โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัทอักษรสากล

ดัชนี สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

48 ความสัมพันธ์: พยัญชนะภาษาฝรั่งเศสภาษาสเปนภาษาอังกฤษภาษาอิตาลีภาษาดัตช์ภาษาไทยภาษาเยอรมันยูนิโคดสระสัทอักษรสากลสแกนดิเนเวียหน่วยเสียงอักษรกรีกอักษรละตินคีลตำแหน่งเกิดเสียงปารีสไทป์เฟซเสียงพยัญชนะนาสิกเสียงกัก ริมฝีปาก ก้องเสียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้องเสียงกัก ลิ้นไก่ ไม่ก้องเสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้องเสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้องเสียงกัก เพดานอ่อน ก้องเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้องเสียงกัก เพดานแข็ง ไม่ก้องเสียงกัก เส้นเสียงเสียงรัว ปุ่มเหงือกเสียงนาสิก ริมฝีปากเสียงนาสิก ลิ้นไก่เสียงนาสิก ปลายลิ้นม้วนเสียงนาสิก ปุ่มเหงือกเสียงนาสิก เพดานอ่อนเสียงนาสิก เพดานแข็งเสียงเสียดแทรก ฟัน ก้องเสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้องเสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ก้องเสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ไม่ก้องเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้องเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้องเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้องเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้องเสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้องเสียงเปิด เพดานอ่อนเสียงเปิด เพดานแข็งเสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

สระ

ระ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและสระ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

สแกนดิเนเวีย

แกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื่อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและสแกนดิเนเวีย · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยเสียง

หน่วยเสียง (phoneme) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาษาพูด สัทสมาคมระหว่างประเทศนิยามหน่วยเสียงว่าหมายถึง "ส่วนที่เล็กที่สุดของเสียงที่ใช้เพื่อสร้างความหมายต่าง ๆ เมื่อเปล่งเสียงออกมา" ในทางภาษาศาสตร์ยังมีทรรศนะแตกต่างกันว่าหน่วยเสียงเป็นอย่างไรแน่ และภาษาจำแนกออกเป็นหน่วยเสียงได้อย่างไร แต่โดยทั่วไปจะเข้าใจอย่างกว้าง ๆ ร่วมกันว่าหน่วยเสียงเป็นภาวะนามธรรมของชุดเสียงพูดที่ถือว่ามีลักษณะเหมือนกันในภาษานั้น ๆ ตัวอย่างเช่นในภาษาอังกฤษ "k" ในคำว่า kit และ skill ออกเสียงต่างกัน แต่ผู้พูดภาษาอังกฤษถือว่าเป็นเสียงเดียวกัน ดังนั้น k ในคำทั้งสองจึงถือเป็นหน่วยเสียงเดียวกันในรูป กรณีเสียงพูดต่างกันแต่ใช้หน่วยเสียงเดียวกันนี้เรียกว่าเสียงย่อย (allophone) ดังนั้นจึงถือว่าหน่วยเสียงเป็นตัวแสดงคำต่าง ๆ ออกมา การศึกษาระบบหน่วยเสียงถือเป็นประเด็นศึกษาหลักของสัทวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและหน่วยเสียง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

คีล

ีล (Kiel) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ประเทศเยอรมนี มีประชากร 238,049 คน (ค.ศ. 2010) คีลอยู่ห่างจากเมืองฮัมบวร์คราว 90 กม.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและคีล · ดูเพิ่มเติม »

ตำแหน่งเกิดเสียง

ตำแหน่งเกิดเสียง:1. ริมฝีปาก ด้านนอก (Exo-labial) 2. ริมฝีปาก ด้านใน (Endo-labial) 3. ฟัน (Dental) 4. ปุ่มเหงือก (Alveolar) 5. หลังปุ่มเหงือก (Post-alveolar) 6. หน้าเพดานแข็ง (Pre-palatal) 7. เพดานแข็ง (Palatal) 8. เพดานอ่อน (Velar) 9. ลิ้นไก่ (Uvular) 10. ช่องคอ (Pharyngeal) 11. เส้นเสียง (Glottal) 12. ลิ้นปิดกล่องเสียง (Epiglottal) 13. โคนลิ้นในช่องคอ (Radical) 14. ผนังลิ้นส่วนหลัง (Postero-dorsal) 15. ผนังลิ้นส่วนหน้า (Antero-dorsal) 16. ปลายลิ้น (Laminal) 17. ปลายสุดลิ้น (Apical) 18. ใต้ปลายสุดลิ้น (Sub-apical) ตำแหน่งเกิดเสียง (place of articulation, point of articulation) ในทางสัทศาสตร์ เป็นตำแหน่งกำเนิดเสียงพยัญชนะ คือตำแหน่งในช่องเสียง (vocal tract) ที่เกิดการกีดขวาง จากการเคลื่อนตำแหน่งของกรณ์ (โดยปกติคือ บางส่วนของลิ้น) และฐาน (ปกติคือ บางส่วนของเพดานปาก) โดยเมื่อรวมกับลักษณะการออกเสียง (manner of articulation) และการเปล่งเสียงพูด (phonation) ทำให้เกิดเสียงพยัญชนะที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและตำแหน่งเกิดเสียง · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ไทป์เฟซ

ตัวอย่างการทดสอบการพิมพ์ไทป์เฟซด้วยขนาดและภาษาต่างๆ ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร (typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคน.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและไทป์เฟซ · ดูเพิ่มเติม »

เสียงพยัญชนะนาสิก

ียงพยัญชนะนาสิก เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วยริมฝีปากหรือลิ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่ออกเสียงขึ้นจมูก (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงพยัญชนะนาสิก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง

ียงกัก ริมฝีปาก ก้อง หรือ เสียงระเบิด ฐานริมฝีปาก โฆษะ (voiced bilabial plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ b เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้อง

ียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้อง หรือ เสียงระเบิด ฐานริมฝีปาก อโฆษะ (voiceless bilabial plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ p เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ป ผ พ แล.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ลิ้นไก่ ไม่ก้อง

เสียงกัก ลิ้นไก่ ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่นภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาคาซัค ภาษาอุซเบก ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ q ออกเสียงคล้าย แต่ดันโคนลิ้นแตะที่ลิ้นไก่แทนเพดานอ่อน การทับศัพท์เสียงนี้มักใช้ ก หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก ลิ้นไก่ ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ d เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ฎ ฑ และ ด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง (voiceless alveolar plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ t เสียงนี้มักจะปรากฏในหลายภาษาโดยทั่วไปในลักษณะธรรมดา คือ แต่ในภาษาไทยจะมีสองแบบคือแบบไม่พ่นลม และแบบพ่นลม ภาษาในอินเดียมักจะแบ่งออกเป็นสองแบบเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นภาษาฮินดี ภาษาที่ไม่มีเสียงนี้คือ ภาษาฮาวาย (นอกเขตนีอิเฮา) ในภาษาไทย เสียงนี้เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันของพยางค์จะแทนได้ด้วยอักษรแทนด้วยอักษรที่แตกต่างกัน เสียงแบบไม่พ่นลมจะแทนด้วย ฏ ต เมื่ออยู่ต้นพยางค์ แต่เมื่ออยู่ท้ายพยางค์จะแทนได้ด้วย จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส ส่วนเสียงแบบพ่นลมจะอยู่ได้เฉพาะตำแหน่งต้นพยางค์ และแทนได้ด้วยอักษร ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง

เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย แต่คล้ายเสียง ก ในไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ (สัทอักษรกำหนดให้ใช้ 8px แบบหางเปิด) และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ g การทับศัพท์เสียงนี้มันใช้ ก หรือ ง หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง

เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ k เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ก เมื่อไม่พ่นลม และ ข ฃ ค ฅ ฆ เมื่อพ่นลม หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เพดานแข็ง ไม่ก้อง

เสียงกัก เพดานแข็ง ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ c/tt> เสียงนี้ในไม่มีภาษาไทยอาจจะแทนด้วยตัวอักษร จ เมื่อไม่พ่นลม และ ฉ ช ฌ เมื่อพ่นลม หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก เพดานแข็ง ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เส้นเสียง

เสียงกัก เส้นเสียง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ ? เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร อ หรือปรากฏหลังสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงกัก เส้นเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงรัว ปุ่มเหงือก

เสียงรัว ปุ่มเหงือก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาโปรตุเกส, ภาษารัสเซีย, ภาษาเขมร ฯลฯ เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ร สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ r หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงรัว ปุ่มเหงือก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก ริมฝีปาก

เสียงนาสิก ริมฝีปาก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ m เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ม หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงนาสิก ริมฝีปาก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก ลิ้นไก่

ียงนาสิก ลิ้นไก่ เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่นภาษาญี่ปุ่น ภาษาสเปน ภาษาเกชัว ภาษาพม่า ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ N\ ออกเสียงคล้าย ŋ แต่ดันโคนลิ้นแตะที่ลิ้นไก่แทนเพดานอ่อน การทับศัพท์เสียงนี้มักใช้ ง.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงนาสิก ลิ้นไก่ · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก ปลายลิ้นม้วน

ียงนาสิก ปลายลิ้นม้วน เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา โดยเฉพาะกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เช่นภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาทมิฬ ภาษามาลายาลัม ภาษาสันสกฤต ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ n` การทับศัพท์มักใช้ ณ ซึ่งตรงกับการจัดวรรคพยัญชนะของภาษากลุ่มนี้.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงนาสิก ปลายลิ้นม้วน · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก

เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ n เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ณ และ น ส่วนอักษร ญ ร และ ล จะออกเสียงเป็นเสียงนี้เมื่อทำหน้าที่เป็นตัวสะกด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงนาสิก ปุ่มเหงือก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก เพดานอ่อน

เสียงนาสิก เพดานอ่อน เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ N เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ง ในภาษาอื่นๆรวมถึงไทยมักใช้ ng เป็นอักษรโรมันในการทับศัพท์เสียงนี้ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงนาสิก เพดานอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก เพดานแข็ง

เสียงนาสิก เพดานแข็ง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาสเปน, ภาษาโปรตุเกส, ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ J เสียงนี้เป็นเสียงเดิมของ ญ ซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฏในภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่นใต้ แต่ยังพบได้ในสำเนียงสุโขทัย, ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นเหนือ การทับศัพท์จึงมักใช้ ญ ตามไปด้วย หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงนาสิก เพดานแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ฟัน ก้อง

ียงเสียดแทรก ฟัน ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาเวลส์ ภาษาไอซ์แลนด์ ฯลฯ แต่ไม่มีในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /ð/ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ D การทับศัพท์ในภาษาไทย มักใช้ ด แทนเสียงนี้ให้กับ th ของภาษาอังกฤษ เช่น the.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก ฟัน ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า ภาษากะเหรี่ยง ฯลฯ แต่ไม่มีในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /θ/ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ T การทับศัพท์ในภาษาไทย มักใช้ ธ, ท, ซ แทนเสียงนี้ให้กับ th ของภาษาอังกฤษ เช่น theta อาจพบเป็น เซตา, ซีตา, ธีตา ฯลฯ ในขณะที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ใช้ ท เพียงอย่างเดียว หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ก้อง

เสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ฯลฯ แต่ไม่มีในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /v/ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ v การทับศัพท์ในภาษาไทยมักใช้ ว เมื่อเป็นพยัญชนะต้น และ ฟ เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด เช่น server เขียนว่า เซิร์ฟเวอร์ บางครั้งก็อาจพบการใช้ ฝ ในพจนานุกรมได้เช่นกัน หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ไม่ก้อง

ียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /f/.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /z/ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /s/ ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ซ ส ศ และ ษ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง

ียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง (voiced velar fricative) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา ยกเว้นภาษาไทย สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ ซึ่งเป็นรูปแปรหนึ่งของตัวอักษรกรีก γ (แกมมา) ที่ใช้เป็นพยัญชนะแทนเสียงนี้ในภาษากรีกสมัยใหม่ (เป็นสัทอักษรคนละตัวกับ ซึ่งแทนเสียงสระเออะ/เออของภาษาไทย) นอกจากนี้ บางครั้งมีการใช้สัญลักษณ์ แทนเสียงเปิด เพดานอ่อน (velar approximant) ซึ่งที่จริงหากเขียนโดยมีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับอยู่ด้วยเป็น หรือ ก็จะถูกต้องกว.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง

ียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง (voiceless velar fricative) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาเยอรมัน, ภาษาสเปน, ภาษาโปรตุเกส, ภาษารัสเซีย, ภาษาจีนกลาง ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /x/ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ x เสียงนี้เป็นเสียงหนึ่งในบรรดาเสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษเก่า และยังคงปรากฏในบางภาษาถิ่นของภาษาอังกฤษปัจจุบัน หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดให้เขียนทับศัพท์เสียง /x/ ในทุกภาษา (เท่าที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้) ด้วย ค ยกเว้นภาษาอังกฤษให้ใช้ ก เมื่อเป็นตัวสะกด ส่วนภาษาจีนและภาษารัสเซียให้ใช้ ฮ อย่างไรก็ตาม ในการทับศัพท์ภาษารัสเซียนั้น ปัจจุบันนิยมใช้ ค แทนเสียงนี้ แม้แต่ในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่มาจากราชบัณฑิตยสถานเอง ส่วนภาษาสเปน (ซึ่งพบเสียงนี้เป็นตัวสะกดท้ายพยางค์ไม่บ่อยนัก) บางคนนิยมทับศัพท์เสียงนี้ด้ว.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ h เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ห และ ฮ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเปิด เพดานอ่อน

เสียงเปิด เพดานอ่อน เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้อยู่ในหลายภาษา เช่นภาษาสเปน ภาษาเกาหลี ฯลฯ แต่ไม่พบในไม่พบในภาษาไทยมาตรฐาน สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /ɰ/ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ M\ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเปิด เพดานอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเปิด เพดานแข็ง

เสียงเปิด เพดานแข็ง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ j เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ญ และ ย ในตำแหน่งพยัญชนะต้น ส่วนในตำแหน่งพยัญชนะท้ายจะสะกดได้ด้วย ย เท่านั้น ยกเว้นเมื่อเป็นเสียง /aj/ จะสามารถใช้ ไ และ ใ แทนเสียงดังกล่าวได้ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเปิด เพดานแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก

เสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ l เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ล และ ฬ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สัทอักษรสากลและเสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

IPAInternational Phonetic Alphabetสมาคมสัทอักษรสากลสัทอักษรอักษรสัทศาสตร์สากล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »