โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮอบบิท (หนังสือ)

ดัชนี ฮอบบิท (หนังสือ)

อะฮอบบิท (ชื่อภาษาอังกฤษ "The Hobbit" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "There and Back Again") เป็นนิยายแฟนตาซีสำหรับเด็ก ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในลักษณะกึ่งเทพนิยาย โทลคีนเขียนเรื่องนี้ในราวช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยเริ่มแรกเขาเพียงใช้เล่าเป็นนิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง กับใช้เล่นคำในภาษาต่างๆ ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า นิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน..

58 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษบัลเลต์บิลโบ แบ๊กกิ้นส์พ.ศ. 2480พ.ศ. 2545พ.ศ. 2555พ.ศ. 2556พ.ศ. 2557พ่อมดกอลลัมก็อบลินภาษาอังกฤษภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธมังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)มิดเดิลเอิร์ธมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)รายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธรายการโทรทัศน์รางวัลฮิวโกริเวนเดลล์ร็อกวิลเลียม มอร์ริสสม็อกสหรัฐสงครามห้าทัพสตาร์ วอร์สอลัน ลีออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)อาร์เคนสโตนอุปรากรฮอบบิทจอห์น ฮาวธอริน โอเคนชิลด์คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)ตำนานบุตรแห่งฮูรินตำนานแห่งซิลมาริลซี. เอส. ลิวอิสประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธประเทศอังกฤษประเทศแอฟริกาใต้ประเทศเบลเยียมปีเตอร์ แจ็กสันนวนิยายแฟนตาซีแกนดัล์ฟโนลดอร์ไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เมิร์ควู้ดเอกธำมรงค์เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน...เท็ด แนสมิธเดอะ ฮอบบิท: การผจญภัยสุดคาดคิดเดอะ ฮอบบิท: สงคราม 5 ทัพเดอะ ฮอบบิท: ดินแดนเปลี่ยวร้างของสม็อคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เดอะวอลต์ดิสนีย์Unfinished Tales21 กันยายน ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

บัลเลต์

Classical bell tutus in ''The Dance Class'' by Degas, 1874 บัลเลต์ บัลเลต์ (ballet) หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยการเต้น และ ดนตรีมีลักษณะเช่นเดียวกับอุปรากร เพียงแต่บัลเลต์เป็นการนำเสนอเนื้อเรื่อง โดยใช้การเต้นเป็นสื่อ มีกำเนิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอิตาลี การพัฒนาในยุคนี้คือ นิยมให้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงเอก เรียกว่า บัลเลรินา (Ballerina) ศตวรรษที่ 20 บัลเลต์ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) คือ การนำเอาหลักของบัลเลต์มาผสมผสานดัดแปลงให้เป็นการเต้น โดยไม่ต้องใส่รองเท้าบัลเลต์และไม่ต้องใช้ปลายเท้าในลักษณะของบัลเลต์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการประพันธ์เพลงบัลเลต์ ได้แก่ ไชคอฟสกี โปรโกเฟียฟ คอปแลนด์ และฟัล.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และบัลเลต์ · ดูเพิ่มเติม »

บิลโบ แบ๊กกิ้นส์

ลโบ แบ๊กกิ้นส์ (Bilbo Baggins) เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในปกรณัมของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาปรากฏในนิยายเรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในฐานะผู้ครองแหวนคนที่ห้.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และพ.ศ. 2480 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2556

ทธศักราช 2556 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2013 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และพ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2557

ทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักร.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และพ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

พ่อมด

อมด (อังกฤษ: wizard) ในภาษาแองโกลแซกซอน Wit(z) หมายถึง ผู้รอบรู้ หรือ ผู้แสวงหาความรู้ บางทีคำว่า wit แต่เดิมอาจหมายรวมทั้งพ่อมดและแม่มด แล้วเพี้ยนเป็น witch กับ wizard ในภายหลัง ในภาษาไทยมาจากคำว่า มด พ่อมด นักเวทมนตร์ หรือผู้ใช้เวทมนตร์ คือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ลึกลับ หรือมีศิลปะในการใช้เวทมนตร์หรือคาถา หรือมีความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ โดยใช้วิธีเหนือธรรมชาติ หรือวิธีที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลที่มีอยู่ หรือวิธีที่ไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย พ่อมดในตำนาน มักเป็นคนแก่ตัวสูงใหญ่ ใส่หมวกปลายแหลมยาวปิดบังใบหน้า มีหนวดเคราสีขาวยาว (พ่อมดขาว) ใส่ชุดคลุมยาวจนถึงพื้น ถือไม้เท้าหรือคทา มีความเก่งกาจทางด้าน เวทมนตร์ มีอายุหลายร้อยปี มักกล่าวถึงคู่กับ แม่มด ส่วนใหญ่พ่อมดจะมีคุณธรรม ศีลธรรม ซึ่งตรงกันข้ามกับ แม่มด ลักษณะของพ่อมดในบางครั้งอาจดูคลับคล้ายกับร่างแปลงของเทพ โอดิน ในตำนานนอร์ส ที่มักใส่หมวกปิดบังใบหน้า และใส่ชุดคลุมยาวเช่นเดียวกัน พ่อมดคนสำคัญเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือ เมอร์ลิน พ่อมดผู้เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์อาเธอร์แห่งอัศวินโต๊ะกลม นั่นเอง.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และพ่อมด · ดูเพิ่มเติม »

กอลลัม

กอลลัม (Gollum) เป็นตัวละครเอกในจินตนิยายเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นชนเผ่าฮอบบิท มีชื่อเดิมว่า สมีโกล ปรากฎตัวครั้งแรกในเดอะฮอบบิท และปรากฎตัวในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอนหอคอยคู่พิฆาต.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และกอลลัม · ดูเพิ่มเติม »

ก็อบลิน

ก็อบลิน ก็อบลิน (Goblin) เป็นโนมที่มีรูปร่างพิกลพิการ ชอบเล่นสนุก แต่บางครั้งเต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมสามารถทำอันตรายแก่ผู้คน รอยยิ้มของก็อบลินทำให้เลือดหยุดไหล เสียงหัวเราะทำให้นมบูดและผลไม้หล่น ก็อบลินมีต้นกำเนิดมาจากฝรั่งเศส ก๊อปลินนั้นเป็นปีศาจ อาศัยอยู่ใต้ดิน ในตำนานเดิมของยุโรปเล่าถึง ก็อบลิน ว่า เป็นปีศาจร่างเล็ก (อาจจะสูงประมาณ 70 ซม.) ลักษณะคล้ายซากศพ บาง ตำนานก็กล่าวว่า ก๊อปลินรูปร่างจนมีหน้าตาอัปลักษณ์ไม่ชวนมอง ซึ่งหน้าตาหรือรูปร่างของพวกก๊อปลินจะเป็นเช่นไร มักขึ้นอยู่กับตำนานหรือของเชื่อของผู้คนในแถบนั้น ก็อบลินเป็นอีกหนึ่งสัตว์ปีศาจที่นิยมใช้ประกอบวรรณกรรมแฟนตาซี โดยมักมีฐานะเป็นรองออร์ค แต่ว่องไวกว่าและอันตรายมากกว่า หมวดหมู่:สัตว์ในตำนาน.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และก็อบลิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ

ในปกรณัมชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทั้งทวีปมิดเดิลเอิร์ธ และทวีปอามัน ตลอดจนถึงดินแดนอื่นๆ ทั่วพิภพอาร์ดา มีเทือกเขาใหญ่น้อยมากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อภูเขาหรือเทือกเขาที่สำคัญ.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)

มังกร (dragon) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งสร้างขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อเรื่องมังกรในตำนานของยุโรป ตามปกรณัมของโทลคีน เผ่าพันธุ์มังกรถูกสร้างขึ้นโดยเทพอสูรมอร์กอธ ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา มังกรตัวแรกที่ปรากฏตัวออกมามีชื่อว่า เกลารุง (Glaurung) ในหนังสือตำนานบุตรแห่งฮูริน กล่าวถึงมังกรว่า เป็นจิตวิญญาณที่ทรงพลังอำนาจ จึงเป็นไปได้ว่า มังกรก็เป็นเหล่าเทพไมอาร์จำนวนหนึ่งที่แปรพักตร์ไปรับใช้มอร์กอ.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และมังกร (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธ

ีล็อบจาก ภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริง.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และรายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

รายการโทรทัศน์

รายการทอล์กโชว์ The Oprah Winfrey Show โดย โอปราห์ วินฟรีย์ รายการโทรทัศน์ เป็นส่วนต่าง ๆ ของการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1936 ในกรุงลอนดอน รายการโทรทัศน์ อาจออกอากาศเพียงแค่ครั้งเดียว หรือมีตอนต่อ ที่เรียกว่า ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (TV series) ส่วนมากมักเป็นรายการประเภทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์มักแบ่งเป็นภาค ๆ โดยในหนึ่งภาค ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่า ฤดูกาล (season) แต่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกว่า ชุด (series) แต่ละฤดูกาลหรือชุดจะมีความยาวประมาณ 6-26 ตอน รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นพิเศษเพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า รายการพิเศษ (special program) และสถานีวิทยุโทรทัศน์บางสถานี ยังมี ภาพยนตร์โทรทัศน์ (TV movies) ที่สร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ ไม่ได้ออกฉายทางโรงภาพยนตร์ หรือบันทึกลงในวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี หรือสื่ออื่น ๆ ทุกวันนี้ การออกอากาศ ภาพยนตร์โฆษณา (commercial advertisement) ถือเป็นส่วนสำคัญของรายการโทรทัศน์ โดยมีข้อปฏิบัติเป็นเกณฑ์ว่า ในการออกอากาศรายการโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง จะมีภาพยนตร์โฆษณาได้ไม่เกิน 15 นาที เหมือนในโรงภาพยนตร.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และรายการโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลฮิวโก

รางวัลฮิวโก (The Hugo Award, Science Fiction Achievement Award) เป็นรางวัลสำหรับนักเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์และแฟนตาซีซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติตามชื่อ ฮิวโก เจิร์นสแบค ผู้ก่อตั้งนิตยสารนิยายไซไฟในยุคแรกๆ คือ Amazing Stories มีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 รางวัลนี้มีการมอบให้ทุกปี โดย The World Science Fiction Society (WSFS) โดยพิจารณาการเสนอชื่อ และลงคะแนนนิยมในงาน World Science Fiction Convention (Worldcon) ซึ่งสมาชิกจะพิจารณาจากผลงานที่ปรากฏในปีก่อนหน้าที่จะมีงาน ทั้งนี้สมาชิกสามารถเลือก "ไม่ลงคะแนน" ให้กับผลงานใดเลยก็ได้ ในบางปีจึงไม่มีการมอบรางวัลเนื่องจากไม่มีผลงานที่โดดเด่นเพียงพอ สำหรับรางวัลฮิวโกประจำปี..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และรางวัลฮิวโก · ดูเพิ่มเติม »

ริเวนเดลล์

ริเวนเดลล์ จากภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ริเวนเดลล์ (Rivendell) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อในภาษาซินดารินเรียกว่า อิมลาดริส (Imladris) ซึ่งมีความหมายว่า 'หุบเขาลึก' บางครั้งถูกเอ่ยถึงด้วยชื่อ คฤหาสน์ลาสต์โฮมลี่เฮ้าส์ ในหุบเขาฟากตะวันตกของเทือกเขามิสตี้ อาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์กึ่งมนุษย์ชื่อว่า เอลรอนด์ ตั้งแต่ยุคที่สองของโลกอาร์ดา (ประมาณ 4-5 พันปี ก่อนเหตุการณ์ในเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์) ริเวนเดลล์ตั้งอยู่เชิงเขาทางฟากตะวันตกของฮิธายเกลียร์ หรือเทือกเขามิสตี้ ใกล้กับโตรกแคบของแม่น้ำบรุยเนน ซ่อนตัวมิดชิดอยู่ในหุบเขา เส้นทางเข้าออกสำคัญของอาณาจักรนี้คือทางข้ามแม่น้ำบริเวณที่เรียกว่า ฟอร์ดบรุยเนน ภูมิอากาศทั่วไปค่อนข้างเย็น มีช่วงฤดูร้อนที่อบอุ่นและหิมะเล็กน้อยในฤดูหนาว อาณาจักรริเวนเดลล์ก่อตั้งขึ้นในปีที่ 1697 ของยุคที่สอง ในระหว่างสงครามเมืองเอเรกิออน เมื่อกองทัพจากลินดอนที่กิล-กาลัดส่งมาช่วยเอเรกิออน นำทัพโดยเอลรอนด์ ต้องพาผู้ลี้ภัยที่หนีออกมาจากนครเอเรกิออนถอยขึ้นไปทางเหนือ ทัพของเซารอนปิดล้อมริเวนเดลล์อยู่ถึงสามปี จนกระทั่งกิล-กาลัดและทัพจากนูเมนอร์ส่งมาช่วย ทัพจากริเวนเดลล์ยกออกตีกระหนาบจนสามารถเอาชนะเซารอนในการศึกครั้งนั้นได้ ริเวนเดลล์ถูกทัพของวิชคิงปิดล้อมอีกครั้งในราวศตวรรษที่ 14 ของยุคที่สาม และสามารถขับไล่ทัพของวิชคิงไปได้เมื่อได้รับกำลังเสริมมาจากลอธลอริเอน ในเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ มาแวะพักที่ริเวนเดลล์นี้พร้อมกับพวกคนแคระ ในระหว่างการเดินทางไปยังภูเขาโลนลี่ และยังแวะพักในขากลับระหว่างเดินทางกลับไชร์พร้อมกับแกนดัล์ฟ ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ กับผองเพื่อนฮอบบิทของเขา เดินทางมายังริเวนเดลล์พร้อมกับอารากอร์น และได้ใช้เวลาพักฟื้นอยู่ที่นี่หลายเดือน ที่นี้ยังเป็นที่ชุมนุมเผ่าพันธุ์ต่างๆ ที่ยังเป็นอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ คือพวกเอลฟ์ มนุษย์ และคนแคระ ในที่ประชุมของเอลรอนด์ เผ่าพันธุ์ทั้งหลายได้ลงมติให้นำแหวนเอกไปทำลายเสียที่เมาท์ดูม โดย โฟรโด เป็นผู้รับอาสาทำหน้าที่นี้ เอลรอนด์ได้เลือกตัวแทนแต่ละเผ่าพันธุ์เข้าร่วมในคณะพันธมิตรแห่งแหวน เพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ ครอบครัวของเอลรอนด์ทุกคนพำนักอยู่ที่ริเวนเดลล์ ได้แก่ เคเลบรีอัน ภรรยาของเขา เอลลาดาน และ เอลโรเฮียร์ บุตรชายฝาแฝด และธิดาคนสุดท้องคือ อาร์เวน นอกจากนี้เอลรอนด์ยังเลี้ยงดูทายาทวงศ์กษัตริย์มนุษย์ คือ อารากอร์น ในฐานะบุตรบุญธรรมของตนด้วย แต่เคเลบรีอันได้รับบาดเจ็บในระหว่างเดินทางข้ามเทือกเขามิสตี้ครั้งหนึ่งแล้วถูกพวกออร์คซุ่มโจมตี นางจึงเดินทางไปรักษาตัวที่แผ่นดินอมตะ ในระหว่างยุคสงครามแหวน เคเลบรีอันจึงมิได้อยู่ที่ริเวนเดลล์แล้ว ในช่วงต้นของยุคที่สี่ หลังจากอาร์เวนได้อภิเษกกับอารากอร์น ขึ้นเป็นราชา-ราชินีของอาณาจักรกอนดอร์แล้ว เอลรอนด์เดินทางออกจากริเวนเดลล์เพื่อกลับไปยังแผ่นดินตะวันตก คงเหลือแต่เพียงเอลลาดานและเอลโรเฮียร์พำนักอยู่ที่นี่ ต่อมา เคเลบอร์น ได้ละลอธลอริเอนและมาสมทบกับพวกเขาที่นี่ แต่ไม่มีบันทึกใดระบุว่า สุดท้ายแล้วพวกเอลฟ์อพยพออกจากริเวนเดลล์ไปจนหมดสิ้นเมื่อใ.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และริเวนเดลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อก

ร็อก (Rock) แนวเพลงที่ได้รับความนิยม มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรลในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และเริ่มพัฒนาสู่แนวเพลงหลายแขนงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และช่วงหลังจากนั้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาW.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และร็อก · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม มอร์ริส

วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) (24 มีนาคม ค.ศ. 1834 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1896) เป็นศิลปิน นักเขียน และนักสังคมนิยมชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานของ British Arts and Crafts movement และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสหราชอาณาจักร รวมถึงเป็นกวีและนักประพันธ์นวนิยายด้วย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ออกแบบลวดลายบนผนัง มอร์ริสเคยเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นสถาปนิก ต่อมาจึงพบว่าตัวเองชอบศิลปะการวาดมากกว่า มอร์ริสได้ตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อน และสร้างงานศิลปะเช่น ภาพวาดบนกระจกสี.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และวิลเลียม มอร์ริส · ดูเพิ่มเติม »

สม็อก

ม็อก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และสม็อก · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามห้าทัพ

งครามห้าทัพหรือสงครามห้าเหล่าทัพ เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ปรากฏในช่วงท้ายของฮอบบิทบทประพันธ์ประเภทวรรณกรรมเยาวชนของเจ.อาร์.อาร์.โทลคีน ในชุดปกรณัมมิดเดิ้ลเอิร์ธ ซึ่งปรากฏในบทที่17 เมฆหมอกปะทุขึ้น ซึ่งจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในสองสงครามสำคัญในประวัติศาสตร์ช่วงปลายยุคที่3 (อีกสงครามคือศึกที่ทุ่งเพลานอร์).

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และสงครามห้าทัพ · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์ วอร์ส

ตาร์ วอร์ส (Star Wars) เป็นภาพยนตร์ชุดแนวมหากาพย์ละครอวกาศ สร้างโดย จอร์จ ลูคัส นอกจากนี้ยังมีสื่อต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาพยนตร์ เรียกว่า จักรวาลขยาย ได้แก่ หนังสือ ละครโทรทัศน์ วิดีโอเกมและหนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ชุดแรกออกฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และสตาร์ วอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

อลัน ลี

อลัน ลี (Alan Lee) เป็นศิลปินนักวาดภาพและนักออกแบบศิลป์ชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ผลงานของลีจะเป็นงานจากวรรณกรรมแฟนตาซีมากมาย งานที่โดดเด่นที่สุดคืองานที่เกี่ยวเนื่องกับงานประพันธ์ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เช่น ลอร์ดออฟเดอะริงส์ฉบับครบรอบ 100 ปี เดอะฮอบบิท ตำนานบุตรแห่งฮูริน สำหรับผลงานภาพประกอบอื่นๆ ได้แก่ Lavondyss ของ Robert Holdstock, Castles และ Tolkien's Ring ของเดวิด เดย์, The Mirrorstone ของ Michael Palin เป็นต้น เขายังวาดภาพประกอบให้แก่งานดัดแปลงของ Rosemary Sutcliff เรื่อง อิเลียด และ โอดิสซีย์ (ฉากกองเรือดำหน้าเมืองทรอย และการผจญภัยของโอดิซูส) ลีได้รับเหรียญรางวัล Kate Greenaway Medal สำหรับการวาดฉากกองเรือดำหน้าเมืองทรอยในปี..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และอลัน ลี · ดูเพิ่มเติม »

ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)

ออร์ค (Orc) ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างวิกลวิการ วิปริต จิตใจชั่วช้า เป็นสมุนของเทพฝ่ายมารนับแต่อดีต ได้แก่ มอร์กอธ และ เซารอน ความเป็นมาของออร์คนั้นไม่แน่ชัด แต่ตำนานหนึ่งเชื่อว่า นับแต่สมัยโบราณกาลในยุคที่หนึ่ง มอร์กอธแอบจับตัวพวกเอลฟ์ ไปทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ จนกลายสภาพเป็นสิ่งมีชีวิตที่วิปริต และดัดแปลงพันธุกรรมเสียใหม่ ด้วยความเคียดแค้นชิงชังในตัวพวกเอลฟ์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตแสนวิเศษที่ เอรู อิลูวาทาร์ทรงสร้างขึ้น พวกออร์คเรียกกันเป็นหลายชื่อ และยังมีเผ่าพันธุ์ย่อยอีกหลายเผ่าพันธุ์ ในเรื่อง เดอะฮอบบิท มักเรียกพวกออร์คว่า กอบลิน (Goblin) พวกเอลฟ์เรียกชนกลุ่มนี้ว่า อีร์ค (Yrch) แต่โทลคีนถอดความมาเป็นภาษาอังกฤษโดยเลือกใช้ชื่อสิ่งมีชีวิตโบราณในเทพนิยายมาใช้เป็น ออร์ค พวกออร์คส่วนใหญ่กลัวแสงแดด จึงมักหลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางวัน ในยามที่มอร์กอธหรือเซารอนต้องใช้กองทัพออร์คออกไปปฏิบัติการ จึงมักสร้างหมอกทึบเมฆดำปกคลุมผืนฟ้า เพื่อให้กองทัพออร์คเดินทางได้โดยสะดวก ในยุคที่สาม ซารูมานได้ผสมพันธุ์พวกออร์คขึ้นใหม่ ให้มีความทนทานต่อแสงอาทิตย์ และมีรูปร่างสูงใหญ่แข็งแรง มีชื่อเรียกว่า พวก อูรุก.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เคนสโตน

อาร์เคนสโตน (Arkenstone) เป็นชื่อเพชรดวงหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง เดอะฮอบบิท โดยเป็นเพชรดวงใหญ่มาก พบที่ใต้ภูเขาโลนลี่ แห่งอาณาจักรเอเรบอร์ โดยธราอินกษัตริย์ของคนแคระ และได้กลายเป็นมรดกประจำตระกูล สืบทอดต่อมาในสายวงศ์ของดูริน เพชรนี้สูญหายไปเมื่อคราวที่มังกรสม็อก บุกโจมตีอาณาจักรเอเรบอร์และยึดเอาทรัพย์สมบัติของพวกคนแคระไปจนหมด ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เมื่อธอริน กษัตริย์คนแคระและพวก ยึดเอเรบอร์คืนมาได้ บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ฮอบบิทที่ร่วมเดินทางไปในภารกิจคราวนั้นในตำแหน่ง "หัวขโมย" กลับขโมยเพชรอาร์เคนสโตนเสียเอง แล้วนำไปให้กษัตริย์เอลฟ์ใช้เป็นเครื่องต่อรองกับธอริน ทำให้ธอรินโกรธมาก อย่างไรก็ดีในภายหลังทั้งหมดสามารถปรับความเข้าใจกันได้ ธอรินเสียชีวิตหลังสงครามห้าทัพ คนแคระนำเพชรนี้ฝังไว้ในหลุมศพข้างกายของธอรินด้ว.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และอาร์เคนสโตน · ดูเพิ่มเติม »

อุปรากร

รงอุปรากรซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อุปรากร (opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิก ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดใหญ.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ฮอบบิท

อบบิท (Hobbit) เป็นเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือฮอบบิท และมีบทบาทสำคัญในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฮอบบิทเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่มีขนาดย่อมกว่า และไม่ล่ำบึกบึนเหมือนอย่างคนแคระ เนื่องจากฮอบบิทมีขนาดราวครึ่งหนึ่งของมนุษย์ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮาล์ฟลิง (Halfling) พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า เพเรียนนัธ (Periannath) แต่พวกฮอบบิทเรียกตัวเองว่า คูดุค (Kuduk) ส่วนคำว่า ฮอบบิท มีที่มาจากคำในภาษาโรเฮียริคว่า โฮลบีตลาน (Holbytlan) ซึ่งหมายถึง ผู้อยู่ในโพรง ฮอบบิทมีภาษาพูดของตนเอง เรียกว่า ภาษาฮอบบิติช เป็นภาษาในตระกูลเดียวกันกับภาษาโรเฮียริค เนื่องจากถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวฮอบบิทกับชาวโรเฮียริมอยู่ใกล้เคียงกัน กอลลัม ในบทนำของเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ระบุว่า ฮอบบิทส่วนใหญ่มีความสูงประมาณ 2-4 ฟุต ความสูงเฉลี่ย 3 ฟุต 6 นิ้ว มีอายุเฉลี่ยราว 100 ปี (สูงสุดประมาณ 130 ปี) เท้าเป็นขนและเดินได้เงียบ ปลายหูแหลม อาศัยอยู่ในโพรง ชอบการกินอาหาร ชอบการละเล่นและความสนุกสนาน เป็นเผ่าพันธุ์ที่รักสงบ อายุยืนกว่ามนุษย์ธรรมดา ถ้าฮอบบิทอายุได้ 33 ปี จะเทียบกับมนุษย์ได้ 21 ปี เมื่อนั้นจึงจะถือว่าฮอบบิทคนนั้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฮอบบิทกินอาหารถึงวันละ 7 มื้อ ได้แก่ มื้อเช้า, มื้อหลังเช้า, มื้อ 11 โมง, มื้อเที่ยง, มื้อน้ำชา, มื้อเย็น และมื้อดึก ทั้งนี้ไม่รวมของว่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ทานได้ตลอดทั้งวัน ทานครั้งแรกถึง 6 มื้อ ฮอบบิททานอาหารได้ทุกประเภท แต่ที่โปรดปรานที่สุดคือ เห็ด ช็อคโกแล็ต และเหล้าเอล และ ฮอบบิท ชอบทำขนมเค็กด้วย เผ่าพันธุ์ฮอบบิทเป็นผู้ชำนาญการด้านยาสูบ ดินแดนของพวกเขาเป็นแหล่งผลิตยาสูบมวนกระดาษสีดำชั้นดีที่สุดของมิดเดิลเอิร์ธ และพวกฮอบบิทก็ชอบใช้กล้องสูบยาด้ว.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และฮอบบิท · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ฮาว

อห์น ฮาว (John Howe) เป็นศิลปินนักวาดภาพประกอบหนังสือชาวแคนาดา เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ที่เมืองแวนคูเวอร์ บริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา หลังจากจบชั้นมัธยมเพียงหนึ่งปี เขาก็ไปเรียนต่อวิทยาลัยที่ Strasbourg ประเทศฝรั่งเศส และจบการศึกษาจาก École des Arts Décoratifs ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จอห์น ฮาว มีชื่อเสียงจากการสร้างผลงานจากวรรณกรรมต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยเฉพาะเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขายังเป็นผู้วาดภาพประกอบให้กับเกมกระดานชุดลอร์ดออฟเดอะริงส์ของ Reiner Knizia ด้วย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และจอห์น ฮาว · ดูเพิ่มเติม »

ธอริน โอเคนชิลด์

อริน โอเคนชิลด์ (Thorin Oakenshield) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ เรื่อง เดอะฮอบบิท งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นกษัตริย์ของคนแคระแห่งมิดเดิลเอิร์ธ สายวงศ์ของดูริน เป็นบุตรของธราอินที่ 2 และเป็นหลานของกษัตริย์ธรอร.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และธอริน โอเคนชิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)

นแคระ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเล็กเตี้ย แต่ล่ำสันแข็งแรง ทรหดอดทน มีหนวดเครายาวเฟิ้ม เป็นชนเผ่าที่ชำนาญในการช่างมากที่สุด พวกเขาเป็นมิตรอย่างมากกับพวกฮอบบิท พวกคนแคระเรียกตัวเองว่า คาซัด อันเป็นชื่อที่เทพอาวเลตั้งให้กับพวกเขา แต่พวกเอลฟ์เรียกพวกเขาว่า เนากริม ซึ่งมีความหมายว่า ชนผู้ไม่เติบโตอีกต่อไป คนแคระมีบทบาทอยู่ในวรรณกรรมของโทลคีนหลายเรื่อง ได้แก่ เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน รวมถึงงานเขียนอื่น ๆ ของคริสโตเฟอร์ โทลคีนด้วย คือ Unfinished Tales และ ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และคนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานบุตรแห่งฮูริน

ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin) เป็นนวนิยายแฟนตาซีระดับสูงแบบมหากาพย์ที่บรรยายในลักษณะร้อยแก้ว ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งได้เริ่มโครงเรื่องไว้ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1910 และได้ปรับแก้เนื้อหาหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งโทลคีนเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และตำนานบุตรแห่งฮูริน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแห่งซิลมาริล

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และตำนานแห่งซิลมาริล · ดูเพิ่มเติม »

ซี. เอส. ลิวอิส

ลฟ์ สเตเปิลส์ ลิวอิส (Clive Staples Lewis; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) หรือรู้จักในนาม ซี.เอ.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และซี. เอส. ลิวอิส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่เกี่ยวข้องกับปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ นำมาเรียบเรียงใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงระหว่างปี..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ แจ็กสัน

ซอร์ปีเตอร์ โรเบิร์ต แจ็กสัน (Sir Peter Robert Jackson) เป็นชาวนิวซีแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และปีเตอร์ แจ็กสัน · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยายแฟนตาซี

นวนิยายแฟนตาซี (Fantasy Fiction) เป็นจินตนิยายประเภทหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแฟนตาซี รูปแบบเนื้อเรื่อง (ที่กลายมาเป็นรูปแบบพื้นฐานของนิยายแฟนตาซีกลุ่มหลักในปัจจุบันไปแล้ว – โดยมีงานของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นรากฐาน) มักจะเป็นในเชิงของดาบและเวทมนตร์ ความเจริญต่าง ๆ อยู่ในขั้นของยุคกลางหรือยุคโบราณ มีเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ และ/หรือ เทพเจ้า เข้ามาเกี่ยวข้อง มีผู้วิเศษ (Sorcerror) ที่มีอำนาจด้วยตัวของตัวเอง และบันดาลเวทย์ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติได้ด้วยพลังที่มีอยู่แล้วในตัว หรือโดยการตั้งสมาธิจิต (will), พ่อมด (Wizard) ซึ่งอำนาจเวทย์เกิดจากคาถา ที่จะต้องท่องคำวิเศษหรือใช้อักขระศักดิ์สิทธิ์ (runes), มีปีศาจและสัตว์ประหลาดต่าง ๆ, มีฝ่ายธรรมะ ฝ่ายอธรรม, มีมังกร เขาวงกต และส่วนประกอบอื่น ๆ รวมถึงตอนนี้ มักจะต้องมีแผนที่ประกอบ (เป็นธรรมเนียมไปแล้ว) อีกด้วย แฟนตาซีหลาย ๆ เรื่อง อย่างในชุดของ "Forgotten Realm" แม้จะมีเครื่องจักรกล หรือวิทยาศาสตร์เข้ามาประกอบอยู่ด้วย แต่ด้วยโครงสร้างของฉาก และเนื้อเรื่อง ย่อมดูออกทันทีว่าเป็นแฟนตาซี.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และนวนิยายแฟนตาซี · ดูเพิ่มเติม »

แกนดัล์ฟ

แกนดัล์ฟ (Gandalf) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะ ฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ แกนดัล์ฟ เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิ้ลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ ในขณะที่พวกเอลฟ์เรียกชื่อว่า มิธรันเดียร์ (Mithrandir) ชื่อเดิมของแกนดัล์ฟแท้จริงคือ โอโลริน (Olórin) เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าได้ใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด แกนดัล์ฟได้รับฉายาว่า พ่อมดเทา และได้เป็นพ่อมดขาวในตอนท้ายของเรื่อง แกนดัล์ฟบุคลิกลักษณะเป็นชายแก่ผมยาว หนวดยาวแต่แข็งแรง.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และแกนดัล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

โนลดอร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และโนลดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ไชร์ (Shire) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และตำนานอื่น ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป บนดินแดนอันกว้างใหญ่เอเรียดอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอาร์นอร์ แคว้นไชร์ก่อตั้งขึ้นโดยชาวฮอบบิท และต่อมาพวกเขาก็พากันอพยพมาอยู่ที่ดินแดนนี้จนเกือบหมด ชื่อในภาษาเวสทรอนของแคว้นไชร์ คือ ซูซา (Sûza) หรือ ซูซัท (Sûzat) ส่วนชื่อในภาษาซินดารินคือ อิดรันน์ (i Drann).

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เมิร์ควู้ด

มิร์ควู้ด (Mirkwood) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เมิร์ควู้ดเป็นป่าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำอันดูอิน แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า ป่าใหญ่กรีนวู้ด (Greenwood The Great) กินอาณาเขตกว้างไกลในดินแดนโรห์วานิออน ในยุคที่สาม เอลฟ์กลุ่มที่มาอาศัยอยู่ในเมิร์ควู้ดนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวซิลวัน และมีชาวซินดาร์เป็นบางส่วน ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธรันดูอิล สภาพทั่วไปของป่า มีต้นไม้โบราณเก่าแก่และสูงใหญ่เป็นจำนวนมาก กิ่งก้านสาขาของแต่ละต้นแผ่ปกคลุมไปทั่ว จนแสงอาทิตย์สามารถผ่านเข้ามาได้เพียงน้อยนิด ในช่วงยุคที่สาม เซารอนกลับมาอย่างลับๆ และหลบซ่อนอยู่ในป่าเมิร์ควู้ด ได้สร้างหอคอยที่เรียกว่า โดลกุลดัวร์ (Dol Guldur) นับจากนั้นความมืดก็เข้าปกคลุมเมิร์ควู้ดแม้แต่ในเวลากลางวัน เหล่าปีศาจร้ายได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่อาศัยเพื่อซ่อนตัวซึ่งรวมไปถึง แมงมุมยักษ์ (Great Spiders) ซึ่งเป็นลูกหลานของ ชีล็อบ ในหนังสือเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ เคยเดินทางผ่านป่าแห่งนี้ และได้เข้าเฝ้า "กษัตริย์พราย" ซึ่งก็คือ ธรันดูอิลนั่นเอง จากเหตุการณ์ที่บิลโบได้เข้าเฝ้าคราวนี้ทำให้เราทราบว่า ธรันดูอิลมีผมสีทอง นอกจากนี้ในเมิร์ควู้ด เมื่อครั้งที่กอลลัมเดินทางผ่านป่าเพื่อตามหาแหวน กับบิลโบ แต่ถูก อารากอร์นพบเข้าและจับตัวได้ จึงนำเขามาขังเขาไว้ที่นี่ภายใต้การดูแลของพวกเอลฟ์แห่งเมิร์ควู้ด แต่เหล่าสมุนเซารอนสืบทราบและตามมาชิงตัว ระหว่างการต่อสู้ของพวกออร์คและพวกเอลฟ์ กอลลัมหนีไปได้ เลโกลัสจึงไปส่งข่าวการหนีไปของกอลลัม ในที่ประชุมของ เอลรอนด์ และเลโกลัสเจ้าชายแห่งป่าเมิร์ควู้ด ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก คณะพันธมิตรแห่งแหวน ต่อมาภายหลัง เอลฟ์จากลอธลอริเอน ได้เข้ามาโจมตีและทำลาย ปราการแห่งโดลกุลดัวร์ จากนั้นเมิร์ควู้ดจึงได้กลับคืนสู่สภาพเดิม ปราศจากเงามืดและความชั่วร้.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเมิร์ควู้ด · ดูเพิ่มเติม »

เอกธำมรงค์

แหวนเอกธำมรงค์ (The One Ring) หรือชื่ออื่นๆ ว่า แหวนเอก แหวนประมุข แหวนแห่งอำนาจ หรือ ยมทูตแห่งอิซิลดูร์ เป็นแหวนวิเศษในจินตนาการจากนิยายไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นนิยายที่เล่าเรื่องราวของภารกิจการทำลายแหวนวิเศษวงนี้ ผู้สร้างแหวนนี้คือ เซารอน ผู้เป็นจอมมาร สร้างขึ้นในยุคที่สอง โดยใส่พลังของตัวเองลงไปด้วย แหวนจะคอยทดสอบจิตใจทุกคนที่มันเห็น ผู้ที่ชนะใจตัวเองไม่ได้แหวนจะนำไปสู่ความตาย และทำให้คนดีอ่อนแอ แต่หากเป็นกลางจะเปลี่ยนเป็นปีศาจชั่วคราวแล้วกลับเป็นปกติก็จะมีอำนาจต้านแหวนได้ เนื่องจากเป็นแหวนที่มีอำนาจมากที่สุดในแหวนแห่งอำนาจ หลังจากสงครามที่เซารอนพ่ายแพ้ครั้งแรก แหวนตกไปอยู่ในมือของอิซิลดูร์, กอลลัม, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ก่อนที่โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ผู้ถือแหวนคนสุดท้ายจะนำแหวนไปทำลายที่ภูเขามรณะ(แต่แท้จริงๆแล้วแซมไวส์ แกมจีเป็นผู้ถือแหวนคนสุดท้ายแต่อยู่ในระยะสั้นที่สุด เพราะหลังจากที่เข้าใจผิดว่าโฟรโดถูกแมงมุมยักษ์ชีล็อบฆ่าตาย แซมได้เอาแหวนเอกไปเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเซารอน ต่อมาเมื่อช่วยโฟรโดแล้วก็เอาแหวนเอกมาคืนให้แก่โฟรโดตามเดิม).

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเอกธำมรงค์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เท็ด แนสมิธ

ท็ด แนสมิธ (Ted Nasmith) เป็นศิลปินนักวาดภาพชาวแคนาดา มีชื่อเสียงจากการวาดภาพประกอบผลงานวรรณกรรมต่างๆ ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ได้แก่ ซิลมาริลลิออน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ เดอะฮอบบิท แนสมิธเกิดในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 (ไม่ทราบวันเกิดแน่นอน) ที่เมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดา เป็นบุตรชายของนายทหารอากาศแคนาดา ดังนั้นชีวิตในช่วงแรกของแนสมิธจึงต้องโยกย้ายที่อยู่บ่อยๆ เนื่องจากการงานอาชีพของพ่อ เขาต้องย้ายไปประเทศต่างๆ หลายแห่ง เช่น ฝรั่งเศส จนเมื่อแนสมิธย่างเข้าสู่วัยรุ่น จึงค่อยกลับมาอยู่ที่เมืองโตรอนโต ครอบครัวของแนสมิธสนับสนุนให้เขาเข้าเรียนหลักสูตรด้านพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Arts) ปี..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเท็ด แนสมิธ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ ฮอบบิท: การผจญภัยสุดคาดคิด

อะ ฮอบบิท: การผจญภัยสุดคาดคิด (The Hobbit: An Unexpected Journey) เป็นภาพยนตร์แนวมหากาพย์แฟนตาซี เขียนบทร่วมและกำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน โดยเป็นภาคแรกของภาพยนตรชุดเดอะ ฮอบบิท ดัดแปลงจากนิยายในชื่อเดียวกัน ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคถัดมาคือ ดินแดนเปลี่ยวร้างของสม็อค (The Desolation of Smaug) (2013) และ สงคราม 5 ทัพ (The Battle of the Five Armies) (2014) เขียนบทโดย แจ็กสัน, ฟราน วอล์ช, ฟิลิปปา โบเยนส์ และ กิลเลอร์โม เดอ โทโร ผู้ที่ถูกเลือกให้เป็นผู้กำกับ ก่อนที่จะลาออกไป ในปี 2010 โดยภาพยนตร์ดำเนินเรื่องอยู่ใน มัชฌิมโลก ช่วง 60 ปีก่อนภาพยนตร์ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โดยบางส่วนดัดแปลงมาจาก ภาคผนวก ใน หนังสือภาคที่ 3 ของ นิยาย เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก็คือภาค กษัตริย์คืนบัลลังก์ ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของฮอบบิทที่ชื่อ บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ (มาร์ติน ฟรีแมน) ที่ได้รับคำเชื้อเชิญจากพ่อมด แกนดัล์ฟ (เอียน แมคเคลเลน) ให้ร่วมเดินทางไปกับคณะคนแคระ 13 คน นำโดย ธอริน โอเคนชิลด์ (ริชาร์ด อาร์มิเตจ) เพื่อทวงคืน ภูเขาโลนลี่ จากมังกรสม็อก ภาพยนตร์ได้ฉายครั้งแรกที่ นิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2012 และจะฉายพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 14 ธันวาคม 2012 ในระบบฟิล์ม ระบบดิจิตอลสองมิติ ดิจิตอลสามมิติ ดิจิตอลสี่มิติ ไอแมกซ์ดิจิตอลสามมิติ และดิจิตอลสามมิติอัตราเร็วภาพสูง (High Frame Rate 3D) ด้วยอัตราเร็ว 48 เฟรมต่อวินาที ซึ่งมากกว่าอัตราเร็วของภาพยนตร์โดยทั่วไปสองเท.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเดอะ ฮอบบิท: การผจญภัยสุดคาดคิด · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ ฮอบบิท: สงคราม 5 ทัพ

อะ ฮอบบิท: สงคราม 5 ทัพ (The Hobbit: The Battle of the Five Armies) เป็นภาพยนตร์แนวมหากาพย์แฟนตาซี เขียนบทร่วมและกำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน โดยเป็นภาคจบของภาพยนตร์ไตรภาคชุดเดอะ ฮอบบิท ดัดแปลงจากนิยายในชื่อเดียวกัน ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ต่อจากภาคสองคือ ดินแดนเปลี่ยวร้างของสม็อค (The Desolation of Smaug) ที่ออกฉายในปี 2014.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเดอะ ฮอบบิท: สงคราม 5 ทัพ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ ฮอบบิท: ดินแดนเปลี่ยวร้างของสม็อค

อะ ฮอบบิท: ดินแดนเปลี่ยวร้างของสม็อค (The Hobbit:The Desolation of Smaug) เป็นภาพยนตร์แนวมหากาพย์แฟนตาซี เขียนบทร่วมและกำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน โดยเป็นภาคสองของภาพยนตร์ไตรภาคชุด เดอะ ฮอบบิท ดัดแปลงจากนิยายในชื่อเดียวกัน ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ต่อจากภาคแรกคือ การผจญภัยสุดคาดคิด (An Unexpected Journey) (2012) และภาคสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ สงคราม 5 ทัพ (The Battle of the Five Armies) (2014).

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเดอะ ฮอบบิท: ดินแดนเปลี่ยวร้างของสม็อค · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะวอลต์ดิสนีย์

ริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ (The Walt Disney Company-) หรือรู้จักกันในชื่อ ดิสนีย์ (Disney) บริษัทสื่อและสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) โดยสองพี่น้องดิสนีย์ วอลต์ ดิสนีย์ และพี่ชาย รอย ดิสนีย์ โดยเริ่มก่อตั้งจากการเป็นสตูดิโอทำภาพยนตร์การ์ตูนในฮอลลีวูด และขยายกิจการเพิ่มเติมโดยในปัจจุบันมีสวนสนุก 11 แห่ง และสถานีโทรทัศน์หลายสถานี รวมถึง เอบีซี และ อีเอสพีเอ็น สำนักงานใหญ่ของดิสนีย์ตั้งอยู่ที่ วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ ที่เมืองเบอร์แบงก์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งดิสนีย์ได้เข้าสู่เป็นบริษัทมหาชนเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สัญลักษณ์ทางการของดิสนีย์คือ มิกกี เม.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และเดอะวอลต์ดิสนีย์ · ดูเพิ่มเติม »

Unfinished Tales

ปก The Unfinished Tales วาดโดย Ted Nasmith Unfinished Tales เป็นหนังสือที่รวบรวมงานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกี่ยวกับจักรวาลอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ ที่เขาเขียนไว้ยังไม่จบและยังไม่ได้ตีพิมพ์ เรียบเรียงขึ้นโดยบุตรชายคนที่สามของโทลคีน คือ คริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นวนิยาย ที่ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวตลอดเล่ม เนื่องจากเป็นการรวบรวมงานเขียนชิ้นต่างๆ ของโทลคีนที่เขียนเอาไว้ตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ไม่ปะติดปะต่อกัน เนื้อหาหลายส่วนยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างเนื่องจากยังไม่ได้แก้ไขเป็นบทสรุปสุดท้าย คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมส่วนที่เกี่ยวข้องกันมาไว้ด้วยกัน และแสดงหมายเหตุ หรือข้อสังเกตส่วนตัวเกี่ยวกับงานเขียนเหล่านั้น โดยพยายามเรียบเรียงให้ได้เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับข้อสรุปสุดท้ายของโทลคีนให้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ คือรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อตัวละคร หรือชื่อสถานที่ต่างๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งโทลคีนใส่ใจพิถีพิถันเป็นพิเศษ ทั้งในแง่ของความหมาย และความเป็นมา ถึงแก่ลงมือประพันธ์ประวัติศาสตร์ของชื่อสถานที่บางแห่ง ทำให้มีความสมจริงสมจังเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลในหนังสือ Unfinished Tales สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมแก่ตัวละคร เหตุการณ์ หรือสถานที่บางแห่งที่ถูกกล่าวถึงเพียงย่อๆ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมถึงความเป็นมาของแกนดัล์ฟ และเหล่าพ่อมด (อิสตาริ) และเรื่องราวโดยละเอียดในการที่แหวนเอกสูญหายไปจากการรับรู้ของผู้คนบนมิดเดิลเอิร์ธในตอนต้นของยุคที่สาม นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของเหตุการณ์ในยุคที่สอง โดยเฉพาะเรื่องราวของเกาะนูเมนอร์ ซึ่งไม่ใคร่ถูกกล่าวถึงมากนักทั้งใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะตีพิมพ์ออกมาหลังจากโทลคีนถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี แต่ก็ยังได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างดียิ่ง ทำให้คริสโตเฟอร์ โทลคีน มีกำลังใจที่จะเรียบเรียงงานชิ้นอื่นๆ ของบิดาออกมาอีก เกิดเป็นหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ จำนวน 12 เล่ม.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และUnfinished Tales · ดูเพิ่มเติม »

21 กันยายน

วันที่ 21 กันยายน เป็นวันที่ 264 ของปี (วันที่ 265 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 101 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฮอบบิท (หนังสือ)และ21 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

The Hobbitเดอะฮอบบิทเดอะฮอบบิต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »