โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ดัชนี เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.

138 ความสัมพันธ์: บาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็งช็อกพ.ศ. 2554กระหม่อมกระต่ายกรดแล็กติกกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสมกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายกะโหลกศีรษะมนุษย์การชักการชันสูตรพลิกศพการช่วยหายใจการย้อมสีกรัมการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กการหายใจล้มเหลวการอักเสบการจับลิ่มของเลือดการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์การทดลองทางคลินิกการดูแลประคับประคองการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์การตรวจเลือดการติดเชื้อการฉีดเข้าหลอดเลือดดำการเจาะน้ำไขสันหลังการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวฝีภาวะพิษเหตุติดเชื้อภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกินภาวะตัวเย็นเกินภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจายยายากันชักยาต้านไวรัสยาปฏิชีวนะยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ระบบภูมิคุ้มกันระบบประสาทกลางราลิมโฟไซต์ลิ้นหัวใจลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่างวัณโรควัณโรคปอดวัคซีนวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์สมองสมองบวม...สมองอักเสบสหรัฐสเตอรอยด์หลอดเลือดหัวใจเต้นเร็วหูชั้นกลางอักเสบหูหนวกหนองหน่วยอภิบาลอะพอพโทซิสอะมีบาอะไซโคลเวียร์อาการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมองอาเจียนอิบน์ ซีนาอุบัติการณ์ (วิทยาการระบาด)อีสุกอีใสอีโอซิโนฟิลฮิปพอคราทีสผื่นจุลินทรีย์ทางเชื่อมโพรงสมองความผิดปกติแต่กำเนิดความดันโลหิตต่ำความไวและความจำเพาะคางทูมงูสวัดต่อมหมวกไตซิฟิลิสซิโปรฟลอกซาซินปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสปรสิตประสาทสมองประเทศชิลีประเทศกานาประเทศอังกฤษประเทศคิวบาประเทศนอร์เวย์ประเทศนิวซีแลนด์ประเทศไทยประเทศไนจีเรียปวดศีรษะน้ำหล่อสมองไขสันหลังแบคทีเรียแบคทีเรียแกรมลบแอมพิซิลลินแอมโฟเทอริซินบีแอสโทรไซต์โพรงอากาศอักเสบโรคมือ เท้า และปากโรคลมชักโรคติดเชื้อลิสเทอเรียโรคไมเกรนโรคไลม์ไรแฟมพิซินไวรัสไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ไวรัสเริมไขสันหลังไข้ไข้กาฬหลังแอ่นเบนซิลเพนิซิลลินเพนิซิลลินเม็ดเลือดขาวเยื่อหุ้มสมองเยื่อหุ้มเซลล์เยื่ออะแร็กนอยด์เยื่อดูราเยื่อเพียเอชไอวีเอดส์เอดินบะระเจนีวาเดอร์มอยด์ซีสต์เดอะ บีเอ็มเจเด็กซาเมทาโซนเซฟาโลสปอรินเซฟโฟแทกซิมเซฟไตรอะโซนเนื้องอกเนื้อตายเน่าเนื้อเยื่อบุผิวEscherichia coliHaemophilus influenzaeJAMAMycobacterium tuberculosisNeisseria meningitidis15 มีนาคม ขยายดัชนี (88 มากกว่า) »

บาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง

ซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง (Bacillus Calmette–Guérin, ย่อ: BCG) เป็นวัคซีนวัณโรคซึ่งเตรียมจากเชื้อ Mycobacterium bovis แบคทีเรียทรงแท่งที่ก่อวัณโรควัว ชนิดถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ เชื้อเสียศักยภาพก่อโรคในมนุษย์โดยการเพาะเชื้อต่อช่วงเป็นพิเศษในสารเพาะเชื้อ ซึ่งปกติเป็น Middlebrook 7H9 เนื่องจากเชื้อมีชีวิตวิวัฒนาการเพื่อใช้สารอาหารที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื้อจึงปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมเดิมคือเลือดมนุษย์ ได้เลวลง และไม่สามารถชักนำโรคเมื่อถูกนำเข้าสู่ตัวถูกเบียนที่เป็นมนุษย์ แต่เชื้อที่ถูกเพาะเลี้ยงดังกล่าวยังคล้ายกับบรรพบุรุษในธรรมชาติมากพอที่จะให้ภูมิคุ้มกันต่อวัณโรคมนุษย์ได้บ้าง วัคซีนบีซีจีมีประสิทธิภาพป้องกันวัณโรคเป็นระยะเวลา 15 ปี ตั้งแต่ 0 ถึง 80% อย่างไรก็ดี ผลป้องกันของวัคซีนดูเหมือนจะแปรผันตามภูมิศาสตร์และห้องปฏิบัติการที่เพาะเลี้ยงเชื้อสายพันธุ์ที่ใช้ผลิตวัคซีน เป็น วัคซีน หลักที่ใช้เพื่อป้องกัน วัณโรค ในประเทศที่พบวัณโรคได้ทั่วไป ขอแนะนำการฉีดวัคซีนหนึ่งเข็มให้แก่ทารกแรกเกิดสุขภาพดีโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ไม่ควรให้วัคซีนแก่ทารกที่ติดเชื้อ เอดส์ ในพื้นที่ที่พบวัณโรคไม่มากนัก มักจะให้วัคซีนแก่ทารกที่มีความเสี่ยงสูงที่ได้รับการทดสอบเนื่องจากสงสัยว่าอาจติดเชื้อโรคและกรณีที่ได้รับการรักษาการติดเชื้อวัณโรคเท่านั้น ผู้ใหญ่ที่ไม่มีเชื้อวัณโรคและไม่เคยได้รับวัคซีนแต่มักได้รับยาต้านวัณโรคบ่อยครั้งควรจะได้รับวัคซีนด้วยเช่นกัน ระยะเวลาการป้องกันโรคของวัคซีนมักแตกต่างกันไป ตั้งแต่สิบถึงสิบสองปี ในกลุ่มเด็กสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ประมาณ 20% และสามารถป้องกันการกำเริบของโรคในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง การให้วัคซีนทำโดยการฉีดทางผิวหนัง ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานการได้รับประโยชน์จากการให้วัคซีนเกินจากขนาดที่แนะนำ วัคซีนนี้ยังสามารถใช้ในการรักษา มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ บางประเภทอีกด้วย ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก โดยมากมักพบรอยแดง อาการบวม และความเจ็บปวดปานกลางที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีน ทั้งนี้อาจเกิด ulcer ขนาดเล็กรวมทั้งแผลเป็นหลังจากการสมานแผล ในกลุ่มผู้ที่มี ภูมิคุ้มกันต่ำ (poor immune function) มักได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนและเป็นไปได้ว่าจะไดรับผลข้างเคียงขั้นรุนแรง วัคซีนนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้ในผู้ที่อยู่ในระหว่าง การตั้งครรภ์ วัคซีนนี้เดิมผลิตจากเชื้อ Mycobacterium bovis ซึ่งโดยส่วนใหญ่พบในวัว แม้ว่าเชื้อของวัคซีนนี้จะถูกทำให้หมดฤทธิ์แล้วแต่เชื้อยังคงเป็น live วัคซีน BCG เป็นวัคซีนตัวแรกที่มีการใช้ทางการแพทย์ในปี 2464 วัคซีนนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน นับตั้งแต่ปี 2557 ราคาสำหรับการขายส่งคือ 0.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งเข็ม ในสหรัฐอเมริการาคาของวัคซีนนี้คือ 100 ถึง 200 เหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละปีมีการให้วัคซีนนี้แก่เด็กประมาณ 100 ล้านคน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและบาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ช็อก

วะช็อก (shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติKumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและช็อก · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและพ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อม

มุมมองทางด้านบนของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง มุมมองทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้า กระหม่อมข้าง และกระหม่อมกกหู กระหม่อม หรือ ขม่อม (fontanelle) เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ในกะโหลกศีรษะของทารก กระหม่อมเป็นโครงสร้างนิ่มๆ ของศีรษะทารกซึ่งแผ่นกระดูกหุ้มสมองสามารถหดชิดเข้ามาหากันได้ทำให้ศีรษะทารกผ่านช่องคลอดได้ในระหว่างคลอด การกลายเป็นกระดูก (ossification) ของกะโหลกศีรษะทำให้กระหม่อมปิดในระหว่าง 2 ขวบปีแรกของทารก การปิดของกระหม่อมทำให้กระดูกหุ้มสมองเชื่อมต่อกันเป็นข้อต่อแบบซูเจอร์ (suture) กระหม่อมที่เห็นได้ในทารกได้แก่ กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle) และกระหม่อมหลัง (posterior fontanelle) และยังมีกระหม่อมที่น่าสนใจอีก 2 คู่ได้แก่ กระหม่อมกกหู (mastoid fontanelle) และกระหม่อมสฟีนอยด์ (sphenoidal fontanelle) รวมมีทั้งหมด 6 กระหม่อม กะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้นหลักๆ ได้แก่ กระดูกหน้าผาก 2 ชิ้น, กระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น, และกระดูกท้ายทอย 1 ชิ้น กระดูกทั้งหมดเชื่อมกันด้วยข้อต่อแบบซูเจอร์ ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ของกระดูกระหว่างการคลอดและการเจริญเติบโต กระหม่อมหลังเป็นโครงสร้างบนกะโหลกศีรษะที่เป็นรอยเปิดระหว่างกระดูกที่ถูกปกคลุมด้วยเยื่อแผ่นหนา เป็นรอยเชื่อมระหว่างกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้นและกระดูกท้ายทอย (บริเวณที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda)) กระหม่อมนี้มักจะปิดระหว่าง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด กระหม่อมหน้าเป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่กว่า มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างกระดูกหน้าผาก 2 ชิ้นและกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น กระหม่อมนี้จะเปิดจนกระทั่งทารกมีอายุประมาณ 2 ปี แต่ทารกที่มีความผิดปกติเช่น โรค cleidocranial dysostosis อาจทำให้กระหม่อมนี้ปิดช้าหรือไม่ปิดเลย กระหม่อมหน้าเป็นบริเวณที่มีความสำคัญทางคลินิก การตรวจร่างกายทารกจำเป็นต้องมีการคลำกระหม่อมหน้าด้วย หากกระหม่อมหน้ายุบลงแสดงถึงภาวะขาดน้ำ (dehydration) ในขณะที่หากกระหม่อมหน้าตึงหรือปูดโปนออกมามากแสดงถึงการเพิ่มของความดันในกะโหลกศีรษะ (intracranial pressure) พ่อแม่มักจะมีความกังวลว่าทารกอาจมีแนวโน้มได้รับบาดเจ็บที่กระหม่อม แต่ในความเป็นจริงแล้วแม้ว่ากระหม่อมจะนับว่าเป็นบริเวณที่บอบบางของกะโหลกศีรษะ แต่เยื่อแผ่นที่คลุมกระหม่อมอยู่ก็มีความหนามากและทะลุผ่านได้ยากในระดับหนึ่ง กระหม่อมเป็นบริเวณที่ใช้ในการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูภาพสมองของทารก แต่เมื่อกระหม่อมปิดแล้วจะไม่สามารถใช้การอัลตร้าซาวด์ในการสังเกตสมองได้เพราะกระหม่อมจะกลายเป็นกระดูกซึ่งเป็นบริเวณกั้นเสียง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและกระหม่อม · ดูเพิ่มเติม »

กระต่าย

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งเป็นกระต่ายสายพันธุ์เล็ก และนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง กระต่าย (Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac, C\tfrac, P\tfrac, M\tfrac) X 2.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและกระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

กรดแล็กติก

กรดแล็กติก หรือ กรดน้ำนม เป็นสารประกอบเคมีซึ่งมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีหลายอย่าง แยกได้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและกรดแล็กติก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม

กลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม กลุ่มอาการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะบกพร่อง เป็นภาวะที่มักพบในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดสมอลล์เซลล์ ปอดบวม เนื้องอกสมอง บาดเจ็บที่ศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบ เป็นกลุ่มอาการที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการหลั่งวาโซเพรสซินออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลังหรือแหล่งอื่นๆ มากผิดปกติ ทำให้มีโซเดียมในเลือดต่ำ และอาจมีสารน้ำในร่างกายมากเกินได้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย

ในทางการแพทย์ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (systemic inflammatory response syndrome) หรือ SIRS เป็นภาวะการอักเสบของทั้งร่างกายโดยไม่ระบุสาเหตุของการติดเชื้อ นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพท.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะมนุษย์

กะโหลกศีรษะมนุษย์ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เมื่อแรกเกิดกะโหลกศีรษะจะประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นซึ่งเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกเหล่านี้จะเกิดการสร้างเนื้อกระดูกและเชื่อมรวมกัน แม้ว่ากะโหลกศีรษะจะเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงก็ตาม การกระทบกระเทือนที่ศีรษะอย่างแรงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตและพิการได้ ทั้งจากการบาดเจ็บจากเนื้อสมองโดยตรง การตกเลือดในสมอง และการติดเชื้อ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะของมนุษย์มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านมานุษยวิทยาและโบราณคดี ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญทางบรรพชีวินวิทยา และยังช่วยให้เข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้ในทางนิติเวชศาสตร์ กะโหลกศีรษะยังมีความสำคัญในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและการแยกความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง ซึ่งมีประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนคดีอีกด้ว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและกะโหลกศีรษะมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

การชัก

ัก (seizure) มีนิยามทางการแพทย์หมายถึงภาวะซึ่งมีภาวะกระตุ้นของเซลล์ประสาทในสมองอย่างมากผิดปกติ (abnormal excessive or synchronous neuronal activity in the brain) ซึ่งอาจแสดงอาการให้เห็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นการชักเกร็งกระตุกอย่างรุนแรง ไปจนถึงเพียงเหม่อลอยชั่วขณ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการชัก · ดูเพิ่มเติม »

การชันสูตรพลิกศพ

การชันสูตรพลิกศพ (Autopsy) คือการตรวจพิสูจน์เพื่อดูสภาพศพแต่เพียงภายนอก ค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่าผู้ตายคือใคร ตายเมื่อใด ถ้าตายโดยคนทำร้าย สงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดที่ทำให้เกิดการตายตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 129 ความว่า "ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล" ซึ่งตามกฎหมายมีความมุ่งหมายให้แพทย์และพนักงานสอบสวนดำเนินการตรวจสอบในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการชันสูตรพลิกศพ เพื่อตรวจดูสภาพศพในสถานที่เกิดเหตุนั้น อาจเป็นเหตุทำให้การจราจรติดขัดมาก อาจกลายเป็นสถานที่อุดจาตาจากสภาพศพ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนทั่วไป แพทย์และพนักงานสอบสวนย่อมมีสิทธิ์ที่จะสามารถเคลื่อนย้ายศพ เพื่อนำไปทำการชันสูตรพลิกศพยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ความว่า "เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย"มาตรา 148 การชันสูตรพลิกศพ, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ร..ต.อ หญิง นัยนา เกิดวิชัย, สำนักพิมพ์นิตินัย, 2550 อาจเห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านจราจรเป็นจำนวนมาก เกือบทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุจะเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายศพจากสถานที่เกิดเหตุเพื่อไปทำการชันสูตรพลิกศพและตรวจสอบสาเหตุการตายในสถานที่อื่นเช่น สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผ่าศพนั่นเอง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการชันสูตรพลิกศพ · ดูเพิ่มเติม »

การช่วยหายใจ

การช่วยหายใจเป็นวิธีการหนึ่งในการช่วยสนับสนุนหรือทดแทนการหายใจเองด้วยการใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อื่นช่วย อาจทำโดยการใช้เครื่องช่วยหายใจหรือการบีบถุงหรือชุดอุปกรณ์เพื่อช่วยหายใจโดยผู้ที่ได้รับการฝึกจนมีความชำนาญ เช่น แพทย์ พยาบาล ก็ได้ การช่วยหายใจแบบรุกล้ำคือการช่วยหายใจแบบที่มีการต่อท่อผ่านปากหรือผิวหนังเข้าไปยังทางหายใจ หมวดหมู่:การบำบัดการหายใจ หมวดหมู่:เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการช่วยหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

การย้อมสีกรัม

การย้อมสีกรัม สีม่วงคือ ''Staphylococcus aureus'' ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรัมบวก สีแดงคือ ''Escherichia coli'' ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรัมลบ การย้อมสีกรัม (Gram staining) เป็นวิธีการหนึ่งในการจำแนกชนิดของแบคทีเรีย สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ แบคทีเรียกรัมบวกและแบคทีเรียกรัมลบ ชื่อนี้มาจากแฮนส์ เครสตีแยน กรัม นักวิทยาแบคทีเรียชาวเดนมาร์ก ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคนิกนี้ การย้อมสีกรัมจำแนกชนิดแบคทีเรียได้จากความแตกต่างของคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของผนังเซลล์ โดยเฉพาะการมีเปปติโดไกลแคน ซึ่งจะพบเป็นชั้นหนาในแบคทีเรียกรัมบวก ในการย้อมสีกรัม แบคทีเรียกรัมบวกจะสามารถรักษาสีน้ำเงินของสีย้อมคริสตัลไวโอเลตเอาไว้ได้ ในขณะที่แบคทีเรียกรัมลบจะสูญเสียสีนี้ไปในขั้นตอนการล้าง และจะติดสีแดงเมื่อย้อมด้วยสีเคาน์เตอร์สเตน เช่น ซาฟรานิน หรือฟุคซีน หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของเดนมาร์ก หมวดหมู่:จุลทรรศนศาสตร์ หมวดหมู่:วิทยาแบคทีเรีย.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการย้อมสีกรัม · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก

รื่องตรวจ MRI ภาพจากการตรวจด้วย MRI แสดงการเต้นของหัวใจ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ หรือ nuclear magnetic resonance imaging (NMRI), or magnetic resonance tomography (MRT) คือเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยาเพื่อการตรวจทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆโดยเครื่องตรวจที่ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจล้มเหลว

ภาวะการหายใจล้มเหลว (respiratory failure) คือภาวะซึ่งระบบหายใจทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ (hypoxia) หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดมาก (hypercarbia) ค่าปกติของความดันออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) คือมากกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท และความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดง (PaCO2) น้อยกว่า 45 มิลลิเมตรปรอท ภาวะการหายใจล้มเหลวแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามการไม่มีหรือมีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดตามลำดับ หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:อวัยวะล้มเหลว หมวดหมู่:โรคระบบหายใจ หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการหายใจล้มเหลว · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การจับลิ่มของเลือด

The classical blood coagulation pathway การแข็งตัวของเลือด (coagulation) คือกระบวนการซึ่งทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มเลือด เป็นกลไกสำคัญของการห้ามเลือด ทำให้เกล็ดเลือดจับกับไฟบรินกลายเป็นลิ่มเลือด อุดรอยรั่วของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่ไหลออกจากหลอดเลือด หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระบวนการนี้อาจทำให้เลือดไม่แข็งตัวอย่างที่ควรจะเป็น เกิดเลือดออกง่าย หรือเลือดแข็งตัวง่ายกว่าที่ควรจะเป็น เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด กระบวนการการแข็งตัวของเลือดเป็นกระบวนการที่มีการคงอยู่ในระบบพันธุกรรมสูงมาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีกลไกการแข็งตัวของเลือดที่ได้รับการพัฒนาสูง กระบวนการนี้ประกอบขึ้นจากสองส่วนคือส่วนของเซลล์ (เกล็ดเลือด) และส่วนของโปรตีน (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ระบบการแข็งตัวของเลือดในมนุษย์ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างมาก จึงเป็นที่เข้าใจมากที่สุด กลไกการแข็งตัวของเลือดเริ่มต้นขึ้นแทบจะทันทีที่เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด เกิดการเว้าแหว่งของผนังหลอดเลือด เมื่อเลือดได้สัมผัสกับโปรตีนที่อยู่นอกหลอดเลือด เช่น tissue factor ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและไฟบริโนเจนซึ่งเป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง เกล็ดเลือดจะมาจับที่จุดบาดเจ็บทันที เป็นกระบวนการห้ามเลือดขั้นปฐมภูมิ จากนั้นกระบวนการห้ามเลือดขั้นทุติยภูมิก็จะเริ่มขึ้นพร้อมๆ กัน โปรตีนต่างๆ ในเลือดที่รวมเรียกว่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะมีการกระตุ้นปฏิกิริยาอย่างเป็นลำดับและซับซ้อน จนสุดท้ายแล้วทำให้เกิดเส้นใยไฟบรินขึ้น ซึ่งจะเสริมความแข็งแรงของก้อนเกล็ดเลือดที่จับกันอยู.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการจับลิ่มของเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์

รื่องตรวจ CT Scan แบบ 2 ชั้น ภาพจากการตรวจด้วยเครื่อง CT Scan การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ (X-ray computed tomography) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ภาพรังสีเอกซ์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อสร้างภาพตัดขวาง (เหมือนกับว่า'ถูกหั่นออกเป็นชิ้นบางๆ') เฉพาะจุดของวัตถุที่ทำการสแกน, ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นภายในโดยไม่ต้องผ่าตั.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองทางคลินิก

การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trials) คือชุดของกระบวนการในการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายาที่ทำขึ้นเพื่อประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (รวมทั้งผลไม่พึงประสงค์จากยาและผลข้างเคียงของวิธีการรักษา) และประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพ (เช่น ยา การตรวจ อุปกรณ์ วิธีการรักษา ฯลฯ) การวิจัยจะเริ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาที่ไม่ใช่ทางคลินิกจนได้ข้อมูลที่น่าพอใจแล้ว และผ่านการรับรองขององค์กรจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ในการทำวิจัยเช่นนี้ผู้วิจัยจะรวบรวมอาสาสมัครทั้งที่มีสุขภาพปกติและ/หรือป่วยด้วยภาวะที่สนใจเข้ามาศึกษาในการวิจัยนำร่องขนาดเล็กก่อน จากนั้นจึงเริ่มการวิจัยขนาดใหญ่ต่อไป ส่วนใหญ่ทำโดยเปรียบเทียบของใหม่กับของเก่าที่ใช้อยู่ เมื่อศึกษาพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว การวิจัยลำดับถัดไปจะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยให้มากขึ้น การวิจัยเช่นนี้มีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อาจทำในศูนย์วิจัยแห่งเดียวหรือหลายศูนย์หลายประเทศพร้อมๆ กัน ก็มี หมวดหมู่:การวิจัยทางคลินิก หมวดหมู่:การออกแบบการทดลอง หมวดหมู่:เภสัชวิทยา หมวดหมู่:อุตสาหกรรมยา หมวดหมู่:วิทยาการระบาด หมวดหมู่:วิธีการประเมินผล หมวดหมู่:การค้นพบยาเสพติด หมวดหมู่:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หมวดหมู่:การทดลองทางคลินิก หมวดหมู่:การวิจัยทางการพยาบาล.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการทดลองทางคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

การดูแลประคับประคอง

การรักษาประคับประคอง (supportive treatment) เป็นการรักษาโรคอย่างหนึ่ง มีเป้าหมายเพื่อลดความผิดปกติ (พยาธิสรีรวิทยา) ที่เกิดจากโรค ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของร่างกายเข้าใกล้ภาวะปกติ (สรีรวิทยา) มากที.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการดูแลประคับประคอง · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count (CBC); Full blood count (FBC); Full blood exam (FBE)) หรือที่นิยมเรียกย่อว่า ซีบีซี เป็นการทดสอบที่ร้องขอโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์อื่น ๆ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดของผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้อาจเรียกว่า ฮีมาโตแกรม (hemogram) Alexander Vastem เป็นคนแรกที่ใช้การนับจำนวนเม็ดเลือดเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ ค่ามาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลของการตรวจเลือดด้วยวิธีนี้มาจากการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ ช่วง..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจเลือด

การเจาะหลอดเลือดดำ การตรวจเลือด คือ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากเลือดซึ่งปกติแล้วได้จากการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดดำบริเวณแขนหรือปลายนิ้ว การตรวจเลือดใช้สำหรับตรวจสอบสถาวะทางสรีรวิทยาและชีวเคมี เช่น โรค แร่ธาตุ การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการทดสอบสารเสพติด ถึงแม้เราจะใช้คำว่า "การตรวจเลือด" แต่การตรวจเลือดโดยทั่วไป (ยกเว้นทางโลหิตวิทยา) เราจะตรวจจากพลาสมาหรือซีรัมแทนของเซลล์เม็ดเลือ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการตรวจเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

การเจาะน้ำไขสันหลัง

ลากรทางการแพทย์กำลังเจาะน้ำไขสันหลัง แผ่นหลังของผู้รับการตรวจได้รับการฆ่าเชื้อด้วยสารฆ่าเชื้อไอโอดีนทำให้มีสีน้ำตาล การเจาะน้ำไขสันหลัง (lumbar puncture (LP), spinal tap) เป็นหัตถการทางการแพทย์ มีใช้ทั้งเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษา เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำไขสันหลัง นำไปตรวจทางชีวเคมี จุลชีววิทยา และเซลล์วิท.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการเจาะน้ำไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว

การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (altered level of consciousness) คือภาวะใดๆ ก็ตาม ที่ความตื่นตัวของบุคคลไม่อยู่ในระดับปกติ โดยระดับความรู้สึกตัว (level of consciousness) คือการวัดระดับความตื่นตัวของบุคคลที่ทำให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อม การมีระดับความรู้สึกตัวลดลงเล็กน้อยอาจจัดอยู่ในภาวะง่วงงุน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว · ดูเพิ่มเติม »

ฝี

ฝี เป็นกลุ่มของหนองซึ่งเป็นซากเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (neutrophil) ที่ตายแล้วสะสมอยู่ภายในโพรงของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นกระบวนการของการติดเชื้อ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกอื่นๆ เช่น เศษวัสดุ กระสุน หรือเข็มทิ่ม ฝีเป็นกระบวนการตอบสนองของเนื้อเยื่อในร่างกายต่อเชื้อโรคเพื่อจำกัดการแพร่กระจายไม่ให้ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จุลชีพก่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายจะมีการทำลายเซลล์ที่ตำแหน่งนั้น ทำให้เกิดการหลั่งสารพิษ สารพิษจะกระตุ้นกระบวนการอักเสบ ซึ่งทำให้มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากเข้ามาในบริเวณที่เชื้อโรคบุกรุกและเกิดการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นมากขึ้น โครงสร้างของฝีภายนอกจะประกอบด้วยผนังหรือแคปซูลล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากเซลล์ปกติข้างเคียงมาล้อมเพื่อจำกัดไม่ให้หนองไปติดต่อยังส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตามแคปซูลที่ล้อมรอบโพรงหนองนั้นอาจทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถเข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือจุลชีพก่อโรคในหนองนั้นได้ ฝีมีความแตกต่างจากหนองขัง (empyema) ในแง่ที่ว่าหนองขังเป็นกลุ่มของหนองในโพรงที่มีมาก่อนอยู่แล้ว แต่ฝีเป็นโพรงหนองที่สร้างขึ้นมาภายหลังการติดเชื้อ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและฝี · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

วะพิษเหตุติดเชื้อ ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกิน

วะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกิน (hyponatremia, hyponatraemia) คือ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลอย่างหนึ่ง โดยร่างกายมีความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดน้อยกว่าระดับปกติ โซเดียมเป็นไอออนบวกในสารน้ำนอกเซลล์ที่พบมากที่สุดและไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยอิสระ ภาวะธำรงดุลของโซเดียมถูกควบคุมและส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ตามปกติโดยตรง ค่าปกติของระดับความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดอยู่ที่ 135-145 mEq/L (มิลลิอีควิวาเลนท์ต่อลิตร) จึงให้นิยามของภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกินเอาไว้ว่ามีความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดน้อยกว่า 135 mEq/L และหากน้อยกว่า 125 mEq/L ถือว่าเป็นรุนแรง ภาวะโซเดียมในเลือดน้อยส่วนใหญ่เป็นภาวะแทรกซ้อนจากอาการป่วยอื่นๆ ที่ทำให้มีน้ำส่วนเกินคั่งในร่างกายมากเกินกว่าที่ร่างกายจะกำจัดได้ (เช่น หัวใจวาย กลุ่มอาการหลั่งฮอร์โมนต้านปัสสาวะไม่เหมาะสม หรือดื่มน้ำมากเกินไป เป็นต้น) บางครั้งเป็นผลจากการมีน้ำเกินในร่างกายได้ แทบไม่เคยพบว่ามีผู้ป่วยภาวะโซเดียมในเลือดน้อยที่เป็นผลมาจากการขาดโซเดียม แม้การขาดโซเดียมอาจจะทำให้ภาวะโซเดียมในเลือดน้อยที่เป็นอยู่แล้วนั้นแย่ลงได้โดยอ้อมก็ตาม โดยการขาดโซเดียมมักทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งการขาดน้ำจะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนต้านการปัสสาวะ ซึ่งทำให้ร่างกายเก็บน้ำเอาไว้ไม่ขับออก โซเดียมจึงเจือจางลงเกิดเป็นภาวะโซเดียมในเลือดน้อยได้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะตัวเย็นเกิน

วะตัวเย็นเกินหรืออุณหภูมิกายต่ำผิดปกติ (hypothermia) นิยามว่ามีอุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำกว่า 35.0 °C อาการขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ในภาวะตัวเย็นเกินอย่างอ่อน จะมีสั่นและสับสน ในภาวะตัวเย็นเกินปานกลาง การสั่นจะหยุดและมีความสับสนเพิ่มขึ้น ในภาวะตัวเย็นเกินรุนแรงอาจมีการเปลื้องปฏิทรรศน์ (paradoxical undressing) คือ บุคคลถอดเสื้อผ้าของตัว ตลอดจนมีความเสี่ยงหัวใจหยุดเต้นเพิ่มขึ้น ภาวะตัวเย็นเกินมีสองสาเหตุหลัก สาเหตุตรงต้นแบบเกิดจากการได้รับความเย็นสุดขีด อาจเกิดจากภาวะใด ๆ ซึ่งลดการผลิตความร้อนหรือเพิ่มการเสียความร้อน โดยทั่วไปมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ แต่ยังมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเบื่ออาหาร และสูงอายุ เป็นต้น ปกติร่างกายรักษาอุณหภูมิกายไว้ใกล้ระดับคงที่ 36.5–37.5 °C โดยอาศัยการปรับอุณหภูมิกาย หากอุณหภูมิกายต่ำลง จะมีความพยายามเพื่อเพิ่มอุณหภูมิกาย เช่น สั่น มีกิจกรรมใต้อำนาจจิตใจที่เพิ่มขึ้นและสวมเครื่องนุ่งห่มอบอุ่น อาจวินิจฉัยภาวะตัวเย็นเกินได้จากอาการของบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโดยการวัดอุณหภูมิกายของบุคคล การรักษาภาวะตัวเย็นเกินอย่างอ่อนมีเครื่องดื่มอุ่น เครื่องนุ่งห่มอุ่นและกิจกรรมทางกาย ในผู้ป่วยภาวะตัวเย็นเกินปานกลาง แนะนำให้ผ้าห่มความร้อนและสารน้ำเข้าหลอดเลือดดำอุ่น ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเย็นเกินปานกลางหรือรุนแรงควรเคลื่อนย้ายอย่างนุ่มนวล ในภาวะตัวเย็นเกินรุนแรง เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) หรือเครื่องปอด-หัวใจเทียมอาจมีประโยชน์ ในผู้ป่วยที่ไม่มีชีพจร การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) มีข้อบ่งชี้ร่วมกับมาตรการข้างต้น ตรงแบบให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยจนอุณหภูมิสูงกว่า 32 °C หากอาการ ณ จุดนี้ไม่ดีขึ้นหรือระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 12 มิลลิโมลต่อลิตรครั้งหนึ่งแล้ว อาจยุติการกู้ชีพ ภาวะตัวเย็นเกินเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,500 คนต่อปีในสหรัฐ พบมากกว่าในผู้สูงอายุและเพศชาย อุณหภูมิกายต่ำสุดครั้งหนึ่งของผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินโดยอุบัติเหตุแต่รอดชีวิตเท่าที่มีบันทึกคือ 13 °C ในเด็กหญิงวัย 7 ขวบที่ใกล้จมน้ำในประเทศสวีเดน มีการอธิบายการรอดชีวิตหลัง CPR เกินหกชั่วโมง ในผู้ที่ใช้ ECMO หรือเครื่องปอด-หัวใจเทียมมีการรอดชีวิตประมาณ 50% การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะตัวเย็นเกินมีบทบาทสำคัญในสงครามหลายครั้ง ภาวะตัวร้อนเกินหรือไข้สูงเป็นคำตรงข้ามของภาวะตัวเย็นเกิน คือ มีอุณหภูมิกายสูงขึ้นเนื่องจากการปรับอุณหภูมิกายล้มเหลว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะตัวเย็นเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์คือโรคหรือการบาดเจ็บที่เป็นขึ้นเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพในระยะยาวโดยทันที จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันทีเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสการเกิดการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:เวชศาสตร์ฉุกเฉิน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ หรือในเด็กเรียก ภาวะหัวบาตร (hydrocephalus) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งมีการสะสมผิดปกติของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (CSF) ในสมอง ทำให้ความดันในศีรษะเพิ่มขึ้นภายในกะโหลกศีรษะและอาจทำให้ศีรษะโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็ก ซึ่งอาจทำให้ชัก การเห็นแบบอุโมงค์ (tunnel vision) และพิการทางจิตได้ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำเกิดได้จากปัจจัยแต่กำเนิดหรือเกิดภายหลัง สาเหตุแต่กำเนิด เช่น กระดูกสันหลังโหว่ สภาพวิรูปอาร์โนลด์–คีอารี (Arnold–Chiari malformation) กะโหลกเป็นสัน (craniosynostosis) กลุ่มอาการแดนดี–วอล์กเกอร์ (Dandy–Walker syndrome) และสภาพวิรูปหลอดเลือดดำกาเลนโป่งพอง (Vein of Galen malformation) สาเหตุเกิดภายหลัง เช่น เลือดออก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื้องอกและถุงน้ำ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำโดยทั่วไปแบ่งเป็นสองประเภท คือ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำแบบไม่ติดต่อและภาวะโพรงสมองคั่งน้ำแบบติดต่อ แม้มีหลักฐานว่าแบบติดต่อสามารถนำไปสู่การอุดกั้นการไหลของน้ำหล่อสมองไขสันหลังได้ในหลายกรณี หมวดหมู่:โรคของระบบประสาท.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย

วะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (disseminated intravascular coagulopathy/coagulation, consumptive coagulation, DIC) หรือ ดีไอซี หรือ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปในหลอดเลือด เป็นภาวะซึ่งมีการกระตุ้นกลไกการแข็งตัวของเลือดอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นผลที่ตามมาจากโรคหรือภาวะหลายๆ อย่าง ดีไอซีทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มเลือดขนาดเล็กจำนวนมากในหลอดเลือดทั่วร่างกาย ซึ่งในการเกิดการแข็งตัวของเลือดนี้จะมีการใช้สิ่งสำคัญในกลไกการแข็งตัวของเลือด ได้แก่โปรตีนที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด และเกล็ดเลือด ไปจนไม่สามารถเกิดมีการแข็งตัวของเลือดในที่ที่ควรมีได้ ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายหรือหยุดยากทั่วร่างกาย อาจเกิดที่ผิวหนัง ในทางเดินอาหาร ในทางเดินหายใจ หรือที่แผลผ่าตัดได้ นอกจากนี้ลิ่มเลือดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นยังทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่ดี ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของอวัยวะนั้นๆ อวัยวะที่สำคัญเช่น ไต เป็นต้น ดีไอซีอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน หรืออาจเกิดช้าๆ แบบเรื้อรังก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เป็นสาเหตุ และสภาพร่างกายด้านอื่นๆ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยหนัก และอาจมีส่วนทำให้เกิดการล้มเหลวของการทำงานของอวัยวะหลายๆ ชนิดพร้อมกัน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและยา · ดูเพิ่มเติม »

ยากันชัก

แอนติอิพิเลปติก (อังกฤษ:antiepileptics) มีอีกชื่อว่า แอนติคอนวัลแซนต์ (anticonvulsants) เป็นยาต้านและป้องกันอาการชักเช่นอาการชักจากลมบ้าหมู กลไกการออกฤทธิ์คือการบล็อกโวลเตก-เซนซิตีพ โซเดียมแชแนล (voltage-sensitive sodium channel) ในสมอง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและยากันชัก · ดูเพิ่มเติม »

ยาต้านไวรัส

ต้านไวรัส (Antiviral drugs) เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาเฉพาะการติดเชื้อจากไวรัส เช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัสก็ใช้ได้กับไวรัสบางชนิดเท่านั้น การแพทย์ดั้งเดิมจะไม่มียาฆ่าหรือต้านเชื้อไวรัสโดยตรง ถ้ามีการติดเชื้อไวรัสวิธีปฏิบัติคือ ถ้าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงเช่น หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ก็จะให้พักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ ก็จะหายเอง แต่ถ้าติดเชื้อร้ายแรงอย่างโรคพิษสุนัขบ้านั้นไม่มียารักษา แต่ถึงแม้ไม่มียารักษาแต่ก็มีวัคซีนป้องกัน จนกระทั่งตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1980 ก็ได้เกิดยาต้านไวรัสขึ้นมาเป็นสิบๆ ตัว จากความเจริญ ก้าวหน้าทางการแพทย์สาขาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลที่ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างและการทำงานของเชื้อไวรัส ประกอบกับความกดดันทางการแพทย์ ที่จะต้องหาทางรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus - HIV) ที่ทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ (acquired immunodeficiency syndrome - AIDS) มีคนกล่าวว่าเราควรขอบคุณโรคเอดส์ เพราะมันกดดันเราอย่างมากให้ต้องพัฒนาเทคโนโลยีการต่อต้านไวรัส ยาต้านไวรัสส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและยาต้านไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์

อ็นเซด (NSAID ย่อจาก Non-steroidal anti-inflammatory drugs) เป็นยาระงับปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ ยากลุ่ม สเตอรอยด์ (steroids) ก็มีฤทธิ์แบบนี้เช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยยากลุ่ม สเตอรอยด์กดภูมิคุ้มกัน แต่พวกเอ็นเซดไม่ เพื่อแยกความแตกต่างให้ชัดเจนเรา จึงตั้งชื่อยากลุ่มนี้ว่า ไม่ใช่กลุ่มสเตอรอยด์ โดยการใช้คำ นอน-สเตอรอยดอล นำหน้า เอ็นเซด บางครั้งเรียกว่า นอน-สเตอรอยดอล แอนตี้-อินแฟลมเมตอรี่ อะนาเจซิก (non-steroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs)) ตัวอย่างยาที่บทบาทมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและระบบภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รา

รา หรือ เชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรเห็ดราซึ่งโตในรูปของใยหลายเซลล์ที่เรียกว่า ไฮฟา ในทางตรงกันข้าม ราที่สามารถเติบโตในรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะเรียกว่า ยีสต์ รามีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ซึ่งการเติบโตของไฮฟา ทำให้เกิดรูปร่างที่ผิดแปลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนอาหาร รามีโครโมโซมเพียงชุดเดียว (haploid) มีผนังเซลล์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไคติน (chitin) ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีพแบบ saprophyte คือ หลั่งเอนไซม์ออกนอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนให้ได้เป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดแล้วจึงดูดซับเข้าไปภายในเซลล์ ราถูกจัดให้เป็นจุลินทรีย์ และไม่ถูกจำแนกออกไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง แต่สามารถพบได้ในส่วนไซโกไมโคตาและอาสโกไมโคตา ในอดีต ราถูกจัดให้อยู่ภายในกลุ่มดิวเทอโรไมโคต.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและรา · ดูเพิ่มเติม »

ลิมโฟไซต์

ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง") * หมวดหมู่:น้ำเหลือง หมวดหมู่:เนื้อเยื่อน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและลิมโฟไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจ (heart valve) มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ โดยปกติแล้วลิ้นหัวใจจะควบคุมการไหลของเลือดให้ไปได้ในทิศทางเดียว คือไม่มีการไหลย้อนกลับของเลือดมายังทิศทางเดิม ลิ้นหัวใจแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ atrioventricular valves (AV valves) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนกับหัวใจห้องล่าง และ semilunar valves (SL valves) อยู่บริเวณหลอดเลือดอาร์เตอรีที่ออกจากหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ thumb.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและลิ้นหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง หรือ เอสแอลอี (systemic lupus erythematosus, SLE, lupus) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเข้าโจมตีเนื้อเยื่อปกติของร่างกายทำให้เกิดอาการป่วย ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายแบบตั้งแต่เล็กน้อยแทบไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิต อาการที่พบบ่อยได้แก่ ข้ออักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ผมร่วง แผลในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย และมีผื่นแดง ซึ่งมักพบที่บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยมักมีระยะที่อาการเป็นมาก อาจเรียกว่าระยะกำเริบ และระยะที่อาการเป็นน้อย เรียกว่าระยะสงบ สาเหตุที่แท้จริงของเอสแอลอีนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ในแฝดไข่ใบเดียวกัน (แฝดเหมือน) จะพบว่าหากคนหนึ่งป่วยเอสแอลอี อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูงถึง 24% ที่จะเป็นโรคด้วย ปัจจัยเสี่ยงที่พบว่าเพิ่มโอกาสการเป็นโรคได้แก่ ฮอร์โมนเพศหญิง แสงแดด การสูบบุหรี่ ภาวะพร่องวิตามินดี และโรคติดเชื้อบางชนิด กลไกหลักที่ทำให้เกิดอาการของโรคคือการเกิดแอนติบอดีต่อเนื้อเยื่อร่างกายตัวเอง เรียกว่า ออโตแอนดิบอดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแอนติบอดีต่อนิวเคลียส ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ การวินิจฉัยบางครั้งอาจทำได้ยาก ต้องใช้ทั้งอาการและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการประกอบกัน โรคอื่นๆ ในกลุ่มของโรคลูปัสมีอีกหลายโรค ซึ่งแต่ละโรคอาจมีอาการทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่างจากเอสแอลอี โรคเหล่านี้ เช่น ลูปัส อีริทีมาโตซัส ชนิดรูปคล้ายจาน, ลูปัส อีริทีมาโตซัส ที่ผิวหนังแบบกึ่งเฉียบพลัน และ ลูปัส อีริทีมาโตซัส ในทารกแรกเกิด เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาเอสแอลอีให้หายขาด การรักษาจะเน้นไปที่การระงับอาการด้วยการลดการอักเสบ และลดกระบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยาที่ใช้ เช่น ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน และเมโทเทรกเซท ส่วนการแพทย์ทางเลือกนั้นยังไม่พบว่ามีวิธีใดที่รักษาแล้วเห็นผล ผู้ป่วยอาจมีอายุขัยสั้นกว่าคนปกติ โดยโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมผู้ป่วย 80% จะอยู่รอดได้นานกว่า 15 ปี หากผู้ป่วยหญิงเกิดตั้งครรภ์จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก แต่ส่วนใหญ่จะสามารถมีลูกได้ ความชุกของเอสแอลอีมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยอยู่ที่ 20-70 ต่อ 100,000 ประชากร ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะพบโรคนี้บ่อยที่สุดโดยพบถึง 9 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย ช่วงอายุที่พบได้บ่อยอยู่ที่ 15-45 ปี แต่ก็พบในช่วงอายุอื่นๆ ได้เช่นกัน ชาวแอฟริกา แคริบเบียน และจีน มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนขาว ส่วนความชุกของโรคในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเข้าไม่ถึงระบบบริการสุขภาพ ชื่อภาษาอังกฤษของโรคนี้คือ ลูปัส (Lupus) เป็นภาษาลาตินที่แปลว่า หมาป่า ชื่อนี้มีที่มาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 13 โดยเชื่อว่ามาจากการที่ผื่นที่พบในผู้ป่วยมีลักษณะเหมือนถูกหมาป่ากัด คนไทยหลายคนรู้จักโรคนี้ในชื่อ "โรคพุ่มพวง" เนื่องจาก พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องลูกทุ่งชื่อดังได้เสียชีวิตจากโรคนี้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรคปอด

วัณโรคปอดพบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ (โดยเฉพาะคนไข้ติดเชื้อเอดส์) คนไข้เบาหวาน ตับแข็ง โรคไต ผู้ที่ติดยาเสพติด ดื่มเหล้าจัดหรือพบได้มากในบริเวณที่มีคนอยู่กันอย่างแออัด วัณโรคปอด (Tuberculosis,tubercle bacillus เรียกสั้นๆ ว่า "ทีบี") เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย(ประเภท acid-fast bacillus)ชื่อ ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซีส (Mycobacterium Tuberculosis) เชื้อตัวนี้สามารถก่อให้เกิดโรคได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย มิใช่เฉพาะที่ปอดอย่างเดียว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและวัณโรคปอด · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและวัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine ตัวย่อ NEJM) เป็นวารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Medical Society) เป็นวารสารที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันที่มีเกียรติที่สุดฉบับหนึ่งของโลก และที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องกันมายาวนานมากที่สุด ในประเทศไทย เว็บไซต์ของวารสารเปิดให้อ่านฟรีเป็นบางเนื้อห.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สมองบวม

สมองบวม (cerebreal edema) คือภาวะที่มีการสะสมของสารน้ำในเนื้อสมองไม่ว่าจะเป็นในเซลล์หรือนอกเซลล์ หมวดหมู่:ซีรีบรัม หมวดหมู่:โรคของสมอง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมองบวม · ดูเพิ่มเติม »

สมองอักเสบ

มองอักเสบ (encephalitis) เป็นภาวะซึ่งมีการอักเสบเฉียบพลันของสมอง หากเกิดร่วมกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรียกว่าเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ อาการที่พบได้เช่นปวดศีรษะ ไข้ สับสน ซึม และอ่อนเพลีย หากเป็นมากอาจมีอาการรุนแรง เช่น ชัก สั่น ประสาทหลอน ความจำเสื่อม เป็นต้น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและหัวใจเต้นเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นกลางอักเสบ

หูชั้นกลางอักเสบ (otitis media) คือกลุ่มของโรคที่เกิดมีการอักเสบขึ้นในหูชั้นกลาง แบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันมักเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในทันที ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหูร่วมด้วย ในผู้ป่วยเด็กเล็กอาจแสดงอาการเป็นอาการชอบดึงหู ร้องไห้บ่อย นอนไม่หลับ อาจมีอาการกินได้น้อยหรือมีไข้ร่วมด้วยได้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและหูชั้นกลางอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

หูหนวก

ัญลักษณ์สากลของผู้หูหนวก หูหนวก เป็นความพิการอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการได้ยิน หมายถึงผู้ที่สูญเสียความสามารถในการได้ยินบางส่วนหรือทั้งหมดไป ผู้ที่หูหนวกส่วนมากจะสื่อสารโดยการอ่านริมฝีปากหรือโดยการใช้ภาษามือ สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม อายุที่มากขึ้น การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง สารเคมี หรือเป็นผลจากการได้รับบาดเจ็.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและหูหนวก · ดูเพิ่มเติม »

หนอง

หนอง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและหนอง · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยอภิบาล

หน่วยอภิบาล (ไอซียู) หน่วยอภิบาล (intensive-care unit) หรือที่รู้จักกันว่า ไอซียู (ICU) เป็นหน่วยเฉพาะทางในโรงพยาบาลซึ่งให้บริการเวชบำบัดวิกฤตหรือดูแลผู้ป่วยวิกฤต ในโรงพยาบาลบางแห่งได้แยกหน่วยอภิบาลที่จำเพาะกับสาขาเฉพาะทางต่างๆ เช่น หน่วยอภิบาลกุมารเวชศาสตร์ หน่วยอภิบาลทารกแรกเกิด หน่วยอภิบาลศัลยศาสตร์ หน่วยอภิบาลอายุรศาสตร์ หน่วยอภิบาลโรคหัวใจ เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในหน่วยอภิบาล อาทิ เครื่องช่วยหายใจ (mechanical ventilator) เครื่องเฝ้าระวังเกี่ยวกับหัวใจ ได้แก่ เครื่องวัดความดัน อัตราการเต้นหัวใจ ตัวคุมจังหวะหัวใจนอกร่างกาย และเครื่องกระตุ้นหัวใจ อุปกรณ์สำหรับการล้างไต เครื่องตรวจวัดการทำหน้าที่ของร่างกาย อุปกรณ์สำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ สายให้อาหาร เครื่องดูดเสมหะ สายระบายและหลอดสวน รวมทั้งยา หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและหน่วยอภิบาล · ดูเพิ่มเติม »

อะพอพโทซิส

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอะพอพโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

อะมีบา

อะมีบา (อังกฤษ amoeba, ameba) เป็นโปรโตซัวสกุลหนึ่ง สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยส่วนของลำตัวที่ยื่นออกมาชั่วคราว เรียกว่าเท้าเทียม (pseudopods) และถือว่าเป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่รู้จักกันดี คำว่า อะมีบา นั้นมีการใช้หลากหลาย หมายถึงสัตว์เช่นนี้ และสัตว์จำพวกอื่นที่มีความใกล้ชิดในทางชีววิทยา ปัจจุบันจัดกลุ่มเป็น อะบีโบซัว (Amoebozoa) หรือหมายถึงโปรโตซัวทั้งหมด ที่เคลื่อนไหวได้ด้วยเท้าเทียม หรืออาจเรียกว่า อมีบอยด(amoeboids) อะมีบา เองนั้นพบได้ในน้ำจืด โดยปกติอยู่ในพืชผักที่เน่าเปื่อย จมอยู่ในลำน้ำ แต่ไม่ได้พบมากเป็นพิเศษในธรรมชาติ แท้จริงแล้วอะมีบาที่ก่อให้เกิดโรคในคนได้ เป็นอะมีบาที่อาศัยเป็นอิสระ ในธรรมชาติตามแหล่งน้ำ ดิน โคลนเลน มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เนจีเรีย ฟาวเลอรี่ (Naegleria fowleri) และสายพันธุ์อะคันธามีบา (Acantham.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอะมีบา · ดูเพิ่มเติม »

อะไซโคลเวียร์

อะไซโคลเวียร์ (อังกฤษ:Aciclovir ตามแบบ INN หรือ acyclovir ตามแบบ USAN) เป็นยาต้านไวรัสที่มีชื่อทางการค้าว่า โซวิแรกซ์® (Zovirax&reg) มีพิษต่อเซลล์น้อย (cytotoxicity)ขอบเขตการต้านไวรัสที่แคบคือมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสดังนี้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอะไซโคลเวียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง

อาการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง หรืออาการคอแข็งเกร็ง (meningism) เป็นอาการแสดงทางการแพทย์ประกอบด้วยลักษณะร่วมสามอย่าง ได้แก่ คอแข็ง (nuchal rigidity, neck stiffness) แพ้แสงจ้า (photophobia) และปวดศีรษะ เป็นสัญญาณแสดงว่ามีการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง อาจพบในโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง และโรคอื่น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอาการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ ซีนา

อะบูอาลี อัลฮูซัยน์ บินอับดิลลาฮ์ อิบนุซีนา หรือ แอวิเซนนา (Avicenna; ค.ศ. 980-1037) เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย ที่มีบทบาทด้านสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แผ่ระบาดโรคในอาณาจักร เขายังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของเจ้าชายต่าง ๆ ในช่วงบั้นท้ายชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ เขายังเขียนหนังสือปทานุกรมคำศัพท์, สารานุกรมศัพท์ ในหัวข้อต่างๆ เช่นการแพทย์ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ดนตรี เศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นกวีที่มีผลงานได้รับความนิยมในโลกอาหรับ ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ ชุด Canon of Medicine ที่นำรากฐานมาจากฮิปโปเครติส อริสโตเติล ไดออสคอริดีส กาเลน และบุคคลสำคัญวงการแพทย์อื่น โดยแทรกทฤษฏีและการสังเกตของเขาเองลงไปด้วย หนังสืออีกชุดของเขามีเนื้อหาทางด้านเภสัชวิทยาต้นไม้สมุนไพร ถือเป็นตำราพื้นฐานแพทย์ที่สำคัญของโลกมุสลิมและคริสเตียน แต่ทฤษฎีของเขาก็ดูด้อยความเชื่อถือลงเมื่อลีโอนาร์โด ดา วินชี ปฏิเสธตำรากายวิภาคของเขา แพราเซลซัส เผาสำเนาตำรา Canon of Medicine ที่ใช้สอนกันในสวิสเซอร์แลนด์ และวิลเลียม ฮาร์วีย์ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ล้มทฤษฎีของเขาในเรื่องการค้นพบระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกายคน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอิบน์ ซีนา · ดูเพิ่มเติม »

อุบัติการณ์ (วิทยาการระบาด)

อุบัติการณ์ (incidence) เป็นค่าที่ได้จากการวัดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหนึ่งๆ ขึ้นใหม่ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ถึงแม้บางครั้งถูกใช้อย่างคร่าวๆ โดยเอาตัวเลขของจำนวนผู้ป่วยใหม่ในช่วงเวลามาแสดง แต่การใช้ที่ถูกต้องควรแสดงให้รูปของอัตรา นั่นคือมีตัวส่วนด้วย หมวดหมู่:วิทยาการระบาด หมวดหมู่:เวชสถิติ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอุบัติการณ์ (วิทยาการระบาด) · ดูเพิ่มเติม »

อีสุกอีใส

รคอีสุกอีใส (chickenpox, varicella) เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายมากโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZV) ทำให้ผู้ป่วยมีผื่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นตุ่มพองน้ำขนาดเล็ก มีอาการคัน และแตกแห้งเป็นสะเก็ดในเวลาต่อมา ส่วนใหญ่เริ่มเป็นที่บริเวณหน้าอก หลัง และใบหน้า ต่อมาจึงกระจายไปทั่วตัว ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ส่วนใหญ่เป็นอยู่ 5-7 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ได้แก่ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนที่รอยผื่น เป็นต้น หากเป็นในผู้ใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่าที่เป็นในเด็ก อาการเหล่านี้มักเริ่มมีขึ้นประมาณ 10-21 วัน หลังได้รับเชื้อ เชื้อไวรัสนี้ติดต่อทางอากาศ โดยออกมากับละอองจากการไอหรือจามของผู้ป่วย ซึ่งอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ 1-2 วันก่อนเริ่มมีผื่น และสามารถแพร่เชื้อไปได้เรื่อยๆ จนกว่าแผลผื่นจะตกสะเก็ดแห้งและหลุดออกจนหมด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำได้ด้วย ผู้ป่วยโรคงูสวัดซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดียวกันอาจแพร่เชื้อนี้ให้กับผู้อื่นที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ผู้รับเชื้อป่วยด้วยโรคอีสุกอีใสได้ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติและผลการตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงเป็นผื่นลักษณะเฉพาะดังกล่าว ในบางรายที่อาการไม่ชัดเจนอาจจำเป็นต้องตรวจด้วยการนำสารน้ำจากตุ่มน้ำหรือจากสะเก็ดไปตรวจหาพันธุกรรมเชื้อไวรัสด้วยวิธีพีซีอาร์ นอกจากนี้การตรวจหาแอนติบอดียังช่วยบอกได้ว่าผู้รับการตรวจนั้นมีภูมิหรือไม่มีภูมิต่อเชื้อนี้ ผู้ป่วยจำนวนมากหลังหายจากอีสุกอีใสแล้วมักไม่เป็นอีก หากได้รับเชื้อนี้ซ้ำมักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนโรคอีสุกอีใสออกใช้ได้ทั่วไป ทำให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ลดลงมาก ผู้รับวัคซีน 70-90% จะไม่เป็นโรค และหากเป็นโรคก็ลดความรุนแรงของโรคลงได้มาก หลายประเทศเริ่มกำหนดให้วัคซีนนี้เป็นวัคซีนมาตรฐานที่ทางรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ นอกจากนี้แม้จะไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หากผู้รับเชื้อซึ่งเป็นเด็กได้รับวัคซีนภายใน 3 วันก็ยังมีประโยชน์ช่วยลดการเกิดโรคและลดอาการได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการบรรเทาอาการ เช่นการใช้โลชั่นคาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการคัน ตัดเล็บให้สั้นเพื่อไม่ให้เกาผื่นจนเกิดแผล และใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ในบางรายที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสเช่นอะไซโคลเวียร์ อีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก ในปี..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอีสุกอีใส · ดูเพิ่มเติม »

อีโอซิโนฟิล

ลักษณะของอีโอซิโนฟิล อีโอซิโนฟิล (Eosinophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล โดยมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ปกติจะเห็นเป็น 2 lobe และสามารถเห็นแกรนูลชัดเจนโดยมีขนาดประมาณ 0.5 ไมครอน ซึ่งจะติดสีแดงอิฐเมื่อมองดูจากฟิล์มเลือด โดยปกติเราสามารถพบอีโอซิโนฟิลในไขกระดูกประมาณ 0-3 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-4 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-432 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร อีโอซิโนฟิลสร้างจากไขกระดูก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้น จะเข้าสู่กระแสเลือด ประมาณ 6-8 ชั่วโมง และจะกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยอีโอซิโนฟิลที่อยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาจจะกลับเข้าไปสู่กระแสเลือดและไขกระดูกอีกก็ได้ นอกจากนี้ พบว่าอีโอซิโนฟิลสามารถเคลื่อนที่ไปยังเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบอีกด้วย โดยปกติอีโอซิโนฟิลมีหน้าที่เกี่ยวข้องการตอบสนองต่อการติดเชื้อพยาธิ การแพ้ หรือ การอักเสบ โดยภาวะที่พบอีโอซิโนฟิลสูงนั้น อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ร่างกายเกิดอาการแพ้ (Allergic disorders) การติดเชื้อพยาธิ โรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและอีโอซิโนฟิล · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปพอคราทีส

ปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ฮิปพอคราทีส (Hippocrates; Ἱπποκράτης; Hippokrátēs; ประมาณ พ.ศ. 83-166) เป็นแพทย์ชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก" และต้นตอของ "คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ ฮิปพอคราทีสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง "ฮิปพอคราทีสคอร์ปัส" (Hippogrates corpus) แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่าง ๆ กัน แต่นำมารวมผิด ๆ ถูก ๆ ภายใต้ชื่อฮิปพอคราทีส ฮิปพอคราทีสได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปพอคราทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปพอคราทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปพอคราทีส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปพอคราทีส และผลงานของฮิปพอคราทีสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปพอคราทีสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปพอคราทีสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปพอคราทีส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและฮิปพอคราทีส · ดูเพิ่มเติม »

ผื่น

ผื่น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีของผิวหนัง ซึ่งอาจพบเพียงบางส่วน ผื่น อาจส่งผลให้ผิวหนังเปลี่ยนสี ผิวขรุขระ แห้ง คัน แตก พอง และอาจมีความเจ็บปวดร่วมด้วย หมวดหมู่:ตจวิทยา.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและผื่น · ดูเพิ่มเติม »

จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ ''E coli'' ขนาด 10,000 เท่า จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา) หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและจุลินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางเชื่อมโพรงสมอง

การทำทางเชื่อมโพรงสมอง (cerebral shunt) เป็นวิธีการรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำที่ใช้บ่อยวิธีหนึ่ง ทำโดยสร้างทางออกของน้ำหล่อสมองไขสันหลังที่คั่งอยู่ในโพรงสมอง เพื่อไม่ให้คั่งมากจนเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงจนมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ (เช่น มีเลือดออก สมองบวม หรือถูกกดทับ) ทางเชื่อมที่ทำนี้มีหลายชนิด ทุกชนิดประกอบด้วยตัวปั๊มหรือสายระบายต่อกับท่อยาว ปลายอีกข้างหนึ่งมักอยู่ในช่องท้อง เรียกว่า ventriculoperitoneal shunt Ventriculoperitoneal shunt (VP shunt) เป็นท่อสำหรับระบายน้ำในโพรงสมองแบบถาวร โดยจะต่อจากสมองในบริเวณ Lateral Ventricle และไประบายน้ำออกที่ช่องท้อง (Peritoneal cavity) ซึ่งการทำ VP shunt นี้มักทำในเด็กที่เป็นโรค Hydrocephalus หมวดหมู่:ประสาทวิทยา หมวดหมู่:อุปกรณ์การแพทย์ หมวดหมู่:ประสาทศัลยศาสตร์.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและทางเชื่อมโพรงสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติแต่กำเนิด

วามผิดปกติแต่กำเนิดเป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกิดจากความบกพร่องระหว่างการเจริญของทารกในครรภ์ อาจมีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สภาวะไม่เหมาะสมในมดลูก ความผิดปกติของการสร้างอวัยวะ หรือความผิดปกติของโครโมโซม ผลที่เกิดจากความผิดปกติดังกล่าวขึ้นกับความรุนแรงหรือความซับซ้อนของความผิดปกติก่อนเกิดและสภาพแวดล้อมหลังเก.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและความผิดปกติแต่กำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตต่ำ

วามดันโลหิตต่ำ (hypotension) ในทางสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ คือ ภาวะที่มีความดันเลือดต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดงของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันเลือด คือ แรงที่เลือดผลักผนังหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือด มักถือว่าความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีความดันช่วงหัวใจบีบต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันช่วงหัวใจคลายต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การพิจารณาว่าความดันเลือดต่ำหรือไม่นั้นดูจากอาการแสดงที่สังเกตได้เป็นหลัก.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและความดันโลหิตต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ความไวและความจำเพาะ

วามไวและความจำเพาะ เป็นค่าวัดทางสถิติที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของการทดสอบที่ให้ผลเป็นสองส่วน (เช่นเป็นบวกและลบ).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและความไวและความจำเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

คางทูม

งทูมเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอย่างหนึ่งเกิดกับมนุษย์ มีสาเหตุจากไวรัสคางทูม (mumps virus) เคยเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กทั่วโลกก่อนที่จะมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นใช้ ปัจจุบันยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศโลกที่สาม และมีการระบาดเป็นครั้งๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาการที่พบบ่อยที่สุดคือมีต่อมน้ำลายโตและเจ็บ ส่วนใหญ่เป็นต่อมน้ำลายพารอทิด (ต่อมน้ำลายหน้าหู) อาจพบมีอัณฑะอักเสบหรือผื่นได้ ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่ถ้าผู้ป่วยเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่เพศชายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่นเป็นหมันหรือมีบุตรยากได้ง่ายกว่าในเด็ก แต่โดยรวมก็ยังถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบน้อย ส่วนใหญ่โรคนี้เป็นแล้วหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจำเพาะที่นอกเหนือไปกว่าการบรรเทาอาการด้วยยาแก้ปวด อาการนำของคางทูมได้แก่ไข้และปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาการอื่นเช่น ปากแห้ง เจ็บหน้า เจ็บหู หรือหากเป็นรุนแรงอาจมีอาการเสียงแหบ ทั้งนี้ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสคางทูม เกือบ 20% ไม่มีอาการ จึงอาจแพร่เชื่อได้โดยไม่รู้ตัว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและคางทูม · ดูเพิ่มเติม »

งูสวัด

รคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) เป็นคนละโรคกับ โรคเริม คนที่เป็นโรคงูสวัดจะต้องเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอลงจึงกลายเป็นโรคงูสวัด มักจะเป็นผื่นตามแนว dermatome (แนวเส้นประสาทของผิวหนัง) และมักจะปวดมาก โรคนี้ไม่ติดต่อระหว่างคนสู่คน แต่การได้รับไวรัสที่พบในตุ่มสามารถก่อโรคสุกใสในผู้ที่ไม่เคยเป็นได้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและงูสวัด · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไต (adrenal gland,suprarenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิด เช่น อะดรีนาลิน จะอยู่เหนือไตทั้ง2ข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด ต่อมหมวกไตแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและต่อมหมวกไต · ดูเพิ่มเติม »

ซิฟิลิส

ซิฟิลิส (syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายอย่างขึ้นกับระยะที่เป็น (ระยะแรก ระยะที่สอง ระยะแฝง และระยะที่สาม) ระยะแรกผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง ซึ่งจะไม่เจ็บ แต่อาจมีแผลเจ็บขึ้นต่างหากได้ ระยะที่สองมักมีผื่นขึ้นทั่วตัว มักพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า "ระยะออกดอก"สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ 10 / เรื่องที่ 2 โรคติดต่อและโรคเขตร้อน / โรคติดต่อทางเพศสัมพัน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและซิฟิลิส · ดูเพิ่มเติม »

ซิโปรฟลอกซาซิน

ซิโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและซิโปรฟลอกซาซิน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส

ั้นตอนการทำ PCR ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase chain reaction; ตัวย่อ: PCR) เป็นกระบวนการสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอในหลอดทดลอง ซึ่งกระบวนการนี้เลียนแบบกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต ผู้คิดค้นเทคนิคพีซีอาร์ คือ Kary Mullis พีซีอาร์ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส · ดูเพิ่มเติม »

ปรสิต

ปรสิต (parasite) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหาร และบางครั้งทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต เช่น การอาศัยอยู่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำในร่างกายมนุษย์ ตัวอย่าง พยาธิ เป็นต้น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและปรสิต · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชิลี

ลี (Chile ชีเล) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile; República de Chile) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซีไอเอ ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้ว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกานา

กานา (Ghana) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกานา (Republic of Ghana) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก พรมแดนด้านตะวันตกจรกประเทศโกตดิวัวร์ ด้านตะวันออกจรดประเทศบูร์กินาฟาโซ ด้านตะวันออกจรดประเทศโตโก โดยมีชายฝั่งทะเลด้านใต้ติดกับอ่าวกินี เดิมเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรมีชื่อเรียกว่า โกลด์โคสต์ (Gold Coast).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประเทศกานา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคิวบา

วบา (อังกฤษและCuba) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐคิวบา (Republic of Cuba; República de Cuba) ประกอบด้วยเกาะคิวบา (เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแอนทิลลิสใหญ่) เกาะคูเบนตุด (Isla de la Juventud) และเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียง ตั้งอยู่ในภูมิภาคแคริบเบียนเหนือ ที่จุดบรรจบของทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และมหาสมุทรแอตแลนติก คิวบาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก และหมู่เกาะบาฮามาส ทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอสและประเทศเฮติ ทางทิศตะวันออกของเม็กซิโก และทางทิศเหนือของหมู่เกาะเคย์แมนและเกาะจาเมกา สาธารณรัฐคิวบาเป็นเพียงประเทศเดียวในบริเวณภูมิภาคนี้ที่ยังคงมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อยู.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประเทศคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประเทศนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไนจีเรีย

นจีเรีย (Nigeria) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย (Federal Republic of Nigeria) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในแอฟริกา ไนจีเรียได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเมื่อพ.ศ. 2542 หลังจากที่มีการปกครองโดยเผด็จการทหารหลายคนที่โหดร้ายและคดโกง มานาน 16 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2542 ไนจีเรียปกครองโดยเผด็จการทหารที่ชิงอำนาจด้วยการรัฐประหาร (ยกเว้นสาธารณรัฐที่ 2 ในช่วง..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและประเทศไนจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหล่อสมองไขสันหลัง

ภาพเอ็มอาร์ไอแสดงจังหวะการไหลของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง น้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) เป็นสารน้ำชนิดหนึ่งในร่างกาย ใสไม่มีสี หล่ออยู่ในช่องใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางและระบบโพรงสมอง ภายนอกและภายในสมองและไขสันหลัง อาจกล่าวได้ว่าเนื้อสมองและไขสันหลัง "ลอย" อยู่ในน้ำหล่อสมองไขสันหลังนี้ หมวดหมู่:สารน้ำในร่างกาย หมวดหมู่:ระบบประสาทกลาง หมวดหมู่:ประสาทวิทยา.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียแกรมลบ

รงสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบภาพจากกล้องจุลทรรศน์ของแบคทีเรียแกรมลบ ''Pseudomonas aeruginosa'' (ท่อนสีชมพู-แดง). แบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacteria) เป็น แบคทีเรีย ที่ไม่สามารถรักษาสีคริสทัลไวโอเลต ในการย้อมสีแบบแกรมได้ ในการย้อมสีแบบแกรม สีตรงข้าม (ปกติคือ ซาฟรานิน) ซึ่งเติมทีหลังคริสทัลไวโอเลต จะติดสีแบคทีเรียแกรมลบให้เป็นสีแดงหรือสีชมพู วิธีนี้เป็นประโยชน์ในการจำแนกแบคทีเรียขั้นต้น โดยใช้ความแตกต่างของผนังเซลล์ แบคทีเรียแกรมบวก จะยังคงรักษาสีม่วงของคริสตัลไวโอเลตได้แม้จะใช้สารชะสีออกแล้ว ความสามารถในการก่อโรคของแบคทีเรียแกรมลบเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบ ชั้นของลิโปโพลีแซคคาไรด์ (หรือ LPS หรือ ชั้นเอนโดทอกซิน).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและแบคทีเรียแกรมลบ · ดูเพิ่มเติม »

แอมพิซิลลิน

แอมพิซิลลิน (Ampicillin) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น Amilin, Ampat, Ampexin, Ampicillin Pharmacia, Ampicyn ออกฤทธิ์คล้ายกับ Benzypeni-Benzypenicillin ยานี้สามารถทำลายแบคทีเรียได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ เช่นเชื้อทำให้เกิดโรคท้องเสีย หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถุงและท่อน้ำดีอักเสบ แผลมีหนอง ฝี.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและแอมพิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

แอมโฟเทอริซินบี

แอมโฟเทอริซินบี (Amphotericin B) เป็นยาต้านเชื้อราชนิดหนึ่ง มักใช้ให้ทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาการติดเชื้อรารุนแรง และได้ผลกับการติดเชื้อราบางชนิดเท่านั้น หมวดหมู่:ยาต้านเชื้อโปรโตซัว หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและแอมโฟเทอริซินบี · ดูเพิ่มเติม »

แอสโทรไซต์

แอสโทรไซต์ (astrocyte) เป็นเซลล์ค้ำจุนหรือเซลล์เกลียชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในระบบประสาทส่วนกลาง มีรูปร่างคล้ายดาว ทำหน้าที่คอยควบคุมปริมาณและชนิดของสารต่าง ๆ ที่จะผ่านเข้าออกเซลล์ประสาท แอสโทรไซต.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและแอสโทรไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรงอากาศอักเสบ

โพรงอากาศอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) เป็นการอักเสบในช่องโพรงอากาศภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ภายในโพรงอากาศจะมีการสร้างสารมูกจำนวนมาก ผู้ป่วยมักจะมีอาการคัดแน่นจมูก รับประทานอาหารไม่รู้รสชาติ รักษาได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ หมวดหมู่:โรค หมวดหมู่:การอักเสบ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและโพรงอากาศอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

โรคมือ เท้า และปาก

รคมือ เท้า และปาก (Hand, foot and mouth disease) เป็นโรคติดเชื้อในมนุษย์ เกิดจากไวรัสในแฟมิลีพิคอร์นาไวริดี ซึ่งสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุดคือไวรัสคอกแซคกี เอ และ Enterovirus 71 เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอชนิด 16 ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ไม่รุนแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ที่พบน้อยแต่รุนแรงคือ ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 โรคมือ เท้า และปากส่วนใหญ่พบในเด็ก เป็นโรคที่พบได้บ่อย การติดต่อค่อนข้างง่ายผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วย โรคนี้ส่วนใหญ่ติดต่อจากการกินอาหาร น้ำดื่ม การดูดเลียนิ้วมือ หรือของเล่นที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย พบน้อยที่จะติดต่อโดยการสูดเอาละอองน้ำมูกน้ำลายที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด มักมีการระบาดเป็นกลุ่มเล็กในสถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาล ส่วนใหญ่พบในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วง ระยะฟักตัวประมาณ 3-7 วัน โรคนี้พบน้อยในผู้ใหญ่ แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจติดเชื้อได้ง่าย โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคเท้าและปาก (Foot-and-mouth disease) ซึ่งเกิดกับวัว แกะ แม้จะเกิดจากไวรัสในแฟมิลีพิคอร์นาไวริดีเหมือนกันก็ตาม.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคมือ เท้า และปาก · ดูเพิ่มเติม »

โรคลมชัก

รคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (epilepsy มีรากศัพท์จากἐπιλαμβάνειν หมายถึง ยึด ครอบครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วย) เป็นกลุ่มโรคทางประสาทวิทยาซึ่งถูกจำกัดความโดยอาการชักอันมีต้นเหตุจากการทำงานอย่างสอดคล้องกันมากเกินไปของเซลล์ประสาท ระยะเวลาและความรุนแรงของโรคลมชักสามารถมีได้ตั้งแต่แบบสั้นๆและแทบไม่มีอาการ ไปจนถึงอาการสั่นอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ อาการชักดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเช่น กระดูกหัก ลักษณะสำคัญของโรคลมชักคืออาการชักจะเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้น อาการชักซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าอย่างใดหนึ่งอย่างชัดเจน (เช่น ภาวะขาดเหล้า) จะไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคลมชักในบางประเทศมักถูกตีตราจากสังคมเนื่องจากอาการที่แสดงออกมา โรคลมชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ดีโรคลมชักสามารถเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บทางสมอง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือ ได้รับการติดเชื้อทางสมอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อิพิเลปโตเจเนซิส ความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมชักในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย การชักจากโรคลมชักเป็นผลจากการทำงานที่ผิดปกติหรือมากเกินไปของเซลล์เปลือกสมอง การวินิจฉัยมักจะทำโดยการตัดภาวะอื่นๆซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันออกไปก่อน เช่น เป็นลม นอกจากนี้การวินิจฉัยยังรวมไปถึงการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นๆของการชักหรือไม่ เช่น การขาดแอลกอฮอล์ หรือ ความผิดปกติของปริมาณอิเล็กโตรไลต์ในเลือด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสมองผ่านการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และ การตรวจเลือด บ่อยครั้งโรคลมชักสามารถได้รับการยืนยันด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง แต่ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้ทำให้แพทย์สามารถตัดโรคดังกล่าวออกไปได้ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยยา ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลือกที่ให้ผลการควบคุมอาการดีมีราคาถูก ในกรณีที่อาการชักของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาการผ่าตัด การกระตุ้นระบบประสาท และ การเปลี่ยนอาหารได้เป็นกรณีไป โรคลมชักมิได้คงอยู่ตลอดไปในผู้ป่วยทุกราย มีผุ้ป่วยหลายรายที่อาการดีขึ้นจนถึงขั้นไม่ต้องใช้ยา ข้อมูลในปี..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคลมชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย

รคติดเชื้อลิสเทอเรีย (listeriosis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Listeria monocytogenes เชื้ออื่นที่อาจเป็นสาเหตุได้เช่น L. ivanovii และ L. grayi เชื้อนี้มักทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบประสาท (เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ ฝีในสมอง สมองใหญ่อักเสบ) และภาวะเลือดมีแบคทีเรียได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หญิงตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิด ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ผู้ที่มีสุขภาพปกติหากติดเชื้อรุนแรงอาจมีลำไส้อักเสบได้ เชื้อนี้พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ติดต่อผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ เมื่อกินเข้าไปแล้วเชื้อจะรุกล้ำเข้าผ่านทางเดินอาหารทำให้เกิดการติดเชื้อทั่วร่างกายได้ การจะวินิจฉัยการติดเชื้อนี้ทำได้โดยการเพาะเชื้อจากเลือดหรือจากน้ำหล่อสมองไขสันหลัง การรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้ผลเป็นส่วนใหญ่คือแอมพิซิลลินและเจนตาไมซิน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อแบคทีเรีย หมวดหมู่:ภาวะเกี่ยวกับผิวหนังซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรีย หมวดหมู่:โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคติดเชื้อลิสเทอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

โรคไมเกรน

รคไมเกรนหรือโรคปวดหัวข้างเดียว (migraine) เป็นความผิดปกติทางประสาทเรื้อรังอย่างหนึ่ง ลักษณะเด่นคือปวดศีรษะปานกลางถึงรุนแรงเป็นซ้ำ มักสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทอิสระจำนวนหนึ่ง ตรงแบบ อาการปวดศีรษะมีผลต่อศีรษะครึ่งซีก มีสภาพปวดตามจังหวะ (หัวใจเต้น) และกินเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 72 ชั่วโมง อาการที่สัมพันธ์อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง เสียงหรือกลิ่น โดยทั่วไปความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นจากกิจกรรมทางกาย ผู้ป่วยไมเกรนถึงหนึ่งในสามมีสัญญาณบอกเหตุ (aura) คือ การรบกวนภาพ การรับความรู้สึก ภาษาหรือการสั่งการร่างกายซึ่งบ่งบอกว่าจะเกิดปวดศีรษะในไม่ช้า บางครั้งสัญญาณบอกเหตุเกิดได้โดยมีการปวดศีรษะตามมาน้อยหรือไม่ปวดเลย เชื่อว่า ไมเกรนมีสาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมผสมกัน ผู้ป่วยประมาณสองในสามเป็นในครอบครัว การเปลี่ยนระดับฮอร์โมนผสมกัน เพราะไมเกรนมีผลต่อเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อยก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ แต่ในผู้ใหญ่ หญิงเป็นมากกว่าชายประมาณสองถึงสามเท่า ความเสี่ยงของไมเกรนปกติลดลงระหว่างการตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดของไมเกรน แต่เชื่อว่าเป็นความผิดปกติของประสาทควบคุมหลอดเลือด ทฤษฎีหลักสัมพันธ์กับการเร้าได้ (excitability) ที่เพิ่มขึ้นของเปลือกสมองและการควบคุมผิดปกติของเซลล์ประสาทรับความเจ็บปวดในนิวเคลียสของประสาทไทรเจมินัลในก้านสมอง เริ่มต้น การรักษาแนะนำ คือ ยาระงับปวดธรรมดา เช่น ไอบูโปรเฟนและพาราเซตามอล (หรืออะเซตามิโนเฟน) สำหรับปวดศีรษะ ยาแก้อาเจียนสำหรับคลื่นไส้ และการเลี่ยงตัวกระตุ้น อาจใช้สารเฉพาะเช่น ทริพแทนหรือเออร์โกทามีนในผู้ที่ยาระงับปวดธรรมดาใช้ไม่ได้ผล 15% ของประชากรทั่วโลกเคยเป็นไมเกรนครั้งหนึ่งในชีวิต.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคไมเกรน · ดูเพิ่มเติม »

โรคไลม์

รคไลม์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียในจีนัส Borrelia อย่างน้อย 3 ชนิด โดยมี Borrelia burgdorferi sensu stricto เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปอเมริกาเหนือ และ Borrelia afzelii กับ Borrelia garinii เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปยุโรป โรคนี้ตั้งชื่อตามเมืองไลม์และโอลด์ไลม์ รัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการตรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคไลม์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรแฟมพิซิน

รแฟมพิซิน (Rifampicin) หรือ ไรแฟมพิน (Rifampin) เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาทิ วัณโรค, โรคเรื้อน หรือ โรคลีเจียนแนร์ ยานี้มักใช้ควบคู่กับยาปฏิชีวนะอื่นๆ ยกเว้นเป็นการใช้เพื่อป้องกันแบคทีเรีย ''Haemophilus influenzae'' ชนิด b และไข้กาฬหลังแอ่น ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว ก่อนใช้ยาชนิดนี้จำเป็นต้องมีการตรวจนับเม็ดเลือดและวัดประสิทธิภาพของตับเสียก่อน สามารถรับยาไรแฟมพิซินได้โดยวิธีรับประทานหรือวีธีฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ผลข้างเคียงทั่วไปจากการใช้ยาได้แก่ คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง หรือ ไม่อยากอาหาร น้ำปัสสาวะและเหงื่อเป็นสีแดงออกส้ม และยังอาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ แม้ว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุปว่ายานี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์หรือไม่ แต่ที่ผ่านมามักใช้ยานี้รักษาวัณโรคในสตรีมีครรภ์ ยานี้ทำงานโดยไปขัดขวางการสร้างอาร์เอ็นเอของแบคทีเรีย ยาไรแฟมพิซินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและไรแฟมพิซิน · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์

ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus, VZV) หรือ ไวรัสเฮอร์ปีส์ในมนุษย์ชนิดที่ 3 (human herpesvirus type 3, HHV-3) เป็นไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่มไวรัสเริมซึ่งทำให้เกิดโรคในมนุษย์ เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด พบได้ทั่วโลก.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสเริม

อร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส (herpes simplex virus, HSV) ชนิดที่ 1 และ 2 (HSV-1 และ HSV-2) หรือฮิวแมนเฮอร์ปีส์ไวรัสชนิดที่ 1 และ 2 (human herpes virus, HHV) เป็นไวรัสชนิดหนึ่งในแฟมิลี Herpesviridae ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ ทั้ง HSV-1 และ HSV-2 เป็นเชื้อที่ติดต่อได้และพบได้ทั่วไป สามารถติดต่อได้เมื่อมีการเพิ่มจำนวนในผู้ติดเชื้อทำให้มีการผลิตตัวไวรัสออกมา อาการของการติดเชื้อ HSV คือทำให้มีตุ่มน้ำใสบนผิวหนังหรือเยื่อเมือกในปาก ริมฝีปาก และอวัยว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและไวรัสเริม · ดูเพิ่มเติม »

ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้กาฬหลังแอ่น

้กาฬหลังแอ่น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและไข้กาฬหลังแอ่น · ดูเพิ่มเติม »

เบนซิลเพนิซิลลิน

เบนซิลเพนิซิลลิน (benzylpenicillin) หรือเพนิซิลลิน จี (penicillin G) เป็นยาเพนิซิลลินชนิดมาตรฐาน โดยตัว G ย่อมาจาก Gold Standard หมายถึงมาตรฐานสูงสุดในการรักษา เพนิซิลลินจีเป็นยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำเนื่องจากไม่คงทนในกรดไฮโดรคลอริกซึ่งมีอยู่ในกระเพาะอาหาร หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก หมวดหมู่:เพนิซิลลิน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเบนซิลเพนิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

เพนิซิลลิน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเพนิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมอง

ื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) เป็นระบบของเยื่อหุ้มที่ปกคลุมระบบประสาทกลาง เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยชั้น 3 ชั้นได้แก่ เยื่อดูรา หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater), เยื่ออะแร็กนอยด์ หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (arachnoid mater), และเยื่อเพีย หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) หน้าที่หลักของเยื่อหุ้มสมองและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) คือเพื่อปกป้องระบบประสาทกลาง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่อหุ้มสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่ออะแร็กนอยด์

ื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หรือ เยื่ออะแร็กนอยด์ (Arachnoid mater) เป็นหนึ่งในชั้นของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง อยู่ระหว่างชั้นเยื่อดูรา (dura mater) ที่อยู่ด้านบนและเยื่อเพีย (pia mater) ที่อยู่ด้านล่างลึกลงไป โดยมีช่องว่างระหว่างเยื่อเพียและเยื่ออะแร็กนอยด์เรียกว่า ช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) เยื่ออะแร็กนอยด์มีลักษณะบาง คล้ายกับใยแมงมุม ยึดติดกับด้านในของเยื่อดูรา หุ้มรอบสมองและไขสันหลังแต่ไม่ได้แนบไปกับร่องหรือรอยพับของสมอง ข้างใต้เยื่อนี้ลงไปจะมีน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) อยู่ภายในช่องว่างใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid space) ซึ่งเต็มไปด้วยเส้นใยละเอียดของเยื่ออะแร็กนอยด์ยื่นลงไปยึดกับเยื่อเพีย ส่วนของเยื่ออะแร็กนอยด์ที่คลุมรอบสมองและไขสันหลังเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า arachnoidea encephali และ arachnoidea spinalis ตามลำดับ ในบางครั้งเราอาจเรียกเยื่ออะแร็กนอยด์และเยื่อเพียรวมเป็นโครงสร้างเดียวกัน เรียกว่า "เลปโตเมนิงซ์" (leptomeninges; มาจากรากศัพท์ภาษากรีก Lepto- แปลว่า บาง) และเรียกชั้นเยื่อดูราว่า "แพคีเมนิงซ์" (pachymeninx).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่ออะแร็กนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อดูรา

ื่อหุ้มสมองชั้นนอก หรือ เยื่อดูรา (Dura mater; มาจากภาษาละติน แปลว่า "hard mother") เป็นเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุดที่แข็ง หยาบ และไม่ยืดหยุ่นที่หุ้มสมองและไขสันหลัง โดยมีเยื่อหุ้มสมองชั้นอื่นๆ คือเยื่อเพีย (pia mater) และเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid mater) อยู่ด้านใต้ลึงลงไป เยื่อดูราจะไม่แนบสนิทกับไขสันหลัง โดยยื่นเลยผ่านไขสันหลังที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่ 2 ถึงประมาณกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บชิ้นที่ 2 Shepherd S. 2004.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่อดูรา · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อเพีย

ื่อหุ้มสมองชั้นใน หรือ เยื่อเพีย (pia mater; มาจากภาษาละตินซึ่งแปลมาจากภาษาอาหรับอีกที แปลว่า "มารดาที่อ่อนโยน") เป็นชั้นเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังที่อยู่ในสุด เยื่อเพียมีลักษณะบาง คล้ายกับตาข่าย หุ้มอยู่บนผิวทั้งหมดของสมอง และคลุมแนบไปบนร่องของคอร์เท็กซ์ของสมอง และมีส่วนเชื่อมกับอีเพนไดมา (ependyma) ซึ่งบุรอบโพรงสมองเพื่อสร้างเป็นคอรอยด์ เพล็กซัส (choroid plexus) ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ในไขสันหลัง เยื่อเพียจะติดกับเยื่อดูรา (dura mater) โดยโครงสร้างที่เรียกว่า เดนติคูลาร์ ลิกาเมนท์ (denticular ligaments) ผ่านเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid membrane) เยื่อเพียเจริญมาจากเซลล์นิวรัล เครสท์ (neural crest).

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่อเพีย · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เจนีวา

นีวา (Geneva) หรือออกเสียงในภาษาท้องถิ่นว่า เฌอแนฟว์ (Genève) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (รองจากซือริช) ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภาครอม็องดีอันเป็นภูมิภาคที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักในสวิตเซอร์แลนด์ นครเจนีวาตั้งอยู่บริเวณต้นแม่น้ำโรนซึ่งไหลออกจากทะเลสาบเจนีวา เจนีวามีสถานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐแห่งรัฐเจนีวา เจนีวาถือเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของโลก โดยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน, ศูนย์กลางทางการทูต เจนีวาถือเป็นเมืองที่มีองค์กรระหว่างประเทศตั้งอยู่มากที่สุดในโลก ในบรรดาองค์กรเหล่านี้อาทิ หน่วยงานของสหประชาชาติและกาชาดสากล เป็นต้น ในปี 2017 เจนีวาได้รับการจัดอันดับโดย Global Financial Centres Index ให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับ 15 ของโลก และเป็นที่ 5 ของทวีปยุโรป รองจากลอนดอน, ซือริช, แฟรงเฟิร์ต และลักเซมเบิร์ก และยังได้รับการจัดอันดับโดย Mercer's Quality of Living index ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลกในปีเดียวกัน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเจนีวา · ดูเพิ่มเติม »

เดอร์มอยด์ซีสต์

อร์มอยด์ซีสต์ (Dermoid cyst) เป็นซีสต์ที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังซึ่งจัดวางอยู่ผิดตำแหน่ง มักเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิดหรือวัยเด็ก ซีสต์ชนิดนี้มีส่วนประกอบเหมือนผิวหนังมากที่สุด ผนังของซีสต์ประกอบด้วยเซลล์ผิวหนัง เส้นผม ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมัน ลักษณะของซีสต์เป็นก้อนกลมและมักมีปอยผม เล็บ กระดูก หรือไขมันอยู่ภายใน ตำแหน่งที่พบได้แก่ บริเวณหางคิ้ว จมูก หนังศีรษะ หรือบางครั้งอาจพบได้ในท้อง.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเดอร์มอยด์ซีสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เด็กซาเมทาโซน

็กซาเมทาโซน (Dexamethasone) เป็นยาสเตอรอยด์ชนิดหนึ่ง มีฤทธิในการแก้อักเสบและลดภูมิคุ้มกัน ใช้ในการรักษาอาการจำพวกวิทยารูมาติก, โรคผิวหนัง, ภูมิแพ้, โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น, สมองบวม และจะใช้ควบคู่กับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยวัณโรค และจะใช้ควบคู่กับยาสเตอรอยด์ชนิดอื่นอย่างฟลูดอร์คอร์ทิโซน (Fludrocortisone) ในผู้ป่วยภาวะต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยาชนิดนี้ยังอาจถูกใช้ในการคลอดก่อนกำหนด ยาชนิดนี้สามารถรับยาได้หลายวิธี ทั้งโดยการรับประทาน, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าโพรงกระดูก ยาเด็กซาเมทาโซนจะออกฤทธิภายในหนึ่งวัน และคงฤทธิไปประมาณสามวัน การใช้เด็กซาเมทาโซนในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ได้แก่ โรคปากอักเสบจากเชื้อรา, โรคกระดูกพรุน, ต้อกระจก, ฟกช้ำง่าย หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง สตรีมีครรภ์สามารถใช้ยานี้ได้ แต่สตรีให้นมบุตรควรงดใช้ยานี้ เนื่องจากจะไปกดฮอร์โมนการเจริญเติบโตของทารก เด็กซาเมทาโซนถูกคิดค้นขึ้นใน..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเด็กซาเมทาโซน · ดูเพิ่มเติม »

เซฟาโลสปอริน

กลุ่ม Cephalosporins จัดเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่ม B-lactams ที่สกัดจากเชื้อรา Cephalosporium acremonium ซึ่งสารประกอบที่สกัดได้จากเชื้อรานี้มี 3 ชนิด คือ Cephalosporin P, Cephalosporin N และ Cephalosporin C ซึ่งยาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นอนุพันธุ์กึ่งสังเคราะห์ที่ได้จาก Cephalosporin C เพราะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมล.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเซฟาโลสปอริน · ดูเพิ่มเติม »

เซฟโฟแทกซิม

เซฟโฟแทกซิม (Cefotaxime) หมวดหมู่:เซฟาโลสปอริน.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเซฟโฟแทกซิม · ดูเพิ่มเติม »

เซฟไตรอะโซน

ซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายโรค เช่น หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระดูกและข้อ การติดเชื้อในช่องท้อง การติดเชื้อที่ผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หนองใน และการอักเสบในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น บางครั้งอาจใช้ก่อนการผ่าตัดหรือหลังบาดแผลจากการถูกกัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ สามารถให้ได้ผ่านการให้ทางหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการเจ็บปวดที่ตำแหน่งฉีดยา และการแพ้ยา ผลข้างเคียงอื่น เช่น ท้องเสียจากเชื้อ ''C. difficile'' โลหิตจางแบบมีเม็ดเลือดแดงแตก โรคของถุงน้ำดี และอาการชัก โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาเพนิซิลลินอย่างรุนแรง แต่ถ้าแพ้แบบมีอาการไม่รุนแรงบางครั้งอาจพิจารณาให้ใช้ได้ ห้ามให้ยานี้เข้าทางหลอดเลือดดำพร้อมกับแคลเซียม หลักฐานใหม่ๆ บ่งชี้ว่าการใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรน่าจะทำได้โดยปลอดภัย ยานี้เป็นยาในกลุ่มเซฟาโลสปอรินรุ่นที่สาม ซึ่งทำงานโดยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียสร้างผนังเซลล์ได้ ยานี้ถูกค้นพบเมื่อช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1980s โดยบริษัทฮอฟฟ์แมน-ลา โรช ได้รับการจัดเป็นหนึ่งในรายการยาสำคัญต้นแบบขององค์การอนามัยโลก และถือเป็นยาที่ปลอดภัยและใช้ได้ผลดีที่สุดชนิดหนึ่งในระบบบริการสุขภาพ ปัจจัยมีผลิตจำหน่ายได้ทั่วไป ถือเป็นยาที่มีราคาไม่แพง ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วราคาขายส่งของยานี้อยู่ที่ประมาณ 0.20-2.32 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ข้อมูลปี พ.ศ. 2557) ค่ารักษาด้วยยานี้ในประเทศสหรัฐอเมริกามักจะอยู่ที่ไม่เกิน 25 ดอลลาร์สหรัฐ ตลอดการรักษา In the United States a course of treatment is typically less than 25 USD.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเซฟไตรอะโซน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อตายเน่า

เนื้อตายเน่า (Gangrene) คือภาวะซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายตายไปเป็นปริมาณมาก จนเป็นภาวะซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ หรือพบในผู้ป่วยเรื้อรังจากโรคที่ส่งต่อการไหลเวียนเลือด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนนั้นๆ ทำให้เซลล์ตาย โรคเบาหวานและการสูบบุหรี่เป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้อตายเน่าได้ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อตายเน่า · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อบุผิว

นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อเยื่อบุผิว · ดูเพิ่มเติม »

Escherichia coli

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของ ''E. coli'' กำลังขยาย 10,000 เท่า Escherichia coli ("เอสเชอริเชีย โคไล" หรือ ") หรือเรียกโดยย่อว่า E. coli (อี. โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย เป็นต้น ถูกค้นพบโดย Theodur Escherich มีลักษณะเป็นรูปท่อน ติดสีแดง เป็นแกรมลบ เป็น Facultative aerobe.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและEscherichia coli · ดูเพิ่มเติม »

Haemophilus influenzae

Haemophilus influenzae, หรือมีชื่อเดิมว่า Pfeiffer's bacillus หรือ Bacillus influenzae เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นท่อน ค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและHaemophilus influenzae · ดูเพิ่มเติม »

JAMA

JAMA (The Journal of the American Medical Association) เป็นวารสารการแพทย์ ตรวจสอบโดยผู้ชำนาญในระดับเดียวกัน พิมพ์ 48 ครั้งต่อปี ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) มีเนื้อหาเกี่ยวกับทุก ๆ ด้านของชีวเวชหรือวิทยาศาสตร์ชีวเวช พิมพ์เนื้อหาหลักเป็นงานวิจัยดั้งเดิมหรืองานปริทัศน์ (หรือการทบทวนวรรณกรรม) และเนื้อหารองอื่น ๆ เช่น รายงานสัปดาห์ของความเจ็บป่วยและการตาย (Morbidity and Mortality Weekly Report) เป็นวารสารที่ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและJAMA · ดูเพิ่มเติม »

Mycobacterium tuberculosis

''Mycobacterium tuberculosis'' (ติดสีแดง) ในเนื้อเยื่อ(ติดสีน้ำเงิน) Mycobacterium tuberculosis (MTB) เป็นแบคทีเรียก่อโรคในสกุล Mycobacterium และเป็นสาเหตุของวัณโรค ค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและMycobacterium tuberculosis · ดูเพิ่มเติม »

Neisseria meningitidis

Neisseria meningitidis (ไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส) เป็นแบคทีเรียกรัมลบรูปกลมอยู่เป็นคู่ อาศัยอยู่ได้ในหลายสภาวะ เป็นที่รู้จักในฐานะเป็นเชื้อก่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคติดเชื้อเมนิงโกคอคคัสหรือไข้กาฬหลังแอ่นอื่นๆ เช่น meningococcemia เชื้อนี้เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและทุพพลภาพของเด็กและสตรีมีครรภ์ในประเทศอุตสาหกรรมและมีการระบาดในกะปิทวีปแอฟริกาและเอเชี.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและNeisseria meningitidis · ดูเพิ่มเติม »

15 มีนาคม

วันที่ 15 มีนาคม เป็นวันที่ 74 ของปี (วันที่ 75 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 291 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เยื่อหุ้มสมองอักเสบและ15 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Meningitis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »