โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทือกเขาหิมาลัย

ดัชนี เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

21 ความสัมพันธ์: ภาษาสันสกฤตยอดเขากันเจนชุงคายอดเขาเอเวอเรสต์ศัพทมูลวิทยาอนุทวีปอินเดียทวีปเอเชียทิเบตที่ราบสูงทิเบตประเทศบังกลาเทศประเทศภูฏานประเทศอินเดียประเทศจีนประเทศปากีสถานประเทศเนปาลแม่น้ำพรหมบุตรแม่น้ำสาละวินแม่น้ำสินธุแม่น้ำโขงเทือกเขาเทือกเขาการาโกรัมเทือกเขาฮินดูกูช

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขากันเจนชุงคา

right กันเจนชุงคา (Kanchenjunga) หรือ กัญจนชังฆา (कञ्चनजङ्घा) เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับสามของโลก รองจากยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขาเคทู ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยบริเวณพรมแดนประเทศอินเดียกับเนปาล มีความสูงกว่า 8,586 เมตร หรือ 28,169 ฟุต ก ก ก หมวดหมู่:เทือกเขาหิมาลัย.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและยอดเขากันเจนชุงคา · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและยอดเขาเอเวอเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัพทมูลวิทยา

ศัพทมูลวิทยา เป็นศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษ etymology หมายถึง การศึกษาที่มาของคำศัพท์ โดยอาศัยเอกสารโบราณ และการเปรียบเทียบกับภาษาอื่นๆ นักศัพทมูลวิทยาจะสืบสร้างประวัติของคำนั้นๆ ว่าคำนั้นมีการใช้ในภาษานั้นเมื่อใด มาจากแหล่งใด และมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงความหมายอย่างไร คำนี้มักจะใช้สับสนกับคำว่า นิรุกติศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาที่มาของภาษา หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ หมวดหมู่:ศัพทมูลวิทยา.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและศัพทมูลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทิเบต

ทิเบต (ภาษาทิเบต: བོད་ เป้อ, ภาษาจีน: 西藏 xīzàng ซีจ้าง) เป็นเขตที่ราบสูงในทวีปเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่อยู่ของชาวทิเบต และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และปัจจุบันมีชาวฮั่นและหุยมาอยู่อาศัยด้วยเป็นจำนวนมาก ทิเบตเป็นบริเวณที่สูงที่สุดในโลก มีระดับความสูงเฉลี่ย 4,900 เมตร หมวดหมู่:เอเชียกลาง หมวดหมู่:เอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบสูงทิเบต

ริเวณที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงทิเบต (Tibetan Plateau) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และมีพื้นที่บางส่วนในลาดักแคว้นแคชเมียร์ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร มีความสูงโดยเฉลี่ย 4,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล จึงได้ชื่อว่าเป็นหลังคาโลก เขตที่ราบสูงทิเบตเป็นเขตที่ราบสูงที่มีภูเขาล้อมถึง 3 ด้าน คือทางทิศเหนือมีเทือกเขาคุนหลุนทิศใต้มีเทือกเขาหิมาลัย และทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาคาราโครัม ที่ราบสูงทิเบตเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสายได้แก่ แม่น้ำเหลือง แม่น้ำแยงซี แม่น้ำสินธุ แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง แม่น้ำพรหมบุตร หมวดหมู่:ที่ราบสูง หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำพรหมบุตร

แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต แม่น้ำพรหมบุตร มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมืองคูวาหตี แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; Brahmaputra) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง อนึ่ง แม่น้ำยมุนาแห่งบังกลาเทศซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตรนี้เป็นคนละสายกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แห่งอินเดียซึ่งไหลขนานกับแม่น้ำคงคา และมารวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม ในภาษาอาหม เรียกแม่น้ำพรหมบุตรว่า น้ำดาวผี หรือ แสงดาว.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและแม่น้ำพรหมบุตร · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (Salween River; သံလွင်မြစ်; 40px; กะเหรี่ยงสะกอ: โคโหล่โกล) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง จากไทยพีบีเอส มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า นู่เจียง (怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ" และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสินธุ

วเทียมแม่น้ำสินธุ แม่น้ำสินธุ (Indus River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในปากีสถาน และเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 21 ในแง่ของการไหลผ่านประจำปี มักถูกพูดว่าเป็นเส้นชีวิตของชาวปากีสถาน ต้นกำเนิดของแม่น้ำอยู่บริเวณที่ราบสูงทิเบต ใกล้กับทะเลสาบมานาซาโรวาร์ ความยาวรวมของแม่น้ำมีความยาว 3,180 กิโลเมตร (1,976 ไมล์) และมีการไหลของน้ำมากกว่า 1,165,000 ตร.กม.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและแม่น้ำสินธุ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขา

เทือกเขาแอนดีส เทือกเขา หรือ ทิวเขา หมายถึงแนวทอดตัวของภูเขาที่ล้อมรอบด้วยพื้นที่ต่ำ หรือถูกแบ่งแยกออกจากภูเขาอื่นๆ ด้วยหุบเขาหรือแม่น้ำ ภูเขาแต่ละลูกที่อยู่ในเทือกเขาเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เหมือนกัน ซึ่งอาจเกิดจากการก่อเทือกเขา (orogeny) ที่แตกต่างกัน เช่น ภูเขาไฟ ภูเขายกตัวหรือภูเขายุบจม หรือมีชนิดของหินที่ไม่เหมือนกัน เทือกเขาแอนดีสเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก เทือกเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาที่มียอดเขาที่สูงสุดในโลก คือยอดเขาเอเวอร์เรสต์และเทือกเขาอาร์กติกคอร์ดิลเลอรา (Arctic Cordillera) ก็เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ทิศเหนือมากที่สุดของโลก หมวดหมู่:ภูเขา.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขา · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาการาโกรัม

เทือกเขาการาโกรัม เทือกเขาการาโกรัม (Karakoram, سلسلہ کوہ قراقرم, 喀喇昆仑山脉) เทือกเขาตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับเทือกเขาฮินดูกูช บริเวณเทือกเขาคาราโครัมเป็นเขตติดต่อกันสามประเทศได้แก่ ปากีสถาน จีน และอินเดีย จุดสุงสุดของเทือกเขาคือ ยอดเขาเคทู ตั้งอยู่บริเวณประเทศจีนและปากีสถาน การาโกรัม หมวดหมู่:ภูเขาในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาการาโกรัม · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาฮินดูกูช

เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาฮินดูกูช (Hindu Kush; हिन्दु कुश; هِندوکُش) เป็นเทือกเขาที่ขยายตัวต่อจากเทือกเขาการาโกรัมไปทางตะวันตก มีความยาวประมาณ 800 กิโลเมตร อยู่บริเวณรอยต่อของประเทศปากีสถานกับประเทศอัฟกานิสถาน มียอดเขาสูงที่มากกว่าระดับ 7,000 เมตร ถึง 20 ยอด ยอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดเขาติร์อิชเมียร์ในประเทศปากีสถาน เชิงเขาฝั่งตะวันตกของเทือกเขาฮินดูกูช มีทะเลสาบกลุ่มหนึ่ง แอ่งน้ำใสต่อเนื่องกันเป็นสายตามแนวแม่น้ำแบนด์-เออามีร์ ณ ระดับความสูงเกือบ 3,000 เมตร ฮินดูกูช หมวดหมู่:ภูเขาในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาฮินดูกูช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HimalayaHimalayasภูเขาหิมาลัยหิมาลัย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »