โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เลสลี จางและโหด เลว ดี 2

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เลสลี จางและโหด เลว ดี 2

เลสลี จาง vs. โหด เลว ดี 2

ลสลี จาง (อังกฤษ: Leslie Cheung) อดีตนักแสดงและนักร้องฮ่องกงที่มีชื่อเสียง เลสลี จาง เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1956 ที่เกาลูน มีชื่อเป็นภาษาจีนว่า จาง กั๊วหยง (อักษรจีนตัวเต็ม: 張國榮, อักษรจีนตัวย่อ: 张国荣, พินอิน: Zhāng Guóróng) โดยมีชื่อแรกเกิดว่า จาง ฟะฉุง (張發宗; Chong Koet-yùng; Chong Fat-chûng) เลสลี จาง เป็นลูกคนสุดท้องในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 10 คน โดยที่พี่คนที่ 9 นั้นอายุห่างกันมากถึง 8 ปี บิดานั้นมีอาชีพเป็นช่างตัดเสื้อรายใหญ่ที่เคยตัดเสื้อให้กับบุคคลที่มีชื่อเสียงมาแล้ว เช่น วิลเลียม โฮลเดน หรือ อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ในวัยเด็กนั้นเลสลี จาง เคยเผยว่าตัวเองรู้สึกเหงามากที่ต้องถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยวกับบรรดาตุ๊กตาของเล่นต่าง ๆ และพ่อก็ไม่เคยควบคุมอารมณ์ตนเองได้เลย ซึ่งชีวิตในครอบครัวนั้นเต็มไปด้วยการทะเลาะเบาะแว้งและการใช้อารมณ์ ดังนั้นจึงโตมาด้วยการที่ยายเป็นผู้เลี้ยงดู เลสลี จาง เข้าศึกษาด้านสิ่งทอที่มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ เพื่อสืบทอดกิจการของครอบครัว แต่ต้องกลับมาก่อนเรียนจบ เพราะบิดาป่วยหนัก เริ่มต้นอาชีพในวงการบันเทิงด้วยการเป็นนักร้องในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 มีผลงานเพลงมากมาย ซึ่งในส่วนของการโปรโมตผลงานเพลงนี้ เลสลี จาง เคยมาโปรโมตในประเทศไทยด้วยในปี พ.ศ. 2525 ที่โรงแรมมณเฑียร ส่วนผลงานทางด้านการแสดง เลสลี จาง เริ่มต้นด้วยภาพลักษณ์ในแบบ "เด็กเสเพล" หรือ "แบดบอย" ในวงการ มีผลงานในภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง เช่น A Better Tomorrow ใน 2 ภาคแรก จากการกำกับของจอห์น วู ในปี ค.ศ. 1986 และ ค.ศ. 1987 ที่แสดงคู่กับนักแสดงรุ่นพี่อย่าง โจว เหวินฟะ และตี้หลุง หรือในภาพยนตร์ชุด โปเยโปโลเย ที่แสดงอยู่กับ หวัง จู่เสียน รวมทั้งรับบทนำในภาพยนตร์ของหว่อง คาไว ในเรื่อง Days of Being Wild ในปี ค.ศ. 1991, Ashes of Time ในปี ค.ศ. 1994 และ Happy Together ในปี ค.ศ. 1997 แต่บทบาทการแสดงที่ทำให้ เลสลี จาง ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก คือ การรับบทเป็น เตี่ยอี๋ นักแสดงอุปรากรจีนที่เป็นรักร่วมเพศ จากภาพยนตร๋ในการกำกับของ เฉิน ข่ายเกอ เรื่อง Farewell My Concubine ในปี ค.ศ. 1993 ซึ่งเลสลี จาง สามารถตีบทแตก และทำให้ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในการเข้าฉายทั่วโลก รวมถึงได้มีชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมอีกด้วย จากนั้นในปี ค.ศ. 2000 เลสลี จาง เปิดเผยว่าตนเองเป็นเกย์ รวมทั้งแต่งตัวเป็นผู้หญิงในการร้องเพลงบนเวทีอีกด้วย แม้เมื่อวัย 22 จะเคยขอ เหมา ซุ่นหวิน อดีตแฟนสาวแต่งงานด้วยก็ตาม จากผู้จัดการออนไลน์ เลสลี จาง เสียชีวิตอย่างกะทันหันจากการทำอัตวินิบาตกรรมด้วยการกระโดดลงมาจากชั้น 24 ของโรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล ใจกลางฮ่องกง เมื่อเวลา 17.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 โดยเชื่อว่ามีสาเหตุจากความรักที่ไม่สมหวังกับผู้จัดการส่วนตัว โดยทิ้งจดหมายซึ่งเขียนว่าตัวเองได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้า Stephen Kelly,, 8 May 2003 ในปัจจุบัน เมื่อถึงวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ที่ฮ่องกงจะมีการจัดงานรำลึกถึงการจากไปของเลสลี จาง เสมอที่หน้าโรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล. หด เลว ดี 2 (A Better Tomorrow II; 英雄本色 2; พินอิน: Yīngxióng běnsè èr) ภาพยนตร์แอ๊คชั่นสัญชาติฮ่องกง ในปี ค.ศ. 1987 เป็นภาคต่อของ A Better Tomorrow.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เลสลี จางและโหด เลว ดี 2

เลสลี จางและโหด เลว ดี 2 มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2529พ.ศ. 2530พินอินภาษาอังกฤษฮ่องกงจอห์น วูตี้ หลุงประเทศไทยโหด เลว ดีโจว เหวินฟะเอเอสทีวีผู้จัดการ

พ.ศ. 2529

ทธศักราช 2529 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1986 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2529และเลสลี จาง · พ.ศ. 2529และโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2530

ทธศักราช 2530 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1987 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2530และเลสลี จาง · พ.ศ. 2530และโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

พินอินและเลสลี จาง · พินอินและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ภาษาอังกฤษและเลสลี จาง · ภาษาอังกฤษและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ฮ่องกงและเลสลี จาง · ฮ่องกงและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น วู

อห์น วู (John Woo, 吳宇森, พินอิน: Wú Yǔsēn) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่ไปมีผลงานในฮอลลีวูดและมีชื่อเสียงในระดับโลก เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1946 ณ เมืองกว่างโจว ประเทศจีน มีชื่อในภาษาจีนว่า อู๋ อี่ว์เซิน ในช่วงวัยเด็กครอบครัวของเขามีปัญหาทางการเมืองของจีนอยู่มาก จึงทำให้ต้องเขามาอาศัยในฮ่องกงในปี ค.ศ. 1953 ต่อมาพ่อของเขาก็ล้มป่วย ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพให้กับครอบครัวได้ ทำให้เขาต้องพึ่งเงินจากทางโบสถ์เพื่อใช้เรียนหนังสือ.

จอห์น วูและเลสลี จาง · จอห์น วูและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

ตี้ หลุง

ตี้ หลง (Ti Lung, Tommy Tam Fu-Wing, Dik Lung, พินอิน: Dí Lóng) เป็นนักแสดงภาพยนตร์จีนกำลังภายในชาวฮ่องกง ตี้ หลงเกิดที่เมืองซินฮุย มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เริ่มฝึกฝนศิลปะการต่อสู้แบบหวิงชุน และได้รับคัดเลือกให้แสดงภาพยนตร์ของชอว์บราเดอร์ส หลังจบมัธยมต้น ตั้งแต่ปี..

ตี้ หลุงและเลสลี จาง · ตี้ หลุงและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและเลสลี จาง · ประเทศไทยและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

โหด เลว ดี

ำหรับภาพยนตร์เกาหลี ดูได้ที่ โหด เลว ดี (ภาพยนตร์เกาหลี) โหด เลว ดี (A Better Tomorrow; 英雄本色; พินอิน: Yīngxióng běnsè) ภาพยนตร์ดราม่าแอ็คชั่นสัญชาติฮ่องกง นำแสดงโดย ตี้ หลุง, โจว เหวินฟะ, เลสลี่ จาง กำกับโดย จอห์น วู.

เลสลี จางและโหด เลว ดี · โหด เลว ดีและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

โจว เหวินฟะ

ว เหวินฟะ ในเรื่อง ศึกโค่นบัลลังก์วังทอง (เข้าฉาย 1 กุมภาพันธ์ 2550) โจว เหวินฟะ (Chow Yun fat; เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ที่เกาะลัมมา ฮ่องกง) เป็นหนึ่งในสุดยอดนักแสดงฮ่องกงที่ได้ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์นานาชาติ ในฐานะเดียวกับ บรูซ ลี และ เฉินหลง โจว เหวินฟะ เป็นนักแสดงที่มีบุคลิกโดดเด่น ได้รับการเปรียบว่าคล้ายคลึงกับแครี แกรนท์ นักแสดงฮอลลีวูดแต่ดูบึกบึนและจัดจ้านกว่า โจว เหวินฟะ เกิดบนเกาะลัมมา นอกชายฝั่งของเกาะฮ่องกง มีชีวิตวัยเด็กที่ยากไร้ แต่โชคดีที่เขาได้เรียนจนจบวิทยาลัย ชีวิตของเขาถึงจุดพลิกผันเมื่อได้รับเข้าเป็นนักแสดงฝึกหัดในบริษัททีวีบี ที่เป็นสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น เขาใช้เวลาไม่นานในการไต่เต้าขึ้นมาเป็นนักแสดงที่เป็นที่รู้จักของประชาชน หลังจากที่ละครโทรทัศน์เรื่องเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (ภาษาจีน:上海灘 พินอิน:Shang Hai tan - แปลตรงตัวว่า'หาดเซี่ยงไฮ้') ประสบความสำเร็จใน พ.ศ. 2523 แม้ว่าโจว เหวินฟะ จะประสบความสำเร็จจากผลงานทางจอแก้วอย่างต่อเนื่อง ความฝันอันสูงสุดของเขายังคงเป็นการได้แสดงภาพยนตร์ทางจอเงิน แต่อย่างไรก็ดี การได้ไปโลดแล่นทางหนังจอเงินของเขาบางครั้งบางคราวในภาพยนตร์ต้นทุนต่ำ กลับกลายเป็นความหายนะ เขาประสบความสำเร็จในที่สุดเมื่อได้ร่วมงานกับจอห์น วู ผู้กำกับหน้าใหม่ที่ไม่มีใครรู้จักในขณะนั้น ในภาพยนตร์บู๊ต้นทุนต่ำเรื่อง โหด เลว ดี ในปีพ.ศ. 2529 ขึ้นอับดับสูงในการจัดอันดับหนังทำเงินในหลายประเทศในเอเชีย และส่งให้จอห์น วู และโจว เหวินฟะ กลายเป็นสุดยอดดารา โจว เหวินฟะได้ถือโอกาสนี้ล้างมือจากวงการโทรทัศน์และอุทิศตนให้กับการแสดงภาพยนตร์กังฟูมากขึ้น ภาพยนตร์เรื่องต่อมาของเขาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนองเลือดของวีรบุรุษ เรื่อง โหดตัดโหด (พ.ศ. 2532) และ ทะลักจุดแตก (พ.ศ. 2535) และภาพยนตร์รักโรแมนติกเรื่อง ดอกไม้กับนายกระจอก (พ.ศ. 2530) อย่างไรก็ตาม เขาสร้างชื่อมากที่สุดจากบทของบุรุษแกร่งผู้ทรงเกียรติ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรืออาชญากร เขาได้ร่วมแสดงกับหลิวเต๋อหัว ในภาพยนตร์เรื่อง คนตัดคน (พ.ศ. 2532) กำกับโดย หวังจิ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่คนจำนวนมาก และได้กลายเป็นภาพยนตร์ที่โด่งดังมากในฮ่องกง ทำลายสถิติหนังทำเงินทุกเรื่องที่มีมา และเป็นที่มาของภาพยนตร์แนวเจ้าพ่อพนันจำนวนมาก รวมถึงเรื่อง คนตัดเซียน ภาคต่อในแบบตลกขบขันที่มี โจวซิงฉือ แสดงนำ โจว เหวินฟะนอกจากจะเป็นดาราที่ร้อนแรงที่สุดในฮ่องกงคนหนึ่งแล้ว เขายังถูกฮอลลีวูดเรียกตัวไปเพื่อพยายามปั้นให้เขาประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติอย่างเดียวกันกับในฮ่องกงและเอเชีย แต่คราวนี้ภาพยนตร์ฮอลลีวูดสองเรื่องแรกของเขา คือ นักฆ่ากระสุนโลกันต์ (พ.ศ. 2541) กำกับโดยอังตวน ฟูควา และคนคอรัปชั่น (พ.ศ. 2542) ไม่ประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศเท่าที่ควร ภาพยนตร์เรื่องต่อมาคือ แอนนา แอนด์ เดอะ คิง (พ.ศ. 2542) ที่ถูกแบนห้ามฉายในประเทศไทย ทำได้ดีกว่าเดิม แต่ความสำเร็จกลับตกอยู่กับดาราสาวโจดี ฟอสเตอร์เสียส่วนใหญ่ และราวกับเป็นเรื่องประชดแดกดัน เมื่อ โจว เหวินฟะ ยอมเล่นเป็นดาราสมทบในภาพยนตร์เรื่อง พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก (พ.ศ. 2543) กำกับโดยอั้ง ลี่ หนังเรื่องนี้กลับประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย ได้ขึ้นอันดับหนังทำเงินสูงสุดในสหรัฐ และยังได้รับรางวัลออสการ์ถึงสี่สาขาด้วยกัน (ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ถ่ายภาพยอดเยี่ยม และ กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม) โจว เหวินฟะ ยังคงรอคอยกับความสำเร็จแบบเดียวกับที่เขาได้เคยลิ้มรสในฮ่องกง ครั้งหนึ่ง เขาเคยให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวยอมรับว่า เป้าหมายสูงสุดของเขาคือการได้รางวัลออสการ์ ในฐานะดารานำยอดเยี่ยมฝ่ายชาย และเมื่อมีคนถามว่าเขาจะทำอย่างไรหากมันไม่เป็นจริงขึ้นมา โจว เหวินฟะตอบเพียงว่า "ผมก็คงต้องหัวเราะกับมัน..." งานอดิเรกที่โจว เหวินฟะโปรดปรานคือการ.

เลสลี จางและโจว เหวินฟะ · โจว เหวินฟะและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

เลสลี จางและเอเอสทีวีผู้จัดการ · เอเอสทีวีผู้จัดการและโหด เลว ดี 2 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เลสลี จางและโหด เลว ดี 2

เลสลี จาง มี 53 ความสัมพันธ์ขณะที่ โหด เลว ดี 2 มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 13.41% = 11 / (53 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เลสลี จางและโหด เลว ดี 2 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »