โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทพปกรณัมกรีก

ดัชนี เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

46 ความสัมพันธ์: ฟ้าร้องฟ้าผ่าพลูทาร์กกรีซยุคอาร์เคอิกกรีซโบราณกวีมหากาพย์ยูริพิดีสยูเรนัส (เทพปกรณัม)วรรณกรรมกรีกโบราณวัฒนธรรมตะวันตกสมัยเฮลเลนิสต์สารานุกรมบริตานิกาสุขนาฏกรรมสงครามกรุงทรอยอริสโตฟานเนสออวิดอะกาเมมนอนอารยธรรมไมซีนีอารยธรรมไมนอสอีดิปัสอีเลียดจักรวรรดิโรมันทาร์ทารัสครีตซอโฟคลีสปลายสมัยโบราณนครรัฐวาติกันแพนโดราโพรมีเทียสโศกนาฏกรรมโอดิสซีย์โอซีอานัสโฮเมอร์โครนัสไฮพีเรียนเวอร์จิลเอราทอสเทนีสเอสคิลัสเอียรอสเอเธนส์ยุคคลาสสิกเฮราคลีสเฮสิโอดเฮอรอโดทัสเคออสเซอร์เบอรัส

ฟ้าร้อง

ต้นเหตุของฟ้าร้อง ฟ้าร้อง คือเสียงที่เกิดจากเหตุการณ์ฟ้าแลบ ซึ่งขึ้นกับลักษณะของฟ้าแลบและระยะห่างของผู้สังเกตด้วย โดยอาจเป็นเพียงเสียงแหลมบางเหมือนของแตก ไปจนถึงเสียงคำรามต่ำๆ ยาวๆ ทั้งนี้เนื่องจากฟ้าแลบทำให้ความดันและอุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้อากาศรอบๆ บริเวณนั้นเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดคลื่นโซนิคซึ่งสร้างเสียงฟ้าร้องขึ้น.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและฟ้าร้อง · ดูเพิ่มเติม »

ฟ้าผ่า

ฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่กันไปมาระหว่างเมฆกับเมฆหรือเมฆกับพื้นโลก มีพลังงานสูงมาก ๆ จนอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือทำลายสิ่งที่กีดขวาง เช่น คน สัตว์ บ้านเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและฟ้าผ่า · ดูเพิ่มเติม »

พลูทาร์ก

ลูทาร์ก (Plutarch) เมื่อเกิดมีชื่อว่า ปลูตาร์โคส (Πλούταρχος) ต่อมาเมื่อเป็นพลเมืองโรมันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs; ราว ค.ศ. 46 – ราว ค.ศ. 120) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโตชาวชาวโรมันเชื้อสายกรีกผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนชีวประวัติและสาขาวิชาต่าง ๆ ''Moralia'', 1531 งานเขียนที่สำคัญของพลูทาร์กก็คือ ชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง (Parallel Lives) และ โมราเลีย (Moralia) พลูทาร์กเกิดในครอบครัวจากตระกูลสูงในเคโรเนียที่อยู่ทางตะวันออกของเดลฟีราว 20 ไมล.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและพลูทาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

กรีซยุคอาร์เคอิก

กรีซยุคอาร์เคอิก (Archaic Greece) ยุคอาร์เคอิกของกรีซ คือสมัยอารยธรรมของประวัติศาสตร์กรีซโบราณที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 800 ถึง 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช อันเป็นยุคก่อนก่อนหน้ากรีซยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) กรีซในยุคอาร์เคอิกเป็นช่วงเวลาที่จำนวนประชากรกรีกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลำดับเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าอารยธรรมของชาวกรีก ณ ช่วงสิ้น.ที่ 8 ก่อนคริสตกาล จนกลายสภาพไปในลักษณะที่แทบจำไม่ได้หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า นักวิชาการเชื่อว่ายุคอาร์เคอิกของกรีซ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติที่สำคัญสองประเภท คือ การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง ประเภทหนึ่ง และ การปฏิวัติทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การสร้างแผนที่ และการกำหนดสถานะทางการเมืองระหว่างกันขึ้นในโลกของชาวกรีก เริ่มมีการก่อตั้งนครรัฐ "โปลิส" (poleis) ที่มีแบบแผนเฉพาะตัวขึ้นมา ในยุคนี้ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีการเมือง การเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสงคราม และวัฒนธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งเหล่านี้ปูพื้นฐานไปสู่ยุคทอง หรือยุคคลาสสิคของอารยธรรมกรีก นอกจากนี้ชาวกรีกในยุคอาร์เคอิกยังได้ฟื้นฟูการเขียนที่หายไปในระหว่างยุคมืด โดยมีการพัฒนาตัวอักษรกรีกจนมีลักษณะอย่างที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน ทำให้วรรณคดีของกรีซโดยเฉพาะมหากาพย์ของโฮเมอร์ เปลี่ยนจากการถ่ายทอดทางมุขปาถะ (ปากเปล่า) มาเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านศิลปะได้ปรากฏการสร้างเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสีแดง (red-figure pottery) ด้านการทหารได้มีการพัฒนากระบวนทัพแบบฮอปไลต์ขึ้น ซึ่งกลายเป็นแกนหลักและยุทธวิธีหลักของกองทัพกรีก ในนครเอเธนส์สถาบันประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกถูกนำมาใช้ภายใต้การการชี้นำของโซลอน และต่อมาการปฏิรูปของไคลธีนีส (Cleisthenes) ในช่วงปลายยุคนำได้พัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ อันเป็นรูปแบบการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาในสมัยคลาสสิค คำว่า "กรีซยุคอาร์เคอิก" เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กลายมาเป็นคำมาตรฐานที่ใช้กันตั้งแต่นั้นมา คำดังกล่าวเป็นคำที่มาจากการศึกษาศิลปะกรีกที่หมายถึงลักษณะส่วนใหญ่ของศิลปะการตกแต่งพื้นผิวและประติมากรรม ที่ตกอยู่ระหว่างศิลปะเรขาคณิตกับกรีซคลาสสิก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและกรีซยุคอาร์เคอิก · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

กวี

กวี หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์อันหมายถึงแบบข้อบังคับสัมผัส วรรคตอน และถ้อยคำให้เรียงร้อยรับกันอย่างเหมาะเจาะไพเราะด้วยจังหวะและน้ำหนักของคำที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป อาจจำแนกแบบฉันทลักษณ์ออกเป็น 7 ชนิดด้วยกันคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ในวรรณคดีโบราณ และอาจรวมถึงปัจจุบัน โดยปร..หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและกวี · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์

มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและมหากาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูริพิดีส

ูริพิดีส (-en; Εὐριπίδης) (ราว 480 – 406 ก่อนค.ศ.) เป็นนักประพันธ์บทละครโศกนาฏกรรมของนครเอเธนส์ในยุคคลาสสิค และเป็น 1 ใน 3 นาฏศิลปินในสาขาโศกนาฏกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรีซโบราณ ร่วมกับเอสคีลัส (Aeschylus) และซอโฟคลีส (Sophocles) นักประวัติศาสตร์สมัยโบราณเชื่อว่ายูริพิดีสเขียนบทละครทั้งหมด 92 ถึง 95 เรื่อง (ซูดาเชื่อว่าท่านประพันธ์ไว้ไม่เกิน 92 เรื่อง) โดยมีเหลือรอดมาในปัจจุบัน 18 หรือ 19 เรื่อง ในสภาพเนื้อหาครบถ้วน และมีบางเรื่องนอกเหนือจากนี้มี่หลงเหลือมาเป็นเพียงบางส่วน ในบรรดานาฏศิลปินของเอเธนส์โบราณ ยุริพิดีสมีงานหลงเหลือมาถึงเรามากที่สุด ส่วนหนึ่งเพราะความนิยมในงานของเอสคีลัส และของซอโฟคลีสลดต่ำลงMoses Hadas, Ten Plays by Euripides, Bantam Classic (2006), Introduction, p. ix ในขณะที่ความนิยมในงานของท่านเพิ่มมากขึ้น งานของยูริพิดีสกลายเป็นฐานรากที่สำคัญยิ่งในวรรณคดีศึกษาในสังคมกรีซสมัยเฮลเลนิสติก ร่วมกับงานของโฮเมอร์, ดีมอสเธนีส และเมแนนเดอร์L.P.E.Parker, Euripides: Alcestis, Oxford University Press (2007), Introduction p. lx ยูริพิดีสสร้างนวัตกรรมทางการละครหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการละครมาจนยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอตัวละครฮีโร่ หรือวีรบุรุษตามเทพปกรณัมแต่ดั้งเดิม ในฐานะคนธรรมดาที่อยู่ในเหตุการณ์พิเศษหรือลำบาก ทำให้เกิดการตีความใหม่ได้หลายรูปแบบ ยูริพิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นกวีที่เข้าถึงโศกนาฏกรรมมากที่สุด เนื่องจากท่านพุ่งโฟกัสไปที่ความรู้สึกนึกคิด และมูลเหตุจูงใจของตัวละครในแบบที่ไม่มีใครพบเห็นมาก่อน นำไปสู่สร้างตัวละครชายหญิงที่ต้องมาทำลายกันและกัน ด้วยความเข้มข้นของความรักและความชิงชังในหัวใจของตน อันเป็นต้นแบบที่นาฏศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยต่อๆมาเดินตาม ไม่ว่าเช็คสเปียร์ หรือราซีน (Racine) นักประพันธ์ในเอเธนส์สมัยโบราณล้วนแต่มีชาติกำเนิดสูง แต่ยูริพิดีสต่างกับนักประพันธ์เหล่านั้นเพราะท่านมักแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ด้อยโอกาส หรือตกเป็นเหยื่อสังคมในทุกรูปแบบ รวมไปถึงพวกผู้หญิง เนื้อหาบทละครของยูริพิดีสจึงมักจะช็อคคนดูที่ส่วนใหญ่เป็นพลเมืองเพศชาย และมีทัศนะคติไปในทางอนุรักษ์นิยม ผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยูริพิดีสมักจะจัดให้ท่านรวมไปเป็นพวกเดียวกับโสเครตีส ในฐานะผู้นำของความเสื่อมทางปัญญา (decadent intellectualism) และทั้งคู่มักจะถูกล้อเลียนโดยกวี และนักแต่งบทละครแนวตลกขบขันอยู่เสมอ ดังที่งานของอริสโตฟาเนสแสดงให้เห็น แต่ในขณะที่โสเครตีสต้องคดีและต่อมาถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาชักนำประเทศไปในทางชั่ว ยูริพิดีสเลือกจากเนรเทศตัวเองไปจากเอเธนส์ในวัยชรา และไปเสียชีวิตที่นครเพลลา ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาDenys L. Page, Euripides: Medea, Oxford University Press (1976), Introduction pp.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและยูริพิดีส · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรนัส (เทพปกรณัม)

ยูเรนัส ยูเรนัส (Uranus) หรือ อูรานอส (กรีกโบราณ) เป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า ทรงเป็นทั้งบุตรและสวามีของพระแม่ไกอา เทพีแห่งพื้นดิน ท่านทั้งสองสมหวังกันด้วยอีรอส (คิวปิด) เทพเจ้าแห่งความรัก ที่ทั้งคู่รักกันด้วยเหตุผลคือ พื้นดินนั้นมองท้องฟ้าทุกวัน จนเทพอีรอสทนไม่ไหวจึงแผลงศรให้ทั้งคู่รักกัน มีลูกด้วยกันคือ เหล่ายักษ์ ปีศาจผู้อัปลักษณ์ ทำให้ยูเรนัสไม่พอใจอย่างมาก จึงจับไปขังที่นรกที่ลึกที่สุดคือ นรกทาร์ทารัส เกิดความเคียดแค้นใจกับไกอาอย่างยิ่ง บุตรกลุ่มต่อมาคือ ไททัน ซึ่งมีรูปลักษณ์ดูดี ทำให้ท่านพอใจ ยิ่งเกิดความเคียดแค้นต่อไกอาเป็นเท่าทวีคูณ นางจึงขอร้องให้ลูก ๆ เหล่าไททันสังหารยูเรนัส โครนัสหนึ่งในเหล่าไททันตอบตกลงที่จะช่วย ต่อมายูเรนัสจึงโดนโค่นล้มโดยโครนัส ลูกชายตนเอง นอกจากนี้ชื่อของเทพยูเรนัสยังถูกนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อของ ดาวยูเรนัส ด้วย หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและยูเรนัส (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมกรีกโบราณ

หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและวรรณกรรมกรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมตะวันตก

วัฒนธรรมตะวันตก หรือคำอื่นที่ใช้แทนกันได้เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก, อารยธรรมตะวันตก, อารยธรรมยุโรป, วัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ เป็นศัพท์ที่มีความหมายอย่างกว้างครอบคลุมถึงมรดกทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม คุณธรรม ประเพณี ระบบความเชื่อ ระบบการเมือง สิ่งประดิษฐ์ และวิทยาการที่ได้รับจากโลกตะวันตก คำว่า "ตะวันตก" หมายถึงประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของการย้ายถิ่นเข้ามาของชาวยุโรปด้วย อาทิกลุ่มประเทศในทวีปอเมริการวมไปถึงออสตราเลเซีย ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องมาจากทวีปยุโรปเท่านั้น หมวดหมู่:Classical studies หมวดหมู่:มานุษยวิทยาวัฒนธรรม หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สังคมวิทยา.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและวัฒนธรรมตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยเฮลเลนิสต์

มัยเฮลเลนิสต์ (Hellenistic period) เป็นสมัยที่เริ่มขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชีย ในช่วงนี้อารยธรรมของกรีกก็ขึ้นถึงจุดสูงสุดทั้งในยุโรปและเอเชีย มักจะถือกันว่าเป็นสมัยคาบเกี่ยว (transition) หรือบางครั้งก็เกือบจะถือว่าเป็นสมัยของความเสื่อมโทรมหรือสมัยของการใช้ชีวิตอันเกินเลย (decadence) ระหว่างความรุ่งเรืองของสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) กับการเริ่มก่อตัวของจักรวรรดิโรมัน สมัยเฮลเลนิสต์ถือกันว่าเริ่มขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของอเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 323 ก่อนคริสต์ศตวรรษ จนมาสิ้นสุดลงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษซึ่งเป็นปีที่สาธารณรัฐโรมันได้รับชัยชนะต่อดินแดนสำคัญของกรีซ หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษเมื่อมาเสียราชอาณาจักรทอเลมีในอียิปต์แก่จักรวรรดิโรมันซึ่งเป็นดินแดนสุดท้ายที่ยังคงรักษาอารยธรรมเฮลเลนิสต์ สมัยเฮลเลนิสต์เป็นสมัยทีเป็นการก่อตั้งราชอาณาจักร และเมืองต่าง ๆ ของกรีกในเอเชียและแอฟริก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและสมัยเฮลเลนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สุขนาฏกรรม

นาฏกรรม (comedy) หมายถึง วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร ที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็น เหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต โดยหมายความดั้งเดิมของคำว่า สุขนาฏกรรม ในภาษาอังกฤษ คือ Comedy (/คอ-เม-ดี/) มีความหมายถึง วรรณกรรมของชนชั้นระดับล่าง หรือระดับชาวบ้าน เป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาอย่างง่าย ๆ หรือ ภาษาพูดทั่วไป ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับโศกนาฏกรรม หรือ Tragedy ซึ่งหมายถึง วรรณกรรมหรือวรรณคดีของชนชั้นสูง ในปัจจุบัน ตลกนั้นคือเรื่อราวเพื่สร้างเสียงหัวเราะเป็นหลัก และอาจไม่ได้จบด้วยความสุขเสมอไป ในบางแง่มุม เรื่องราวตลกอาจไปกระทบถึงคนหรือกลุ่มคนได้.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและสุขนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและสงครามกรุงทรอย · ดูเพิ่มเติม »

อริสโตฟานเนส

อริสโตฟานีส หรือ แอริสตอฟานีส (Aristophanes; Ἀριστοφάνης,; c. 446 – c. 386 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชวนหัว (สุขนาฏกรรม) สมัยกรีซยุคคลาสสิค มีชีวิตอยู่ราวช่วงปีที่ 446-386 ก่อนคริสตกาล อริสโตฟานีสประพันธ์บทละครไว้ทั้งสิ้น 40 เรื่อง แต่ตกทอดมาถึงปัจจุบันโดนสมบูรณ์เพียง 11 เรื่อง นอกนั้นเป็นเพียงชิ้นส่วนพาไพรัสที่ส่วนใหญ่ขาดหายไป งานของอริสโตฟานีสเหล่านี้เป็นตัวอย่างเท่าที่เรามีเกี่ยวกับประเภทของงานสุขนาฏกรรมที่เรียกว่า Old Comedy ท่านได้รับฉายาว่าเป็น "บิดาแห่งสุขนาฏกรรม" กล่าวกันว่างานของอริสโตฟานีสให้ข้อมูลเกี่ยวกับเอเธนส์โบราณได้น่าเชื่อถือยิ่งกว่านักเขียนคนใดๆ ความสามารถของเขาในการเยาะเย้ยถากถาง เป็นที่ยำเกรงและรับทราบกันในผู้มีอิทธิพลร่วมสมัย เพลโตชี้ลงไปว่าบทละครเรื่อง เมฆ (The Clouds) เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่ทำให้โสเครตีสต้องถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิต แม้ว่าจะมีงานเสียดสีล้อเลียนตัวโสเครตีส จากนักประพันธ์เชิงเสียดสี (satirical) รายอื่นก็ตาม อริสโตฟานีสมีชีวิตผ่านช่วงเวลาที่เอเธนส์ประสบวิกฤติทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหายนะจากสงครามเพโลพอนนีเซียน (ซึ่งเอเธนส์เป็นฝ่ายแพ้) การปฏิวัติของกลุ่มคณาธิปไตยสองครั้ง และการกู้คืนระบอบประชาธิปไตยสองครั้ง โสเครตีสถูกพิพากษาในข้อหาอาชญากรรมทางความคิด และยูริพิดีสต้องเนรเทศตัวเองไปตายที่เมืองอื่น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เชื่อว่าแม้งานของอริสโตฟานีสจะแดกดันหรือเสียดสีเรื่องการเมืองอยู่เป็นนิตย์ แต่ตัวท่านนักประพันธ์เองคงจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมืองมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับนาฏศิลปินโศกนาฏกรรมอย่าง ซอโฟคลีส และยูริพิดีสแล้ว อริสโตฟานีสมีส่วนช่วยพัฒนาศิลปะการละครในยุคต่อไปมากกว่า ทั้งนี้เพราะซอโฟคลีส กับยูริพิดีส ถึงแก่กรรมลงในช่วงปลายสงครามเพโลพอนนีเซียน ทำให้ศิลปะของละครโศกนาฏกรรมหยุดพัฒนาไปเสีย แต่การละครสุขนาฏกรรมยังมีการวิวัฒนาการต่อมาเรื่อยๆ แม้หลังเอเธนส์จะพ่ายแพ้สงคราม ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการที่ปรมาจารย์ละครชวนหัวอย่างอริสโตฟานีส ยังมีชีวิตอยู่ต่อมานานพอที่จะช่วยศิลปินรุ่นหลังพัฒนาต่อยอดศิลปะแขนงนี้ thumb.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและอริสโตฟานเนส · ดูเพิ่มเติม »

ออวิด

ออวิด ปูบลิอุส ออวิดิอุส นาโซ (Pvblivs Ovidivs Naso) หรือที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ออวิด (Ovid) เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ในปีที่ 43 ก่อนคริสต์ศักราช เสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและออวิด · ดูเพิ่มเติม »

อะกาเมมนอน

อะกาเมมนอน (Agamemnon; Ἀγαμέμνων, Ἀgamémnōn) ตามเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของกษัตริย์เอทริอัส และราชินิไอโรเปแห่งนครไมซีนี พระองค์มีพระอนุชาคือเมเนเลอัส มีพระมเหสีชื่อพระนางไคลเตมเนสตรา และมีราชบุตร/ราชธิดา 4 พระองค์ ได้แก่ อิฟิจิไนอา (Iphigenia), อีเลคตรา (Electra), ออเรสตีส (Orestes) และ คริซอธีมิส (Chrysothemis) ตำนานของกรีกถือว่าอากาเมมนอนเป็นกษัตริย์ปกครองนครไมซีนี หรืออาร์กอส ซึ่งอาจเป็นสถานที่เดียวกันแต่เรียกคนละชื่อ พระองค์เป็นผู้บัญชาการใหญ่ของกองกำลังพันธมิตรฝ่ายกรีก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยกทัพไปกรุงทรอย หลังจากปารีสลักลอบพาพระนางเฮเลน มเหสีของเมเนเลอัสหนีไป อะกาเมมนอนเป็นกษัตริย์นักรบที่ทะเยอะทะยาน เมื่อคราวยกทัพไปทรอยเกิดลมพายุใหญ่ขึ้น ทัพเรือกรีกไม่สามารถแล่นออกไปได้ พระองค์จึงปฏิบัติตามคำแนะนำของโหรเอกแคลคัส(เทสตอริดีส) โดยทรงสั่งให้บูชายันต์อิฟิจิไนอา พระธิดาของพระองค์เองแด่ทวยเทพ คลื่นลมจึงได้สงบ ฯ ต่อมาในระหว่างที่กำลังปิดล้อมกรุงทรอยอยู่เป็นปีที่สิบ ได้เกิดโรคระบาดใหญ่ที่ส่งมาโดยเทพอะพอลโล ด้วยเหตุที่อะกาเมมนอนไปลบหลู่ ไครซีส (Chryses) นักบวชของอะพอลโลโดยไม่ยอมคืนลูกสาวให้ อะคิลลีสนักรบคนสำคัญของกองทัพกรีกแนะนำให้เหล่าแม่ทัพกรีก (basileus) ยกทัพของตนกลับ ถ้ายังไม่อยากจะตายกันหมดอยู่ที่ชายหาดของทรอย อะกาเมมนอนจึงจำต้องคืนลูกสาวให้กับไครซีสเพื่อระงับพิโรธของอะพอลโล และใช้อำนาจริบเอาหญิงรับใช้ชาวทรอยที่อะคิลลีสได้เป็นรางวัลในการรบ มาเป็นของตนทดแทนลูกสาวของไครซีส ทำให้อะคิลลีสเสียใจและถอนตัว(ชั่วคราว)จากการสู้รบ เป็นผลให้นักรบกรีกล้มตายเป็นอันมาก เมื่ออะกาเมมนอนยกทัพกลับมาจากกรุงทรอย พระองค์ถูกลอบสังหารโดยการร่วมมือกันระหว่าง พระนางไคลเตมเนสตรา และอีจีสธัส (Aegisthus) ชู้รักของพระมเหสี (เป็นเหตุการณ์ที่ได้รับการกล่าวถึงในหมากาพย์ โอดิสซีย์ ล.11:409-11) ในบางตำนานกล่าวว่าพระนางไคลเตมเนสตราเป็นผู้ลงมือสังหารพระสวามีด้วยตนเอง.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและอะกาเมมนอน · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมไมซีนี

"ประตูสิงโต" (Lion Gate) ประตูทางเข้าหลักของป้อมปราการเมืองไมซีไน ศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมไมซีนี (Mycenaean civilization) มาจากภาษากรีกโบราณ: (Μυκῆναι Mykēnai หรือ Μυκήνη Mykēnē) เป็นวัฒนธรรมอีเจียนในช่วงปลายสมัยเฮลลาดิค (ยุคสำริด) เจริญอยู่ระหว่างปี 1650 จนถึงปี 1100 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมไมซีนีเป็นอารยธรรมแรกที่แสดงความก้าวหน้าในระดับสูงบนแผ่นดินใหญ่ของกรีซ โดยมีจุดเด่นที่การสร้างพระราชวังที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ เริ่มมีการจัดตั้งชุมชนเมือง การสร้างงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสี และระบบการเขียน ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกแผ่นดินเหนียวไลเนียร์บี อันเป็นหลักฐานทางตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีก ชาวไมซีเนียนมีนวัตกรรมหลายอย่างทั้งในทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และทางการทหาร และมีการเดินทางค้าขายไปทั่วแถบเมดิเตอร์เรเนียน ศาสนาของไมซีนีมีเทพเจ้าหลายองค์ เช่นเดียวกับเทพเจ้าในเทวสภาโอลิมปัส สังคมของชาวกรีกในยุคไมซีนีเป็นสังคมที่นักรบชาติกำเนิดสูงมีบทบาทหลัก และประกอบไปด้วยเครือข่ายรัฐพระราชวังที่มีระบบของลำดับชั้นทางปกครอง ความสัมพันธ์ทางสังคม และทางเศรษฐกิจที่เข้มงวด ผู้ปกครองสูงสุดในสังคมเป็นกษัตริย์ ซึ่งเรียกว่า อะนักซ์ (wanak) วัฒนธรรมกรีกในยุคไมซีนีต้องพบกับจุดจบ เมื่ออารยธรรมยุคสำริดในแถบเมดิเตอเรเนียนตะวันออกล่มสลายลง และติดตามมาด้วยยุคมืดของกรีซ อันเป็นช่วงที่สังคมกรีกเปลี่ยนผ่านแบบไร้การจดบันทึก(เป็นลายลักษณ์อักษร) ไปสู่กรีซยุคอาร์เคอิก อันเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างมีนัยสำคัญ โดยอำนาจที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่พระราชวังได้กระจายตัวออกไป และมีการใช้เหล็กเพิ่มมากขึ้น มีทฤษฎีที่อธิบายการล่มสลายของอารยธรรมไมซีนีอยู่หลายทฤษฎี บ้างก็ว่าเป็นเพราะการรุกรานของชาวดอเรียนหรือเพราะการขยายอำนาจของ "ชาวทะเล" (the Sea Peoples) ในแถบเมดิเตอเรเนียนซึ่งชาวอียิปต์โบราณได้บันทึกไว้ ทฤษฎีอื่นๆที่ยอมรับกันก็เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อารยธรรมและประวัติศาสตร์ของยุคไมซีนีกลายเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของวรรณกรรมกรีกโบราณ โดยเฉพาะเทพปกรณัมกรีก ซึ่งรวมถึงวัฏมหากาพย์กรุงทรอย (Trojan Epic Cycle).

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและอารยธรรมไมซีนี · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมไมนอส

วนหนึ่งของพระราชวังที่คนอสซอสที่สร้างขึ้นให้เห็นภาพจากการขุดค้นของนักโบราณคดี อารยธรรมไมนอส (Minoan civilization) เป็นวัฒนธรรมของยุคสำริดที่เกิดขึ้นในครีต อารยธรรมไมนอสรุ่งเรืองระหว่างราวศตวรรษที่ 27 จนถึงกลางศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นอารยธรรมไมซีนี (Mycenaean civilization) ก็เข้ามาแทนที่ อารยธรรมไมนอสพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษชื่อเซอร์อาร์เธอร์ อีแวนส์ ตามคำกล่าวของวิลล์ ดูรันต์วัฒนธรรมครีตไมนอสมีตำแหน่งในประวัติศาสตร์ว่าเป็น “สิ่งแรกที่เชื่อมวัฒนธรรมยุโรป”.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและอารยธรรมไมนอส · ดูเพิ่มเติม »

อีดิปัส

อีดิปัสกับสฟิงซ์ (Oedipus and the Sphinx) วาดโดยฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ ค.ศ. 1805 ภาพ Oedipus at Colonus วาดโดย Fulchran-Jean Harriet ค.ศ. 1798 อีดิปัส หรือ ออยดิปุส(Oedipus, (อีดิปัส), (เอดิปัส); Οἰδίπους (ออยดิปุส) แปลว่า "เท้าบวม") เป็นกษัตริย์เมืองธีบส์ในเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของกษัตริย์ไลอัส (Laius) แห่งธีบส์ ที่เกิดแต่พระนางโยคัสตา (Jocasta) เมื่อแรกเกิดได้รับคำทำนายจากเทพพยากรณ์ว่า เมื่อโตขึ้นจะเป็นผู้ฆ่าบิดาและสมรสกับมารดาตัวเอง และนำหายนะมาสู่ครอบครัวและเมืองทีบส์ อีดิปัสมีชื่อเสีงเป็นที่จดจำได้ในฐานะวีรบุรุษกรีกผู้แก้ปริศนาของสฟิงซ์ได้ เรื่องราวของอีดิปัสเป็นแรงบัลดาลใจให้กับงานศิลปะมากมายทั้งในยุคโบราณและยุคต่อๆมา ผู้สืบสายเลือดของอีดิปัสถูกสาปให้มีชะตากรรมยากลำบาก และเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนาละครโศกนาฏกรรม ตำนานของอีดิปัสได้รับการเล่าขานต่อมา และได้รับการบันทึกเป็นครั้งแรกราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล โดยโฮเมอร์ ตำนานที่มีชื่อเสียงคือเรื่อง "Oedipus the King" (Οἰδίπους Τύραννος, Oedipus Rex, อีดิปุส จอมราชันย์) และ "Oedipus at Colonus" (Οἰδίπους ἐπὶ Κολωνῷ) โดยซอโฟคลีส ถูกนำมาเล่นเป็นละครไตรภาคในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล อีดิปัสถูกนำชื่อมาใช้ในการอธิบายภาวะการเติบโตทางจิตของวัยเด็ก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและอีดิปัส · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทาร์ทารัส

ในเทพปกรณัมคลาสสิก เบื้องล่างของยูเรนัส ไกอาและพอนตัส ทาร์ทารัส หรือ ทาร์ทารอส (กรีกโบราณ: Τάρταρος แปลว่า "สถานที่ลึก") เป็นหลุมลึกหรือห้วงอเวจีที่ลึกและมืดหม่นไม่มีที่สิ้นสุด ถูกใช้เป็นสถานที่คุกมืดสำหรับทรมานและทำให้ได้รับความเจ็บปวดแก่โครนอสซึ่งอยู่ใต้โลกบาดาลเป็นที่ที่ซุสใช้เคียวของโครนอสสับโครนอสผู้เป็นบิดาเป็นพันชิ้นแล้วโปรยลงไปในนรกทาร์ทารัสตามตำนานกรีก ในกอร์จิอัส ผลงานของเพลโต (ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เขียนไว้ว่า เช่นเดียวกับสิ่งดั้งเดิมอื่น ๆ (เช่น โลกและเวลา) ทาร์ทารัสเองก็เป็นอำนาจหรือเทพที่มีมาแต่ดั้งเดิมด้วยเช่นกัน หมวดหมู่:เทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและทาร์ทารัส · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและครีต · ดูเพิ่มเติม »

ซอโฟคลีส

ซอโฟคลีส หรือ โซโฟคลีส (Sophocles; Σοφοκλῆς, โซโพแคลส,; ราว 497/6 – 406/5 ก่อนค.ศ.)Sommerstein (2002), p. 41.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและซอโฟคลีส · ดูเพิ่มเติม »

ปลายสมัยโบราณ

ราณตอนปลาย (Late Antiquity) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ในการบรรยายช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากยุคโบราณคลาสสิกไปเป็นยุคกลางทั้งบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ของเขตของสมัยยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่นักประวัติศาสตร์คนสำคัญปีเตอร์ บราวน์เสนอว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง ที่ 8 โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเทียบได้กับช่วงเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ค.ศ. 235-ค.ศ. 284) ของจักรวรรดิโรมัน ไปจนถึงการจัดระบบบริหารของจักรวรรดิโรมันตะวันออกภายใต้การนำของจักรพรรดิเฮราคลิอัส และการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งทางด้านสังคม, วัฒนธรรม และ ระบบการปกครองที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนผู้ทรงเป็นผู้เริ่มการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนคือจักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปกครองโดยพระจักรพรรดิหลายพระองค์ เริ่มด้วยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เมื่อจักรวรรดิถูกเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิคริสเตียน และการก่อตั้งคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์มานิคต่อมาก็บั่นทอนเสถียรภาพของจักรวรรดิยิ่งขึ้นไปอีก ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 และมาแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ของชนเจอร์มานิค หรือ “ระบอบพระมหากษัตริย์ของอนารยชน” ผลก็คือการผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เจอร์มานิค และ คริสเตียนที่กลายมาเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก การสูญเสียประชากร, ความรู้ทางเทคโนโลยี และ มาตรฐานความเป็นอยู่ของยุโรปตะวันตกในยุคนี้เป็นลักษณะของสถานภาพที่เรียกว่า “การล่มสลายของสังคม” (Societal collapse) โดยนักเขียนตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จากความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นและการขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันตกในช่วงนี้โดยเฉพาะ ในช่วงระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาจนถึงยุคกลาง ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคมืด” ที่มาแทนที่ด้วยคำว่า “ยุคโบราณตอนปลาย”.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและปลายสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

แพนโดรา

แพนโดร่า วาดโดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ ค.ศ. 1896 แพนโดรา (Pandora) เป็นสตรีนางแรกบนโลกมนุษย์และเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดเพราะเป็นผู้หญิงคนเดียวบนโลก ผู้ซึ่งเปิดกล่องที่บรรจุความชั่วร้ายนานาซึ่งทำให้จิตใจของมนุษย์ไม่บริสุทธิ์ ตำนานได้กล่าวว่าแพนโดร่าถูกสรรค์สร้างขึ้นมาจากฝีมือที่ประณีตของเทพและเทพีหลายองค์โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะลงโทษมนุษย์ เหตุเพราะก่อนหน้านี้ เทพโปรมีทีอุส ได้ขโมยไฟจากเตาของเทวีเฮสเทียบนเขาโอลิมปัสเพื่อนำมาให้มนุษย์ ส่งผลให้มนุษย์เริ่มแข็งข้อต่อเทพเจ้า เทพซุสได้ใส่ความอยากรู้อยากเห็นลงในตัวของแพนดอร่า พร้อมกับมอบกล่องแพนดอร่าซึ่งกำชับไม่ให้นางเปิดดู แล้วส่งนางลงไปยังโลกมนุษย์ แพนดอร่าได้แต่งงานกับไททันเอพะมีธีเอิส และมีลูกหลานหญิงชายสืบต่อกันมาเป็นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ นับวันความสงสัยของนางแพนดอร่าก็มีมากขึ้น จนนางตัดสินใจเปิดกล่องแพนดอร่าออก ทันใดนั้นเอง ความชั่วร้ายต่างๆ นานาก็พวยพุ่งออกมาจากกล่องตรงเข้าไปกัดกินหัวใจมนุษย์ให้ฆ่าฟันกันเองจนกลายเป็นยุคมืด นางแพนดอร่าตกใจรีบปิดกล่องทำให้สามารถกักเก็บ ความสิ้นหวัง เอาไว้ในกล่องใบนั้นได้ทัน มนุษย์จึงยังคงดำรงชีวิตอยู่มาได้ด้วยความหวัง แต่ทว่ามนุษย์เริ่มมีจิตใจชั่วร้ายโสมมมากขึ้น จนสุดท้ายเทพเจ้าจึงบันดาลให้เกิดน้ำท่วมโลกจนมนุษย์ผู้ชั่วร้ายตายกันหมด มนุษย์ผู้มีจิตใจดีที่ยังเหลือรอดจึงได้สืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ต่อมา โดยที่ยังมีความชั่วร้ายเกาะติดอยู่ในหัวใจ ทว่าหากมีความหวัง อดกลั้นข่มใจไม่ทำความผิด ความชั่วร้ายต่างๆ ก็มิอาจทำอันตรายใดได้อีก หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและแพนโดรา · ดูเพิ่มเติม »

โพรมีเทียส

วาดโพรมีเธียสขโมยไฟมาให้มนุษย์ วาดโดย ไฮน์ริช ฟูเกอร์ ในปี ค.ศ. 1817 โพรมีเทียส หรือ โพรมีทีอูส (Prometheus, Προμηθεύς แปลว่า มองการณ์ไกล) เป็นเทพไททันองค์หนึ่งที่มีความเฉลียวฉลาด เป็นผู้ขโมยไฟจากเฮสเทีย เทพีแห่งเตาไฟ ลงไปให้มนุษย์ จึงทำให้มนุษย์รู้จักใช้ไฟในการหุงหาอาหารและใช้เพื่อแสงสว่างจนสามารถสร้างอารยธรรมต่างๆ ได้ จึงทำให้ซูสโกรธและลงโทษโพรมีเทียสด้วยการขังไว้ในถ้ำบนคอคาซัส และมีนกอินทรียักษ์มาจิกกินตับของโพรมีเทียสทุกวันโดยที่ไม่ตาย และทุกคืนตับของโพรมีเทียสจะงอกใหม่เพื่อให้นกอินทรียักษ์จิกกินในวันรุ่งขึ้น แต่สำหรับมนุษย์แล้ว โพรมีเทียสถือว่าเป็นเทพที่กล้าหาญและเป็นเพื่อนที่ดีต่อมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องและนับถือ.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและโพรมีเทียส · ดูเพิ่มเติม »

โศกนาฏกรรม

กนาฏกรรม (Tragedy) คือ วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร (drama) ที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น ลิลิตพระลอ, สาวเครือฟ้า, โรเมโอจูเลียต, คู่กรรม โดยความหมายดั้งเดิมของโศกนาฏกรรมในภาษาอังกฤษ คือ Tragedy (/ทรา-จิ-ดี/) มีความหมายถึง วรรณกรรมหรือวรรณคดีสำหรับชนชั้นสูง โดยจะเป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาชั้นสูงหรือภาษาที่มีความสละสลวย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสุขนาฏกรรม หรือ Comedy ที่หมายถึง วรรณกรรมสำหรับชนชั้นล่างหรือระดับชาวบ้านทั่วไป.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและโศกนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสซีย์

โอดีซุส และ นอซิกา ภาพวาดโดย ชาร์ลส เกลียร์ โอดีสซีย์ (Odyssey; Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีกD.C.H. Rieu's introduction to The Odyssey (Penguin, 2003), p. xi.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและโอดิสซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

โอซีอานัส

โอซีอานัส โอซีอานัส (Oceanus, /oʊˈsiənəs/; Ωκεανός, Okeanos) เป็นระบบที่เชื่อมต่อกันของแหล่งน้ำ เขตน่านน้ำ และมหาสมุทรของโลก (world-ocean) ในยุคสมัยคลาสสิกโบราณซึ่งชาวโรมันและชาวกรีกโบราณคิดว่ามันคือแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบโลกอยู่ ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก มีไททันตนหนึ่งใช้เป็นบุคลาธิษฐานแทนแหล่งน้ำนี้ ไททันตนนี้เป็นพระโอรสของไททันยูเรนัส (Uranus) และเทพีไกอา (Gaia) ผลงานศิลปแบบโมเสคของเฮเลนนิสต์และโรมันมักออกแบบไททันตนนี้ให้มีช่วงบนของร่างเป็นชายร่างบึกบึน มีหนวดเครายาวรุงรัง และเขา ส่วนช่วงล่างจะเป็นร่างของงูเซอร์เพนท์ (serpent) ในภาพวาดบนชิ้นส่วนจากเครื่องปั้นในช่วงประมาณ 580 ปีก่อนคริสตกาล ในกลุ่มเทพที่เข้าร่วมงานวิวาห์ของกษัตริย์เพเลอุซ (Peleus) และนิมฟ์ทะเลเธทิส (Thetis) ไททันโอเซียเนิสมีหางเป็นปลา ในมือขวาถือ "terd" และมือซ้ายถืองูเซอร์เพนท์ ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นของขวัญแห่งความมั่งคั่งและคำทำนาย ในผลงานโมเสคโรมัน ก็มีภาพไททันโอซีอานัสถือไม้พายและอุ้มเรือด้วยเช่นกัน หมวดหมู่:เทพไททัน.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและโอซีอานัส · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โครนัส

เทพโครนัส โครนัส หรือ โครนอส (Cronus หรือ Kronus, /kroʊnəs/; ภาษากรีกโบราณ: Κρόνος, Krónos) เป็นผู้นำเหล่ายักษ์ไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีไกอา (Gaia) พระแม่ธรณี และเทพบิดายูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องฟ้า เทพโครนัสได้โค่นบัลลังก์ของพระบิดา (เทพยูเรนัส) และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง จนกระทั่งถูกโค่นบัลลังก์โดยพระโอรสของตน คือ เทพซูส (Zeus) เทพโครนัสมิได้ถูกจองจำในยมโลกทาร์ทารัส (Tartarus) เหมือนเช่นไททันตนอื่น ๆ แต่เขากลับหลบหนีไปได้ ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทองของเขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล และเป็นอาวุธที่พระองค์ใช้โค่นบัลลังก์เทพยูเรนัส ในกรุงเอเธนส์ (Athens) วันที่ 12 ของทุกๆ เดือน ถูกเรียกว่าวันฮีคาทอมบาเอียน (Hekatombaion) ซึ่งจะมีงานเทศกาลชื่อว่า เทศกาลโครเนีย (Kronia) จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพโครนัสสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว พระนามของเทพโครนัสในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพแซเทิร์น (Saturn) หมวดหมู่:เทพไททัน.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและโครนัส · ดูเพิ่มเติม »

ไฮพีเรียน

ไฮพีเรียน (Hyperion) เป็นยักษ์ไททัน เป็นเจ้าแห่งแสงและหนึ่งในยักษ์ไททันผู้ควบคุมสี่มุมโลก ซึ่งไฮพีเรียนนั้นควบคุมทิศตะวันออก ไฮพีเรียนยังเป็นบิดาของฮีลีออส เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์องค์แรกก่อนจะยกหน้าที่นี้ให้แก่อะพอลโล ฮไฮพีเรียน.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและไฮพีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เวอร์จิล

เวอร์จิล ปูบลิอุส แวร์กิลิอุส มาโร (Pvblivs Vergilivs Maro) หรือ เวอร์จิล (Virgil, Vergil; 15 ตุลาคม 70 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 21 กันยายน 19 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกวีชาวโรมโบราณ บทกวีที่เขาแต่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าและนิยายปรัมปรา งานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ เอ็กคล็อกส์ (Eclogues), จอร์จิกส์ (Georgics) และมหากาพย์ อีนีอิด (Aeneid) หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเวอร์จิล · ดูเพิ่มเติม »

เอราทอสเทนีส

เอราทอสเทนีส (Ἐρατοσθένης; Eratosthenes) เป็นนักภูมิศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งภูมิศาสตร์” (father of geography) เนื่องจากว่า ระหว่างที่ปราชญ์ท่านอื่นให้ความสนใจต่อการบรรยายทางภูมิศาสตร์อยู่นั้น เอราทอสเทนีส เป็นคนแรกที่ใช้คำว่าภูมิศาสตร์และเรียกตัวเองว่าเป็นนักภูมิศาสตร์ (geographer) และจากการสังเกตพบว่างานทางภูมิศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งหลายไม่ได้เกิดจากนักภูมิศาสตร์ที่แท้จริง นอกจากนี้ปราชญ์ผู้ศึกษาปรากฏการณ์เองก็ไม่ได้มีเป้าหมายในการอธิบายในเชิงภูมิศาสตร์ กล่าวกันว่า เขามีแนวทางในการศึกษาโดยมุ่งเน้นว่า โลกเป็นที่อยู่อาศัยของมวลมนุษย์ โดยเป็นคนแรกที่ค้นคิดหาวิธีการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ต่างได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของที่ตั้งของเทหะวัตถุบนท้องฟ้า หรือจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลกกับการเคลื่อนที่ของเทหะวัตถุ ทั้งนี้ การคิดค้นระบบเส้นกริดอย่างหยาบๆ ของ เอราทอสเทนีส ทำโดยการแบ่งโลกออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเส้นสมมุติลากผ่านเมืองสำคัญและลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่น ระบบเส้นกริดนี้ใช้เป็นกรอบสำหรับสร้างแผนที่และการกำหนดที่ตั้ง ทำให้แผนที่มีความถูกต้องยิ่งขึ้น เอราทอสเทนีสได้รับการศึกษาหลากหลายสาขา เป็นต้นว่า นิรุกติศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา เชื่อกันว่าเขาได้เข้าศึกษาทั้งใน academy ของ Plato และ Lyceam ของ Aristotle เขาเกิดในอาณาจักรกรีกที่ Cyrene ในลิเบีย ต่อมาจึงย้ายไปอยู่ในเอเธนส์ ในปี 244 ก่อนคริสตกาล เขาได้รับเชิญจากกษัตริย์อียิปต์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้สอนส่วนพระองค์ (royal tutor) และต่อมาได้เข้าทำงานใน Alexandria ศูนย์รวมวิทยากรสมัยกรีก ในฐานะหัวหน้างานบรรณารักษ์ นานถึง 42 ปี (ระหว่าง ปี 234 – 192 ก่อนคริสตกาล) ชื่อเสียงของ เอราทอสเทนีส ขจรกระจายอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการยอมรับว่าโลกกลม และเขาพยายามคำนวณเส้นรอบโลก หรือ วงกลมใหญ่ และผลการคำนวณใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด กล่าวคือ คำนวณได้ 25,000 ไมล์ คาดเคลื่อนไปเพียง 140 ไมล์เท่านั้น วิธีการคำนวณนั้นเขาได้สังเกตตำแหน่งของพระอาทิตย์ ณ บริเวณ 2 จุด คือ Syene และ Alexandria ในช่วง Summer solstice (วันที่ 21 มิถุนายน วันนี้มีแสงตั้งฉากของพระอาทิตย์จะขึ้นไปได้ไกลที่สุดในซีกโลกเหนือ และจะตกลงที่ลติจูด 23 องศาเหนือ ทุกส่วนในซีกโลกเหนือที่เหนือแนว arctic circle จะเป็นเวลากลางวัน 24 ชั่วโมง ส่วนในซีกโลกใต้ต่ำกว่าแนว antarctic circle จะเป็นเวลากลางคืน 24 ชั่วโมง ผลที่เกิดขึ้นในแต่ละลติจูดจะทำให้เส้นแบ่งเวลากลางวัน–กลางคืน ไม่เท่ากัน) ณ เมือง Syene หรือ Aswan บนเกาะแห่งหนึ่งในแม่น้ำไนล์ บริเวณพระอาทิตย์สะท้อนขึ้นมาจากน้ำก้นบ่อ เหตุการณ์เกิดขึ้นมาช้านานโดยไม่มีนักเดินทางคนใดเป็นพยานได้ เพราะขาดความสนใจ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า พระอาทิตย์ส่องแสงลงมาตรงหัวพอดี ในเวลาเที่ยงวัน และตำแหล่งที่สองที่เขาสังเกตคือ บริเวณนอกพิพิธภัณฑ์ใน Alexandria ซึ่งมีอนุสาวรีย์ยอดแหลมตั้งอยู่ และเขาก็สามารถใช้อนุสาวรีย์แทน gnomon แล้ววัดความยาวของเงาอนุสาวรีย์ช่วงเที่ยงวันของ summer solstice เพื่อคำนวณมุมระหว่างยอดอนุสาวรีย์กับทิศทางของแสงพระอาทิตย์ ด้วยข้อมูลเหล่านี้ เอราทอสเทนีส ใช้หลักการเรขาคณิตของ thales ข้อที่สาม เกี่ยวกับเส้นคู่ขนานและมุมตรงข้าม ด้วยการสร้างเส้นคู่ขนานสมมุติขึ้นจากทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกในวันนั้น ลำแสงอาทิตย์ ณ เมือง Syene จะตั้งตรง ซึ่งเขาโยงไปยังแกนกลางโลก (SC) ส่วนที่เมือง Alexandria ฐานของอนุสาวรีย์จะชี้ไปยัง (BOC) จะต้องมีค่าเท่ากับมุมตรงข้าม ณ ศูนย์กลางโลก (OCS) คำถามต่อไปคือมุม OCS มีค่าเป็นเท่าไรของวงกลม เอราทอสเทนีส วัดระยะทางนี้ได้ 1/50 ของวงกลม โดยระยะทางระหว่าง Syene และ Alexandria (WO) ชาวอียิปต์วัดได้ 5,000 stades ดังนั้น เขาจึงวัดเส้นรอบโลกได้เท่ากับ 50×5,000 หรือ 250,000 stades โดย 10 stades เท่ากับ 1 ไมล์ ดังนั้นความยาวของเส้นรอบโลกของเขา จึงเท่ากับ 25,000 ไมล์ ซึ่งถือกันว่าใกล้กลับความจริงมากที่สุดเท่าที่มีการวัดมาของปราชญ์กรีกโบราณ ทั้งนี้เพราะเส้นรอบโลกวัดจากขั้นโลกเท่ากับ 24,860 ไมล์ อย่างไรก็ดีระยะทางระหว่างเมือง Syene กับAlexandria ที่แท้จริงเท่ากับ 453 ไมล์ เอราทอสเทนีส เขียนหนังสือบรรยายถึงดินแดนที่มนุษย์ สามารถอาศัยอยู่ได้ หรือ ekumene (เอราทอสเทนีส เชื่อว่า ดินแดนที่มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ได้แผ่ขยายจากเมือง Thule ทางเหนือลงมาถึง Taproban (Ceylon หรือศรีลังกา) ทางใต้ ส่วนทางตะวันตกเริ่มจากมหาสมุทรแอตแลนติคไปถึงอ่าวเบงกอลทางตะวันออก) ซึ่งเขายอมรับว่ามีอยู่จริง และยังได้แบ่งโลกออกเป็นสามส่วนคือ ยุโรป เอเชีย และลิเบีย นอกจากนี้ยังยอมรับการแบ่งส่วนของโลกออกเป็น 5 ส่วนที่ Aristotle เสนอไว้ ได้แก่ เขตร้อน (torrid zone) เขตอบอุ่น 2 เขต (two temperate zone) และเขตหนาวเย็น 2 เขต (two frigid zone) เขาได้เสนอแนะเพิ่มเติม โดยใช้คณิตศาสตร์เข้าช่วยในการกำหนดเขตดังกล่าว กล่าวคือ เขตร้อนนั้น เขาคิดว่ามีความกว้างประมาณ 48 องศา โดยอยู่ระหว่างลติจูด 24 องศาเหนือ–ใต้ เขตหนาวเย็นกระจายอยู่ที่ขั้วโลกราว 24 องศา หรือตั้งแต่ลติจูด 84 องศาเหนือ–ใต้ขึ้นไป ขณะที่เขตอบอุ่นเป็นเขตที่อยู่ตรงกลางระหว่างลติจูด 24–89 องศาเหนือใต้ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิด 276 ปีก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเอราทอสเทนีส · ดูเพิ่มเติม »

เอสคิลัส

อสคีลัส (Aeschylus; Αἰσχύλος ไอส-คู-ลอส;; ราว 525/524 – 456/455 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชาวกรีกโบราณ และได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโศกนาฏกรรม งานประพันธ์ของเอสคีลัสเป็นงานโศกนาฏกรรมชุดแรกสุดที่เหลือรอดมาจากยุคโบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานประเภทนี้ในสมัยแรกเริ่ม ล้วนแต่ได้มาจากการอนุมานผ่านงานที่หลงเหลืออยู่ของท่าน เอสคีลัสจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมกรีกโบราณ อริสโตเติลให้เครดิตเอสคีลิสในฐานะเป็นศิลปินคนแรกที่ขยายจำนวนนักแสดงบนเวทีการละครของกรีก ทำให้สามารถนำเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครได้ ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการละครของกรีกมีแค่ตัวนักแสดงนำกับกลุ่มประสานเสียง (คอรัส) ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เอสคีลัสประพันธ์บทละครไว้ระหว่าง 70 ถึง 90 เรื่อง แต่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียง 7 เรื่อง หนึ่งในนั้น พันธนาการโพรมีเทียส (Prometheus Bound) ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องตัวตนของผู้ประพันธ์ (บ้างเชื่อว่า ยูฟอเรียน บุตรชายของเอสคีลัส เป็นผู้แต่งขึ้น) งานนาฎกรรมบทละครที่เอสคีลัสประพันธ์ขึ้น เป็นงานที่แต่งเพื่อเข้าแข่งขันในงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเทศกาลไดโอไนซัส ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ที่เมืองไดโอไนเซีย (Dionysia) ซึ่งมีการแข่งขันสองรอบ คือ รอบแข่งขันงานโศกนาฏกรรม และรอบแข่งขันงานสุขนาฏกรรม (comedies) งานทั้งหมดที่เหลือรอดมาของเอสคิลัส ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย, ศึกเจ็ดขุนพลชิงธีบส์, ดรุณีร้องทุกข์, ไตรภาคโศกนาฏกรรม โอเรสเตอา ประกอบด้วย: อะกาเมมนอน, ผู้ถือทักษิโณทก (the Libation Bearers), และ ยูเมนิดีส (the Eumenides) เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันละครโศกนาฏกรรม ที่เมืองไดโอไนเซียมาแล้วทั้งสิ้น เว้นก็แต่ พันธนาการโพรมีเทียส เท่านั้น นอกจากนี้เอสคิลัสอาจเป็นนาฏศิลปินเพียงท่านเดียว (เท่าที่ทราบ) ที่เคยนำเสนอละครเป็นโศกนาฏการมไตรภาค ละครเรื่อง โอเรสเตอา เป็นตัวอย่างเดียวของบทประพันธ์ไตรภาคที่หลงเหลือมาจากยุคโบราณ ในวัยหนุ่มเอสคีลัสเคยเป็นทหารที่ร่วมรบในสงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เซียทั้งสองครั้ง ในตอนต้นของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในปีที่ 490 ก่อน..

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเอสคิลัส · ดูเพิ่มเติม »

เอียรอส

เอียรอส หรือ เอรอส (Eros /ˈɪərɒs/ หรือ /ˈɛrɒs/; Ἔρως, "ความปรารถนา") ในเทพปกรณัมกรีก เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ภาคโรมัน คือ คิวปิด บางตำนานถือว่าพระองค์เป็นปฐมเทพ ขณะที่บางตำนานว่าพระองค์เป็นพระโอรสของแอโฟรไดที หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเอียรอส · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์ยุคคลาสสิก

อเธนส์ (Ἀθῆναι, Athênai, a.tʰɛ̂ː.nai̯: อะแธไน) ในสมัยคลาสสิกของกรีซโบราณ (508-322 ก่อนค.ศ.) เป็นศูนย์กลางของชุมชนเมืองในนครรัฐเอเธนส์ ตั้งอยู่ในแอตติกา ประเทศกรีซ เอเธนส์เป็นชาติผู้นำแห่งสันนิบาตดีเลียน ในสงครามเพโลพอนนีซ ระหว่างสันนิบาตดีเลียน และสันนิบาตเพโลพอนนีเซียน ซึ่งนำโดยสปาร์ตา ไคลส์ธีนีสเป็นผู้ก่อตั้งประชาธิปไตยขึ้นในเอเธนส์ ในปีที่ 508 ก่อน..

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเอเธนส์ยุคคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลีส

''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเฮราคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮสิโอด

อด หรือ เฮสิอัด (Hesiod; Ἡσίοδος เฮ-สิ-โอ-ดอส) เป็นกวีชาวกรีกที่สันนิษฐานว่ามีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับโฮเมอร์ ในระหว่างปีที่ 750 ถึง 650 ก่อน..

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเฮสิโอด · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

เคออส

ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เคออส (χάος, khaos; Chaos หรือ Khaos) เป็นสภาพแรกเริ่มของการมีอยู่ ก่อนการกำเนิดของเหล่าทวยเทพรุ่นแรก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือความว่างเปล่าอันมืดดำของอวกาศ ใน ธีออโกนี หรือเทวพงศาวดารของเฮซิโอด (700 ปีก่อนค.ศ.) "เคออส" เป็นเทพดึกดำบรรพ์องค์แรกที่ปรากฎขึ้น จากนั้นจึงเกิดมี ไกอา (โลก), ทาร์ทารัส (ก้นบึ้ง), และ เอรอส (ความรัก) ตามมา จากเคออสแล้วจึงมี เอเรบัส (ความมืด) และนิกซ์ (กลางคืน).

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเคออส · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์เบอรัส

ประติมากรรมเทพเจ้าเฮดีสกับเซอร์เบอรัส เซอร์เบอรัส หรือ เคร์เบรอส (Cerberus; Κέρβερος เคร์เบรอส) ในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน เป็นหมาหลายหัว (ปกติมีสาม) มีหางอสรพิษ พังพานงู และกรงเล็บสิงโต มันเฝ้าทางเข้าโลกบาดาลเพื่อป้องกันคนตายมิให้หลบหนีและคนเป็นมิให้เข้า เซอร์เบอรัสปรากฏในวรรณกรรมกรีกและโรมันโบราณหลายงาน และในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้งโบราณและสมัยใหม่ แม้การพรรณนาเซอร์เบอรัสแตกต่างกันแล้วแต่ตีความ ความแตกต่างที่สำคัญที่สุด คือ จำนวนหัว แหล่งข้อมูลส่วนมากอธิบายหรือบรรยายไว้สามหัว แต่แหล่งอื่นแสดงเซอร์เบอรัสมีสองหัวหรือหัวเดียว มีแหล่งน้อยกว่านั้นที่แสดงจำนวนต่าง ๆ บ้างว่าห้าสิบหรือกระทั่งหนึ่งร้อย เซอร์เบอรัสเป็นลูกของอีคิดนา ครึ่งสตรีครึ่งอสรพิษ กับไทฟอน สัตว์ประหลาดยักษ์ซึ่งแม้แต่เทพเจ้ากรีกยังขยาด พี่น้องมีเลอร์เนียนไฮดรา, ออร์ธรัส (Orthrus) หมานรกสองหัว และคิเมียรา สัตว์ประหลาดสามหัว การพรรณนาสามัญของเซอร์เบอรัสในเทพปกรณัมและศิลปะกรีก คือ มีสามหัว ในงานส่วนใหญ่ สามหัวนั้นมองและเป็นเครื่องหมายของอดีต ปัจจุบันและอนาคต ขณะที่แหล่งอื่นแนะว่า หัวทั้งสามเป็นสัญลักษณ์ของการเกิด เยาว์วัยและชราวัย กล่าวกันว่า หัวของเซอร์เบอรัสมีความอยากอาหารเฉพาะเนื้อมีชีวิต ฉะนั้นจึงให้วิญญาณผู้วายชนม์เข้าโลกบาดาลได้อย่างเสรี แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใดออก เซอร์เบอรัสเป็นหมาเฝ้าที่ซื่อสัตย์ของเฮดีส และเฝ้าประตูเข้าออกโลกบาดาล ไม่มีบันทึกว่าเซอร์เบอรัสเป็นสุนัขพันธุ์ใด ดังนั้นในทางศิลปะจึงพบเห็นเซอร์บีรัสได้หลากหลายสายพันธุ์มาก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมกรีกและเซอร์เบอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตำนานกรีกตำนานเทพกรีกตำนานเทพปกรณัมกรีกตำนานเทพเจ้ากรีกเทวตำนานกรีกเทพเจ้ากรีกเทพเจ้าของกรีก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »