เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เบาหวานและเบาหวานชนิดที่ 2

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เบาหวานและเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวาน vs. เบาหวานชนิดที่ 2

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก. หวานชนิดที่ 2 เป็นความผิดปกติของเมแทบอลิซึมระยะยาวซึ่งมีลักษณะคือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือด การดื้ออินซูลิน และการขาดอินซูลินโดยสัมพัทธ์ อาการโดยทั่วไปได้แก่ กระหายน้ำเพิ่มขึ้น ปัสสาวะมากและน้ำหนักลดที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการหิวบ่อย รู้สึกเหนื่อย และปวดไม่หาย อาการมักมาอย่างช้า ๆ ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากภาวะน้ำตาลสูงในเลือดรวมถึงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคจอตาเหตุเบาหวานซึ่งอาจเป็นเหตุให้ตาบอด ไตวายและมีการไหลเวียนโลหิตในแขนขาน้อยซึ่งอาจทำให้ต้องตัดอวัยวะออก อาจเกิดภาวะน้ำตาลสูงในเลือดและออสโมลาริตีสูง (hyperosmolar hyperglycemic state) ทว่า ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (ketoacidosis) พบไม่บ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เกิดจากโรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย บางคนมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมมากกว่าคนทั่วไป มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็นประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานแห่งครรภ์เป็นหลัก ในเบาหวานชนิดที่ 1 มีระดับอินซูลินทั้งหมดลดลงเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด เนื่องจากการเสียเซลล์บีตาที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนเหตุภาวะภูมิต้านตนเอง การวินิจฉัยโรคเบาหวานทำได้โดยการตรวจเลือด เช่น ระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหาร การทดสอบความทนกลูโคสทางปากหรือฮีโมโกลบินไกลเคต (glycated hemoglobin, A1C) เบาหวานชนิดที่ 2 ป้องกันได้ส่วนหนึ่งโดยการรักษาน้ำหนักให้ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การรักษามีการออกกำลังกายและเปลี่ยนแปลงอาหาร หากระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงอย่างเพียงพอ ตรงแบบแนะนำให้ยาเมตฟอร์มิน (metformin) หลายคนอาจลงเอยด้วยการฉีดอินซูลิน ในผู้ที่ต้องใช้อินซูลิน แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ทว่า อาจไม่จำเป็นในรายที่รับประทานยา การผ่าตัดโรคอ้วน (bariatric surgery) มักทำให้โรคเบาหวานดีขึ้นในผู้ป่วยอ้วน อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นมากนับแต่ปี 2503 ในทำนองเดียวกับโรคอ้วน ในปี 2558 มีประชากรประมาณ 392 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับประมาณ 30 ล้านคนในปี 2528 ตรงแบบโรคเริ่มในวัยกลางคนหรือสูงอายุ แม้อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 กำลังเพิ่มขึ้นในคนหนุ่มสาว เบาหวานชนิดที่ 2 สัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพสั้นลงสิบปี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เบาหวานและเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานและเบาหวานชนิดที่ 2 มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวานอินซูลินตับอ่อนโรคระบบหัวใจหลอดเลือดโรคหลอดเลือดสมองโรคจอตาเหตุเบาหวานไตวาย

ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน

วะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน หรือ ดีเคเอ (diabetic ketoacidosis - DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในบางสถานการณ์ DKA เป็นผลจากการขาดอินซูลิน ทำให้ร่างกายหันไปใช้พลังงานจากกรดไขมันซึ่งผลจากการเผาผลาญกรดไขมันจะทำให้ได้ผลผลิตเป็นคีโตนบอดี้ซึ่งทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจไม่เคยมีอาการหรือไม่เคยรับการตรวจมาก่อนเลย จนพบมีอาการอีกครั้งก็คือเป็นมากจนเป็น DKA แล้วก็มี สิ่งกระตุ้นให้เกิด DKA ในผู้ป่วยเบาหวานมีหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยคือการขาดยา อาการของ DKA ที่พบบ่อยคืออาเจียนมาก ขาดน้ำ หายใจลึกเร็ว สับสน หรือหมดสติถึงขั้นโคม่าได้ การวินิจฉัย DKA ทำได้โดยการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ แยกจากภาวะเลือดเป็นกรดอื่นๆ (ซึ่งพบน้อยกว่ามาก) ได้โดยตรวจพบมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก การรักษาที่สำคัญคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ให้อินซูลินเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ไม่ต้องย่อยสลายไขมันเกิดเป็นคีโตนและกรดคีโตน รักษาโรคที่พบร่วมและอาจเป็นเหตุกระตุ้นได้เช่นการติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งติดตามอาการใกล้ชิดเพื่อตรวจและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น DKA เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกใน..

ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวานและเบาหวาน · ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวานและเบาหวานชนิดที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อินซูลิน

ผลึกของอินซูลิน อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "ไอส์เล็ตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที.

อินซูลินและเบาหวาน · อินซูลินและเบาหวานชนิดที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ตับอ่อนและเบาหวาน · ตับอ่อนและเบาหวานชนิดที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

เบาหวานและโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · เบาหวานชนิดที่ 2และโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

เบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง · เบาหวานชนิดที่ 2และโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคจอตาเหตุเบาหวาน

จอตาเสื่อมจากเบาหวาน (diabetic retinopathy) หรือเรียก โรคตาเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความเสียหายต่อจอตาเนื่องจากโรคเบาหวาน สุดท้ายสามารถนำไปสู่ตาบอดได้ โรคนี้เป็นอาการแสดงทางตาของโรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคทั่วกาย เกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปร้อยละ 80 แม้มีสถิติเหล่านี้ แต่งานวิจัยบ่งชี้ว่าผู้ป่วยใหม่อย่างน้อยร้อยละ 90 สามารถลดได้หากมีการรักษาและเฝ้าสังเกตอย่างเหมาะสมและระวังระไว ยิ่งบุคคลนั้นเป็นเบาหวานนานเท่าใด ยิ่งมีโอกาสเกิดจอตาเสื่อมจากเบาหวานมากขึ้นเท่านั้น เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการตาบอดในผู้อายุระหว่าง 20 ถึง 64 ปี หมวดหมู่:เบาหวาน หมวดหมู่:ตาบอด หมวดหมู่:โรคของคอรอยด์และจอตา.

เบาหวานและโรคจอตาเหตุเบาหวาน · เบาหวานชนิดที่ 2และโรคจอตาเหตุเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

ไตวาย

ตวาย (renal failure, kidney failure, renal insufficiency) เป็นภาวะซึ่งการทำงานของไตผิดปกติไปจนไม่สามารถกรองสารพิษและของเสียออกจากเลือดได้เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน (ไตเสียหายเฉียบพลัน) และเรื้อรัง (ไตวายเรื้อรัง) ซึ่งเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หลายสาเหตุ ไตที่วายจะมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสลดลง ตรวจเคมีในเลือดมักพบว่ามีระดับครีแอทินีนในซีรัม (serum creatinine) สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของไตได้แก่ความผิดปกติของปริมาณสารน้ำในร่างกาย กรดด่างไม่สมดุล ระดับโพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต ผิดปกติ เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้เลือดจาง กระดูกหักแล้วหายช้า ในบางสาเหตุอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนปนในปัสสาวะได้ การเป็นโรคไตเรื้อรังส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ได้อย่างมาก.

เบาหวานและไตวาย · เบาหวานชนิดที่ 2และไตวาย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เบาหวานและเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวาน มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ เบาหวานชนิดที่ 2 มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 17.50% = 7 / (23 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เบาหวานและเบาหวานชนิดที่ 2 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: