โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไพกา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไพกา

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม vs. ไพกา

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น. กา (pika, pica, rock rabbit, coney; วงศ์ Ochotonidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับกระต่าย (Lagomorpha) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ochotonidae ไพกาจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับกระต่าย ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือไปจากกระต่าย (Leporidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปเล็กกว่ากระต่าย แลดูคล้ายหนู ใบหูมีขนาดใหญ่แต่สั้นและเล็กกว่ากระต่าย มีขนอ่อนนุ่มสีเทาหรือสีน้ำตาลตลอดทั้งลำตัว มีหางขนาดเล็กจนมองไม่เห็น มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 นิ้ว หนักประมาณ 6 ออนซ์ มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 25-30 วัน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยแต่ละตัวนั้นจะมีหน้าที่ของตัวเอง ในการหาอาหารและแบ่งปันกัน และมีพฤติกรรมที่จะแสดงตัวเพื่อที่จะประกาศอาณาเขต โดยจะหากินในเวลากลางวัน มีหญ้าเป็นอาหารหลัก โดยใช้เวลาทั้งวันในการสะสมอาหาร ไม่มีพฤติกรรมจำศีลในช่วงฤดูหนาว ไพกาตัวเมียในประเทศญี่ปุ่น มีพฤติกรรมจะกลบซ่อนรังที่มีลูกอ่อนไว้ด้วยใบไม้และดิน เสมือนกับว่าฝังทั้งเป็นหรือทำรังอยู่ใต้ดิน เพื่อหลบซ่อนสัตว์นักล่า ลูกไพกาจะสามารถหลบซ่อนอยู่ใต้ดินอย่างนั้นได้นานถึง 2 วัน มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Ochotona พบทั้งหมดประมาณ 30 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ของโลกแถบเหนือที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น อเมริกาเหนือ, ยุโรปตะวันออก, ยูเรเชีย จนถึงเอเชียตะวันออก เช่น จีน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไพกา

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไพกา มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระต่ายฤดูหนาวสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์หนูอันดับกระต่ายทวีปอเมริกาเหนือ

กระต่าย

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งเป็นกระต่ายสายพันธุ์เล็ก และนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง กระต่าย (Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac, C\tfrac, P\tfrac, M\tfrac) X 2.

กระต่ายและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · กระต่ายและไพกา · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาว

ฤดูหนาว (ฝรั่งเศส: hiver; เยอรมัน อังกฤษ: winter; สเปน: invierno; โปรตุเกส: inverno) เป็นฤดูที่มีอากาศหนาวที่สุดในปี ฤดูหนาวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนือ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 22 มีนาคม ของทุกปี เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป อากาศจะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ของประเทศไทยอุณหภูมิจะลดลงได้บ้างเป็นครั้งคราวและจะมีฝนตกตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปจนถึงนราธิวาส หนาว หมวดหมู่:ฤดูหนาว.

ฤดูหนาวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ฤดูหนาวและไพกา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์และไพกา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์มีแกนสันหลังและไพกา · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

สปีชีส์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สปีชีส์และไพกา · ดูเพิ่มเติม »

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและหนู · หนูและไพกา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกระต่าย

อันดับกระต่าย (Rabbit, Hare, Pika; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagomorpha-ออกเสียงว่า /ลา-โก-มอร์-ฟา/ มาจากภาษากรีกคำว่า "λαγος" หมายถึง กระต่ายป่า และ "μορφή" หมายถึง ลักษณะ, รูปร่าง) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) เช่น หนู หรือกระรอก ด้วยว่ามีฟันในลักษณะฟันแทะเหมือนกัน ซึ่งเดิมเคยถูกรวมไว้อยู่ด้วนกัน แต่ว่าสัตว์ในอันดับนี้มีฟันแทะที่แตกต่างจากสัตว์ฟันแทะ คือมี ฟันตัดบนหรือฟันหน้า 2 คู่ (4 ซี่ คู่แรกอยู่ด้านหน้า คู่หลังจะซ่อนอยู่ข้าง ๆ ภายในกรามบน) ขณะที่ สัตว์ฟันแทะมี 1 คู่ (2 ซี่) เท่านั้น ทำให้การเคี้ยวของอาหารของสัตว์ทั้งสองอันนี้ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ สัตว์ในอันดับกระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 คู่นี้เคี้ยวสลับกัน จึงจะเห็นเมื่อเวลาเคี้ยวจะใช้กรามสลับข้างกันซ้าย-ขวา อีกทั้งพฤติกรรมการกินก็ต่างกันออกไป เนื่องจาก สัตว์ฟันแทะจะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่สัตว์ในอันดับกระต่ายจะกินได้เพียงพืชเท่านั้น และลักษณะเด่นอีกประการหนึ่ง ก็คือ ในตัวผู้ สัตว์ในอันดับกระต่ายจะมีถุงหุ้มอัณฑะอยู่หน้าอวัยวะเพศ แต่สัตว์ฟันแทะจะมีถุงหุ้มอัณฑะอยู่หลังอวัยวะเพศ และอวัยวะเพศของสัตว์ในอันดับกระต่าย จะไม่มีแท่งกระดูกอยู่ภายใน แต่ในสัตว์ฟันแทะจะมี ปัจจุบัน มีเพียง 2 วงศ์ เท่านั้น โดยสูญพันธุ์ไปแล้ว 1 วงศ์ (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ของโลก แม้กระทั่งอาร์กติก ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี ก็คือ กระต่าย ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงทั้งในแง่ของความเพลินเพลิน สวยงาม และบริโภคเป็นอาหาร.

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอันดับกระต่าย · อันดับกระต่ายและไพกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ทวีปอเมริกาเหนือและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ทวีปอเมริกาเหนือและไพกา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไพกา

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มี 175 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไพกา มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 4.08% = 8 / (175 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไพกา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »