โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮันส์-อูลริช รูเดิล

ดัชนี ฮันส์-อูลริช รูเดิล

ันส์-อูลริช รูเดิล (Hans-Ulrich Rudel) เป็นนักบินเยอรมันในการโจมตีทางภาคพื้นดินในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงคราม เขาเป็นนักเคลื่อนไหวนีโอ-นาซีที่โด่งดังที่สุดในละตินอเมริกาและเยอรมนีตะวันตก ในช่วงสงคราม รูเดิลได้มีชื่อเสียงด้วยการทำลายรถถังจำนวน 519 คัน พอๆกับจำนวนเรือ เขาได้อ้างว่า ได้รับชัยชนะทางอากาศ 9 ครั้งและทำลายยานพาหนะ 800 คันจากทุกประเภท เขาได้บินในภารกิจโจมตีทางภาคพื้นดินจำนวน 2,530 ครั้งโดยเฉพาะแนวรบด้านตะวันออกโดยปกติจะบินด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นยุงเคอร์ เจยู-87"ชตูคา"และภารกิจ 430 ครั้งสำหรับเครื่องบินรบขับไล่ รูเดิลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดสำหรับนักบินชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับเหรียญกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊คและดาบประดับเพชรเคลือบทองในเดือนมกราคม..

15 ความสัมพันธ์: พันเอกกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินยุงเคอร์ เจยู-87ลุฟท์วัฟเฟอสำนักข่าวกรองกลางสงครามโลกครั้งที่สองจักรวรรดิเยอรมันควน เปรอนค่ายกักกันเอาชวิทซ์ประเทศเยอรมนีตะวันตกนาซีเยอรมนีนีโอนาซีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โยเซ็ฟ เม็งเงอเลอโรเซินไฮม์

พันเอก

ันเอก (Colonel อักษรย่อ:Col., Col หรือ COL) เป็นชั้นยศระหว่าง พันโท และ พลจัตวา โดยพันเอกใช้เป็นยศในกองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ และตำรวจ โดยในประเทศไอซ์แลนด์ และ นครรัฐวาติกัน ยศพันเอกถือเป็นยศทหารที่สูงที่สุด โดยในกองทัพเรือยศพันเอกได้ถูกเรียกว่านาวาเอก หรือ ship-of-the-line captain ส่วนในระบบการเทียบยศในกองทัพอากาศเครือจักรภพ ยศพันเอกได้ถูกเรียกว่านาวาอากาศเอก.

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและพันเอก · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน

กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน (Ritterkreuz des Eisernen Kreuzes) หรือเรียกอีกอย่างว่า กางเขนอัศวิน (Ritterkreuz) เป็นบำเหน็จความชอบขั้นสูงสุดในกองกำลังทหารและกึ่งทหารของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการมอบบำเหน็จนี้อย่างแพร่หลายด้วยสารพัดเหตุผล เช่น การนำทัพที่ยอดเยี่ยมของผู้บัญชาการ หรือความกล้าหาญในสมรภูมิของนายทหารระดับล่าง บำเหน็จนี้จะถูกมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ในสามเหล่าทัพของเวร์มัคท์ (''เฮร์'', ครีกซมารีเนอ และลุฟท์วัฟเฟอ) ตลอดจนสมาชิกของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส, กองแรงงานไรช์ และโฟล์คสชทูร์ม บำเหน็จนี้ถูกมอบไปมากกว่า 7,000 สำรับตลอดช่วงสงคราม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์สถาปนาบำเหน็จนี้ขึ้นเมื่อ 1 กันยายน..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและกางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน · ดูเพิ่มเติม »

ยุงเคอร์ เจยู-87

ู 87Ds ได้ออกปฏิบัติการสู้รบในปี ค.ศ. 1943 ยุงเคอร์ เจยู 87 หรือ ชตูคา (มาจาก Sturzkampfflugzeug, "เครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด"(Dive bomber)) เป็นเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดเยอรมันและเครื่องบินรบในการโจมตีภาคพื้นดิน ถูกออกแบบโดย Hermann Pohlmann, มันได้ออกบินเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและยุงเคอร์ เจยู-87 · ดูเพิ่มเติม »

ลุฟท์วัฟเฟอ

ลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เป็นเหล่าทัพการสงครามทางอากาศของกองทัพเยอรมันเวร์มัคท์ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ลุฟท์ชไตรท์แครฟเทอ (Luftstreitkräfte) แห่งกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน และหน่วยนักบินทหารเรือ มารีเนอ-ฟีเกอร์อับไทลุงของไคแซร์ลีเชอ มารีเนอ (Kaiserliche Marine), ได้ถูกยุบในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและลุฟท์วัฟเฟอ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักข่าวกรองกลาง

ำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency) หรือย่อว่า ซีไอเอ (CIA) เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือนของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจากทั่วโลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของชุมชนข่าวกรองสหรัฐ (U.S. Intelligence Community; IC) สำนักข่าวกรองรายงานต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence; DNI) และจะเน้นไปที่การหาข่าวกรองให้ ประธานาธิบดีสหรัฐ และ คณะรัฐมนตรีสหรัฐ เป็นหลัก ไม่เหมือนกับ สำนักงานสอบสวนกลาง ที่เป็นหน่วยงานราชการความมั่นคงภายใน สำนักข่าวกรองกลางไม่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวมข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดเฉพาะในการที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวกรองกลางไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น มันยังมีหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการระดับชาติในการประสานงานกับหน่วนงานต่างๆที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการข่าวกรองทางมนุษย์ทั้งหมด ในชนชุมข่าวกรองสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักข่าวกรองกลางเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย ในการดำเนินการและดูแลการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น (Covert Action/Operation) โดยคำสั่งประธานาธิบดี สำนักข่าวกรองกลางสามารถควบคุมอิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทางแผนกยุทธวิธีของตน อย่างเช่น แผนกปฏิบัติการณ์พิเศษ (Special Activities Division; SAD) ก่อนจะมีรัฐบัญญัติการปฏิรูปการข่าวกรองและการป้องกันการก่อการร้าย (Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นหัวหน้าชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสำนักข่าวกรองถูกจัดระเบียบภายใต้ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้จะมีการถ่ายโอนอำนาจบางส่วนไปยังผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติก็ตาม สำนักข่าวกรองกลางได้มีขนาดเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ในปี..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและสำนักข่าวกรองกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ควน เปรอน

วน โดมิงโก เปรอง (Juan Domingo Perón; 8 ตุลาคม ค.ศ. 1895 – 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1974) เป็นพลโทและนักการเมืองชาวอาร์เจนตินา หลังรับราชการในหลายตำแหน่งของรัฐ ซึ่งรวมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรองประธานาธิบดี เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอาร์เจนตินาสามสมัย ดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและควน เปรอน · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันเอาชวิทซ์

ทางเข้าค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หรือ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา (Auschwitz concentration camp หรือ Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีของนาซีเยอรมนีที่ทำการระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อของค่ายกักกันมาจากชื่อของเมือง "ออชเฟียนชิม" (Oświęcim) หลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและค่ายกักกันเอาชวิทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันตก

ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและประเทศเยอรมนีตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นีโอนาซี

นีโอนาซี (Neo-Nazism) คือลัทธิที่เคลื่อนไหวหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อฟื้นคืนลัทธินาซี ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว สมาชิกกลุ่มคนเหล่านี้มักเป็นกลุ่มคนผิวขาว (คอเคซอยด์) เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ยังมีความเชื่อที่ว่าคนผิวขาวเป็นใหญ่เหนือเผ่าพันธุ์อื่นๆ สืบมาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของนาซี นโยบายของลัทธินีโอนาซีมีความแตกต่างกันไป แต่มักสวามิภักดิ์ต่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์, เหยียดเชื้อชาติต่างๆ, เหยียดสีผิว, เทิดทูนคนอารยันเยอรมัน, เหยียดเกย์ เหยียดยิว สลาฟ ฯลฯ พวกเขามักใช้สัญลักษณ์เป็นสวัสดิกะ มีบางประเทศในทวีปยุโรปมีกฎหมายห้ามลัทธินาซี การเหยียดผิว การเหยียดเชื้อชาติ กลุ่มนีโอนาซีจะพบแถวชายแดนระหว่างประเทศที่ติดกับเยอรมัน โดยเฉพาะในรัสเซียพบมากที่สุดในกรุงมอสโก เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายของบุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ ชนชาติที่เป็นต่างชาติและที่มีอยู่ในรัสเซียอยู่แล้วเช่น ยิว สลาฟ เอเชีย ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส แอฟริกันอเมริกัน ลูกครึ่ง รัสเซียและกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่อยู่ในรัสเซียและมาจากต่างประเทศ ชาวรัสเซียคนหนึ่งบอกว่า ที่ประเทศเขามีประชากรเป็นรัสเซีย 81% ต่างชาติ 19% อาทิ ยิว สลาฟ ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส เยอรมัน ฯลฯ เขาบอกว่าพวกนีโอนาซีจะเป็นพวกเยอรมันที่อยู่ในรัสเซียที่เป็นชุมชนเยอรมัน เขายังบอกอีกว่าชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศเขาที่ไม่ใช้เยอรมันมักถูกทำร้ายจนตายทั้งที่มาจากต่างประเทศและชนชาติกลุ่มต่างๆ ในรัสเซียที่ไม่ใช่เยอรมัน มีนีโอนาซีบางกลุ่มพยายามที่จะรื้อฟื้นลัทธินี้ อาทิ Colin Jordan, George Lincoln Rockwell, Savitri Devi, Francis Parker Yockey, William Luther Pierce, Eddy Morrison และ David Myatt นีโอนาซีมักจะโกนหัว ชื่อของทรงผมสกินเฮดที่เรียกชื่อกันอยู่นั้นมีต้นกำเนิดมาจากพวกนี้ เชื่อว่าคนขาวที่เป็นเยอรมันเป็นเผ่าพันธุ์ที่ดีที่สุด แต่งกายคล้ายพังก์ สักลาย สวัสดิกะ หรือ สัญลักษณ์นาซีไว้ที่ตัว บูชา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, แฮร์มันน์ เกอริง, ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ บ้างไล่ตระเวนไล่ทำร้ายชาวต่างชาติ เช่น ยิว สลาฟ เอเชีย ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส นิโกร ลูกครึ่ง รัสเซีย สเปน กรีก อิตาลี และกลุ่มชนชาติต่างๆ ซึ่งอาจรวมอังกฤษด้วย สมาชิกนีโอนาซีส่วนมากมักจะเป็นคนเชื้อสายเจอร์แมนิกในหลายประเทศ ได้แก่ เยอรมนี, สวีเดน, เดนมาร์ก, นอร์เวย์, สหราชอาณาจักร, ไอซ์แลนด์, ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม ส่วนเขตอิทธิพลของนีโอนาซีในประเทศอื่นๆ ได้แก่ รัสเซีย, โครเอเชีย, ฝรั่งเศส, เซอร์เบีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, เอสโตเนีย, ฮังการี, กรีซ, ยูเครน, ตุรกี, อิสราเอล, ซีเรีย, มองโกเลีย, พม่า, ไต้หวัน, เซอร์เบีย, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, คอสตาริกา, บราซิล และชิลี.

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและนีโอนาซี · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โยเซ็ฟ เม็งเงอเลอ

ซ็ฟ เม็งเงอเลอ (Josef Mengele) เป็นเจ้าหน้าหน่วยเอ็สเอ็ส (ชุทซ์ชทัฟเฟิล) และเป็นแพทย์ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้รับฉายาว่า ทูตแห่งความตาย เพราะด้วยการทดลองกับมนุษย์ของเขาที่ทำกับชาวยิวนั้นมีความโหดร้ายและทารุณสุดจะพรรณนา สิ่งที่โดดเด่นในการทดลองของเขามากที่สุดคือ การทดลองวิจัยเด็กฝาแฝด เพราะเม็งเงอเลอนั้นมีความสนใจในด้านพันธุกรรมศาสตร์ เขาจึงสั่งให้ทหารผู้คุมคัดแยกเด็กฝาแฝดชาวยิวเข้าไปอยู่ในห้องพิเศษ หลังจากนั้นเขาก็ได้ทำการทดลองกับเด็กฝาแฝดชาวยิวต่าง ๆ เช่น การฉีดสารเคมีเข้าไปในดวงตา การสร้างแฝดสยามด้วยการเย็บเส้นเลือดดำให้เด็กฝาแฝดนั้นติดกัน เป็นต้น ด้วยการทดลองนี้ทำให้มีเด็กฝาแฝดเสียชีวิตไปจำนวนมากเพราะการทดลองนั้นมีโอกาสน้อยมากที่จะรอดชีวิต ถึงแม้รอดได้แต่ก็ไม่รอดอยู่ดีเพราะต้องถูกฆ่าเพื่อผ่าศพเก็บตัวอย่างอยู่ดีนั่นเอง ในช่วงปลายสงคราม เม็งเงอเลอรู้ดีว่ากองทัพแดงได้เคลื่อนเข้ามาใกล้ค่ายเอาชวิทซ์แล้วจึงตัดสินใจหลบหนีออกจากค่ายไปและหลบซ่อนตัวจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม หลังสงคราม เม็งเงอเลอได้หลบหนีไปยังประเทศอาร์เจนตินาที่อเมริกาใต้ แม้ว่าเขาจะต้องถูกตามล่าหมายหัวจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย เยอรมนีตะวันตก อังกฤษ แม้แต่สายลับมอสซาดจากประเทศอิสราเอลก็ยังไล่ล่าเขาในฐานะอาชญากรสงคราม แต่เขากลับสามารถหนีรอดมาได้ตลอดมา จนกระทั่งเขาเสียชีวิตจากการจมน้ำในประเทศบราซิลเมื่อวันที่ 7 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและโยเซ็ฟ เม็งเงอเลอ · ดูเพิ่มเติม »

โรเซินไฮม์

รเซินไฮม์ (Rosenheim) เป็นเมืองในส่วนภูมิภาคโอเบอร์ไบเอิร์น รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ถือเป็นเมืองใหญ่สุดทางตอนใต้ของโอเบอร์ไบเอิร์น ตั้งอยู่กึ่งกลางของทางด่วนหมายเลข 8 ซึ่งเชื่อมนครมิวนิกกับเมืองอินส์บรุคและซาลซ์บูร์กในประเทศออสเตรีย เมืองโรเซินไฮม์ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตะวันตกของแม่น้ำอินน์ (Inn) แม่น้ำสายสำคัญซึ่งไหลลงสู่ประเทศออสเตรีย โรเซินไฮม์ยังเป็นบ้านเกิดของจอมพลไรช์ แฮร์มันน์ เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันสมัยนาซี.

ใหม่!!: ฮันส์-อูลริช รูเดิลและโรเซินไฮม์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฮันส์-อัลริช รูเดิลฮันส์-อูลริค รูเดิล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »