โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)

ดัชนี สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)

งครามกลางเมืองอิรักเป็นการขัดกันด้วยอาวุธที่กำลังดำเนินอยู่ในตะวันออกกลาง ในปี 2557 การก่อการกำเริบอิรักบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองด้วยรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์พิชิตฟัลลูจาห์ (Fallujah) และโมซูลและพื้นที่สำคัญในภาคเหนือของประเทศอิรัก ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีนูรี อัล-มาลิกี (Nouri al-Maliki) ลาออก สหรัฐ อิหร่าน ซีเรียและประเทศอื่นอีกกว่าสิบสองประเทศโจมตีทางอากาศ ทหารอิหร่านเข้าร่วมรบภาคพื้นดิน และรัสเซียช่วยเหลือทางทหารต่ออิรัก.

17 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษกองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฎิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิดภาษาตุรกีรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ลอสแอนเจลิสไทมส์สงครามกลางเมืองอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิชอาหรับวินเทอร์ฮิซบุลลอฮ์ตะวันออกกลางประเทศอิรักโมซูลเดอะการ์เดียนเดอะนิวยอร์กไทมส์เดอะไทมส์เคอร์ดิสถานอิรัก

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฎิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด

กองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฏิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด (Combined Joint Task Force – Operation Inherent Resolve; อักษรย่อ: CJTF–OIR) เป็นกองกำลังเฉพาะกิจร่วม ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐ เพื่อต่อต้านรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ไอเอสไอแอล) ที่จัดขึ้นโดยกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐเพื่อประสานความร่วมมือทางทหารในการต่อต้านไอเอสไอแอล (ดาอิซ) และประกอบด้วยกองกำลังทหารสหรัฐกับบุคลากรจากกว่า 30 ประเทศ เป้าหมายที่ระบุไว้ของกองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฏิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด คือ "ลดและทำลาย" ไอเอสไอแอล ซึ่งจัดตั้งโดยกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐ ที่ได้มีการประกาศในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และกองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฎิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอสแอนเจลิสไทมส์

ลอสแอนเจลิสไทมส์ (Los Angeles Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ตีพิมพ์ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และลอสแอนเจลิสไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และสงครามกลางเมือง · ดูเพิ่มเติม »

อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี

อิบรอฮีม เอาวาด อิบรอฮีม อะลี อัลบัดรี อัสซามรออี (ابراهيم عواد ابراهيم علي البدري السامرائي) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี (أبو بكر البغدادي; Abu Bakr al-Baghdadi; เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2514) เป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลาม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และอะบู บักร์ อัลบัฆดาดี · ดูเพิ่มเติม »

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช (الجزيرة الإنجليزية) คือ สถานีโทรทัศน์ที่ให้บริการข่าวภาคภาษาอังกฤษตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษแห่งแรกที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในตะวันออกกลาง คือที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของสถานีโทรทัศน์ทั่วโลก และเป็นสถานีข่ายของสถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะฮ์ ภาคภาษาอาหรับ ซึ่งอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ออกอากาศรายการประเภทข่าวสารและบทวิเคราะห์ สารคดี การอภิปรายสด สถานการณ์ปัจจุบัน และข่าวกีฬา และได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลกที่ใช้ระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition Television หรือ HDTV) โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเผยแพร่เสียงสะท้อนจากโลกอาหรับและเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศด้วยมุมมองที่เป็นสากลไปยังผู้ชมกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ โดยปราศจากมุมมองจากโลกตะวันตก และสับเปลี่ยนที่ตั้งหน่วยการจัดการด้านข่าวไปตามศูนย์ออกอากาศต่าง ๆ ทั้งในโดฮา กัวลาลัมเปอร์ ลอนดอน และวอชิงตัน ดี.ซี. ตามแนวคิด "following the sun." เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ถูกพูดถึง นำเสนอเรื่องราวความขัดแย้ง การสร้างการรับรู้ที่น่าท้าทาย และกำหนดวาระทิศทางข่าว เป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม เปิดมุมมองการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างไปจากตะวันตก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับวินเทอร์

อาหรับวินเทอร์ (Arab Winter) เป็นคำที่ใช้อธิบายสถานการณ์ความรุนแรงและความผันผวนทางการเมืองในโลกอาหรับ ซึ่งเกิดขึ้นหลัง "อาหรับสปริง" อันได้แก่ สงครามกลางเมืองซีเรีย, เหตุจลาจลในอิรัก, วิกฤตการณ์ในอียิปต์ และวิกฤตการณ์ในเยเมน รวมไปถึงความขัดแย้งอื่นๆ ในเลบานอน, ลิเบีย, ตูนิเซียและบาห์เรน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และอาหรับวินเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิซบุลลอฮ์

วามหมายอื่นของ ฮิซบุลลอฮ์ ดูที่ ฮิซบุลลอฮ์ (แก้ความกำกวม) ฮิซบุลลอฮ์ (Hezbollah; حزب الله "พรรคแห่งอัลลอฮ์") สื่อเมืองไทยสะกด ฮิซบอลเลาะห์ หรือ ฮิซบอลลาห์ เป็นองค์กรและพรรคการเมืองของชาวมุสลิมชีอะฮ์ในเลบานอน ซึ่งมีกองทัพของตนเอง ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1982 อันเป็นปีที่อิสราเอลบุกรุกเลบานอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับไล่กองทัพอิสราเอลที่ยึดครองเลบานอน จนสามารถต่อสู้และขับไล่ทัพอิสราเอลออกจากเลบานอนได้ในปี ค.ศ. 2000 เลขาธิการใหญ่ของพรรคฮิซบุลลอฮ์คือ ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอห.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และฮิซบุลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

โมซูล

มซูล (Mosul) หรือ อัลเมาศิล (الموصل‎, al-Mawṣil) เป็นนครในภาคเหนือของประเทศอิรัก และเมืองหลวงของจังหวัดนีนะวา ห่างจากกรุงแบกแดด เมืองหลวงของประเทศ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 400 กิโลเมตร นครเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำไทกริส ตรงข้ามกับนครนีนะวาของอัสซีเรียโบราณที่อยู่ฝั่งตะวันออก แต่ปัจจุบันพื้นที่มหานครได้เติบโตขึ้นครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยมีสะพานห้าแห่งเชื่อมระหว่างสองฝั่ง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ (โดยมีชนกลุ่มน้อยอัสซีเรีย เติร์กเมนอิรัก และเคิร์ด) เป็นนครขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศ รองจากกรุงแบกแดด ในปี 2530 นครมีประชากร 664,221 คน ปี 2545 ประมาณการประชากรอยู่ที่ 1,740,000 คน และในปี 2551 ประเมินที่ 1,800,000 คน โมซูลเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโมซูล ศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอิรักและตะวันออกกลาง ในเดือนมิถุนายน 2557 นครถูกรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ยึดระหว่างการรุกภาคเหนือของอิรัก..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และโมซูล · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะไทมส์

อห์น วอลเทอร์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการคนแรก เดอะไทมส์ (The Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1785 เดิมใช้ชื่อว่า The Daily Universal Register ก่อตั้งโดยจอห์น วอลเทอร์ ตีพิมพ์ฉบับแรกวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1785 และเปลี่ยนชื่อเป็น The Times ตั้งแต่ฉบับที่ 941 วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1788 ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และเดอะไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคอร์ดิสถานอิรัก

ตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานแห่งอิรัก เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานแห่งอิรัก (هه‌رێمی کوردستان; Iraqi Kurdistan หรือเคอร์ดิสถานใต้) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอิรัก มีชายแดนติดต่อกับประเทศซีเรีย ตุรกีและอิหร่าน มีพื้นที่ 40,000 ตารางกิโลเมตร (ขนาดเทียบเท่ากับประเทศเนเธอร์แลนด์) ประกอบด้วยเขตปกครองตนเอง 3 เขต ได้แก่เมืองเอร์บีล (Erbil), โดฮูก (Dohuk) และ สุลัยมานียะฮ์ (Suleimaniah) มีเอร์บีล (Erbil) เป็นเมืองหลวง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเทือกเขา ทำให้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ และมีอุณหภูมิแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ในฤดูร้อนอุณหภูมิประมาณ 39-43 องศาเซลเซียส และอาจสูงถึง 50 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาว อุณหภูมิประมาณ 7-13 องศาเซลเซียส และอาจต่ำลงถึง 2-7 องศาเซลเซียส ภาษาทางการคือภาษาเคิร์ดและอาหรับ เชื้อชาติเคอร์ด เป็นชนชาติส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55) นอกนั้นเป็นชาวเติร์ก อาร์เมเนียน อัชชีเรียนและอาหรับ ระบบเงินของเคอร์ดิสถานคือ อิรักดีนาร์ (1 US.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)และเคอร์ดิสถานอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สงครามกลางเมืองอิรัก (2014–ปัจจุบัน)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »