โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุณหภูมิ

ดัชนี อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

5 ความสัมพันธ์: พลังงานจลน์วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1อุณหพลศาสตร์อนุภาคค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม)

พลังงานจลน์

ลังงานจลน์ (Kinetic Energy) คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน น้ำกำลังไหลหรือน้ำตกจากหน้าผา ธนูที่พุ่งออกจากคันศร จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พลังงานจลน์ ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไป กลับมาได้ "วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ล้วนมีพลังงานจลน์ทั้งสิ้น ปริมาณพลังงานจลน์ในวัตถุจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุนั้น" ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจะมีพลังงานจลน์มาก แต่ถ้าเคลื่อที่เท่ากันวัตถุที่มีมวลมากกว่าจะมีพลังงานจลน์มากกว่า จากนิยามเขียนเป็นสมการได้ว่า Ek.

ใหม่!!: อุณหภูมิและพลังงานจลน์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1

วิลเลียม ธอมสัน บารอนเคลวิน ที่หนึ่ง (William Thomson, 1st Baron Kelvin; (26 มิถุนายน ค.ศ. 1824 - 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์และวิศวกร ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีผลงานสำคัญคือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่พิสูจน์ผลทางด้านไฟฟ้าและอุณหพลศาสตร์ ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ คือระบบเคลวิน (Kelvin) เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น บารอนเคลวิน ในปี ค.ศ. 1892 เพื่อเป็นเกียรติแก่การคิดค้นของเขา โดยนำชื่อมาจากแม่น้ำเคลวิน ที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสก็อตแลนด์ แต่เนื่องจากเขาไม่มีทายาทสืบตระกูล ตำแหน่งบารอนเคลวินจึงมีเพียง บารอนเคลวินที่หนึ่ง เพียงคนเดียวเท่านั้น.

ใหม่!!: อุณหภูมิและวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อุณหพลศาสตร์

แผนภาพระบบอุณหพลศาสตร์ทั่วไป แสดงพลังงานขาเข้าจากแหล่งความร้อน (หม้อน้ำ) ทางด้านซ้าย และพลังงานขาออกไปยังฮีทซิงค์ (คอนเดนเซอร์) ทางด้านขวา ในกรณีนี้มีงานเกิดขึ้นจากการทำงานของกระบอกสูบ อุณหพลศาสตร์ (/อุน-หะ-พะ-ละ-สาด/ หรือ /อุน-หะ-พน-ละ-สาด/) หรือ เทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics; มาจากภาษากรีก thermos.

ใหม่!!: อุณหภูมิและอุณหพลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุภาค

อนุภาค หมายถึงสสารที่มีปริมาณน้อยมากหรือเล็กมาก อาจหมายถึง; ในเคมี.

ใหม่!!: อุณหภูมิและอนุภาค · ดูเพิ่มเติม »

ค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม)

ฉลี่ย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อุณหภูมิและค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »