โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

ดัชนี เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา เป็นชื่ออาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งตั้งอยู่ในแถบทะเลแคริบเบียน ประกอบด้วยดินแดนของแองกวิลลาและประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสในปัจจุบัน รัฐดังกล่าวนี้ต่อมาได้กลายเป็นมณฑลหนึ่งของสหพันธรัฐเวสต์อินดิสในปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) จนกระทั่งเมื่อสหพันธรัฐดังกล่าวได้ล้มเลิกลงในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลาก็ได้เป็นประเทศอิสระ ซึ่งได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อรวมตัวเป็นสหภาพกับประเทศอื่นอยู่หลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลา ได้รับมอบอำนาจปกครองตนเองด้านกิจการภายในอย่างเต็มที่จากสหราชอาณาจักร ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 แองกวิลลาได้พยายามก่อกบฏเพื่อแยกตัวเป็นอิสระจนสำเร็จแต่ก็เป็นประเทศเอกราชได้เพียงไม่นานนัก ถึงปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) แองกวิลลาจึงแยกตัวจากเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลาอย่างเป็นทางการโดยยังคงสถานะเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรจนถึงปัจจุบัน ส่วนดินแดนที่เหลือภายหลังก็ได้รับเอกราชและสถาปนาเป็นประเทศเอกราชในชื่อเซนต์คิตส์และเนวิสเมื่อปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526) หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปอเมริกาเหนือ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เซนต์คิสต์และเนวิส หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์แองกวิลลา หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2526 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของอังกฤษ.

22 ความสัมพันธ์: บาสแตร์พ.ศ. 2501พ.ศ. 2505พ.ศ. 2510พ.ศ. 2514พ.ศ. 2523พ.ศ. 2526ก็อดเซฟเดอะควีนภาษาอังกฤษศาสนาคริสต์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสหพันธรัฐอินเดียตะวันตกสหราชอาณาจักรทะเลแคริบเบียนดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนคริสต์ศตวรรษที่ 19ประมุขแห่งรัฐประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสแองกวิลลาเดอะแวลลีย์เนวิสISO 4217

บาสแตร์

บาสแตร์ (Basseterre) เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส มีประชากรราว 15,500 คนจากการสำรวจในปี 2000 ท่าเรือบาสแตร์ตั้งอยู่ที่พิกัด บนชายหาดตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเซนต์คิตส์ และเป็น 1 ในศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของเกาะลีวาร์ด บาสแตร์ถือเป็น 1 ในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในแคริบเบียนตะวันออก หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและบาสแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2501

ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและพ.ศ. 2501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2505

ทธศักราช 2505 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1962 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและพ.ศ. 2505 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2510

ทธศักราช 2510 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1967 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและพ.ศ. 2510 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2523

ทธศักราช 2523 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1980 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและพ.ศ. 2523 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2526

ทธศักราช 2526 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1983 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและพ.ศ. 2526 · ดูเพิ่มเติม »

ก็อดเซฟเดอะควีน

ลงก็อดเซฟเดอะควีน หรือ ก็อดเซฟเดอะคิง เป็นเพลงปลุกใจ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีของสหราชอาณาจักร เพลงนี้ใช้เป็นหนึ่งในสองเพลงชาติของนิวซีแลนด์ เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพ ทั้งยังใช้เป็นเพลงคำนับสำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์อังกฤษด้วย หากประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ จะใช้ชื่อเพลงว่า ก็อดเซฟเดอะคิง แต่ถ้าพระราชินีทรงเป็นประมุขก็จะใช้ชื่อเพลงว่า ก็อดเซฟเดอะควีน ในภาษาไทยไม่นิยมแปลชื่อเพลงนี้ออกมาโดยตรง แต่มักเรียกทับศัพท์ว่า ก็อดเซฟเดอะคิง หรือ ก็อดเซฟเดอะควีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ ตามลักษณะของเพลง.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและก็อดเซฟเดอะควีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐอินเดียตะวันตก

หพันธรัฐอินเดียตะวันตก หรือ สหพันธรัฐเวสต์อินดีส (West Indies Federation) เป็นสหพันธรัฐที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันของอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในแถบแคริบเบียน ตั้งแต่ 3 มกราคม พ.ศ. 2501 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคือเพื่อสร้างกลุ่มการเมืองที่มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐเมื่อได้รับเอกราชสมบูรณ์จากสหราชอาณาจักร ดังเช่นรูปแบบการเมืองการปกครองของประเทศแคนาดาและเครือรัฐออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม สหพันธรัฐดังกล่าวนี้กลับต้องยุบตัวลงเพราะความขัดแย้งทางการเมืองภายใน.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและสหพันธรัฐอินเดียตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคริบเบียน

แผนทีภูมิภาคอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนมองจากอวกาศ (ด้านบนซ้าย) ทะเลแคริบเบียน (Caribbean Sea, หรือ; Mar Caribe) เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน โดยทางทิศใต้จดทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง และทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลีส ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาเมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีสทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะดอมินีกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลนี้ และชายฝั่งที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อภูมิภาคแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนเป็นหนึ่งในทะเลที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 2,754,000 ตารางกิโลเมตร (1,063,000 ตารางไมล์) จุดที่ลึกที่สุดของทะเลนี้คือ Cayman Trough อยู่ระหว่างคิวบากับจาเมกา ที่ความลึก 7,686 เมตร (25,220 ฟุต) ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชายฝั่งแคริบเบียนมีอ่าวอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวเวเนซุเอลา อ่าวดาริเอน อ่าวโมสกิโตส และอ่าวฮอนดูรั.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและทะเลแคริบเบียน · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน

ที่ตั้งของดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (British Overseas Territories) คือดินแดน 14 ดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร แต่ไม่ได้นับเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและประมุขแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส

ซนต์คิตส์และเนวิส (Saint Kitts and Nevis) หรือชื่อทางการคือ สหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส (Federation of Saint Kitts and Nevis) ตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ด (Leeward Islands) เป็นประเทศเกาะในทะเลแคริบเบียนและเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในซีกโลกตะวันตก เมืองหลวงและหน่วยงานรัฐบาลของสหพันธรัฐส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเกาะเซนต์คิตส์ (หรือเซนต์คริสโตเฟอร์) ที่มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนรัฐที่เล็กกว่าคือ เนวิส (Nevis) ตั้งอยู่ห่างจากเกาะเซนต์คิตส์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 3 กิโลเมตร ตามประวัติศาสตร์แล้ว แองกวิลลาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐด้วย เรียกว่า เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา แม้ว่าทั้งเกาะเซนต์คิตส์และเกาะเนวิสตั้งอยู่ภายในหมู่เกาะลีเวิร์ด แต่ทั้ง 2 เกาะก็ตั้งอยู่ใกล้กับเกาะอื่น ๆ อีกมากมายด้วย ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีเกาะซินต์เอิสตาซียึส เกาะซาบา เกาะแซ็ง-บาร์เตเลมี และเกาะเซนต์มาร์ติน ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีเกาะแอนติกาและบาร์บูดา และทางตะวันออกเฉียงใต้มีเกาะมอนต์เซอร์รัต ทั้งชื่อ Saint Christopher และ Saint Kitts ปรากฏอยู่ใน.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส · ดูเพิ่มเติม »

แองกวิลลา

แองกวิลลา (Anguilla) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในทะเลแคริบเบียน หนึ่งในกลุ่มเกาะที่อยู่ทางเหนือสุดของหมู่เกาะลีเวิร์ดในภูมิภาคเลสเซอร์แอนทิลลิส แองกวิลลาประกอบด้วยเกาะหลักแองกวิลลายาว 26 กิโลเมตร (16 ไมล์) กว้าง 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) และกลุ่มเกาะเล็ก ๆ ซึ่งไม่มีคนอาศัยอย่างถาวร เมืองหลักของดินแดนแห่งนี้คือเดอะแวลลีย์ (The Valley) มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 102 ตารางกิโลเมตร (39.4 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 13,500 คน (พ.ศ. 2549).

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและแองกวิลลา · ดูเพิ่มเติม »

เดอะแวลลีย์

เดอะแวลลีย์ (The Valley) เป็นเมืองหลวงของแองกวิลลา ซึ่งเป็นดินแดนของสหราชอาณาจักร มีประชากร 1,169 คน หมวดหมู่:แองกวิลลา.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและเดอะแวลลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เนวิส

ฝั่งตะวันออกของเนวิส, ป้องกันบางส่วนโดย แนวปะการัง. เบย์ระยะยาวจะเห็นอยู่เบื้องหน้า Main Street, ชาร์ลส, เนวิส ส่วนหนึ่งของชายฝั่งตะวันตกของ Nevis รวมทั้งสถานที่ตั้งของ ฤดูใบไม้ผลิของเนลสัน เนวิส (Nevis) เป็นเกาะใน ทะเลแคริบเบียน ที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นโค้งด้านในของ เกาะลีเวิร์ด ห่วงโซ่ของ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ตั้งอยู่ใกล้ปลายด้านเหนือของเลสเซอร์แอนทิลลีส เกาะนี้ห่างออกไปประมาณ 350 กิโลเมตรจากตะวันออกเฉียงใต้ของเปอร์โตริโก และห่าง 80 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกของแอนติกา มีพื้นที่ 93 ตารางกิโลเมตร และมีเมืองหลวงคือ ชาร์ลสทาวน์ เนวิสตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเซนต์คิตส์ของสหพันธ์เซนต์คิตส์และเนวิส สองเกาะจะถูกแยกออกด้วยช่องแคบ ยาว 3.22 กิโลเมตร ที่เรียกว่า "The Narrows" เนวิสเป็นรูปกรวยในรูปร่างที่มียอดภูเขาไฟที่รู้จักกันเป็น Nevis Peak ที่ศูนย์กลาง เกาะเป็นฝอยบนชายฝั่งตะวันตกและทางเหนือของหาดทรายตามที่ประกอบด้วยส่วนผสมของทรายปะการังสีขาวด้วยทรายสีน้ำตาลและสีดำซึ่งได้รับการกัดเซาะและชะล้างลงจากหินภูเขาไฟที่กำเนิดขึ้นบนเกาะ ที่ราบชายฝั่งกว้าง 1 กิโลเมตร (0.6 ไมล์) มีน้ำพุน้ำจืดธรรมชาติเช่นเดียวกับที่ไม่ใช้ดื่ม ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวชายฝั่งตะวันตก.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและเนวิส · ดูเพิ่มเติม »

ISO 4217

ISO 4217 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับรหัสสกุลเงินที่ใช้ในประเทศต่างๆ มักใช้ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามธนาคาร ประกอบด้วยอักษรละตินตัวใหญ่ 3 ตัวจากชื่อประเทศและชื่อของสกุลเงินที่ใช้ในประเทศนั้น.

ใหม่!!: เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและISO 4217 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »