เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เทศกาลกินเจและไฉ่สิ่งเอี้ย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เทศกาลกินเจและไฉ่สิ่งเอี้ย

เทศกาลกินเจ vs. ไฉ่สิ่งเอี้ย

ทศกาลกินเจ หรือ กินแจ (九皇勝會 Jiǔ huán Shèng huì; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย; Nine Emperor Gods Festival หรือ 九皇大帝誕; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องไต่เต้ตั้น) หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอเชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศจีน(ประกอบด้วยฮ่องกงและมฑทณไต้หวัน) ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว.. ฉ่สิ่งเอี้ย หรือ จ่ายสินเอี้ย (财神; พินอิน: Cái-shén; Cai Shen, God of wealth, God of fortune) เป็นเทพเจ้าของจีนที่ให้คุณทางด้านเงินทอง และโชคลาภ (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) ซึ่งสำหรับชาวจีนแล้วถือเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเริ่มเข้าสู่ปีนักษัตรใหม่ (ตรุษจีน) เนื่องจากเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการกราบไหว้เป็นองค์แรกทีเดียว โดยคำว่า "ไฉ่สิ่ง" หรือ "ไฉซิ้ง" มีความหมายว่า "ทรัพย์สิน" หรือ "สิริมงคล" "เอี้ย" หมายถึง "เทพเจ้า" โดยเทพที่ได้รับการนับถือว่าเป็นไฉ่ซิ้งเอี้ย มีด้วยกันหลายองค์ แต่องค์ที่ได้รับการบูชามากที่สุด คือ ฟ่านหลี และปี่ กั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ โดยถือว่าเป็นไฉ่สิ่งเอี้ยฝ่ายบุ๋น ขณะที่จ้าวกงหมิง และกวนอู ถือเป็นไฉ่สิ่งเอี้ยฝ่ายบู๊ การบูชาไฉ่สิ่งเอี้ย สามารถพบได้ในหลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเก๊า, ฮ่องกง เป็นต้น ไฉ่สิ่งเอี้ยที่มีความเก่าแก่ที่สุดพบที่บนหน้าผาในทิเบต เรียกว่าปางชัมภล เชื่อว่าไฉ่สิ่งเอี้ย จะเสด็จมายังโลกมนุษย์เพียงปีละครั้ง คือ ในวันตรุษจีน ดังนั้น ชาวจีนตั้งแต่โบราณเมื่อเข้าสู่วันตรุษจีน (นับตั้งแต่ 0.00 น.) จะทำการตั้งโต๊ะบูชาไฉ่สิ่งเอี้ย โดยการหันหน้าไปทิศต่าง ๆ ที่เชื่อว่าไฉ่สิ่งเอี้ยจะเสด็จลงมา ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยเวลาที่จะทำการบูชา คือ 23.00–01.00 น. ของวันตรุษจีน โดยทำการบูชาที่ดาดฟ้าบ้านหรือหลังคาบ้าน หรือระเบียงบ้านชั้นสองหรือสาม หรือหน้าบ้านก็ได้ ซึ่งของที่ทำการบูชาใช้ของหวาน เช่น ผลไม้, อาหารเจ, บัวลอย, สาคู หรือของรับประทานต่าง ๆ ที่มีสีสันสดใส แต่ไม่ใ้ช้ของคาวหรือเนื้อสัตว์ พร้อมกับนำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เช่น สมุดบัญชีธนาคาร, เช็ค หรือกระเป๋าเงิน มาตั้งวางไว้ด้วย เป็นต้น และเมื่อธูปที่ใช้บูชาใกล้มอดให้รีบนำเข้าบ้าน และปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อให้ควันธูปที่เหลือนั้นตลบอบอวลอยู่ภายในบ้าน เชื่อว่าเป็นการอัญเชิญไฉ่สิ่งเอี้ยเข้ามาประทับในบ้าน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เทศกาลกินเจและไฉ่สิ่งเอี้ย

เทศกาลกินเจและไฉ่สิ่งเอี้ย มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พินอินภาษาหมิ่นใต้ภาษาแต้จิ๋วอักษรจีนตัวย่อตรุษจีนเกาหลี

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

พินอินและเทศกาลกินเจ · พินอินและไฉ่สิ่งเอี้ย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้

ษาหมิ่นใต้, ภาษาหมิ่นหนาน เป็นสำเนียงของภาษาจีน ใช้พูดทางใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน และบริเวณใกล้เคียง และโดยลูกหลานของผู้อพยพจากบริเวณนี้เข้าไปยังบริเวณอื่นๆทั่วโลก โดยทั่วไปภาษาหมิ่นใต้เป็นชื่อเรียกโดยชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำเนียงหนึ่งในภาษานี้เรียกภาษาไต้หวัน อยู่ในกลุ่มภาษาหมิ่น ของภาษาจีน โดยปกติไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาหมิ่นตะวันออก ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง.

ภาษาหมิ่นใต้และเทศกาลกินเจ · ภาษาหมิ่นใต้และไฉ่สิ่งเอี้ย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ภาษาแต้จิ๋วและเทศกาลกินเจ · ภาษาแต้จิ๋วและไฉ่สิ่งเอี้ย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

อักษรจีนตัวย่อและเทศกาลกินเจ · อักษรจีนตัวย่อและไฉ่สิ่งเอี้ย · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษจีน

pinoy301770 ตรุษจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (正月) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (除夕) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ" ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี..

ตรุษจีนและเทศกาลกินเจ · ตรุษจีนและไฉ่สิ่งเอี้ย · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

เกาหลีและเทศกาลกินเจ · เกาหลีและไฉ่สิ่งเอี้ย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เทศกาลกินเจและไฉ่สิ่งเอี้ย

เทศกาลกินเจ มี 68 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไฉ่สิ่งเอี้ย มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 6.90% = 6 / (68 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เทศกาลกินเจและไฉ่สิ่งเอี้ย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: