โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา

ดัชนี หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery หรือ pyloric artery) ออกมาจากหลอดเลือดแดงตับ เหนือต่อกระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus) ทอดลงมายังปลายส่วนไพลอรัสของกระเพาะอาหาร และผ่านจากขวาไปซ้ายตามแนวของส่วนโค้งเล็ก (lesser curvature) ของกระเพาะอาหาร และให้แขนงไปเลี้ยงส่วนนั้น หลอดเลือดนี้ยังมีแขนงเชื่อม (anastomoses) กับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery).

10 ความสัมพันธ์: กระเพาะอาหารหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้ายหลอดเลือดแดงท้องหลอดเลือดแดงตับหลอดเลือดแดงตับร่วมหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวาหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้ายตับเยื่อบุช่องท้อง

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery หรือ pyloric artery) ออกมาจากหลอดเลือดแดงตับ เหนือต่อกระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus) ทอดลงมายังปลายส่วนไพลอรัสของกระเพาะอาหาร และผ่านจากขวาไปซ้ายตามแนวของส่วนโค้งเล็ก (lesser curvature) ของกระเพาะอาหาร และให้แขนงไปเลี้ยงส่วนนั้น หลอดเลือดนี้ยังมีแขนงเชื่อม (anastomoses) กับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery).

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery) เป็นแขนงที่แยกออกมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac trunk) วิ่งมาตามส่วนบนของส่วนโค้งเล็ก (lesser curvature) ของกระเพาะอาหาร แขนงของเส้นเลือดนี้เลี้ยงส่วนล่างของหลอดอาหาร หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้ายมีแขนงเชื่อม (anastomoses) กับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery) ซึ่งทำหน้าที่เลี้ยงส่วนล่าง.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงท้อง

หลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac artery) เป็นแขนงใหญ่แขนงแรกของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (abdominal aorta) และแขนงจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตรงกับตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 (T12) ในมนุษย์ หลอดเลือดซิลิแอคเป็นหนึ่งในสามแขนงที่ออกมาทางด้านหน้าตรงกลางลำตัวจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (อีก 2 แขนงได้แก่ หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์มีเซนเทอริค (superior mesenteric artery) และหลอดเลือดแดงอินฟีเรียมีเซนเทอริค (inferior mesenteric arteries).

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและหลอดเลือดแดงท้อง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงตับ

หลอดเลือดแดงตับ หรือ หลอดเลือดแดงเฮปาติกพรอเพอร์ (hepatic artery proper) แยกแขนงออกมาจากหลอดเลือดแดงคอมมอนเฮปาติก (common hepatic artery) ทอดร่วมไปกับหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) และท่อน้ำดีใหญ่ (common bile duct) เรียกว่า พอร์ทัล ไทรแอด (portal triad) หลอดเลือดนี้ยังให้แขนงหลอดเลือดแดงถุงน้ำดี (cystic artery) เพื่อไปเลี้ยงถุงน้ำดีก่อนจะแยกเป็น 2 แขนงเป็นหลอดเลือดแดงตับซ้ายและขว.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและหลอดเลือดแดงตับ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงตับร่วม

ในทางกายวิภาคศาสตร์ หลอดเลือดแดงคอมมอนเฮปาติก (common hepatic artery) เป็นหลอดเลือดสั้นๆ ที่ให้เลือดที่มีออกซิเจนสูงไปยังตับ, กระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus), ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) และตับอ่อน หลอดเลือดนี้เป็นแขนงมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac artery) ให้แขนงต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและหลอดเลือดแดงตับร่วม · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา

หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา หรือ หลอดเลือดแดงแกสโตรโอเมนตัลขวา (right gastroepiploic artery or right gastro-omental artery) ทอดตัวจากทางขวาไปยังซ้ายตามแนวของส่วนโค้งใหญ่ (greater curvature) ของกระเพาะอาหาร ใต้ต่อชั้นเยื่อโอเมนตัมใหญ่ (greater omentum) มีแขนงเชื่อมต่อกับแขนงหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้ายของหลอดเลือดแดงม้าม (splenic artery) หลอดเลือดนี้ทอดตัวห่างจากส่วนโค้งใหญ่ของกระเพาะอาหารประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ ยกเว้นกระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus) ที่ทอดตัวชิดกัน.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย

หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย หรือ หลอดเลือดแดงแกสโตรโอเมนตัลซ้าย (left gastroepiploic artery or left gastro-omental artery) เป็นแขนงที่ใกญ่ที่สุดของหลอดเลือดแดงม้าม (splenic artery) ทอดจาทางซ้ายไปขวาห้างจากส่วนโค้งใหญ่ (greater curvature) ของกระเพาะอาหาร ระหว่างชั้นของเยื่อโอเมนตัมใหญ่ (greater omentum) และมีแขนงเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา (right gastroepiploic) ระหว่างที่ทอดตัวไป หลอดเลือดนี้ให้แขนงต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและตับ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อบุช่องท้อง

ื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้นที่คลุมอยู่โดยรอบช่องท้อง และห่อหุ้มอวัยวะภายใน เยื่อบุช่องท้องแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาและเยื่อบุช่องท้อง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pyloric arteryRight gastric artery

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »