โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

ดัชนี เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

41 ความสัมพันธ์: บักกิงแฮมเชอร์บาร์กเชอร์ชาวแองโกล-แซกซันพ.ศ. 2549พ.ศ. 2552กลอสเตอร์เชอร์ยอร์กเชอร์ลิงคอล์นเชอร์วิลต์เชอร์วุร์สเตอร์เชอร์สแตฟฟอร์ดเชอร์อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ดอร์เซตดาร์บิเชอร์คอร์นวอลล์ซัฟฟอล์กซัมเมอร์เซตซัสเซกซ์ประเทศอังกฤษนอร์ฟอล์กนอร์มันนอร์ทัมเบอร์แลนด์นอร์แทมป์ตันเชอร์นอตทิงแฮมเชอร์แลงคาเชอร์แฮมป์เชอร์ไชร์เชชเชอร์เบดฟอร์ดเชอร์เลสเตอร์เชอร์เอสเซกซ์เฮริฟอร์ดเชอร์เทศมณฑลของอังกฤษเขตการปกครองของประเทศอังกฤษเดวอนเคมบริดจ์เชอร์เคนต์เซอร์รีย์19 ตุลาคม26 มกราคม

บักกิงแฮมเชอร์

ัคคิงแฮมเชอร์ (Buckinghamshire; ออกเสียง: ˈbʌkɪŋəmʃəˈ หรือ ˈbʌkɪŋəmʃɪəˈ; ย่อ Bucks) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน บัคคิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ บัคคิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เซาท์บัคส, ชิลเทิร์น, ไวคูมบ์, อายล์สบรี เวล, และ มิลตัน คีนส์ โดยมีอายล์สบรี เป็นเมืองหลวงของมณฑล และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมิลตัน คีนส์ บัคคิงแฮมเชอร์มีเนื้อที่ 1,874 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 719,000 คน ถัวเฉลี่ย 384 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร บัคคิงแฮมเชอร์มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, มณฑลบาร์คเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์, มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและบักกิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

บาร์กเชอร์

ร์กเชอร์ (Berkshire) บางทีก็เรียกว่า “ราชมณฑลบาร์กเชอร์” เพราะเป็นที่ตั้งของ พระราชวังวินด์เซอร์ การเรียกนี้ทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ยอมรับโดยสมเด็จพระราชินีในปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและบาร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแองโกล-แซกซัน

ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์เชอร์

กลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน กลอสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของค็อตสวอลล์, ลุ่มแม่น้ำเซเวิร์นและฟอเรสต์ออฟดีนทั้งหมด กลอสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเกว้นท์ในเวลส์ และมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์, มณฑลวอริคเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลวิลท์เชอร์, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท และมณฑลบริสตอลในอังกฤษ ในฐานะมณฑลบริหารกลอสเตอร์เชอร์ไม่รวมเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ที่มีการปกครองระบบการบริหารเป็นของตนเอง กลอสเตอร์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: กลอสเตอร์, ทูคสบรี, เชลท์แนม, ค็อตสวอลล์, สเตราด์, ฟอเรสต์ออฟดีน (ดิสตริคท์)ฟอเรสต์ออฟดีน และเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ โดยมีกลอสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล นอกจากกลอสเตอร์ก็ยังมีเมืองหลักอื่นๆ เช่นเชลท์แนม, สเตราด์, ไซเร็นเซสเตอร์ และทูคสบรี กลอสเตอร์เชอร์มีเนื้อที่ 3,150 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 839,000 คน ถัวเฉลี่ย 266 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและกลอสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์กเชอร์

อร์กเชอร์ (Yorkshire) เป็นเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษที่ตั้งอยู่ทางเหนือของอังกฤษและเป็นเทศมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ เพราะความที่มีขนาดใหญ่ยอร์กเชอร์ก็ต้องผ่านการปฏิรูปหลายครั้ง แต่โดยทั่วไปแล้วก็เป็นอาณาบริเวณที่มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและยอร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคอล์นเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลลิงคอล์นเชอร์ ลิงคอล์นเชอร์ หรือ ลิงคอล์นเชียร์ (Lincolnshire, or,; ย่อ Lincs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษโดยมีลิงคอล์นเป็นเมืองหลวง ลิงคอล์นเชอร์มีเขตแดนติดกับนอร์โฟล์ค, เคมบริดจ์เชอร์, รัทแลนด์, เลสเตอร์เชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, and the อีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ และมีเขตแดนติดกับนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ราว 19 เมตรซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างมณฑลที่สั้นที่สุดในอังกฤษ.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและลิงคอล์นเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลต์เชอร์

วิลท์เชอร์ (Wiltshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร 2 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินหินชอล์ก (Downland) สูงและหุบเขากว้าง ที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในมณฑลนี้มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวณที่ใช้ในการฝึกทหารของกองทัพอังกฤษ เมืองสำคัญที่สุดของวิลท์เชอร์คือซอลส์บรีที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษและเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซอลส์บรีและสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น คฤหาสน์ลองลีต (Longleat), คฤหาสน์วิลตัน (Wilton House), คฤหาสน์สเตาเออร์เฮด (Stourhead) และแอบบีย์เลค็อก (Lacock Abbey).

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและวิลต์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วุร์สเตอร์เชอร์

วุร์สเตอร์เชอร์ (Worcestershire เขียนย่อ Worcs) เป็นเทศมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางมิดแลนด์สตะวันตกของอังกฤษ ระหว่าง..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและวุร์สเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สแตฟฟอร์ดเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ สแตฟฟอร์ดเชอร์ หรือ สแตฟฟอร์ดเชียร์ (Staffordshire, สแตเฟิร์ดเชอร์ หรือ สแตเฟิร์ดเชียร์,, ย่อ Staffs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในภาคมิดแลนด์สตะวันตกของอังกฤษ โดยมีสแตฟฟอร์ดเป็นเมืองหลวง สแตฟฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับเชชเชอร์, ดาร์บีเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, วอริคเชอร์, เวสต์มิดแลนด์, วูสเตอร์เชอร์ และชร็อพเชอร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและสแตฟฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อ๊อกซฟอร์ดเชอร์

อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Oxfordshire) หรือมีชื่อย่อว่า “Oxon” ที่มาจากภาษาละติน “Oxonia” เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 635,600 คน มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลต่างได้แก่ นอร์ทแธมป์ตันเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์, บาร์คเชอร์, วิลท์เชอร์, กลอสเตอร์เชอร์ และวอริคเชอร์ มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: อ๊อกซฟอร์ด, เชอร์เวลล์, เวลแห่งไวท์ฮอร์ส, เซาท์อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และ เวสต์อ๊อกซฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์

ปราสาทฮาร์ตฟอร์ดในฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ หรือ ฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ (Hertfordshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์และมณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษโดยมีฮาร์ตฟอร์ดเป็นเมืองหลวง ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์เป็นหนึ่งในมณฑลรอบนครลอนดอนที่มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, บัคคิงแฮมเชอร์, เบดฟอร์ดเชอร์, เคมบริดจ์เชอร์ และ เอสเซ็กซ์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองเกิดของสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดอร์เซต

อร์เซ็ท (Dorset) เป็นเทศมณฑลในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีที่ไม่ใช่มหานคร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตนติดกับเดวอนทางด้านตะวันตก ซัมเมอร์เซตทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วิลต์เชอร์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแฮมป์เชอร์ทางตะวันออก ดอร์เซ็ทแบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เวย์มัธและพอร์ทแลนด์, เวสต์ดอร์เซ็ท, นอร์ธดอร์เซ็ท, เพอร์เบ็ค, อีสต์ดอร์เซ็ท, ไครสต์เชิร์ช, บอร์นมัธ, และพูลโดยมีดอร์เชสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล ดอร์เซ็ทมีเนื้อที่ 2653 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 708,100 คน (ค.ศ.) ถัวเฉลี่ย 265 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่เป็นชนบทประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล ชื่อเสียงของดอร์เซ็ทอยู่ที่ฝั่งทะเลเจอราสสิคซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกที่ประกอบด้วยลัลเวิร์ธโคฟว์ (Lulworth Cove), ไอล์ออฟพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland), หาดเชสซิล (Chesil Beach) และเดอร์เดิลดอร์ (Durdle Door) และเมืองชายทะเลบอร์นมัธ, พูล, เวย์มัธ, สวอนเนจ และไลม์รีจิส นอกจากนั้นดอร์เซ็ทก็ใช้เป็นฉากในนวนิยายหลายเรื่องโดยนักประพันธ์คนสำคัญของอังกฤษทอมัส ฮาร์ดี (Thomas Hardy) ผู้เกิดที่เมืองดอร์เชสเตอร์ ดอร์เซ็ทเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่โบราณที่จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเช่น ป้อมเนิน (ไม่ใช่เนินป้อม hill fort) ที่เมดเด็นคาสเซิล และฮอดฮิลล.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและดอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ดาร์บิเชอร์

ร์บิเชอร์ หรือ ดาร์บิเชียร์ (Derbyshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ ดินแดนส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติพีคดดิสตริคท์ (Peak District National Park) ตั้งอยู่ในดาร์บิเชอร์ ทางตอนเหนือของมณฑลคาบกับบริเวณแนวเนินเขาเพ็นไนน์ ดาร์บิเชอร์มีเขตแดนติดกับนครแมนเชสเตอร์และปริมณฑล, มณฑลเวสต์ยอร์คเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, สตาฟฟอร์ดเชอร์ และ เชสเชอร์ ดาร์บิเชอร์อาจจะอ้างได้ว่าเป็นศูนย์กลางของบริเตน เพราะฟาร์มหนึ่งในดาร์บิเชอร์กล่าวกันว่าเป็นฟาร์มที่ห่างจากทะเลมากที่สุดในบรรดาที่ต่างๆ ในบริเตน ดาร์บิเชอร์มีเนื้อที่ 2,625 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 996,000 คน ถัวเฉลี่ย 379 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและดาร์บิเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์นวอลล์

อร์นวอลล์ (Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์ คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัฟฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลซัฟฟอล์ก ซัฟฟอล์ก หรือ ซัฟเฟิก (Suffolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในบริเวณอีสต์แองเกลียของอังกฤษ โดยมีอิปสวิชเป็นเมืองหลวง ซัฟฟอล์กมีเขตแดนติดกับนอร์ฟอล์กทางตอนเหนือ, เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตก และเอสเซ็กซ์ทางตอนใต้ ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและซัฟฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

ซัมเมอร์เซต

ซัมเมอร์เซต (ภาษาอังกฤษ: Somerset) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร มณฑลภูมิศาสตร์ซัมเมอร์เซตมีเขตแดนติดกับบริสตอล และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ทางเหนือ, มณฑลวิลท์เชอร์ ทางตะวันออก, มณฑลดอร์เซตทางตะวันออกเฉียงใต้, และมณฑลเดวอนทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือและตะวันตกบางส่วนติดกับฝั่งทะเลของช่องแคบบริสตอลและปากน้ำ (estuary) ของแม่น้ำเซเวิร์น ตามธรรมเนียมทางเหนือของมณฑลเป็นแม่น้ำเอวอนแต่เขตการปกครองเลื่อนไปทางใต้เมื่อนครบริสตอลและอดีตมณฑลเอวอนและต่อมารัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวขยายเขตการปกครองทางเหนือของมณฑล ซัมเมอร์เซตเป็นมณฑลชนบทที่มีภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ เช่นเม็นดิพฮิลล์ส, ควานต็อคฮิลล์ส และอุทยานแห่งชาติเอ็กซ์มัวร์ และดินแดนที่กว้างไกลที่รวมทั้งซัมเมอร์เซตเลเวลส์ ซัมเมอร์เซตมีหลักฐานว่ามีผู้มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคหินใหม่และต่อมาในสมัยโรมัน และแซ็กซอน ต่อมาซัมเมอร์เซตก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งการรวบรวมอำนาจของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, สงครามกลางเมืองอังกฤษ และการปฏิวัติมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) การเกษตรกรรมเป็นธุรกิจหลักของมณฑลที่รวมทั้งการเลี้ยงแกะและวัว ที่ใช้ในการทำขนแกะและเนยแข็ง นอกจากนั้นก็มีการตัดวิลโลว์สำหรับสานตะกร้า การทำสวนแอปเปิลครั้งหนึ่งเคยทำกันเป็นอุตสาหกรรมแต่ในปัจจุบันซัมเมอร์เซตก็ยังมีชื่อเสียงในการทำไซเดอร์ (cider) สถิติผู้ว่างงานโดยถัวเฉลี่ยน้อยกว่าระดับชาติ การรับจ้างที่สูงที่สุดอยู่ในการค้าขาย, การผลิต, การท่องเที่ยว, และการสุขภาพและการสังคมสงเคราะห์ การขยายตัวของจำนวนประชากรโดยถัวเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ซัมเมอร์เซตแบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: เซาท์ซัมเมอร์เซต, ทอนทันดีน, เวสต์ซัมเมอร์เซต, เซจมัวร์, เม็นดิพ, บาธและนอร์ธอีสต์ซัมเมอร์เซต, นอร์ธซัมเมอร์เซต โดยมีทอนทันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ซัมเมอร์เซตมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 905,700 คน ในเนื้อที่ 4,171 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและซัมเมอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ซัสเซกซ์

ซัสเซกซ์ (Sussex) ภาษาอังกฤษเก่าเรียกว่า Sūþseaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ เป็นอดีตเทศมณฑลในภูมิภาคเซาท์อีสต์อิงแลนด์ของอังกฤษ มีอาณาบริเวณใกล้เคียงกับราชอาณาจักรซัสเซกซ์ในอดีต เขตแดนทางด้านเหนือติดกับเทศมณฑลเซอร์รีย์, ด้านตะวันออกติดกับเคนต์, ด้านใต้ติดช่องแคบอังกฤษ และด้านตะวันตกแฮมป์เชอร์ และแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็นเวสต์ซัสเซกซ์ และอีสต์ซัสเซกซ์ และนครไบรตันและโฮฟ นครไบรตันและโฮฟใช้ระบบรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวในปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลนอร์ฟอล์ก นอร์ฟอล์ก หรือ นอร์เฟิก (Norfolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ โดยมีนอริชเป็นเมืองหลวง นอร์ฟอล์กมีเขตแดนติดกับลิงคอล์นเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงใต้ และซัฟฟอล์กทางด้านใต้ ทางเหนือและตะวันออกติดทะเลเหนือ.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและนอร์ฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ทัมเบอร์แลนด์

นอร์ทธัมเบอร์แลนด์ (ภาษาอังกฤษ: Northumberland) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ทางด้านตะวันตกติดกับมณฑลคัมเบรีย, ด้านใต้กับเคานติเดอแรม, ด้านตะวันออกเฉียงใต้มณฑลไทน์และเวียร์ และทางเหนือติดกับสกอตแลนด์ ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลเหนือที่ยาวเกือบ 80 ไมล์ นอร์ทธัมเบอร์แลนด์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 310,600 คนในเนื้อที่ 5013 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ไทน์และเวียร์แยกไปเป็นมณฑลอิสระในปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและนอร์ทัมเบอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์แทมป์ตันเชอร์

ตึกเทศบาลเมืองนอร์ทแธมป์ตัน นอร์ทแธมป์ตันเชอร์ หรือ นอร์ทแธมป์ตันเชียร์ (Northamptonshire;; ย่อ Northants. หรือ N/hants) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรในภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษโดยมีนอร์ทแธมป์ตันเป็นเมืองหลวง และมีพรมแดนติดกับวอริคเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, รัทแลนด์, เคมบริดจ์เชอร์ (รวมทั้งนครปีเตอร์บะระห์), เบดฟอร์ดเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์ (รวมทั้งมิลตันคีนส์), อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และ ลิงคอล์นเชอร์ นอร์ทแธมป์ตันเชอร์มีประชากร 629,676 คน (สถิติ ค.ศ. 2001).

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและนอร์แทมป์ตันเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นอตทิงแฮมเชอร์

นอตทิงแฮมเชอร์ (Nottinghamshire เขียนย่อ “Notts”) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน นอตทิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลเซาท์ยอร์คเชอร์, มณฑลลิงคอล์นเชอร์, มณฑลเลสเตอร์เชอร์ และมณฑลดาร์บีเชอร์ นอตทิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: รัชคลิฟฟ์, บร็อกซโทว์, แอชฟิล์ด, เก็ดลิง, นิวอาร์คและเชอร์วูด, แมนสฟิล์ด, บาสเซ็ทลอว์ และนอตทิงแฮม ตามธรรมเนียมแล้วนอตทิงแฮมเป็นเมืองหลวงของมณฑลแต่ปัจจุบันเมืองหลวงคือเวสต์บริดจ์ฟอร์ดบริเวณหนึ่งของปริมณฑลนอตทิงแฮม การบริหารนอตทิงแฮมเดิมเป็นส่วนหนึ่งของนอตทิงแฮมเชอร์ระหว่างปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและนอตทิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แลงคาเชอร์

แลงคาสเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Lancashire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักร ด้านตะวันตกติดกับทะเลไอริช ชื่อของมณฑลมาจากชื่อเมืองแลงคาสเตอร์ หรือบางที่เรียกว่า “เคานตี้แห่งแลงคาสเตอร์” - Lancashire และถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง แลงคาสเชอร์เรียกสั้นๆ ว่า “Lancs” แลงคาสเชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,451,500 คน ในเนื้อที่ 3079 ตารางกิโลเมตร ผู้ที่อาศัยอยู่ในแลงคาสเชอร์เรียกว่า “แลงคาสเตรียน” แลงคาสเชอร์แบ่งการปกครองเป็นสิบสี่แขวง: เวสต์แลงคาสเชอร์, คอร์ลีย์, เซาท์ริบเบิล, ฟิลด์, เพรสตัน, ไวร์, นครแลงคาสเตอร์, ริบเบิลแวลลีย์, เพนเดิล, เบิร์นลีย์, รอสเซ็นเดล, ฮินด์เบิร์น, แบล็คพูล, และ แบล็คเบิร์นและดาร์เวน โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ เพรสตัน ประวัติศาสตร์แลงคาสเชอร์อาจจะเริ่มราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในบันทึกทะเบียนราษฎรดูมสเดย์ (Domesday Book) ที่ทำในปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและแลงคาเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮมป์เชอร์

ที่ตั้งของมณฑลแฮมป์เชอร์ แฮมป์เชอร์ หรือ แฮมป์เชียร์ (Hampshire,; ย่อ Hants) หรือ “มณฑลเซาท์แธมพ์ตัน” บางครั้งก็เคยเรียกว่า “เซาท์แธมป์ตันเชอร์” หรือ “แฮมป์ตันเชอร์” แฮมป์เชอร์เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านใต้ของอังกฤษโดยมีวินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวง แฮมป์เชอร์มีเขตแดนติดกับดอร์เซ็ท, วิลท์เชอร์, บาร์คเชอร์, เซอร์รีย์ และ เวสต์ซัสเซ็กซ.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและแฮมป์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชร์

ร์ (ภาษาอังกฤษ: Shire) เป็นเขตบริหารการปกครองโบราณของบริเตนใหญ่และออสเตรเลีย คำว่า “ไชร์” กับ “เคาน์ตี้” ใช้แลกเปลี่ยนกันมาตั้งแต่สมัยนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ในภาษาอังกฤษใหม่คำว่า “ไชร์” มักจะไม่ใช้แทนที่คำว่า “เคาน์ตี้” นอกจากนั้นคำว่า “ไชร์” ยังเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายชื่อมลฑลหลายมลฑลในอังกฤษ เช่น มลฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ หรือ มลฑลเลสเตอร์เชอร์ แต่จะออกเสียง “เชอร์” เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อมลฑล ในออสเตรเลีย “ไชร์” ยังคงใช้เป็นเขตบริหารการปกครองในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและไชร์ · ดูเพิ่มเติม »

เชชเชอร์

อร์ (Cheshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่นครเชสเตอร์ แม้ว่าเมืองใหญ่ที่สุดจะเป็นวอร์ริงตัน เชชเชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเมอร์ซีย์ไซด์และนครแมนเชสเตอร์และปริมณฑลทางตอนเหนือ, ดาร์บีเชอร์ทางด้านตะวันออก, สแตฟฟอร์ดเชอร์และชร็อปเชอร์ทางด้านใต้ ฟลินท์เชอร์และเร็กแซมในเวลส์ทางตะวันตก เชชเชอร์มีเนื้อที่ 2,343 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,003,600 คน ถัวเฉลี่ย 428 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเชชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบดฟอร์ดเชอร์

อกกล้วยไม้ผึ้งดอกไม้ประจำเทศมณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ เบดฟอร์ดเชอร์ (Bedfordshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์และมณฑลในประวัติศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันออกของอังกฤษ เบดฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับเคมบริดจ์เชอร์, นอร์ทแธมป์ตันเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์ และ ฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ จุดที่สูงที่สุดอยู่ที่ดันสตเบิลดาวน์สในชิลเทิร์นสที่สูง 243 เมตร ส่วนหนึ่งของการส่งเสริมเบดฟอร์ดเชอร์ทางการตลาดในปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเบดฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เลสเตอร์เชอร์

ที่ตั้งของมณฑลเลสเตอร์เชอร์ เลสเตอร์เชอร์ หรือ เลสเตอร์เชียร์ (Leicestershire, or,; ย่อ Leics) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ไม่มีเขตแดนติดทะเล เลสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางตอนกลางของอังกฤษ ชื่อของมณฑลมาจากชื่อเมืองเลสเตอร์ เลสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับดาร์บีเชอร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ, น็อตติงแฮมเชอร์ทางเหนือ, รัทแลนด์ทางตะวันออก, วอริคเชอร์ทางตะวันตกเฉียงใต้, สตาฟฟอร์ดเชอร์ทางตะวันตก, ลิงคอล์นเชอร์ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และ นอร์ทแธมตันเชอร์ทางตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเลสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอสเซกซ์

อสเซ็กซ์ (Essex) เป็นมณฑลหนึ่งทางตะวันออกของอังกฤษ เมืองเอกคือ เชล์มสฟอร์ด (Chelmsford) จุดที่สูงที่สุดของมณฑลนี้คือที่ Chrishall Common ใกล้กับหมู่บ้านแลงลีย์ (Langley) ซึ่งมีความสูง 144.6 เมตร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเอสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮริฟอร์ดเชอร์

ทิวทัศน์เมืองเฮริฟอร์ดที่เห็นมหาวิหารเฮริฟอร์ด เฮริฟอร์ดเชอร์ หรือ เฮริฟอร์ดเชียร์ (Herefordshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคมิดแลนด์สตะวันตกของอังกฤษโดยมีเฮริฟอร์ดซึ่งเป็นเมืองมหาวิหารเป็นเมืองหลวง เฮริฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับชร็อปเชอร์ทางตอนเหนือ, วูสเตอร์เชอร์ทางตะวันออก, กลอสเตอร์เชอร์ทางตะวันออกเฉียงใต้ และทางด้านเวลส์ก็มีมณฑลเกวนต์ทางตะวันตกเฉียงใต้ และเพาวิสทางตะวันตก.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเฮริฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเทศมณฑลของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศอังกฤษ

รงสร้างระดับการปกครองของอังกฤษ เขตการปกครองของประเทศอังกฤษ มีสี่ระดับและแต่ละในระดับก็ยังแบ่งย่อยเป็นลักษณะต่าง ๆ จุดประสงค์ของการแบ่งระดับก็เพื่อใช้ในการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นในอังกฤษ หน่วยการปกครองบางหน่วยก็รวมการปกครองสองระดับเข้าด้วยกันเช่นเขตเกรเทอร์ลอนดอนที่เป็นทั้งการปกครองระดับภาคและระดับเทศมณฑล.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเขตการปกครองของประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เดวอน

วอน (ภาษาอังกฤษ: Devon) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร เดวอนบางครั้งก็เรียกว่า “เดวอนเชอร์” แต่เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการ เดวอนมีเขตแดนติดกับมณฑลคอร์นวอลล์ทางตะวันตกและมณฑลดอร์เซ็ทกับมณฑลซอมเมอร์เซ็ททางตะวันออก ชายฝั่งทะเลด้านใต้เป็น ช่องแคบอังกฤษทางด้านเหนือเป็นช่องแคบบริสตอลซึ่งทำให้เป็นมณฑลเดียวในอังกฤษที่มีชายฝั่งทะเลสองด้านที่แยกกัน เดวอนมีหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวสองหน่วย: เมืองท่าพลิมัธและทอร์เบย์ที่เป็นกลุ่มบริเวณที่ท่องเที่ยวชายทะเลนอกไปจากเทศบาลการปกครองของมณฑลเดวอนเอง พลิมัธเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นชนบทรวมทั้งบริเวณอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีประชากรมากเป็นลำดับสามของบรรดามณฑลต่างๆ โดยมีประชากรทั้งหมด 1,109,900 คน โดยมีประชากรถัวเฉลี่ย 365 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชาชนเบาบางเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในบริเวณอื่น เดวอนแบ่งการปกครองเป็นสิบแขวง: เอ็กซิเตอร์, อีสต์เดวอน, มิดเดวอน, นอร์ธเดวอน, ทอร์ริดจ์, เวสต์เดวอน, เซาท์แธมส, เทนบริดจ์, พลิมัธ และทอร์เบย์ โดยมีเมืองมณฑลอยู่ที่ เอ็กซิเตอร์ เดวอนเป็นที่ตั้งของชายฝั่งทะเลมรดกโลกที่เป็นที่เรียกว่าฝั่งทะลเจอราสิค (Jurassic Coast) ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาและลักษณะทางภูมิศาสตร์ เดวอนและคอร์วอลล์เป็นที่รู้จักันในชื่อ “Cornubian massif” ซึ่งเป็นลักษณะธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ของดาร์ทมัวร์ และเอ็กซมัวร์ที่เป็นอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีเมืองท่องเที่ยวทางชายทะเลและมีเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมือง และมีอากาศที่ไม่รุนแรงซึ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของมณฑล.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเดวอน · ดูเพิ่มเติม »

เคมบริดจ์เชอร์

มบริดจ์เชอร์ (Cambridgeshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษที่มีเขตแดนติดกับมณฑลลิงคอล์นเชอร์ทางตอนเหนือ, มณฑลนอร์โฟล์คทางตะวันออกเฉียงเหนือ, มณฑลซัฟโฟล์คทางตะวันออก, มณฑลเอสเซ็กซ์และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ทางตอนใต้ และ มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์และมณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ปัจจุบันเกิดจากอดีตมณฑลเคมบริดจ์เชอร์เดิม และมณฑลฮันทิงดันเชอร์และไอล์ออฟอีลี (Isle of Ely) และโซคออฟปีเตอร์บะระห์ (Soke of Peterborough) เมืองหลวงของมณฑลคือเคมบริดจ์ เคมบริดจ์เชอร์มีเนื้อที่ 3,389 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 760,700 คน ถัวเฉลี่ย 224 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเคมบริดจ์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์รีย์

เซอร์รีย์ (Surrey) คือ มณฑลหนึ่งทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลบาร์คเชอร์ เกรตเตอร์ลอนดอน (Greater London) แฮมป์เชอร์ เค้นท์ อีสต์ซัสเซกซ์ และเวสต์ซัสเซกซ์ เมืองเอกคือกิลด์ฟอร์ด หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เซอร์รีย์.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและเซอร์รีย์ · ดูเพิ่มเติม »

19 ตุลาคม

วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันที่ 292 ของปี (วันที่ 293 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 73 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและ19 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

26 มกราคม

วันที่ 26 มกราคม เป็นวันที่ 26 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 339 วันในปีนั้น (340 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษและ26 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Historic counties of Englandมณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์มณฑลในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »