โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สแปม

ดัชนี สแปม

แปม (spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่งอีเมลที่เราไม่ต้องการ จากที่ใดก็ได้ในโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่าผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร หรือเป็นการแอบอ้างหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันมีการส่งสแปมที่สามารถปลอมชื่อและอีเมลผู้ส่งได้ จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจากอีเมลสแปมได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และเอสเอ็มเอสสแปม การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยังไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริก.

7 ความสัมพันธ์: บล็อกสแปมพ.ศ. 2546การโฆษณาวิทยาศาสตร์เทียมอีเมลฮูส์คอลล์จดหมายลูกโซ่

บล็อกสแปม

ล็อกสแปม (spam blog) หรือ สปล็อก (splog) คือการสร้างข้อความขยะ หรือข้อความโฆษณา หรือข้อความต่าง ๆ ที่คล้ายกับการสร้างความน่าเชื่อถือภายในบล็อก ซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งเป็นสองแบบด้วยกันคือ แบบแรก การสแปมด้วยการสร้างบล็อกขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการทำการตลาดของธุรกิจบางอย่าง หรือถูกใช้เพื่อสร้างกระแสต่าง ๆ ตามที่ต้องการ แบบที่สองคือ การสร้างกระทู้ขยะหรือความคิดเห็นขยะ เพื่อโฆษณาขายของ หรือเพื่อเรียกร้องให้คนไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการ ในกระดานสนทนาออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งสองแบบนี้อาจส่งผลดีต่อการทำเอสอีโอ บล็อกสแปมเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในที่พัฒนาขึ้นจากอีเมลขยะ (spam mail) รวมทั้งมีการสร้างโปรแกรมสแปมบล็อกเหล่านี้ขายกันอีกด้ว.

ใหม่!!: สแปมและบล็อกสแปม · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: สแปมและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

การโฆษณา

การโฆษณา (advertising) เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพื่อบอกกล่าวให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าและความแตกต่าง รู้จักและก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันทำโดยเผยแพร่งานโฆษณา ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางใดทางหนึ่ง.

ใหม่!!: สแปมและการโฆษณา · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์เทียม

วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience) เป็นการกล่าวอ้าง, ความเชื่อ หรือการปฏิบัติ ที่แสดงตนเป็นวิทยาศาสตร์ แต่มิได้ยึดแบบแผนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขาดการสนับสนุนด้วยหลักฐาน หรือ หลักความเป็นไปได้ ไม่สามารถทำการตรวจสอบ หรือขาดฐานความเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทียมมักมีลักษณะการอ้างที่ แผลง ขัดแย้ง เกินจริง หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือมีแต่แนวทางการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยไม่มีแนวทางพิสูจน์แบบนิเสธ มักไม่ยินยอมรับการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการอื่น ๆ และมักจะขาดกระบวนทรรศน์ในการสร้างทฤษฏีอย่างสมเหตุผล สาขา แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ใด สามารถจัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียมได้ เมื่อมันถูกนำเสนอให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทั้งหลายแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่พิสูจน์ได้ว่ามันไม่ผ่านบรรทัดฐานตามที่กล่าวอ้างCover JA, Curd M (Eds, 1998) Philosophy of Science: The Central Issues, 1-82.

ใหม่!!: สแปมและวิทยาศาสตร์เทียม · ดูเพิ่มเติม »

อีเมล

อีเมล (e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ..

ใหม่!!: สแปมและอีเมล · ดูเพิ่มเติม »

ฮูส์คอลล์

Whoscall แอปพลิเคชันสมาร์ตโฟนสัญชาติไต้หวัน โดย บริษัท Gogolook ที่สามารถบอกผู้ใช้งานได้ถึง เจ้าของสายเรียกเข้าทางโทรศัพท์ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ใช้งาน เลือกรับสายที่ต้องการรับและไม่ต้องการรับได้ รวมไปถึงการค้นหาเบอร์แบบออฟไลน์และการบล็อกเบอร์โทรเข้า สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งในระบบปฏิบัติการ Android, iOS และ Windows Phone ซึ่งมีภาษาให้เลือกถึง 10 ภาษาในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ การทำงานของ Whoscall นั้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ขึ้นอยู่กับความเร็วและเสถียรภาพของอินเทอร์เน็ต และเครื่อข่ายของประเทศนั้นๆด้วย Whoscall ได้รับเลือกจาก Google Play ให้เป็น Best Apps ของปี 2013 ใน 8 ประเทศของเอเชีย คำว่า Whoscall นั้น ย่อมาจาก “ Who is calling ?” หรือในภาษาไทยที่แปลว่า “ใครโทรมานะ?” มีให้ดาวน์โหลดแล้ว ฟรี ใน 31 ประเทศ รวมถึง ประเทศ ไต้หวัน, เกาหลีใต้, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ไทย, และ บราซิล.

ใหม่!!: สแปมและฮูส์คอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายลูกโซ่

ซนต์ออสเตรเลียแนบมาด้วยเพื่อดึงดูดความสนใจ จดหมายลูกโซ่ เดิมนั้นอยู่ในรูปจดหมายที่เขียนด้วยกระดาษ ซึ่งภายในมีข้อความระบุให้ส่งจดหมายไปยังผู้รับรายต่อไป หรือในบางกรณีก็ให้ทำสำเนาเพื่อส่งต่อไปยังผู้รับตามจำนวนที่ระบุไว้ชัดเจน ซึ่งหากคนจำนวนมากหลงเชื่อปฏิบัติไปตามนั้นจะเป็นเหตุให้จดหมายถูกแพร่กระจายออกไปไม่รู้จบ ข้อความอาจขึ้นต้นด้วยคำเชิญชวนให้ส่งต่อหรือการอ้างเหตุผลที่ควรส่งต่อ และอาจลงท้ายด้วยคำอวยพรต่อผู้ที่ปฏิบัติตามที่จดหมายระบุไว้ และ/หรือ คำสาปแช่งหรือข่มขู่ผู้ที่เพิกเฉยไม่ส่งต่อ เพื่อเร้าให้ผู้อ่านกระทำตาม จดหมายลูกโซ่บางอย่างมีลักษณะหลอกลวงต้มตุ๋นให้ส่งเงิน เช่น คุณเป็นผู้โชคดี หรือมีผู้ส่งเงินมาให้คุณ แต่คุณต้องชำระค่าธรรมเนียม เป็นต้น ซึ่งผิดกฎหมายในหลายประเทศรวมถึงสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันจดหมายลูกโซ่ได้ถูกพัฒนาไปสู่การส่งข้อความผ่านทาง อีเมล, ระบบส่งข้อความทันที (แชต) หรือทาง เว็บบอร์ด เป็นต้น ลักษณะข้อความที่มักถูกเขียนเป็นจดหมายลูกโซ่ เช่น การแจ้งเตือนปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์, แจ้งเตือนว่าผู้ให้บริการฟรีบนอินเทอร์เน็ตจะเริ่มเก็บค่าบริการ, คำแนะนำเพื่อสุขภาพ, คำเตือนเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่ปลอดภัย, เรื่องสยองขวัญ, การอ้างว่าการส่งต่อนั้นจะก่อให้เกิดการบริจาคทางการกุศล เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เขียนขึ้นโดยมิได้อิงอยู่บนข้อเท็จจริงแต่อย่างใด หรืออาจมีลักษณะเป็นทฤษฎีสมคบคิดที่มีความจริงอยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น ข้อความลูกโซ่ในอีเมลหรือในแชตอาจถูกส่งโดยญาติหรือเพื่อน หรือบุคคลที่คุ้นเคย (ที่เชื่อข้อความดังกล่าว แล้วส่งต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ รวมทั้งตัวผู้รับ) ซึ่งอาจทำให้ผู้รับเชื่อหรือเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้ง่ายกว่าข้อความจากผู้ที่ผู้รับไม่คุ้นเคยหรือไม่ปรากฏผู้ส่ง.

ใหม่!!: สแปมและจดหมายลูกโซ่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Spamสแปมเมลอีเมลขยะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »