โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หลักข้อเชื่อของอัครทูต

ดัชนี หลักข้อเชื่อของอัครทูต

หลักข้อเชื่อของอัครทูต, คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย (Symbolum Apostolorum/Symbolum Apostolicum;Apostle’s creed) หรือ “หลักข้อเชื่อของอัครธรรมทูต” บางครั้งเรียกว่า “สัญลักษณ์ของอัครทูต” ชาวคาทอลิกเรียกว่า "บทข้าพเจ้าเชื่อ" เป็นคำแถลงเกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ยุคแรก ซึ่งคำแถลงลักษณะนี้เรียกว่า creed (หลักข้อเชื่อ) หรือ symbol (สัญลักษณ์) หลักข้อเชื่อนี้มีปรากฏใช้ในหลายนิกายทั้งในพิธีกรรมและตำราคำสอน และมักพบมากที่สุดในคริสตจักรตะวันตกที่เน้นพิธีกรรม คือคริสตจักรละติน ลูเทอแรน แองกลิคัน และออทอร์ดอกซ์ตะวันตก ตลอดจนเพรสไบทีเรียน เมทอดิสต์ และคริสตจักรคองกริเกชันแนล หลักข้อเชื่อของอัครทูตเป็นข้อความเชื่อที่อิงกับแนวคิดทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ จดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม่ และบางส่วนจากพันธสัญญาเดิม หลักข้อเชื่อนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากหลักข้อเชื่อโรมัน เพราะในเนื้อหาไม่ได้กล่าวถึงหรือแก้ปัญหาประเด็นปัญหาทางคริสตวิทยาดังที่ปรากฏในหลักข้อเชื่อไนซีนและหลักข้อเชื่ออื่น ๆ ของคริสตชนที่เกิดขึ้นในยุคหลัง เช่น ปัญหาความเป็นพระเจ้าของพระเยซูหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชาวคริสต์ยุคแรก ๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตอย่างลัทธิเอเรียสและลัทธิเอกภาพนิยมจึงยอมรับหลักข้อเชื่อนี้ด้วย ชื่อ “หลักข้อเชื่อของอัครทูต” อาจจะเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตามความเชื่อของคริสตชนที่ว่าอัครทูตทั้งสิบสองคนเป็นผู้แต่งข้อต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดยืนยันได้ว่าความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงMcGrath, Alister E., Christian Theology: An Introduction", Singapore: Blackwell Publisher, 2007, p. 14.

48 ความสัมพันธ์: พระบุตรพระเป็นเจ้าพระวรสารพระวิญญาณบริสุทธิ์พระผู้สร้างพระคริสต์พระนางมารีย์พรหมจารีพระเยซูพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์พระเจ้าพระบิดาพระเป็นเจ้าพันธสัญญาใหม่พันธสัญญาเดิมการพิพากษาครั้งสุดท้ายการฝังพระเยซูการมาครั้งที่สองการอธิษฐานในศาสนาคริสต์การคืนพระชนม์ของพระเยซูการตรึงพระเยซูที่กางเขนการเสด็จสู่แดนผู้ตายลัทธิเอเรียสศาสนาคริสต์ยุคแรกศาสนาคริสต์ตะวันออกศาสนาคริสต์ตะวันตกสภาคริสตจักรในประเทศไทยสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยสวรรค์หลักข้อเชื่อไนซีนอัครทูตอาเมนอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเจ้าคริสตวิทยาคริสตจักรคริสตจักรละตินคริสตจักรแองลิกันในประเทศไทยป็อนติอุส ปีลาตุสนอกรีตนิกายลูเทอแรนแองกลิคันโรมันคาทอลิกโรมันคาทอลิกในประเทศไทยโลกโปรเตสแตนต์โปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเพรสไบทีเรียนเทววิทยาศาสนาคริสต์เทศกาลเพนเทคอสต์เขตมิสซังกรุงเทพฯ

พระบุตรพระเป็นเจ้า

ระเจ้าพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ประทับบนพระกุมารเยซู วาดโดย บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโย ราวคริสต์ทศวรรษ 1670 ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนส่วนมากซึ่งถือแนวคิดแบบตรีเอกภาพนิยมถือว่า พระบุตรพระเป็นเจ้า หรือ พระบุตรของพระเจ้า (Son of God) หมายถึงพระเยซู โดยมีพระยาห์เวห์เป็นพระเจ้าพระบิดา โดยนัยนี้ พระเยซูมีสถานะเป็นพระเจ้าพระบุตรด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนกลุ่มอตรีเอกภาพนิยม (เช่น พยานพระยะโฮวา) แม้จะถือว่าพระเยซูคือพระบุตรของพระเป็นเจ้าเช่นกัน แต่ไม่ยอมรับว่าเป็นพระเจ้าพระบุตร ในประวัติศาสตร์ชาติต่าง ๆ จักรพรรดิมักถือว่าตนเองคือพระโอรสของเทพเจ้าหรือโอรสสวรรค์ จักรพรรดิเอากุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมันก็อ้างว่าตนเองมีพระราชบิดาบุญธรรมคือเทพเจ้า จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์และจักรพรรดิโดมิเชียนเรียกตนเองว่า "ดีวีฟีลิอุส" (Divi filius โอรสเทพเจ้า) แต่ความเชื่อนี้ต่างจาก "พระบุตรพระเป็นเจ้า" ที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ในพันธสัญญาใหม่ระบุถึงการเรียกพระเยซูว่า "พระบุตรของพระเจ้า" อยู่หลายครั้งเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า นับตั้งแต่การเสด็จลงมารับสภาพมนุษย์จนถึงการถูกตรึงที่กางเขน เช่น เมื่อพระเยซูทรงรับบัพติศมาเสร็จก็มีพระวจนะของพระเจ้าดังมาจากฟ้าว่า "ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา" สาวกของพระเยซูก็เรียกพระเยซูว่าพระบุตรของพระเจ้.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระบุตรพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระวิญญาณบริสุทธิ์

ระวิญญาณบริสุทธิ์ในรูปนกพิราบล้อมรอบด้วยบรรดาทูตสวรรค์ วาดโดยกอร์ราโด จีอากวินโต ราวคริสต์ทศวรรษ 1750 พระวิญญาณบริสุทธิ์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระจิต (ศัพท์คาทอลิกและออร์ทอดอกซ์) (Holy Spirit; Holy Ghost) เป็นวิญญาณชนิดหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม อันได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม แต่แต่ละศาสนาก็มีความเชื่อเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์แตกต่างกัน บุคคลผู้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะมีความคิดความอ่านไปในวิถีทางเดียวกับพระเจ้า คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ (นิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์) เชื่อเรื่องตรีเอกภาพ โดยถือว่าพระเจ้าพระองค์เดียวนั้นทรงมีสามพระบุคคลแตกต่างกัน คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงถือพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้าด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนอีกหลายนิกาย (เช่น พยานพระยะโฮวา) รวมทั้งศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ (คือชาวยิวและชาวมุสลิม) ก็ไม่ยอมรับความเชื่อนี้.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระวิญญาณบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสต์

รูป ''พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ'' ที่อารามนักบุญแคเธอริน พระพักตร์ของพระเยซูสองฝากแสดงอารมณ์ต่างกัน สื่อว่าพระเยซูมีสองธรรมชาติคือเป็นพระเป็นเจ้าและเป็นมนุษย์ในบุคคลเดียว''God's human face: the Christ-icon'' by Christoph Schoenborn 1994 ISBN 0-89870-514-2 page 154''Sinai and the Monastery of St. Catherine'' by John Galey 1986 ISBN 977-424-118-5 page 92 พระคริสต์ (Christ; Χριστός, คริสตอส) ในศาสนายูดาห์เรียกว่าพระเมสสิยาห์ หมายถึง ผู้ได้รับเจิม ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซูJesus of history, Christ of faith by Thomas Zanzig 2000 ISBN 0-88489-530-0 คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน คือผู้ที่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกทำนายไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ดังนั้นชาวคริสต์จึงมักเรียกพระเยซูว่า พระเยซูคริสต์ ซึ่งหมายถึง พระเยซูผู้ได้รับเจิม ในปัจจุบันคำว่าพระคริสต์จึงใช้หมายถึงพระเยซูชาวนาซาเรธไปโดยปริยาย ศาสนายูดาห์ไม่เคยยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ (แม้แต่พระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลก็กล่าวถึงเรื่องชาวยิวปฏิเสธพระเยซู) แต่คริสต์ศาสนิกชนก็ยังเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์และจะเสด็จมาอีกครั้งในการพิพากษาครั้งสุดท้าย การใช้คำว่า "คริสต์" เพื่อหมายถึงพระเยซูโดยเฉพาะยังปรากฏในชื่อสาขาวิชา เช่น เทววิทยาศาสนาคริสต์ คริสตวิทยา ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นศึกษาธรรมชาติและสถานะบุคคลของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบและบทจดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

จุลจิตรกรรม "พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" จากพระวรสารรับบิวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (Ascension of Jesus) เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูลอยขึ้นสวรรค์ต่อหน้าอัครทูตของพระองค์หลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนม์ได้ 40 วัน และมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งกล่าวขึ้นในขณะนั้นว่าเมื่อพระเยซูกลับมา ก็จะมีลักษณะเดียวกัน เมื่อพระเยซูขึ้นสวรรค์แล้วก็ไปประทับอยู่ทางขวาของพระบิดา พระวรสารในสารบบที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้คือพระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 24 และพระวรสารนักบุญมาระโกบทที่ 16 และยังปรากฏในหนังสือกิจการของอัครทูตบทที่ 1 ด้วย เหตุการณ์นี้ยังได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่อไนซีน คริสต์ศาสนิกชนจัดการเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์นี้ในวันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์ในแต่ละปี (จึงตรงกับวันพฤหัสบดีเสมอ) พิธีนี้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู (อีก 4 เหตุกาณ์ที่เหลือ คือ รับบัพติศมา จำแลงพระกาย ถูกตรึงกางเขน และคืนพระชนม์)Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 จดหมายของนักบุญเปาโล (ราว ค.ศ. 56-ค.ศ. 57) ได้กล่าวถึงพระเยซูบนสวรรค์และการเสด็จสู่แดนผู้ตายซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเป็นครั้งแรก แต่การอ้างอิงที่มีอิทธิพลที่สุดตามการกล่าวอ้างของโรเบิร์ต ดับเบิลยู ฟังค์ (Robert W. Funk) มาจาก คือพระเยซูขึ้นสวรรค์หลังจากที่มีพระบัญชาเอก (Great Commission) คือสี่สิบวันหลังจากที่คืนพระชนม์โดยมีอัครทูตเป็นพยาน ในพระวรสารนักบุญลูกา "การเสด็จขึ้นสวรรค์" เกิดขึ้นในค่ำวันอีสเตอร์Robert W. Funk and the Jesus Seminar.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบิดา

วาดพระเจ้าพระบิดาโดย Julius Schnorr ค.ศ. 1860 พระเจ้าพระบิดา (God the Father) เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าในศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาเพราะเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง ผู้บัญญัติธรรม และผู้ปกป้อง ส่วนทางศาสนาคริสต์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาตามเหตุผลเดียวกับศาสนายูดาห์ แต่ก็เป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรของพระองค์ด้วย คำว่า พระบิดา บ่งบอกว่าพระองค์เป็นผู้ทรงสรรพานุภาพ เป็นผู้ปกป้องดูแล เป็นสัพพัญญู และทรงอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งเกินกว่าการที่มนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจได้ เช่น นักบุญทอมัส อไควนัส นักปราชญ์แห่งคริสตจักรคนสำคัญเขียนสรุปไว้ว่าท่านเองก็ยังไม่เข้าใจพระบิดาเล.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระเจ้าพระบิดา · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพันธสัญญาใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาเดิม

ันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและพันธสัญญาเดิม · ดูเพิ่มเติม »

การพิพากษาครั้งสุดท้าย

การพิพากษาครั้งสุดท้าย(Last Judgment) หรือ วันแห่งการพิพากษา (Day of Judgment) หรือ วันโลกาวินาศ (Doomsday) ตามหลักอวสานวิทยาศาสนาคริสต์ (Christian eschatology) หมายถึง วันที่พระเป็นเจ้าทรงพิพากษาบรรดาประชาชาติต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการคืนชีพของบรรดาผู้ตายและการมาครั้งที่สองของพระเยซู หัวข้อนี้เป็นที่นิยมทำในงานศิลปะต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่าพระเจ้าทรงกำหนดวันหนึ่งไว้เพื่อจะพิพากษาโลก และวันแห่งการพิพากษานั้นจะยาวนานหนึ่งพันปี พระเจ้าจะทรงทำลายองค์ประกอบต่างๆของสังคมมนุษย์ที่เสื่อมทรามและกำจัดคนชั่ว ผู้รอดชีวิตจากอวสานของยุคนี้คือ "คนเป็น" ที่จะถูกพิพากษา ในช่วงการพิพากษาซึ่งยาวนานหนึ่งพันปีนั้น พระเยซูพร้อมด้วยชายและหญิง 144,000 คนที่ถูกปลุกขึ้นจากตายสู่ชีวิตในสวรรค์จะปกครองแผ่นดินโลก ในวันพิพากษา ซาตานและเหล่าผีปิศาจจะถูกจำกัดไม่ให้มีอำนาจครอบงำกิจการของมนุษ.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและการพิพากษาครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

การฝังพระเยซู

การบรรจุพระคริสต์'' โดย คาราวัจโจ การฝังพระเยซู (Burial of Jesus) หมายการฝังพระศพของพระเยซูภายหลังการตรึงกางเขนตามที่ถูกอธิบายไว้ในพันธสัญญาใหม่ และตามพระวรสารแล้ว ร่างของพระองค์ถูกจัดวางไว้ในหลุมโดยชายที่ชื่อว่าโยเซฟชาวอาริมาเธีย ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงในหัวข้อนี้ก็ได้แก่.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและการฝังพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การมาครั้งที่สอง

การมาครั้งที่สอง ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนและชาวมุสลิม การมาครั้งที่สอง (Second Coming) หมายถึงการที่พระเยซูจะเสด็จมาบนโลกอีกครั้งในอนาคต ความเชื่อนี้มีที่มาจากข้อความในพระวรสารในสารบบและถูกพัฒนาต่อมาตามอวสานวิทยาของศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม แนวคิดเรื่องการมาครั้งที่สองถือเป็นหลักความเชื่อสำคัญ จึงปรากฏรายละเอียดในหลักข้อเชื่อไนซีนว.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและการมาครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

การอธิษฐานในศาสนาคริสต์

มารีย์ชาวมักดาลากำลังอธิษฐาน วาดโดย Ary Scheffer (1795–1858). การอธิษฐาน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ การภาวนา (ศัพท์คาทอลิก) ในศาสนาคริสต์ (Christian prayer) หมายถึง ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งจิตปรารถนา ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและการอธิษฐานในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระเยซู

การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น, มาระโก, มาระโก). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่นๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” () ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์ ชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและการคืนพระชนม์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและการตรึงพระเยซูที่กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การเสด็จสู่แดนผู้ตาย

การเสด็จสู่แดนผู้ตาย (Descensus Christi ad Inferos, Harrowing of Hell) เป็นหลักความเชื่อหนึ่งในเทววิทยาคริสเตียนตามหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียนที่กล่าวว่า “พระเยซูเสด็จสู่แดนผู้ตาย” ซึ่งเป็นนรกภูมิแบบหนึ่งตามความเชื่อของชาวยิว แต่เพราะความที่ขาดการอ้างอิงที่ชัดแจ้งในบทบันทึกทางศาสนาทำให้ความเชื่อนี้ยังยังคงเป็นที่ถกเถียงและตีความแตกต่างกันอยู.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและการเสด็จสู่แดนผู้ตาย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเอเรียส

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงเผาหนังสือของลัทธิเอเรียส ลัทธิเอเรียส (Arianism) เป็นแนวคำสอนทางเทววิทยาของเอเรียส (ราว ค.ศ. 250–ค.ศ. 336) บาทหลวงที่สังคายนาไนเซียครั้งที่ 1 ปี..

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและลัทธิเอเรียส · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและศาสนาคริสต์ยุคแรก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันออก

นาคริสต์ตะวันออก เป็นกลุ่มคริสตจักรที่พัฒนาในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปตะวันออก เอเชียไมเนอร์ และตะวันออกกลาง ซึ่งนิยมใช้เพื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์ตะวันตกที่มีพัฒนาการในทวีปยุโรปตะวันตก การแยกระหว่างตะวันตก-ตะวันออกนี้มีมาตั้งแต่การแตกจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในบางครั้งก็นิยมเรียกคริสตจักรเหล่านี้ว่า "ออร์โธด็อกซ์" กลุ่มคริสตจักรที่อยู่ในจำพวกนี้ ได้แก.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและศาสนาคริสต์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันตก

นาคริสต์ตะวันตกหมายถึงกลุ่มคริสตจักรโรมันคาทอลิก คริสตจักรแองกลิคัน และคริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีคุณสมบัติร่วมกันย้อนได้ถึงสมัยกลาง คำนี้ใช้เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกับศาสนาคริสต์ตะวันออก ศาสนาคริสต์ตะวันตกส่วนใหญ่แล้วพบได้ในทวีปยุโรปตะวันตก สแกนดิเนเวีย ยุโรปกลาง ยุโรปใต้ บางส่วนของยุโรปตะวันออก แอฟริกาเหนือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย รวมเป็น 90% ของประชาคมชาวคริสต์ทั่วโลก คริสตจักรโรมันคาทอลิกเองมีผู้นับถือมากกว่าครึ่งหนึ่ง.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและศาสนาคริสต์ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สภาคริสตจักรในประเทศไทย

ริสตจักรในประเทศไทย (The Church of Christ in Thailand) เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 19.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและสภาคริสตจักรในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

ประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 คริสตชนคาทอลิกในประเทศไทยเรียก สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย (The Catholic Bishops' Conference of Thailand) เป็นองค์การปกครองสูงสุดของคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ประกอบด้วยมุขนายกชาวไทยซึ่งเป็นประมุขเขตมิสซังต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยทั้งสิบมิสซัง ปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 122/6-7 ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

หลักข้อเชื่อไนซีน

ักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเหล่ามุขนายกสมาชิกสภาสังคายนาถือคำประกาศหลักข้อเชื่อไนซีน หลักข้อเชื่อไนซีนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 177 (Nicene Creed; Symbolum Nicaenum) คือการประกาศศรัทธาและหลักข้อเชื่อที่ถูกใช้มากที่สุดในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ และเป็นบรรทัดฐานความเชื่อในคริสต์ศาสนากระแสหลักในปัจจุบัน แม้หลักข้อเชื่อฉบับนี้จะถูกเรียบเรียงขึ้นโดยสภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งเมื่อปี..

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่อไนซีน · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อาเมน

"อาเมน" ในอักษรซีรีแอก "อามีน" ในภาษาอาหรับ อาเมน (ศัพท์ยิว/ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ เอเมน (ศัพท์คาทอลิก) หรือ อามีน (ศัพท์มุสลิม) (Amen /ɑːˈmɛn/ หรือ /eɪˈmɛn/; אָמֵן /ɑːˈmɛn/; ἀμήν; آمين ah-meen) เป็นคำประกาศยืนยัน ที่พบในคัมภีร์ฮีบรูและคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ โดยมีความหมายว่า "ขอพระเจ้าทรงกระทำให้เป็นดังนั้น" ในศาสนายูดาห์ ใช้ในการกล่าวตอบกลับเมื่อจบคำอธิษฐาน ว่า อาเมน และในศาสนาคริสต์ ได้นำคำว่า อาเมน ไปใช้ในการนมัสการพระเจ้าด้วย ในศาสนาอิสลาม มีการใช้คำว่า อามีน ในการจบคำละหมาด ซึ่งเป็นมาตรฐานของมุสลิมทั่วโลก คำว่าอามีนยังมีความหมายอีกว่า "แท้จริง" (Verily) และ "อย่างแท้จริง" (Truly) นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เรียกขานที่แสดงถึงข้อตกลงที่เข้มแข็ง เช่น "อามีนสำหรั..." เป็นต้น คำว่า อาเมน ปรากฏหลักฐานที่ค้นพบครั้งแรกว่ามีการใช้ในหนังสือกันดารวิถี ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าเล่มของคัมภีร์ทานัคของโมเสส เขียนชึ้นในช่วงประมาณ 1405 ปีก่อนคริสตกาล โดยคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มเชื่อว่า เป็นคำที่มีรากศัพท์เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์ใช้ ตั้งแต่ยุคสมัยพระเจ้าทรงสร้างโลกแล้ว.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและอาเมน · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย

งของคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก ประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ระหว่างเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2544 คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม..1999 โดยได้รับการอนุมัติจากอัครบิดรอะเลคเซย์ที่ 2 แห่งมอสโก (อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวงขณะนั้น) โดยบาทหลวงโอเลก เชเรปานิน ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไท.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเจ้า

้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเจ้า (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้า (ศัพท์คาทอลิก) (I believe in GOD; Credo) เป็นวรรคที่ 1 ในหลักข้อเชื่อของอัครทูต และเป็นหลักธรรมคำสอนของคริสต์ศาสนาที่สำคัญที่สุด หรือที่เรียกว่าแก่นธรรมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

คริสตวิทยา

ริสตวิทยา (Christology) เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์สาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสถานะบุคคลของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารและบทจดหมายในพันธสัญญาใหม่Christology: A Biblical, Historical, and Systematic Study of Jesus by Gerald O'Collins 2009 ISBN 0-19-955787-X pages 1-3 โดยเฉพาะในแง่ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าพระบิดา และการเป็นพระผู้ไถ่มนุษย์ให้ได้รับความรอด โดยมีแนวคิดของเปาโลอัครทูตเป็นหลักสำคัญของวิชามาตั้งแต่สมัยอัครทูตChrist in Christian Tradition: From the Apostolic Age to Chalcedon' by Aloys Grillmeier, John Bowden 1975 ISBN 0-664-22301-X pages 15-19 คำว่า Christology มาจากภาษาΧριστός คริสตส หมายถึงพระคริสต์ และ -λογία โลเกีย แปลว่าคำอธิบาย Christology จึงหมายถึง.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและคริสตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรละติน

ริสตจักรละติน หรือ พระศาสนจักรละติน (Latin Church) คือคริสตจักรโรมันคาทอลิกเฉพาะถิ่นที่ใช้จารีตพิธีกรรมละติน มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับแต่สมัยอัครทูต และเป็นคริสตจักรหลักและดั้งเดิมในศาสนาคริสต์ตะวันตก ในปี..

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและคริสตจักรละติน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย

ริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย คือ คริสตจักรของนิกายแองกลิคันในประเทศไทย ปัจจุบันสังกัดสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและคริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ป็อนติอุส ปีลาตุส

ภาพความวุ่นวายของฝูงชนชาวยิวที่มาเรียกร้องให้ประหารพระเยซู ต่อหน้าปีลาตุส โดยศิลปินนิรนาม นี่คือตัวอย่างของผู้ที่มารับบทปีลาตุสในภาพยนตร์ แสดงโดยไมเคิล พาลิน ป็อนติอุส ปีลาตุส (Pontivs Pilatvs) เป็นข้าหลวงชาวโรมันผู้ว่าการมณฑลจูดีอา (ปัจจุบันคือประเทศอิสราเอลถึงเลบานอน) ในสมัยจักรพรรดิติแบริอุส และเป็นผู้สั่งประหารพระเยซูเพราะถูกเสียงกดดันจากฝูงชนชาวยิวที่ไม่เชื่อว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้าที่มาเรียกร้องในที่ว่าการอำเภอให้ออกหมายสั่งประหารพระเยซู คริสต์ศาสนานิกายเอธิโอเปียและนิกายโบสถ์ตะวันออกนับถือปีลาตุสเป็นนักบุญ หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หมวดหมู่:โรมัน หมวดหมู่:ศาสนาคริสต์.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและป็อนติอุส ปีลาตุส · ดูเพิ่มเติม »

นอกรีต

การสังหารหมู่ ณ Mérindol ใน ค.ศ. 1545 เป็นการลงโทษพวกนอกรีตทางศาสนาของฝรั่งเศส นอกรีต (heresy) หมายถึง ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี เป็นคำที่ใช้เรียกทรรศนะของผู้อื่นซึ่งขัดแย้งกับทรรศนะของตน ในโลกตะวันตกคริสตจักรโรมันคาทอลิกเริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงแนวความเชื่อใด ๆ ที่ขัดแย้งกับคำสอนต้องเชื่อที่คริสตจักรกำหนด ต่อมาคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือเป็นข้อกล่าวหาที่คนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกคนอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความเชื่อขัดกับผู้กล่าวหา มักใช้ในกรณีที่มีการละเมิดกฎศาสนาหรือแบบแผนประเพณี ในทางการเมืองนักการเมืองหัวรุนแรงก็อาจใช้คำนี้กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม คำนี้ยังมีความหมายโดยนัยถึงพฤติกรรมหรือความเชื่อที่อาจบ่อนทำลายศีลธรรมที่สังคมยอมรับกันอยู่ การนอกรีตต่างจากการละทิ้งความเชื่อซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อทางศาสนาหรือการเมืองเดิมของตน และต่างจากความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกว่าไม่เคารพพระเป็นเจ้าหรือศาสนา แต่การนอกรีตนั้นรวมถึงการเชื่อในศาสนาแต่ต่างจากรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ยอมรั.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและนอกรีต · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิกในประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ขณะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า พระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก มีการปกครองตนเองภายใต้การควบคุมของสันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468 ตามสถิติคาทอลิกในประเทศไท..

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและโรมันคาทอลิกในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์ในประเทศไทย

ริสตจักรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ในปี..

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เพรสไบทีเรียน

็อง กาลแว็ง นิกายเพรสไบทีเรียนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 431 (Presbyterianism) เป็นหนึ่งในนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีต้นกำเนิดที่สกอตแลนด์ ยึดถือแนวคิดทางเทววิทยาแบบลัทธิคาลวิน และมีการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน หลักเทววิทยาแบบเพรสไบทีเรียนเน้นเรื่องอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า สิทธิอำนาจของคัมภีร์ไบเบิล และการรับพระคุณจากพระเจ้าได้โดยการศรัทธาในพระเยซูเท่านั้น ในสกอตแลนด์วิธีการปกครองคริสตจักรของเพรสไบทีเรียนได้รับการรับประกันตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 นิกายเพรสไบทีเรียนสมัยใหม่สืบเค้าไปได้ถึงการปฏิรูปศาสนาในสกอตแลนด์ คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งปกครองโดยคณะธรรมกิจซึ่งมาจากตัวแทนของคริสตจักรนั้น ในทางทฤษฎีนิกายนี้ไม่มีการแต่งตั้งบิชอป แต่มีการสถาปนาโดยการเลือกตั้งคณะผู้ปกครองขึ้นเพื่อทำหน้าที่อภิบาลคริสต์ศาสนิกชนหรือสมาชิกคริสตจักร รวมไปถึงการตัดสินใจต่าง ๆ ในคริสตจักร มีมัคนายกทำหน้าที่ดูแลสมาชิกและครอบครัวและส่วนมากดูแลเรื่องการเงินของคริสตจักร ผู้ปกครองและมัคนายกจะมีวาระการประจำการ วาระละ 2-3 ปี แล้วแต่คริสตจักรนั้น ๆ จะกำหนด ตำแหน่งผู้ปกครองเมื่อได้รับการสถาปนาแล้วจะอยู่ในศาสนศักดิ์นั้นตลอดชีพ นิกายเพรสไบทีเรียนมีต้นกำเนิดมาจากการปฏิรูปศาสนาในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีฌ็อง กาลแว็งเป็นหนึ่งในนักปฏิรูปคนสำคัญ คริสตจักรปฏิรูปส่วนมากสืบมีวิธีการปกครองที่สามารถสืบย้อนไปได้ทั้งแบบเพรสไบทีเรียนและคองกรีเกชันแนล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนหลายแห่งเริ่มมีบทบาทในขบวนการคริสต์ศาสนสัมพันธ์ เช่น การตั้งสภาคริสตจักรสากล บางคริสตจักรในนิกายนี้ยังเริ่มหันมาทำงานร่วมกับคริสตจักรปฏิรูปกลุ่มอื่น ๆ บ้างก็เข้าร่วมกลุ่มกับนิกายอื่นเลย เช่น คริสตจักรคองกรีเกชันแนล ลูเทอแรน แองกลิคัน และเมทอดิสต.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยาศาสนาคริสต์

ทววิทยาศาสนาคริสต์ (Christian theology) คริสต์เทววิทยา หรือศาสนศาสตร์ คือเทววิทยาที่เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ นักเทววิทยาศาสนาคริสต์ใช้เหตุผลทางการวิจัยและการถกเพื่อทำความเข้าใจ อธิบาย ทดสอบ วิจารณ์ประเด็น ป้องกันและเผยแพร่คริสต์ศาสนา เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อศาสนาคริสต์ เพื่อเปรียบเทียบคริสต์ศาสนากับประเพณีหรือความเชื่อถืออื่น ๆ และเพื่อป้องกัน กล่าวโต้ต่อนักวิจารณ์ ช่วยในการปฏิรูปศาสนา มีความเข้าใจในคริสต์ศาสนาพอที่จะสามารถนำเอาความเข้าใจนั้นมาทำความเข้าใจในสถานะการณ์ปัจจุบันตามความจำเป็น, เทววิทยาศาสนาคริสต์เผยแพร่เข้ามาในวัฒนธรรมตะวันตกโดยเฉพาะวัฒนธรรมยุโรปก่อนสมัยใหม่ ความเกี่ยวพันกันระหว่างปรัชญาสองอย่างนี้ทำให้ผู้ต้องการทำความความเข้าใจในเทววิทยาศาสนาคริสต์จำเป็นต้องเข้าใจในวัฒนธรรมตะวันตกด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและเทววิทยาศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลเพนเทคอสต์

ทศกาลเพนเทคอสต์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 420-1 (ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ วันเปนเตกอสเต (โรมันคาทอลิก) มาจากคำว่า Πεντηκοστή ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า "(วัน) ที่ 50" เพราะเป็นวันที่ 50 นับจากวันสมโภชปัสคา วงศ์วานอิสราเอลจัดเทศกาลนี้ขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงการที่พระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติแก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ส่วนคริสต์ศาสนิกชนถือวันนี้เป็นการเฉลิมฉลองเหตุการณ์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ลงมาประทับบนอัครทูตเพื่อเป็นกำลังในการประกาศข่าวดีต่อมวลมนุษย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกจึงถือวันนี้เป็นวันสมโภชพระจิตเจ้า และนับเป็นวันเกิดของคริสตจักรด้ว.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและเทศกาลเพนเทคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: หลักข้อเชื่อของอัครทูตและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »