โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจมส์ บอนด์และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เจมส์ บอนด์และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์

เจมส์ บอนด์ vs. เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์

มส์ บอนด์ (James Bond) เป็นตัวละครสมมติ สร้างโดย เอียน เฟลมมิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งปรากฏอยู่ในนวนิยาย 12 ตอนและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ต่อมาหลังจากเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2507 มีนักประพันธ์อีกหลายคนได้สิทธิ์ในการประพันธ์ เจมส์ บอนด์ ต่อ ได้แก่ คิงส์ลีย์ เอมิส, คริสโตเฟอร์ วูด, จอห์น การ์ดเนอร์, เรย์มอนด์ เบ็นสัน, เซบาสเตียน ฟอล์ค, เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ และ วิลเลียม บอยด์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ของ ชาร์ลี ฮิกสัน ในชุด ยังบอนด์ และ เคต เวสต์บรูค ประพันธ์ในรูปแบบไดอารีของตัวละคร มิสมันนีเพนนี เจมส์ บอนด์ ยังได้ถูกดัดแปลงออกมาเป็นสื่อต่างๆ เช่น ละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, การ์ตูน, วิดีโอเกมและภาพยนตร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั่วโลก โดยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ 4 เริ่มจากเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr.No) เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบท เจมส์ บอนด์ ปัจจุบันออกฉายแล้วทั้งหมด 24 ภาค ผลิตโดย อีโอเอ็น โปรดักชันส์ ภาคล่าสุด ชื่อว่า องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) แดเนียล เคร็ก เป็นเจมส์ บอนด์ ครั้งที่ 4 และเป็นคนที่ 6 ที่รับบทนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ของ อีโอเอ็น คือ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) เมื่อปี พ.ศ. 2510 เดวิด นิเวน เป็นเจมส์ บอนด์ และ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการรีเมค ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) โดย ฌอน คอนเนอรี กลับมารับบทเป็นเจมส์ บอนด์ อีกครั้ง ตัวเลข 007 ที่อยู่ท้ายชื่อของเจมส์ บอนด์ หมายถึงรหัสลับประจำตัวที่ใช้เรียกแทนตัวเขาในฐานะของสายลับคนหนึ่ง โดยเลข 00 ที่นำหน้าเลข 7 อยู่นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แจ้งให้ทราบว่า ตัวเขาเป็นสายลับที่ได้รับอนุญาตให้สามารถสังหารชีวิตผู้อื่นได้โดยไม่ผิดกฎหมายสมเกียรติ อ่อนวิมล. แอนโธนี่ ดอว์สัน ในบท โบลเฟลด์ ที่ซ่อนหน้า ในตอน เพชฌฆาต 007 กับตอน ธันเดอร์บอลล์ โดนัลด์ พลีสเซนซ์ ในบท โบลเฟลด์ ในตอน จอมมหากาฬ 007 เทลลี่ ซาวาลาส กับ จอร์จ ลาเซนบี้ ในบท โบลเฟลด์ กับ เจมส์ บอนด์ ตามลำดับ ในตอน ยอดพยัคฆ์ราชินี ชาร์ลส์ เกรย์ ในบท โบลเฟลด์ ในตอน เพชรพยัคฆราช คริสทอฟ วัลซ์ ในบท เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ ในตอน องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ (Ernst Stavro Blofeld) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในนวนิยายและภาพยนตร์ในชุด เจมส์ บอนด์ โบลเฟลด์เป็นศัตรูของบอนด์ ทำงานให้กับองค์การสเปกเตอร์ (SPECTRE) เอียน เฟลมมิ่ง ผู้เขียนเจมส์ บอนด์ ได้เขียนอธิบายโบลเฟลด์ว่าเกิดวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 ซึ่งตรงกับวันเกิดของเฟลมมิ่งเอง โดยมีพ่อเป็นชาวโปแลนด์และแม่เป็นชาวกรีก โบลเฟลด์ ในภาพยนตร์ มักปรากฏตัวกับแมวเปอร์เซียสีขาว และในช่วงต้นๆของซีรีส์บอนด์ ซึ่งคือตอน เพชฌฆาต 007 ซึ่งเป็นตอนที่ 2 กับตอน ธันเดอร์บอลล์ ซึ่งเป็นตอนที่ 4 โบลเฟลด์ปรากฏตัวในภาพยนตร์ แต่ไม่เปิดเผยหน้าของโบลเฟลด์ แต่จะใช้วิธีให้เห็นแค่ช่วงตัวของโบลเฟลด์ ถ่ายให้เห็นเขาเพียงแค่ลูบแมวเปอร์เซียตัวโปรด และการแสดงเป็นโบลเฟลด์จะเป็นการแสดงเงียบ แอ็คชั่นเฉยๆ แล้วจะให้อีกคนมาพากย์เสียงโบลเฟลด์อีกที่หนึ่ง ซึ่งในช่วงต้น ๆที่ไม่ให้เห็นหน้าโบลเฟลด์นี้ ผู้ที่แสดงเงียบเป็นโบลเฟลด์คือ แอนโธนี่ ดอว์สัน (Anthony Dawson) ผู้ซึ่งเคยแสดงเป็นตัวประกอบในซีรีส์บอนด์ไปแล้ว ค่ายภาพยนตร์จึงคิดวิธีนี้ได้ คือให้แอนโธนี่แสดงเงียบและถ่ายทำไม่ให้เห็นหน้า แล้วอีริค พอห์ลแมน (Eric Pohlman) มาให้เสียงพากย์ทีหลัง ต่อมา พอถึงตอน จอมมหากาฬ 007 ซึ่งเป็นตอนที่ 5 โบลเฟลด์ได้เปลี่ยนคนที่รับบทบาทมาเป็น โดนัลด์ พลีสเซนซ์ (Donald Pleasence) ซึ่งคราวนี้ โดนัลด์ รับบททั้งพูดทั้งแสดง ช่วงต้นเรื่อง จะยังไม่เห็นหน้าโบลเฟลด์ แต่พอช่วงปลายเรื่อง แฟน ๆ ภาพยนตร์เจมส์บอนด์ของค่ายอีโอเอ็น ก็ได้เห็นหน้าโบลเฟลด์เป็นครั้งแรก ซึ่งคือใบหน้าของ โดนัลด์ พลีสเซนซ์ พอถึงตอนที่ 6 ซึ่งคือ ยอดพยัคฆ์ราชินี โบลเฟลด์ เปลี่ยนผู้รับบทบาทอีกครั้ง เป็น เทลลี่ ซาวาลาส โดยในภาพยนตร์อ้างว่า โบลเฟลด์ ไปผ่าตัดแปลงโฉมมา เพื่อมาอ้างอิงในความเปลี่ยนแปลงของโบลเฟลด์ ครั้งนี้ไม่มีการซ่อนใบหน้าโบลเฟลด์ ตอนที่ 7 ซึ่งคือตอน เพชรพยัคฆราช โบลเฟลด์เปลี่ยนโฉมอีกครั้ง ครั้งนี้ผู้รับบทโบลเฟลด์คือ ชาร์ลส์ เกรย์ (Charles Gray) แล้วโบลเฟลด์ก็ไม่ปรากฏตัวอีกไปจนถึงตอนที่ 12 เจาะดวงตาเพชฌฆาต ผู้รับบทโบลเฟลด์คือ จอห์น ฮอลลิส (John Hollis) แต่ครั้งนี้เป็นการแสดงเงียบอีกครั้ง ครั้งนี้ผู้มาพากย์เสียงโบลเฟลด์คือ โรเบิร์ต ริตตี้ (Robert Rietty) ครั้งนี้ โบลเฟลด์โผล่มาเป็นช่วงสั้นๆ แค่ช่วงแอ๊คชั่นเปิดเรื่องไม่กี่นาที แล้วโบลเฟลด์ก็ไม่มีการปรากฏตัวในภาพยนตร์ของค่ายอีโอเอ็นอีกเลย แต่เจมส์ บอนด์ ฉบับไม่เป็นทางการเรื่อง พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ ที่ค่ายภาพยนตร์ Warner Bros. ทำขึ้นมา โบลเฟลด์ได้ปรากฏตัวอีกครั้งหนึ่ง ในเรื่องนี้ ผู้รับบทคือ แม็กซ์ วอน ซีโดว์ เจมส์ บอนด์เรื่องนี้ไม่มีการซ่อนหน้าโบลเฟลด์ แล้วโบลเฟลด์ ก็ไม่ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องใดอีกเลยจนถึงปัจจุบัน เว้นแต่ถูกล้อเลียนในภาพยนตร์การ์ตูนหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนเท่านั้น เช่นเรื่อง Austin Powers จนกระทั่ง ในปี 2015 โบลเฟลด์ กลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ในภาค Spectre องค์การลับดับพยัคฆ์ร้าย โดยการรับบทของนักแสดงมากฝีมือชาวออสเตรีย คริสทอฟ วัลซ์ ซึ่งเคยฝากผลงานตัวร้ายสร้างชื่อไว้ในเรื่อง ยุทธการเดือดเชือดนาซี (Inglourious Basterds) จนได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 82 ในที่สุด หมวดหมู่:เจมส์ บอนด์ หมวดหมู่:ตัวละครชาวโปแลนด์ หมวดหมู่:บอสวิดีโอเกม de:Figuren aus James-Bond-Filmen#Blofeld.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เจมส์ บอนด์และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์

เจมส์ บอนด์และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์การ์ตูนองค์กรลับดับพยัคฆ์ร้ายจอมมหากาฬ 007จอร์จ เลเซนบีธันเดอร์บอลล์ 007เพชฌฆาต 007เอียน เฟลมมิง007 ยอดพยัคฆ์ราชินี007 เพชรพยัคฆราช007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต28 พฤษภาคม

พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์

ัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เป็นภาพยนตร์เจมส์บอนด์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในรายชื่อภาพยนตร์บอนด์ที่เป็นทางการทั้ง 23 ตอนที่ค่ายอีโอเอ็นโปรดัคชั่นส์ (Eon Productions) จัดทำขึ้นแต่อย่างใด แต่เป็นภาพยนตร์เจมส์บอนด์อย่างไม่เป็นทางการที่ค่ายวอร์เนอร์บราเดอร์ (Warner Bros.) จัดทำขึ้น พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ เป็นภาพยนตร์บอนด์นอกระบบที่สร้างเพื่อเป็นการผลิตใหม่(Remake)ของภาพยนตร์บอนด์ที่เป็นทางการเรื่อง ธันเดอร์บอลล์ เพื่อให้มีเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในค.ศ. 1983 หรือ พ.ศ. 2526 แข่งกับภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการเรื่อง เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ลงทุนไป 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 77,927,711 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551 กวาดรายได้รวม 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 346,345,381 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551เป็นยอดขายที่ต่ำกว่าภาพยนตร์เรื่อง เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ.

พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์และเจมส์ บอนด์ · พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

การ์ตูน

ตัวอย่างการ์ตูน ตัวอย่างแอนิเมชัน การ์ตูน (cartoon) คือทัศนศิลป์สองมิติรูปแบบหนึ่ง ซึ่งความหมายที่เฉพาะเจาะจงแปรเปลี่ยนไปตามเวลา ความหมายในสมัยใหม่โดยทั่วไปหมายถึง การวาดเส้นหรือจิตรกรรมแบบกึ่งสัจนิยมหรืออสัจนิยม (กึ่งเหมือนจริงหรือไม่เหมือนจริง) เพื่อการเสียดสี การล้อเลียน ความขบขัน หรือการแสดงออกซึ่งกระบวนแบบเชิงศิลปะ ศิลปินผู้วาดการ์ตูนเรียกว่านักเขียนการ์ตูน (cartoonist) ในยุคอดีต การ์ตูนหมายถึงภาพร่างหรือภาพวาดที่ใช้การเรียนการศึกษาแทนการใช้ภาพจริง ในปัจจุบันการ์ตูนมักจะหมายถึงแอนิเมชัน ซึ่งเป็นเทคนิคในการสร้างการ์ตูนในยุคปัจจุบัน ที่มีการฉายทางโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ในความหมายอื่น การ์ตูนใช้แทนรายการสำหรับเด็กที่มีการใช้สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นเคลื่อนไหวในลักษณะเหมือนมนุษย์ การ์ตูนปัจจุบันจะพบได้จากหนังสือ, หนังสือพิมพ์ (ซึ่งมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าว การเมือง บันเทิง), โปสเตอร์, ภาพยนตร์ เป็นต้น นายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เคยกล่าวถึงการ์ตูนว่า "หน้าที่หนึ่งของการ์ตูน คือกระตุกความคิดของเยาวชน ไม่ต้องสอน".

การ์ตูนและเจมส์ บอนด์ · การ์ตูนและเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับลำดับที่ 24 ในชุดเจมส์ บอนด์ โดยแซม เมนเดส กลับมากำกับอีกครั้ง หลังจากตอน พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 และแดเนียล เคร็ก รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ เป็นครั้งที่ 4 ร่วมแสดงโดยคริสทอฟ วัลซ์, เลอา แซดู, เรล์ฟ ไฟนส์และเดฟ บาติสต.

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้ายและเจมส์ บอนด์ · องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้ายและเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

จอมมหากาฬ 007

อมมหากาฬ 007 (You Only Live Twice) เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 5 ในภาพยนตร์ในระบบบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น(EON)จัดทำขึ้น และเป็นตอนที่ 5 ที่ฌอน คอนเนอรี่ รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2510 กำกับโดย เลวิส กิลเบิร์ต (Lewis Gilbert) ใช้ทุนการสร้างรวมทั้งสิ้น 9,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเป็นเงิน 66,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 111,600,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเป็นเงิน 778,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 4 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

จอมมหากาฬ 007และเจมส์ บอนด์ · จอมมหากาฬ 007และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ เลเซนบี

อร์จ ลาเซนบี ถ่ายเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1968 ภาพจอร์จ ลาเซนบี ถ่ายเมื่อ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 จอร์จ เลเซนบี หรือ จอร์จ โรเบิร์ต เลเซนบี (George Lazenby หรือ George Robert Lazenby) เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เมืองควีนบีเยน รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย จอร์จ เลเซนบี เป็นนายแบบโฆษณามาก่อน ก่อนจะได้รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ คนที่ 2 ต่อจาก ฌอน คอนเนอรี่ แต่รับบทได้แค่ตอนเดียว คือตอน On Her Majesty's Secret Service (ยอดพยัคฆ์ราชินี) เมื่อปี พ.ศ. 2512 หรือ ค.ศ. 1969 เนื่องจากแฟน ๆ ภาพยนตร์ไม่ยอมรับเพราะเป็นชาวออสเตรเลีย แต่ บอนด์ ในนวนิยาย เป็นสายลับอังกฤษ ทำงานให้รัฐบาลและราชินีแห่งอังกฤษ ชาวอังกฤษจึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จอร์จรับบทเป็นบอนด์ จอร์จ จึงต้องออกไปจากบทบอนด์ และ ฌอน คอนเนอรี่ กลับมารับบทบาทเจมส์ บอนด์ ต่ออีกหนึ่งตอน ก่อนที่ โรเจอร์ มัวร์ จะก้าวเข้ามาเป็นเจมส์บอนด์คนถัดไป.

จอร์จ เลเซนบีและเจมส์ บอนด์ · จอร์จ เลเซนบีและเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ธันเดอร์บอลล์ 007

ันเดอร์บอลล์ หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Thunderball เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 4 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ของค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น (EON) และเป็นเรื่องที่ 4 ที่ฌอน คอนเนอรี่รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ในเรื่องนี้ เทอร์เร็นซ์ ยัง (Terence Young) กลับมาเป็นผู้กำกับอีกครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2508 นับเป็นเจมส์ บอนด์ ภาคที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุด ใช้ทุนสร้างรวมทั้งสิ้น 9,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 66,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 141,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 1,041,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 1 (ขายดีที่สุด)จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม) นอกจากนี้ ภาพยนตร์ยังได้รับรางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 38.

ธันเดอร์บอลล์ 007และเจมส์ บอนด์ · ธันเดอร์บอลล์ 007และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เพชฌฆาต 007

ต 007 หรือในชื่ออังกฤษว่า From Russia With Love เป็นภาพยนตร์ตอนที่ 2 ในชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดักชั่นส์ทำขึ้น และเป็นตอนที่ 2 ที่ฌอน คอนเนอรี่ รับบทเป็นเจมส์บอนด์ และเล่นให้ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ กำกับโดย เทอร์เร็นซ์ ยัง (Terence Young) ออกฉายในพ.ศ. 2506 ใช้ทุนการสร้างทั้งหมด 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเป็นเงิน 15,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้มารวมทั้งหมด 78,900,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเป็นเงิน 599,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 10 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

เจมส์ บอนด์และเพชฌฆาต 007 · เพชฌฆาต 007และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอียน เฟลมมิง

อียน แลนแคสเตอร์ เฟลมมิง (Ian Lancaster Fleming) เป็นนักประพันธ์ชาวอังกฤษ เจ้าของนวนิยายเรื่อง เจมส์ บอนด์ 007 ซึ่งต่อมามีการนำไปสร้างเป็นการ์ตูน และภาพยนตร์อีกมากมาย เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) ณ บ้านเลขที่ 7 ถนนกรีนสตรีท เมืองเมย์แฟร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร เรียนภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิวนิค และมหาวิทยาลัยเจนิวา จากนั้นได้เป็นนักข่าวของศูนย์ข่าวรอยเตอร์ส (Reuters news service) ซึ่งเคยส่งเขาไปทำข่าวจารกรรมที่รัสเซี.

เจมส์ บอนด์และเอียน เฟลมมิง · เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์และเอียน เฟลมมิง · ดูเพิ่มเติม »

007 ยอดพยัคฆ์ราชินี

อดพยัคฆ์ราชินี หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า On Her Majesty's Secret Service เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 6 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น (EON) ทำขึ้น ออกฉายในพ.ศ. 2512 กำกับโดย ปีเตอร์ ฮันต์ (Peter Hunt) เป็นตอนแรกและตอนเดียวเท่านั้นที่ จอร์จ ลาเซนบี้ รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ใช้ทุนการสร้างรวมทั้งสิ้น 8,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 51,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 87,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 554,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์ เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 12 จากภาพยนตร์ เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

007 ยอดพยัคฆ์ราชินีและเจมส์ บอนด์ · 007 ยอดพยัคฆ์ราชินีและเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

007 เพชรพยัคฆราช

รพยัคฆราช หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Diamonds Are Forever เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 7 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น (EON) จัดทำขึ้น เป็นเรื่องที่ 6 และเรื่องสุดท้ายที่ฌอน คอนเนอรี่ รับบทเจมส์บอนด์ให้กับค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2514 กำกับโดย กาย ฮามิลตัน (Guy Hamilton) ใช้ทุนสร้างรวมทั้งหมด 7,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 41,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งหมด 116,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 666,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 8 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

007 เพชรพยัคฆราชและเจมส์ บอนด์ · 007 เพชรพยัคฆราชและเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต

วงตาเพชฌฆาต หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า For Your Eyes Only เป็นภาพยนตร์ในชุดเจมส์ บอนด์ เดอะซีรีส์ เรื่องที่ 12 ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่น (EON Production) จัดทำขึ้น และเป็นครั้งที่ 5 ที่ โรเจอร์ มัวร์ แสดงเป็น เจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายอีโอเอ็น โรเจอร์ มัวร์ ออกความคิดเห็นว่า ในภาพยนตร์บอนด์ 7 เรื่องที่เขาแสดง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เขาแสดงได้ดีที่สุด ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย จอห์น เกลน (John Glen) ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนการสร้างรวมทั้งสิ้น 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่าเงิน 72,000,000 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 195.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่าเงิน 499,000,000 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์ เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 15 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

007 เจาะดวงตาเพชฌฆาตและเจมส์ บอนด์ · 007 เจาะดวงตาเพชฌฆาตและเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

28 พฤษภาคม

วันที่ 28 พฤษภาคม เป็นวันที่ 148 ของปี (วันที่ 149 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 217 วันในปีนั้น.

28 พฤษภาคมและเจมส์ บอนด์ · 28 พฤษภาคมและเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เจมส์ บอนด์และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์

เจมส์ บอนด์ มี 166 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 6.45% = 12 / (166 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เจมส์ บอนด์และเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »