โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุปมานิทัศน์

ดัชนี อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

23 ความสัมพันธ์: ภาษากรีกภาษาศาสตร์วรรณกรรมศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสัญลักษณ์สงครามโลกสงครามโลกครั้งที่สองอาเทอร์ มิลเลอร์อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำอุปลักษณ์อีสปจริยธรรมจิตรกรรมดันเต อาลีกีเอรีดีวีนากอมเมเดียตรรกศาสตร์ซี. เอส. ลิวอิสประติมากรรมนิทานคติสอนใจเพลโตเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะ

ลปะ (शिल्प ศิลฺป) ทั่ว ๆ ไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่าง ๆ งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลาย ๆ ชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร, สื่ออารมณ์, หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวม ๆ ว่า ศิลปิน ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน despacito หรือ อื่น ๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์

ัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และสัญลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลก

งครามโลก (World War) เป็นลักษณะความขัดแย้งทางการทหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายชาติมหาอำนาจร่วมกัน โดยมักจะเกิดขึ้นในหลายทวีปทั่วโลกและกินเวลานานหลายปี คำว่า สงครามโลก เป็นการอธิบายถึงสงครามที่มีขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตเกิดสงครามโลก 2 ครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914-1918) และ สงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) และได้มีการพาดพิงถึงสงครามโลกครั้งที่สามในวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ถึงแม้ว่าสงครามอื่นที่เกิดขึ้นจากหลายชาติทั่วโลก เช่น สงครามเย็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และ สงครามอิรักในช่วงปี..

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และสงครามโลก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อาเทอร์ มิลเลอร์

อาเทอร์ แอชเชอร์ มิลเลอร์ (Arthur Asher Miller: 17 ตุลาคม ค.ศ. 1915 – 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) เป็นนักเขียนบทละครและบทเรียงความชาวยิว-อเมริกัน เขามีผลงานโดดเด่นในละครเวที เขียนบทละครเช่นเรื่อง All My Sons (1947), Death of a Salesman (1949), The Crucible (1953) และ A View from the Bridge (1 องก์, 1955; แก้ไข 2 องก์, 1956) หมวดหมู่:ผู้ที่ได้รับรางวัลเอมมี หมวดหมู่:ผู้ที่ได้รับรางวัลโทนี หมวดหมู่:นักเขียนชาวอเมริกัน หมวดหมู่:เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และอาเทอร์ มิลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ

อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ หรือ ถ้ำของเพลโต (Allegory of the Cave, Plato's Cave) เป็นการนำเสนอของเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ในอุตมรัฐ (514a–520a) เพื่อเปรียบเทียบ "ผลกระทบของการศึกษา (παιδεία) และการขาดการศึกษาในธรรมชาติของพวกเรา" โดยเขียนในรูปแบบของบทสนทนาระหว่างพี่ชายของเขากลาวคอน (Glaucon) และที่ปรึกษาของเขาโสกราตีส และเล่าโดยโสกราตีส อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำถูกเสนอต่อจากอุปมานิทัศน์เรื่องดวงอาทิตย์ (508b–509c) และอุปมานิทัศน์เรื่องเส้นที่ถูกแบ่ง (508b–509c) เพลโตและโสกราตีสบรรยายถึงกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตโดยถูกตรึงอยู่และหันหน้าเข้ากับผนังถ้ำว่างเปล่าตลอด คนเหล่านี้เฝ้าดูเงาที่ถูกฉายบนผนังจากสิ่งของที่เคลื่อนผ่านเปลวไฟด้านหลังของพวกเขา พวกเขาต่างได้ตั้งชื่อให้เงาเหล่านี้ สำหรับนักโทษพวกนี้เงาเหล่านั้นเป็นความจริง โสกราตีสอธิบายว่านักปราชญ์ก็เหมือนนักโทษที่ได้รับการปลดปล่อยออกจากถ้ำและได้เข้าใจว่าเงาบนผนังไม่ใช่ความจริง ด้วยความที่เขาสามารถมองเห็นรูปแบบทีแท้จริงของความจริง ไม่ใช่ความจริงที่ถูกสร้างขึ้นหรือเงาที่เหล่านักโทษเห็น นักโทษในที่แห่งนี้ไม่แม้แต่อยากที่จะออกจากคุก ด้วยความที่พวกเขาไม่รู้จักชีวิตที่ดีกว่านี้ วันหนึ่งเหล่านักโทษสามารถทำลายพันธะและค้นพบว่าความจริงที่พวกเขารู้จักไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเขาคิด พวกเขาค้นพบดวงอาทิตย์ซึ่งเพลโตใช้เปรียบดั่งเปลวไฟด้านหลังของพวกเขาที่พวกเขาไม่เคยเห็น เหมือนกับเปลวไฟที่ฉายแสงบนผนังถ้ำ สถานะภาพของมนุษย์ยึดติดอยู่กับสิ่งที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้งสิ้น แม้การตีความเหล่านี้อาจแตกต่างจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง พวกเราก็ยังไม่สามารถหลุดจากพันธะสภาพความเป็นมนุษย์ได้ พวกเราไม่สามารถปลดปล่อยตัวเราเองจากสถานะนี้ เหมือนกับที่นักโทษไม่สามารถปลดปล่อยตนเองจากโซ่ล่ามของพวกเขาได้ อย่างไรก็ตามหากพวกเราสามารถหนีจากพันธะนี้ได้อย่างปาฏิหาริย์ พวกเราก็จะพบกับโลกที่พวกเราไม่สามารถเข้าใจได้ ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่เข้าใจยากสำหรับคนที่ไม่เคยเห็นมัน กล่าวคือ พวกเราจะเจอกับอีก "ดินแดน" หนึ่งที่พวกเราไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะว่าตามทฤษฎี มันจะเป็นแหล่งของความจริงที่มากกว่าความจริงที่พวกเราเคยรู้จัก เป็นดินแดนของรูปแบบที่แท้จริง ความจริงที่แท้จริง โสกราตีสออกความเห็นว่าอุปมานิทัศน์นี้สามารถจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับอุปมานิทัศน์เรื่องดวงอาทิตย์ (analogy of the sun) และอุปมานิทัศน์เรื่องเส้นที่ถูกแบ่ง (analogy of the divided line).

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และอุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

อุปลักษณ์

อุปลักษณ์ เป็นมโนในการทำความเข้าใจของสิ่งหนึ่ง ด้วยอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์ เป็นการวาดภาพทางภาษาซึ่งเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือแนวคิดสองอย่าง.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และอุปลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสป

''Aesopus moralisatus'', 1485 อีสป (Aesop; Αἴσωπος; ประมาณ 620–564 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักเล่านิทานหรือนักเล่าเรื่องชาวกรีกโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าของนิทานจำนวนหนึ่งซึ่งปัจจุบันรู้จักกันรวม ๆ ว่า นิทานอีสป แม้การดำรงอยู่ของเขาจะยังไม่แน่ชัดและไม่มีงานเขียนของเขาเหลือรอดมาเลย (หากมี) แต่นิทานจำนวนมากซึ่งถือว่าเป็นของเขาถูกรวบรวมตลอดหลายศตวรรษในหลายภาษาในประเพณีการเล่าเรื่องซึ่งดำเนินมาจวบปัจจุบัน นิทานหลายเรื่องใช้สัตว์หรือวัตถุไม่ใช่สัตว์ที่สามารถพูด แก้ไขปัญหาและโดยทั่วไปมีคุณสมบัติอย่างมนุษย์ รายละเอียดชีวิตของอีสปที่กระจัดกระจายสามารถพบได้ในแหล่งข้อมูลโบราณ รวมถึงอริสโตเติล เฮโรโดตัส และพลูทาร์ก งานวรรณกรรมโบราณชื่อ The Aesop Romance เล่าชีวิตอีสปเป็นตอน ๆ และอาจเป็นฉบับที่เป็นนิยายอย่างสูง ซึ่งรวมถึงคำอธิบายเขาแต่เดิมว่าเป็นทาสที่น่าเกลียดสะดุดตา ซึ่งได้รับอิสรภาพของตนมาด้วยความฉลาด และกลายเป็นผู้ถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์และนครรัฐต่าง ๆ ประเพณีสมัยหลัง (ซึ่งมาจากสมัยกลาง) พรรณนาอีสปว่าเป็นชาวเอธิโอเปียผิวดำ หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ หมวดหมู่:นักเขียนชาวกรีกโบราณ.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และอีสป · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และจริยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ดันเต อาลีกีเอรี

ูรันเต เดกลี อาลีกีเอรี หรือดันเต อาลีกีเอรี หรือเรียกสั้น ๆ ว่าดันเต (Durante degli Alighieri; Dante Alighieri) (ราวกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1265 - 14 กันยายน ค.ศ. 1321) ดันเต อาลีกีเอรีเป็นรัฐบุรุษ กวี และนักภาษาศาสตร์คนสำคัญของฟลอเรนซ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ในยุคกลาง งานชิ้นที่สำคัญที่สุดคือ “ดีวีนากอมเมเดีย” (Divina Commedia) ที่เดิมชื่อ “Commedia” แต่ต่อมาเรียก “Divina” โดยโจวันนี บอกกัชโช และในที่สุดก็กลายเป็น “Divina Commedia” ซึ่งถือว่าเป็นกวีนิพนธ์ชิ้นเอกของภาษาอิตาลีและของโลก ดันเตได้รับการขนานนามในอิตาลีว่า “il Sommo Poeta” หรือ “มหากวี” และได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งภาษาอิตาลี” ดานเต เปตราก และโจวันนี บอกกัชโช รู้จักรวมกันว่า “สามมงกุฏ” (the three fountains หรือ the three crowns) บอกกัชโชเป็นคนแรกที่เขียนชีวประวัติของดันเตใน “ศาสตรนิพนธ์ในการสรรเสริญดันเต” (Trattatello in laude di Dante).

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และดันเต อาลีกีเอรี · ดูเพิ่มเติม »

ดีวีนากอมเมเดีย

ีวีนากอมเมเดีย (Divina Commedia; Divine Comedy) หรือไตรภูมิดันเต เป็นวรรณกรรมอุปมานิทัศน์ที่ดันเต อาลีกีเอรี เขียนขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และดีวีนากอมเมเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซี. เอส. ลิวอิส

ลฟ์ สเตเปิลส์ ลิวอิส (Clive Staples Lewis; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) หรือรู้จักในนาม ซี.เอ.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และซี. เอส. ลิวอิส · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

นิทานคติสอนใจ

การกลับมาของลูก จากภาพ “The return of the prodigal son” โดย แรมบรังด์ นิทานคติสอนใจ (Parable) หมายถึงวรรณกรรมหรือโคลงกลอนสั้นๆ ที่แฝงคำสอนหรือบทเรียนทางจริยธรรม หรือทางศาสนา “นิทานคติสอนใจ” ต่างจาก “นิทานอุทาหรณ์” (Fable) ตรงที่นิทานเฟเบิลจะใช้สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของ หรือธรรมชาติเป็นองค์ประกอบของเรื่อง ขณะที่องค์ประกอบของ “ตำนานแฝงคำสอน” จะเป็นมนุษย์ นักวิชาการทางพันธสัญญาใหม่จะใช้คำว่า “นิทานคติสอนใจ” เฉพาะนิทานคติสอนใจที่เกี่ยวกับพระเยซูเท่านั้นJohn P. Meier, “A Marginal Jew”, volume II, Doubleday, 1994.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และนิทานคติสอนใจ · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: อุปมานิทัศน์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Allegoryสัญลักษณ์แฝงคติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »