โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หนานเยฺว่

ดัชนี หนานเยฺว่

หนานเยฺว่ หรือ นามเหวียต (Nam Việt) เป็นอาณาจักรโบราณที่มีอาณาเขตปกคลุมบริเวณมณฑลทางตอนใต้ของจีน อันได้แก่ กวางตุ้ง, กว่างซี และยูนนาน ไปจนถึงตอนเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน หนานเยฺว่ได้รับการก่อตั้งในช่วง 204 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงการล่มสลายของราชวงศ์ฉินของจีน หนานเยฺว่ได้ถูกก่อตั้งโดย จ้าว ถัว ผู้ปกครองดินแดนทะเลจีนใต้ อาณาเขตของหนานเยฺว่ในช่วงแรกประกอบด้วยหนานไฮ่, กุ้ยหลิน และ เซียง ใน 196 ปีก่อนคริสต์ศักราช จ้าว ถัว ได้สวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิฮั่นเกาจู่แห่งราชวงศ์ฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้ถูกเรียกโดยผู้ปกครองชาวจีนฮั่นว่าเป็น "คนรับใช้ชาวต่างชาติ" มีภาพพจน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน ประมาณ 183 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นได้ห่างเหินต่อกันมากขึ้น และ จ้าว ถัวได้เริ่มที่จะสถาปนาอ้างตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิอีกทั้งประกาศอาณาจักรหนานเยฺว่เป็นอิสระ ใน 179 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง จ้าว ถัวได้ยอมสวามิภักดิ์ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อราชวงศ์ฮั่นอีกครั้ง ในสมัยของจักรพรรดิฮั่นเหวิน ในฐานะเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชวงศ์ฮั่นของจีน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการส่งบรรณาการและการยอมสวามิภักดิ์ หนานเยฺว่ยังคงมีอิสระและยังคงปกครองตนเองจากชาวจีนฮั่น และจ้าว ถัว ยังอ้างตนเป็น "จักรพรรดิ" แห่งหนานเยฺว่ จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ ในช่วง 113 ปีก่อนคริสตกาล ผู้นำ 4 รุ่น แห่งตระกูลจ้าว จ้าว ซิง มีแนวโน้มที่มีใจฝักใฝ่จีนโดยได้พยายามขอให้ราชวงศ์ฮั่นยอมรับหนานเยฺว่เป็นส่วนหนึ่งอย่างเป็นทางการ อัครมหาเสนาบดีของพระองค์ ลฺหวี่เจีย ได้คัดค้านอย่างรุนแรงและได้สมคบคิดวางแผนกับขุนนางคนอื่นๆทำการลอบสังหารจ้าว ซิง และอัญเชิญพระเชษฐา จ้าว เจี้ยนเต๋อที่มีพระชนม์มากกว่าขึ้นครองราชย์ ลฺวี่เจียได้บับบังคับจ้าว เจี้ยนเต๋อตั้งตนเป็นอิสระแข็งข้อต่อราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเท่ากับเผชิญหน้ากับราชวงศ์ฮั่น ในปีต่อมาจักรพรรดิฮั่นอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นได้ส่งกองทัพ 100,000 คน ทำสงครามบุกหนานเยฺว่ จนกระทั่งเมื่อถึงปลายปีเดียวกันนั้น กองทัพราชวงศ์ฮั่นได้บุกยึดและทำลายหนานเยฺว่ลงอย่างราบคาบและสถาปนาเป็นดินแดนของชาวจีนฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้สิ้นสุดลงนับแต่บัดนั้น โดยดำรงอยู่ 93 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 5 รุ่น การก่อตั้งอาณาจักรหนานเยฺว่เกิดมาจากการที่เป็นเมืองหน้าด่านของแคว้นหลิงหนานในระหว่างช่วงความวุ่นวายสับสนระหว่างการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน เปิดโอกาสให้แคว้นทางตอนใต้ของจีนได้มีอิสระและหลีกเลี่ยงการปกครองที่กดขี่จากชาวจีนฮั่นที่มาจากแคว้นทางเหนือของจีน อาณาจักรหนานเยฺว่ถูกก่อตั้งโดยผู้นำชาวจีนฮั่นที่มาจากภาคกลางของจีนตอนบนซึ่งนำไปสู่การนำรูปแบบการปกครองแบบเจ้าขุนมูลนายจีน, เทคนิควิธีทางการเกษตร, ข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มาสอนเผยแพร่แก่ชนพื้นเมืองแคว้นทางตอนใต้ อาทิเช่น การรับรู้ภาษาจีนและระบบการเขียนแบบจีน ผู้นำหนานเยฺว่แทบทุกพระองค์สนับสนุนนโยบาย "สามัคคีและรวบรวมชนเผ่าไป่เยฺว่" ประกอบกับตัวผู้นำเองมีใจฝักใฝ่จีนโดยมีการเชิญชวนให้ชาวจีนฮั่นผู้เป็นมิตรมาแสวงโชคโดยอพยพจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำหวงโฮทางตอนเหนือเข้ามาอาศัยในดินแดนตอนใต้ พวกเขายังสนับสนุนนโยบาย เปลี่ยนให้เป็นจีน โดยการกลมกลืนระหว่างสองวัฒนธรรมและผู้คน ระหว่างสองวัฒนธรรมจีนฮั่นและวัฒนธรรมพื้นเมืองทางตอนใต้ บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมจีนมักจะดูดกลืนวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง ผู้นำหนานเยฺว่ ตระกูลจ้าว ยังประกาศใช้วัฒนธรรมจีนและภาษาจีนไปทั่วทั้งดินแดนหนานเยฺว่ แม้ว่าจะมีการรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของตนเอาไว้ควบคู่กัน.

47 ความสัมพันธ์: บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ชาวฮั่นกลุ่มภาษาจีนกวางตุ้งกว่างโจวกษัตริย์กุ้ยหลินฝูเจี้ยนภาษาเวียดนามมณฑลกวางตุ้งมณฑลยูนนานมณฑลหูหนานมณฑลเจียงซีมณฑลเจ้อเจียงรัฐหานรัฐจ้าวรัฐฉู่ราชวงศ์ชิงราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์ฉินราชวงศ์เหงียนสงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้อักษรจีนอาน เซือง เวืองฌ้อปาอ๋องจักรพรรดิจักรพรรดิฮั่นอู่จักรพรรดิฮั่นเกาจู่จักรพรรดิฮั่นเหวินจักรพรรดิฉินที่ 2จักรพรรดิซา ล็องจักรพรรดิเจียชิ่งจิ๋นซีฮ่องเต้ทะเลจีนใต้ซือหม่า เชียนซฺยงหนูประวัติศาสตร์เวียดนามประเทศจีนประเทศเวียดนามแม่น้ำหวงแม่น้ำแยงซีแม่น้ำแดงแต้จิ๋วเกาะฮ่องกงเย่ว์เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเซี่ยงไฮ้

บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่

ท่สื่อกงซู (จีน:太史公書, อังกฤษ: Records of the Grand Historian, ปัจจุบันรู้จักทั่วไปในชื่อ สื่อจี้ 史記 - "บันทึกประวัติศาสตร์") เป็นอนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์ของจีนโบราณและของโลก รู้จักในจีนตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล มีเนื้อหาครอบคลุมช่วงเวลากว่า 2,500 ปี ตั้งแต่ยุคในตำนานสมัยจักรพรรดิเหลือง ไปจนถึงรัชกาลจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช กล่าวกันว่างานเขียนชิ้นนี้เริ่มขึ้นโดย ซือหม่า ทาน นักดาราศาสตร์ใหญ่ประจำราชสำนักของจักรพรรดิอู่ และได้มาสำเร็จลงโดยบุตรชายของเขา ซือหม่า เชียน ผู้ที่มักได้รับการขนานนามว่านักเขียนผู้โดดเดี่ยว บันทึกนี้จัดเป็นงานเขียนเชิงประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่และมีอิทธิพลอย่างสูงชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เสร็จสมบูรณ์เมื่อราว 100 ปีก่อนคริตศักราช ได้ถือเป็นแบบอย่างสำหรับ 24 ประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน (เสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลจักรพรรดิเฉียนหลง) มีความแตกต่างจากประวัติศาสตร์รูปแบบตะวันตกกล่าวคือ บันทึกไม่ได้เขียนประวัติศาสตร์แบบ "บรรยายไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง" แต่มีการแยกย่อยความให้เล็กลง เชื่อมโยงเนื้อหาที่คาบเกี่ยวกันจำนวนมากกับผู้นำที่มีชื่อเสียง บุคคลเฉพาะ ตลอดจนหัวข้อใหญ่ที่มีความสำคัญ.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และบันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: หนานเยฺว่และชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กวางตุ้ง

กวางตุ้ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

กว่างโจว

กว่างโจว กวางโจว หรือ กวางเจา (จีนตัวเต็ม: 廣州, จีนตัวย่อ: 广州 Guǎngzhōu หรือ Gwong2 zau1 ในภาษาจีนกวางตุ้ง) เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง กว่างโจวเป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เซินเจิ้น จูไห่ และ ซัวเถา นอกจากนั้นเมืองกว่างโจวยังมีสำเนียงเฉพาะถิ่นที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของ ฮ่องกง และมาเก๊า เรียกว่า สำเนียงกว่างโจวอีกด้วย เมืองกว่างโจวตั้งอยู่ปากแม่น้ำจูเจียง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 2,800 ปี เป็นจุดเริ่มของเส้นทางสายไหมทางทะเลในครั้งอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย กว่างโจวแม้จะเป็นศูนย์กลางในการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน แต่กว่างโจวยังมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในรูปสถานที่สำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันกว่างโจวมีบทบาทเป็นเมืองในเขตเศรษฐกิจการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในภาคใต้ของจีน และยังได้รับสถานะเป็นหนึ่งในสามเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของจีน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดด้วย นอกจากนั้นยังมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทันสมัย มีระบบรถไฟใต้ดินครอบคลุมเมืองชั้นในทั้งหมด รวมทั้งด้านภูมิอากาศ อาหาร การดำรงชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ก็มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย กว่างโจวมีภาพลักษณ์ค่อนข้างแตกต่างจากเมืองทางเหนือ ซึ่งบรรยากาศที่เต็มไปด้วย "ราชการและเป็นทางการ" แต่ในกว่างโจวจะรู้สึกและรับรู้ได้ถึง "การค้าและความวุ่นวาย" กว่างโจว เคยใช้เป็นสถานที่หลักที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 2010 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี..

ใหม่!!: หนานเยฺว่และกว่างโจว · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: หนานเยฺว่และกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ยหลิน

กุ้ยหลิน (จ้วง: Gveilinz "ป่าหอมหมื่นลี้") เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงว่ามีทัศนียภาพที่สวยงามมายาวนาน ทั้งยังเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของจีน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจ้วง กุ้ยหลินถือเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นสถานที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน คนจีนยกให้เป็นดัง “เมืองสวรรค์บนพิภพ” หรือ “ซื่อไหว้เถาหยวน” มีคำกล่าวว่าจิตรกรใดที่ยังไม่เคยมาเมืองกุ้ยหลิน จะไม่สามารถวาดรูปขุนเขาให้สวยงามได้เล.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และกุ้ยหลิน · ดูเพิ่มเติม »

ฝูเจี้ยน

ฝูเจี้ยน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และฝูเจี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และภาษาเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกวางตุ้ง

มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง แบ่งการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 30 เมืองระดับอำเภอ 42 อำเภอและ 3 เขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของประเทศ ทางใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเกาะฮ่องกงและมาเก๊า เป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มณฑลนี้นี่เองที่ประชากรส่วนมากได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ 100 กว่าปีที่แล้ว.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และมณฑลกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูหนาน

มณฑลหูหนาน (จีน: 湖南省) ชื่อย่อ เซียง (湘)ตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชา มีเนื้อที่ 211,800 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และมณฑลหูหนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซี

มณฑลเจียงซี หรือเดิมไทยเรียกว่า เกียงซี ชื่อย่อ กั้น(赣)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศจีน บนชายฝั่งตอนใต้ของลุ่มน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ตอนล่าง โดยด้านตะวันออกติดกับมณฑลเจ้อเจียง และฝูเจี้ยน ด้านใต้ติดกับกว่างตง ด้านตะวันตกติดกับหูหนัน ด้านเหนือติดกับหูเป่ย และอันฮุย มีเมืองหลวงชื่อ หนันชาง มีเนื้อที่ 166,900 ก.ม.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และมณฑลเจียงซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจ้อเจียง

มณฑลเจ้อเจียง (จีน: 浙江省 เจ้อเจียงเฉิง Zhejiang) ชื่อย่อ ‘เจ้อ’ (浙)ในหลักฐานไทยแต่เดิมเรียก มณฑลเจ๊เกี๋ยง มีเมืองหลวงชื่อเมืองหางโจว.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และมณฑลเจ้อเจียง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐหาน

หาน เป็นรัฐจีนโบราณในยุครณรัฐ (戰國時代) ตั้งอยู่ในท้องที่ซึ่งปัจจุบันเป็นชานซีและเหอหนาน ที่ตั้งดังกล่าวกีดกันมิให้รัฐฉิน (秦國) เข้าถึงที่ราบจีนเหนือ ทำให้รัฐหานตกเป็นเป้าโจมตีของรัฐฉินบ่อยครั้ง ที่สุดแล้ว รัฐหานก็เป็นรัฐแรกในกลุ่มเจ็ดรณรัฐ (戰國七雄) ที่ผนวกเข้ากับรัฐฉิน หลังจากการรบราจนเลือดนองแผ่นดินในยุทธการที่ฉางผิง (長平之戰) เมื่อ 260 ปีก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 3 หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศจีน.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และรัฐหาน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐจ้าว

้าว เป็นรัฐจีนโบราณหนึ่งในเจ็ดรัฐใหญ่แห่งยุครณรัฐ (戰國時代) เกิดขึ้นเมื่อรัฐจิ้นแยกออกเป็นสามรัฐ คือ รัฐจ้าว, รัฐหาน (韓國), และรัฐเว่ย์ (魏國) เมื่อศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จากนั้น รัฐจ้าวปฏิรูปทหารในรัชสมัยพระเจ้าจ้าวอู่หลิง (趙武靈王) ทำให้แข็งแกร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ภายหลังพ่ายแพ้ยับเยินให้แก่รัฐฉิน (秦國) ในยุทธการที่ฉางผิง (長平之戰) และถูกผนวก อาณาเขตของรัฐจ้าว ประกอบด้วย ดินแดนซึ่งปัจจุบันเป็นมองโกเลียใน, เหอเป่ย์, ชานซี, และฉ่านซี รายล้อมด้วยดินแดนของรัฐฉิน, รัฐเว่ย์, ซฺยงหนู (匈奴), และหานตาน (邯郸) รัฐจ้าวเป็นที่กำเนิดของเชิ่น เต้า (慎到) นักนิติปรัชญา, กงซุน หลง (公孫龍) นักตรรกวิทยา, และสฺวิน ข้วง (荀況) ปรัชญาเมธีลัทธิขงจื๊อ.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และรัฐจ้าว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฉู่

รัฐฉู่ (State of Chu, 1030 – 223 ปีก่อนคริสตกาล) รัฐศักดินาโบราณของจีนในช่วง ยุควสันตสารท – ยุครณรัฐ ทรงอำนาจและอิทธิพลอย่างมากทั้งทางด้านการทหารและการปกครองก่อนจะถูก รัฐฉิน พิชิตเมื่อ 223 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฉิน ราว 206 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีเชื้อพระวงศ์คนหนึ่งของอดีตรัฐฉู่นามว่า เซี่ยงอวี่ ได้ตั้งตนเองเป็นกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ตะวันตกและสามารถโค่นล้มราชวงศ์ฉินลงได้สำเร็จขณะเดียวกันมีชาวนาซึ่งมาจากอดีตรัฐฉู่เช่นกันนามว่า หลิวปัง ได้ตั้งตนเป็นใหญ่และต่อสู้กับเซี่ยงอวี่หรือ ฌ้อปาอ๋อง นานถึง 4 ปีก็ได้ชัยชนะเหนือเซี่ยงอวี่อย่างเด็ดขาดและตั้งตนเองเป็นปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก พระนามว่า จักรพรรดิฮั่นเก.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และรัฐฉู่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: หนานเยฺว่และราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหงียน

ราชวงศ์เหงียน (Nhà Nguyễn, หญ่า-งฺเหวียน; จื๋อโนม: 阮朝, Nguyễn triều, งฺเหวียนเจี่ยว) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนามที่ปกครองเวียดนามมา 143 ปี เริ่มจากในปี ค.ศ. 1802 เมื่อจักรพรรดิซา ล็อง ทรงปราบดาภิเษกหลังจากปราบปรามกบฏไตเซินแล้ว และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทรงสละราชสมบัติ และมอบอำนาจให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิซา ล็อง เวียดนามมีชื่อว่า เวียดนาม (越南) อยู่อย่างปัจจุบัน แต่ในรัชสมัยของจักรพรรดิมิญ หมั่ง พระองค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ดั่ยนาม (大南, แปลว่า "ชาติยิ่งใหญ่ทางตอนใต้") การปกครองของราชวงศ์เหงียนถูกจำกัดโดยอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส ประเทศได้ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โคชินไชนาเป็นรัฐอาณานิคมโดยตรงขณะที่อันนามและตังเกี๋ยกลายเป็นรัฐอารักขาซึ่งมีอิสระเพียงในนาม.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และราชวงศ์เหงียน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้

สงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้ (Qin's wars of unification) เป็นสงครามครั้งสำคัญที่สุดของจีน เกิดขึ้นเมื่อ 230 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับปลาย ยุคจ้านกว๋อ ซึ่งแคว้นฉินที่นำโดย ฉินหวง ได้พยายามรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง โดยแคว้นแรกที่โปรดให้เข้าตีก็คือ แคว้นหาน ไม่นานแคว้นหานก็ยอมแพ้หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงนำทัพบุกเข้าตี แคว้นจ้าว ไม่นาน แคว้นจ้าวก็ยอมแพ้หลังจากนั้นก็โปรดให้บุกแคว้นเอี้ยน,แคว้นเว่ย,แคว้นเย่ว์,แคว้นฉู่และโปรดให้บุก แคว้นฉี เป็นแคว้นสุดท้ายเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้ในที่สุดฉินอ๋องทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จและในภายหลังทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนทรงพระนามว่า จิ๋นซีฮ่องเต้ หมวดหมู่:สงคราม.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และสงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: หนานเยฺว่และอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อาน เซือง เวือง

อาน เซือง เวือง (安陽王, An Dương Vương) มีชื่อจริงคือ ถุก ฟ้าน (蜀泮, Thục Phán) ผู้ปกครองอาณาจักรเอิวหลัก (ประเทศเวียดนามปัจจุบัน) ตั้งแต่ 257 ถึง 207 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นผู้นำของเผ่าเอิวเหวียต เขาได้เอาชนะและยึดราชบัลลังก์จากกษัตริย์หุ่งองค์สุดท้าย แห่งอาณาจักรวันลาง และได้รวบรวมชนเผ่าที่ยึดมาคือหลักเหวียต เข้ากับเอิวเหวียต เขาได้ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ มีเมืองหลวงที่โก๋ลวา สร้างป้อมปราการที่ชื่อป้อมปราการโก๋ลวา จนกระทั่งในช่วง 208 ปีก่อนคริสต์ศักราช กองทัพจีนแห่งราชวงศ์ฉินนำโดยแม่ทัพจีน เจี่ยวด่า ได้รุกรานเอิวหลัก เมืองหลวงโก๋ลวาถูกโจมตี พระราชวังถูกปล้นสะดม อาน เซือง เวือง ต้องหลบหนีออกจากเมืองหลวงและตัดสินใจฆ่าตัวตาย เจี่ยวด่าแม่ทัพชาวจีนฮั่นได้สถาปนาราชวงศ์จ้าวขึ้นมาใหม่ ดินแดนเอิวหลักถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรหนานเยฺว่ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และอาน เซือง เวือง · ดูเพิ่มเติม »

ฌ้อปาอ๋อง

หน้ากากอุปรากรฌ้อปาอ๋อง ฌ้อปาอ๋อง หรือ ซีฉู่ป้าหวัง (Xīchǔ Bàwáng, 楚霸王) เป็นขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคปลายราชวงศ์ฉินที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน เป็นคู่ปรับคนสำคัญของหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น ฌ้อปาอ๋อง มีชื่อเดิมว่า เซี่ยงอวี่ (Xiang Yu, 项羽) เกิดเมื่อ 232 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับยุคจ้านกว๋อ ที่แคว้นฌ้อ หรือ แคว้นฉู่ (ปัจจุบันครอบคลุมดินแดนของมณฑลหูหนาน, มณฑลหูเป่ย์, ฉงชิ่ง, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย และบางส่วนของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจียงซี) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีพละกำลังมหาศาล สามารถยกกระถางธูปที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัมไว้บนเหนือหัวได้ เกิดในตระกูลขุนศึก ได้รับการเล่าเรียนวิชายุทธและการศึกจาก เซี่ยงเหลียง (Xiang Liang, 項梁) ผู้เป็นอา ต่อมาเมื่อปลายราชวงศ์ฉิน เกิดกบฏชาวนาและอีกหลายกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เซี่ยงอวี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และด้วยความสามารถ ทำให้ได้เป็นผู้นำระดับแม่ทัพ และได้ร่วมมือกับหลิวปังในการโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ โดยวีรกรรมครั้งสำคัญคือ เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า "ทุบหม้อจมเรือ" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม ซึ่งเซี่ยงอวี่ได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏเป็นกองทัพของหลิวปังที่ได้เข้าสู่เมืองหลวงก่อน พร้อมกับได้นั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ สร้างความไม่พอใจให้แก่เซียงอวี่ ต่อมา เซียงอวี่ได้ประกาศตนเองเป็น ฌ้อปาอ๋อง อันหมายถึง "อ๋องแห่งฌ้อผู้ยิ่งใหญ่" พร้อมกับได้สถาปนาให้หลิวปังมีบรรดาศักดิ์เป็น ฮั่นอ๋อง (King of Han, 汉王) ต่อมาเซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น (Chu–Han contention, 楚汉战争) ในระยะแรก ฌ้อปาอ๋องที่มีกองกำลังมากกว่าได้รับชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้ง แต่หลิวปังซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากที่ปรึกษาและขุนพลคนสำคัญ คือ เตียวเหลียง (Zhang Liang 張良), เซี่ยวเหอ (Xiao He, 蕭何) และ ฮั่นสิน (Han Xin, 韓信) ทำให้ได้เปรียบได้ตอนท้าย และกลายมาเป็นฝ่ายยกกองทัพปิดล้อมกองทัพฌ้อ จนฌ้อปาอ๋องและหยูจี ซึ่งเป็นนางสนมไม่มีทางหนี ขณะที่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด จบชีวิตลงเมื่อปี 202 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น เรื่องราวของฌ้อปาอ๋องได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกของฌ้อปาอ๋อง จะเป็นไปในลักษณะของ ชายรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน ไว้หนวดไว้เครา อุปนิสัยโหดร้าย เจ้าอารมณ์ และมุทะลุดุดัน เนื่องจากการบุกเมืองเสียนหยาง ฌ้อปาอ๋องได้สั่งเผาและฝังทั้งเป็นทหารฉินถึง 200,000 นาย และต่อมาเมื่อมีอำนาจ ก็เป็นบุคคลเจ้าอารมณ์ไม่ฟังเสียงทัดทานของผู้คนรอบข้าง ผิดกับหลิวปัง ซึ่งใจเย็น สุขุม และมีเมตตากว่า จึงเป็นที่นิยมของราษฎร ขณะเดียวกันชีวิตส่วนตัวของฌ้อปาอ๋องกับนางสนมหยูจี ที่เป็นผู้หญิงที่สวยมาก ที่อยู่เคียงข้างจนวาระสุดท้าย ก็เป็นที่เล่าขานกัน ซึ่งก่อนที่ฌ้อปาอ๋องจะลุกขึ้นมานำทัพบุกฝ่าวงล้อมของกองทัพฮั่นนั้น ได้เข้าไปร่ำลานางหยูจี พร้อมกับตีกลองร้องเพลงที่มีความหมายถึงวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง ซึ่งเรียกว่า "เพลงแห่งไก่เซี่ย" (Song of Gaixia, 垓下歌) ที่อาจถอดความหมายได้ว่า ซึ่งเรื่องราวของฌ้อปาอ๋อง ได้บันทึกไว้ในวรรณคดีเรื่องสำคัญแห่งการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น คือ ไซฮั่น และในยุคปัจจุบันได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Great Conqueror's Concubine ในปี ค.ศ. 1993 นักแสดงผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ หลี่ เหลียงเหว่ย หรือละครโทรทัศน์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งผู้รับบทนี้ คือ เหอ ยุ่นตง หรืออ้างอิงถึงในภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ในปี..

ใหม่!!: หนานเยฺว่และฌ้อปาอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิ

ักรพรรดิ หรือ พระราชาธิราช หมายถึง ประมุขของจักรวรรดิ หากเป็นสตรีเรียกว่า จักรพรรดินี (Empress) แต่คำว่า “จักรพรรดินี” ก็ใช้เรียกพระมเหสีของจักรพรรดิด้วย ในภาษาอังกฤษจะมีคำต่อท้ายให้เป็นที่เข้าใจคือ “Empress Consort” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “พระราชา”.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นอู่

ักรพรรดิฮั่นอู่ (พ.ศ. 388–457) เป็นจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น พระนามเดิมว่า หลิว เช่อ (劉徹) ขึ้นครองราชย์เมื่ออายุ 16 พรรษา ปกครองนานถึง 54 ปี (ปี 140 – 87 ก่อนคริสต์ศักราช นับว่าเป็นฮ่องเต้ ชาวฮั่น ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดด้วย) ผลงานปรับปรุงประเทศและแผ่ขยายอิทธิพลของพระองค์ทำให้นักประวัติศาสตร์ถือเป็นมหาราชซึ่งมีชื่อเสียงมากในประวัติศาสตร์ของจีน พระองค์กำหนดปีรัชสมัยของตนขึ้นเป็นครั้งแรกในชื่อว่า “เจี้ยนหยวน” นับจากนี้ไป ฮ่องเต้ องค์ต่อมาต่างถือเป็นประเพณีตั้งชื่อรัชศกของตนมาจนกระทั่งสิ้นสุดยุคจักรพรร.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และจักรพรรดิฮั่นอู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน ("อัครบรรพชนฮั่น"; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า ก่อนเข้าสู่อำนาจ หลิว ปัง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฉิน ทำหน้าเป็นนายด่านที่บ้านเกิดในเทศมณฑลเพ่ย์ (沛縣) แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ถูกราชวงศ์ฉินยึดครอง เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ และจักรวรรดิฉิน (秦朝) ตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง หลิว ปัง ละทิ้งตำแหน่งราชการเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน จนสามารถบีบให้จื่ออิง (子嬰) ผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว เซี่ยง อฺวี่ (項羽) ผู้นำกบฏ แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาฮั่น" (漢王) ไปครองภูมิภาคปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้านเซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดภูมิภาคฉินทั้งสาม (三秦) ไว้ได้ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) ครั้น 202 ปีก่อนคริสตกาล หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิว ปัง มีชัยในการชิงอำนาจ จึงสามารถรวบดินแดนจีนส่วนใหญ่ไว้ในกำมือ เขาก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น มีตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรก ใช้พระนาม "ฮั่นเกาจู่" รัชสมัยฮั่นเกาจู่มีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ และปราบปรามกบฏเจ้าประเทศราชต่าง ๆ ฮั่นเกาจู่ยังริเริ่มนโยบายที่เรียก "วิวาห์สันติ" (和親) เพื่อสร้างความปรองดองกับกลุ่มซฺยงหนู (匈奴) หลังพ่ายแพ้ในยุทธการไป๋เติง (白登之戰) เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ครั้น 195 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่นเกาจู่สวรรคต พระโอรส คือ หลิว อิ๋ง (劉盈) สืบตำแหน่งต่อ ใช้พระนามว่า "ฮั่นฮุ่ย" (汉惠).

ใหม่!!: หนานเยฺว่และจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเหวิน

จักรพรรดิฮั่นเหวินขณะประทับพักพระอิริยาบถ จักรพรรดิเหวินแห่งราชวงศ์ฮั่น (202 - 157 ปีก่อนคริสตกาล) มีพระนามเดิมว่าหลิวเหอ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ และพระสนมโปซึ่งภายหลังเมื่อทรงครองราชย์แล้วทรงสถาปนาพระราชมารดาเป็นโปไทเฮา ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อ 180 ปีก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 363) เมื่อพระชนม์ได้ 22 พรรษา มีพระนามว่าจักรพรรดิฮั่นเหวิน พระราชภารกิจแรกของพระองค์ คือการกวาดล้างพวกสกุลหลู่ของหลู่ไทเฮาที่ครองอำนาจมานาน 8 ปีหลังการสวรรคตของจักรพรรดิฮั่นฮุ่ย พระเชษฐาจนหมดสิ้น เพราะหลู่ไทเฮาสวรรคตลงในปีที่ครองราชย์ในรัชกาล โปรดให้ลดภาษีทั้งภาษีที่ดินและรายได้ และเมื่อ 165 ปีก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 378) โปรดให้มีการตรวจคัดเลือกทหารใหม่ และในรัชกาลของพระองค์เกิดกบฏ 7 แคว้น สวรรคตเมื่อ 157 ปีก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 386) เจ้าชายรัชทายาทหลิวฉีจึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิฮั่นจิง หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นตะวันตก.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และจักรพรรดิฮั่นเหวิน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฉินที่ 2

ักรพรรดิฉินที่ 2 หรือ จักรพรรดิหูไห่ มีพระนามเดิมว่าองค์ชายหูไห่ เป็นพระราชโอรสองค์รองของ จิ๋นซีฮ่องเต้ ประสูติเมื่อปี 229 ปีก่อน..

ใหม่!!: หนานเยฺว่และจักรพรรดิฉินที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซา ล็อง

ซา ล็อง (Gia Long, 嘉隆) หรือ เหงียน ฟุก อั๊ญ (Nguyễn Phúc Ánh, 阮福暎) เป็นที่รู้จักกันในพระนาม พระเจ้าเวียดนามยาลองทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพร.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และจักรพรรดิซา ล็อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเจียชิ่ง

มเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่างๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง ในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และจักรพรรดิเจียชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จิ๋นซีฮ่องเต้

ฉินฉื่อหฺวังตี้ ตามสำเนียงกลาง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตามสำเนียงอื่น (260–210 ก่อนคริสตกาลWood, Frances. (2008). China's First Emperor and His Terracotta Warriors, pp. 2-33. Macmillan Publishing, 2008. ISBN 0-312-38112-3.) เป็นชื่อที่ปัจจุบันใช้เรียกพระเจ้าเจิ้ง (Zhèng) แห่งเมืองฉิน มีความหมายตรงตัวว่า "ปฐมจักรพรรดิฉิน" พระองค์ทรงสถาปนาราชวงศ์ฉินเมื่อปีที่ 220 ก่อนคริสตกาล และทรงผนวกดินแดนจีนสำเร็จในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นอันสิ้นสุดยุครณรัฐDuiker, William J. & al.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และจิ๋นซีฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลจีนใต้

แผนที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และทะเลจีนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ซือหม่า เชียน

ซือหม่าเซียน ซือหม่าเชียน (司馬遷) เป็นนักบันทึกประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่โดนตอนองคชาตในสมัยราชวงศ์ฮั่นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ (140-87ก่อนคริสตกาล) ซือหม่าเชียนถือกำเนิดในครอบครัวปัญญาชนครอบครัวหนึ่ง บิดาของเขาเป็นขุนนางด้านประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่อายุ 10 ขวบซือหม่าเชียนก็เริ่มศึกษาวิชาวรรณคดี ประวัติศาสตร์และคัมภีร์ของสำนักต่างๆ กับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ในวัยเด็กซือหม่าเชียนก็เป็นคนช่างขบคิด เขามีความรู้ต่างๆ นานาเกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางนอกเหนือจากสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในตำรา สิ่งนี้เป็นเหตุให้ซือหม่าเชียนออกเดินทางจากกรุงฉางอานไปท่องเที่ยวดินแดนต่างๆ อย่างกว้างขวางเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่อถึงท้องที่หนึ่ง ซือหม่าเชียนก็จะบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นนั้นอย่างละเอียด และเก็บสะสมประวัติและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวข้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย เมื่อ 108 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซือหม่าเชียนได้ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งของบิดาในราชสำนัก มีหน้าที่ดูแลพระคลังเก็บหนังสือของพระมหากษัตริย์ ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาได้ตามเสด็จพระมหากษัตริย์ไปในโอกาสต่างๆ ได้ไปดูงานตามสถานที่โบราณมากมายทั่วดินแดนอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้สั่งสมข้อมูลอย่างอุดมสมบูรณ์แล้ว ซือหม่าเชียนก็ใช้เวลานอกราชการเตรียมลงมือเขียนสื่อจี้ซึ่งเป็นสารานุกรมด้านประวัติศาสตร์ 3,000 ปีของจีน.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และซือหม่า เชียน · ดูเพิ่มเติม »

ซฺยงหนู

thumb ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นชื่อเรียกกลุ่มชนโบราณซึ่งมีพวกร่อนเร่เป็นพื้น และตั้งตัวกันเป็นรัฐหรือสหพันธรัฐ อยู่ในภาคเหนือของประเทศจีน ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับพวกซฺยงหนูจึงมาจากจีน กับทั้งชื่อเสียงเรียงนามของคนเหล่านั้นก็เป็นที่ทราบกันไม่มาก จึงใช้ตามที่จีนทับศัพท์มาจากภาษาซฺยงหนูอีกทอดหนึ่ง อัตลักษณ์ของแกนกลางทางชาติพันธุ์ซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมุมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะภาษาซฺยงหนู โดยเฉพาะชื่อแซ่บุคคลนั้น ปรากฏในแหล่งข้อมูลจีนน้อยมาก นักวิชาการเสนอว่า คนซฺยงหนูอาจใช้ภาษาเติร์ก (Turkic), มองโกล (Mongolic), เยนีเซย์ (Yeniseian), Beckwith 2009: 404-405, nn.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และซฺยงหนู · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เวียดนาม

วียดนาม เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีเนื้อที่ทั้งหมด 337,912 ตารางกิโลเมตร มีประชากรร่วม 89 ล้านคน (พ.ศ. 2554) เมืองหลวงคือ ฮานอย ประชากรส่วนใหญ่ของชาวเวียดนาม คือ ชาวเวียดนาม มีอยู่ประมาณร้อยละ 86 นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยอีก ได้แก่ โท้ ไต ม้ง เขมร และอื่นๆ ภาษาราชการ คือ ภาษาเวียดนาม ส่วนภาษาอื่นๆที่นิยมใช้ คือ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาของแต่ละชนชาติ ประวัติความเป็นมาของเวียดนามสามารถสืบย้อนกลับไปได้มากกว่า 4000 ปีก่อน การค้นพบทางโบราณคดีจากปี..

ใหม่!!: หนานเยฺว่และประวัติศาสตร์เวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: หนานเยฺว่และประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำหวง

แม่น้ำหวางเหอที่น้ำตกหูโกว แม่น้ำหวางเหอช่วงที่ไหลผ่านมณฑลกานซู แม่น้ำหวางเหอ, หวง หรือ แม่น้ำฮวง, ฮวงโห (แปลว่า แม่น้ำเหลือง) เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศจีน รองจากแม่น้ำแยงซี และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 6 ของโลก มีความยาว 3,395 ไมล์ หรือ 5,464 กิโลเมตร สูงเหนือระดับน้ำทะเล ถึง 5,400 เมตร (ยาวกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 15 เท่า) ไหลจากฝั่งตะวันตกมาทางตะวันออก ผ่านมณฑลชิงไห่, เสฉวน, กานซู, หนิงเซี่ย, มองโกเลียใน, ซานซี, เหอหนาน และออกสู่ทะเลโป๋ (โป๋ไห่) ใน มณฑลซานตง ซึ่งเป็นทะเลในอ่าวทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน น้ำในแม่น้ำหวางเหอ เป็นสีเหลืองเนื่องจากมีตะกอนดินทรายพัดพามาจากทิศตะวันตก ยังความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกให้เกิดขึ้นสองฟากฝั่งแม่น้ำ ในขณะเดียวกันก็เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่ง เกิดอุทกภัยหลายครั้งซึ่งแต่ละครั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนอย่างมากมายมหาศาล จึงได้รับฉายาว่า "แม่น้ำวิปโยค" (悲劇河) ลุ่มแม่น้ำหวางเหอเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมจีนมาช้านาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดค้นพบซากฟอสซิลมนุษย์วานรอายุ 5–600,000 ปี เรียกว่า "มนุษย์หลันเถียน" (蓝田人) ที่เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติจีน ที่มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่อำเภอหลันเถียน มณฑลชานซี นอกจากนี้ยังพบซากโบราณสถานจำนวนมาก.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และแม่น้ำหวง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแดง

ทิวทัศน์แม่น้ำแดงช่วงที่ไหลผ่านประเทศจีน แม่น้ำแดง (红河; Sông Hồng) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนผ่านทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ไปสิ้นสุดที่อ่าวตังเกี๋ย แม่น้ำแดงมีจุดกำเนิดในเทือกเขาทางตอนใต้ของต้าหลี่ในมณฑลยูนนาน ไหลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ผ่านพื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้อ และไหลออกจากจีนที่เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ เข้าสู่เวียดนามที่จังหวัดหล่าวกาย เมื่อแม่น้ำไหลถึงที่ลุ่มใกล้ ๆ กับเหวียตจี่ก็จะเริ่มเข้าสู่พื้นที่ที่เรียกว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง หลังจากนั้นแม่น้ำแดงจะไหลผ่านฮานอย และไหลลงสู่อ่าวตัวเกี๋ยในที่สุด ด ด หมวดหมู่:แม่น้ำแดง หมวดหมู่:แม่น้ำนานาชาติในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และแม่น้ำแดง · ดูเพิ่มเติม »

แต้จิ๋ว

แต้จิ๋ว หรือ เฉาโจว (潮州) ในภาษาอังกฤษสะกดหลายแบบ Chaozhou, Teochew, Teochiu, Diojiu, Tiuchiu, Chiuchow อาจหมายถึง.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

เกาะฮ่องกง

ที่ตั้งของเกาะฮ่องกง(สีแดง)ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง(สีเขียว) เกาะฮ่องกง (อักษรจีนตัวเต็ม: 香港島; ภาษาอังกฤษ: Hong Kong Island) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และเกาะฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

เย่ว์

ว์ สามารถหมายถึง Việt หมายถึง เวียด * มณฑลกวางตุ้ง - มณฑลในประเทศจีน เดิมคือ NAMYUE หรือ นามเวี.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และเย่ว์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ใหม่!!: หนานเยฺว่และเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

น่านเย่ว์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »