โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสือดาวแอฟริกา

ดัชนี เสือดาวแอฟริกา

ือดาวแอฟริกา (African leopard) เป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งในบรรดา 8 ชนิดของเสือดาว จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae).

36 ความสัมพันธ์: ชนิดย่อยช้างพุ่มไม้แอฟริกาภูเขาไฟวงศ์ย่อยเสือใหญ่วงศ์เสือและแมวสกุลแพนเทอราสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสิงโตหมูป่าอิมพาลาอุทยานแห่งชาติวีรูงกาอุทยานแห่งชาติครูเกอร์อีแลนด์จระเข้แม่น้ำไนล์ทอมสันส์กาเซลล์ทิวเขารูเวนโซรีควายป่าแอฟริกาคาโรลัส ลินเนียสซูลูประเทศซูดานประเทศแอฟริกาใต้ประเทศแคเมอรูนประเทศโซมาเลียแรดขาวแอฟริกาตะวันออกแอฟริกาใต้สะฮาราแซนซิบาร์ไฮยีน่าเสือชีตาห์เสือดาวเทือกเขาวีรูงกา

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา

้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) โดยเป็นชนิดย่อยของกันและกัน ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี ค.ศ. 2010 จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ โดยช้างพุ่มไม้แอฟริกานั้นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่า โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป รวมถึงมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ จะอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่าง ๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน หากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา อาจจะมีความสูงถึงเกือบ 4 เมตร เมื่อวัดจากเท้าถึงหัวไหล่ แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 3.3 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กลงมากว่าหน่อย คือ สูง 2.8 เมตร และมีน้ำหนัก 3.7 ตันโดยเฉลี่ย ขณะที่มีงายาวได้ถึง 20 นิ้ว น้ำหนักงา 200 ปอนด์ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่งาของตัวผู้จะสั้นและอวบใหญ่กว่า ส่วนงาของตัวเมียจะยาวกว่า แต่มีความเรียวบางกว่า เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 50 ปี นับว่าน้อยกว่าช้างเอเชีย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวเมียที่อาวุโสสูงสุดเป็นจ่าฝูง เป็นตัวนำพาสมาชิกในฝูงตัวอื่น ๆ ขณะที่ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะออกไปอยู่เองเป็นอิสระ ช้างพุ่มไม้แอฟริกามีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวมากกว่าช้างเอเชีย จึงฝึกให้เชื่องได้ยากกว่า มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถฝึกให้เชื่อฟังมนุษย์ได้ โดยปกติ ตัวเมียจะเป็นอันตรายมากกว่าตัวผู้ อาจเป็นเพราะต้องดูแลปกป้องลูกช้าง และสมาชิกในฝูงกว่า แต่ช้างตัวผู้ที่โตเต็มที่สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่แม้กระทั่งแรดได้ ทั้ง ๆ ที่แรดมิได้เป็นสัตว์ที่คุกคามเลย แต่เป็นเพราะมาจากความก้าวร้าว ในแต่ละปี ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะบุกรุกและทำลายบ้านเรือนของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของมนุษย์กับช้างทับซ้อนกัน มีผู้ถูกฆ่ามากกว่า 500 คน โดยก่อนที่จะบุกรุก ช้างพุ่มไม้แอฟริกาจะทำการชูงวง ที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า 100,000 มัด เต็มไปด้วยพละกำลัง และกางหูออก เมื่อจะวิ่งเข้าใส่ จะทำการย่อเข่าลงมาเล็กน้อย แม้จะมีขนาดลำตัวใหญ่ที่ใหญ่โต แต่ก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ โดยวิ่งได้เร็วถึง 30 ไมล์/ชั่วโมงหน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีรายงานการพบช้างพุ่มไม้แอฟริการ้อยละ 30 ที่ไม่มีงา แต่ช้างที่ไม่มีงานั้นกลับดุร้าย และอันตรายยิ่งกว่าช้างที่มีงา โดยจะพุ่งเข้าใส่เลยทันที สันนิษฐานว่าเป็นเพราะพันธุกรรมตกทอดกันมา จากการถูกมนุษย์ล่าเอางาElephant, "Rouge Nature With Dave Salmoni" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและช้างพุ่มไม้แอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยเสือใหญ่

วงศ์ย่อยเสือใหญ่ หรือ วงศ์ย่อยเสือ (Panther, Big cat) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pantherinae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ คือ เป็นเสือขนาดใหญ่ ที่อุ้งตีนมีซองหุ้มเล็บได้ทั้งหมด ในลำคอมีกระดูกกล่องเสียงชิ้นกลางดัดแปลง มีลักษณะเป็นแถบเส้นเอ็นสั่นไหวได้ดี จึงสามารถใช้ส่งเสียงร้องดัง ๆ ได้ ที่เรียกว่า คำราม จากการศึกษาพบว่า วงศ์ย่อยนี้แยกออกมาจากวงศ์ย่อย Felinae เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอพบว่า เสือดาวหิมะ เป็นรากฐานของเสือในวงศ์ย่อยนี้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีจีโนมที่แตกต่างกันของเสือและแมวในวงศ์นี้ โดยเสือที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 7 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา และพบเพียงชนิดเดียวในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและวงศ์ย่อยเสือใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เสือและแมว

วงศ์เสือและแมว (Cat, Felid, Feline) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและวงศ์เสือและแมว · ดูเพิ่มเติม »

สกุลแพนเทอรา

กุลแพนเทอรา (Roaring cat) เป็นสกุลของวงศ์ Felidae (วงศ์แมว) ที่ประกอบไปด้วย เสือโคร่ง, สิงโต, เสือจากัวร์, และ เสือดาว สปีชีส์ของสกุลเป็นสมาชิกประมาณครึ่งหนึ่งของวงศ์ย่อย Pantherinae ใช้ชื่อสกุลว่า Panthera เสือในสกุลแพทเทอรา ทั้ง 4 ชนิดมีโครงสร้างทางกายวิภาคที่ช่วยให้พวกมันสามารถคำรามได้ เริ่มแรกมีสมมุติฐานว่าเกิดจากการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่การศึกษาครั้งใหม่แสดงว่าความสามารถในการคำรามมาจากลักษณะสัณฐานอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องเสียง เสือดาวหิมะ (Uncia uncia) บางครั้งถูกรวมอยู่ในสกุล Panthera แต่มันไม่สามารถคำรามได้ เพราะแม้ว่ามันมีขบวนการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่ขาดลักษณะพิเศษของกล่องเสียงไป.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและสกุลแพนเทอรา · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

หมูป่า

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและหมูป่า · ดูเพิ่มเติม »

อิมพาลา

อิมพาลา (Impala) เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาใหญ่เป็นเกลียว ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Aepycerotinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวัวหรือแพะ, แกะ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้และสกุลนี้ คำว่า "อิมพาลา" มาจากภาษาซูลู ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้ ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี..

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและอิมพาลา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติวีรูงกา

อุทยานแห่งชาติวีรูงกา (Virunga National Park; Parc National des Virunga) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีเนื้อที่กว่า 8,090 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและอุทยานแห่งชาติวีรูงกา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติครูเกอร์

right อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ (Kruger National Park) เดิมคือ เขตสงวนล่าสัตว์ซาบี (Sabi Game Reserve) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแอฟริกาใต้ ซึ้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ พอล ครูเกอร์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐทรานส์เวล นับเป็นอุทยานแห่งใหญ่ที่แห่งหนึ่ง และเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติตามประกาศของยูเนสโก อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีแลนด์

อีแลนด์ (Eland) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่จำพวกแอนทีโลปสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Taurotragus อีแลนด์ จัดเป็นแอนทีโลปขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปแอฟริกา น้ำหนักตัวหลายร้อยกิโลกรัม (ประมาณ 800-900 กิโลกรัมในตัวผู้ และ 300-500 กิโลกรัมในตัวเมีย) อีแลนด์มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 2 เมตร และความยาวลำตัวได้ถึง 2.4-3.4 เมตร มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขาของตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่า แต่เขาของตัวเมียมีความยาวกว่า เนื้อของอีแลนด์มีโปรตีนมากกว่าเนื้อวัวและไขมันน้อยกว่า และนมของอีแลนด์มีระดับแคลเซียมสูงมาก ด้วยเหตุนี้อีแลนด์จึงได้รับการคัดเลือกว่ามีคุณภาพและปริมาณเนื้อนมในแอสคาเนีย-โนวาสวนสัตว์ในยูเครน แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจในยุโรป แต่อีแลนด์ในแอฟริกาบางท้องถิ่นชาวพื้นเมืองได้เลี้ยงไว้เพื่อทำการทำไร่ไถ่นาเหมือนกับควายในทวีปเอเชี.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและอีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้แม่น้ำไนล์

ระเข้แม่น้ำไนล์ (Nile crocodile) เป็นจระเข้ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ จระเข้แม่น้ำไนล์ เป็นจระเข้ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองมาจากจระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 3-5 เมตร แต่ตัวที่ยิ่งมีอายุมากจะยาวได้มากกว่านั้น ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาวได้ตั้งแต่ 2.4-4 เมตร น้ำหนักตั้งแต่ 225-500 กิโลกรัม แต่ตัวผู้ที่ใหญ่อาจหนักได้ถึง 750 กิโลกรัม มีรายงานพบตัวที่ยาวที่สุดในแทนซาเนียมีความยาว 6.47 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,090 กิโลกรัมWood, The Guinness Book of Animal Facts and Feats.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและจระเข้แม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมสันส์กาเซลล์

ทอมสันส์กาเซลล์ (Thomson’s gazelle) เป็นกาเซลล์ชนิดหนึ่งในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae โดยได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่โจเซฟ ทอมสัน นักสำรวจชาวสกอต ทอมสันส์กาเซลล์จัดเป็นแอนทิโลปขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร หางยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นถึงไหล่ประมาณ 70 เซนติเมตร ขนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองมีแถบสีดำพาดอยู่ทั้งสองข้างของลำตัว ขนที่บริเวณท้องเป็นสีขาว หางมีสีดำ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่เขาของตัวเมียจะเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ น้ำหนักเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 20-40 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในบริเวณภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกา เช่น เคนยา, แทนซาเนีย มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ตามทุ่งหญ้าที่หญ้าไม่สูงมากนักหรืออยู่ตามทุ่งโล่งที่มีพุ่มไม้ขึ้นกระจัดกระจาย เป็นสัตว์ที่ปราดเปรียวโดยสามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อแรกเกิด ลูกทอมสันส์กาเซลล์จะหมอบซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้า โดยแม่จะแวะมาให้นมเป็นระยะ ประมาณ 5-6 วัน จนกว่าจะแข็งแรงพอที่จะวิ่งตามฝูงได้ และจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ประมาณ 8-9 เดือน มีระยะตั้งท้องนาน 5.5-6 เดือน ออกลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ตัว ทอมสันส์กาเซลล์มีนิสัยการกินแบบเดียวกับสัตว์ในวงศ์ Bovinae มากกว่าการกินใบไม้พุ่มแบบสัตว์ในวงศ์ Caprinae มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารหยาบเป็นเนื้อสูง ในธรรมชาติ ทอมสันส์กาเซลล์จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้ออยู่เสมอ ๆ เช่น สิงโต, เสือดาว, เสือชีตาห์ หรือไฮยีนา เป็นต้น ในประเทศไทย ทอมสันส์กาเซลล์กำลังจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ จากการสนับสนุนโดยกรมปศุสัตว์ให้เกษตรกรได้เลี้ยง.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและทอมสันส์กาเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขารูเวนโซรี

right ทิวเขารูเวนโซรี (Ruwenzori Range) ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อพรมแดนระหว่างประเทศยูกันดากับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (เดิมคือประเทศซาเอียร์) ทิวเขารูเวนโซรีทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวชายแดนระหว่างยูกันดากับสาธารณรัฐฯ คองโก เป็นแนวยาวประมาณ 120 กิโลเมตร กว้าง 65 กิโลเมตร บริเวณทิวเขาเป็นหินแกรนิตที่ถูกแรงกดดันทำให้ถูกยกตัวขึ้นมาเมื่อหลายล้านปีที่แล้วและมีการทรุดลงอีกทำให้เกิดหุบเขาทรุด พิกัดทิวเขาแห่งนี้อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 48 กิโลเมตร แต่บนยอดเขากลับมีหิมะตลอดทั้งปีและปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็ง ทิวเขาแห่งนี้มียอดเขาที่สูงกว่าระดับ 4,877 เมตร ถึง 9 ลูก เขาสแตนลีย์เป็นเขาที่สูงที่สุดในทิวเขารูเวนโซรี มียอดเขามาร์เกรีตาเป็นยอดที่สูงสุด สูงกว่า 5,109 เมตร คำว่า "รูเวนโซรี" เป็นภาษาถิ่นแอฟริกาแปลว่า "ผู้บันดาลฝน" ซึ่งก็เป็นความจริงตามชื่อ เพราะว่ากระแสลมทางตะวันตกจะพัดความชื้นจากลุ่มน้ำคองโก พาดผ่านภูเขา แล้วถูกยกตัวสูงขึ้นตามภูเขาทำให้ไอน้ำถูกกลั่นตัวเป็นเกร็ดน้ำแข็งบริเวณยอดเขาและกลั่นตัวเป็นฝนบริเวณเชิงเขา ทำให้ภูเขามีเมฆปกคลุมอยู่ตลอดปี.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและทิวเขารูเวนโซรี · ดูเพิ่มเติม »

ควายป่าแอฟริกา

วายป่าแอฟริกา (African buffalo, Cape buffalo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) วงศ์ย่อยวัวและควาย (Bovinae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Syncerus ควายป่าแอฟริกามีลักษณะรูปร่างคล้ายกับควายป่า (Bubalus arnee) และควายบ้าน (B. bubalis) ที่พบในทวีปเอเชีย แต่ทว่ามีรูปร่างที่บึกบึนกว่ามาก มีนิสัยว่องไว่และดุร้ายยิ่งกว่างควายป่าเอเชียอย่างมาก และมีส่วนโคนเขาที่ย้อนเข้าหากัน ในตัวผู้จะหนา และโคนเขาชนกัน ขณะที่ตัวเมียจะมีเขาที่เล็กกว่า และโคนเขาไม่ชนกัน ลำตัวมีสีเข้ม กีบเท้ามีลักษณะโค้งกลมขนาดใหญ่ ลำตัวมีความยาว 2.1–3.4 เมตร น้ำหนักมากกว่า 700 กิโลกรัมขึ้นไป มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 22–25 ปี พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ บริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าสะวันน่า และบึงน้ำขนาดใหญ่ทั่วไป กินหญ้าและใบไม้เป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยมักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ชอบที่จะแช่ปลักโคลนเหมือนควายในทวีปเอเชีย โดยมีตัวเมียและลูกเป็นส่วนใหญ่ของฝูง โดยมีตัวผู้ที่มีอายุมากที่สุดเป็นจ่าฝูง มีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 340 วัน เมื่อถูกคุกคามจากสัตว์อื่น เช่น สิงโต ทั้งฝูงจะหันบั้นท้ายเข้าชนกัน เพื่อป้องกันลูกควายวัยอ่อนที่ยังป้องกันตัวไม่ได้ ให้อยู่ในวงล้อมป้องกันจากการถูกโจมตี ควายป่าแอฟริกาได้รับความสนใจในเชิงการท่องเที่ยวดูสัตว์ โดยถูกจัดให้เป็น 1 ใน 5 ผู้ยิ่งใหญ่ของสัตว์ป่าแอฟริกา อันประกอบไปด้วย สิงโต, ช้างแอฟริกา, ควายป่า, แรด และเสือดาว.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและควายป่าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ซูลู

นักรบซูลูในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โปรดสังเกตชาวยุโรปแถวหลัง ซูลู (Zulu) เป็นชนเผ่ากลุ่มหนึ่งของแอฟริกา มีจำนวนประชากรประมาณ 11 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่อาศัยในควาซูลู-นาตาล แอฟริกาใต้ มีจำนวนเล็กน้อยที่อยู่อาศัยในซิมบับเว แซมเบียและโมแซมบีก ภาษาอีซิซูลู (isiZulu) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาบันตู (Bantu) ซึ่งจัดอยู่ในภาษาลุ่มย่อย "นูนิ" (Nguni) ราชอาณาจักรซูลูมีบทบาทสำคัญมากในประวัติศาสตร์ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2344 - พ.ศ. 2444 (คริสต์ศตวรรษที่ 19-20) ในยุคแห่งการถือผิว ชาวซูลูถูกจัดให้เป็นประชาชนชั้น 2 และถูกดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง ปัจจุบันชาวซูลูเป็นชนเผ่าที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศแอฟริกาใต้และมีสิทธิเสรีภาพแห่งมนุษยชนเท่าเทียมกับประชาชนทุกเชื้อชาติและชนเผ่าในประเท.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและซูลู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและประเทศซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคเมอรูน

แคเมอรูน (Cameroon; Cameroun) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแคเมอรูน (Republic of Cameroon; République du Cameroun) เป็นสาธารณรัฐในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตจรดไนจีเรีย ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐคองโก กาบอง อิเควทอเรียลกินี.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและประเทศแคเมอรูน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโซมาเลีย

ซมาเลีย (Somalia; Soomaaliya; الصومال) หรือชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย (Federal Republic of Somalia; Jamhuuriyadda Federaalka Soomaaliya; جمهورية الصومال الفدرالية) มีชื่อเดิมว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี และ สาธารณรัฐโซมาลี มีพื้นที่ติดกับแหลมแอฟริกา มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจีบูติ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเคนยา มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับประเทศเยเมนโดยมีอ่าวเอเดนเป็นพรมแดนทางทะเล ทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดกับประเทศเอธิโอเปี.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและประเทศโซมาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แรดขาว

แรดขาว (White rhinoceros, White rhino, Square-lipped rhinoceros) เป็นแรดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ceratotherium simum จัดว่าเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองลงมาจากช้าง เพราะแรดขาวสามารถที่จะมีความยาวลำตัวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน มีผิวสีน้ำตาลอมเทาหรือเหลือง จนได้ชื่อว่า "แรดขาว" มีนอ 2 นอ ความยาวของนอที่ใหญ่ที่สุดอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร ริมฝีปากบนของแรดขาวจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่มีติ่งยื่นแหลมออกมาเหมือนแรดชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะแรดขาวชอบที่จะกินหญ้าหรือพืชที่อยู่ตามพื้นดินหรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ มากกว่าใบไม้ มีหูที่ยาวและปลายแหลม หน้าผากลาดและมน หัวไหล่นูนเป็นก้อน ผิวหนังเป็นตุ่มนูนเล็กน้อย ตามลำตัวไม่มีขน ยกเว้นที่ปลายหูและหาง กีบเท้ามีทั้งหมด 3 กีบ แรดขาวมีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปแอฟริกาตอนใต้ พบตั้งแต่ซูลูแลนด์ ถึงอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ในแอฟริกาใต้ และยังพบได้ใน ซูดานตอนใต้, ยูกันดา และบริเวณใกล้ ๆ คองโก มีทั้งหมด 2 ชนิดย่อย คือ แรดขาวเหนือ (C. s. simum) และแรดขาวใต้ (C. s. cottoni) แรดขาวมักอยู่เป็นครอบครัวเล็ก ๆ ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 3-4 ในพื้นที่มีมีอาหารอุดมสมบูรณ์อาจพบอยู่หลายครอบครัวหากินอยู่ด้วยกัน บางครั้งอาจพบมากถึง 18 ตัว โดยมีตัวผู้คุมฝูงตัวเดียว นอกนั้นเป็นตัวเมียและลูก แรดขาวมีการกระจายถิ่นหากินกว้าง โดยใช้กองอุจจาระและปัสสาวะเป็นการบอกอาณาเขตของมัน ตัวเมียที่มีลูกจะยอมให้ตัวผู้เข้าใกล้เฉพาะตอนที่เป็นสัดเท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะต่อสู้ไล่ตัวผู้ไปทันที ในฤดูร้อนชอบหลบร้อนตามร่มไม้หรือแช่ปลัก บางครั้งอาจแช่ปลักทั้งคืนเพื่อบรรเทาความร้อนและกำจัดแมลง ในฤดูหนาวจะนอนอาบทรายแทนการแช่ปลัก แรดขาวโตเต็มที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 7-10 ปี ฤดูผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ระยะการตั้งท้องนานประมาณ 18 เดือน มีอายุประมาณ 40-50 ปี ลูกแรดขาวจะอยู่ร่วมกับแม่จนอายุประมาณ 3-5 ปี โดยแรดตัวเมียจะออกลูกเพียงครั้งละตัว ในอดีตแรดขาวจะถูกล่าอย่าหนักเพื่อเอานอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคล่าอาณานิคม จนทำให้ประชากรของแรดขาวเกือบสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบันได้มีกฎหมายคุ้มครองแรดขาวและห้ามการล่าและค้าขายนอแรดอย่างเด็ดขาด รวมถึงแรดชนิดอื่น ๆ ด้วย ทำให้ประชากรของแรดขาวมีเพิ่มมากขึ้นจากการอนุรักษ์ แต่กระนั้นก็คงมีการลักลอบอยู่เป็นร.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและแรดขาว · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาใต้สะฮารา

ประเทศที่สหประชาชาติจัดเป็นแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่อยู่ในทวีปแอฟริกาและอยู่ใต้ทะเลทรายสะฮารา โดยมีประเทศในภูมิภาค 54 ประเทศ มีประชากรรวมกันมากถึง 574 ล้านคน ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 16 % ของพื้นดินของโลก โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ และบางส่วนเป็นทะเลทร.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและแอฟริกาใต้สะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

แซนซิบาร์

แผนที่เกาะหลักของแซนซิบาร์ แซนซิบาร์ (Zanzibar) คือชื่อรวมของเกาะ 2 เกาะของประเทศแทนซาเนีย คือ เกาะอุงกูจา (นิยมเรียกว่าเกาะแซนซิบาร์) และเกาะเพมบา เมืองหลวงของแซนซิบาร์ คือเมืองแซนซิบาร์ตั้งอยู่บนเกาะอุงกูจา ซึ่งมีเขตเมืองเก่าเป็นมรดกโลก แซนซิบาร์มีการปกครองตนเอง อย่างไรก็ดี แซนซิบาร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของแทนซาเนีย ประชากรของแซนซิบาร์สำรวจเมื่อ..

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและแซนซิบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮยีน่า

ีนา (hyena; มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า ὕαινα ออกเสียงว่า /ฮือไอนา/ หรือ /ฮือแอนา/) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Hyaenidae ไฮยีนา มีลักษณะและรูปร่างโดยรวมคล้ายกับสุนัขหรือหมาป่า ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์ Canidae แต่ไฮยีนาก็ไม่ใช่สุนัข หากแต่เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ของตนเองต่างหาก โดยอยู่ในอันดับย่อย Feliformia ซึ่งใกล้เคียงกับแมวและเสือ (Felidae) มากกว.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและไฮยีน่า · ดูเพิ่มเติม »

เสือชีตาห์

ือชีตาห์ (Cheetah) เป็นเสือเล็กชนิดหนึ่ง เนื่องไม่สามารถส่งเสียงคำรามได้ แต่จากรูปร่างภายนอก ทำให้นิยมเรียกกันว่า เสือชีตาห์ เสือชีตาห์มีที่อยู่อาศัยในทุ่งหญ้าสะวันนา เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วมากวิ่งได้เร็วประมาณ 110–120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นสัตว์บกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก เป็นผลมาจากความสามารถในการโค้งงอของกระดูกสันหลังในการเคลื่อนที่และเมื่อพุ่งตัวกระดูกสันหลังจะเหยียดออก ปัจจุบันเสือชีตาห์ลดจำนวนลงในทวีปเอเชียเหลืออยู่แค่ในอิหร่านไม่เกิน 20 ตัว ส่วนในแอฟริกาประมาณการว่าเหลืออยู่ราว 4,000 ตัวเท่านั้น เสือชีตาห์มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acinonyx jubatus และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Acinonyx ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเสือชีตาห์ชนิดอื่น ๆ นั้นได้สูญพันธุ์ไปหมดในยุคน้ำแข็งสุดท้าย จึงทำให้สายพันธุ์กรรมของเสือชีตาห์ทั้งหมดในปัจจุบันใกล้ชิดกันมาก.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและเสือชีตาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาว

ำหรับเสือดำ มีบทความขยายที่: เสือดำ เสือดาว หรือ เสือดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) เป็นเสือขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (P. tigris) thumb.

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาวีรูงกา

ทือกเขาวีรูงกา (Virunga Mountains) เป็นแนวภูเขาไฟในแอฟริกาตะวันออก ตามพรมแดนด้านเหนือของรวันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และยูกันดา เทือกเขานี้เป็นสาขาหนึ่งของอัลเปอร์ไทน์ริฟต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกรตริฟต์แวลลีย์ ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเอ็ดเวิร์ดและทะเลสาบกิวู คำว่า "วีรูงกา" เป็นคำในภาษาอังกฤษของคำว่า ibirunga ในภาษากินยาร์วันดา ซึ่งมีความหมายว่า "เทือกเขา" เทือกเขาวีรูงกาประกอบด้วยภูเขาไฟหลัก 8 ลูก ส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว ยกเว้นภูเขาไฟเอ็นยิรากอนโก (3,462 เมตร) และภูเขาไฟนัยยะมูรกิรา (3,063 เมตร) ทั้งสองอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เสือดาวแอฟริกาและเทือกเขาวีรูงกา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

African leopardPanthera pardus pardusเสือดาวแอฟริกัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »