โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อิเล็กทรอนิกส์ร็อก

ดัชนี อิเล็กทรอนิกส์ร็อก

เมโลตรอน เป็นรูปแบบแรกของตัวแซมเพลอร์ที่ใช้อย่างกว้างขวางในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้น 1970 อิเล็กทรอนิกส์ร็อก (Electronic rock) ในบางครั้งอาจเรียกว่า อิเล็กโทรร็อก (Electro-rock) ดิจิตอลร็อก (Digital rock) และ ซินธ์ร็อก (Synth-rock) เป็นดนตรีแนวร็อกที่ทำขึ้นด้วยเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ได้ถูกพึ่งพาในการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประดิษฐ์และการปรับแต่งจากเครื่องสังเคราะห์เสียง ในการพัฒนาของมิดิรูปแบบดิจิตอลและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 นักดนตรีร็อกเริ่มใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เทเรมิน (Theremin) และเมโลตรอน (Mellotron) เพื่อเสริมและการกำหนดเสียงของพวกเขา โดยในตอนท้ายของยุคมูกซินธิไซเซอร์ ที่ได้รับสถานที่ชั้นนำในเสียงที่เกิดขึ้นใหม่จากวงโพรเกรสซีฟร็อกที่เป็นความโดดเด่นของดนตรีร็อกในต้นปี 1970 หลังจากการมาถึงของยุคพังก์ร็อกในรูปแบบพื้นฐานของซินธ์ร็อกที่ได้ปรากฏออกมามากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลใหม่แทนเครื่องดนตรีอื่น ในช่วงปี 1980 มีในเชิงพาณิชย์มากขึ้นในการมุ่งเน้นในดนตรีซินธ์ป็อปที่เป็นความโดดเด่นของอิเล็กทรอนิกส์ร็อก ในทศวรรษที่ 1990 บิ๊กบีต และอินดัสเทรียลร็อก อยู่ในกลุ่มที่สำคัญที่สุดแนวโน้มใหม่และในสหัสวรรษใหม่ในการแพร่กระจายของซอฟต์แวร์บันทึกเสียงนำไปสู่การพัฒนาแนวเพลงที่แตกต่างกันใหม่รวมทั้ง อินดี้อิเล็กทรอนิกส์ อิเล็กทรอแคลช แดนซ์พังก์ และ นิวเรฟ หมวดหมู่:แนวดนตรี.

9 ความสัมพันธ์: บิ๊กบีตพังก์ร็อกมิดิร็อกอินดัสเทรียลร็อกซินท์ป็อปโพรเกรสซิฟร็อกเธรามินเครื่องสังเคราะห์เสียง

บิ๊กบีต

กบีต (Big beat) (หรือ เคมิคอลเบรก) เป็นคำที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยสื่อมวลชนอังกฤษที่อธิบายถึงแนวดนตรีของศิลปินอย่าง เดอะเคมิคอลบราเทอร์ส แฟตบอยสลิม เดอะคริสตอลเมธอด โพรเพลเลอร์เฮดส์ และเดอะโพรดิจี ที่เป็นแบบฉบับในการผลักดัน โดยใช้จังหวะเบรกบีตหนัก ๆ เข้ากับการวนไปมาจากเครื่องสังเคราห์และรูปแบบทั่วไปของรูปแบบดนตรีแนวอีเลกโทรนิกอย่างเช่น เทคโนและแอซ.

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและบิ๊กบีต · ดูเพิ่มเติม »

พังก์ร็อก

ังก์ร็อก เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่ง (โดยมากมักเรียกสั้นๆว่า พังก์) มีการเคลื่อนไหวและเป็นที่รู้จักในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 พังก์ร็อกได้พัฒนาระหว่างปี 1974 และ 1977 ในสหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย โดยมีวงอย่าง เดอะราโมนส์, เซ็กซ์พิสทอลส์ และ เดอะแคลช ที่เป็นที่รู้จักในฐานะแนวหน้าของดนตรีประเภทนี้ ลักษณะดนตรีแบบ พังก์ร็อกมีลักษณะท่วงทำนองที่รุนแรง หยาบกระด้าง ด้วยความขาดทักษะของการเล่นดนตรี ส่วนการร้องก็จะเป็น "ตะโกน"หรือ "บ่น" และแฝงนัยยะของ "การต่อต้าน " และการยกย่อง "ความเป็นเลิศ" เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว,เบสไฟฟ้าและชุดกลอง มักมีการเล่นแบบ 2 คอร์ด เพลงพังก์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังก์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง พังก์ร็อกกลายเป็นกระแสนิยมหลักในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1970 แต่ความโด่งดังในที่อื่นมีในจำกัด จนกระทั่งทศวรรษที่ 80 พังก์ร็อกได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเล็กๆ ทั่วทุกมุมโลก ส่วนมากจะถูกปฏิเสธจากดนตรีกระแสหลัก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1970 ดนตรีพังก์ร็อกได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง เช่นเพลงแนว นิวเวฟ, โพสต์พังก์ โดยหลายวงได้ทำการทดลองแนวดนตรีไปในทิศทางอื่น เช่นแนวฮาร์ดคอร์พังก์ และ ออย! และ อะนาร์โค-พังก์ เป็นต้น และพังก์ร็อกยุคใหม่ได้พัฒนาไปอีกขึ้น โดยเพลงแนวออลเทอร์นาทิฟร็อกได้รับความนิยมเหมือนตอนที่ได้พังก์ร็อกรับความนิยมในช่วงแรก.

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและพังก์ร็อก · ดูเพิ่มเติม »

มิดิ

ื่อโน้ตและหมายเลขโน้ตมิดิ มิดิ หรือ มาตรฐานการประสานเครื่องดนตรีแบบดิจิทัล (Music Instrument Digital Interface: MIDI) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานที่คิดค้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยเป็นระบบการติดต่อสื่อสารทางดนตรี ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางดนตรี เช่น คอมพิวเตอร์ ซินธิไซเซอร์ ซีเควนเชอร์ ซาวด์โมดูล แซมเพลอร์ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิตอล ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ โดยจะมีความหมายเป็นโน้ตดนตรี และค่าการควบคุมลักษณะเสียงต่างๆ ไฟล์ MIDI ไม่ได้มีการเก็บเสียงดนตรีใดๆไว้เหมือนอย่างเทปเพลงหรือซีดีเพลง ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปของคำสั่งที่จะไปสั่งเครื่อง ดนตรีว่า ให้เปล่งเสียงโน้ตตัวใด(Note ON), ด้วยระดับความดังแค่ใหน(Velocity) และคำสั่งอื่นๆ ตามคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ด้วยเหตุที่เป็นไฟล์คำสั่งนี่เองทำให้มันมีขนาดที่เล็กมากๆ แผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเพียงแผ่นเดียวก็สามารถเก็บไฟล์ MIDI ได้หลายสิบเพลง และจากความที่มันเป็นไฟล์คำสั่งแบบดิจิตอลนี่เอง นักคอมพิวเตอร์จึงสามารถนำข้อมูลดิจิตอลนี้มาพัฒนาด้วย จนในที่สุดทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องดนตรีก็สื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์โดย ผ่านระบบ MIDI นี่เอง.

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและมิดิ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อก

ร็อก (Rock) แนวเพลงที่ได้รับความนิยม มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรลในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และเริ่มพัฒนาสู่แนวเพลงหลายแขนงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และช่วงหลังจากนั้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาW.

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและร็อก · ดูเพิ่มเติม »

อินดัสเทรียลร็อก

อินดัสเทรียลร็อก (industrial rock) เป็นแนวเพลงร็อกแขนงหนึ่งที่เกิดขึ้นปลายในทศวรรษที่ 70 และ ได้รับความนิยมวงดนตรีใต้ดิน ลักษณะ จะมีซาวนด์ของดนตรีอินดัสเทรียล และ เสียงดนตรีพังก์ร็อก.

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและอินดัสเทรียลร็อก · ดูเพิ่มเติม »

ซินท์ป็อป

ซินท์ป็อป หรือบางครั้งเรียกว่า เทคโนป็อป (techno-pop).

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและซินท์ป็อป · ดูเพิ่มเติม »

โพรเกรสซิฟร็อก

รเกรสซิฟร็อก (Progressive rock หรือเขียนสั้น ๆ ว่า prog หรือ prog rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 เป็นส่วนหนึ่งของ "ความพยายามในการยกฐานะเพลงร็อกอังกฤษสู่ระดับใหม่ ด้านความเชื่อถือด้านศิลปะดนตรี" คำว่า "อาร์ตร็อก" มักจะใช้ในความหมายเช่นเดียวกับ "โพรเกรสซิฟร็อก" แต่ขณะที่ทั้งสองแนวเพลงก็ข้ามกันไปข้ามกันมา แต่ทั้งสองแนวเพลงก็ไม่ใช่อย่างเดียวกัน วงดนตรีโพรเกรสซิฟร็อก ได้ผลักดัน ด้านเทคนิกและขอบเขตการจัดวาง โดยทำให้เหนือมาตรฐานร็อกทั่วไป หรือเพลงนิยมที่มีท่อนร้อง-คอรัส เป็นหลักโครงสร้าง นอกจากนี้ การเรียบเรียงมักจะรวมองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิก แจ๊ส และเวิลด์มิวสิก เข้าไป ใช้เครื่องดนตรีทั่วไป แต่เพลงและเนื้อเพลง ในบางครั้งจะเป็นนามธรรม แนวความคิด หรือแฟนตาซี ในบางครั้งวงโพรเกรสซิฟร็อกจะใช้คำว่า "คอนเซปต์อัลบั้ม เพื่ออธิบายถ้อยแถลง มักใช้การอธิบายเรื่องราวแบบมหากาพย์ หรือความยิ่งใหญ่" ดนตรีโพรเกรสซิฟร็อกพัฒนามาตั้งแต่ปลายยุคไซเคเดลิกร็อก ทศวรรษ 1960 ที่เพลงร็อกได้รับความนิยม วงดนตรีแนวนี้ที่เป็นที่นิยมอย่างเช่น เดอะไนซ์, มูดี้บลูส์, คิงคริมสัน, เยส, เจเนซิส, เจโทรทัล และอีเมอร์สัน, เลค แอนด์ พาร์เมอร์ เพลงโพรเกรสซิฟร็อกได้รับความนิยมกว้างขวางราวกลางทศวรรษ 1970 ขณะที่ได้รับความนิยมสุงสุดในทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980.

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและโพรเกรสซิฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

เธรามิน

รื่องเธรามิน ประกอบจากชุดคิทยี่ห้อ Moog, เสาอากาศห่วงด้านซ้ายใช้ควบคุมความดัง ส่วนเสายาวด้านขวาใช้ควบคุมความสูงต่ำของตัวโน้ต ส่วนประกอบภายในชุดคิทเธรามิน เธรามิน (theremin) เป็นเครื่องดนตรีไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่ผู้เล่นจะทำการโบกมือไปมาในอากาศเพื่อสร้างและควบคุมเสียง, ประดิษฐ์โดยวิศวกรชาวรัสเซีย ลีโอ เธรามิน (เลฟ เซอร์เกเยวิช เธอร์เมน) ในปี..

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและเธรามิน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสังเคราะห์เสียง

Synthesizer เครื่องสังเคราะห์เสียง หรือ ซินธิไซเซอร์ (synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์ ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง.

ใหม่!!: อิเล็กทรอนิกส์ร็อกและเครื่องสังเคราะห์เสียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Electronic rockSynthrockอิเล็กทรอนิกส์ ร็อกอีเลกโทรร็อกอีเลกโทรนิกร็อกดิจิตอลร็อกซินธ์ร็อก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »