โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง

ดัชนี เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง

อาณาเขตของมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง หรืออัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑล และโบสถ์นักบุญอันนา หนองแสง เป็นรองอาสนวิหาร สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกส์ท่าแร่-หนองแสงตั้งอยู่ที่ 362 หมู่ 2 สกล-อุดร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง.สกลนคร 47000 ปัจจุบันมีพระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นอัครมุขนายก.

20 ความสัมพันธ์: การประกาศข่าวดีมิชชันนารีมุขมณฑลมุขนายกมหานครสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6สำนักมิสซังอัครมุขนายกอาสนวิหารอำเภอเมืองสกลนครจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดมุกดาหารจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจำเนียร สันติสุขนิรันดร์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเขตมิสซังกรุงเทพฯเขตผู้แทนพระสันตะปาปา

การประกาศข่าวดี

การประกาศข่าวดี (ศัพท์คาทอลิก) หรือ การประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelism) คือการเผยแพร่พระวรสารหรือประกาศข่าวดีตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าผู้มารับสภาพมนุษย์และถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เพื่อไถ่มนุษย์ผู้เชื่อจากบาป หลังจากนั้น 3 วัน ก็ทรงคืนพระชนม์แล้วเสด็จขึ้นสวรรค์ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าผู้เชื่อข่าวดีนี้จะถูกไถ่จากบาปทันทีและได้ขึ้นสวรรค์หลังจากเสียชีวิต จนถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายก็จะได้รับบำเหน็จจากพระเจ้า การประกาศข่าวดีถือเป็นพันธกิจสำคัญที่พระเยซูฝากไว้แก่สาวกของพระองค์ก่อนจะเสด็จขึ้นสวรรค์ ดังปรากฏในพระวรสารนักบุญมัทธิวว่า "ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" ผู้อุทิศตนทำงานประกาศข่าวดีเรียกว่า ผู้ประกาศข่าวดี (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelist).

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและการประกาศข่าวดี · ดูเพิ่มเติม »

มิชชันนารี

มิชชันนารีคาทอลิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกำลังอำลาญาติพี่น้อง ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ยังดินแดนตะวันออกไกล มิชชันนารี (missionary) คือ สมาชิกองค์การทางศาสนา ที่ถูกส่งไปยังต่างแดนเพื่อทำการประกาศข่าวดีและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร ในงานด้านการศึกษา การรู้หนังสือ ความยุติธรรมทางสังคม สาธารณสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจThomas Hale 'On Being a Missionary' 2003, William Carey Library Pub, ISBN 0-87808-255-7 คำว่า "มิชชัน" มาจากภาษาละติน missionem ซึ่งแปลว่า การส่งออกไป มิชชันนารีมักทำงานรวมกันเป็นองค์กรเรียกว่า มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ มิสซัง (โรมันคาทอลิก) และเรียกสำนักงานของมิชชันนารีว่า ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก).

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและมิชชันนารี · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกมหานคร

มุขนายกมหานครแห่งศาสนจักรรัสเซียออร์โธด็อกซ์ ณ กรุงมอสโก ตามการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลในคริสตจักร สมณศักดิ์มุขนายกมหานคร (Metropolitan bishop;Metropolitan) หมายถึงอัครมุขนายกหรือมุขนายกประจำมุขมณฑลที่เป็นมหานคร (มหานครคือมณฑลของโรมัน ภาคคริสตจักร หรือเมืองหลวงของแคว้น) ก่อนที่จะมีสมณศักดิ์ชั้นอัครบิดร ในคริสตจักรตะวันออกถือว่ามุขนายกมหานครเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุด ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะปกครองคณะมุขนายก และได้รับเอกสิทธิ์พิเศษหลายประการตามกฎหมายศาสนจักรและประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ สมณศักดิ์นี้เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างการบริหารคริสตจักรยุคแรกยึดตามแบบของจักรวรรดิโรมัน กล่าวคือในเมืองหรืออาณาเขตหนึ่ง ๆ จะมีการบริหารโดยประมุขสูงสุดคนเดียวคือมุขนายก และมุขนายกประจำเมืองหลวงของมณฑล (ต่อมาคือมุขนายกมหานคร) จะมีอำนาจมากกว่ามุขนายกประจำเมืองรองซึ่งต่อมาเรียกว่าปริมุขนายก"metropolitan." Cross, F. L., ed.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและมุขนายกมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 (Leo XIII) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1878 ถึง ค.ศ. 1903 ลีโอที่ 13 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลัตซีโย.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6

มเด็จพระสันตะปาปา บุญราศีปอลที่ 6 (Paulus PP.) ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1963 ถึง ค.ศ. 1978 สืบต่อจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ผู้เรียกประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง เมื่อได้รับตำแหน่งพระสันตะปาปาก็ทรงสืบสานงานการประชุมสังคายนานั้นต่อ ซึ่งมีผลให้พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกได้ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านคริสตศาสนสัมพันธ์กับนิกายโปรเตสแตนต์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรื่อยมาจนปัจจุบัน ก่อนได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์เคยทำงานรับใช้ใกล้ชิดกับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 โดยทำงานที่สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน และพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 นี้เองได้แต่งตั้งพระองค์เป็นอัครมุขนายกแห่งมิลาน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภามุขนายกแห่งอิตาลีอีกด้วย ต่อมาในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล และได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาหลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ได้สิ้นพระชนม์ พระองค์เลือกใช้พระนามว่า เปาโล เพื่อสื่อถึงการเน้นพันธกิจทางด้านการประกาศข่าวดีเหมือนนักบุญเปาโลอัครทูต นอกจากนี้หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 พระองค์ยังคงสานงานการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนั้นต่อ ซึ่งมาแล้วเสร็จในสมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สำนักมิสซัง

มิสซังคาทอลิกเชียงใหม่ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก) หรือ ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) (mission) คือสำนักงานของมิชชันนารี.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและสำนักมิสซัง · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองสกลนคร

มืองสกลนคร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและอำเภอเมืองสกลนคร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส

ักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส (French colonial empire) ประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล, รัฐในอารักขา และ รัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่ง ซึ่งสิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาฬสินธุ์

ังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและจังหวัดกาฬสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมุกดาหาร

มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไท.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและจังหวัดมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสกลนคร

กลนคร หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองหนองหานหลวง" เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้จังหวัดสกลนครยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญและหลากหลายในด้านต่างๆโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษา อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ใน กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร).

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและจังหวัดสกลนคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

จำเนียร สันติสุขนิรันดร์

thumbnail พระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ (30 ตุลาคม พ.ศ. 2485) เป็นบาทหลวงชาวนครพนม อดีตประธานสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารหลายตำแหน่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย เช่น อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและจำเนียร สันติสุขนิรันดร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris; M.E.P) เป็นคณะชีวิตแพร่ธรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ไม่ใช่คณะนักบวชคาทอลิก) สมาชิกประกอบด้วยบาทหลวงประจำมุขมณฑลและฆราวาสที่อุทิศตนทำงานเป็นมิชชันนารีในต่างประเทศ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสก่อตั้งราว..

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิกในประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ขณะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า พระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก มีการปกครองตนเองภายใต้การควบคุมของสันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468 ตามสถิติคาทอลิกในประเทศไท..

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและโรมันคาทอลิกในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

เขตผู้แทนพระสันตะปาปา

ฟร็องซัว ปาลูว์ (François Pallu) มุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซังตังเกี๋ย เขตผู้แทนพระสันตะปาปา (Apostolic vicariate) หรือมิสซัง เป็นเขตอำนาจทางอาณาเขตของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในประเทศหรือแว่นแคว้นที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสถานะเป็น "มุขมณฑล" ตามปกติแล้วทุกคริสตจักรท้องถิ่นจะต้องปกครองตนเองภายใต้การนำของผู้ปกครองคือมุขนายก แต่กรณีที่คริสตจักรเพิ่งตั้งใหม่ หรือยังมีจำนวนคริสตชนน้อย ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง พระสันตะปาปาจะทรงถือสิทธิ์ปกครองคริสตจักรนั้น แล้วส่งผู้แทนหรือวิคาร์ (vicar) ไปทำหน้าที่ปกครองแทน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผู้ปกครองนั้นว่าผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicar) (เพราะพระสันตะปาปาทรงสืบตำแหน่งมาจากอัครทูต (apostle)) บางตำราก็เรียกว่าประมุขมิสซัง หรือผู้แทนสันตะสำนักประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า, กรุงเทพฯ: แผนกคำสอน เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2543, หน้า 97-8 และเรียกเขตปกครองนั้นว่าเขตผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicariate) นอกจากนี้ยังนิยมเรียกในชื่ออื่นอีก เช่น มิสซัง (mission) เทียบมุขมณฑล หรือเขตปกครองโดยผู้แทนสันตะสำนักด้วย บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาโดยปกติจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นมุขนายกเกียรตินาม (titular bishop) ด้วยเพื่อเป็นเกียรติในการทำงานและมีศักดิ์ศรีอย่างมุขนายกเขตมิสซังอื่น.

ใหม่!!: เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงและเขตผู้แทนพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มิสซังลาวมิสซังท่าแร่มุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »