โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สุวรรณี สุคนธา

ดัชนี สุวรรณี สุคนธา

วรรณี สุคนธา เป็นนามปากกาของ สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง (1 มีนาคม พ.ศ. 2475 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527) นักเขียนชาวไทย สุวรรณีเป็นบุตรของนายย้อยและนางแตงอ่อน มีพี่ชายหนึ่งคน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนผดุงนารี-กวีพิทยา ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก แล้วมาต่อที่วิทยาลัยเพาะช่างสองปี และคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสำเร็จการศึกษาและได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงจิตรกรรม เมื่อ พ.ศ. 2494 จากนั้นจึงเริ่มเป็นครูศิลปะที่โรงเรียนศิลปศึกษา กรุงเทพมหานคร อยู่สามปี แล้วไปเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างนั้นได้เริ่มเขียนเรื่องสั้น เรื่องแรกคือ "จดหมายถึงปุก" (พ.ศ. 2508) โดยตีพิมพ์ในสตรีสาร และใช้นามปากกาว่า "สุวรรณี" ต่อมานายประมูล อุณหธูป บรรณาธิการสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ได้ตั้งนามปากกาให้ใหม่ว่า "สุวรรณี สุคนธา" เมื่อได้ส่งเรื่องสั้นให้ตีพิมพ์ในสยามรัฐ ส่วนนวนิยายเรื่องแรกที่เขียนคือ "สายบ่หยุดเสน่ห์หาย" ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เมื่องานเขียนเริ่มเป็นที่นิยมสุวรรณีจึงลาออกจากราชการ และปฏิบัติงานเขียนอย่างเต็มตัว จนถึง..

31 ความสัมพันธ์: บรรณาธิการบันเทิงคดีพ.ศ. 2494พระจันทร์สีน้ำเงินพรุ่งนี้ฉันจะรักคุณกรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์สวนสัตว์สารเสพติดสตรีสารอำเภอสามเงาจังหวัดพิษณุโลกทองประกายแสดทะเลฤๅอิ่มความรักความรักครั้งสุดท้ายคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรคนเริงเมืองงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประมูล อุณหธูปประเทศไทยนวนิยายนักเขียนนาฏกรรมโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีโศกนาฏกรรมเก้าอี้ขาวในห้องแดงเรื่องสั้นเรื่องของน้ำพุเขาชื่อกานต์

บรรณาธิการ

รรณาธิการ (คำสนธิ: บรรณ (หนังสือ) + อธิการ (เจ้าการ); Editor) เป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำ รวบรวม ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุม เนื้อหาและภาพทั้งหมด ที่จะตีพิมพ์เป็นหนังสือ หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดว่าจะออกเรื่อยไปตามลำดับ โดยใช้ชื่อเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ และนิยมใช้เป็นคำย่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “.ก.” ส่วนคำที่ใช้เรียกกระบวนการลักษณะดังกล่าว คือ บรรณาธิกร (Editing) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ บรรณาธิการ ไว้ว่า ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์ และในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2550 ระบุว่า บรรณาธิการ หมายความถึง บุคคลผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำ และควบคุมเนื้อหา ข้อความ หรือภาพ ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ รวมทั้งวัสดุ หรือเอกสาร ที่แทรกในหนังสือพิมพ์ โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย เมื่อหนังสือพิมพ์ มีความหมายรวมไปถึง นิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในทำนองเดียวกัน.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและบรรณาธิการ · ดูเพิ่มเติม »

บันเทิงคดี

บันเทิงคดี เป็นงานรูปแบบหนึ่งที่ว่าด้วยสารสนเทศหรือเหตุการณ์ซึ่งมิใช่ข้อเท็จจริง แต่เป็นจินตนาการหรือทฤษฎีบางส่วนหรือทั้งหมด กล่าวคือ เป็นงานที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้น แม้บันเทิงคดีจะใช้หมายถึงสาขาหลักของงานวรรณกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังอาจหมายถึง งานละคร ภาพยนตร์หรือดนตรีด้วย บันเทิงคดีตรงข้ามกับสารคดี ซึ่งว่าด้วยเหตุการณ์ คำอธิบาย การสังเกตที่เป็นจริง (หรืออย่างน้อย ที่สันนิษฐานว่าเป็นจริง) เช่น ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ผลงานที่จัดเป็นบันเทิงคดี เช่น นิทาน เรื่องสั้น ภาพยนตร์บางประเภท เรื่องปรัมปรา การ์ตูน หรืออาจเป็นแอนิเมชัน และวิดีโอเกมบางประเภท เป็นต้น หมวดหมู่:ประเภทวรรณกรรม.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและบันเทิงคดี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2494

ทธศักราช 2494 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1951.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและพ.ศ. 2494 · ดูเพิ่มเติม »

พระจันทร์สีน้ำเงิน

ำสำคัญ "พระจันทร์สีน้ำเงิน" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและพระจันทร์สีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ

รุ่งนี้ฉันจะรักคุณ เป็นนวนิยายไทย ผลงานการเขียนของ สุวรรณี สุคนธา เป็นนวนิยายประเภทโรแมนติก ที่ได้สร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาแล้วหลายครั้ง เป็นเรื่องราวของนิอร ถูกแท็กซี่ที่นั่งไปโปะยาสลบ นนท์ผ่านมาเห็นเหตุการณ์จึงได้ช่วยไว้ แต่นิอรสลบเมื่อตื่นขึ้นมาเห็นว่าตัวเองอยู่ในโรงแรมก็เข้าใจผิด นิอรเล่าให้สุภัคฟังเพียงว่าถูกพาเข้าโรงแรม นนท์พยายามตามหานิอรเพื่อบอกความจริง ประนาทพี่ของนิอรมาเยี่ยม ได้พบกับสุภัคและพอใจสุภัคแต่ไม่กล้าบอก นนท์พยายามใกล้ชิดนิอร แต่เธอบ่ายเบี่ยงตลอด จึงเข้าทางสุภัคจึงแกล้งชอบสุภัค แต่ก็ยังไม่บอกความจริงแก่นิอร เนวินเศรษฐีน้ำมันชอบพอนิอรถึงขั้นจะหมั้นกัน นนท์จึงประกาศหมั้นสุภัค ทำให้ประนาทและนิอรตกใจ วันแต่งงานสุภัคและนนท์ นนท์กลับพานิอรหนีการแต่งงาน ประนาทจึงขอสุภัคแต่งงานแทน นนท์สารภาพนิอรถึงวันที่เจอที่โรงแรมว่าไม่ได้มีอะไรกันและนิอรก็บอกกับสุภัคว่าชายที่เธอเจอคือนนท์ ทั้งนิอรและนนท์ก็เข้าใจกันรวมถึงประนาทและสุภัคด้วย พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ได้ถูกนำไปทำเป็นภาพยนตร์ 3 ครั้ง ได้แก่ปี พ.ศ. 2515, พ.ศ. 2523, พ.ศ. 2532 และถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง ได้แก่ปี พ.ศ. 2525 ทางช่อง 3, พ.ศ. 2536 ทางช่อง 5 พ.ศ. 2542 ทางช่อง 7.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและพรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University; ชื่อย่อ: มศก. – SU) เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์ ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและมหาวิทยาลัยศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (Poh-Chang Academy of Arts, Rajamangala University of Technology Rattanakosin) เดิมคือ โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ที่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีสีแดง–สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน เพาะช่างเป็นสถาบันศิลปะการช่าง ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเอาวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์

แพนด้ายักษ์ในสวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์ (Zoo, Zoological park) คือ สถานที่จัดแสดงสัตว์ป่านอกถิ่นอาศัย โดยมีวัตถุประสงคในการรวบรวมสัตวนานาชนิดไวเพื่อประโยชน์ในการศึกษา และอํานวยบริการแก่ประชาชน รวมทั้งสงเสริมและจัดใหมีการบำรุงและผสมพันธุสัตวตางๆ ไวเพื่อมิใหสูญพันธุ โดยมีหน้าที่สำคัญคือ 1.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สารเสพติด

รเสพติด หรือ ยาเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใ.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและสารเสพติด · ดูเพิ่มเติม »

สตรีสาร

ตรีสาร เป็นนิตยสารรายสัปดาห์สำหรับผู้หญิง ที่เกิดขึ้นในปี..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและสตรีสาร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสามเงา

อำเภอสามเงา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและอำเภอสามเงา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและจังหวัดพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

ทองประกายแสด

ทองประกายแสด เป็นบทประพันธ์ของ สุวรรณี สุคนธา เป็นเรื่องราวของ "ทองดี" หรือ ทองประกาย ที่มีความใฝ่ฝันถึงชื่อเสียง เงินตรา เกียรติยศ มีจุดกำเนิดจากเด็กสาวในร้านขายของชำ มุ่งสู่เมืองหลวง ที่เธอคิดว่ามีสิ่งดีๆ รออยู่ จากเสน่ห์และความสวยงามที่มี จึงมีผู้ชายมากมายเข้ามาในชีวิต เธอใช้พวกเขาเหล่านั้นเพื่อเป็นบันไดแห่งชีวิตสู่การเป็นคุณทองประกายที่เลิศหรูและร่ำรวย นวนิยายเรื่อง ทองประกายแสด ได้มีการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ถึง 6 ครั้ง โดยเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง และละคร 4 ครั้ง โดยผู้รับบท ทองประกาย ในภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 คือ วันทนา บุญบันเทิง และภาพยนตร์ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2531 คือ ชุดาภา จันทเขตต์ ส่วนผู้รับบททองประกายในละครโทรทัศน์ ได้แก่ รัชนี จันทรังษี, วิยะดา อุมารินทร์, ธัญญาเรศ รามณรงค์ และ สาวิก.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและทองประกายแสด · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฤๅอิ่ม

ทะเลฤๅอิ่ม เป็นละครโทรทัศน์ไทย สร้างครั้งแรกปี..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและทะเลฤๅอิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ความรัก

วาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต ความรัก (Love) เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน (attachment) ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้าOxford Illustrated American Dictionary (1998) + Merriam-Webster Collegiate Dictionary (2000) ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในพระวรสารในสารบบ ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และเจตคติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นความหมายของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความหมายของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความหมายของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา (J. Mascaró, translator) ความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่ารักนี้ ประกอบกับความรู้สึกอันซับซ้อนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นการยากที่จะนิยามความรักให้แน่นอน แม้จะเทียบกับสภาพอารมณ์อื่น ๆ แล้วก็ตาม วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยพื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์Helen Fisher.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและความรัก · ดูเพิ่มเติม »

ความรักครั้งสุดท้าย

วามรักครั้งสุดท้าย เป็นละครโทรทัศน์แนวดราม่า จากปลายปากกาของ สุวรรณี สุคนธา นิยายเรื่องนี้เคยได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว 2 รอบ ครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและความรักครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University) มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

คนเริงเมือง

นเริงเมือง เป็นนวนิยายเรื่องหนึ่งของ สุวรรณี สุคนธา ซึ่งถ่ายทอดชีวิตของพริ้ง ตัวเอกของเรื่องได้อย่างมีอรรถรสและอรรถศิลป์ ชีวิตของพริ้งซึ่งเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา โดยไม่เคยสนใจความรู้สึกของคนอื่น ถูกเปรียบเทียบกับช้อยพี่สาวแท้ ๆ ซึ่งทั้งชีวิตมีแต่คำว่าให้ และคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นก่อนเสมอ นอกจากนี้ เนื้อเรื่องยังเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนค่านิยมของคนในสมัยนั้น นวนิยายเรื่องนี้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายรอบ ครั้งที่5 ในปี..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและคนเริงเมือง · ดูเพิ่มเติม »

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

ัญลักษณ์ประจำงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (Thai National Book Fair) เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษา ที่มีบริษัทผู้ผลิตหนังสือ สำนักพิมพ์และร้านหนังสือ ร่วมออกร้านมากที่สุดในประเทศไทย ตามปกติจะจัดขึ้นในราวปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประมูล อุณหธูป

ประมูล อุณหธูป นักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า อุษณา เพลิงธรรม มีผลงานเด่น เช่น เรื่องของจัน ดารา ที่นำไปทำเป็นภาพยนตร์ ชื่อ จัน ดารา และมีผลงานเรื่องสั้นได้แก่ ชุดช่อประยงคุ์ และแกมเก็จ โดยการแปลเขามักใช้ชื่อจริงเรื่องแรก คือ โลกียชน ซึ่งแปลจากเรื่อง ตอร์ติล์ยาแฟลท ของจอห์น สไตน์เบ็ค หลังจากนั้นก็มีเรื่องแปลเรื่องอื่น ๆ ติดตามมา อีกหลายเล่ม เช่น ปีศาจสันนิวาส จอมทรนง แสนแค้น ซาลาโก้ เก็บเบี้ยในรังโจร โลงของอีส้า เป็นต้น.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและประมูล อุณหธูป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและนวนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

นาฏกรรม

นาฏกรรม (drama) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่เน้นในด้านการแสดง คำว่า "drama" มาจากคำในภาษากรีกว่า "δράμα" แปลว่า "การกระทำ".

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

รงเรียนเฉลิมขวัญสตรี เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพิษณุโลก เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2466 ในอดีตเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงชั้นฝึกหัดครู ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนเฉพาะชั้นมัธยมต้น-ปลาย ปัจจุบันโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี เป็นโรงเรียนประเภท มัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย แบ่งการเปิดการสอนเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเปิดสอนเฉพาะนักเรียนหญิง ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดสอนแบบ "สหศึกษา".

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี · ดูเพิ่มเติม »

โศกนาฏกรรม

กนาฏกรรม (Tragedy) คือ วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร (drama) ที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น ลิลิตพระลอ, สาวเครือฟ้า, โรเมโอจูเลียต, คู่กรรม โดยความหมายดั้งเดิมของโศกนาฏกรรมในภาษาอังกฤษ คือ Tragedy (/ทรา-จิ-ดี/) มีความหมายถึง วรรณกรรมหรือวรรณคดีสำหรับชนชั้นสูง โดยจะเป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาชั้นสูงหรือภาษาที่มีความสละสลวย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสุขนาฏกรรม หรือ Comedy ที่หมายถึง วรรณกรรมสำหรับชนชั้นล่างหรือระดับชาวบ้านทั่วไป.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและโศกนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เก้าอี้ขาวในห้องแดง

นวนิยายที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งของ สุวรรณี สุคนธา ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร ลลนา ฉบับปฐมฤกษ์ ได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มครั้งที่ 1 เมื่อปี..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและเก้าอี้ขาวในห้องแดง · ดูเพิ่มเติม »

เรื่องสั้น

รื่องสั้น คือ บันเทิงเรียงความร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิด เป็นต้น การดำเนินเรื่องจะมุ่งเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างรวดเร็ว ต้นกำเนิดของเรื่องสั้นมาจากประเพณีการเล่านิทาน ซึ่งมักจะปูโครงเรื่องอย่างคร่าวๆ แล้วเข้าสู่จุดสำคัญของเรื่องอย่างรวดเร็ว ลักษณะเด่นของเรื่องสั้นคือ มักมีเหตุการณ์หลักเพียงเหตุการณ์เดียว โครงเรื่องเป็นคู่ ฉากคู่ จำนวนตัวละครมีมากหรือน้อยก็ได้ และมีระยะเวลาตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องไม่นานนัก สามารถให้อารมณ์ได้เช่นเดียวกับนวน.

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและเรื่องสั้น · ดูเพิ่มเติม »

เรื่องของน้ำพุ

น้ำพุ (2527) นำแสดงโดย ภัทราวดี มีชูธน (ซ้าย) อำพล ลำพูน (ขวา) 200px เรื่องของน้ำพุ เป็นวรรณกรรมที่แต่งจากเรื่องจริงของสุวรรณี สุคนธา โดยเป็นเรื่องของ น้ำพุ หรือ วงศ์เมือง นันทขว้าง (13 มีนาคม 2499 - 28 พฤษภาคม 2517) ลูกชายของผู้เขียนที่ติดยาเสพติด โดยเนื้อเรื่องเป็นจดหมายที่น้ำพุเขียนถึงแม่ตอนไปอดยาที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก เรื่องของน้ำพุ ได้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ ในปี..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและเรื่องของน้ำพุ · ดูเพิ่มเติม »

เขาชื่อกานต์

ื่อกานต์ เป็นภาพยนตร์ไทย ที่สร้างจากนวนิยายที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งของสุวรรณี สุคนธา เรื่อง เขาชื่อกานต์ ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 เป็นงานวรรณกรรม ที่มีลักษณะ บุกเบิกทางความคิด ซึ่งขาดช่วงหายไปเป็นเวลากว่า 10 ปี เป็นภาพยนตร์รุ่นแรก ๆ ของวงการหนังไทยที่กล่าวถึงปัญหาสังคม ถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงของภาพยนตร์ไทย คือการวิพากษ์สังคมเกี่ยวกับหลากหลายปัญหาของสังคมไทย อาทิ ปัญหาความยากจน ปัญหาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น และปัญหาคอร์รัปชั่น ผ่านตัวละครที่ชื่อ "กานต์" หมอหนุ่มที่มีอุดมการณ์สูง ที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้อง และยอมอุทิศตนไปทำงานไปรักษาคนไข้ในเขตชนบท จนเกิดความขัดแย้งกับข้าราชการท้องถิ่น และลงเอยโดยการถูกลอบยิงจนเสียชีวิต จากบทประพันธ์มาเป็นนวนิยายที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรมหลายประเภท ทำให้เรื่องนี้สร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายครั้ง โดยเฉพาะภาพยนตร์ได้มีการรีมาสเตอร์ใหม่เพื่อเป็นการรำลึกถึงหนังไทยสมัยก่อน ภาพยนตร์ เขาชื่อกานต์ ฉบับปี พ.ศ. 2516 กำกับโดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์, ภิญโญ ทองเจือ, คธา อภัยวงศ์, มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เข้าฉายเมื่อ 27 มีนาคม..

ใหม่!!: สุวรรณี สุคนธาและเขาชื่อกานต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »