โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ

ดัชนี เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ

้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ ดังรายการต่อไปนี้ แสดงขั้นตอนการค้นพบเทหวัตถุใหม่เรียงตามลำดับในประวัติศาสตร์;ความหมายของสี สัญลักษณ์สีในตารางแสดงความหมายถึงดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมัน ดังต่อไปนี้;ดาวเคราะห์;ดาวเคราะห์แคระ หรือดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์แคร.

54 ความสัมพันธ์: กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกาลิเลโอ กาลิเลอียูโรปาระบบสุริยะระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางระบบโลกเป็นศูนย์กลางวอยเอจเจอร์ 1วอยเอจเจอร์ 2วิลเลียม เฮอร์เชลจูเซปเป ปีอัซซีทอเลมีดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดาวบริวารดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีดาวบริวารของดาวยูเรนัสดาวบริวารของดาวเสาร์ดาวบริวารของดาวเนปจูนดาวบริวารของเฮาเมอาดาวพฤหัสบดีดาวพลูโตดาวพุธดาวมาคีมาคีดาวยูเรนัสดาวศุกร์ดาวหางดาวอังคารดาวอีริสดาวเสาร์ดาวเฮาเมอาดาวเคราะห์ดาวเคราะห์น้อยดาวเคราะห์แคระดาวเนปจูนดีมอสคริสตียาน เฮยเคินส์คัลลิสโตคำสลับอักษรซีรีสนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสแกนีมีด (เทพปกรณัม)แครอน (ดาวบริวาร)โฟบอสโลกไมมัส (ดาวบริวาร)ไอโอไทรทันไททันไดโอนีเรีย...เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะเอนเซลาดัสS/2007 S 290377 เซดนา ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา

ูโรปาและซูส ผลงานของอันโตนีโอ มาร์ซีอาเล การ์รัชชี (Antonio Marziale Carracci) ยูโรปา (Europa) เป็นชายาอีกองค์หนึ่งของเทพเจ้าซูส ยูโรปาเป็นนิทัศนุทาหรณ์แห่งนิสัยเจ้าชู้ของซูสซึ่งเป็นราชาของเทพเจ้า อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่แสดงมูลที่มาของชื่อทวีปยุโรปด้วยในตัว ยูโรปาเป็นพระธิดาของท้าวอะจีนอร์ (Agenor) เจ้ากรุงฟินิเชีย ซึ่งเป็นบุตรของเทพโพไซดอนกับนางลิบเบีย นอกจากยูโรปาแล้ว ท้าวอะจีนอร์ยังมีโอรส-ธิดาอีก 3 องค์ เรียงตามลำดับคือ แคดมัส (Cadmus), ฟีนิกซ์ (Phoenix) และซิลิกซ์ (Cilix) วันหนึ่งขณะยูโรปากำลังเก็บดอกไม้อยู่ในทุ่งแห่งหนึ่ง และกำลังร่าเริงอยู่กับเหล่าบริวารและนางกำนัล พลันนั้น นางก็แลเห็นโคเผือกตัวผู้ตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามเจริญตา กอปรด้วยท่าทางละม่อมดุจชวนให้ลูบไล้ เมื่อโคเดินเข้าไปใกล้ ยูโรปาก็มีใจเบิกบานยินดี จึงเดินเข้าไปลูบโลมแต่โดยเบาและเอาช่อดอกไม้ทุ่งทอดให้ ฝ่ายโคก็น้อมตัวลงเชิญให้นางขึ้นนั่งหลัง พอยูโรปาขึ้นนั่งพลางร้องเรียกให้เหล่าบริวารให้ขึ้นนั่งบ้าง โคนั้นก็วิ่งหนีจนพ้นเขตท้องทุ่ง และมุ่งหน้าพานางออกสู่ชายทะเลโดยด่วน มิทันที่ใครจะทำตามเสียงนางเรียกนั้นได้ เมื่อถึงริมทะเล แทนที่จะหยุดวิ่งหรือนำยูโรปาลงไปจากหลัง โคกลับกระโจนทะยานล่องละลิ่วไปบนพื้นน้ำอันคลาคล่ำไปด้วยปลาโลมาดำผุดดำว่าย เหล่าอัปสรนีเรียดก็ผุดขึ้นเรียงรายรับแน่นขนัด ท้องทะเลสงบสงัดปราศจากคลื่น ส่วนไทรทัน (Triton) พนักงานแตรก็เป่าสังข์เสียงครื้นครั่นดังสนั่น ตลอดจนเทพโพไซดอนเจ้าสมุทรก็พลันผุดเป็นมัคคุเทศก์เข้าเคียงคลอชะลอเลื่อน ทั้งนี้เพราะโคนั้นหาใช่โคไม่ได้เป็นใครมาจากไหน แต่ที่แท้ก็คือเทพซูส ราชาแห่งเทพเจ้านั่นเองที่จำแลงมาเพื่อให้ยูโรปาหลงรัก ชื่อยูโรปา (Europa) ยังเป็นต้นกำเนิดของชื่อทวีปยุโรป (Europe) ในปัจจุบัน และเรื่องราวของนางยูโรปากับโคจำแลงนั้น ยังเป็นต้นกำเนิดของจักรราศีพฤษภอีกด้ว.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและยูโรปา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง

ระบบสุริยะซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง หรือ (เอกภพ)มีสุริยะเป็นแกน เป็นทฤษฎีที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Heliocentrism มีที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า ήλιος Helios.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบโลกเป็นศูนย์กลาง

'''Figure of the heavenly bodies''' — ภาพแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลขอโตเลมีโดย Bartolomeu Velho ใน ค.ศ. 1568 (Bibliotèque National, Paris) ในทางดาราศาสตร์ แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล หรือ (เอกภพ)มีโลกเป็นแกน (Geocentric Model) คือแนวคิดเก่าแก่ที่ว่าเอกภพทั้งมวลโคจรไปรอบโลกของเราที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของจักรวาล เป็นแนวคิดที่มีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยของกรีกโบราณ โดยมีนักปราชญ์ในยุคนั้นทั้งทอเลมีและอริสโตเติลให้การสนับสนุน นักปรัชญากรีกโบราณล้วนแต่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ตลอดจนดวงดาวต่างๆ ล้วนแต่เคลื่อนที่เป็นวงกลมไปรอบๆ โลก มีแนวคิดคล้ายๆ กันนี้ปรากฏในประเทศจีนเช่นกัน ความคิดและความเชื่อในแนวนี้ได้โยงไปถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้าซึ่งมีมาอย่างนานและความคิดแนวนี้ได้คร่าชีวิตนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาไปอย่างมากม.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและระบบโลกเป็นศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 1

วอยเอจเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 1 (Voyager 1) เป็นยานสำรวจอวกาศที่นาซาปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและวอยเอจเจอร์ 1 · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 2

มเดลของยานในโครงการวอยเอจเจอร์ วอยเอจเจอร์ 2 (Voyager 2) คือยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1977 เป็นยานสำรวจอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์ ซึ่งมียานพี่อีกลำหนึ่งคือยานวอยเอจเจอร์ 1 ยานวอยเอจเจอร์ 2 ถูกส่งขึ้นไปให้โคจรเป็นเส้นโค้งตามระนาบสุริยวิถี โดยเตรียมการให้สามารถเดินทางเข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ด้วยการอาศัยแรงเหวี่ยงจากแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ซึ่งมันจะต้องเดินทางผ่านในปี..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและวอยเอจเจอร์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เฮอร์เชล

วิลเลียม เฮอร์เชล วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) (พ.ศ. 2281 - 2365) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสโดยบังเอิญใน พ.ศ. 2324 ขณะเขากำลังส่องกล้องโทรทรรศน์ศึกษาดาวฤกษ์ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าดวงแรกที่ถูกค้นพบ เฮอร์เชลเป็นนักดนตรีอาชีพที่อพยพจากเมืองฮันโนเวอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี) มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอังกฤษ งานอดิเรกของเขาคือ การสร้างกล้องโทรทรรศน์ และมีความชำนาญมากในการศึกษาสังเกตดวงดาว การค้นพบดาวยูเรนัสทำให้เฮอร์เชลมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก น้องสาวของเขา คือ แคโรลีน เฮอร์เชล (พ.ศ. 2293 - 2391) ทำงานร่วมกับเขา และได้ค้นพบดาวหางหลายดวง.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและวิลเลียม เฮอร์เชล · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป ปีอัซซี

จูเซปเป ปีอัซซี จูเซปเป ปีอัซซี (Giuseppe Piazzi, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2289 - 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2369) เป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี ปีอัซซีเป็นผู้ค้นพบซีรีส ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2343 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2289 หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลอมบาร์เดีย.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและจูเซปเป ปีอัซซี · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมี

ลาดิออส โตเลเมออส (Κλαύδιος Πτολεμαῖος) รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ทอเลมี (Ptolemy) เป็นนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ คาดว่ามีชีวิตและทำงานอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ทอเลมีเป็นผู้แต่งตำราที่สำคัญหลายเล่ม ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางวิชาการ ในจำนวนนี้ มีสองเล่มที่ได้ใช้สืบต่อไปในวิทยาการของอาหรับและยุโรป เล่มแรกคือคัมภีร์ดาราศาสตร์ในชื่อว่า The Mathematical Compilation (Μαθηματική Σύνταξις ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น The Greatest Compilation (Η Μεγάλη Σύνταξις ชาวอาหรับได้แปลหนังสือเล่มนี้ และให้ชื่อใหม่เป็นภาษาอารบิกว่า "al-majisti" ซึ่งภายหลังจากนั้นถูกแปลเป็นภาษาละตินว่า อัลมาเจสต์ (Almagest) อัลมาเจสต์เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ว่า: โลกมีลักษณะเป็นทรงกลม เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว; โดยทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับยาวนานถึง 1,400 กว่าปี จนกระทั่งสมัยของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ตำราอีกเล่มหนึ่งคือ "ภูมิศาสตร์" ซึ่งเกี่ยวกับความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในโลกยุคกรีก-โรมัน อย่างละเอี.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและทอเลมี · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวาร

วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี

วพฤหัสบดีกับดาวบริวารบริวารที่ใหญ่ที่สุด 4 ดวง ดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารเท่าที่ค้นพบและยืนยันแล้ว 67 ดวง ขณะนี้มันจึงเป็นดาวเคราะห์ที่มีบริวารมากที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารที่มีมวลมากที่สุด 4 ดวงหรือดวงจันทร์ของกาลิเลโอ ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1610 ถือเป็นวัตถุในระบบสุริยะกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบว่าโคจรรอบดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลกหรือดวงอาทิตย์ นับตั้งแต่สิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีดาวบริวารขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกค้นพบและได้รับการตั้งชื่อตามชื่อคนรักหรือธิดาของเทพเจ้าจูปิเตอร์ของโรมัน (หรือเทพเจ้าซุสของกรีก) ดาวบริวาร 8 ดวงของดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ กล่าวคือ มีวงโคจรเกือบเป็นวงกลมไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก ดาวบริวารของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีลักษณะเป็นทรงกลม ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนดาวบริวารอีก 4 ดวงมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากกว่าดาวบริวารของกาลิเลโอ เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นซึ่งคอยเสริมความหนาแน่นให้กับวงแหวนของดาวพฤหัสบดี ดาวบริวารอื่น ๆ ที่เหลือเป็นบริวารขนาดเล็กซึ่งอยู่ห่างไกลจากดาวพฤหัสบดีมากกว่า จัดเป็นดาวบริวารผิดปกติ คือ มีความเอียงและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูง (วงโคจรไม่มีจุดศูนย์กลางจุดเดียวกันสม่ำเสมอ) บางดวงโคจรไปในทางเดียวกันและบางดวงโคจรสวนทางกับบริวารดวงอื่น ๆ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเคยเป็นดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์มาก่อน แต่ถูกอำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับไว้ในภายหลัง มีดาวบริวารที่เพิ่งถูกค้นพบ 16 ดวงในกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวยูเรนัส

อเบอรอน ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดยักษ์ในระบบสุริยะ มีดาวบริวารที่รู้จักแล้ว 27 ดวง โดยทั้งหมดถูกตั้งชื่อตามตัวละครในผลงานการประพันธ์ของวิลเลียม เชกสเปียร์ และอเล็กซานเดอร์ โปป โดยใน ค.ศ. 1787 ดาวบริวารสองดวงแรกถูกค้นพบโดยวิลเลียม เฮอร์เชล ได้แก่ ทิทาเนียและโอเบอรอน ส่วนดาวบริวารทรงกลมอื่น ๆ ถูกค้นพบโดยวิลเลียม ลาสเซลล์ ในปี ค.ศ. 1851 (ได้แก่ แอเรียลและอัมเบรียล) และในปี ค.ศ. 1948 โดยเจอราร์ด ไคเปอร์ (มิแรนดา) ดาวบริวารที่เหลือถูกค้นพบหลังจากปี ค.ศ. 1985 โดยภารกิจของวอยเอจเจอร์ 2 และด้วยความช่วยเหลือของกล้องโทรทรรศน์บนโลกที่ทันสมัย ดาวบริวารของดาวยูเรนัสถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มดาวบริวารรอบในสิบสามดวง (thirteen inner moons), กลุ่มดาวบริวารขนาดใหญ่ห้าดวง (five major moons) และกลุ่มดาวบริวารทรงแปลกเก้าดวง (nine irregular moons) โดยกลุ่มดาวบริวารรอบในสิบสามดวงจะกระจัดกระจายอยู่ภายในบริเวณวงแหวนของดาวยูเรนัส กลุ่มดาวบริวารขนาดใหญ่ห้าดวงเป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่และเป็นทรงกลม ในนั้น 4 ดวงเป็นดาวบริวารที่ยังมีกระบวนการภายใน มีภูเขาไฟ และการเปลี่ยนแปลงบนเปลือกดาวอยู่ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มคือ ไททาเนีย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,578 กม.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวบริวารของดาวยูเรนัส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวเสาร์

ระบบดาวเสาร์ (ภาพประกอบรวม) วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดาวบริวารไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว) และดาวบริวารเอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่ ดาวเสาร์มีดาวบริวารซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 62 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดาวบริวารที่มีชื่อเสียงอย่างดาวบริวารไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำ และดาวบริวารเอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น ดาวบริวาร 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดาวบริวารโทรจัน (หมายถึงกลุ่มดาวบริวารเล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดาวบริวารดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดาวบริวารร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก) ส่วนดาวบริวารที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดาวบริวารของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดาวบริวารแล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดาวบริวารเล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น ดาวบริวารที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดาวบริวาร 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปี ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดาวบริวารดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดาวบริวารดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาวร.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวบริวารของดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวเนปจูน

วเนปจูนมีดาวบริวารเป็นที่รู้จักกันทั้งหมดสิบสี่ดวงโดยดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดคือดาวบริวารไทรทัน, ค้นพบโดยวิลเลียม ลาสเซลล์ เมื่อ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1846 เพียง 17 วันหลังจากการค้นพบดาวเนปจูน กว่าศตวรรษผ่านไปจึงมีการค้นพบดาวบริวารดวงที่สองมีชื่อเรียกว่านีเรียด ดาวบริวารของดาวเนปจูนเป็นชื่อของเทพแห่งน้ำในตำนานเทพเจ้ากรีก.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวบริวารของดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของเฮาเมอา

ในระบบสุริยะรอบนอก ดาวเคราะห์แคระเฮาเมอา มีดาวบริวารบริวารเท่าที่ค้นพบแล้ว 2 ดวง คือ (136108) ฮีอีอากา (Hiʻiaka) และ (136108) นามากา (Namaka) ซึ่งตั้งชื่อตามเทพธิดาของชาวฮาวาย ดาวบริวารทั้งสองถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยการเฝ้าสังเกตการณ์ของหอดูดาวดับเบิลยู.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวบริวารของเฮาเมอา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพุธ

วพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวพุธ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวมาคีมาคี

มาคีมาคี (Makemake;; ภาษาราปานุย: มาเกมาเก) มีชื่อเดิมว่า (136472) มาคีมาคี เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ (เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้) และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของแถบไคเปอร์ (KBO) ซึ่งอยู่ในหมู่วัตถุชั้นเอกของแถบไคเปอร์ ดาวมาคีมาคีมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของดาวพลูโต ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ซึ่งแปลกจากวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ แถบไคเปอร์ด้วยกัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้วย จากเริ่มแรกที่มีชื่อว่า (และต่อมามีหมายเลขดาวเคราะห์น้อย 136472 กำกับ) ดาวมาคีมาคีถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) พร้อมทีมค้นหา ประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้รวมมาคีมาคีไว้ในรายชื่อวัตถุที่มีสภาพเหมาะสมที่จะได้รับสถานะ "พลูตอยด์" (Plutoid) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกประเภทของดาวเคราะห์แคระที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป บริเวณเดียวกับดาวพลูโตและดาวอีริส ในที่สุดมาคีมาคีก็ได้รับการจัดให้เป็นพลูตอยด์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวมาคีมาคี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยูเรนัส

ซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล ภาพจากยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวยูเรนัส วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวยูเรนัส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอีริส

136199 อีริส (Eris) หรือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งในวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ เป็นลำดับที่ 2 ในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกว่าดาวพลูโตเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1445 กิโลเมตร(ขนาดดาวพลูโต 1473 กิโลเมตร) มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง ชื่อ ดิสโนเมีย (Dysnomia) อีริสถูกค้นพบโดย ไมเคิล อี. บราวน์และคณะ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2005 จากภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวพาโลมาร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย คณะผู้ค้นพบได้เสนอให้ตั้งชื่อดาวที่พบใหม่นี้ว่า ซีนา (Xena) ตามชื่อของละครโทรทัศน์ Xena: Warrior Princess โดยตัวอักษร X หมายถึง ดาวเคราะห์ X ที่เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เคยเสนอไว้ และให้ดวงจันทร์บริวารของมันใช้ชื่อว่า แกเบรียลล์ (Gabrielle) แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการ ภายหลังการค้นพบ คณะผู้ค้นพบและนาซาได้ประกาศว่าอีริสเป็น ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แต่จากการประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ข้อสรุปว่าอีริสไม่จัดเป็นดาวเคราะห์ แต่เป็นดาวเคราะห์แคระ ชื่อ อีริส มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งความวุ่นวาย ผู้วางอุบายโดยใช้แอปเปิลทองคำ เพื่อทำให้เฮรา อาเทนา และอะโฟรไดต์ ซึ่งเป็นสามเทวีพรหมจรรย์ในบรรดาเทพแห่งโอลิมปัสแตกคอกัน เพราะว่าไม่ได้เชิญนางมางานเลี้ยงของเทพ ส่วน ดิสโนเมีย คือชื่อธิดาของอีริส ไฟล์:Animation showing movement of 2003 UB313.gif|ภาพถ่าย 3 ภาพในระยะเวลา 3 ชั่วโมงที่ ไมเคิล อี.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวอีริส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเสาร์

วเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเร.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเฮาเมอา

มอา มีชื่อเดิมว่า 136108 เฮาเมอา เป็นดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งในแถบไคเปอร์ มีมวลขนาดหนึ่งในสามของดาวพลูโต ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2547 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) และทีมค้นหาจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) และหอดูดาวเมานาเคอาในสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2548 โดยโคเซ ลุยส์ ออร์ติซ โมเรโน (José Luis Ortiz Moreno) และทีมค้นหาจากหอดูดาวเซียร์ราเนบาดาในประเทศสเปน (แต่การอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบของฝ่ายหลังถูกโต้แย้ง) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้จัดดาวดวงนี้ให้อยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ และตั้งชื่อตามเฮาเมอา เทพีแห่งการให้กำเนิดของชาวฮาวาย เฮาเมอามีลักษณะพิเศษต่างจากวัตถุพ้นดาวเนปจูนเท่าที่ค้นพบแล้วดวงอื่น ๆ เนื่องจากทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์กว้างมาก แม้ว่ายังจะไม่มีการสำรวจรูปร่างของมันโดยตรง แต่จากการคำนวณจากเส้นความสว่าง (light curve) ทำให้สันนิษฐานได้ว่าดาวเคราะห์แคระดวงนี้เป็นวัตถุทรงรี มีแกนหลักยาวเป็นสองเท่าของแกนรอง แต่กระนั้นก็เชื่อว่ามันมีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะดึงดูดตัวเองให้อยู่ในภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ได้ ดังนั้นดาวดวงนี้จึงมีลักษณะตรงตามคำจำกัดความของดาวเคราะห์แคระ สันนิษฐานว่าการทำมุมเช่นนี้ รวมทั้งลักษณะอื่น ๆ เช่น การหมุนรอบตัวเองเร็วผิดปกติ ความหนาแน่นสูง และอัตราส่วนสะท้อน (albedo) สูง (ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะชั้นน้ำแข็งบนพื้นผิว) เป็นผลมาจากการชนกันครั้งใหญ่ซึ่งทำให้เฮาเมอากลายเป็นสมาชิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตระกูลวัตถุที่เกิดจากการชนกัน (collisional family) ของมันเองซึ่งรวมดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 2 ดวงของมันไว้ด้ว.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวเฮาเมอา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อย

วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์แคระ

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ดาวเคราะห์แคระ เป็นดาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ ตามการจำแนกชนิดดาวเคราะห์ที่เสนอโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union: IAU) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวเคราะห์แคระ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเนปจูน

วเนปจูน (Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก: โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

ดีมอส

ีมอส ดาวบริวารของดาวอังคาร ดีมอส หรือ ไดมอส (Deimos) เป็น 1 ใน 2 ดาวบริวารของดาวอังคาร โดยเป็นดาวบริวารที่เล็กกว่าและอยู่ไกลจากดาวอังคารมากกว่า ดีมอสตั้งชื่อตามดีมอสในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน ดีมอสและดาวบริวารอีกดวงคือโฟบอสได้รับการค้นพบโดยแอซัฟ ฮอลล์ (Asaph Hall) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1877.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและดีมอส · ดูเพิ่มเติม »

คริสตียาน เฮยเคินส์

ริสตียาน เฮยเคินส์ คริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens,; 14 เมษายน พ.ศ. 2172-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2238) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักประดิษฐ์นาฬิกาชาวดัตช์ เกิดที่เดอะเฮกในเนเธอร์แลนด์ เป็นลูกชายของโกนสตันไตน์ เฮยเคินส์ ชื่อของเขาเป็นที่มาของยานกัสซีนี-เฮยเคินส์ที่ใช้สำรวจดวงจันทร์ไททัน.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและคริสตียาน เฮยเคินส์ · ดูเพิ่มเติม »

คัลลิสโต

ัลลิสโต (Callisto) เป็นดาวบริวารดวงที่ 8 ของดาวพฤหัสบดีและเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่สี่ของดาวพฤหัสบดี ด้วยระยะทางรัศมีวงโคจรประมาณ 1,880,000 กิโลเมตร คัลลิสโตเป็นดาวบริวาร กาลิเลียน วงนอกสุด คัลลิสโตมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 99% ของเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวพุธ แต่มีมวลเพียงประมาณหนึ่งในสามของดาวพุธ คัลลิสโต ประกอบไปด้วยหิน และน้ำแข็ง มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 1.83 g/cm3 สารประกอบที่ตรวจพบบนพื้นผิวน้ำแข็ง ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์,ซิลิเกต และสารประกอบอินทรีย์ การตรวจสอบโดย ยานอวกาศกาลิเลโอ พบว่าคัลลิสโตอาจจะมีแกนซิลิเกตขนาดเล็ก และ และอาจจะมีมหาสมุทรใต้ดินในของเหลวน้ำที่ระดับความลึกมากกว่า 100 กิโลเมตร.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและคัลลิสโต · ดูเพิ่มเติม »

คำสลับอักษร

ำสลับอักษร หรือ อะนาแกรม หรือ แอนาแกรม (anagram; anagramma) คือข้อความเกิดจากการนำตัวอักษรในอีกข้อความหนึ่งมาเรียงสลับที่กัน เช่น Eleven plus two เป็นอะนาแกรมของ Twelve plus one หรือ A Decimal Point เป็นอะนาแกรมของ I'm a Dot in Place.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและคำสลับอักษร · ดูเพิ่มเติม »

ซีรีส

ซีรีส หรือ เซเรส (Ceres) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอาซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและซีรีส · ดูเพิ่มเติม »

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus Torinensis, Mikołaj Kopernik มีกอไว กอแปร์ญิก; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้คิดค้นแบบจำลองระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางสมบูรณ์ ซึ่งดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ มิใช่โลกLinton (2004, pp.) อย่างไรก็ดี โคเปอร์นิคัสมิใช่ผู้แรกที่เสนอระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในบางรูปแบบ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวกรีกคนหนึ่ง ชื่อ อริสตาซูสแห่งซามอส ได้เสนอแนวคิดดังกล่าวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลแล้ว กระนั้น มีหลักฐานน้อยมากว่าเขาเคยพัฒนาความคิดของเขาไกลเกินแบบร่างง่าย ๆ เท่านั้น (Dreyer, 1953,. การตีพิมพ์หนังสือ De revolutionibus orbium coelestium (ว่าด้วยการปฏิวัติของทรงกลมฟ้า) ของโคเปอร์นิคัส ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิตไม่นาน ถูกพิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติโคเปอร์นิคัสและมีส่วนสำคัญต่อความรุ่งเรืองของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามมา ทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอธิบายกลไกของระบบสุริยะในเชิงคณิตศาสตร์ มิใช่ด้วยคำของอริสโตเติล โคเปอร์นิคัสเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักนิติศาสตร์ที่สำเร็จดุษฎีบัณฑิตในวิกฎหมาย นักฟิสิกส์ ผู้รู้สี่ภาษา นักวิชาการคลาสสิก นักแปล ศิลปิน สงฆ์คาทอลิก ผู้ว่าราชการ นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส · ดูเพิ่มเติม »

แกนีมีด (เทพปกรณัม)

ทพซูสแปลงร่างเป็นเหยี่ยว ลักพาตัวแกนีมีด วาดโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ปี 1611 แกนีมีด (Γανυμήδης, ''Ganymēdēs''.) ในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย และ เป็นบุตรชายคนเล็กของกษัตริย์ทรอส แห่งดาร์ดาเนีย, มีพี่ชายสองคนคือ อิลัส (Ilus) ซึ่งในอนาคตอิลัสจะเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอิลิออส หรือ อิลิออน ซึ่งต่อมาเรียกกันในนามเมืองทรอยนั่นเอง (กรีก : Ἴλιον, Ilion หรือἼλιος, Ilios; และ Τροία, Troia; ละติน :Trōia และ Īlium) และ อัสซาราคัส (Assaracus), โฮเมอร์ได้พรรณาเกี่ยวกับแกนิมีดเอาไว้ว่า เป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามที่สุดในเหล่ามนุษย์ทั้งปวง, แกนิมีดถูกลักพาตัวไปโดย เทพซูสที่จำแลงร่างกลายเป็นอินทรีย์ยักษ์ โฉบเอาตัวแกนิมีดจากภูเขาไอดาในแคว้นไฟรเจีย ไปเป็นผู้รับใช้ บนเขาโอลิมปัส ทำหน้าที่เป็นผู้ถวายพระสุธารส (cupbearer) แทนที่เทพีเฮบี เทพีแห่งความเยาว์วัย ธิดาของซูสและฮีรา ชื่อ แกนีมีด ถูกนำมาใช้เป็นชื่อดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ดวงจันทร์แกนีมีดเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุร.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและแกนีมีด (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

แครอน (ดาวบริวาร)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและแครอน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

โฟบอส

วงจันทร์โฟบอส โฟบอส (Phobos) เป็น 1 ใน 2 ดาวบริวารของดาวอังคาร โดยเป็นดาวบริวารที่ใหญ่กว่าและอยู่ใกล้กับดาวอังคารมากกว่า โฟบอสตั้งชื่อตามโฟบอส ลูกชายของเทพเจ้าแอรีสหรือมาร์สของกรีกและโรมันตามลำดับ วงโคจรของโฟบอสนับว่าใกล้กับดาวเคราะห์มากที่สุดในบรรดาดาวบริวารทั้งหมดของระบบสุริยะ โฟบอสได้รับการค้นพบโดยแอซัฟ ฮอลล์ (Asaph Hall) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1877 โดยฮอลล์ยังเป็นผู้ค้นพบดาวบริวารอีกดวงของดาวอังคารคือดีมอสด้ว.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและโฟบอส · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและโลก · ดูเพิ่มเติม »

ไมมัส (ดาวบริวาร)

มมัส เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ที่วิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบในปี..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและไมมัส (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอ

อโอ (Io, Ἰώ) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและไอโอ · ดูเพิ่มเติม »

ไทรทัน

ำสำคัญ "Triton" หรือ "ไทรทัน" สามารถหมายถึงสิ่งหลายอย่างที่ได้รับการขนานนามตามชื่อของเทวดากรีกที่ชื่อ "ไทรทัน" โอรสแห่งโพไซดอน เจ้าสมุทร.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและไทรทัน · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน

ททัน (Titan) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและไททัน · ดูเพิ่มเติม »

ไดโอนี

อนี (Διώνη) เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ ค้นพบโดย โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ในปี ค.ศ. 1684 เป็นชื่อจากไททัน ไดโอนีของเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและไดโอนี · ดูเพิ่มเติม »

เรีย

รีย เรีย หรือ เรอา (Rhea) เป็นเทพีไททัน ซึ่งเป็นธิดาของเทพยูเรนัสกับเทพีไกอา พระนางแต่งงานกับโครนัส เทพไททันผู้เป็นพี่ชาย และได้รับการขนานนามว่า "เทพมารดา" รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 อง.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ

นี่คือ เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ เรียงตามวันปล่อยยานอวก.

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและเส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

S/2007 S 2

S/2007 S 2 เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ การค้นพบได้มีการประกาศโดย Scott S. Sheppard, David C. Jewitt, Jan Kleyna และ Brian G. Marsden วันที่ 1 พฤษภาคม..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและS/2007 S 2 · ดูเพิ่มเติม »

90377 เซดนา

วเคราะห์แคระเซดนา อยู่ในวงกลมสีเขียว ภาพจำลองดาวเคราะห์แคระเซดนาที่วาดขึ้นโดยศิลปิน 90377 เซดนา (Sedna) เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะ ในปี..

ใหม่!!: เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะและ90377 เซดนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »