โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรฟินิเชียและอักษรอาหรับ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อักษรฟินิเชียและอักษรอาหรับ

อักษรฟินิเชีย vs. อักษรอาหรับ

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู. อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อักษรฟินิเชียและอักษรอาหรับ

อักษรฟินิเชียและอักษรอาหรับ มี 27 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บาอ์ชีนฎ๊อดกิเมลมีมย้อดลาเมดวาฟษาลษาอ์อายินอาเลฟทาฟดาเลทคอฟคออ์คาฟฆอยน์ซออ์ซายินซาดีซาเมกนูนเพ (ตัวอักษร)เรชเฮ (ตัวอักษร)เทท

บาอ์

บาอ์ (ب) เป็นอักษรตัวที่ 2 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู בอักษรซีเรียค ܒ อักษรอาหรับ (ب) ใช้แทนเสียงที่เกิดจาก ริมฝีปาก ก้อง ไม่มีลม (สัทศาสตร์สากล: หรือ /บ/) ตรงกับอักษรละติน “B” ในคำทับศัพท์จะแทนด้วย บ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

บาอ์และอักษรฟินิเชีย · บาอ์และอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ชีน

ชีน (Shin) เป็นอักษรตัวที่ 21 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ש‎ และอักษรอาหรับ ﺵ‎ ใช้แทนเสียงไม่ก้อง ออกตามไรฟัน หรือ อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Σ อักษรละติน S และอักษรซีริลลิก С และ Ш และอาจไปเป็นอักษร Sha ในอักษรกลาโกลิติก มาจากอักษรคานาอันไนต์ที่มาจากไฮโรกลิฟรูปพระอาทิตย์ ซึ่งใช้แทนเสียง หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ชีนและอักษรฟินิเชีย · ชีนและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ฎ๊อด

ฎ๊อด (ﺽ‎) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เน้น เกิดจากปุ่มเหงือก (emphatic voiced alveolar plosive; สัทอักษรสากล) เป็นเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาอาหรับ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ฎ๊อดและอักษรฟินิเชีย · ฎ๊อดและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

กิเมล

กิเมล (Gimel) เป็นอักษรตัวที่ 3 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ג อักษรอาหรับ (ج; ญีม /d͡ʒ/) และอักษรซีเรียค ܓ ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากเพดานอ่อน ไม่มีลม ชื่ออักษรนี้มาจากภาษาฟินิเชีย หมายถึง “อูฐ” ส่วนรูปอักษรคานาอันไนต์ เป็นรูปคล้ายบูมเมอแรง ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนด้วย ญ หรือ จญ์ เมื่อเป็นตัวสะกด หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

กิเมลและอักษรฟินิเชีย · กิเมลและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

มีม

มีม (meme) เป็นรูปแบบของ ความคิดทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์ หรือการปฏิบัติ ที่สามารถส่งผ่านจากจิตใจคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ผ่านการเขียน การพูด ท่าทาง พิธีกรรม ภาพล้อเลียน และมีคำศัพท์ต่างๆในภาพที่มีความหมายเชิงตลก หรือปรากฏการณ์ลอกเลียนแบบอื่น ๆ คำว่า meme ในภาษาอังกฤษ มาจากการผสมของคำว่า "gene" และคำภาษากรีกว่า μιμητισμός (หรือ การเลียนแบบบางอย่าง) ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ได้ถือว่า เป็นสิ่งที่คล้ายกันทางวัฒนธรรมสู่ยีน มีการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองแรงกระตุ้นที่เลือกเฟ้น นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ริชาร์ด ดอว์กินส์ ได้คิดคำว่า "meme" ขึ้นมาในหนังสือThe Selfish Gene (1976) ในแนวคิดเกี่ยวกับการอภิปรายทฤษฎีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการอธิบายการแพร่ของความคิดและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น มีมในหนังสืออย่างพวกเมโลดี คำพูดติดปาก แฟชั่น และเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบซุ้มโค้ง เป็นต้น.

มีมและอักษรฟินิเชีย · มีมและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ย้อด

ย้อด (Yod อาจสะกดเป็น Yud หรือ Yodh) เป็นอักษรตัวที่สิบของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู י‎, อักษรซีเรียค และอักษรอาหรับ ﻱ‎ (ยาอ์) แทนด้วยสัทอักษร อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก (Ι), อักษรละติน I, อักษรซีริลลิกสำหรับภาษายูเครนและภาษาเบลารุส І, (Ⲓ) และอักษรกอทิก eis (̹) เชื่อว่ามาจากอักษรภาพรูปมือ (จากภาษาอาหรับและภาษาฮีบรูสมัยใหม่, yad) หรืออาจจะมาจากอักษรไฮโรกลิฟรูปแขน หมวดหมู่:อักษรอาหรับ fa:ی ja:ي.

ย้อดและอักษรฟินิเชีย · ย้อดและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ลาเมด

ลาเมด (Lamed, Lamedh) เป็นอักษรตัวที่ 12 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ל และอักษรอาหรับ ل (ลาม لَامْ) ใช้แทนเสียง อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Λ อักษรละติน L และอักษรซีริลลิก Л เชื่อกันว่ามาจากไฮโรกลิฟรูปปฏักหรือต้นกก หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ลาเมดและอักษรฟินิเชีย · ลาเมดและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

วาฟ

วาฟ (Waw, Vav) เป็นอักษรตัวที่ 6 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู อักษรซีเรียค ܘ และอักษรอาหรับ و (วาว) ใช้แทนเสียง หรือ อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ϝ และ Υ อักษรอีทรัสคัน v และอักษรละติน F V, และ Y; V ต่อมาพัฒนาเป็น U และ W มาจากไฮโรกลิฟรูปห่วง และเป็นทฤษฎีของ ศรันย์ ซึ่งต้องการจะพิสูจน์ว่า เราสามารถเดินทางด้วยความเร็วแสงได้หรือไม่ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Waw (letter)#Arabic wāw.

วาฟและอักษรฟินิเชีย · วาฟและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ษาล

ษาล หรือ ซาล (ﺫ‎) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากฟัน และเป็นเสียงในลำคอ (voiced dental fricative; สัทศาสตร์สากล) เสียงนี้เป็นเสียงเดียวกับ th ในภาษาอังกฤษ แต่การถอดเป็นอักษรโรมันมักถอดเสียงนี้เป็น dh หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ษาลและอักษรฟินิเชีย · ษาลและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ษาอ์

ษาอ์ (ث) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับ ที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เกิดจากฟัน และเป็นเสียงในลำคอ (ثَاءْ) (สัทศาสตร์สากล) ในคำทับศัพท์จะแทนด้วย ษ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ษาอ์และอักษรฟินิเชีย · ษาอ์และอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อายิน

อายิน (Ayin) เป็นอักษรตัวที่ 16 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ע‎ และอักษรอาหรับ ع (อัยน์)‎ เริ่มแรกใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากคอหอยและเป็นเสียงเสียดแทรก มักแทนด้วยอักษรละติน ʿ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จากอักษรกรีก spiritus asper ʽ, อายินใช้แทนเสียงที่ต่างจาก /อ/ ซึ่งแทนด้วยอะลิฟ ในภาษาโซมาเลียแสดงอัยนฺด้วยอักษร c, และนักอียิปต์วิทยานิยมแทนเสียงนี้ด้วย c อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Omicron (Ο), และอักษรละติน O, รวมทั้งในอักษรซีริลลิกด้วย อักษรเหล่านี้ใช้แสดงเสียงสระทั้งหมด อักษรนี้มาจากภาษาเซมิติกตะวันตก ʿen "ตา" (ในภาษาอาหรับสมัยใหม่แปลตรงตัวว่า "ตาในภาษาฮีบรู: ayin), และอักษรคานาอันไนต์ รูปตาที่อาจจะมาจากไฮโรกลิฟ (ỉr) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

อักษรฟินิเชียและอายิน · อักษรอาหรับและอายิน · ดูเพิ่มเติม »

อาเลฟ

อาเลฟ (Aleph) เป็นอักษรตัวแรกของอักษรฮีบรู ตรงกับอักษรอาหรับ (ا; “อลิฟ”) อักษรกรีก “อัลฟา” และอักษรละติน “A” พัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย ʾāleph ซึ่งมาจากอักษรคานาอันไนต์ ʾalp “วัว” อักษรนี้ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง /ʔ/ หรือเสียงสระอา เพื่อแสดงว่าอลิฟนั้นแทนเสียงพยัญชนะหรือสระจึงเพิ่มฮัมซะฮ์ (ء) ขึ้นมา เรียกว่า ฮัมซะตุลก็อฏอิ ฮัมซะฮ์ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเต็มตัวเท่ากับอักษรอื่น ๆ เพราะมักจะใช้คู่กับตัวพาคือ วาว (و), ยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) และอลิฟ (ا) อลิฟใช้คู่กับฮัมซะฮ์เมื่อเป็นพยางค์แรกของคำและประสมสระเสียงสั้น โดยอยู่ข้างบน (أ) เมื่อเป็นเสียงสระอะหรืออุ และอยู่ข้างล่าง (إ) เมื่อเป็นเสียงสระอิ ถ้าอลิฟเป็นสระเสียงยาวจะไม่แสดงฮัมซะฮ์ ฮัมซะฮ์ชนิดที่ 2 ฮัมซะตุลวัศลิ ใช้เฉพาะกับหน่วยเสียงแรกของคำว่า ال (อัล) อันเป็นคำกำหนดชี้เฉพาะหรือคำในกรณีใกล้เคียงกัน ต่างจากฮัมซะฮ์ชนิดแรกตรงที่ว่า จะถูกยกเลิกเมื่อมีสระอยู่ข้างหน้า ฮัมซะฮ์ชนิดนี้ใช้อะลิฟเป็นตัวพาเท่านั้น ปกติจะไม่เขียนอักษรฮัมซะฮ์ แต่จะเขียนอลิฟเพียงอย่างเดียว อลิฟมัดดะ (alif madda) ใช้ในกรณีที่อะลิฟ 2 ตัวเขียนติดกัน (เสียงอา) จะเขียนอะลิฟในรูป (آ) เช่น القرآن (อัลกุรอาน) อลิฟมักศูเราะฮ์ (alif maqsūrah) รูปร่างเหมือนตัวยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอาเช่นเดียวกับอลิฟ ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนฮัมซะฮ์ด้วย อ์ เมื่อเป็นตัวสะก.

อักษรฟินิเชียและอาเลฟ · อักษรอาหรับและอาเลฟ · ดูเพิ่มเติม »

ทาฟ

ทาฟ (Taw, Tav, Taf) เป็นอักษรตัวที่ 22 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ת อักษรอาหรับ (ت; ตาอ์) เริ่มแรกใช้แทนเสียงที่เกิดจากปุ่มเหงือก ไม่ก้อง ไม่มีลม (สัทศาสตร์สากล) อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้ พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Τ” อักษรละติน “T” และอักษรซีริลลิก “Т” ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนด้วย ต หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ทาฟและอักษรฟินิเชีย · ทาฟและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ดาเลท

ดาเลท (Daleth) เป็นอักษรตัวที่ 4 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู (ד‎) อักษรอาหรับ (ﺩ‎; ดาล) และอักษรซีเรียค (ܕ) ใช้แทนเสียงก้องไม่มีลม เกิดจากปุ่มเหงือก (voiced alveolar plosive; สัทอักษรสากล) อักษรนี้มาจากไฮโรกลิฟรูปประตู (dalt ภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็น delet) ส่วนอักษรคานาอันไนต์เรียกปลา (digg ภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็น dag) อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Δ ” อักษรละติน “D” และอักษรซีริลลิก “Д” หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ดาเลทและอักษรฟินิเชีย · ดาเลทและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

คอฟ

คอฟ (Qoph, Qop) เป็นอักษรตัวที่ 19 ของอักษรตะกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ק‎ และอักษรอาหรับ ق (ก๊อฟ)‎ ใช้แทนเสียงเน้นจากคอหอย เกิดที่เพดานอ่อน หรือจากลิ้นไก่ อักษรตัวนี้กลายเป็นอักษรละติน Q และอักษรกรีก มาจากอักษรภาพรูปลิงที่แสดงลำตัวและหาง (ในภาษาฮีบรู, Qoph, สะกดด้วยอักษรฮีบรูเป็น קוף, หมายถึง "ลิง" และ K'of ในภาษาอียิปต์โบราณหมายถึงลิงชนิดหนึ่ง) หรืออาจจะมาจากอักษรภาพรูปหัวและคอของคน (Qaph ในภาษาอาหรับหมายถึงลำคอ) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Qoph#Arabic qāf.

คอฟและอักษรฟินิเชีย · คอฟและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

คออ์

คออ์ (خ /x/) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เกิดจากเพดานอ่อน และเป็นเสียงในลำคอ (voiceless velar fricative; สัทอักษรสากล) ภาษากลุ่มเซมิติกทางใต้ แยกเสียง ح และ خ เช่นเดียวกับภาษาอาหรับ และมีอักษรแทนเสียงนี้ในอักษรเอธิโอเปีย (Ḫarm ኀ) และอักษรอาระเบียใต้ด้วย หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

คออ์และอักษรฟินิเชีย · คออ์และอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

คาฟ

คาฟ (Kaph, Kap, Kaf) เป็นอักษรตัวที่ 11 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู כ‎ และอักษรอาหรับ ك (ก๊าฟ كَافْ) การออกเสียงในสัทอักษรเป็น อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก (Κ), อักษรละติน K, และเป็นอักษรซีริลลิก (К) คาดว่าอักษรกาฟมาจากอักษรภาพรูปมือ (ทั้งในภาษาฮีบรูสมัยใหม่และภาษาอาหรับสมัยใหม่ kaph หมายถึงฝ่ามือ) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

คาฟและอักษรฟินิเชีย · คาฟและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ฆอยน์

ฆอยน์ (ﻍ‎) เป็นอักษรอาหรับ 1 ใน 6 ตัวที่เพิ่มจากอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากเพดานอ่อน และเป็นเสียงเสียดแทรก เสียงนี้มีการแยกเป็นหน่วยเสียงต่างหากในภาษาอาหรับ ภาษายูการิติก และสำเนียงเก่าของภาษาคานาอันไนต์ ส่วนสำเนียงที่ใหม่กว่านี้และภาษาฮีบรูติเบอเรียนได้รวมเสียงนี้เข้ากับอัยนฺอย่างสมบูรณ์ อักษรอาระเบียใต้ยังคงมีสัญลักษณ์สำหรับเสียง ġ, บางครั้งใช้แทนเสียง ในคำยืมในภาษาอาหรับ เช่น คำ Ingliizi (إنغليزي) ที่หมายถึง อังกฤษ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ฆอยน์และอักษรฟินิเชีย · ฆอยน์และอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ซออ์

ซออ์ (ﻅ‎) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับ ที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากฟัน และเป็นเสียงในลำคอ (pharyngealized voiced dental fricative; สัทศาสตร์สากล) หรือ เสียงก้อง เกิดจากปุ่มเหงือก และเป็นเสียงในลำคอ (voiced alveolar fricative; สัทศาสตร์สากล) เสียงนี้เป็นเสียงเน้นหนักของ z คล้ายกับเสียงของ ﺫ‎ หรือ ﺯ‎ ในภาษาเปอร์เซีย ใช้กับคำยืมจากภาษาอาหรับเท่านั้น เสียงนี้ยังเป็นเสียงที่ใช้น้อยในภาษาอาหรับด้วย จากรากศัพท์ 2,967 คำที่รวบรวมโดย Wehr (1952) รากศัพท์ที่มีเสียงนี้มีเพียง 42 คำ คิดเป็นร้อยละ 1.4 หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ซออ์และอักษรฟินิเชีย · ซออ์และอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ซายิน

ซายิน (Zayin) เป็นอักษรตัวที่ 7 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ז‎อักษรซีเรียค ܙ และอักษรอาหรับ ﺯ‎ (ซัย) ใช้แทนเสียงก้อง เสียดแทรก เกิดจากปุ่มเหงือก อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ζ, อักษรอีทรัสคัน z, อักษรละติน Z และอักษรซีริลลิก З รูปอักษรคานาอันไนต์เป็นรูปดาบหรืออาวุธอื่น ๆ ส่วนไฮโรกลิฟเป็นรูปโซ่ตรวน หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ซายินและอักษรฟินิเชีย · ซายินและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ซาดี

ซาดี (Tsade) เป็นอักษรตัวที่ 18 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรูצ‎ และอักษรอาหรับ ص (ศอด صَادْ)‎ เสียงเริ่มแรกของอักษรนี้น่าจะเป็น แต่ต่อมาเสียงนี้ต่างออกไปในภาษาตระกูลเซมิติกสมัยใหม่ มีที่มาจากอักษรคานาอันไนต์สามตัว ภาษาอาหรับยังคงแยกหน่วยเสียงเหล่านั้นเป็นอักษรสามตัวคือ ṣād และ ṭāʼ ใช้แสดงเสียงต่างกันสามเสียง (ḍād, ẓāʼ) ในภาษาอราเมอิก เสียงใกล้เคียงของอักษรนี้ถูกแทนที่ด้วย ʻayin และ ṭēt ดังนั้น ในภาษาฮีบรู ereẓ ארץ (โลก) เป็น arʻāʼ ארעא ในภาษาอราเมอิก.

ซาดีและอักษรฟินิเชีย · ซาดีและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ซาเมก

ซาเมก (Samekh) เป็นอักษรตัวที่ 15 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรแอราเมอิก อักษรฮีบรู ס อักษรซีเรียค ܣ และอักษรอาหรับ س (ซีน) ใช้แทนเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ξ มาจากอักษรคานาอันไนต์ที่มาจากไฮโรกลิฟรูปกระดูก ซามเมก.

ซาเมกและอักษรฟินิเชีย · ซาเมกและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

นูน

นูน (Nun) เป็นอักษรตัวที่ 14 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรูנ‎ และอักษรอาหรับ ﻥ‎ และเป็นอักษรตัวที่สามของอักษรทานะ (ނ)- มีชื่อว่านูนุ แทนด้วยสัทอักษร: อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก (Ν), อักษรอีทรัสคัน ̍, อักษรละติน N, และอักษรซีริลลิก Н คาดว่านุนมาจากอักษรภาพรูปงู (คำว่างูในภาษาฮีบรู, nachash เริ่มด้วยนุน และคำว่างูในภาษาอราเมอิกคือ nun) หรือปลาไหล แต่บางกลุ่มเชื่อว่ามาจากไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์รูปปลาในน้ำ (ในภาษาอาหรับ, nūn หมายถึงปลาหรือวาฬ).

นูนและอักษรฟินิเชีย · นูนและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

เพ (ตัวอักษร)

เพ (Pe) เป็นอักษรตัวที่ 17 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู פ‎ และอักษรอาหรับ ف (ฟาอ์) ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เกิดจากริมฝีปาก ไม่มีลม: IPA อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก Pi (Π), อักษรละติน P, และอักษรซีริลลิก Pe จุดกำเนิดมาจากอักษรภาพรูปปาก (ภาษาฮีบรู pe; ภาษาอาหรับ, fem) พเพ en:Pe (letter)#Arabic fāʼ.

อักษรฟินิเชียและเพ (ตัวอักษร) · อักษรอาหรับและเพ (ตัวอักษร) · ดูเพิ่มเติม »

เรช

เรช (Resh) เป็นอักษรตัวที่ 20 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู (ר) และอักษรอาหรับ (ﺭ‎; รออ์) ใช้แทนเสียงรัวลิ้น (rhotic consonants; สัทอักษรสากล หรือ) แต่ในภาษาฮีบรู จะใช้แทนเสียง และ ด้วย รูปร่างของอักษรนี้ในอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่จะคล้ายกับตัวดาล อักษรซีเรียคใช้ตัวเดียวกัน แยกจากกันโดยใช้จุด r มีจุดอยู่ข้างบน ส่วน d มีจุดอยู่ข้างล่าง อักษรอาหรับ ﺭ‎ มีหางยาวกว่า ﺩ‎ ส่วนในอักษรอราเมอิก และอักษรฮีบรู ที่เป็นอักษรทรงเหลี่ยม ר เป็นขีดทรงโค้งอันเดียว ส่วน ד เป็นขีด 2 ขีดทำมุมกัน อักษรนี้มาจากไฮโรกลิฟรูปหัว (ฮีบรู rosh; อาหรับ ra's) ตัวนี้ภาษาเซมิติกตะวันออกเรียก riš ซึ่งอาจเป็นคำอ่านของอักษรรูปลิ่มในภาษาอัคคาเดีย อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Ρ” อักษรละติน “R” และอักษรซีริลลิก “ Р” รเรช ar:ر fa:ر ms:Ra (huruf Arab).

อักษรฟินิเชียและเรช · อักษรอาหรับและเรช · ดูเพิ่มเติม »

เฮ (ตัวอักษร)

เฮ (He) เป็นอักษรตัวที่ห้าในอักษรตระกูลเซมิติก รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ה‎, อักษรซีเรียค ܗ และอักษรอาหรับ ه‎; ฮาอ์ /h/) ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เสียดแทรก เกิดที่สายเสียง อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก Epsilon, อักษรอีทรัสคัน ̄, อักษรละติน E และอักษรซีริลลิก Ye เฮในอักษรฟินิเชียใช้แทนเสียงพยัญชนะ แต่อักษรลูกหลานอื่น ๆ ใช้แทนเสียงสระ ในภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกโบราณ มีเสียงไม่ก้องและเป็นเสียงในลำคอสามเสียงคือ เกิดที่เพดานอ่อน ḫ เกิดที่สายเสียงและคอหอย ḥ ดังที่พบในอักษรอาระเบียใต้และอักษรเอธิโอปิก ในอักษรคานาอันไนต์, ḫayt และ ḥasir รวมเข้ากับ Heth "fence" ฮเฮ ms:Ha (huruf Arab).

อักษรฟินิเชียและเฮ (ตัวอักษร) · อักษรอาหรับและเฮ (ตัวอักษร) · ดูเพิ่มเติม »

เทท

เทท (Teth) เป็นอักษรตัวที่ 9 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ט‎, อักษรซีเรียค ܛ และอักษรอาหรับ (ﻁ; ฏออ์)‎ ใช้แทนเสียง ซึ่งเป็นเสียงพยัญชนะเน้น อักษรนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Theta (Θ) ต้นกำเนิดมาจากอักษรฟินิเชีย ชื่อ ṭēth หมายถึง "ล้อ" แต่อาจจะมาจากอักษรภาพชื่อ ṭab "ดี" ที่มาจากไฮโรกลิฟ nfr "ดี" หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Teth#Arabic Ṭāʼ.

อักษรฟินิเชียและเทท · อักษรอาหรับและเทท · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อักษรฟินิเชียและอักษรอาหรับ

อักษรฟินิเชีย มี 119 ความสัมพันธ์ขณะที่ อักษรอาหรับ มี 84 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 27, ดัชนี Jaccard คือ 13.30% = 27 / (119 + 84)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อักษรฟินิเชียและอักษรอาหรับ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »