เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อาร์โคซอร์และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อาร์โคซอร์และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

อาร์โคซอร์ vs. เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

อาร์โคซอร์ (อังกฤษ: Archosaur, มาจากภาษากรีกแปลว่า กิ้งก่าผู้ครองโลก) ได้แก่กลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนึ่งซึ่งมีกะโหลกแบบ diapsid (มีสองโพรงในแต่ละด้าน) ซึ่งในอดีตรวมไปถึงไดโนเสาร์ ส่วนสัตว์พวกอาร์โคซอร์ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ จระเข้ และ นก ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า อาร์โคซอร์ ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อไร พวกที่จัดให้สัตว์เลี้อยคลาย Archosaurus rossicus และ/หรือ Protorosaurus speneri ว่าเป็นอาร์โคซอร์เต็มตัว จะถือเอายุคเพอร์เมียนตอนปลายเป็นจุดเริ่มต้น ในขณะที่อีกกลุ่มจัดสัตว์เลื้อยคลานข้างตนเป็นพวก อาร์โคซอริฟอรมส์ (archosauriformes) และนับให้อาร์โคซอร์วิวัฒนาการต่อจาก archosauriformes อีกที ยึดเอายุคโอลีนีเคียน (Olenekian, ตรงกับยุคไทรแอสซิกตอนต้น) เป็นจุดกำเนิด อาร์โคซอร์เป็นสัตว์ที่ครองโลกในยุคไทรแอสซิก หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์. ำลองเหตุการณ์อุกบาตพุ่งเข้าชนโลก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งนี้ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส-พาลิโอจีน เกิดขึ้นเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน เป็นหนึ่งในการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก การสูญพันธุ์ครั้งนี้เกิดหลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิก ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งกวาดล้างสิ่งมีชีวิตไปกว่า 70% หรือประมาณ 3 ใน 4 ของสายพันธุ์ทั้งหมดบนโลกรวมถึงพวกไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ และสัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล สาเหตุการสูญพันธุ์ในครั้งนี้นั้นได้มีการสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกบริเวณคาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อาร์โคซอร์และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

อาร์โคซอร์และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ไดโนเสาร์เทอโรซอร์

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

อาร์โคซอร์และไดโนเสาร์ · เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีนและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทอโรซอร์

ทอโรซอร์ (Pterosaur; จากภาษากรีก "πτερόσαυρος", "pterosauros", หมายถึง "กิ้งก่ามีปีก") เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่ง ที่ชีวิตและอาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ มีลักษณะพิเศษคือ สามารถบินได้ โดยใช้ปีกขนาดใหญ่ที่มีพังผืดเหมือนค้างคาวเป็นอวัยวะสำคัญ ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วพร้อมกับไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ จัดอยู่ในอันดับ Pterosauria โดยมักจะถูกเรียกว่า "ไดโนเสาร์บินได้" แต่ทั้งนี้เทอโรซอร์มิได้จัดว่าเป็นไดโนเสาร์แต่อย่างใด เหมือนกับ เพลสิโอซอร์, โมซาซอร์ หรืออิกทิโอซอรัส ที่พบในทะเลและมหาสมุทร นอกจากนี้แล้วเทอโรซอร์ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง คือ เทอโรแดกทิล โดยคำว่าเทอโรแดกทิลนั้นหมายถึงเทอโรซอร์ในระยะหลังที่มีขนาดใหญ่ และไม่มีฟัน และในทางเทคนิคจะหมายถึงเทอโรซอร์ในสกุล เทอโรแดกทิลัส เทอโรซอร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก สืบทอดเผ่าพันธุ์และครองโลกมาอย่างยาวนานถึง 162 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปทั้งหมดในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลายเช่นเดียวกับไดโนเสาร์ ปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาได้จำแนกความหลากหลายของเทอโรซอร์ออกได้มากกว่า 200 ชนิด มีความแตกต่างหลากหลายกันออกไปในแต่ละชนิดหรือแต่ละวงศ์ เทอโรซอร์ถูกค้นพบครั้งแรกในรูปแบบซากดึกดำบรรพ์ในยุคศตวรรษที่ 19 ซากดึกดำบรรพ์ของเทอโรซอร์พบได้ในทั่วทุกภูมิภาคของโลก เทอโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุดถือกำเนิดในยุคไทรแอสซิกเมื่อ 228 ล้านปีก่อน โดยบรรพบุรุษของเทอโรซอร์นั้นมีรูปร่างเล็กมาก โดยมีขนาดพอ ๆ กับนกกระจอกในยุคปัจจุบัน เช่น พรีออยแดกกิลุส บัฟฟารีนีโอ ที่มีความกว้างของปีกแค่ 0.5 เมตร เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในป่าทึบกินแมลง เช่น แมลงปอ เป็นอาหาร หรือแครีเรมัส เซซาพลาเนนซิส ที่มีความกว้างของปีก 1 เมตร เทอโรซอร์ในยุคแรกจะมีขนาดลำตัวเล็ก บางจำพวกมีหางยาว เช่น ดิมอร์โฟดอน แมโครนิกซ์ ที่มีความกว้างของปีก 1.2 เมตร น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม มีหางยาวที่แข็ง คอสั้น หัวมีขนาดใหญ่ มีฟันแหลมคม และกระดูกกลวงบางส่วน ทั้งนี่้เชื่อว่าเทอโรซอร์วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ๆ ที่กระโดดหรือใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้เป็นหลักด้วยการหากินและหลบหลีกศัตรู เทอโรซอร์ ได้วิวัฒนาการมาเป็นลำดับขั้นตามยุคสมัยไปเรื่อย ๆ เช่น ยุคจูแรสซิก จนกระทั่งถึงยุคครีเตเชียส เทอโรซอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เคตซัลโคแอตลัส นอร์โทรพี มีความสูงเท่า ๆ กับยีราฟ มีความกว้างของปีก 10.5 เมตร พอ ๆ กับเครื่องบินรบเอฟ-16 น้ำหนักตัวถึง 200 กิโลกรัม เฉพาะส่วนหัวรวมถึงจะงอยปากด้วยก็ยาวถึง 3 เมตรแล้ว จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่บินได้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา และเชื่อว่าชอบที่จะกินลูกโดโนเสาร์เป็นอาหาร ตามหลักฐานจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์ในยุคหลังนั้นมีขนปกคลุมลำตัวบาง ๆ ด้วย จึงเชื่อกันว่าน่าจะเป็นสัตว์เลือดอุ่น ทั้งนี้มีไว้เพื่อเป็นเสมือนฉนวนกักความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น เจโฮลอปเทอรัส ที่พบในจีน ซึ่งมีลักษณะปากกว้างคล้ายกบ เป็นต้น เทอโรซอร์ใช้ลักษณะการบินแบบเดียวกับค้างคาว เมื่ออยู่กับพื้นจะใช้วิธีการทะยานตัวออกไปจากท่ายืนสี่เท้าโดยรยางค์ของร่างกาย มีตีนขนาดเล็กเพื่อช่วยลดแรงต้าน เมื่อบินสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางการบินได้เล็กน้อย เช่น การหดกล้ามเนื้อปีก หรือขยับข้อเท้าเข้าและออก การเปลี่ยนมุมกระดูกข้อปีก เป็นต้น เมื่อเทียบกับนกแล้ว เทอโรซอร์ยังมีกล้ามเนื้อสำหรับการบินมากกว่า และมีสัดส่วนของน้ำหนักร่างกายมากกว่า แม้แต่สมองก็ดูเหมือนจะวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อการบิน โดยมีกลีบสมองขยายใหญ่ขึ้นเพื่อประมวลผลข้อมูลประสาทรับความรู้สึกที่ซับซ้อนจากเยื่อปีก เทอโรซอร์มีไหล่ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และลักษณะปีกของเทอโรซอร์ประกอบด้วยเยื่อที่ยึดติดกับสีข้างจากไหล่ไล่ลงไปจนถึงข้อเท้าแต่ละข้าง และเหยียดออกโดยนิ้วที่สี่ที่ยืดยาวไปอย่างน่าทึ่งไปตามขอบหน้าของปีก เยื่อปีกร้อยรัดไปด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเลือด และเสริมความแข็งแกร่งด้วยพังผืด ลักษณะของเทอโรซอร์นั้นมีความแตกต่างหลากหลายกันมาก บางจำพวกมีหงอนด้วย สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับดึงดูดเพศตรงข้าม โดยว่ามีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป เช่น ทูนแพนแดกทิอุส แนวีแกนส์ ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในยุคแรก ๆ และ ทาเลสไซโครมีอุส เซที ที่มีช่วงปีกกว้าง 4 เมตร เชื่อว่ามีหงอนที่มีสีสันที่สดใส จะงอยปากก็มีความหลากหลายแตกต่างออกไปตามแต่ลักษณะการใช้หาอาหาร เช่น บางชนิดมีฟันแหลมคมเต็มปากเห็นได้ชัดเจนใช้สำหรับการจับปลาในน้ำ เช่น แอนเฮงรา พิสเคเตอร์ หรือ ซันแกริปเทอรัส ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่มีจะงอยปากยาวและงอนขึ้นใช้สำหรับสำรวจและช้อนเอาสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีกระดูกสันหลังหรือครัสเตเชียนกินเป็นอาหาร หรือบางจำพวก หากินโดยการใช้วิธีการยืนในแหล่งน้ำเค็มตื้น ๆ แล้วใช้การกรองกินสัตว์ขนาดเล็ก ๆ จำพวกครัสเตเชียน เหมือนกับวิธีการกินของนกฟลามิงโกในยุคปัจจุบัน หรือบางสกุล เช่น นิกโตซอรัส ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในทะเลลักษณะคล้ายนกอัลบาทรอสที่มีระยะระหว่างปลายปีกสองข้างกว้างเกือบ 3 เมตร มีอัตราส่วนการร่อน หรือระยะทางที่เคลื่อนไปข้างหน้าได้ต่อการลดระดับลงทุกหนึ่งเมตร จัดเป็นนักร่อนชั้นดี และจากการพบลักษณะของซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์บางกลุ่มก็อาศัยอยู่รวมกันเป็นนิคมหรือคอโลนีเหมือนกับนกทะเลหลายชนิดในปัจจุบัน คือ ไคยัวฮารา โครบรัสกิอี โดยพบหลักฐานว่า ตายพร้อมกันถึง 47 ตัว หน้า 26-45, เทอโรซอร์ ปีกพิศวงสุดแสนพิศดาร โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ.

อาร์โคซอร์และเทอโรซอร์ · เทอโรซอร์และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อาร์โคซอร์และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

อาร์โคซอร์ มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.69% = 2 / (12 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาร์โคซอร์และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: