โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทวสถานโรมัน

ดัชนี เทวสถานโรมัน

รงละครมาร์เชลโลในกรุงโรม (เทวสถานโรมันแบบกรีก) เทวสถานโรมัน (Roman temple หรือ Fanum) ในความเชื่อเดิมในเรื่องที่เกี่ยวกับลัทธิเพกันโรมันผู้ถือปฏิบัติมักจะทำการสักการะที่เทวสถาน การสังเวยมักจะทำกันบนแท่นบูชาภายนอกเทวสถานที่ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถรับผู้เข้าร่วมพิธีได้มากกว่า เทวสถานโรมันจะมีขนาดไม่ใหญ่นักและจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่ตั้งของรูปสลักของเทพประจำลัทธินิยมในห้องหลักที่เรียกว่า “cella” (เซลลา) เซลลาเองก็อาจจะมีแท่นบูชาขนาดเล็กสำหรับจุดธูป หลังเซลลาก็จะเป็นห้องเดียวหรือหลายห้องที่ใช้โดยผู้เข้าร่วมพิธีสำหรับเก็บเครื่องไม้เครื่องมือหรือสิ่งที่จะถวายเท.

39 ความสัมพันธ์: บาธพลูโต (เทพปกรณัม)มาส์ลอนดอนลัทธิบูชาลัทธินอกศาสนาวิหารแพนธีอันวีนัส (เทพปกรณัม)ศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์ยุคแรกอะพอลโลอียิปต์โบราณจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิเปอร์เชียจังหวัดเวียนจัตุรัสโรมันจูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)จูโนคิวปิดซัมเมอร์เซตประเทศฝรั่งเศสประเทศสกอตแลนด์ประเทศอังกฤษประเทศจอร์แดนประเทศตุรกีประเทศโครเอเชียประเทศโปรตุเกสประเทศเลบานอนแซตเทิร์นโบสถ์คริสต์โรมโบราณไอซิสไดแอนา (เทพปกรณัม)เมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)เทวสถานบาคคัสเทวสถานอาร์ทีมิสแห่งเจราชเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินาเทวสถานแซเทิร์นเทวสถานเวสตา

บาธ

(ภาษาอังกฤษ: Bath) เป็นเมืองที่มีฐานะนครในมณฑลซอมเมอร์เซ็ทในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ บาธตั้งอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตก 156 กิโลเมตร และจากบริสตอลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 21 กิโลเมตร บาธมีประชากรทั้งหมดประมาณ 80,000 คน บาธได้รับพระราชทานฐานะเป็น “นคร” โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและบาธ · ดูเพิ่มเติม »

พลูโต (เทพปกรณัม)

พลูโต (Πλούτων, Ploutōn) ทรงเป็นผู้ครองโลกบาดาลในเทพปกรณัมคลาสสิก พระนามก่อนหน้าของพระองค์ คือ เฮดีส ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกโลกบาดาลมากกว่า ในศาสนาและเรื่องปรัมปรากรีกโบราณ พลูโตแทนมโนทัศน์ด้านบวกมากกว่าของพระเจ้าผู้ทรงเป็นประธานเหนือชีวิตหลังความตาย พลูตอนมักผสมกับพลูตอส (Ploutos, Πλοῦτος, Plutus) พระเจ้าแห่งความมั่งคั่ง เพราะพบทรัพย์แร่ใต้ดิน และด้วยพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าคะเธาะนิค (chthonic) พระองค์จึงทรงปกครองแผ่นดินลึกอันมีเมล็ดพืชที่จำเป็นสำหรับการเก็บเกี่ยวอันอุดมสมบูรณ์ด้วย หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและพลูโต (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

มาส์

มาส์ เทพมาส์ (Mars) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพแอรีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพมาร์สเป็นเทพแห่งสงคราม เป็นลูกของเทพีจูโนและเทพจูปิเตอร์ เป็นสามีของเทพีเบลโลนาและคนรักของเทพีวีนัส มาส์เป็นเทพทางการทหารที่เป็นที่สักการะของกองทหารโรมัน นักรบโรมันถือว่ามาส์เป็นเทพที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรองจากเทพจูปิเตอร์ เดือนที่ฉลองคือเดือนมีนาคมซึ่งเป็นชื่อเดือนที่ตั้งตามชื่อของเทพและเดือนตุลาคม คำว่า “Mars” ไม่มีรากจากคำในตระกูลภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปียนซึ่งทำให้สันนิษฐานกันว่ามาจากเทพแห่งการเกษตรกรรมของอีทรัสคันชื่อเทพมาริส เดิมเทพมาส์เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และพืชพันธุ์และเป็นผู้พิทักษ์วัว ทุ่งการเกษตรกรรม พืชผัก และเกษตรกร ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐบุรุษโรมันคาโตผู้อาวุโส ได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งก็ไม่ทราบแน่ชัด หรือมีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ทราบแน่ชัดกับเทพมาส์ ต่อมาเทพมาส์ก็มาเกี่ยวข้องกับการศึกสงครามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นเมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มขยายตัว เทพมาส์ไม่เหมือนเทพแอรีสของตำนานเทพปกรณัมกรีกเพราะเป็นเทพที่เป็นที่นับถือและมีความสำคัญพอ ๆ กับเทพจูปิเตอร์ และถือกันว่าเป็นเทพในนามของกรุงโรม และยังถือกันว่าเป็นพ่อของรอมิวลุส ฉะนั้นชาวโรมจึงสืบเชื้อสายมาจากเทพม.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและมาส์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบูชา

ในทางสังคมวิทยา ลัทธิบูชา (Cult) หรือลัทธิ หมายถึง กลุ่มคนที่มีความเชื่อและการปฏิบัติตนแปลกหรือเบี่ยงเบนไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม เนื่องจากระบุลงไปได้ยากว่าเบี่ยงเบนถึงระดับไหนจึงเรียกว่าลัทธิ ทำให้ยังมีปัญหาในการนิยามคำดังกล่าวให้ชัดเจน และมักใช้ในความหมายเชิงลบ นักสังคมวิทยาเริ่มให้ความสนใจศึกษาพฤติกรรมทางศาสนาของลัทธิบูชาต่าง ๆ มาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 จนพบว่าหลายกลุ่มถูกตีตราว่าเป็นพวกนอกรีต จนถึงขึ้นมีขบวนการต่อต้านลัทธิเกิดขึ้นภายในศาสนาต่าง.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและลัทธิบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

วิหารแพนธีอัน

ตึกแพนธีอัน (PantheonRarely Pantheum.; หรือ) “แพนธีอัน” มาจาก ที่แปลว่า “พระเจ้าทั้งหมด” เป็นสิ่งก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในกรุงโรม เดิมสร้างโดยมาร์คัส วิพซานิอัส อกริพพา (Marcus Vipsanius Agrippa) สำหรับเป็นเทวสถาน (Roman temple) สำหรับเทพต่างๆ ของโรมันโบราณ โรมันโบราณ ต่อมาก็ได้รับการสร้างใหม่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ตัวสิ่งก่อสร้างจะอุทิศให้แก่เทพเท่าใดนั้นก็ยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ คำว่า “แพนธีอัน” โดยทั่วไปในปัจจุบันหมายถึงอนุสาวรีย์ที่เป็นที่เก็บศพของคนสำคัญ แพนธีอันเป็นสิ่งก่อสร้างจากสมัยโรมันที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดสิ่งหนึ่ง และได้รับการใช้สอยตลอดมาในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ก็ใช้เป็นคริสต์ศาสนสถานของโรมันคาทอลิก ที่อุทิศให้ “พระแม่มารีและผู้พลีชีพเพื่อศาสนา” ตัวตึกเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีโดมขนาดใหญ่ที่เก่าที่สุดในกรุงโรม ความสูงของช่องตา (oculus) บนเพดานและเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องวัดจากด้านในเท่ากับ 43.3 เมตรเท่ากัน.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและวิหารแพนธีอัน · ดูเพิ่มเติม »

วีนัส (เทพปกรณัม)

วีนัสบนหอยทะเล วีนัส (Venus) เป็นเทพเจ้าโรมันซึ่งมีหน้าที่ครอบคลุมความรัก ความงาม เพศ ภาวะเจริญพันธุ์และความรุ่งเรือง ในเทพปกรณัมโรมัน พระนางทรงเป็นมารดาแห่งชาวโรมันผ่านพระโอรส ไอนีอัส (Aeneas) ผู้รอดจากสงครามกรุงทรอยแล้วหนีมายังอิตาลี จูเลียส ซีซาร์อ้างว่าพระนางเป็นบรรพบุรุษของตน วีนัสเป็นหัวใจของเทศกาลศาสนาหลายเทศกาล และได้รับการเคารพบูชาในศาสนาโรมันภายใต้ชื่อลัทธิต่าง ๆ ชาวโรมันรับเรื่องปรัมปราและความเป็นสัญรูปของภาคกรีกของพระนาง แอโฟรไดที สำหรับศิลปะโรมันและวรรณคดีละติน ในประเพณีคลาสสิกยุคหลังของตะวันตก วีนัสเป็นพระเจ้าพระองค์หนึ่งในเทพปกรณัมกรีก-โรมันซึ่งมีการอ้างอิงมากที่สุดเป็นการรวมความรักและเพศสภาพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน หมวดหมู่:วีนัส.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและวีนัส (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและศาสนาคริสต์ยุคแรก · ดูเพิ่มเติม »

อะพอลโล

อะพอลโล (Apollo; Ἀπόλλων; อะพอลลอน; Apollō) เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก หมวดหมู่:สุริยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเวียน

วียน (Vienne) เป็นจังหวัดที่มีชื่อเดียวกับแม่น้ำเวียนในแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส จังหวัดเวียนตั้งอยู่ทางตอนกลางออกไปทางตะวันตกของประเทศ โดยมีปัวตีเยเป็นเมืองหลัก เวียนเป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดเดิมที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส จากบางส่วนของจังหวัดปัวตู, ตูแรน และแบรี สถานที่สำคัญคืออารามแซ็ง-ซาแว็ง-ซูร์-การ์ต็องป์ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลก.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและจังหวัดเวียน · ดูเพิ่มเติม »

จัตุรัสโรมัน

ัตุรัสโรมัน (Roman Forum) หรือ ฟอรูงโรมานูง (Forvm Romanvm) ตั้งอยู่ระหว่างเนินพาเลติเน (Palatine hill) กับเนินแคปิโตลิเน (Capitoline hill) ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี บริเวณนี้เป็นบริเวณศูนย์กลางของการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมโรมันมาแต่โบราณ ประชาชนมักจะเรียกบริเวณนี้ว่า "ฟอรูงมังนูง" หรือเพียงสั้น ๆ ว่า "ฟอรูง" โครงสร้างที่เก่าและสำคัญที่สุดต่าง ๆ ของเมืองเก่าต่างก็ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ที่รวมทั้งที่ประทับเดิมที่เรียกว่า "เรกิอา" (Regia) และกลุ่มสิ่งก่อสร้างรอบ ๆ สำหรับ "เทพีพรหมจารีย์" (Vestal virgins) สาธารณรัฐโรมันมีตึกรัฐสภา (Comitivm) ที่เป็นที่ประชุมของวุฒิสมาชิกในบริเวณนี้ด้วย จัตุรัสเป็นเหมือนจัตุรัสศูนย์กลางของเมืองที่ประชาชนใช้เป็นที่ชุมนุมในกิจการต่าง ๆ ของรัฐ และยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของสาธารณรัฐและจักรวรรดิต่อมา สิ่งก่อสร้างในบริเวณจัตุรัสก็มีด้วยกันหลายอย่างที่รวมทั้งเทวสถาน เช่น เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา, ประตูชัยเช่นประตูชัยเซ็พติมิอัส เซเวอรัส และอื่น.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและจัตุรัสโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)

“เทพจูปิเตอร์และนิมฟ์ธีทิส” โดย ฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์, ค.ศ. 1811 จูปิเตอร์ หรือโจฟ ทรงเป็นราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่าในเรื่องปรัมปรา จูปิเตอร์ทรงเป็นพระเจ้าหลักของศาสนารัฐโรมันตลอดสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ จนศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาครอบงำในจักรวรรดิ ในเทพปกรณัมโรมัน พระองค์ทรงเจรจากับนูมา ปอมปีลีอัส พระมหากษัตริย์โรมพระองค์ที่สอง เพื่อสถาปนาหลักการของศาสนาโรมันอย่างการบูชายัญ ปกติคาดว่าจูปิเตอร์กำเนิดขึ้นเป็นเทพเจ้าท้องฟ้า สิ่งที่บอก คือ ฟ้าผ่า และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์หลักของพระองค์ คือ นกอินทรี ซึ่งถือว่าดีกว่านกอื่นในการยึดลาง (augury) และกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยที่สุดอันหนึ่งของกองทัพโรมัน สองสัญลักษณ์นี้มักรวมกันเพื่อแสดงจูปิเตอร์ในรูปอินทรีกำฟ้าผ่าในกรงเล็บ ซึ่งเห็นได้บ่อยในเหรียญกรีกและโรมัน ในฐานะเทพเจ้าท้องฟ้า พระองค์ทรงเป็นพยานศักดิ์สิทธิ์ของคำสาบาน ความไว้วางใจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งความยุติธรรมและธรรมาภิบาลยึดถือ หลายหน้าที่ของพระองค์ได้รับความสนใจบนเนินแคพิทะไลน์ ("เนินรัฐสภา") อันเป็นที่ตั้งของป้อม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าหลักในสามแคพิทะไลน์ (Capitoline Triad) ช่วงต้นร่วมกับมาร์สและควิไรนัส ในสามแคพิทะไลน์ช่วงหลัง พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์กลางของรัฐร่วมกับจูโนและมิเนอร์วา ไม้ต้นศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ คือ โอ๊ก ชาวโรมันถือว่าจูปิเตอร์เทียบเท่าซูสของกรีก และในวรรณคดีละตินและศิลปะโรมัน รับเรื่องปรัมปราและสัญรูปของซูสมาภายใต้พระนาม Iuppiter ในประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก จูปิเตอร์ทรงเป็นพระอนุชาของเนปจูนและพลูโต ซึ่งทรงเป็นประธานเหนือหนึ่งในสามอาณาเขตแห่งเอกภพ อันได้แก่ ท้องฟ้า มหาสมุทรและโลกบาดาล มักถือว่า ทิเนียเป็นภาคอิทรัสคัน.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและจูปิเตอร์ (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

จูโน

ูโนในพิพิธภัณฑ์วาติกัน เทพีจูโน (Juno) เป็นเทพีในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพีเฮราในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพีจูโนเป็นเทพีผู้พิทักษ์ที่ปรึกษาของรัฐ เป็นธิดาของเทพแซทเทิร์น และเป็นน้องสาว (และภรรยา) ของเทพจูปิเตอร์และแม่ของเทพจูเวนตัส (Juventus), เทพมาร์ส และเทพวัลคัน เทพีจูโนเป็นเทพีผู้พิทักษ์กรุงโรมและจักรวรรดิโรมันที่บางครั้งก็เรียกว่าเรจินา (พระราชินี) เทพีจูโน เทพจูปิเตอร์ และ เทพีมิเนอร์วาเป็นสามเทพที่สักการะบนจูโนคาพิโตลินา (Juno Capitolina) ในกรุงโรม.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและจูโน · ดูเพิ่มเติม »

คิวปิด

ในเทพปกรณัมคลาสสิก คิวปิด (Cupid; Cupido) เป็นพระเจ้าแห่งความปรารถนา ความรักแบบกาม (erotic) ความดึงดูดและวิภาพ (affection) มักพรรณนาว่าพระองค์เป็นพระโอรสของเทพีวีนัส เทพีแห่งความรักของโรมัน ภาคกรีก คือ เอียรอส (Eros)Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและคิวปิด · ดูเพิ่มเติม »

ซัมเมอร์เซต

ซัมเมอร์เซต (ภาษาอังกฤษ: Somerset) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร มณฑลภูมิศาสตร์ซัมเมอร์เซตมีเขตแดนติดกับบริสตอล และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ทางเหนือ, มณฑลวิลท์เชอร์ ทางตะวันออก, มณฑลดอร์เซตทางตะวันออกเฉียงใต้, และมณฑลเดวอนทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือและตะวันตกบางส่วนติดกับฝั่งทะเลของช่องแคบบริสตอลและปากน้ำ (estuary) ของแม่น้ำเซเวิร์น ตามธรรมเนียมทางเหนือของมณฑลเป็นแม่น้ำเอวอนแต่เขตการปกครองเลื่อนไปทางใต้เมื่อนครบริสตอลและอดีตมณฑลเอวอนและต่อมารัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวขยายเขตการปกครองทางเหนือของมณฑล ซัมเมอร์เซตเป็นมณฑลชนบทที่มีภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ เช่นเม็นดิพฮิลล์ส, ควานต็อคฮิลล์ส และอุทยานแห่งชาติเอ็กซ์มัวร์ และดินแดนที่กว้างไกลที่รวมทั้งซัมเมอร์เซตเลเวลส์ ซัมเมอร์เซตมีหลักฐานว่ามีผู้มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคหินใหม่และต่อมาในสมัยโรมัน และแซ็กซอน ต่อมาซัมเมอร์เซตก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งการรวบรวมอำนาจของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, สงครามกลางเมืองอังกฤษ และการปฏิวัติมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) การเกษตรกรรมเป็นธุรกิจหลักของมณฑลที่รวมทั้งการเลี้ยงแกะและวัว ที่ใช้ในการทำขนแกะและเนยแข็ง นอกจากนั้นก็มีการตัดวิลโลว์สำหรับสานตะกร้า การทำสวนแอปเปิลครั้งหนึ่งเคยทำกันเป็นอุตสาหกรรมแต่ในปัจจุบันซัมเมอร์เซตก็ยังมีชื่อเสียงในการทำไซเดอร์ (cider) สถิติผู้ว่างงานโดยถัวเฉลี่ยน้อยกว่าระดับชาติ การรับจ้างที่สูงที่สุดอยู่ในการค้าขาย, การผลิต, การท่องเที่ยว, และการสุขภาพและการสังคมสงเคราะห์ การขยายตัวของจำนวนประชากรโดยถัวเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ซัมเมอร์เซตแบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: เซาท์ซัมเมอร์เซต, ทอนทันดีน, เวสต์ซัมเมอร์เซต, เซจมัวร์, เม็นดิพ, บาธและนอร์ธอีสต์ซัมเมอร์เซต, นอร์ธซัมเมอร์เซต โดยมีทอนทันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ซัมเมอร์เซตมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 905,700 คน ในเนื้อที่ 4,171 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและซัมเมอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์แดน

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโครเอเชีย

รเอเชีย (Croatia; Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia; Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต ชาวโครเอเชียลงประชามติรับรองการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลในกลางปี 2013 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 28.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและประเทศโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

แซตเทิร์น

แซตเทิร์นโดยคาราวัจจิโอ แซตเทิร์น (Saturn, Saturnus) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพโครนัสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพแซตเทิร์นเป็นเทพแห่งการเกษตรกรรมและการเก็บเกี่ยวและพลัง มือซ้ายถือเคียวและมือขวาถือฟ่อนข้าวสาลี แซตเทิร์นเป็นลูกของเฮเลนหรือเฮล ตำนานของแซตเทิร์นและโครนัสบางครั้งก็มักจะผสมเผสกัน ภรรยาของแซตเทิร์นคืออ็อปส์ (Ops) แซตเทิร์นเป็นพ่อของเซเรส, จูปิเตอร์, เวริทาส, พลูโต และเนปจูน.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและแซตเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและโรมโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ไอซิส

ทวีไอสิส (Isis) เทพแห่งอียิปต์ ถือเป็นหนึ่งในเทพของตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ บางตำรากล่าวไว้ว่า เทวีไอซิส(Isis) เป็นธิดาของเทพและเทพีนุต แต่บางตำรากลับบอกว่า เทพีไอซิสเป็นธิดาของเทพรากับเทพีนุต(หรือ เทพีนัต) ตามที่จะขอกล่าวถึงดังต่อไปนี้ ต้นกำเนิดของเทวีไอซิสเริ่มขึ้นหลังจากที่เทพราได้อภิเษกกับเทพีนุตแล้ว เทพรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้โอรสธิดา แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า เทพีนุตก็ไม่ทรงครรภ์เสียที ทำให้เทพราทรงพิโรธ และลงมือสาปให้เทพีนุตไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกเลย เทพีนุตทรงเสียใจเป็นอย่างมาก จึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับเทพธอทผู้ทรงความรอบรู้ ซึ่งเดิมทีแล้วเทพธอทได้ตกหลุมรักเทพีนุตมาโดยตลอด เทพธอทให้คำแนะนำพร้อมยื่นข้อเสนอแก่เทพีนุตว่า หากพระองค์สามารถมีโอรสธิดาให้เทพราได้ พระนางจะต้องมอบความรักให้แก่เทพธอท เทพีนุตตอบตกลงในคำนั้น เทพธอทจึงได้ไปท้าพนันกับเทพคอนชูผู้เป็นเทพพระจันทร์ซึ่งรักการพนันเป็นชีวิตจิตใจ เทพธอททำทีแสร้งเดินหมากกันกับเทพคอนชูจนหลงลืมวันคืน ซึ่งเทพคอนชูไม่ทันรู้เล่ห์กล จึงเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งแสงมีมากพอเท่ากับแสงจากพระอาทิตย์จำนวน 5 วัน เทพธอทจึงยกเลิกการเล่นหมากกับเทพคอนชู หลังจากนั้นเป็นต้นมา แสงจากเทพคอนชูจึงมีไม่มากเพียงพอ ทำให้เทพคอนชูจำเป็นต้องลดแสงลงบ้างในเวลาตอนกลางคืน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้างขึ้นข้างแรมในปัจจุบันนั่นเอง ตั้งแต่นั้นมา เทพธอทก็นำแสงที่นอกเหนือจากแสงอาทิตย์ของเทพรา มาสร้างเป็นวันจำนวน 5 วัน ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เทพีนุตตั้งครรถ์ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทพีนุตให้กำเนิดเหล่าเทพเทพีจำนวน 5 องค์ อันได้แก่ 1.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและไอซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไดแอนา (เทพปกรณัม)

“ไดแอนนาสรง” (Diana leaving her Bath) โดย ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ราว ค.ศ. 1742 เทพีไดแอนนา (ภาษาอังกฤษ: Diana) ตามตำนานเทพเจ้าโรมัน “เทพีไดแอนนา” เป็นเทพีแห่งการล่าสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า, ป่าและพระจันทร์ ในวรรณคดีไดแอนนาเป็นเทพีโรมันที่คู่กับเทพีอาร์เทมีสของตำนานเทพเจ้ากรีก แต่ในลัทธินิยมไดแอนนาเป็นเทพีที่มาจากอิตาลีไม่ใช่กรีซโบราณ ไดแอนนาเป็นเทพีที่สักการะกันในศาสนาโรมันโบราณ (Religion in ancient Rome) และในปัจจุบันเป็นที่นับถือของศาสนาของขบวนการโรมันใหม่ (Nova Roma) และกลุ่มเวทมนตร์สเตรเกเรีย (Stregheria) นอกจากสัญลักษณ์ประจำตัวที่กล่าวแล้วป่าโอ้คก็ยังมีความศักดิ์สิทธิ์ต่อไดแอนนา และไดแอนนาก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของพรหมจารี (chastity) ตามตำนานแล้วไดแอนนาและพี่ชายแฝดเทพอพอลโลเกิดบนเกาะเดลอส (Delos) และเป็นธิดาของของเทพจูปิเตอร์ (Jupiter) และเทพีลาโทนา (Latona) ไดแอนนาเป็นหนึ่งในไตรเทพี: เทพีเอเกเรีย (Egeria) นิมฟ์น้ำ, สาวใช้ และหมอตำแย และเทพีเวอร์เบียส (Virbius) เทพีแห่งป่าโปร่ง.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและไดแอนา (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

เมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)

มอร์คิวรีสลักโดยประติมากรเฟล็มมิชอาร์ทัส เควลลินัส (Artus Quellinus) ที่บอกได้ว่าเป็นเมอร์คิวรีจากหมวก กระเป๋าหูรูด คทางูเดี่ยว รองเท้าปีก ไก่ และแพะ เทพเมอร์คิวรี (Mercury, Mercurius) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพเฮอร์มีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพเมอร์คิวรีเป็นเทพผู้สื่อสาร และเทพแห่งการค้าขายและผลกำไร เมอร์คิวรีเป็นลูกของเทพีมาเอีย (Maia) หรือที่รู้จักกันว่าอ็อฟสและเทพจูปิเตอร์ ชื่อ “เมอร์คิวรี” เกี่ยวกับคำภาษาละตินว่า “merx” ที่เป็นรากของคำว่า “merchandise” (สินค้า) หรือ “merchant” (พ่อค้า) หรือ “commerce” (การค้า) ที่มาของเมอร์คิวรีดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเทพเทิร์มส (Turms) ของอีทรัสคันที่มาจากเทพเฮอร์มีสของกรีก.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและเมอร์คิวรี (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานบาคคัส

ทวสถานบาคคัส (Temple of Bacchus) เป็นเทวสถานโรมันที่ตั้งอยู่ในบาลเบ็คในประเทศเลบานอน ที่สร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 150 ในรัชสมัยของจักรพรรดิอันโตนินัส ไพอัส “เทวสถานบาคคัส” เป็นหนึ่งในสามเทวสถานหลักในกลุ่มเทวสถานที่บาลเบ็ค ที่อุทิศให้แก่บาคคัส หรือ ไดโอไนซัส ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ แต่เป็นเทวสถานที่ผู้มาเยี่ยมเยือนในสมัยฟื้นฟูคลาสสิกว่า “เทวสถานสุริยา” และเป็นเทวสถานที่อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมัน.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและเทวสถานบาคคัส · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานอาร์ทีมิสแห่งเจราช

ทวสถานอาร์ทีมิสแห่งเจราช (Temple of Artemis) เป็นเทวสถานโรมันที่ตั้งอยู่ที่เมืองเจราชในประเทศจอร์แดน ซากเทวสถานดังกล่าวยังคงแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งก่อสร้างอันสำคัญที่สร้างเสร็จราวปี..

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและเทวสถานอาร์ทีมิสแห่งเจราช · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

ทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา (Temple of Antoninus and Faustina) เป็นเทวสถาน (Roman temple) โรมันโบราณที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมภายในบริเวณที่เรียกว่าฟอรุมโรมัน (Roman Forum) บนถนนซาครา (Via Sacra) ตรงกันข้ามกับเรเจีย (Regia) เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินาสร้างในปี..

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานแซเทิร์น

ทวสถานแซเทิร์น (Temple of Saturn; Templum Saturni หรือ Aedes Saturnus; Tempio di Saturno) เป็นเทวสถานโรมันที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณจัตุรัสโรมันในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เทวสถานที่อุทิศให้แก่เทพแซเทิร์นซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรมแห่งนี้ตั้งอยู่ทางปลายด้านตะวันตกของจัตุรัสโรมัน ตัวเทวสถานปรักหักพังจนเหลือแต่เพียงด้านหน้าเท่านั้นที่ยังคงตั้งอยู่ ที่ประกอบด้วยคอลัมน์แปดต้นและหน้าบันที่ยังคงอยู่ในสภาพดี มีคำจารึกว่า "Senatus Populusque Romanus incendio consumptum restituit" ที่แปลว่า "สมาชิกวุฒิสภาและประชากรแห่งกรุงโรมบูรณะในที่พระเพลิงผลาญ" เทวสถานแซเทิร์นเป็นตัวอย่างอันดีของลักษณะของสถาปัตยกรรมโรมัน.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและเทวสถานแซเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานเวสตา

ทวสถานแห่งเวสตา (Temple of Vesta; Aedes Vestae) เป็นเทวสถานโรมัน (Roman temple) ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณจตุรัสโรมันในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เทวสถานแห่งเวสตาตั้งอยู่ระหว่างเทวสถานแห่งคาสเตอร์และโพลลักซ์, เทวสถานแห่งซีซาร์, เรเจีย และ ที่พำนักเทพีพรหมจารีย์ (House of the Vestals) สิ่งที่เด่นที่สุดในเทวสถานคือ รอยเท้ากลมที่อาจจะเป็นสิ่งที่หลงเหลือมาจากสถานที่สักการะของละตินหรืออีทรัสคัน สิ่งก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ โดยมีการใช้คอลัมน์โครินเธียน, หินอ่อน และครรภมณฑล (cella) โครงสร้างที่ยังมองเห็นอยู่บ้างทำให้ทราบว่าเป็นคอลัมน์โครินเธียนยี่สิบคอลัมน์ที่สร้างบนฐานที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางสิบห้าเมตร หลังคาของสิ่งก่อสร้างอาจจะมีปล่องด้านบนเพื่อให้มีการถ่ายเทควันอากาศจากภายในตัวอาคาร.

ใหม่!!: เทวสถานโรมันและเทวสถานเวสตา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FanumMonopterosRoman templeTemple (Roman)Templum

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »