โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามครูเสดครั้งที่ 3

ดัชนี สงครามครูเสดครั้งที่ 3

“การล้อมเมืองเอเคอร์” ระหว่างปี ค.ศ. 1189 ถึงปี ค.ศ. 1191 สงครามครูเสดครั้งที่ 3 หรือ สงครามครูเสดกษัตริย์(Third Crusade หรือ Kings' Crusade) (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) เป็นสงครามครูเสดที่ฝ่ายผู้นำยุโรปพยายามกู้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากศอลาฮุดดีน (Salāh al-Dīn Yūsuf ibn Ayyūb).

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1732พ.ศ. 1734พ.ศ. 1735พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษรัฐนักรบครูเสดรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์ราชอาณาจักรเยรูซาเลมสงครามครูเสดสงครามครูเสดครั้งที่ 2สงครามครูเสดครั้งที่ 4อานาโตเลียจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิเซลจุคทวีปยุโรปประเทศอียิปต์ประเทศซีเรียแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเลมเศาะลาฮุดดีน

พ.ศ. 1732

ทธศักราช 1732 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และพ.ศ. 1732 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1734

ทธศักราช 1734 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และพ.ศ. 1734 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1735

ทธศักราช 1735 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และพ.ศ. 1735 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Philip II of France หรือ Philip II Augustus หรือ Philippe Auguste) (21 สิงหาคม ค.ศ. 1165 - 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1179 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยของ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1165 ที่ Gonesse ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระอัครมเหสีองค์ที่สามพระราชินีอเดเล ฟิลิปมีพระนามเล่นว่า “Dieudonné”—“ของขวัญจากพระเจ้า”—เพราะทรงพระราชโอรสที่เกิดเมื่อพระราชบิดามีพระชนมายุมากแล้ว พระเจ้าฟิลิปเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีความสามารถมากที่สุดพระองค์หนึ่งในสมัยกลางในการขยายดินแดนและในการเพิ่มพูนอำนาจของพระมหากษัตริย์ ทรงแยกตัวจากจักรวรรดิอองชู และทรงได้รับชัยชนะต่อกลุ่มพันธมิตรของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ที่รวมทั้งเยอรมนี, เฟล็มมิช และอังกฤษในยุทธการบูวีนส์ (Battle of Bouvines) ในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

ปูนปั้นของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์จากหลุมฝังพระศพของพระองค์ พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (8 กันยายน พ.ศ. 1700 – 6 เมษายน พ.ศ. 1742) ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษระหว่างปี พ.ศ. 1732 ถึง พ.ศ. 1742 มักจะถูกเรียกพระนามว่า ริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lionheart) เนื่องจากในสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษในหมู่ชาวชนบท และในวรรณกรรมก็มักจะกล่าวถึงพระองค์ในแง่นั้น ทรงเป็นผู้บัญชาการกองทัพกลาง ใน สงครามครูเสด ครั้งที่ 3 และมีชัยชนะเหนือ ซาลาดิน โดยไม่ได้ยึดครองเยรูซาเร็ม เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษมีพระชนม์ชีพตรงกับต้นสมัยอาณาจักรเชียงแสน หรือก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยประมาณ 76ปี.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (Henry II of England หรือ “Curtmantle”) (25 มีนาคม ค.ศ. 1133 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1189) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษองค์แรกในสมัยราชวงศ์แพลนแทเจเนต.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนักรบครูเสด

ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 โดยมีอาณาจักรครูเสดเป็นสีเขียว อานาโตเลียและอาณาจักรครูเสด ราว ค.ศ. 1140 รัฐนักรบครูเสด (Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และรัฐนักรบครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์

การปกครองฟาฏิมียะห์คือขบวนการปกครองที่เริ่มตนขึ้นเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ)และทำการปกครองเป็นเวลาสองศตวรรษ(จนถึงปี ๑๑๗๑ ค.ศ)โดยปกครองภาคเหนือของแอฟริกาและเอเชียตะวันออกกลาง รวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผู้ปกครองฟาฏิมีคือผู้นำชีอะห์นิกายอิสมาอีลียะห์ และชื่อขบวนการของพวกเขาคือ ฟาฏิมี หมายถึงท่านหญิงฟาฏีมะห์(ซ)บุตรสาวของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) พวกเขาได้ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นถึงมากกว่าสองศตวรรษในแถบตะวันออกกลางและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีความรักต่อวิชาความรู้และการค้าขายเป็นอย่างมาก ไคโรเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ถูกก่อตั้งโดย การปกครองฟาฏิมี คอลีฟะห์ การปกครองฟาฏิมี ถูกก่อตั้งเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) ณ แอฟริกาเหนือ และขยายตัวอย่างรวดเร็วสู่ ประเทศ ซิซิลี ปาเลสไตน์ อียิปต์ และ ซีเรีย และมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคคอลีฟะห์คนที่แปด คือ อัลมุสตันศัร บิลลาฮ์ (เสียชีวิตเมื่อปี ๑๐๙๔)ในช่วงสองศตวรรษแห่งการปกครอง พวกเขาได้ทำการปกครองที่ราบรื่นสดใส่ บนรากฐานของสติปัญญา เศรษฐกิจที่สมบูร์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ฟาฏีมียอนคือกลุ่มชีอะห์นิการอิสมาอีลียะห์ ซึ่งเป็นผู้ที่คัดค้านการปกครองของอับบาซีโดยอ้างว่าพวกเขาคือผู้ปกครองที่เป็นธรรม การปกครองอันยาวนานของฟาฏิมีทำให้นิกายชีอะห์ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขว้าง ในยุคดังกล่าวสถาบันการศึกษาอิสลามที่ยิ่งใหญ่ อาธิ ญาเมะอฺ อัลอัซฮัร ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่แนวทางอิสมาอีลียะห์ ซึ่งมีผลงานการเขียนมากมายเกี่ยวกับอิสมาอีลียะ กลุ่มฟาฏีมีมุ่งมั่นในการเผยแพร่จึงส่งทูตของตนไปยังประเทศ และ เมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แนวคิดของตนและสามารถขยายความเชื่ออิสมาอีลียะอย่างกว้างขว้างในประเทศ เยเมน อินเดีย และภาคตะวันออกของประเทศอิหร่าน ผู้นำของฟาฏีมี อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ อะบูมุฮัมหมัด อุบัยดัลลอฮ               ปกครองเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) อัลกออิม บิอัมริลลาฮ อะบูกอเซ็มมุฮัมหมัด ปกครองเมื่อปี ๙๓๔(ค.ศ) อัลมันศูรบิลลาฮ อะบูฏอฮิรอิสมาอีล                              ปกครองเมื่อปี ๙๔๖(ค.ศ) อัลมุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                               ปกครองเมื่อปี ๙๕๓(ค.ศ) อัลอะซีซ บิลลาฮ์ อะบูมันศูร นิซาร์                                ปกครองเมื่อปี ๙๗๕ (ค.ศ) อัลฮากิม บิอัมริลลาฮ์ อะบูอาลีมันศูร                              ปกครองเมื่อปี ๙๙๖ (ค.ศ) อัซซอฮิร ลา อิรอซ ดีนิลลาฮ์ อะบูลฮะซัน อะลี           ปกครองเมื่อปี ๑๐๒๑ อัลมุซตันศิร บิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                             ปกครองเมื่อปี ๑๐๓๖ อัลมุสตะอฺลี บิลลาฮ์ อะบูกอเซ็มอะห์หมัด                    ปกครองเมื่อปี ๑๐๙๔ อัลอัมร์ บิอะห์กามิลลาฮ์ อะบูอะลี มันศูร                      ปกครองเมื่อปี ๑๑๐๑ (ค.ศ) อัลฮาฟิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูอัลมัยมูน อับดุลมะญีด         ปกครองเมื่อปี ๑๑๓๐(ค.ศ) อัลซิฟิร บิอัมริลลาฮ์ อะบูมันศูร อิสมาอีล                     ปกครองเมื่อปี ๑๑๔๙(ค.ศ) อัลฟาอิร บินัศริลลาฮ์ อะบูกอเซ็ม อีซา                          ปกครองเมื่อปี ๑๑๕๔(ค.ศ) อัลอาฎิด ลิดีนิลลาฮ์ อะบูมุฮัมหมัดอับดุลลอฮ              ปกครองเมื่อปี ๑๑๖๐-๑๑๗๑(ค.ศ)  .

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม (Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลว้าน (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk) ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านไต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่นๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มแข็งตัวขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิโมกุลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และราชอาณาจักรเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

“สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และสงครามครูเสดครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 4

งครามครูเสดครั้งที่ 4 (Fourth Crusade) (ค.ศ. 1202-ค.ศ. 1204) เป็นสงครามครูเสด ครั้งที่สี่ที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1202 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1204 จุดประสงค์แรกของสงครามก็เพื่อยึดเยรูซาเลมคืนจากมุสลิม แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1204 นักรบครูเสดจากยุโรปตะวันตกก็เข้ารุกรานและยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์แทนที่ ซึ่งถือกันว่าเป็นวิกฤติการณ์สุดท้ายที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างคริสต์ศาสนจักรตะวันออกและตะวันตก (East-West Schism) ระหว่างอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และ โรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และสงครามครูเสดครั้งที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา หรือ จักรพรรดิฟรีดริชพระมัสสุแดง (Frederick I, Holy Roman Emperor หรือ Frederick I Barbarossa) (ค.ศ. 1122 - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1190) ฟรีดริชทรงได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเยอรมนีเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1152 และทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกที่อาเคินเมื่อวันที่ 9 มีนาคม; ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีในพิธีราชาภิเษกที่พาเวียใน ค.ศ. 1154 และในที่สุดก็ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยทรงได้รับการสวมมงกุฎจากสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1155 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1178 พระองค์ก็ทรงได้รับการสมมงกุฎให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเบอร์กันดี ก่อนที่จะได้ทรงได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเยอรมนีฟรีดริชทรงเป็นดยุกแห่งชวาเบีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซลจุค

มหาจักรวรรดิเซลจุค (سلجوقیان.) เป็นจักรวรรดิแบบเปอร์เชียM.A. Amir-Moezzi, "Shahrbanu", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,: "...

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และจักรวรรดิเซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

ทะเลเดดซี แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land; הקודש; Terra Sancta; الأرض المقدسة; ภาษาอารามิคโบราณ: ארעא קדישא Ar'a Qaddisha) หมายถึงดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณประเทศอิสราเอลซึ่งมีความสำคัญต่อศาสนาสำคัญศาสนาอับราฮัมสามศาสนา ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม สาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากความสำคัญของกรุงเยรูซาเลมทางศาสนาและความสำคัญของการเป็นดินแดนแห่งอิสราเอล สงครามครูเสดใช้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เป็นสาเหตุในการยึดคืนเพราะเป็นดินแดนที่มีความหมายต่อพันธสัญญาใหม่ ในปัจจุบันดินแดนบริเวณนี้เป็นดินแดนของความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เศาะลาฮุดดีน

วาดแซลาดิน จากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เศาะลาฮุดดีน อัลอัยยูบี หรือที่ชาวตะวันตกเรียกว่า แซลาดิน มีชื่อภาษาอาหรับเต็มว่า เศาะลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบน์ อัยยูบ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า อัลมาลิก อัลนาศิร เศาะลาฮุดดีน ยูซุฟ เกิดเมื่อ..1137 ในตำบลติกรีต (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และเสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 3และเศาะลาฮุดดีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Third Crusadeสงครามครูเสดครั้งที่สาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »