โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อไญยนิยม

ดัชนี อไญยนิยม

อไญยนิยม (agnosticism) เป็นมุมมองที่ว่าค่าความจริงของการอ้างบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้างเกี่ยวกับการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของพระเจ้าใด ๆ ตลอดจนการอ้างอภิปรัชญา ศาสนาอื่นๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเรื่องเหนือธรรมชาติอื่นๆ ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ หรือไม่สามารถหยั่งรู้ได้ ตามคำกล่าวของนักปรัชญา William L. Rowe ในสำนึกซึ่งเป็นที่นิยม พวกอไญยนิยมคือผู้ที่ไม่ได้เชื่อหรือไม่ได้ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าองค์ใด ขณะที่พวกเทวนิยมและอเทวนิยมเชื่อและไม่เชื่อ ตามลำดับ ลัทธิอไญยนิยม คือ ทัศนะที่เชื่อว่ามนุษย์เราไม่อาจรู้หรือพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ คำว่า “อไญย” หมายความว่า “โดยปราศจากความรู้” ทัศนะอไญยนิยม คือ ทัศนะที่มีเหตุผลต่อยอดขึ้นมาจากลัทธิอเทวนิยม (Atheism) ลัทธิอเทวนิยมไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า – พิสูจน์ไม่ได้ – แต่ลัทธิอไญยนิยมบอกว่าการทรงดำรงอยู่ของพระเจ้าพิสูจน์ไม่ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้ว่าพระเจ้าทรงมีอยู่หรือไม่ พูดอีกอย่างคือ ลัทธิอไญยนิยมเชื่อว่าพระเจ้าอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่ปักใจเชื่อว่ามี และไม่ปักใจเชื่อว่าไม่มี เนื่องจากการเชื่อความไม่มีอยู่ของพระเจ้าจึงสอดคล้องกับ ลัทธิซาตาน ในประเภทแบบเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง ซึ่งมุ่งเน้น ความเป็นเอกบุคคลและอัตนิยมเช่นเดียวกัน.

5 ความสัมพันธ์: พระเจ้าลัทธิซาตานอภิปรัชญาอเทวนิยมค่าความจริง

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ใหม่!!: อไญยนิยมและพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิซาตาน

วห้าแฉกกลับหัว สัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเชื่อมโยงถึงซาตาน ลัทธิซาตาน (Satanism) เป็นคำอย่างกว้างที่กล่าวถึงขบวนการทางสังคมขนาดใหญ่ที่มีอุดมการณ์และความเชื่อทางปรัชญาที่หลากหลาย ลักษณะที่พบร่วมกัน คือ ความเกี่ยวข้องหรือความศรัทธาเชิงสัญลักษณ์ต่อซาตาน ซึ่งนักลัทธิซาตานมองว่าเป็นภาพลักษณ์ของการปลดปล่อย ก่อนหน้านั้นมีลักษณะเป็นองค์กรลับๆ มาเริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน ปี พ.ศ. 2509 ในชื่อ โบสถ์ของซาตาน ในปี..

ใหม่!!: อไญยนิยมและลัทธิซาตาน · ดูเพิ่มเติม »

อภิปรัชญา

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.

ใหม่!!: อไญยนิยมและอภิปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

อเทวนิยม

หมายเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (2:12) จากพาไพรัส 46ในศตวรรษที่ 3 ตอนต้น อเทวนิยม (atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยมEncyclopædia Britannica 2009 อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระเทพ โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน อิงตามการคาดคะเนในปี..

ใหม่!!: อไญยนิยมและอเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ค่าความจริง

ค่าความจริง (Truth value) ในทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง ค่าที่ใช้บ่งบอกว่าประพจน์ใดเป็นความจริง ในเรื่องของตรรกศาสตร์แบบฉบับ (classical logic) ค่าความจริงมีเพียงสองอย่างเท่านั้นคือ ค่าจริง (true) และค่าเท็จ (false) แต่สำหรับตรรกศาสตร์คลุมเครือ (fuzzy logic) หรือตรรกศาสตร์หลายค่า (multi-valued logic) ค่าความจริงอาจจะมีค่าอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนั้นก็ได้ เซตของค่าความจริง ทำให้เกิดพีชคณิตแบบบูล (Boolean algebra) ซึ่งคำนวณด้วยวิธีที่คล้ายพีชคณิตแล้วให้ผลเฉพาะในเซตเท่านั้น ส่วนพีชคณิตแบบอื่นอาจมีการใช้เซตของค่าความจริงในตรรกศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นแบบฉบับ ตัวอย่างเช่น ตรรกศาสตร์สหัชญาณนิยม (intuitionistic logic) หรือพีชคณิตเฮย์ทิง (Heyting algebra) เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์จะให้ความหมายของค่า 0 เป็นค่าเท็จ และค่าอื่นที่ไม่ใช่ 0 (รวมทั้ง 1) หมายถึงค่าจริง และภาษาโปรแกรมบางภาษาอาจมีค่าว่าง (null) อยู่ด้วย ซึ่งไม่ใช่ทั้งค่าจริงและค่าเท็จ หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์.

ใหม่!!: อไญยนิยมและค่าความจริง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AgnosticAgnosticism

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »