่!!: เอกซ์86-64และโอเพนบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

โซลาริส

ซลาริส (Solaris) หรือในชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ระบบปฏิบัติการโซลาริส ใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สองแบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรก ๆ ของโซลาริสนั้น ใช้ชื่อว่า ซันโอเอส (SunOS) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี แต่ต่อมาในรุ่นที่ 5 ได้เปลี่ยนมาใช้โค้ดของ ซิสเต็มส์ไฟว์ (System V) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาริส ดังเช่นในปัจจุบัน โดยเรียกโซลาริสรุ่นแรกว่า โซลาริส 2 และเปลี่ยนชื่อเรียกของซันโอเอสรุ่นก่อน ๆ เป็น โซลาริส 1.x และหลังจากโซลาริสรุ่น 2.6 ก็ได้ตัด "2." ข้างหน้าออกไป และเรียกเป็น โซลาริส 7 แทน รุ่นปัจจุบันของโซลาริสคือ โซลาริส 11 การพัฒนาบางส่วนของโซลาริสในอนาคต ขณะนี้ได้พัฒนาในโครงการ โอเพนโซลาริส (OpenSolaris) ซึ่งเป็นโครงการระบบปฏิบัติการแบบโอเพนซอร์ซ.

ใหม่!!: เอกซ์86-64และโซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

เรจิสเตอร์

รจิสเตอร์ หรือ รีจิสเตอร์ (register) ในอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคำนวณ เรจิสเตอร์จะเก็บข้อมูลเป็นบิทจำนวนมากเพื่อให้ระบบต่างๆสามารถเขียนเข้าไปใหม่หรืออ่านบิททั้งหมดนั้นได้พร้อมกัน เรจิสเตอร์เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ที่ทำงานได้เร็วมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำเหล่านี้ ใช้เก็บข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณ หรือสถานะการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง และมักถูกอ้างถึงบ่อย ในระหว่างการคำนวณของหน่วยประมวลผล เพื่อให้โปรแกรมที่ทำงานอยู่ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้ ได้อย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: เอกซ์86-64และเรจิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เน็ตบีเอสดี

น็ตบีเอสดี (NetBSD) คือระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) โดยสืบทอดมาจาก BSD โดย NetBSD เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยเป็นระบบปฏิบัติการตัวที่สองในตระกูล BSD ที่เปิดเผยซอร์สโค้ดสู่สาธารณะ (หลังจาก 386BSD) และพัฒนายังคงต่อเนื่องเรื่อยมา จุดเด่นที่สำคัญของ NetBSD คือ สามารถรันได้บนแพลทฟอร์มจำนวนมาก และการออกแบบระบบที่ดี NetBSD จึงถูกนำไปใช้กับระบบฝังตัว (embedded systems) นอกจากนี้มันยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพอร์ตระบบปฏิบัติการอื่นไปสู่สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่อีกด้ว.

ใหม่!!: เอกซ์86-64และเน็ตบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

Streaming SIMD Extensions

Streaming SIMD Extensions (SSE) หรือชื่อเดิมคือ Intel Streaming SIMD Extensions (ISSE) เป็นชุดของคำสั่งเครื่องแบบ SIMD (Single Instruction, Multiple Data) ซึ่งเป็นส่วนขยายสถาปัตยกรรม x86 ที่ออกแบบโดยบริษัทอินเทล เริ่มใช้ครั้งแรกในเพนเทียม III เมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยเป็นคู่แข่งของเทคโนโลยี 3DNow! ของบริษัทเอเอ็มดี ประกอบด้วยชุดคำสั่งจำนวน 70 คำสั่ง ชื่อในการพัฒนาของ SSE คือ KNI ย่อมาจาก Katmai New Instructions (Katmai เป็นรหัสของเพนเทียม III) ในภายหลังบริษัท AMD ได้นำชุดคำสั่ง SSE ไปใช้ในซีพียูตั้งแต่รุ่น Athlon XP และ Duron เป็นต้นมา ก่อนหน้าที่จะมี SSE ทางอินเทลได้คิดค้นชุดคำสั่งแบบ SIMD สำหรับสถาปัตยกรรม IA-32 ในชื่อว่า MMX ซึ่งมีปัญหา 2 ประการ คือ ใช้เรจิสเตอร์สำหรับคำนวณทศนิยม (Floating point) ตัวเดียวกับของซีพียู ทำให้ซีพียูไม่สามารถประมวลผลทศนิยมพร้อมกับ MMX ได้ และ MMX สามารถทำงานได้กับจำนวนเต็ม (integer) เท่านั้น SSE แก้ปัญหาโดยการเพิ่มเรจิสเตอร์ขนาด 128 บิตเข้าไปอีก 8 ตัว ในตำแหน่ง XMM0-XMM7 ในช่วงหลังเมื่อทั้ง AMD และอินเทลปรับขนาดสถาปัตยกรรมเป็น 64 บิต ก็ได้เพิ่มเรจิสเตอร์เข้าไปอีก 8 ตัว (XMM8-XMM15) และยังมีเรจิสเตอร์ควบคุมขนาด 32 บิตอีก 1 ตัวชื่อ MXCSR ภายหลังอินเทลได้ปรับปรุงรุ่นของ SSE เป็น SSE2, SSE3, SSSE3 และ SSE4 ทั้งนี้ การสนับสนุนนการคำนวณเลขทศนิยม ทำให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันได้มากกว่า MMX และกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มคำสั่งดำเนินการกับจำนวนเต็มใน SSE2 ยิ่งทำให้ MMX บางส่วนกลายเป็นส่วนเกิน แต่อย่างไรก็ดี ในบางสถานการณ์อาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้โดยใช้ MMX และ SSE ในแบบคู่ขนานกันก็ได้.

ใหม่!!: เอกซ์86-64และStreaming SIMD Extensions · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AMD64Amd64EM64TIA-32eX64X86-64

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »