โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

ดัชนี สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

งครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (Austro-Prussian War) หรือ สงครามเจ็ดสัปดาห์ (Seven Weeks' War) หรือ สงครามรวมชาติ (Unification War) หรือ สงครามพี่น้อง (Brothers War) เป็นสงครามในปี..

40 ความสัมพันธ์: พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 แห่งอิตาลีกองทัพใหญ่การรวมชาติเยอรมันมหาอำนาจยุโรปกลางยุโรปภาคพื้นทวีปรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์รัฐเบรเมินราชรัฐลิพเพอราชวงศ์ฮาพส์บวร์คราชอาณาจักรบาวาเรียราชอาณาจักรอิตาลีราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ราชอาณาจักรซัคเซินราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์คสมาพันธรัฐเยอรมันสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือสงครามนโปเลียนออทโท ฟอน บิสมาร์คฮัมบวร์คฮ็อลชไตน์จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรียจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนีจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรวรรดิออสเตรียจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทะเลเอเดรียติกดัชชีชเลสวิจดัชชีเบราน์ชไวค์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาซัคเซิน-ไมนิงเงินแคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลียแคว้นเวเนโตโบฮีเมียเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เสรีนครลือเบ็คเฮลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอ

พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 แห่งอิตาลี

พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 แห่งอิตาลี (Vittorio Emanuele II d'Italia) ปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิตาลี ประสูติเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1820 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าการ์โล อัลแบร์โต กษัตริย์แห่งซาร์ดิเนียและพระนางมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรียและทัสคานี ในที่สุดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861 ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย สามารถรวบรวมรัฐต่าง ๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวและสถาปนาราชอาณาจักรอิตาลีได้สำเร็จ พระเจ้าพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 จึงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อิตาลีพระองค์แรก และสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1878 ขณะพระชนมายุได้ 58 พรรษา หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อิตาลี หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ซาร์ดิเนีย.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 แห่งอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพใหญ่

กองทัพใหญ่ (La Grande Armée, ในภาษาอังกฤษมักแปลว่า "the Great Army" หรือ "the Grand Army") เป็นชื่อของกองทัพฝรั่งเศสในยุคสงครามนโปเลียน กองทัพนี้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 1805 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ได้ตั้งชื่อของกองทัพที่พระองค์ทรงรวบรวมจากชายฝั่งของประเทศฝรั่งเศสแถบช่องแคบอังกฤษเพื่อเตรียมการรุกรานเกาะบริเตนใหญ่ แต่แผนการดังการกลับล้มเหลวเนื่องจากการพ่ายแพ่ในยุทธนาวีทราฟัลการ์ ภายหลังพระองค์ได้ฟื้นฟูกองทัพใหญ่ขึ้นมาอีกครั้งทางด้านตะวันออกของประเทศ เพื่อเปิดฉากการรบต่อจักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิรัสเซียในปีเดียวกัน.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและกองทัพใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การรวมชาติเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมันระหว่างค.ศ. 1871–1918 การรวมชาติเยอรมัน (Deutsche Einigung) คือการที่รัฐเล็กน้อยต่างๆที่พูดภาษาเยอรมันถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน การรวมชาติมีขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและการรวมชาติเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาอำนาจ

มหาอำนาจ หมายถึงรัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจแบบอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนาDanilovic, Vesna.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์

ลสวิช-ฮ็อลชไตน์ (Schleswig-Holstein) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเยอรมนี มีเมืองคีลเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญ ได้แก่ เมืองลือเบค เป็นทั้งเมืองโบราณที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ยังเป็นเมืองท่าสำคัญชายฝั่งทะเลบอลติก และเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีชื่อเสียง.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเบรเมิน

รเมิน (Bremen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ เสรีนครฮันเซอเบรเมิน (Freie Hansestadt Bremen) เป็นนครรัฐในประเทศเยอรมนี และยังถือว่าเป็นรัฐที่เล็กที่สุดในบรรดา 16 รัฐของประเทศเยอรมนี เบรเมินเป็นอดีตเสรีนครในสันนิบาตฮันเซอ.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและรัฐเบรเมิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐลิพเพอ

ราชรัฐลิพเพอ (Fürstentum Lippe, Principality of Lippe) เป็นอดีตอาณาจักรที่เดิมเป็นรัฐในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชรัฐลิพเพอก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1123 และมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1918 ราชรัฐลิพเพอตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำเวเซอร์และทางตอนใต้ของป่าทิวโทแบร์กในบริเวณที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี ผู้ก่อตั้งลิพเพอคือแบร์นฮาร์ดที่ 1 ผู้ได้รับพระราชทานสิทธิดินแดนจากสมเด็จพระจักรพรรดิโลแธร์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1123 จากนั้นแบร์นฮาร์ดตั้งตนเป็นลอร์ดแห่งลิพเพอ ผู้สืบเชื้อสายต่อมาก็ขยายดินแดนไปรวมอาณาจักรเคานท์หลายอาณาจักร ประมุขคนแรกที่ใช้ตำแหน่งเคานท์แห่งลิพเพอคนแรกคือไซมอนที่ 5 หลังจากไซมอนที่ 6 เสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและราชรัฐลิพเพอ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Haus de Habsburg) (House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รั.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรบาวาเรีย

ราชอาณาจักรบาวาเรีย (Königreich Bayern; Kingdom of Bavaria) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของเยอรมนีระหว่างปี ค.ศ. 1805 ถึงปี ค.ศ. 1918 พระเจ้าแม็กซิมิเลียนที่ 1 โจเซฟแห่งบาวาเรียแห่งราชวงศ์วิตเตลสบาคเป็นกษัตริย์องค์แรกเมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและราชอาณาจักรบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์

ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ (Königreich Hannover) ก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคมปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรซัคเซิน

ราชอาณาจักรซัคเซิน ในปี ค.ศ. 1900 ราชอาณาจักรซัคเซิน Königreich Sachsen) หรือ ราชอาณาจักรแซกโซนี (Kingdom of Saxony) เป็นราชอาณาจักรตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ. 1806 ถึงปี ค.ศ. 1918 โดยมีพระเจ้าฟรีดิช ออกัสตัสที่ 1 แห่งซัคเซินแห่งราชวงศ์เวททินเป็นกษัตริย์องค์แรก และพระเจ้าฟรีดิช ออกัสตัสที่ 3 แห่งซัคเซินแห่งราชวงศ์เวททินเป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย ราชอาณาจักรซัคเซินเป็นราชรัฐอิสระหลังสมัยนโปเลียนและเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 ก่อนที่จะถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1918 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เดรสเดิน ในปัจจุบันราชอาณาจักรซัคเซินคือเสรีรัฐซัคเซินของประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและราชอาณาจักรซัคเซิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค

ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค (Königreich Württemberg) เคยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1806 - ค.ศ. 1918 ปัจจุบันอยู่ในเขตของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐเยอรมัน

มาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation; Deutscher Bund) เป็นสมาคม 39 รัฐเยอรมันในยุโรปกลางอย่างหลวม ตั้งขึ้นโดยการประชุมใหญ่แห่งเวียนน..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและสมาพันธรัฐเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ

มาพันธรัฐเยอรมันเหนือ (Norddeutscher Bund) คือชื่อของรัฐชาติเยอรมันซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง กรกฎาคม..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามนโปเลียน

งครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, Guerres napoléoniennes) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและสงครามนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ฮัมบวร์ค

ัมบวร์ค (Hamburg) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเยอรมนี รองลงมาจาก เบอร์ลิน และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 8 ของยุโรป โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองฮัมบวร์คมากกว่า 1.8 ล้านคน ในขณะที่รวมปริมณฑลรอบ ๆ ไปด้วยแล้วจะทำให้ นครฮัมบวร์คมีประชากรทั้งสิ้น 5 ล้านคน ท่าเรือฮัมบวร์คเป็นท่าเรือสำคัญ ซึ่งนับเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรป และใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลก พื้นที่ท่าเรือส่วนใหญ่เป็นบริเวณปลอดภาษี ฮัมบวร์ค ถือเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญและถือเป็นหนึ่งใน เมืองที่รวยที่สุดในยุโรปและเป็นเขตเมือง อุตสาหกรรมที่แห่งหนึ่งที่สำคัญของ เยอรมันมีบริษัท ห้างร้านที่สำคัญ ๆ ของเยอรมนี อยู่ที่เมืองนี้ และที่สะคัญ ฮัมบวร์คได้รับการศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญมานานหลายศตวรรษและเป็นที่ตั้งของธนาคารที่เก่าแก่ในประเทศเยอรมันคือ ธนาคารแบร์มเบริก ธนาคารนองจากนนี้ ฮัมบวร์คยังเป็น เมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจากการจัดอันดับโดยได้อันดับที่ ที่ 17 ของโลกในปี 2555 และในปี 2553 ก็ได้อันดับที่ 10 ชื่ออย่างเป็นทางการของฮัมบวร์คคือ นครอิสระและฮันเซียติกแห่งฮัมบวร์ค (เยอรมัน: Freie und Hansestadt Hamburg) คำว่าฮันเซียติกนั้นหมายถึงการเป็นสมาชิกสันนิบาตฮันเซียติกของฮัมบวร์คตั้งแต่ยุคกลาง และบ่งบอกว่าฮัมบวร์คมีฐานะเป็นนครรัฐ ถือเป็น 1 ใน 16 รัฐสหพันธ์ของเยอรมนี ฮัมบวร์คอยู่ทางทิศใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์นั้นอยู่ระหว่างสแกนดิเนเวียกับพื้นทวีปยุโรป ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก ปัจจุบันฮัมบวร์คเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ และศูนย์กลางวัฒนธรรมของเยอรมนีทางภาคเหนือ.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและฮัมบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ฮ็อลชไตน์

มุทรจัตแลนด์และทางตอนเหนือสุดของเยอรมนีแสดงบริเวณชเลสวิจและโฮลชไตน์ในรัฐชเลสวิจ-โฮลชไตน์ของเยอรมนีปัจจุบัน ฮ็อลชไตน์ (Holstein) เป็นแคว้นระหว่างแม่น้ำเอลเบและแม่น้ำไอเดอร์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชเลสวิจ-โฮลชไตน์ทางตอนเหนือสุดของเยอรมนี เดิมฮ็อลชไตน์เป็น “เคาน์ตีฮ็อลชไตน์” (Grafschaft Holstein) และต่อมาเป็น “ดัชชีฮ็อลชไตน์” (Herzogtum Holstein) และเป็นดินแดนบริวารทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประวัติของฮ็อลชไตน์มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ของดัชชีชเลสวิจของราชอาณาจักรเดนมาร์ก ฮ็อลชไตน์มีเมืองหลวงอยู่ที่คีล “ฮ็อลชไตน์” มาจากคำว่า “Holcetae” ซึ่งเป็นภาษาชาวแซกซันที่อาดัมแห่งเบรเมินกล่าวถึง ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเอลเบ ทางตะวันตกของฮัมบูร์ก ที่แปลว่า “คนป่า”.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและฮ็อลชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย

ักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย พระนามเต็ม: ฟรันซ์ โยเซฟ คาร์ล (Franz Joseph Karl von Habsburg-Lorraine) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย และ กษัตริย์แห่งฮังการี และทรงเป็นจักรพรรดิและพระราชาธิบดีพระองค์แรกในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 พระองค์ทรงเป็นองค์พระประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดเป็นอันดับที่สามในยุโรป รองจากเจ้าชายโจฮันน์ที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้ทรงครองราชย์เป็นเวลา 70 กว่าปีเท่ากัน.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ฟรันซ์ โยเซฟ คาร์ล (Franz Joseph Karl) ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2335 - พ.ศ. 2349 ภายหลังจากที่พระองค์ถูกรุกรานโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 อันนำไปสู่สงครามประสานมิตรครั้งที่สาม ทำให้พระองค์ต้องยุบจักรวรรดิ และเปลี่ยนจักรวรรดิรวมทั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ โดยระหว่างปีพ.ศ. 2347 - พ.ศ. 2349 พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ 2 จักรวรรดิเลยทีเดียว โดยหลังจากเปลี่ยนจักรวรรดิแล้ว พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระนามว่า จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย หลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงนำกองทัพออสเตรีย ไปชำระแค้นกับจักรวรรดิฝรั่งเศส ในสงครามนโปเลียน แต่ก็ยังปราชัยอยู่ดี พระองค์จึงส่งพระราชธิดาองค์โต อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับนโปเลียน เพื่อเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการ และเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างจักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิฝรั่ง.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี

วิลเฮล์ม ฟรีดริช ลุดวิจ ฟอน โฮเอินโซลเลิร์น (Wilhelm Friedrich Ludwig von Hohenzollern) เป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิเยอรมันจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น ภายใต้การปกครองของพระองค์ร่วมกับนายกรัฐมนตรีออทโท ฟอน บิสมาร์ค สามารถนำพาราชอาณาจักรปรัสเซียมีชัยเหนือสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียและนำไปสู่การรวมชาติเยอรมันขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมันในปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเอเดรียติก

ทะเลเอเดรียติกจากดาวเทียม ทะเลเอเดรียติก (Adriatic Sea) เป็นทะเลที่แยกคาบสมุทรอิตาลีจากคาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาแอเพนไนน์จากเทือกเขาดินาริกแอลป์และเทือกเขาที่ติดกัน ทะเลเอเดรียติกเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเลคืออิตาลีขณะที่ฝั่งตะวันออกเป็นประเทศโครเอเชีย, มอนเตเนโกร, แอลเบเนีย, สโลวีเนีย และ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีน.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและทะเลเอเดรียติก · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีชเลสวิจ

ัชชีแห่งชเลสวิจ (Duchy of Schleswig) หรือ ดัชชีแห่งจัตแลนด์ใต้ (Sønderjylland, Hertugdømmet Slesvig) เป็นดัชชีที่ตั้งครอบคลุมเนื้อที่ราว 60 ถึง 70 กิโลเมตรทางตอนใต้ของพรมแดนระหว่างเยอรมนี และ เดนมาร์ก ซึ่งเป็นบริเวณที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า "Sleswick" (ซเลสวิค) ความสัมพันธ์ของบริเวณนี้อยู่ที่การขนส่งสินค้าระหว่างทะเลเหนือ และ ทะเลบอลติก ที่เชื่อมเส้นทางการค้าของรัสเซียกับเส้นทางการค้าตามลำแม่น้ำไรน์และฝั่งทะเลแอตแลนติก.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและดัชชีชเลสวิจ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีเบราน์ชไวค์

ัชชีเบราน์ชไวค์ (Duchy of Brunswick; Herzogtum Braunschweig) เป็นอดีตอาณาจักรของเยอรมนี เดิมดินแดนเบราน์ชไวค์-โวลเฟนบึทเทิลเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มาก่อตั้งเป็นดัชชีอิสระตามข้อตกลงในการประชุมแห่งเวียนนาในปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและดัชชีเบราน์ชไวค์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา

ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (Sachsen-Coburg und Gotha; Saxe-Coburg and Gotha) เป็นชื่อของดัชชีเยอรมันสองรัฐคือ ซัคเซิน-โคบูร์ก และ ซัคเซิน-โกทา ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี บริเวณรัฐบาวาเรียและรัฐเทือริงเงินปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารวมเป็นรัฐเดียวกันในระหว่างปี พ.ศ. 2369 ถึงปี พ.ศ. 2461 ชื่อ ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา อาจหมายถึงตระกูลหรือราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากมายและหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์การเมืองและราชสำนักยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา · ดูเพิ่มเติม »

ซัคเซิน-ไมนิงเงิน

ัชชีซัคเซิน-ไมนิงเงิน (Herzogtum Sachsen-Meiningen, Saxe-Meiningen) เป็นหนึ่งในดัชชีเอิร์นเนสทีน (Ernestine duchies) ที่ปกครองโดยตระกูลเว็ททิน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1681 ดัชชีแห่งแซ็กซ์-ไมนิงเก็นดำรงอยู่จนกระทั่งเมื่อราชบัลลังก์เยอรมันสิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและซัคเซิน-ไมนิงเงิน · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย

ฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย (Friuli-Venezia Giulia; ฟรียูลี: Friûl-Vignesie Julie; Friaul-Julisch Venetien; Furlanija-Julijska krajina) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีอาณาเขตจรดแคว้นเวเนโตทางทิศตะวันตก จรดประเทศออสเตรียทางทิศเหนือ จรดประเทศสโลวีเนียทางทิศตะวันออก และจรดทะเลเอเดรียติกทางทิศใต้ มีเมืองหลักชื่อตรีเยสเต ฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลียมีพื้นที่ 7,856 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.2 ล้านคน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดโกริตเซีย จังหวัดปอร์เดโนเน จังหวัดตรีเยสเต และจังหวัดอูดีเน มีภาษาท้องถิ่นคือภาษาฟรียูลี แคว้นนี้ครอบคลุมภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ฟรียูลีและบางส่วนของภูมิภาคทางประวัติศาสตร์เวเน็ตเซียจูเลีย ปัจจุบันมีเส้นทางการคมนาคมหลักตัดผ่านจากด้านตะวันออกสู่ด้านตะวันตกของภูมิภาคยุโรปใต้.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและแคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นเวเนโต

วเนโต (Veneto) หรือ แวเนโต (เวเนโต: Vèneto) เป็นแคว้นหนึ่งใน 20 แคว้นของประเทศอิตาลี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 18,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4.8 ล้านคน มีเมืองหลักคือเมืองเวนิส (เวเน็ตเซีย) ครั้งหนึ่งเคยเป็นแผ่นดินของสาธารณรัฐเวนิส ในปัจจุบันแคว้นเวเนโตเป็นแคว้นที่มีความมั่งคั่งและเป็นแหล่งอุตสาหกรรมมากที่สุดในประเทศอิตาลี และยังเป็นแคว้นหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวมามากที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย ซึ่งมีนักท่องเที่ยวมาประมาณ 60 ล้านคนในทุก ๆ ปี (ค.ศ. 2007).

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและแคว้นเวเนโต · ดูเพิ่มเติม »

โบฮีเมีย

ีเมีย (Čechy; Bohemia; Czechy) เป็นดินแดนในประวัติศาสตร์ของยุโรปกลาง กินเนื้อที่สองในสามทางตะวันตกของดินแดนเช็ก ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเช็กเกีย ในความหมายที่กว้างกว่านั้น ในบางครั้งยังใช้เรียกเขตแดนเช็กทั้งหมด รวมถึงมอเรเวียและเช็กไซลิเซีย โดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ เช่น ราชอาณาจักรโบฮีเมี.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์

เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ (Mecklenburg-Strelitz) เป็นดัชชีและแกรนด์ดัชชีต่อมาในทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบไปด้วยเขตเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ในปัจจุบัน (เมืองชตาร์การ์เดอร์ลันด์ในประวัติศาสตร์) อันมีพรมแดนติดต่อกับบริเวณเมืองเฟือร์ชเตนแบร์กในแคว้นบรันเดนบูร์กปัจจุบันและพื้นที่รอบเมืองรัทเซบูร์กในแคว้นชเลสวิก-โฮลชไตน์ในปัจจุบัน หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศเยอรมนี หมวดหมู่:รัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 18 หมวดหมู่:รัฐในสมาพันธรัฐเยอรมัน หมวดหมู่:รัฐในจักรวรรดิเยอรมัน หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2244 หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2461 eo:Meklenburgo#Meklenburgo-Strelitz.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนครลือเบ็ค

รีนครลือเบ็ค หรือ เสรีนครฮันเซอแห่งลือเบ็ค (Freie und Hansestadt Lübeck) เป็นนครรัฐที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 1226 ถึงปี ค.ศ. 1937 ที่ตั้งอยู่ในรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์และรัฐเมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์นในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน.

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและเสรีนครลือเบ็ค · ดูเพิ่มเติม »

เฮลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอ

ลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอ (Helmuth Karl Bernhard von Moltke) เป็นจอมพลเยอรมันและเป็นเสนาธิการกองทัพปรัสเซียเป็นเวลากว่า 30 ปีในสามรัชกาลของกษัตริย์ปรัสเซีย เขาเป็นผู้ริเริ่มใช้การบังคับบัญชาสมัยใหม่ในการทัพ เขาได้รับการยกย่องเป็น "ผู้วางระเบียบกองทัพและนักกลยุทธ์อันเยี่ยมยอด" รวมอยู่ในตัวคนเดียว เขามักถูกเรียกว่า "มอลเคอคนโต" (Moltke der Ältere) เพื่อไม่ให้สับสนกับ เฮลมุท โยฮันน์ ลุดวิจ ฟอน มอลท์เคอ จอมพลเยอรมันอีกคนในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่มีศักดิ์เป็นหลานลุงซึ่งถูกเรียกว่า "มอลเคอคนเล็ก" (Moltke der Jüngere) เขาได้รับแต่งตั้งเป็น กราฟ ฟอน มอลท์เคอ (Graf von Moltke) อันเป็นตำแหน่งเทียบเท่าเคานต์ มอลท์เคอเริ่มดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองทัพปรัสเซียเมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและเฮลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Austro-Prussian Warสงครามเจ็ดสัปดาห์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »