โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถิติศาสตร์

ดัชนี สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

10 ความสัมพันธ์: การวิเคราะห์สำมะโนทฤษฎีความน่าจะเป็นข้อมูลความน่าจะเป็นคณิตตรรกศาสตร์ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม)ประชากรแนวโน้มสู่ส่วนกลาง

การวิเคราะห์

การวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และการวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

สำมะโน

ผู้เก็บข้อมูลสำมะโนขณะเยี่ยมครอบครัวชาวโรมานีที่อาศัยอยู่ในคาราวาน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1925 สำมะโน (census) เป็นวิธีดำเนินการได้มาซึ่งและบันทึกสารสนเทศอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสมาชิกของประชากรหนึ่ง ๆ คำนี้ใช้เชื่อมโยงกับสำมะโนประชากรและเคหะมากที่สุด แต่สำมะโนที่พบบ่อยชนิดอื่นได้แก่ สำมะโนเกษตรกรรม ธุรกิจและจราจร สหประชาชาตินิยามลักษณะสำคัญของสำมะโนประชากรและเคหะว่า "การแจกนับปัจเจกซึ่งเป็นสากลในดินแดนตามที่กำหนด ความเป็นเวลาเดียวกันและมีภาวะเป็นคาบตามที่กำหนด" และแนะนำให้จัดทำสำมะโนประชากรอย่างน้อยทุก 10 ปี ข้อแนะนำของสหประชาชาติยังครอบคลุมหัวข้อสำมะโนที่ควรรวบรวม บทนิยามอย่งเป็นทางการ และสารสนเทศที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นเพื่อประสานงานการปฏิบัติระหว่างประเทศ คำว่า "census" เป็นคำภาษาละติน ระหว่างสาธารณรัฐโรมัน เซนซัสเป็นรายการที่เก็บติดตามชายฉกรรจ์ที่พร้อมรับราชการทหาร สำมะโนสมัยใหม่มีความสำคัญต่อการเปรียบเทียบระหว่างประเทศสำหรับสถิติทุกชนิด และสำมะโนเก็บข้อมูลลักษณะเฉพาะหลายอย่างของประชากร ไม่เพียงแต่ว่ามีจำนวนประชากรเท่าใดเท่านั้น แต่ปัจจุบันสำมะโนเกิดในระบบแบบสำรวจซึ่งตรงแบบเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรศาสตร์ของชาติเท่านั้น แม้ประมาณการประชากรยังเป็นหน้าที่สำคัญของสำมะโน รวมทั้งการรวมการกระจายทางภูมิศาสตร์อย่างแน่ชัดของประชากร แต่สถิติยังสามารถสร้างได้จากการรวมลักษณะเฉพาะ เช่น การศึกษาแบ่งตามอายุและเพศในภูมิภาคต่าง ๆ ระบบข้อมูลบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันทำให้การแจงนับแนวทางอื่นมีระดับรายละเอียดเดียวกัน แต่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเฉพาะส่วนตัวและโอกาสที่ประมาณการเกิดความลำเอียงได้ สำมะโนอาจแตกต่างจากการชักตัวอย่างที่สารสนเทศจะได้มาจากเซตย่อยของประชากรเท่านั้น ซึ่งตรงแบบประมาณการประชากรหลักมีการปรับตามประมาณการระหว่างสำมะโนดังกล่าว ข้อมูลสำมะโนสมัยใหม่มีใช้แพร่หลายเพื่อการวิจัย การตลาดธุรกิจ และการวางแผน และเป็นเส้นฐานสำหรับออกแบบแบบสำรวจตัวอย่างโดยให้กรอบชักตัวอย่าง เช่น ทะเบียนเลขที่อยู่ ยอดของสำมะโนจำเป็นต่อการปรับตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรโดยการถ่วงน้ำหนักที่ใช้บ่อยในการสำรวจความเห็น ในทำนองเดียวกัน การจัดช่วงชั้นต้องอาศัยความรู้ขนาดโดยสัมพัทธ์ของช่วงชั้นประชากรต่าง ๆ ซึ่งได้มาจากการแจงนับในสำมะโน สำมะโนในบางประเทศยังให้ยอดอย่างเป็นทางการที่ใช้กำหนดจำนวนผู้แทนตามส่วนของพลเมือง (apportion) แก่ภูมิภาคต่าง ๆ ในหลายกรณี ตัวอย่างที่สุ่มเลือกอย่างระมัดระวังสามารถให้สารสนเทศแม่นยำกว่าพยายามทำสำมะโนประชากร.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และสำมะโน · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีความน่าจะเป็น

ทฤษฎีความน่าจะเป็น คือการศึกษาความน่าจะเป็นแบบคณิตศาสตร์ นักคณิตศาสตร์จะมองความน่าจะเป็นว่าเป็นตัวเลขระหว่างศูนย์กับหนึ่ง ที่กำหนดให้กับ "เหตุการณ์" (ความน่าจะเป็นที่เท่ากับ 0 ก็คือไม่มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 แสดงว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน) ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ความน่าจะเป็น P(E) ถูกกำหนดให้กับเหตุการณ์ E ตามสัจพจน์ของความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ E จะเกิดขึ้น เมื่อ กำหนด ให้อีกเหตุการณ์ F เกิดขึ้น เรียกว่าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไข ของ E เมื่อให้ F โดยค่าความน่าจะเป็นคือ P(E \cap F)/P(F) (เมื่อ P(F) ไม่เป็นศูนย์) ถ้าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไขของ E เมื่อให้ F มีค่าเช่นเดียวกับความน่าจะเป็น (แบบไม่มีเงื่อนไข) ของ E เราจะกล่าวว่าเหตุการณ์ E และ F เป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกันเชิงสถิติ เราจะสังเกตได้ว่าความสัมพันธ์นี้เป็นความสัมพันธ์สมมาตร ทั้งนี้เนื่องจากการเป็นอิสระต่อกันนี้เขียนแทนได้เป็น P(E \cap F).

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และทฤษฎีความน่าจะเป็น · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมูล

้อมูล คือค่าของตัวแปรในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ ที่อยู่ในความควบคุมของกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลในเรื่องการคอมพิวเตอร์ (หรือการประมวลผลข้อมูล) จะแสดงแทนด้วยโครงสร้างอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นโครงสร้างตาราง (แทนด้วยแถวและหลัก) โครงสร้างต้นไม้ (กลุ่มของจุดต่อที่มีความสัมพันธ์แบบพ่อลูก) หรือโครงสร้างกราฟ (กลุ่มของจุดต่อที่เชื่อมระหว่างกัน) ข้อมูลโดยปกติเป็นผลจากการวัดและสามารถทำให้เห็นได้โดยใช้กราฟหรือรูปภาพ ข้อมูลในฐานะมโนทัศน์นามธรรมอันหนึ่ง อาจมองได้ว่าเป็นระดับต่ำที่สุดของภาวะนามธรรมที่สืบทอดเป็นสารสนเทศและความรู้ ข้อมูลดิบ หรือ ข้อมูลที่ยังไม่ประมวลผล เป็นศัพท์อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง หมายถึงการรวบรวมจำนวนและอักขระต่าง ๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นตามปกติในการประมวลผลข้อมูลเป็นระยะ และ ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว จากระยะหนึ่งอาจถือว่าเป็น ข้อมูลดิบ ของระยะถัดไปก็ได้ ข้อมูลสนามหมายถึงข้อมูลดิบที่รวบรวมมาจากสภาพแวดล้อม ณ แหล่งกำเนิด ที่ไม่อยู่ในการควบคุม ข้อมูลเชิงทดลองหมายถึงข้อมูลที่สร้างขึ้นภายในสภาพแวดล้อมของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยการสังเกตและการบันทึก.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

ความน่าจะเป็น

วามน่าจะเป็น คือการวัดหรือการประมาณความเป็นไปได้ว่า บางสิ่งบางอย่างจะเกิดขึ้นหรือถ้อยแถลงหนึ่ง ๆ จะเป็นจริงมากเท่าใด ความน่าจะเป็นมีค่าตั้งแต่ 0 (โอกาส 0% หรือ จะไม่เกิดขึ้น) ไปจนถึง 1 (โอกาส 100% หรือ จะเกิดขึ้น) ระดับของความน่าจะเป็นที่สูงขึ้น คือความเป็นไปได้มากขึ้นที่เหตุการณ์นั้นจะเกิด หรือถ้ามองจากเงื่อนเวลาของการสุ่มตัวอย่าง คือจำนวนครั้งมากขึ้นที่เหตุการณ์เช่นนั้นคาดหวังว่าจะเกิด มโนทัศน์เหล่านี้มาจากการแปลงคณิตศาสตร์เชิงสัจพจน์ในทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในขอบเขตการศึกษาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การเงิน การพนัน วิทยาศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์/การเรียนรู้ของเครื่อง และปรัชญา เพื่อร่างข้อสรุปเกี่ยวกับความถี่ที่คาดหวังของเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นอาทิ ทฤษฎีความน่าจะเป็นก็ยังนำมาใช้เพื่ออธิบายกลไกรากฐานและความสม่ำเสมอของระบบซับซ้อน.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และความน่าจะเป็น · ดูเพิ่มเติม »

คณิตตรรกศาสตร์

ณิตตรรกศาสตร์ (Mathematical logic) คือสาขาหนึ่งในคณิตศาสตร์ที่ศึกษาระบบรูปนัย และคุณลักษณะที่ระบบดังกล่าวจะสามารถใช้เพื่อแสดงมโนทัศน์ของบทพิสูจน์ และการคำนวณในส่วนที่เป็นรากฐานของคณิตศาสตร์ แม้ว่าคนทั่วไปมักมีความเข้าใจว่า คณิตตรรกศาสตร์คือ ตรรกศาสตร์ของคณิตศาสตร์ แต่ความจริงแล้วสาขานี้ใกล้เคียงกับ คณิตศาสตร์ของตรรกศาสตร์ มากกว่า เนื้อหาวิชาในสาขานี้ครอบคลุมส่วนของตรรกศาสตร์ที่สามารถโมเดลในรูปของคณิตศาสตร์ได้ เมื่อก่อนสาขานี้ถูกเรียกว่า ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ (ในลักษณะที่ตรงข้ามกับตรรกศาสตร์เชิงปรัชญา) และอภิคณิตศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นเพียงคำที่ใช้ในบางสาขาของทฤษฎีบทพิสูจน.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และคณิตตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: SD) ในทางสถิติศาสตร์และความน่าจะเป็น เป็นการวัดการกระจายแบบหนึ่งของกลุ่มข้อมูล สามารถนำไปใช้กับการแจกแจงความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม ประชากร หรือมัลติเซต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมักเขียนแทนด้วยอักษรกรีกซิกมาตัวเล็ก (σ) นิยามขึ้นจากส่วนเบี่ยงเบนแบบ root mean square (RMS) กับค่าเฉลี่ย หรือนิยามขึ้นจากรากที่สองของความแปรปรวน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคิดค้นโดย ฟรานซิส กาลตัน (Francis Galton) ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 เป็นการวัดการกระจายทางสถิติที่เป็นปกติทั่วไป ใช้สำหรับเปรียบเทียบว่าค่าต่างๆ ในเซตข้อมูลกระจายตัวออกไปมากน้อยเท่าใด หากข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยมาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็จะมีค่าน้อย ในทางกลับกัน ถ้าข้อมูลแต่ละจุดอยู่ห่างไกลจากค่าเฉลี่ยเป็นส่วนมาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็จะมีค่ามาก และเมื่อข้อมูลทุกตัวมีค่าเท่ากันหมด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจะมีค่าเท่ากับศูนย์ นั่นคือไม่มีการกระจายตัว คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้หน่วยอันเดียวกันกับข้อมูล แต่กับความแปรปรวนนั้นไม่ใช่ เมื่อตัวอย่างของข้อมูลกลุ่มหนึ่งถูกเลือกมาจากประชากรทั้งหมด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากรสามารถประมาณค่าได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่างนั้น.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม)

ฉลี่ย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ประชากร

ประชากร หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน วิชาพลศาสตร์ประชากร ศึกษาโครงสร้างประชากรทั้งในแง่ของขนาด อายุ และเพศ รวมถึงภาวะการตาย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ และการเพิ่มของประชากร ประชากรศาสตร์ ศึกษาพลศาสตร์ประชากรของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประชากรในด้านสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ประชากรนั้นต้องถือสัญชาติในรัฐที่ตนอยู่ แตกต่างจากบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ เช่น คนที่มาเปลี่ยนเที่ยวบินที่ประเทศไทย และ ต้องมีสิทธิพิเศษเหนือประชากรที่มาจากรัฐอื่น หากอยู่ในดินแดนของรัฐนั้น ตามสายโลหิต หรือตามสิทธิที่จะได้รับตามรัฐธรรมนูญ ความหนาแน่นประชากร คือ จำนวนคนหรือสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่ พื้นที่ใดมีความหนาแน่นประชากรสูง แสดงว่ามีจำนวนประชากรมาก หมวดหมู่:สังคม * หมวดหมู่:ประชากร id:Penduduk#Penduduk dunia.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และประชากร · ดูเพิ่มเติม »

แนวโน้มสู่ส่วนกลาง

แนวโน้มสู่ส่วนกลาง (central tendency) หรือ ค่าเฉลี่ย (average) ในทางคณิตศาสตร์ คือจำนวนหรือค่าของข้อมูลใดๆ ที่เป็นตัวแทนค่ากึ่งกลางสำหรับอ้างอิงในชุดข้อมูลที่พิจารณา ในการหาค่าเฉลี่ยของชุดข้อมูลหนึ่งๆ สามารถทำได้หลายวิธีการ ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันออกไป เช่น.

ใหม่!!: สถิติศาสตร์และแนวโน้มสู่ส่วนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การวิเคราะห์เชิงสถิติสถิติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »