โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อคิลลีส

ดัชนี อคิลลีส

ทิสมอบเกราะและโล่ที่เทพช่างเหล็กฮิฟีสตัสตีขึ้นแก่อคิลลีสลูกชาย อคิลลีส (Achilles, Akhilleus, Achilleus; ภาษากรีกโบราณ: Ἀχιλλεύς) เป็นวีรบุรุษในตำนานกรีกโบราณว่าด้วยเรื่องสงครามเมืองทรอย เป็นตัวละครหลักและนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ เป็นแก่นของแนวเรื่องหลักในมหากาพย์นั้น คือ "โทสะของอคิลลีส" อคิลลีสเป็นบุตรของท้าวพีลูส กษัตริย์ชาวเมอร์มิดอน กับนางพรายทะเลเธทิส เกิดที่เมืองฟาร์สะลา แคว้นเทสสะลี แต่เดิมนางพรายทะเลเธทิสเป็นที่หมายปองของเทพซูสและโพไซดอน แต่ภายหลังโปรมีธูสแจ้งคำพยากรณ์ต่อเทพทั้งสองว่า บุตรของเธทิสจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าบิดา เทพทั้งสองจึงยกนางให้แก่พีลูส เมื่ออคิลลีสเกิด เธทิสได้จุ่มร่างของบุตรลงในแม่น้ำสติกส์เพื่อให้เป็นคงกระพัน ร่างกายของอคิลลีสจึงแข็งแกร่ง ไม่มีอาวุธใดทำอันตรายได้ อย่างไรก็ดีขณะนางจุ่มร่างบุตร เธทิสใช้มือกุมข้อเท้าบุตรไว้ ดังนั้นทั่วร่างอคิลลีสจึงมีเพียงข้อเท้าที่ไม่ได้อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นจุดอ่อน ซึ่งในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า "Achilles' heel" หมายถึง จุดอ่อน อคิลลีสได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งนักรบ เป็นผู้ที่มีฝีมือการต่อสู้ฉกาจฉกรรจ์มาก เมื่อพระเจ้าอกาเมมนอนรวบรวมทัพเพื่อยกไปตีเมืองทรอย จึงได้เชิญตัวอคิลลีสไปด้วย คำพยากรณ์มีว่า กรีกไม่มีวันเอาชนะทรอยได้หากปราศจากอคิลลีส กระนั้นก็มีคำพยากรณ์สำหรับอคิลลีสว่า เขาจะสิ้นชีวิตหากสังหารแม่ทัพทรอย คือ เฮกเตอร์ อคิลลีสไปถึงเมืองทรอยด้วยอายุเพียง 10 ขวบ และตั้งกองทัพอยู่ชายฝั่งเมืองทรอยนานถึง 15 ปี ระยะแรกอคิลลีสยังไม่มีความมุ่งมาดที่จะเอาชนะ จนกระทั่งเปรโตคัส เพื่อนรักอย่างยิ่งของอคิลลิส ถูกเฮกเตอร์สังหาร อคิลลิสจึงมีโทสะอย่างมากในการรบ จึงได้ขอดวลเดี่ยวกับเฮกเตอร์เพื่อล้างแค้นและสามารถสังหารเฮกเตอร์ได้ และลากศพของเฮกเตอร์ไปรอบ ๆ เมืองทรอยด้วยรถม้าเป็นการประจาน อคิลลีสเป็นผู้ที่บุกตะลุยเข้าไปในเมืองหลังจากเข้าเมืองได้ด้วยอุบายม้าไม้ของโอดิซูส และอคิลลีสก็ถูกสังหารจริง ๆ ตามคำทำนายด้วยลูกธนูที่ข้อเท้าจากการยิงของปารีส เมื่ออคิลลีสเสียชีวิตไปแล้ว ได้ทิ้งชื่อไว้เป็นตำนานให้เลื่องลือ กล่าวกันว่า โล่ห์ของอคิลลีส (Shield of Achilles) ซึ่งเป็นโลห์ที่อคิลลีสใช้สู้กับเฮคเตอร์เป็นสิ่งที่ใครต่อใครต้องการแสวงหา และอเล็กซานเดอร์มหาราชก็นับถืออคิลลีสเป็นอย่างมาก โดยถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากอคิลลีส และพระองค์ยังออกตามหาหลุมศพของอคิลลีสรวมทั้งปรารถนาจะครอบครองโล่ห์ของอคิลลีสด้วย ซึ่งเชื่อว่าได้ถูกฝังอยู่ในหลุมศพของอคิลลี.

16 ความสัมพันธ์: พีลยูสภาษากรีกโบราณมหากาพย์สงครามกรุงทรอยอีเลียดอเล็กซานเดอร์มหาราชฮิฟีสตัสซูสปารีส (ทรอย)แม่น้ำสติกซ์โพรมีเทียส (แก้ความกำกวม)โพไซดอนโอดิสเซียสโฮเมอร์เฮกเตอร์ (ทรอย)เทพปกรณัมกรีก

พีลยูส

ีลยูส พีลยูส (Peleus,; Πηλεύς, Pēleus) ในเทพปกรฌัมกรีก เป็นกษัตริย์หนุ่มรูปงามและเป็นเจ้าของดาบศักดิ์สิทธิ์ซึ่งทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้ชนะในการรบทุกครั้ง มีชายาชื่อเททิส ทั้งสองได้ให้กำเนิดโอรสที่แสนเกรียงไกรยิ่งนัก คือ "อคิลลีส" นั่นเอง.

ใหม่!!: อคิลลีสและพีลยูส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีกโบราณ

ทเปิดเรื่องมหากาพย์ ''โอดิสซีย์'' ภาษากรีกโบราณ เป็นรูปแบบของภาษากรีกที่ใช้ในยุคกรีซโบราณ และกรีซยุคคลาสสิค ตลอดจนโลกยุคโบราณของอารยธรรมเมดิเตอเรเนียน ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่ 6..

ใหม่!!: อคิลลีสและภาษากรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์

มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.

ใหม่!!: อคิลลีสและมหากาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

ใหม่!!: อคิลลีสและสงครามกรุงทรอย · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: อคิลลีสและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: อคิลลีสและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ฮิฟีสตัส

ฟีสตัส (Ἥφαιστος) (Hephaestus) เป็นเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก (blacksmith) ช่างฝีมือ ช่างศิลป์ ประติมากร โลหะ โลหะวิทยา (metallurgy) ไฟและภูเขาไฟWalter Burkert, Greek Religion 1985: III.2.ii; see coverage of Lemnos-based traditions and legends at Mythic Lemnos) ภาคโรมัน คือ วัลแคน ในเทพปกรณัมกรีก ฮีฟีสตัสเป็นพระโอรสของซูสกับพระนางฮีรา หรือบางตำราก็ว่าท่านเกิดมาแต่เฉพาะเทวีฮีรา และมีแอฟโฟรไดทีเป็นชายา ฮิฟีสตัสเป็นเทพช่างตีเหล็ก ทรงประดิษฐ์อาวุธทั้งหมดของพระเจ้าบนโอลิมปัส พระองค์เป็นช่างตีเหล็กของเหล่าทวยเทพ และทรงได้รับการบูชาในศูนย์การผลิตและอุตสาหกรรมของกรีซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเอเธนส์ ลัทธิบูชาฮีฟีสตัสมีศูนย์กลางในเลมนอส ฮิฟีสตัสมีลักษณะเด่นคือเป็นเทพพิการ มีขาไม่สมประกอบ มีกริยาอาการเหมือนคนทุพพลภาพ และถือเครื่องมือช่างตลอดเวลา ท่านจึงได้รับฉายาเรียกหลายอย่างที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพ เช่น.

ใหม่!!: อคิลลีสและฮิฟีสตัส · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: อคิลลีสและซูส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส (ทรอย)

รูปปั้น''ปารีส'' ในพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม ปารีส (Paris) ในตำนานเทพปกรณัมกรีกโบราณ เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย โอรสของท้าวเพรียม จากวีรกรรมการชิงตัวนางเฮเลน ราชินีแห่งสปาร์ตามา ทำให้เกิดสงครามเมืองทรอย อันเป็นเหตุแห่งการล่มสลายของทรอยในท้ายที่สุด เขาเป็นผู้สังหารอคิลลีสโดยยิงธนูถูกที่ข้อเท้า ซึ่งเป็นจุดอ่อนของอคิลลีส ตามคำพยากรณ์ที่นางอัปสรธีทิส มารดาของอคิลลีสเคยทำนายไว้ และเขาก็ถูกสังหารโดยบุตรชายของอคิลลีสเอง หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: อคิลลีสและปารีส (ทรอย) · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสติกซ์

แม่น้ำสติกซ์ (Styx) เป็นแม่น้ำในเทพปกรณัมกรีกซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างพิภพกับโลกบาดาล (เขตแดนดังกล่าวมักเรียก เฮดีส อันเป็นพระนามของผู้ปกครอง) แม่น้ำสติกซ์ เฟลจิชัน (Phlegethon) แอคะรัน (Acheron) ลีธี (Lethe) และ โคซีตัส (Cocytus) ล้วนบรรจบกันที่ใจกลางโลกบาดาลตรงบึงใหญ่ ซึ่งบ้างเรียก สติกซ์ ตามเฮโรโดตัส แม่น้ำสติกซ์กำเนิดใกล้เฟนอช (Feneos) เทวดาทั้งหลายต่างถูกผูกมัดด้วยแม้น้ำสติกซ์ และปฏิญาณสาบานต่อมัน สาเหตุเพราะระหว่างสงครามไททัน สติกซ์ เทวดาแห่งแม่น้ำสติกซ์ เข้ากับซูส หลังสงคราม ซูสประทานสัญญาว่าให้คำปฏิญาณทั้งหมดสาบานแก่พระนาง เชื่อว่า แครอน คนแจว เป็นผู้พาดวงวิญญาณเพิ่งตายข้ามแม่น้ำนี้เข้าโลกบาดาล แม้ในแหล่งกรีกและโรมันต้นฉบับ ตลอดจนในดันเต แครอนแจวในแม่น้ำแอคะรอน หมวดหมู่:เทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: อคิลลีสและแม่น้ำสติกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรมีเทียส (แก้ความกำกวม)

รมีเทียส (Prometheus) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อคิลลีสและโพรมีเทียส (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

ใหม่!!: อคิลลีสและโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสเซียส

อดิสเซียส หรือ โอดิสซูส (Ὀδυσσεὺς, โอ-ดุส-เซวส์) นอกจากนี้ยังรู้จักกันในชื่อภาษาละตินว่า ยูลิสซิส (Ulysses) เป็นตัวเอกในมหากาพย์เร่ืองโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ และยังมีบทบาทสำคัญในการสู้รบที่กรุงทรอย ซึ่งถ่ายทอดผ่านมหากาพย์อีเลียดของกวีคนเดียวกันอีกด้วย โอดิสเซียสเป็นบุตรของลาเออร์ทีส (Laërtes) กับแอนติคลีอา ต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของเมืองอิธาคาสืบต่อจากบิดา โดยมีภรรยาคือเพเนโลพี (Penelope) และมีบุตรคือเทเลมาคัส (Telemachus) โอดิสเซียสมีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านสติปัญญา และไหวพริบที่ว่องไว ปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ จึงได้รับฉายาเช่น polytropos- "many turns", "ผู้มีรอบมาก" หรือ polymētis - "ผู้มีแผนมาก", ผู้มีปัญญามาก แม้โอดิสเซียสจะมีบทบาทในมหากาพย์หลายเรื่อง โดยเฉพาะวัฏมหากาพย์ที่เกี่ยวกับกรุงทรอย แต่เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดใน nostos หรือ การเดินทางกลับบ้านของตน ที่กินเวลาถึงสิบปีหลังเสร็จสิ้นสงครามเมืองทรอ.

ใหม่!!: อคิลลีสและโอดิสเซียส · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: อคิลลีสและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮกเตอร์ (ทรอย)

'''เฮกเตอร์''' ในภาพยนตร์เรื่อง ''ทรอย'' ค.ศ. 2004 รับบทโดย อีริก บานา เฮกเตอร์ (Hectōr หรือคำกรีกโบราณว่า Ἕκτωρ) เจ้าชายแห่งเมืองทรอย เป็นวีรบุรุษในตำนานกรีกโบราณว่าด้วยเรื่องสงครามเมืองทรอย ชื่อมีความหมายว่า "คว้าอย่างรวดเร็ว" (holding fast) เขาเป็นโอรสของท้าวเพรียมและนางเฮคคิวบา ผู้ครองเมืองทรอย ณ เชิงขุนเขาไอดา เป็นพี่ชายของปารีส ผู้ชิงตัวนางเฮเลนมาจากเมนนิลิอัส เฮกเตอร์ได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในเก้าผู้ยิ่งใหญ่ (The Nine Worthies) ซึ่งประกอบด้วยความกล้าหาญและเกียรติยศ ดังนั้นไม่ว่าเขาจะเห็นด้วยกับการกระทำของน้องชายหรือไม่ แต่ก็นำทัพออกปกป้องบ้านเมืองและครอบครัวอย่างเต็มกำลังเลยทีเดียว ในสงครามเมืองทรอย เฮกเตอร์ได้ประลองกับอจักซ์ ผู้มีฉายาว่าจอมพลัง เป็นเวลาถึงวันกับคืนโดยไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ ต่อมาทั้งสองได้ชื่นชมกันและกัน เฮกเตอร์มอบดาบแก่อจักซ์ ส่วนอจักซ์มอบเข็มขัดให้เป็นที่ระลึก ระหว่างสงคราม นักรบฝ่ายกรีกชื่อ อคิลลีส ผิดใจกับแม่ทัพอักกะเมมนอน จึงถอนตัวออกจากการรบ ทำให้ทัพกรีกเกือบพ่ายแพ้ ปโตรกลัสนำชุดเกราะของอคิลลีสมาสวมและนำทัพเมอร์มิดอนออกรบ เฮกเตอร์เข้าใจผิดว่าปโตรกลัสคืออคิลลีส จึงเข้าสู้ด้วยเต็มกำลัง และสังหารปโตรกลัสได้ ทำให้อคิลลีสโกรธจัดและกลับเข้าร่วมรบอีกครั้ง อคิลลีสสามารถสังหารเฮกเตอร์ได้ และใช้เข็มขัดของอจักซ์มัดร่างของเฮกเตอร์ไว้กับรถม้าลากกลับค่าย ไม่ยอมคืนศพให้ฝ่ายทรอยตามธรรมเนียมการรบ จนภายหลัง ท้าวเพรียมผู้ชราลอบเข้าค่ายกรีกเพื่อวิงวอนขอร่างของเฮกเตอร์คืน อคิลลีสจึงใจอ่อนยอมมอบให้.

ใหม่!!: อคิลลีสและเฮกเตอร์ (ทรอย) · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: อคิลลีสและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Achilles

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »