โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพริคลีส

ดัชนี เพริคลีส

ริคลีส (Pericles; Περικλῆς "เป-ริ-แคลส"; ราว 495 – 429 ก่อนคริสตกาล)เป็นรัฐบุรุษ นักปราศัย และนายพล ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลอย่างสูง แห่งนครรัฐเอเธนส์ ในช่วงยุครุ่งเรืองของนครรัฐเอเธนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กรีกทำสงครามสู้รบกับเปอร์เซีย (ดู สงครามกรีก-เปอร์เซีย) และ ในช่วงมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน เพริคลีสสืบเชื้อสายทางฝ่ายแม่มาจากตระกูลแอลคมีโอนิดีที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจ โดยเป็นหลานตาของ ไคลสธีนีส รัฐบุรุษผู้สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้กับชาวเอเธนส์ เพริคลีสเป็นนักการเมืองที่อิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อนครเอเธนส์ ท่านมีส่วนอย่างมากในการสร้างอัตลักษณ์และความเจริญให้กับเอธนส์ใช่วงยุครุ่งเรือง ทิวซิดิดีสนักประวัติที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับท่าน ขนานนามเพริคลีสว่าเป็น "พลเมืองหมายเลขหนึ่งของเอเธนส์"Thucydides, 2.65 เพริคลีสเปลี่ยนสันนิบาตดีเลียน (League of Delian) ให้กลายเป็นจักรวรรดิทางทะเลที่มีศูนย์กลางที่เอเธนส์ และเป็นผู้นำของชาวเอเธนส์จนถึงช่วงสองปีแรกของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ในช่วงระหว่างปี 461 ถึง 429 ก่อนคริสตกาล เพริคลีสนำนครเอเธนส์รุ่งเรืองจนสู่ขีดสูงสุด ท่านส่งเสริมการพัฒนางานศิลปะ วรรณกรรม และวิทยาการความรู้สาขาต่างๆ จนผลักดันให้เอเธนส์กลายเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมและการศึกษาของโลกกรีซโบราณ เพริคลีสริเริ่มโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มากมายจนเปลี่ยนเอเธนส์ให้กลายเป็นนครที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมหินอ่อนที่อลังการ รวมไปถึงวิหารพาร์เธนอน ซึ่งยังปรากฏให้เห็นบนอะโครโพลิสของเอเธนส์มาจนปัจจุบัน โปรเจกต์ก่อสร้างเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความสวยงามยิ่งใหญ่อลังการ และช่วยปกป้องตัวเมืองจากศัตรู แต่ยังสร้างงานให้กับประชากรเอเธนส์ ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยุคสมัยของเพริคลีส" เพริคลีสเป็นนักพูดที่มีทักษะและไหวพริบมาก นอกจากนี้ยังเป็นรัฐบุรุษที่มีสเน่ห์และมีบารมีน่ายำเกรง เพราะมาจากตระกูลชนชั้นสูง เพริคลีสมักใช้ทักษะการพูด กล่าวตักเตือนให้ประชาชนของเอเธนส์มีความภาคภูมิใจในชาติ และมีความสามัคคีกัน ซึ่งจะเห็นได้จากเนื้อหาของสุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles' Funeral Oration) ที่ให้ไว้ต่อชาวเอเธนส์เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในปีแรกของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน กล่าวกันว่านครเอเธนส์เป็นประชาธิปไตยอยู่ได้อย่างมั่นคงก็เพราะมีนักการเมืองอย่างเพริคลีสเป็นผู้ชี้นำ เพริคลีสจึงไม่ได้เป็นเพียงนักการเมืองประชานิยมที่เก่งกาจ แต่ยังเป็นผู้นำทางจิตใจและทางศีลธรรมของชาวเอเธนส์ด้ว.

7 ความสัมพันธ์: กรีซโบราณสงครามกรีก-เปอร์เซียสงครามเพโลพอนนีเซียนอะโครโพลิสทิวซิดิดีสประมุขแห่งรัฐเอเธนส์

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: เพริคลีสและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ใหม่!!: เพริคลีสและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเพโลพอนนีเซียน

งครามเพโลพอนนีเซียน หรือ สงครามเพโลพอนนีส (Peloponnesian War; 431–404 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิเอเธนส์กับสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนที่นำโดยสปาร์ตา สงครามนี้ออกเป็นสามช่วง โดยช่วงแรกเรียกว่า "สงครามอาร์คีเดเมีย" (Archidamian War) เป็นการรุกรานแอททิกาของกองทัพสปาร์ตา ในขณะที่ฝ่ายเอเธนส์ใช้กองเรือที่มีประสิทธิภาพโจมตีกลับ สงครามช่วงนี้จบลงในปีที่ 421 ก่อนคริสตกาล ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพนิซิอัส แต่ต่อมาในปีที่ 415 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์กลับยกทัพบุกซีรากูซาบนเกาะซิซิลี แต่ล้มเหลว ช่วงที่สามของสงคราม สปาร์ตาได้สนับสนุนให้มีการก่อกบฏขึ้นตามนครรัฐใต้อำนาจเอเธนส์ จนนำไปสู่ยุทธนาวีที่เอกอสพอทาไมที่เป็นจุดยุติสงครามในที่สุด เอเธนส์ยอมแพ้สงครามในปีต่อม.

ใหม่!!: เพริคลีสและสงครามเพโลพอนนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

อะโครโพลิส

right อะโครโพลิส (Acropolis) คือ ป้อมปราการที่อยู่บนเทือกเขาสูง มีรากศัพท์คือ Acro มาจาก Akros แปลว่าสูง และ Polis แปลว่าเมือง ซึ่งมีอยู่หลายจุดในประเทศกรีซ โดยทั่วไปจะมีวิหารสำหรับเทพผู้พิทักษ์เมือง อะโครโพลิสที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ อะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ ซึ่งมีวิหารสามแห่ง คือ วิหารพาร์เทนอน (Parthenon) วิหารอิเรกเทียม (Erechtheum) และมีโรงละครอีกสองแห่งคือ โรงละครเฮโรเดส อัตติกัส (Theatre of Atticus) และโรงละครไดอะไนซัส (Theatre of Dionysus).

ใหม่!!: เพริคลีสและอะโครโพลิส · ดูเพิ่มเติม »

ทิวซิดิดีส

ทิวซิดิดีส (Thucydides; Θουκυδίδης,; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน ทิวซิดิดีสได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งสำนักความคิดสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่า เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังแสดงความสนใจในเรื่องการใช้ประวัติศาสตร์ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นกรณีของชาวเมเลียน) และสงครามกลางเมือง งานเขียนสำคัญจากยุคสมัยกรีกโบราณของท่าน ยังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณระหว่างทหารเอเธนส์กับผู้ปกครองชาวเมเลียน (The Melian Dialogue) ที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ก็ยังทรงอิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: เพริคลีสและทิวซิดิดีส · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: เพริคลีสและประมุขแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: เพริคลีสและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pericles

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »